อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน
โพสต์ที่ 1
ขวัญชัยฝันมหกรรมฯทำยอดขาย1.5หมื่นคัน
โพสต์ทูเดย์ สื่อสากลมั่นใจ งานมอเตอร์ เอ็กซ์โปกระตุ้นยอดขายรถยนต์ปลายปีหดตัวเหลือแค่ 10% ตั้งเป้าขายขั้นต่ำ 1.5 หมื่นคัน แม้ขาดค่ายแม่เหล็กหลายค่ายในงาน
นายขวัญชัย ปภัสร์พงษ์ ประธานบริษัท สื่อสากล และประธานจัดงานมหกรรมยานยนต์ (ไทยแลนด์ อินเตอร์เนชันแนล มอเตอร์ เอ็กซ์โป) ครั้งที่ 24 กล่าวว่า แม้ตลาดรถยนต์ในปีนี้จะชะลอตัวอย่างรุนแรงในช่วงไตรมาสแรกกว่า 18.3% และมีแนวโน้มจะหดตัวอย่างต่อเนื่องในไตรมาส 2 และ 3 เนื่องจากเป็นฤดูที่การขายชะลอตัว แต่ก็คาดว่าในไตรมาส 4 สถานการณ์ทางด้านยอดขายจะดีขึ้น และเชื่อว่าการจัดงานมอเตอร์ เอ็กซ์โปในปีนี้ จะช่วยกระตุ้นยอดขายรถยนต์ทั้งปี ทำให้ตลาดมีการหดตัวลงน้อยกว่า 10% ในปีนี้
ทั้งนี้ เชื่อว่าปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการขายจะเริ่มดีขึ้น ไม่ว่าจะเรื่องภาวะเศรษฐกิจหรือการเมือง ที่ตามแผนจะมีการเลือกตั้งในเดือนธันวาคม ทำให้คาดว่าในงานมอเตอร์ เอ็กซ์โปน่าจะมียอดจำหน่ายรถยนต์ขั้นต่ำในงาน 1.5 หมื่นคัน และหากมีการอัดแคมเปญก็เชื่อว่าจะทำได้เพิ่มเป็น 1.6-1.7 หมื่นคันอย่างแน่นอน แม้ว่าค่ายรถหลายค่ายอาจจะไม่เข้าร่วมงานในปีนี้ ซึ่งใกล้เคียงกับยอดจำหน่ายในปีที่ผ่านมาที่มียอดจำหน่ายทั้งสิ้น 1.7 หมื่นคัน
อย่างกรณีของเอส.อี.ซี. เป็นเรื่องที่คุยแล้วว่าจำเป็นต้องปรับการขายสินค้า เพราะที่ผ่านมาเราคุยกันในส่วนของบราบัสที่ผมคุย ให้ได้ แต่เขาเปลี่ยนการทำตลาดสินค้าไปมาก ก็เลยคุยกันว่าถ้าเขายังเอาสินค้าเข้ามาเหมือนเดิมคงต้องขอเว้นวรรค นายขวัญชัย กล่าว
นอกจากนี้ ยังมีค่ายรถที่อยู่ระหว่างการตัดสินใจ ไม่ว่าจะเป็นโปรตอน จากประเทศมาเลเซีย ที่ยังไม่ได้สิทธิพิเศษทางด้านภาษี นำเข้าตามมาตรการอาฟตา หรือฮุนได ที่มี แนวโน้มว่าจะเข้ามาทำตลาดในประเทศไทย รวมถึงตาต้าจากอินเดีย ที่หวังจะชิงส่วนแบ่งการตลาดรถปิกอัพ ซึ่งคงต้องรอให้มีการเปิดจองพื้นที่ใหม่ทั้งหมดเสียก่อน จึงจะสามารถบอกได้ว่าจะมีผู้เข้าร่วมงานทั้งหมดกี่ราย กันแน่ ซึ่งในปีนี้บริษัทใช้งบประมาณในการ จัดงานไปทั้งสิ้นราว 130 ล้านบาท
นายขวัญชัย กล่าวถึงการจัดงานในภูมิภาค ที่เดือน ก.พ.ปีหน้า จะไปจัดที่ จ.ขอนแก่นว่า ได้เซ็นสัญญาจัดงานเป็นเวลา 5 ปี คาดปีแรกจะมีผู้ชมงาน 1-2 แสนคน ยอดจำหน่ายกว่า 1.5 พันคัน
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=170816
โพสต์ทูเดย์ สื่อสากลมั่นใจ งานมอเตอร์ เอ็กซ์โปกระตุ้นยอดขายรถยนต์ปลายปีหดตัวเหลือแค่ 10% ตั้งเป้าขายขั้นต่ำ 1.5 หมื่นคัน แม้ขาดค่ายแม่เหล็กหลายค่ายในงาน
นายขวัญชัย ปภัสร์พงษ์ ประธานบริษัท สื่อสากล และประธานจัดงานมหกรรมยานยนต์ (ไทยแลนด์ อินเตอร์เนชันแนล มอเตอร์ เอ็กซ์โป) ครั้งที่ 24 กล่าวว่า แม้ตลาดรถยนต์ในปีนี้จะชะลอตัวอย่างรุนแรงในช่วงไตรมาสแรกกว่า 18.3% และมีแนวโน้มจะหดตัวอย่างต่อเนื่องในไตรมาส 2 และ 3 เนื่องจากเป็นฤดูที่การขายชะลอตัว แต่ก็คาดว่าในไตรมาส 4 สถานการณ์ทางด้านยอดขายจะดีขึ้น และเชื่อว่าการจัดงานมอเตอร์ เอ็กซ์โปในปีนี้ จะช่วยกระตุ้นยอดขายรถยนต์ทั้งปี ทำให้ตลาดมีการหดตัวลงน้อยกว่า 10% ในปีนี้
ทั้งนี้ เชื่อว่าปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการขายจะเริ่มดีขึ้น ไม่ว่าจะเรื่องภาวะเศรษฐกิจหรือการเมือง ที่ตามแผนจะมีการเลือกตั้งในเดือนธันวาคม ทำให้คาดว่าในงานมอเตอร์ เอ็กซ์โปน่าจะมียอดจำหน่ายรถยนต์ขั้นต่ำในงาน 1.5 หมื่นคัน และหากมีการอัดแคมเปญก็เชื่อว่าจะทำได้เพิ่มเป็น 1.6-1.7 หมื่นคันอย่างแน่นอน แม้ว่าค่ายรถหลายค่ายอาจจะไม่เข้าร่วมงานในปีนี้ ซึ่งใกล้เคียงกับยอดจำหน่ายในปีที่ผ่านมาที่มียอดจำหน่ายทั้งสิ้น 1.7 หมื่นคัน
อย่างกรณีของเอส.อี.ซี. เป็นเรื่องที่คุยแล้วว่าจำเป็นต้องปรับการขายสินค้า เพราะที่ผ่านมาเราคุยกันในส่วนของบราบัสที่ผมคุย ให้ได้ แต่เขาเปลี่ยนการทำตลาดสินค้าไปมาก ก็เลยคุยกันว่าถ้าเขายังเอาสินค้าเข้ามาเหมือนเดิมคงต้องขอเว้นวรรค นายขวัญชัย กล่าว
นอกจากนี้ ยังมีค่ายรถที่อยู่ระหว่างการตัดสินใจ ไม่ว่าจะเป็นโปรตอน จากประเทศมาเลเซีย ที่ยังไม่ได้สิทธิพิเศษทางด้านภาษี นำเข้าตามมาตรการอาฟตา หรือฮุนได ที่มี แนวโน้มว่าจะเข้ามาทำตลาดในประเทศไทย รวมถึงตาต้าจากอินเดีย ที่หวังจะชิงส่วนแบ่งการตลาดรถปิกอัพ ซึ่งคงต้องรอให้มีการเปิดจองพื้นที่ใหม่ทั้งหมดเสียก่อน จึงจะสามารถบอกได้ว่าจะมีผู้เข้าร่วมงานทั้งหมดกี่ราย กันแน่ ซึ่งในปีนี้บริษัทใช้งบประมาณในการ จัดงานไปทั้งสิ้นราว 130 ล้านบาท
นายขวัญชัย กล่าวถึงการจัดงานในภูมิภาค ที่เดือน ก.พ.ปีหน้า จะไปจัดที่ จ.ขอนแก่นว่า ได้เซ็นสัญญาจัดงานเป็นเวลา 5 ปี คาดปีแรกจะมีผู้ชมงาน 1-2 แสนคน ยอดจำหน่ายกว่า 1.5 พันคัน
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=170816
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news08/06/07
โพสต์ที่ 2
ยอดมอเตอร์ไซค์ 4 เดือนแรก
คอลัมน์ Auto Data
บริษัท เอ.พี.ฮอนด้า จำกัด รายงานยอดขายรถจักรยานยนต์ในช่วงเดือนมกราคมถึงเมษายนปีนี้ว่า มียอดจำหน่ายรวมทั้งสิ้น 536,722 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึง 13%
โดยผู้นำยังคงเป็น ฮอนด้า มียอดจำหน่าย 374,695 คัน ครองส่วนแบ่งตลาด 70% ลดลง 6%
ตามด้วย ยามาฮ่า มียอดจำหน่าย 124,840 คัน ครองตลาด 23% ลดลง 17% และ ซูซูกิ จำหน่ายได้ 29,113 คัน ครองตลาด 5% ลดลง 39%
ส่วน ไทเกอร์ มียอดจำหน่าย 672 คัน เท่านั้น ลดลงถึง 91% ถือเป็นยอดขายที่ลดลงมากที่สุดในตลาด
คอลัมน์ Auto Data
บริษัท เอ.พี.ฮอนด้า จำกัด รายงานยอดขายรถจักรยานยนต์ในช่วงเดือนมกราคมถึงเมษายนปีนี้ว่า มียอดจำหน่ายรวมทั้งสิ้น 536,722 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึง 13%
โดยผู้นำยังคงเป็น ฮอนด้า มียอดจำหน่าย 374,695 คัน ครองส่วนแบ่งตลาด 70% ลดลง 6%
ตามด้วย ยามาฮ่า มียอดจำหน่าย 124,840 คัน ครองตลาด 23% ลดลง 17% และ ซูซูกิ จำหน่ายได้ 29,113 คัน ครองตลาด 5% ลดลง 39%
ส่วน ไทเกอร์ มียอดจำหน่าย 672 คัน เท่านั้น ลดลงถึง 91% ถือเป็นยอดขายที่ลดลงมากที่สุดในตลาด
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news09/06/07
โพสต์ที่ 3
ยอดขายรถ5เดือนวูบ14%
โพสต์ทูเดย์ ยอดจำหน่ายรถยนต์ 5 เดือนแรกยังโงหัวไม่ขึ้น ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 14.3% โดยมียอดจำหน่าย ทั้งสิ้น 239,328 คัน
บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ รายงานยอดจำหน่ายรถยนต์ในช่วง 5 เดือนแรกของ ปี 2550 หรือในช่วงเดือน ม.ค.-พ.ค. ที่ผ่านมาว่า ตลาดรถยนต์โดยรวมมียอดจำหน่ายทั้งสิ้น 239,328 คัน ต่ำกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา 14.3% โดยยอดจำหน่ายรถยนต์กระบะขนาด 1 ตันมียอดจำหน่ายลดลงมากที่สุด โดยมียอดจำหน่ายทั้งสิ้น 150,319 คัน ลดลง 18.3%
ส่วนยอดจำหน่ายรถยนต์นั่งรวม มียอดจำหน่ายทั้งสิ้น 67,504 คัน ลดลง 13.7% โดยบริษัทรถยนต์ที่ยอดจำหน่ายรถยนต์โดยรวมมากที่สุดคือ โตโยต้า มียอดจำหน่ายทั้งสิ้น 100,689 คัน มีส่วนแบ่งการตลาด 42.1%
รองลงมาได้แก่ อีซูซุ มียอดจำหน่าย ทั้งสิ้น 55,751 คัน มีส่วนแบ่งตลาด 23.3% ที่สามได้แก่ ฮอนด้า มียอดจำหน่าย 26,145 คัน มีส่วนแบ่งตลาด 10.9%
นายอดิศักดิ์ โรหิตะศุน รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ยอดจำหน่ายรถยนต์ในช่วงเดือน พ.ค. นั้นติดช่วงปิดภาคการเรียนทำให้ค่ายรถยนต์ไม่สามารถอัดฉีดอะไรได้มากนัก และเชื่อว่ายอดจำหน่ายที่ลดลงเกือบ 20% นั้นน่าจะเป็นการเติบโตต่ำสุดในปีนี้แล้ว
ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ การกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ที่ขณะนี้แม้ว่ากำลังดำเนินการกันอยู่แต่ยังไม่ค่อยเต็มที่นัก อย่างการเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐก็ไม่ได้เป็นไปตามแผน อย่างไรก็ตาม เชื่อว่ายอดจำหน่ายคงไม่แย่ไปกว่านี้ และคาดว่ายอดจำหน่ายรถยนต์ปีนี้เลวร้ายสุดคือเท่ากับปีที่ผ่านมา นายอดิศักดิ์ กล่าว
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=171280
โพสต์ทูเดย์ ยอดจำหน่ายรถยนต์ 5 เดือนแรกยังโงหัวไม่ขึ้น ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 14.3% โดยมียอดจำหน่าย ทั้งสิ้น 239,328 คัน
บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ รายงานยอดจำหน่ายรถยนต์ในช่วง 5 เดือนแรกของ ปี 2550 หรือในช่วงเดือน ม.ค.-พ.ค. ที่ผ่านมาว่า ตลาดรถยนต์โดยรวมมียอดจำหน่ายทั้งสิ้น 239,328 คัน ต่ำกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา 14.3% โดยยอดจำหน่ายรถยนต์กระบะขนาด 1 ตันมียอดจำหน่ายลดลงมากที่สุด โดยมียอดจำหน่ายทั้งสิ้น 150,319 คัน ลดลง 18.3%
ส่วนยอดจำหน่ายรถยนต์นั่งรวม มียอดจำหน่ายทั้งสิ้น 67,504 คัน ลดลง 13.7% โดยบริษัทรถยนต์ที่ยอดจำหน่ายรถยนต์โดยรวมมากที่สุดคือ โตโยต้า มียอดจำหน่ายทั้งสิ้น 100,689 คัน มีส่วนแบ่งการตลาด 42.1%
รองลงมาได้แก่ อีซูซุ มียอดจำหน่าย ทั้งสิ้น 55,751 คัน มีส่วนแบ่งตลาด 23.3% ที่สามได้แก่ ฮอนด้า มียอดจำหน่าย 26,145 คัน มีส่วนแบ่งตลาด 10.9%
นายอดิศักดิ์ โรหิตะศุน รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ยอดจำหน่ายรถยนต์ในช่วงเดือน พ.ค. นั้นติดช่วงปิดภาคการเรียนทำให้ค่ายรถยนต์ไม่สามารถอัดฉีดอะไรได้มากนัก และเชื่อว่ายอดจำหน่ายที่ลดลงเกือบ 20% นั้นน่าจะเป็นการเติบโตต่ำสุดในปีนี้แล้ว
ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ การกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ที่ขณะนี้แม้ว่ากำลังดำเนินการกันอยู่แต่ยังไม่ค่อยเต็มที่นัก อย่างการเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐก็ไม่ได้เป็นไปตามแผน อย่างไรก็ตาม เชื่อว่ายอดจำหน่ายคงไม่แย่ไปกว่านี้ และคาดว่ายอดจำหน่ายรถยนต์ปีนี้เลวร้ายสุดคือเท่ากับปีที่ผ่านมา นายอดิศักดิ์ กล่าว
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=171280
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news09/06/07
โพสต์ที่ 4
โตโยต้า-ฮอนด้า ขานรับภาษีอีโคคาร์ 17% ลั่นเปิดไลน์ผลิตภายใน 2-3 ปี
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 6 มิถุนายน 2550 15:29 น.
โตโยต้า-ฮอนด้า 2 ยักษ์ใหญ่ผลิตรถยนต์ ขานรับมาตรการลดภาษีรถยนต์อีโคคาร์ 17% พร้อมเปิดไลน์การผลิตได้ภายใน 2-3 ปี ฉลองภพ ลั่นยอมสูญรายได้ 7 หมื่นบาท/คัน แลกกับการช่วยชาติประหยัดเชื้อเพลิง และลดต้นทุนสิ่งแวดล้อม
วันนี้ (6 มิ.ย.) นายอดิศักดิ์ โรหิตะศุน รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอเชี่ยนฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด เปิดเผยถึงมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่ได้อนุมัติภาษีสรรพสามิต รถประหยัดพลังงาน (อีโคคาร์) ที่ระดับ 17% ส่งผลให้อุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ของไทย มีความชัดเจนมากขึ้น โดยความเห็นส่วนตัวคิดว่าภาษี 17% จะสามารถผลักดันให้เกิดการผลิตได้จริง แนวคิดฐานการผลิตรถยนต์ อีโคคาร์ ในประเทศไทย คงเกิดขึ้นได้ไม่ยากนัก
นายอดิศักดิ์ กล่าวว่า ฮอนด้า สนใจในโครงการและจะนำความชัดเจนไปศึกษา โดยจะมีการลงทุนอย่างแน่นอน ซึ่งผลที่ออกมาวันนี้นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลไทยยังให้ความสนใจในอุตสาหกรรมยานยนต์
http://www.manager.co.th/Business/ViewN ... 0000065506
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 6 มิถุนายน 2550 15:29 น.
โตโยต้า-ฮอนด้า 2 ยักษ์ใหญ่ผลิตรถยนต์ ขานรับมาตรการลดภาษีรถยนต์อีโคคาร์ 17% พร้อมเปิดไลน์การผลิตได้ภายใน 2-3 ปี ฉลองภพ ลั่นยอมสูญรายได้ 7 หมื่นบาท/คัน แลกกับการช่วยชาติประหยัดเชื้อเพลิง และลดต้นทุนสิ่งแวดล้อม
วันนี้ (6 มิ.ย.) นายอดิศักดิ์ โรหิตะศุน รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอเชี่ยนฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด เปิดเผยถึงมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่ได้อนุมัติภาษีสรรพสามิต รถประหยัดพลังงาน (อีโคคาร์) ที่ระดับ 17% ส่งผลให้อุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ของไทย มีความชัดเจนมากขึ้น โดยความเห็นส่วนตัวคิดว่าภาษี 17% จะสามารถผลักดันให้เกิดการผลิตได้จริง แนวคิดฐานการผลิตรถยนต์ อีโคคาร์ ในประเทศไทย คงเกิดขึ้นได้ไม่ยากนัก
นายอดิศักดิ์ กล่าวว่า ฮอนด้า สนใจในโครงการและจะนำความชัดเจนไปศึกษา โดยจะมีการลงทุนอย่างแน่นอน ซึ่งผลที่ออกมาวันนี้นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลไทยยังให้ความสนใจในอุตสาหกรรมยานยนต์
http://www.manager.co.th/Business/ViewN ... 0000065506
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news09/06/07
โพสต์ที่ 5
คาดค่ายรถขนเงินลงทุน2หมื่นล้าน [ ฉบับที่ 800 ประจำวันที่ 9-6-2007 ถึง 12-6-2007]
>หลังครม.มีมติเก็บภาษีอีโคคาร์17%
ครม. คลอดแผนกระตุ้นอีโคคาร์ เก็บภาษีแค่ 17% ยอม เสียรายได้ 7 หมื่นบาท/คัน กิมเอ็ง คาด ส่งผลดีในระยะยาว ระบุบริษัทรถ ยักษ์ใหญ่ แห่ขนเงินประมาณ 1-2 หมื่น ล้านบาท เข้าลงทุน แต่ต้องใช้เวลาอีกประมาณ 2 ปี เชื่อ อีโคคาร์ จะกลาย เป็นสินค้ายานยนต์ตัวใหม่ ที่แรงไม่แพ้รถกระบะ เป็น แชมเปี้ยนที่ 2 ของประเทศไทย
ดร.ฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ครม.อนุมัติแผนส่งเสริมการลง ทุนในอุตสาหกรรมรถยนต์ประหยัดพลัง งานมาตรฐานสากล (อีโคคาร์) ซึ่งประเด็นหลักคือมาตรการภาษีสรรพสามิต โดยรถ ยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากลจะต้อง มีความจุของกระบอกสูบไม่เกิน 1,300 ลูกบาศก์เซนติเมตร สำหรับเครื่องยนต์เบนซิน และจะต้องมีความจุของกระบอกสูบไม่เกิน 1,400 ลูกบาศก์เซนติเมตร สำหรับเครื่อง ยนต์ดีเซล โดยให้จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่าร้อยละ 17 และให้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ตุลาคม 2552
รมว.คลัง กล่าวรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากลแยกออกจากรถ ยนต์นั่งขนาดความจุของกระบอกสูบประมาณ 1,500 ลูกบาศก์เซนติเมตร (B Car) อย่างชัดเจน ทำให้มีผลกระทบน้อย กับแผนการผลิตรถยนต์ขนาด B (B Car) ที่มีอยู่แล้ว
ส่วนกรณีที่รัฐจะสูญเสียรายได้ภาษีสรรพสามิตต่อคันประมาณ 70,000 บาท/คัน แต่สิ่งที่รัฐจะได้รับประโยชน์ คือ การประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง และการลด ต้นทุนทางสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีมูลค่าสูง กว่ารายได้ที่สูญเสียไป
http://www.siamturakij.com/home/news/di ... ws_id=4040
>หลังครม.มีมติเก็บภาษีอีโคคาร์17%
ครม. คลอดแผนกระตุ้นอีโคคาร์ เก็บภาษีแค่ 17% ยอม เสียรายได้ 7 หมื่นบาท/คัน กิมเอ็ง คาด ส่งผลดีในระยะยาว ระบุบริษัทรถ ยักษ์ใหญ่ แห่ขนเงินประมาณ 1-2 หมื่น ล้านบาท เข้าลงทุน แต่ต้องใช้เวลาอีกประมาณ 2 ปี เชื่อ อีโคคาร์ จะกลาย เป็นสินค้ายานยนต์ตัวใหม่ ที่แรงไม่แพ้รถกระบะ เป็น แชมเปี้ยนที่ 2 ของประเทศไทย
ดร.ฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ครม.อนุมัติแผนส่งเสริมการลง ทุนในอุตสาหกรรมรถยนต์ประหยัดพลัง งานมาตรฐานสากล (อีโคคาร์) ซึ่งประเด็นหลักคือมาตรการภาษีสรรพสามิต โดยรถ ยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากลจะต้อง มีความจุของกระบอกสูบไม่เกิน 1,300 ลูกบาศก์เซนติเมตร สำหรับเครื่องยนต์เบนซิน และจะต้องมีความจุของกระบอกสูบไม่เกิน 1,400 ลูกบาศก์เซนติเมตร สำหรับเครื่อง ยนต์ดีเซล โดยให้จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่าร้อยละ 17 และให้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ตุลาคม 2552
รมว.คลัง กล่าวรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากลแยกออกจากรถ ยนต์นั่งขนาดความจุของกระบอกสูบประมาณ 1,500 ลูกบาศก์เซนติเมตร (B Car) อย่างชัดเจน ทำให้มีผลกระทบน้อย กับแผนการผลิตรถยนต์ขนาด B (B Car) ที่มีอยู่แล้ว
ส่วนกรณีที่รัฐจะสูญเสียรายได้ภาษีสรรพสามิตต่อคันประมาณ 70,000 บาท/คัน แต่สิ่งที่รัฐจะได้รับประโยชน์ คือ การประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง และการลด ต้นทุนทางสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีมูลค่าสูง กว่ารายได้ที่สูญเสียไป
http://www.siamturakij.com/home/news/di ... ws_id=4040
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news13/06/07
โพสต์ที่ 6
ซีพีเข็นรถเล็กจีนตีตลาดไทย
โดย คม ชัด ลึก วัน พุธ ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2550 02:53 น.
ซีพีเตรียมนำเข้ารถยนต์จากจีนยี่ห้อ เชอร์รี่ มาขายในไทย เผยเป็นรถขนาดเล็กราคาแค่ 4 แสนบาท มองเป็นโอกาสให้รถญี่ปุ่นปรับราคาลงแข่ง
นายธนากร เสรีบุรี ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหารกลุ่มธุรกิจยานยนต์และอุตสาหกรรมทั่วไป เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) เปิดเผยว่า บริษัทมีแผนนำเข้ารถยนต์ยี่ห้อ เชอร์รี่ จากประเทศจีนเข้ามาทำตลาดในเมืองไทยในปีนี้ โดยจะร่วมกับรัฐวิสาหกิจของจีน และบริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านรถยนต์ในไทย ร่วมทุนเปิดบริษัทใหม่ เพื่อดูแลด้านบริหารงาน การตลาด รวมถึงบริหารงานหลังการขาย ซึ่งคาดว่าจะใช้เงินลงทุน 100-200 ล้านบาท เปิดโชว์รูมในหัวเมืองหลักเบื้องต้น 3 แห่ง คือ กรุงเทพฯ เชียงใหม่ และภูเก็ต
ในช่วงแรกบริษัทจะมีการันตีซื้อคืนให้แก่ลูกค้า เพื่อสร้างความมั่นใจ เพราะส่วนใหญ่กลัวว่าสินค้าจากจีนจะไม่มีคุณภาพ ซึ่งรถยนต์เชอร์รี่ในจีนมียอดขายดีเป็นอันดับหนึ่ง บริษัทใช้เวลาถึง 2 ปีในการเจรจาเพื่อเป็นตัวแทนนำเข้าและจำหน่าย เชื่อว่าจะได้รับการตอบรับจากคนไทยอย่างดี เพราะราคาไม่แพง และคนไทยจะได้ประโยชน์เนื่องจากผู้ผลิตรถยนต์ญี่ปุ่นอาจลดราคาลงมาแข่งขัน นายธนากร กล่าว
http://news.sanook.com/economic/economic_145414.php
โดย คม ชัด ลึก วัน พุธ ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2550 02:53 น.
ซีพีเตรียมนำเข้ารถยนต์จากจีนยี่ห้อ เชอร์รี่ มาขายในไทย เผยเป็นรถขนาดเล็กราคาแค่ 4 แสนบาท มองเป็นโอกาสให้รถญี่ปุ่นปรับราคาลงแข่ง
นายธนากร เสรีบุรี ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหารกลุ่มธุรกิจยานยนต์และอุตสาหกรรมทั่วไป เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) เปิดเผยว่า บริษัทมีแผนนำเข้ารถยนต์ยี่ห้อ เชอร์รี่ จากประเทศจีนเข้ามาทำตลาดในเมืองไทยในปีนี้ โดยจะร่วมกับรัฐวิสาหกิจของจีน และบริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านรถยนต์ในไทย ร่วมทุนเปิดบริษัทใหม่ เพื่อดูแลด้านบริหารงาน การตลาด รวมถึงบริหารงานหลังการขาย ซึ่งคาดว่าจะใช้เงินลงทุน 100-200 ล้านบาท เปิดโชว์รูมในหัวเมืองหลักเบื้องต้น 3 แห่ง คือ กรุงเทพฯ เชียงใหม่ และภูเก็ต
ในช่วงแรกบริษัทจะมีการันตีซื้อคืนให้แก่ลูกค้า เพื่อสร้างความมั่นใจ เพราะส่วนใหญ่กลัวว่าสินค้าจากจีนจะไม่มีคุณภาพ ซึ่งรถยนต์เชอร์รี่ในจีนมียอดขายดีเป็นอันดับหนึ่ง บริษัทใช้เวลาถึง 2 ปีในการเจรจาเพื่อเป็นตัวแทนนำเข้าและจำหน่าย เชื่อว่าจะได้รับการตอบรับจากคนไทยอย่างดี เพราะราคาไม่แพง และคนไทยจะได้ประโยชน์เนื่องจากผู้ผลิตรถยนต์ญี่ปุ่นอาจลดราคาลงมาแข่งขัน นายธนากร กล่าว
http://news.sanook.com/economic/economic_145414.php
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news13/06/07
โพสต์ที่ 7
ชี้ภาษีอีโคคาร์3ปีคุ้มค่าจ่ายสวล.
โพสต์ทูเดย์ สรรพสามิตแจงสูญภาษีอีโคคาร์ 7 หมื่นบาทต่อคัน สุดคุ้ม 3 ปีช่วยชาติเสมอทุนประหยัดน้ำมันและค่ารักษาสิ่งแวดล้อม 2 หมื่นบาทต่อคันต่อปี
วิสุทธิ์
นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ อธิบดีกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า การสนับสนุนการผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงาน หรืออีโคคาร์ โดยเก็บภาษีสรรพสามิตที่ 17% ของรัฐบาลนั้นจะส่งผลดีมากกว่าผลเสีย
แม้ว่ากรมสรรพสามิตจะต้องเสียภาษีสรรพสามิตจากการลดอัตราภาษีไปคันละ 7 หมื่นบาท แต่รัฐจะได้รับประโยชน์จากการประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง โดยในส่วนของเครื่องยนต์เบนซินไม่เกิน 1300 ซีซี จะประหยัดน้ำมันได้คันละ 1.04 หมื่นบาทต่อปี สำหรับเครื่องดีเซลไม่เกิน 1400 ซีซี จะประหยัดน้ำมันได้ 1.55 หมื่นบาทต่อคันต่อปี
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=171948
โพสต์ทูเดย์ สรรพสามิตแจงสูญภาษีอีโคคาร์ 7 หมื่นบาทต่อคัน สุดคุ้ม 3 ปีช่วยชาติเสมอทุนประหยัดน้ำมันและค่ารักษาสิ่งแวดล้อม 2 หมื่นบาทต่อคันต่อปี
วิสุทธิ์
นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ อธิบดีกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า การสนับสนุนการผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงาน หรืออีโคคาร์ โดยเก็บภาษีสรรพสามิตที่ 17% ของรัฐบาลนั้นจะส่งผลดีมากกว่าผลเสีย
แม้ว่ากรมสรรพสามิตจะต้องเสียภาษีสรรพสามิตจากการลดอัตราภาษีไปคันละ 7 หมื่นบาท แต่รัฐจะได้รับประโยชน์จากการประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง โดยในส่วนของเครื่องยนต์เบนซินไม่เกิน 1300 ซีซี จะประหยัดน้ำมันได้คันละ 1.04 หมื่นบาทต่อปี สำหรับเครื่องดีเซลไม่เกิน 1400 ซีซี จะประหยัดน้ำมันได้ 1.55 หมื่นบาทต่อคันต่อปี
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=171948
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news14/06/07
โพสต์ที่ 8
หมดยุคทองตลาดรถปีนี้แค่6.5แสนคัน
โพสต์ทูเดย์ สมาคมรถญี่ปุ่น ฟันธงตลาดรถปีนี้ไม่เกิน 6.5 แสนคัน แถมอาจทรุดหนักเหลือแค่ 6 แสน
น.ส.สุรีทิพย์ ละอองทอง ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท มาสด้า เซลส์ (ประเทศไทย) กล่าวว่า แนวโน้มของตลาดรถยนต์ในประเทศไทยปีนี้ยังน่าเป็นห่วง โดยการวิเคราะห์ล่าสุดของกลุ่มสมาคมรถยนต์ญี่ปุ่น (เจทีซี) ระบุว่า ยอดจำหน่ายรถยนต์ในประเทศไทยปีนี้ไม่น่าจะเกิน 6.5 แสนคัน ขณะที่ระบบประเมินยอดขายของฟอร์ด กรุ๊ป ระบุว่า แนวโน้มอาจจะแย่กว่านั้น คือมียอดขายไม่เกิน 6 แสนคัน จากภาวะเศรษฐกิจที่ยังชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ ยอดจำหน่าย 6.5 แสนคัน ซึ่งน่าจะเป็นตัวเลขที่เป็นไปได้ แต่ผู้ประกอบการทุกรายต้องทำงานกันหนักมากขึ้น โดยบริษัทเองยังมองว่าเป้าหมายการขายที่วางไว้ตั้งแต่ต้นปีที่ 1.65 หมื่นคัน ยังสามารถทำได้ ซึ่งในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ มาสด้ามียอดจำหน่ายเพิ่มขึ้นราว 13% ซึ่งถือว่าน่าพอใจ
จากผลประกอบการในช่วง 5 เดือนแรก ทำให้เราเชื่อมั่นว่าจะไม่ต้องปรับเป้าการขายแต่อย่างใด แต่คงต้องทำงานหนักขึ้น และมีการทุ่มงบประมาณการตลาดเพิ่มขึ้นกว่า 25% จากปีที่ผ่านมา น.ส.สุรีทิพย์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม จะต้องมีการปรับแผนการทำตลาดอย่างต่อเนื่อง โดย ในปีนี้มาสด้าจะนำแนวความคิดซูม-ซูมมาปรับใช้ให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น เนื่องจากที่ผ่านมามีการทำสำรวจพบว่าลูกค้ารู้จักคำว่า ซูม-ซูม แต่ไม่เข้าใจว่าเป็นอย่างไร ซึ่งในปีนี้จะมีการจัดกิจกรรม ให้กับสินค้าหลักทั้ง 2 รุ่น ได้แก่ การ เปิดตัวรุ่นไมเนอร์เชนจ์ของมาสด้า 3 ซึ่งจะปรับภาพลักษณ์ไปเน้นที่ความ เป็นเทรนดี ที่โดดเด่นด้วยการออกแบบและการควบคุมรถที่ดี โดยคาดว่าหลังการเปิดตัวรุ่นไมเนอร์เชนจ์จะทำให้ ยอดขายเพิ่มเป็น 350-400 คัน
น.ส.สุรีทิพย์ กล่าวถึงโครงการรถยนต์นั่งประหยัดพลังงาน หรือ อีโคคาร์ว่า บริษัทมีความสนใจและ ส่งเรื่องกลับไปที่บริษัทแม่เพื่อพิจารณาในโครงการดังกล่าว แต่ทั้งนี้ก็ต้องศึกษาความคืบหน้าของโครงการอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในเรื่องกรอบการลงทุน ที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ยังไม่ได้สรุปออกมาว่าเป็นอย่างไร ซึ่งมาสด้า เองก็พร้อมร่วมมือกับบริษัทฟอร์ดเพื่อเดินหน้าโครงการนี้ต่อไป
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=172251
โพสต์ทูเดย์ สมาคมรถญี่ปุ่น ฟันธงตลาดรถปีนี้ไม่เกิน 6.5 แสนคัน แถมอาจทรุดหนักเหลือแค่ 6 แสน
น.ส.สุรีทิพย์ ละอองทอง ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท มาสด้า เซลส์ (ประเทศไทย) กล่าวว่า แนวโน้มของตลาดรถยนต์ในประเทศไทยปีนี้ยังน่าเป็นห่วง โดยการวิเคราะห์ล่าสุดของกลุ่มสมาคมรถยนต์ญี่ปุ่น (เจทีซี) ระบุว่า ยอดจำหน่ายรถยนต์ในประเทศไทยปีนี้ไม่น่าจะเกิน 6.5 แสนคัน ขณะที่ระบบประเมินยอดขายของฟอร์ด กรุ๊ป ระบุว่า แนวโน้มอาจจะแย่กว่านั้น คือมียอดขายไม่เกิน 6 แสนคัน จากภาวะเศรษฐกิจที่ยังชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ ยอดจำหน่าย 6.5 แสนคัน ซึ่งน่าจะเป็นตัวเลขที่เป็นไปได้ แต่ผู้ประกอบการทุกรายต้องทำงานกันหนักมากขึ้น โดยบริษัทเองยังมองว่าเป้าหมายการขายที่วางไว้ตั้งแต่ต้นปีที่ 1.65 หมื่นคัน ยังสามารถทำได้ ซึ่งในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ มาสด้ามียอดจำหน่ายเพิ่มขึ้นราว 13% ซึ่งถือว่าน่าพอใจ
จากผลประกอบการในช่วง 5 เดือนแรก ทำให้เราเชื่อมั่นว่าจะไม่ต้องปรับเป้าการขายแต่อย่างใด แต่คงต้องทำงานหนักขึ้น และมีการทุ่มงบประมาณการตลาดเพิ่มขึ้นกว่า 25% จากปีที่ผ่านมา น.ส.สุรีทิพย์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม จะต้องมีการปรับแผนการทำตลาดอย่างต่อเนื่อง โดย ในปีนี้มาสด้าจะนำแนวความคิดซูม-ซูมมาปรับใช้ให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น เนื่องจากที่ผ่านมามีการทำสำรวจพบว่าลูกค้ารู้จักคำว่า ซูม-ซูม แต่ไม่เข้าใจว่าเป็นอย่างไร ซึ่งในปีนี้จะมีการจัดกิจกรรม ให้กับสินค้าหลักทั้ง 2 รุ่น ได้แก่ การ เปิดตัวรุ่นไมเนอร์เชนจ์ของมาสด้า 3 ซึ่งจะปรับภาพลักษณ์ไปเน้นที่ความ เป็นเทรนดี ที่โดดเด่นด้วยการออกแบบและการควบคุมรถที่ดี โดยคาดว่าหลังการเปิดตัวรุ่นไมเนอร์เชนจ์จะทำให้ ยอดขายเพิ่มเป็น 350-400 คัน
น.ส.สุรีทิพย์ กล่าวถึงโครงการรถยนต์นั่งประหยัดพลังงาน หรือ อีโคคาร์ว่า บริษัทมีความสนใจและ ส่งเรื่องกลับไปที่บริษัทแม่เพื่อพิจารณาในโครงการดังกล่าว แต่ทั้งนี้ก็ต้องศึกษาความคืบหน้าของโครงการอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในเรื่องกรอบการลงทุน ที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ยังไม่ได้สรุปออกมาว่าเป็นอย่างไร ซึ่งมาสด้า เองก็พร้อมร่วมมือกับบริษัทฟอร์ดเพื่อเดินหน้าโครงการนี้ต่อไป
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=172251
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news16/06/07
โพสต์ที่ 9
ไฟเขียวแผนหนุนอีโคคาร์ ขีดเส้นยื่นบีโอไอ30พ.ย.นี้
โดย คม ชัด ลึก วัน เสาร์ ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2550 02:52 น.
บีโอไอเห็นชอบแผนส่งเสริมการลงทุนอีโคคาร์ ขีดเส้นยื่นขอส่งเสริมการลงทุนภายใน 30 พฤศจิกายนนี้
นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยหลังเป็นประธานประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ว่า ที่ประชุมเห็นชอบนโยบายส่งเสริมการผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล (อีโคคาร์) ให้ได้รับสิทธิประโยชน์สูงสุด ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรและยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลไม่เกิน 8 ปีในทุกเขตที่ตั้ง ซึ่งบริษัทรถยนต์ที่สนใจลงทุนต้องยื่นคำขอรับส่งเสริมการลงทุนภายในวันที่ 30 พฤศจิกายนนี้
เพื่อส่งเสริมให้มีการสร้างฐานผลิตรถยนต์ประเภทใหม่เกิดขึ้นในปีนี้ ซึ่งจะช่วยประหยัดพลังงานลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยผู้ลงทุนอีโคคาร์จะได้สิทธิประโยชน์ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับแผนลงทุนที่จะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ นายโฆสิต กล่าว
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังเห็นชอบมาตรการส่งเสริมการลงทุนกรณีพิเศษในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่เร่งด่วน โดยผู้ประกอบการลงทุนในและนอกพื้นที่ดังกล่าว ไม่ว่าจะได้รับการส่งเสริมลงทุนหรือไม่ก็ตาม หากมีการลงทุนขยายกิจการเพิ่มในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
http://news.sanook.com/economic/economic_146661.php
โดย คม ชัด ลึก วัน เสาร์ ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2550 02:52 น.
บีโอไอเห็นชอบแผนส่งเสริมการลงทุนอีโคคาร์ ขีดเส้นยื่นขอส่งเสริมการลงทุนภายใน 30 พฤศจิกายนนี้
นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยหลังเป็นประธานประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ว่า ที่ประชุมเห็นชอบนโยบายส่งเสริมการผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล (อีโคคาร์) ให้ได้รับสิทธิประโยชน์สูงสุด ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรและยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลไม่เกิน 8 ปีในทุกเขตที่ตั้ง ซึ่งบริษัทรถยนต์ที่สนใจลงทุนต้องยื่นคำขอรับส่งเสริมการลงทุนภายในวันที่ 30 พฤศจิกายนนี้
เพื่อส่งเสริมให้มีการสร้างฐานผลิตรถยนต์ประเภทใหม่เกิดขึ้นในปีนี้ ซึ่งจะช่วยประหยัดพลังงานลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยผู้ลงทุนอีโคคาร์จะได้สิทธิประโยชน์ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับแผนลงทุนที่จะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ นายโฆสิต กล่าว
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังเห็นชอบมาตรการส่งเสริมการลงทุนกรณีพิเศษในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่เร่งด่วน โดยผู้ประกอบการลงทุนในและนอกพื้นที่ดังกล่าว ไม่ว่าจะได้รับการส่งเสริมลงทุนหรือไม่ก็ตาม หากมีการลงทุนขยายกิจการเพิ่มในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
http://news.sanook.com/economic/economic_146661.php
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news19/06/07
โพสต์ที่ 10
พาณิชย์เร่งรวมตัวพัฒนาอู่ซ่อมรถยนต์สู้ศึกอู่ห้างข้ามชาติ - 19/6/2550
พาณิชย์เร่งรวมตัวพัฒนาอู่ซ่อมรถยนต์สู้ศึกอู่ห้างข้ามชาติ
นายคณิสสร นาวานุเคราะห์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยว่ากรมฯ ได้ส่งเสริมพัฒนาธุรกิจอู่ซ่อมรถยนต์ โดยเสริมสร้างความรู้ด้านการบริหารจัดการและการตลาดอย่างต่อเนื่อง จนปัจจุบัน เริ่มมีแนวทางบริหารจัดการที่เป็นระบบ แต่ยังไม่สามารถแข่งขันได้ กรมฯจึงได้ดำเนินโครงการพัฒนาเครือข่ายธุรกิจอู่ซ่อมรถยนต์ วัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มพูนความรู้ และแนวคิดการสร้างระบบปฏิบัติการเครือข่ายให้ผู้ประกอบธุรกิจอู่ซ่อมรถยนต์ในกลุ่ม ได้ร่วมกันกำหนดรูปแบบ และทิศทางเชิงกลยุทธ์ มีการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน รวมทั้งพัฒนาเครือข่ายธุรกิจอู่ซ่อมรถยนต์ให้เข้มแข็ง ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน
การดำเนินการตามโครงการดังกล่าว จะประเมินวิเคราะห์ศักยภาพ และคัดเลือกผู้เข้าร่วมเครือข่าย 40 กิจการ เสริมสร้างความรู้ด้านกระบวนการรวมกลุ่ม และพัฒนาเครือข่ายธุรกิจอู่ซ่อมรถยนต์ จัด Workshop เพื่อทำแผนกลยุทธ์การสร้างเครือข่าย และวางระบบ/รูปแบบของเครือข่าย ร่วมกันให้คำปรึกษาในลักษณะ on the job training ติดตาม และประเมินผลความก้าวหน้าการดำเนินงาน พร้อมกำหนดแนวทางแก้ไขปรับปรุงและจัดทำเอกสารเผยแพร่แนวทางพัฒนาเครือข่ายธุรกิจอู่ซ่อมรถยนต์
http://www.siamrath.co.th/Economic.asp?ReviewID=176234
พาณิชย์เร่งรวมตัวพัฒนาอู่ซ่อมรถยนต์สู้ศึกอู่ห้างข้ามชาติ
นายคณิสสร นาวานุเคราะห์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยว่ากรมฯ ได้ส่งเสริมพัฒนาธุรกิจอู่ซ่อมรถยนต์ โดยเสริมสร้างความรู้ด้านการบริหารจัดการและการตลาดอย่างต่อเนื่อง จนปัจจุบัน เริ่มมีแนวทางบริหารจัดการที่เป็นระบบ แต่ยังไม่สามารถแข่งขันได้ กรมฯจึงได้ดำเนินโครงการพัฒนาเครือข่ายธุรกิจอู่ซ่อมรถยนต์ วัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มพูนความรู้ และแนวคิดการสร้างระบบปฏิบัติการเครือข่ายให้ผู้ประกอบธุรกิจอู่ซ่อมรถยนต์ในกลุ่ม ได้ร่วมกันกำหนดรูปแบบ และทิศทางเชิงกลยุทธ์ มีการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน รวมทั้งพัฒนาเครือข่ายธุรกิจอู่ซ่อมรถยนต์ให้เข้มแข็ง ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน
การดำเนินการตามโครงการดังกล่าว จะประเมินวิเคราะห์ศักยภาพ และคัดเลือกผู้เข้าร่วมเครือข่าย 40 กิจการ เสริมสร้างความรู้ด้านกระบวนการรวมกลุ่ม และพัฒนาเครือข่ายธุรกิจอู่ซ่อมรถยนต์ จัด Workshop เพื่อทำแผนกลยุทธ์การสร้างเครือข่าย และวางระบบ/รูปแบบของเครือข่าย ร่วมกันให้คำปรึกษาในลักษณะ on the job training ติดตาม และประเมินผลความก้าวหน้าการดำเนินงาน พร้อมกำหนดแนวทางแก้ไขปรับปรุงและจัดทำเอกสารเผยแพร่แนวทางพัฒนาเครือข่ายธุรกิจอู่ซ่อมรถยนต์
http://www.siamrath.co.th/Economic.asp?ReviewID=176234
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news20/06/07
โพสต์ที่ 11
ฟิล์มรถยนต์ยังรุ่ง รุ่นแพง-ถูกยอดฉิว
โพสต์ทูเดย์ ลามิน่าชี้ตลาดฟิล์มกรองแสงกลุ่มพรีเมียม-ตลาดล่างมีแนวโน้มเติบโต ส่วนฟิล์มระดับกลางส่อเค้าทรุดหนัก
น.ส.จันทร์นภา สายสมร กรรมการผู้จัดการ บริษัท เทคโนเซล (เฟรย์) ตัวแทนจำหน่ายฟิล์มกรองแสงลามิน่าในประเทศไทย กล่าวถึงทิศทางของตลาดฟิล์มกรองแสงในประเทศไทยในปีนี้ว่า การเติบโตน่าจะยังคงมีอยู่ในกลุ่ม พรีเมียมและตลาดล่าง เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโดยรวมยังหดตัว ทำให้ลูกค้าต้องการความเชื่อมั่นในตลาดมากขึ้น ซึ่งจากเดิมสัดส่วนของตลาดพรีเมียมอยู่ที่ราว 30% และน่าจะเติบโตขึ้น เล็กน้อย
ขณะที่ตลาดระดับล่างก็เริ่มทำตลาดหนักมากขึ้น โดยเน้นที่เรื่องของการแข่งขันทางราคาเป็นหลัก เนื่องจากต้นทุนการติดตั้งค่อนข้างถูก ทำให้ผู้ประกอบการสามารถทำกำไรได้มากขึ้น และผู้ประกอบการมักจะแนะนำฟิล์มในระดับล่าง ให้กับลูกค้าที่ไม่ได้สนใจในเรื่องคุณภาพของฟิล์มมากนัก ซึ่งเดิมทีฟิล์มกรองแสงในตลาดล่างก็ครองส่วนแบ่งกว่า 50% อยู่แล้ว
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=173487
โพสต์ทูเดย์ ลามิน่าชี้ตลาดฟิล์มกรองแสงกลุ่มพรีเมียม-ตลาดล่างมีแนวโน้มเติบโต ส่วนฟิล์มระดับกลางส่อเค้าทรุดหนัก
น.ส.จันทร์นภา สายสมร กรรมการผู้จัดการ บริษัท เทคโนเซล (เฟรย์) ตัวแทนจำหน่ายฟิล์มกรองแสงลามิน่าในประเทศไทย กล่าวถึงทิศทางของตลาดฟิล์มกรองแสงในประเทศไทยในปีนี้ว่า การเติบโตน่าจะยังคงมีอยู่ในกลุ่ม พรีเมียมและตลาดล่าง เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโดยรวมยังหดตัว ทำให้ลูกค้าต้องการความเชื่อมั่นในตลาดมากขึ้น ซึ่งจากเดิมสัดส่วนของตลาดพรีเมียมอยู่ที่ราว 30% และน่าจะเติบโตขึ้น เล็กน้อย
ขณะที่ตลาดระดับล่างก็เริ่มทำตลาดหนักมากขึ้น โดยเน้นที่เรื่องของการแข่งขันทางราคาเป็นหลัก เนื่องจากต้นทุนการติดตั้งค่อนข้างถูก ทำให้ผู้ประกอบการสามารถทำกำไรได้มากขึ้น และผู้ประกอบการมักจะแนะนำฟิล์มในระดับล่าง ให้กับลูกค้าที่ไม่ได้สนใจในเรื่องคุณภาพของฟิล์มมากนัก ซึ่งเดิมทีฟิล์มกรองแสงในตลาดล่างก็ครองส่วนแบ่งกว่า 50% อยู่แล้ว
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=173487
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news21/06/07
โพสต์ที่ 12
โตโยต้าส่อเมินอีโคคาร์-โอดเงื่อนไขหิน
โดย ข่าวสด วัน พฤหัสบดี ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2550 08:33 น.
หวั่นกระทบตลาดรถวีออส-โฆสิตโบ้ยคุยบีโอไอ
นายศุภรัตน์ ศิริสุวรรณางกูร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยถึงโครงการส่งเสริมรถยนต์ประหยัดพลังงานขนาดมาตรฐานสากล (อีโคคาร์) ว่า ทางโตโยต้ากำลังพิจารณาว่าจะเสนอผลิตอีโคคาร์หรือไม่ เพราะขณะนี้รายละเอียดต่างๆ ยังไม่ชัดเจนมากนัก โดยจะต้องขอพิจารณาหลังจากที่ไปร่วมหารือกับคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ในวันที่ 26 มิ.ย.นี้ ซึ่งบีโอไอเรียกค่ายรถยนต์ที่สนใจเข้าโครงการไปหารือร่วมกันในรายละเอียดอีโคคาร์
ทั้งนี้ โตโยต้ายังมีข้อสงสัยหลายประการเกี่ยวกับการส่งเสริมอีโคคาร์ อาทิ ในเรื่องของการผลิตรถยนต์ 1 แสนคันในปีที่ 5 นั้น หากจะนับตั้งแต่ปีที่ 1-5 รวมเป็น 1 แสนคันจะได้หรือไม่ หรือหากโตโยต้านำเครื่องยนต์ 1300 ซีซี ตามเงื่อนไขของอีโคคาร์ไปใส่ในรถยนต์วีออสที่มีเครื่อง 1500 ซีซี แล้วจะนับรวมเครื่อง 1300 ซีซี กับ 1500 ซีซีได้หรือไม่ และในเรื่องของภาษีสรรพสามิตที่ลดให้ 17% นั้นผูกติดกับเงื่อนไข 1 แสนคันอย่างไร หากจะนำเข้ามาตามสิทธิ์ของการค้าเสรีอาเซียน (อาฟต้า) ที่มีกำแพงภาษี 5% ถ้าเป็นรถที่เข้าเงื่อนไขอีโคคาร์จะมารับสิทธิ์ในเรื่องภาษีสรรพสามิต 17% ได้หรือไม่ เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นนำเข้าจะคุ้มกว่าหรือไม่
http://news.sanook.com/economic/economic_148796.php
โดย ข่าวสด วัน พฤหัสบดี ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2550 08:33 น.
หวั่นกระทบตลาดรถวีออส-โฆสิตโบ้ยคุยบีโอไอ
นายศุภรัตน์ ศิริสุวรรณางกูร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยถึงโครงการส่งเสริมรถยนต์ประหยัดพลังงานขนาดมาตรฐานสากล (อีโคคาร์) ว่า ทางโตโยต้ากำลังพิจารณาว่าจะเสนอผลิตอีโคคาร์หรือไม่ เพราะขณะนี้รายละเอียดต่างๆ ยังไม่ชัดเจนมากนัก โดยจะต้องขอพิจารณาหลังจากที่ไปร่วมหารือกับคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ในวันที่ 26 มิ.ย.นี้ ซึ่งบีโอไอเรียกค่ายรถยนต์ที่สนใจเข้าโครงการไปหารือร่วมกันในรายละเอียดอีโคคาร์
ทั้งนี้ โตโยต้ายังมีข้อสงสัยหลายประการเกี่ยวกับการส่งเสริมอีโคคาร์ อาทิ ในเรื่องของการผลิตรถยนต์ 1 แสนคันในปีที่ 5 นั้น หากจะนับตั้งแต่ปีที่ 1-5 รวมเป็น 1 แสนคันจะได้หรือไม่ หรือหากโตโยต้านำเครื่องยนต์ 1300 ซีซี ตามเงื่อนไขของอีโคคาร์ไปใส่ในรถยนต์วีออสที่มีเครื่อง 1500 ซีซี แล้วจะนับรวมเครื่อง 1300 ซีซี กับ 1500 ซีซีได้หรือไม่ และในเรื่องของภาษีสรรพสามิตที่ลดให้ 17% นั้นผูกติดกับเงื่อนไข 1 แสนคันอย่างไร หากจะนำเข้ามาตามสิทธิ์ของการค้าเสรีอาเซียน (อาฟต้า) ที่มีกำแพงภาษี 5% ถ้าเป็นรถที่เข้าเงื่อนไขอีโคคาร์จะมารับสิทธิ์ในเรื่องภาษีสรรพสามิต 17% ได้หรือไม่ เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นนำเข้าจะคุ้มกว่าหรือไม่
http://news.sanook.com/economic/economic_148796.php
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news22/06/07
โพสต์ที่ 13
"อีโคคาร์" ใครได้-ใครเสีย ?
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้จัดทำผลวิจัยในเรื่องของรถยนต์จากโครงการอีโคคาร์ รวมทั้งประเมินถึงผลดีและผลเสียของรถยนต์รุ่นนี้ เมื่อมีการจำหน่ายออกสู่ท้องตลาด
สำหรับผู้บริโภค การกำเนิดรถอีโคคาร์ในตลาดรถยนต์ไทยจะทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้น ซึ่งคาดว่าราคารถอีโคคาร์จะตกอยู่ที่ประมาณคันละ 4 แสนบาท
ส่วนผลดีต่ออุตสาหกรรมรถยนต์และชิ้นส่วน น่าจะทำให้อนาคตของตลาดรถยนต์ในประเทศไทยคึกคักขึ้นอีก มีการขยายกำลังการผลิตรถยนต์ในไทยเพิ่ม ทำให้อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนของไทยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และหากความนิยมในรถรถอีโคคาร์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รถอีโคคาร์จะกลายเป็น โปรดักต์แชมเปี้ยนตัวใหม่ เคียงข้างรถบรรทุกปิกอัพที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในตลาดตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน จนกลายเป็นผลิตภัณฑ์ยานยนต์ที่มีการส่งออกไปทั่วโลก ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมให้อุตสาหกรรมรถยนต์ไทย เติบโตไปสู่เป้าหมายการเป็นศูนย์กลางการผลิตเพื่อส่งออกสู่ตลาดโลก
สวนผลกระทบที่อาจจะเกิดต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ไว้ดังนี้ ผลต่อโครงสร้างตลาดและผู้ประ กอบการ การเกิดเซ็กเมนต์ใหม่ในตลาดรถยนต์ไทยของรถอีโคคาร์ อาจจะเบียดเข้าไปแย่งส่วนแบ่งตลาดของรถยนต์บางเซ็กเมนต์อื่นที่มีอยู่แล้วในตลาด โดยเฉพาะรถยนต์นั่งขนาดเล็ก-กลาง
http://www.matichon.co.th/prachachat/pr ... ionid=0210
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้จัดทำผลวิจัยในเรื่องของรถยนต์จากโครงการอีโคคาร์ รวมทั้งประเมินถึงผลดีและผลเสียของรถยนต์รุ่นนี้ เมื่อมีการจำหน่ายออกสู่ท้องตลาด
สำหรับผู้บริโภค การกำเนิดรถอีโคคาร์ในตลาดรถยนต์ไทยจะทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้น ซึ่งคาดว่าราคารถอีโคคาร์จะตกอยู่ที่ประมาณคันละ 4 แสนบาท
ส่วนผลดีต่ออุตสาหกรรมรถยนต์และชิ้นส่วน น่าจะทำให้อนาคตของตลาดรถยนต์ในประเทศไทยคึกคักขึ้นอีก มีการขยายกำลังการผลิตรถยนต์ในไทยเพิ่ม ทำให้อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนของไทยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และหากความนิยมในรถรถอีโคคาร์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รถอีโคคาร์จะกลายเป็น โปรดักต์แชมเปี้ยนตัวใหม่ เคียงข้างรถบรรทุกปิกอัพที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในตลาดตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน จนกลายเป็นผลิตภัณฑ์ยานยนต์ที่มีการส่งออกไปทั่วโลก ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมให้อุตสาหกรรมรถยนต์ไทย เติบโตไปสู่เป้าหมายการเป็นศูนย์กลางการผลิตเพื่อส่งออกสู่ตลาดโลก
สวนผลกระทบที่อาจจะเกิดต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ไว้ดังนี้ ผลต่อโครงสร้างตลาดและผู้ประ กอบการ การเกิดเซ็กเมนต์ใหม่ในตลาดรถยนต์ไทยของรถอีโคคาร์ อาจจะเบียดเข้าไปแย่งส่วนแบ่งตลาดของรถยนต์บางเซ็กเมนต์อื่นที่มีอยู่แล้วในตลาด โดยเฉพาะรถยนต์นั่งขนาดเล็ก-กลาง
http://www.matichon.co.th/prachachat/pr ... ionid=0210
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news25/06/07
โพสต์ที่ 14
หลังพิจารณาจากราคาหุ้นที่ระดับต่ำและโอกาสที่จะปรับตัวขึ้น และถ้าถามว่าในช่วงนี้ถ้าจะให้ฟันธงว่าชอบหุ้นกลุ่มให้นั้น หลังจากได้มองซ้ายมองขวาดูตอนนี้ต้องบอกว่าหุ้นในกลุ่ม AUTO ชักเริ่มเข้าตาเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากที่ผ่านมาต้องยอมรับว่าราคาหุ้นในกลุ่มดังกล่าวค่อนข้าง Laggard ตลาดอยู่พอสมควร ขณะที่ถ้ามองพื้นฐานก็ถือว่าไม่ขี้เหล่เท่าไร แม้ตลาดรถยนต์ช่วงไตรมาส 1 ที่ผ่านมาจะหดตัว 18.3% YOY. แต่คาดว่าในช่วงครึ่งปีหลังน่าจะกระเตื้องขึ้นจากการจัดงานมอเตอร์ เอ็กซ์โป ที่คาดว่าจะมียอดจำหน่ายรถยนต์ไม่ต่ำกว่า 1.5 หมื่นคัน และผู้บริโภคน่าจะไม่ชะลอการตัดสินใจซื้อรถใหม่เพื่อรออีโคคาร์ ซึ่งยังคงต้องใช้เวลาอีกอย่างน้อย 18 เดือนกว่าจะเห็นรูปร่างกัน และหุ้นที่ชอบๆ(ไม่ใช้ที่ชอบที่ชอบนะครับ)ก็ต้อง TSC มีแนวรับ 8.10 บาท แนวต้าน 8.60/9.00 บาท และมีจุดถอยบริเวณ 8.00 บาท SECC มีแนวรับ 3.62 บาท แนวต้าน 3.80/3.92 บาท และมีจุดถอยบริเวณ 3.40 บาท และ SAT มีแนวรับ 11.50 บาท แนวต้าน 13.60/15.00 บาท และมีจุดถอยบริเวณ 10.90 บาท สอบถามข้อมูลการลงทุนเพิ่มเติมได้ที่ [email protected]
http://www.msnth.com/msn/money2/content ... 341&ch=229
http://www.msnth.com/msn/money2/content ... 341&ch=229
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news26/06/07
โพสต์ที่ 15
ยอดจยย.5เดือนซิ่งไม่ออก เศรษฐกิจรุมทุบร่วง15%
โพสต์ทูเดย์ เศรษฐกิจยังซบ รากหญ้าไร้กำลังซื้อ ส่งผลตลาดรถจักรยานยนต์หัวทิ่มไม่หยุด ยอดขาย 5 เดือน ร่วง 15%
นายโทชิยูกิ อินูมะ กรรมการบริหารฝ่ายการตลาด บริษัท เอ.พี.ฮอนด้า เปิดเผยถึงยอดจดทะเบียนป้ายวงกลมของรถจักรยานยนต์โดยรวมในเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา ปรากฏว่ามีปริมาณ 147,679 คัน ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าแล้ว มีอัตราการเติบโต ลดลงถึง 22%
ขณะที่ยอดจดทะเบียนสะสม 5 เดือนแรกของปีนี้มีปริมาณทั้งสิ้น 684,401 คัน อัตราการเติบโตลดลง 15% เมื่อเปรียบเทียบกับในช่วงเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา อันเป็นผลสะท้อนถึงสภาวะของตลาดที่ยังคงถดถอยลงอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ต้นปี ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากปัจจัยด้านเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศที่อยู่ในสภาพชะลอตัว
ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบยอดจดทะเบียนในช่วงเดือน พ.ค. กับเดือนก่อนหน้าคือ เม.ย. ของปีเดียวกันนี้แล้ว พบว่ามีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 21% เป็นเพราะว่าในเดือนที่ผ่านมา เป็นช่วงของฤดูกาลเปิดภาคเรียน ส่งผลให้ผู้ปกครองของเด็กนักเรียนในเขตพื้นที่ท้องถิ่นมีความจำเป็นต้องใช้รถจักรยานยนต์ในการรับส่งบุตรหลานไปโรงเรียน อีกทั้งในระหว่างช่วงเดือน พ.ค.นั้น ฮอนด้าจัดกิจกรรมกระตุ้นตลาดอย่างต่อเนื่อง ทำให้ยอดขายกระเตื้องขึ้น
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=174826
โพสต์ทูเดย์ เศรษฐกิจยังซบ รากหญ้าไร้กำลังซื้อ ส่งผลตลาดรถจักรยานยนต์หัวทิ่มไม่หยุด ยอดขาย 5 เดือน ร่วง 15%
นายโทชิยูกิ อินูมะ กรรมการบริหารฝ่ายการตลาด บริษัท เอ.พี.ฮอนด้า เปิดเผยถึงยอดจดทะเบียนป้ายวงกลมของรถจักรยานยนต์โดยรวมในเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา ปรากฏว่ามีปริมาณ 147,679 คัน ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าแล้ว มีอัตราการเติบโต ลดลงถึง 22%
ขณะที่ยอดจดทะเบียนสะสม 5 เดือนแรกของปีนี้มีปริมาณทั้งสิ้น 684,401 คัน อัตราการเติบโตลดลง 15% เมื่อเปรียบเทียบกับในช่วงเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา อันเป็นผลสะท้อนถึงสภาวะของตลาดที่ยังคงถดถอยลงอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ต้นปี ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากปัจจัยด้านเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศที่อยู่ในสภาพชะลอตัว
ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบยอดจดทะเบียนในช่วงเดือน พ.ค. กับเดือนก่อนหน้าคือ เม.ย. ของปีเดียวกันนี้แล้ว พบว่ามีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 21% เป็นเพราะว่าในเดือนที่ผ่านมา เป็นช่วงของฤดูกาลเปิดภาคเรียน ส่งผลให้ผู้ปกครองของเด็กนักเรียนในเขตพื้นที่ท้องถิ่นมีความจำเป็นต้องใช้รถจักรยานยนต์ในการรับส่งบุตรหลานไปโรงเรียน อีกทั้งในระหว่างช่วงเดือน พ.ค.นั้น ฮอนด้าจัดกิจกรรมกระตุ้นตลาดอย่างต่อเนื่อง ทำให้ยอดขายกระเตื้องขึ้น
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=174826
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news27/06/07
โพสต์ที่ 16
เอกชนเรียกร้องบีโอไอยืดหยุ่นสเปกอีโคคาร์มากขึ้น
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 26 มิถุนายน 2550 20:02 น.
บีโอไอเชิญผู้ประกอบการรถยนต์กว่า 10 ราย เพื่อชี้แจงนโยบายส่งเสริมการลงทุนรถยนต์ประหยัดพลังงาน หรืออีโคคาร์ ขณะที่เอกชนต้องการให้บีโอไอยืดหยุ่นกรอบของโครงสร้างรถอีโคคาร์มากขึ้น
นายสาธิต ชาญเชาว์กุล เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) กล่าวภายหลังเรียกผู้ประกอบการรถยนต์กว่า 10 ราย เข้าหารือ ว่า บีโอไอได้แจ้งให้ทราบนโยบายส่งเสริมการลงทุนรถอีโคคาร์ โดยบีโอไอยืนยันขอให้เอกชนยื่นข้อเสนอแผนการผลิตรถเข้ามาภายในวันที่ 30 พฤศจิกายนนี้เท่านั้น หลังจากนั้น จะไม่รับพิจารณา โดยการหารือวันนี้ (26 มิ.ย.) ภาคเอกชนได้แสดงความสนใจในเรื่องสำคัญ เช่น รายละเอียดของประกาศ กรมสรรพสามิตเรื่องภาษีรถอีโคคาร์ ว่าจะออกมาเมื่อใด โดยบีโอไอยืนยันว่า จะมีประกาศชัดเจนในปีนี้ เพื่อเป็นการยืนยันการผลักดันโครงการอีโคคาร์ของรัฐบาลไทย รวมทั้งภาคเอกชนยังสนใจเรื่องเครื่องยนต์ว่าจะมีขนาดที่ยืดหยุ่นมากขึ้นหรือไม่ รวมถึงข้อกำหนดเรื่องปริมาณการผลิต ที่ต้องได้ 100,000 คัน ในปีที่ 5 ซึ่งในส่วนนี้ บีโอไออธิบายเพิ่มเติมว่า รถที่ส่งออกสามารถสับเปลี่ยนสเปก เช่นเครื่องยนต์ได้ เพราะมีบางประเทศอาจไม่ต้องการเครื่องยนต์แบบยูโร 4 และแต่ละบริษัทยังสามารถผลิตรถยนต์มากกว่า 1 แบบได้ด้วย
http://www.manager.co.th/Business/ViewN ... 0000074530
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 26 มิถุนายน 2550 20:02 น.
บีโอไอเชิญผู้ประกอบการรถยนต์กว่า 10 ราย เพื่อชี้แจงนโยบายส่งเสริมการลงทุนรถยนต์ประหยัดพลังงาน หรืออีโคคาร์ ขณะที่เอกชนต้องการให้บีโอไอยืดหยุ่นกรอบของโครงสร้างรถอีโคคาร์มากขึ้น
นายสาธิต ชาญเชาว์กุล เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) กล่าวภายหลังเรียกผู้ประกอบการรถยนต์กว่า 10 ราย เข้าหารือ ว่า บีโอไอได้แจ้งให้ทราบนโยบายส่งเสริมการลงทุนรถอีโคคาร์ โดยบีโอไอยืนยันขอให้เอกชนยื่นข้อเสนอแผนการผลิตรถเข้ามาภายในวันที่ 30 พฤศจิกายนนี้เท่านั้น หลังจากนั้น จะไม่รับพิจารณา โดยการหารือวันนี้ (26 มิ.ย.) ภาคเอกชนได้แสดงความสนใจในเรื่องสำคัญ เช่น รายละเอียดของประกาศ กรมสรรพสามิตเรื่องภาษีรถอีโคคาร์ ว่าจะออกมาเมื่อใด โดยบีโอไอยืนยันว่า จะมีประกาศชัดเจนในปีนี้ เพื่อเป็นการยืนยันการผลักดันโครงการอีโคคาร์ของรัฐบาลไทย รวมทั้งภาคเอกชนยังสนใจเรื่องเครื่องยนต์ว่าจะมีขนาดที่ยืดหยุ่นมากขึ้นหรือไม่ รวมถึงข้อกำหนดเรื่องปริมาณการผลิต ที่ต้องได้ 100,000 คัน ในปีที่ 5 ซึ่งในส่วนนี้ บีโอไออธิบายเพิ่มเติมว่า รถที่ส่งออกสามารถสับเปลี่ยนสเปก เช่นเครื่องยนต์ได้ เพราะมีบางประเทศอาจไม่ต้องการเครื่องยนต์แบบยูโร 4 และแต่ละบริษัทยังสามารถผลิตรถยนต์มากกว่า 1 แบบได้ด้วย
http://www.manager.co.th/Business/ViewN ... 0000074530
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news28/06/07
โพสต์ที่ 17
BOIนัด10ค่ายรถเคลียร์"อีโคคาร์"
BOI แจงสิทธิประโยชน์อีโคคาร์ ผู้ผลิตรถยนต์กว่า 10 ค่าย รับทราบความชัดเจน เผยผ่อนปรนผลิตเพื่อส่งออกไม่จำเป็นต้องยึดเงื่อนไข BOI ทั้งหมด แต่นำมารวมคิดเป็น 1 แสนคัน
นายสาธิต ชาญเชาวน์กุล เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เปิดเผยว่า ได้มีการชี้แจงเกี่ยวกับประเด็นปัญหาการให้สิทธิประโยชน์ส่งเสริมการลงทุนสำหรับผลิตรถยนต์นั่งประหยัดพลังงาน (อีโคคาร์) มีประเด็นหลักๆ คือ ลดภาษีของกรมสรรพสามิต 17% ซึ่งคาดว่าจะมีผลบังคับใชในปีนี้ เรื่องคุณภาพน้ำมันที่จะใช้กับรถคาดว่าจะมีทันสำหรับการผลิตที่จะเกิดขึ้นในอีก
3-5 ปี และปริมาณการผลิต กำหนดไว้ปีที่ 5 ต้องผลิตให้ได้ 1แสนคัน โดยไม่นำแต่ละปีมารวมกัน
ประเด็นที่ผู้ประกอบการรถยนต์กว่า 10 ค่าย ที่มาร่วมประชุมความเป็นห่วงกันมาก คือ ปริมาณการผลิต 1 แสนคัน ซึ่ง BOI ได้มีการผ่อนคลายเรื่องการส่งออกมากขึ้น คือ รถที่ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศต้องทำตามเงื่อนไข BOI ทั้งหมด แต่ถ้าเพื่อออกอาจไม่จำเป็น ที่ต้องทำตามเงื่อนไข BOI ทั้งหมดขึ้นกับความต้องการของลูกค้า แต่สามารถนำเอาปริมาณที่ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศและส่งออกมาคิดรวมเป็น 1 แสนคันได้
"BOIพยายามชี้แจงปัญหาที่ผู้ประกอบการสงสัยให้ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งผู้ประกอบการต้องไปคิดโครงการเพื่อเสนอมายัง BOI ในวันที่ 30 พ.ย.นี้คาดว่าคงมีหลายรายสนใจทำโครงการนี้"
ด้านนายนินนาท ไชยธีรภิญโญ นายกกิตติม ศักดิ์ สมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย กล่าวว่า ผู้ประกอบการได้รับความชัดเจนเรื่องสิทธิประโยชน์ ในการลงทุนมากขึ้น แต่ก็อยากให้ BOI ผ่อนปรนเรื่องแพลตฟอร์มเครื่องยนต์ให้ยืดหยุ่นมากขึ้น การผลิตรถอีโคคาร์ทำได้หลายรุ่น เพราะถ้าทำรุ่นเดียวเป็นไปได้ยากที่ตลาดจะรองรับได้ ทั้งอยากให้ BOI เจรจากับกรมสรรพสามิตลดภาษีรถยนต์รุ่นอื่นที่สามารถทำตามเงื่อนไข BOI ได้เพิ่มขึ้นด้วย
http://www.matichon.co.th/prachachat/pr ... ionid=0201
BOI แจงสิทธิประโยชน์อีโคคาร์ ผู้ผลิตรถยนต์กว่า 10 ค่าย รับทราบความชัดเจน เผยผ่อนปรนผลิตเพื่อส่งออกไม่จำเป็นต้องยึดเงื่อนไข BOI ทั้งหมด แต่นำมารวมคิดเป็น 1 แสนคัน
นายสาธิต ชาญเชาวน์กุล เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เปิดเผยว่า ได้มีการชี้แจงเกี่ยวกับประเด็นปัญหาการให้สิทธิประโยชน์ส่งเสริมการลงทุนสำหรับผลิตรถยนต์นั่งประหยัดพลังงาน (อีโคคาร์) มีประเด็นหลักๆ คือ ลดภาษีของกรมสรรพสามิต 17% ซึ่งคาดว่าจะมีผลบังคับใชในปีนี้ เรื่องคุณภาพน้ำมันที่จะใช้กับรถคาดว่าจะมีทันสำหรับการผลิตที่จะเกิดขึ้นในอีก
3-5 ปี และปริมาณการผลิต กำหนดไว้ปีที่ 5 ต้องผลิตให้ได้ 1แสนคัน โดยไม่นำแต่ละปีมารวมกัน
ประเด็นที่ผู้ประกอบการรถยนต์กว่า 10 ค่าย ที่มาร่วมประชุมความเป็นห่วงกันมาก คือ ปริมาณการผลิต 1 แสนคัน ซึ่ง BOI ได้มีการผ่อนคลายเรื่องการส่งออกมากขึ้น คือ รถที่ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศต้องทำตามเงื่อนไข BOI ทั้งหมด แต่ถ้าเพื่อออกอาจไม่จำเป็น ที่ต้องทำตามเงื่อนไข BOI ทั้งหมดขึ้นกับความต้องการของลูกค้า แต่สามารถนำเอาปริมาณที่ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศและส่งออกมาคิดรวมเป็น 1 แสนคันได้
"BOIพยายามชี้แจงปัญหาที่ผู้ประกอบการสงสัยให้ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งผู้ประกอบการต้องไปคิดโครงการเพื่อเสนอมายัง BOI ในวันที่ 30 พ.ย.นี้คาดว่าคงมีหลายรายสนใจทำโครงการนี้"
ด้านนายนินนาท ไชยธีรภิญโญ นายกกิตติม ศักดิ์ สมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย กล่าวว่า ผู้ประกอบการได้รับความชัดเจนเรื่องสิทธิประโยชน์ ในการลงทุนมากขึ้น แต่ก็อยากให้ BOI ผ่อนปรนเรื่องแพลตฟอร์มเครื่องยนต์ให้ยืดหยุ่นมากขึ้น การผลิตรถอีโคคาร์ทำได้หลายรุ่น เพราะถ้าทำรุ่นเดียวเป็นไปได้ยากที่ตลาดจะรองรับได้ ทั้งอยากให้ BOI เจรจากับกรมสรรพสามิตลดภาษีรถยนต์รุ่นอื่นที่สามารถทำตามเงื่อนไข BOI ได้เพิ่มขึ้นด้วย
http://www.matichon.co.th/prachachat/pr ... ionid=0201
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news28/06/07
โพสต์ที่ 18
มหกรรมยานยนต์ 2007 ค่ายรถแห่จอง 25 ยี่ห้อ
งานมหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 24 หรือ Thailand International Motor Expo 2007 เปิดจองพื้นที่สำหรับรถยนต์ อุปกรณ์เครื่องเสียง และสินค้าเกี่ยวเนื่อง เมื่อวันที่ 6-7 มิถุนายนที่ผ่านมา ปรากฏว่ามีบริษัทรถยนต์ให้ความสนใจอย่างมาก โดยมีบริษัทที่จองพื้นที่แล้วไม่ต่ำกว่า 25 ยี่ห้อ ขณะที่พื้นที่จัดแสดงสินค้าเครื่องเสียง อุปกรณ์ตกแต่งรถยนต์ และอุปกรณ์เกี่ยวเนื่องอื่นๆ มีบริษัทห้างร้านสนใจจองพื้นที่แล้วกว่า 80%
"งานในปีนี้บริษัทรถยนต์ยังคงให้ความไว้วางใจอย่างต่อเนื่อง และมีความเชื่อมั่นในศักยภาพของงานที่มีส่วนช่วยกระตุ้นตลาดให้เกิดการซื้อขายอย่างคึกคัก ประกอบกับสถานการณ์ทางการเมืองเริ่มคลี่คลาย ทำให้การจองพื้นที่งานเมื่อวันที่ 6 มิถุนายนที่ผ่านมา มีบริษัทรถยนต์ให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก เฉพาะในวันนั้นก็มีบริษัทรถยนต์จองพื้นที่ดีๆ ไปแล้วหลายบริษัท" นายขวัญชัย ปภัสร์พงษ์ ประธานจัดงานกล่าว
สำหรับบริษัทที่ได้พื้นที่ขนาดใหญ่ 3 อันดับแรก ได้แก่ 1.ฮุนไดและมิตซูบิชิ ขนาดพื้นที่ 1,496 ตร.ม. 2.ฮอนด้าและโตโยต้า ขนาดพื้นที่ 1,360 ตร.ม. 3.เชฟโรเลตและนิสสัน ขนาดพื้นที่ 1,200 ตร.ม.
ส่วนบริษัทรถยนต์ที่จองพื้นที่แสดงรถมือสอง ได้แก่ บีเอ็มดับเบิลยู ขนาดพื้นที่ 1,720 ตร.ม. เชฟโรเลต ขนาดพื้นที่ 598 ตร.ม. และโตโยต้า ขนาดพื้นที่ 520 ตร.ม.
นอกจากนั้น ยังมีบริษัทรถยนต์ที่แจ้งความจำนงพร้อมกับแจ้งขนาดพื้นที่จัดแสดงที่ต้องการเอาไว้อีกหลายบริษัท ประกอบด้วย ออดี้ ซีตรอง ฮัมเมอร์ เกีย ลัมโบกินี โลตัส เมอร์เซเดส-เบนซ์ เปอโยต์ สโกด้า ซันยอง ตาต้า โฟล์กสวาเกน และไทยรุ่งยูเนี่ยนคาร์ ซึ่งทางผู้จัดงานพร้อมจะดำเนินการให้ต่อไป
ด้านผังการจัดงานนั้น นายประพงษ์ ไม้เจริญ รองประธานจัดงาน เปิดเผยว่า ปีนี้ได้มีการปรับพื้นที่บางส่วนเพื่อให้มีความคล่องตัวในเรื่องช่องทางเดิน รวมถึงจัดสรรแบ่งพื้นที่จัดแสดงสินค้าเป็นหมวดหมู่ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้เข้าชมงานมากขึ้น ส่วนขนาดของแต่ละพื้นที่จะใกล้เคียงกับปีก่อน แต่สามารถปรับเปลี่ยนขนาดได้ในพื้นที่บางส่วน นอกจากนั้น ยังเตรียมพื้นที่บริเวณด้านหลังอาคารชาเลนเจอร์ 1-3 สำหรับจอดรถทดลองขับ ให้แก่บริษัทรถยนต์ที่นำรถเข้าร่วมแสดง โดยสามารถรองรับรถได้ถึง 189 คัน
http://www.matichon.co.th/prachachat/pr ... ionid=0210
งานมหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 24 หรือ Thailand International Motor Expo 2007 เปิดจองพื้นที่สำหรับรถยนต์ อุปกรณ์เครื่องเสียง และสินค้าเกี่ยวเนื่อง เมื่อวันที่ 6-7 มิถุนายนที่ผ่านมา ปรากฏว่ามีบริษัทรถยนต์ให้ความสนใจอย่างมาก โดยมีบริษัทที่จองพื้นที่แล้วไม่ต่ำกว่า 25 ยี่ห้อ ขณะที่พื้นที่จัดแสดงสินค้าเครื่องเสียง อุปกรณ์ตกแต่งรถยนต์ และอุปกรณ์เกี่ยวเนื่องอื่นๆ มีบริษัทห้างร้านสนใจจองพื้นที่แล้วกว่า 80%
"งานในปีนี้บริษัทรถยนต์ยังคงให้ความไว้วางใจอย่างต่อเนื่อง และมีความเชื่อมั่นในศักยภาพของงานที่มีส่วนช่วยกระตุ้นตลาดให้เกิดการซื้อขายอย่างคึกคัก ประกอบกับสถานการณ์ทางการเมืองเริ่มคลี่คลาย ทำให้การจองพื้นที่งานเมื่อวันที่ 6 มิถุนายนที่ผ่านมา มีบริษัทรถยนต์ให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก เฉพาะในวันนั้นก็มีบริษัทรถยนต์จองพื้นที่ดีๆ ไปแล้วหลายบริษัท" นายขวัญชัย ปภัสร์พงษ์ ประธานจัดงานกล่าว
สำหรับบริษัทที่ได้พื้นที่ขนาดใหญ่ 3 อันดับแรก ได้แก่ 1.ฮุนไดและมิตซูบิชิ ขนาดพื้นที่ 1,496 ตร.ม. 2.ฮอนด้าและโตโยต้า ขนาดพื้นที่ 1,360 ตร.ม. 3.เชฟโรเลตและนิสสัน ขนาดพื้นที่ 1,200 ตร.ม.
ส่วนบริษัทรถยนต์ที่จองพื้นที่แสดงรถมือสอง ได้แก่ บีเอ็มดับเบิลยู ขนาดพื้นที่ 1,720 ตร.ม. เชฟโรเลต ขนาดพื้นที่ 598 ตร.ม. และโตโยต้า ขนาดพื้นที่ 520 ตร.ม.
นอกจากนั้น ยังมีบริษัทรถยนต์ที่แจ้งความจำนงพร้อมกับแจ้งขนาดพื้นที่จัดแสดงที่ต้องการเอาไว้อีกหลายบริษัท ประกอบด้วย ออดี้ ซีตรอง ฮัมเมอร์ เกีย ลัมโบกินี โลตัส เมอร์เซเดส-เบนซ์ เปอโยต์ สโกด้า ซันยอง ตาต้า โฟล์กสวาเกน และไทยรุ่งยูเนี่ยนคาร์ ซึ่งทางผู้จัดงานพร้อมจะดำเนินการให้ต่อไป
ด้านผังการจัดงานนั้น นายประพงษ์ ไม้เจริญ รองประธานจัดงาน เปิดเผยว่า ปีนี้ได้มีการปรับพื้นที่บางส่วนเพื่อให้มีความคล่องตัวในเรื่องช่องทางเดิน รวมถึงจัดสรรแบ่งพื้นที่จัดแสดงสินค้าเป็นหมวดหมู่ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้เข้าชมงานมากขึ้น ส่วนขนาดของแต่ละพื้นที่จะใกล้เคียงกับปีก่อน แต่สามารถปรับเปลี่ยนขนาดได้ในพื้นที่บางส่วน นอกจากนั้น ยังเตรียมพื้นที่บริเวณด้านหลังอาคารชาเลนเจอร์ 1-3 สำหรับจอดรถทดลองขับ ให้แก่บริษัทรถยนต์ที่นำรถเข้าร่วมแสดง โดยสามารถรองรับรถได้ถึง 189 คัน
http://www.matichon.co.th/prachachat/pr ... ionid=0210
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news30/06/07
โพสต์ที่ 19
ผวาอีโคคาร์-รถจีนป่วนตลาด +อีซูซุลั่นกระทบกระบะแค่สิว ๆ-เต็นท์มือสองเลิกซื้อเร่งระบายสต๊อก
เล็งอีโคคาร์-รถจีน ป่วนตลาดรถยนต์ กำลังซื้อหดหายรอรถต้นแบบ อีซูซุลั่นกระทบตลาดรถกระบะแค่สิวๆ ชี้ลูกค้าเป็นคนละกลุ่ม มั่นใจรัฐยังหนุนเป็นโปรดักส์แชมเปี้ยน วงการรถมือสองผวา เร่งระบายสต็อค สุดเสียวกำเงินสดซื้อรถอาจถูกเหมาเป็นพวกต้น คมช.
นางปนัดดา เจณณวาสิน รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ตรีเพชรอีซูซุเซลส์ จำกัดแล้ว ผู้จัดจำหน่ายรถยนต์อีซูซุในประเทศไทย เปิดเผยกับ"ฐานเศรษฐกิจ"ว่า จากการที่รัฐบาลได้มีนโยบายส่งเสริมรถประหยัดพลังงานหรือรถอีโคคาร์ โดยให้อัตราภาษีเพียง 17 % เพื่อให้ผู้บริษัทรถยนต์ทำราคาขายในระดับ 400,000-500,000 บาทนั้น คงไม่ส่งผลกระทบต่อตลาดรถกระบะโดยรวม เนื่องจากลูกค้าของอีโคคาร์เป็นคนละกลุ่มกับลูกค้ารถกระบะ ที่ต้องการรถยนต์ที่สามารถใช้งานได้อย่างอเนกประสงค์ ทั้งการโดยสารและบรรทุกสิ่งของ ขณะที่อีโคคาร์เป็นรถที่ราคาประหยัด อย่างไรก็ตาม ราคาของอีโคคาร์อาจมีผลกระทบต่อยอดขายรถกระบะรุ่นประหยัดบ้างเล็กน้อย แต่สำหรับรุ่นอื่นๆคงไม่กระทบ เพราะปัจจุบัน รถกระบะมีราคาสูงตั้งแต่ 400,000-900,000 บาท และมีรูปแบบที่สามารถใช้งานได้หลากหลายมากขึ้น อย่างไรก็ตาม อีโคคาร์น่าจะกระทบต่อตลาดรถเก๋งมือสองมากกว่า
" อีซูซุเข้าใจดีว่า รัฐบาลไม่ได้เปลี่ยนนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมรถยนต์ของไทย หรือเปลี่ยนการสนับสนุนการผลิตรถกระบะไปเป็นการสนับสนุนรถอีโคคาร์ เพราะที่ผ่านมา ภาครัฐผลักดันให้รถกระบะเป็นโปรดักส์แชมเปี้ยนมาโดยตลอด แต่เมื่อมีตัวที่ 1 แล้ว ก็อยากส่งเสริมให้อีโคคาร์เป็นโปรดักส์แชปเปี้ยนตัวที่ 2 เพื่อสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งให้กับอุตสาหกรรมยานยนต์ในระยะยาว"
จากการสำรวจของ"ฐานเศรษฐกิจ"พบว่า แม้ว่ากระทรวงการคลังได้กำหนดภาษีสรรพสามิตอีโคคาร์ไว้ที่ 17 % และบีโอไอ.ให้สิทธิประโยชน์พิเศษด้านการลงทุนอย่างเต็มที่แล้วก็ตาม แต่บริษัทรถยนต์ทุกรายยังเห็นว่า เงื่อนไขต่างๆยังไม่จูงใจเพียงพอที่จะทุ่มเงินลงทุนกว่า 5,000 ล้านบาท เพื่อเริ่มโครงการพัฒนารถยนต์รุ่นใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อัตราภาษีสรรพสามิตที่สูงเกินความคาดหมาย จากเดิมที่บริษัทรถยนต์ประเมินไว้ว่าอยู่ในระดับ 10-15 % ซึ่งนอกจากภาษีไม่จูงใจแล้ว ขณะเดียวกัน บีโอไอ.ยังกำหนดเงื่อนไขบีบรัฐการพัฒนารถใหม่มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกำหนดให้มีอัตราการสิ้นเปลืองน้ำมัน 20 กม./ลิตร มีมาตรฐานมลพิษไอเสียระดับ ยูโร4 ขึ้นไป ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ไม่เกิน 120 กรัม/1กิโลเมตร ปลอดภัยการชนหน้าและข้างตามมาตรฐาน ซึ่งล้วนแต่เป็นมาตรฐานที่สูงมาก มีเพียงรถไม่กี่รุ่นที่ทำได้ในระดับนี้ อีกทั้งการพัฒนารถให้มีมาตรฐานตามที่กำหนด ก็ส่งผลให้ต้นทุนราคารถสูงขึ้นตามไปด้วย และจะเป็นอุปสรรคที่สำคัญของการส่งออกไปขายทั่วโลก และเป้าหมายที่ต้องผลิตได้ถึง 100,000 คัน ในปีที่5 ก็เป็นไปได้ยาก
http://www.thannews.th.com/detialnews.p ... issue=2230
เล็งอีโคคาร์-รถจีน ป่วนตลาดรถยนต์ กำลังซื้อหดหายรอรถต้นแบบ อีซูซุลั่นกระทบตลาดรถกระบะแค่สิวๆ ชี้ลูกค้าเป็นคนละกลุ่ม มั่นใจรัฐยังหนุนเป็นโปรดักส์แชมเปี้ยน วงการรถมือสองผวา เร่งระบายสต็อค สุดเสียวกำเงินสดซื้อรถอาจถูกเหมาเป็นพวกต้น คมช.
นางปนัดดา เจณณวาสิน รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ตรีเพชรอีซูซุเซลส์ จำกัดแล้ว ผู้จัดจำหน่ายรถยนต์อีซูซุในประเทศไทย เปิดเผยกับ"ฐานเศรษฐกิจ"ว่า จากการที่รัฐบาลได้มีนโยบายส่งเสริมรถประหยัดพลังงานหรือรถอีโคคาร์ โดยให้อัตราภาษีเพียง 17 % เพื่อให้ผู้บริษัทรถยนต์ทำราคาขายในระดับ 400,000-500,000 บาทนั้น คงไม่ส่งผลกระทบต่อตลาดรถกระบะโดยรวม เนื่องจากลูกค้าของอีโคคาร์เป็นคนละกลุ่มกับลูกค้ารถกระบะ ที่ต้องการรถยนต์ที่สามารถใช้งานได้อย่างอเนกประสงค์ ทั้งการโดยสารและบรรทุกสิ่งของ ขณะที่อีโคคาร์เป็นรถที่ราคาประหยัด อย่างไรก็ตาม ราคาของอีโคคาร์อาจมีผลกระทบต่อยอดขายรถกระบะรุ่นประหยัดบ้างเล็กน้อย แต่สำหรับรุ่นอื่นๆคงไม่กระทบ เพราะปัจจุบัน รถกระบะมีราคาสูงตั้งแต่ 400,000-900,000 บาท และมีรูปแบบที่สามารถใช้งานได้หลากหลายมากขึ้น อย่างไรก็ตาม อีโคคาร์น่าจะกระทบต่อตลาดรถเก๋งมือสองมากกว่า
" อีซูซุเข้าใจดีว่า รัฐบาลไม่ได้เปลี่ยนนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมรถยนต์ของไทย หรือเปลี่ยนการสนับสนุนการผลิตรถกระบะไปเป็นการสนับสนุนรถอีโคคาร์ เพราะที่ผ่านมา ภาครัฐผลักดันให้รถกระบะเป็นโปรดักส์แชมเปี้ยนมาโดยตลอด แต่เมื่อมีตัวที่ 1 แล้ว ก็อยากส่งเสริมให้อีโคคาร์เป็นโปรดักส์แชปเปี้ยนตัวที่ 2 เพื่อสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งให้กับอุตสาหกรรมยานยนต์ในระยะยาว"
จากการสำรวจของ"ฐานเศรษฐกิจ"พบว่า แม้ว่ากระทรวงการคลังได้กำหนดภาษีสรรพสามิตอีโคคาร์ไว้ที่ 17 % และบีโอไอ.ให้สิทธิประโยชน์พิเศษด้านการลงทุนอย่างเต็มที่แล้วก็ตาม แต่บริษัทรถยนต์ทุกรายยังเห็นว่า เงื่อนไขต่างๆยังไม่จูงใจเพียงพอที่จะทุ่มเงินลงทุนกว่า 5,000 ล้านบาท เพื่อเริ่มโครงการพัฒนารถยนต์รุ่นใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อัตราภาษีสรรพสามิตที่สูงเกินความคาดหมาย จากเดิมที่บริษัทรถยนต์ประเมินไว้ว่าอยู่ในระดับ 10-15 % ซึ่งนอกจากภาษีไม่จูงใจแล้ว ขณะเดียวกัน บีโอไอ.ยังกำหนดเงื่อนไขบีบรัฐการพัฒนารถใหม่มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกำหนดให้มีอัตราการสิ้นเปลืองน้ำมัน 20 กม./ลิตร มีมาตรฐานมลพิษไอเสียระดับ ยูโร4 ขึ้นไป ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ไม่เกิน 120 กรัม/1กิโลเมตร ปลอดภัยการชนหน้าและข้างตามมาตรฐาน ซึ่งล้วนแต่เป็นมาตรฐานที่สูงมาก มีเพียงรถไม่กี่รุ่นที่ทำได้ในระดับนี้ อีกทั้งการพัฒนารถให้มีมาตรฐานตามที่กำหนด ก็ส่งผลให้ต้นทุนราคารถสูงขึ้นตามไปด้วย และจะเป็นอุปสรรคที่สำคัญของการส่งออกไปขายทั่วโลก และเป้าหมายที่ต้องผลิตได้ถึง 100,000 คัน ในปีที่5 ก็เป็นไปได้ยาก
http://www.thannews.th.com/detialnews.p ... issue=2230
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news02/07/07
โพสต์ที่ 20
วอลโว่ปรับรับภาษีอาฟตา5%
เล็งไทย-มาเลย์ ผลิตรถแบ่งขาย ควบเพิ่มรถใหม่
โพสต์ทูเดย์ วอลโว่เตรียมปรับแผนสินค้าและการผลิตในไทย/มาเลเซีย หลังรัฐบาลประกาศลดภาษีเหลือ 5% ตามกรอบอาฟตา
นายพอล สโตคส์ ประธานบริหาร บริษัท วอลโว่ คาร์ (ประเทศไทย) กล่าวว่า หลังจากที่รัฐบาลไทยได้ประกาศลดภาษีนำเข้าจากประเทศมาเลเซียเหลือ 5% ตามกรอบเขตการค้าเสรีอาเซียน (อาฟตา) วอลโว่ ก็เตรียมที่จะปรับแผนงานในไทยและมาเลเซียด้วยเช่นกัน เนื่องจากในปัจจุบัน มีการผลิตรถยนต์ที่โรงงานทั้ง 2 แห่ง
ในไทยทำการผลิต 4 รุ่น ได้แก่ เอส60 เอส80 วี70 และเอ็กซ์ซี90 ขณะที่โรงงานมาเลเซียจะผลิตอยู่ 6 รุ่น ได้แก่ 4 รุ่นที่ทำการผลิตในประเทศไทยและเพิ่มรุ่นวี50 และเอส40 ไป อาจจะมีการปรับแผนงานการผลิตในส่วนนี้ได้
นอกจากนี้ ยังพิจารณาในเรื่องของการนำเข้ารถยนต์ที่ผลิตในประเทศมาเลเซียเข้ามาทำตลาดในประเทศไทยได้ในอนาคต แต่คงจะต้องศึกษาในรายละเอียดและแผนงานทั้งหมดอีกครั้งหนึ่งก่อนที่จะสรุปว่าจะมีการปรับแผนงานไปในรูปแบบใด
นายพอล กล่าวต่อว่า ในประเทศไทยนั้น แผนงานหลักจะเน้นที่การ สร้างภาพลักษณ์ของตราสินค้าให้ดีมากขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องของตัวสินค้าจะมีการเปิดตัวรถรุ่นใหม่เข้าทำตลาดอย่างต่อเนื่อง
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=176045
เล็งไทย-มาเลย์ ผลิตรถแบ่งขาย ควบเพิ่มรถใหม่
โพสต์ทูเดย์ วอลโว่เตรียมปรับแผนสินค้าและการผลิตในไทย/มาเลเซีย หลังรัฐบาลประกาศลดภาษีเหลือ 5% ตามกรอบอาฟตา
นายพอล สโตคส์ ประธานบริหาร บริษัท วอลโว่ คาร์ (ประเทศไทย) กล่าวว่า หลังจากที่รัฐบาลไทยได้ประกาศลดภาษีนำเข้าจากประเทศมาเลเซียเหลือ 5% ตามกรอบเขตการค้าเสรีอาเซียน (อาฟตา) วอลโว่ ก็เตรียมที่จะปรับแผนงานในไทยและมาเลเซียด้วยเช่นกัน เนื่องจากในปัจจุบัน มีการผลิตรถยนต์ที่โรงงานทั้ง 2 แห่ง
ในไทยทำการผลิต 4 รุ่น ได้แก่ เอส60 เอส80 วี70 และเอ็กซ์ซี90 ขณะที่โรงงานมาเลเซียจะผลิตอยู่ 6 รุ่น ได้แก่ 4 รุ่นที่ทำการผลิตในประเทศไทยและเพิ่มรุ่นวี50 และเอส40 ไป อาจจะมีการปรับแผนงานการผลิตในส่วนนี้ได้
นอกจากนี้ ยังพิจารณาในเรื่องของการนำเข้ารถยนต์ที่ผลิตในประเทศมาเลเซียเข้ามาทำตลาดในประเทศไทยได้ในอนาคต แต่คงจะต้องศึกษาในรายละเอียดและแผนงานทั้งหมดอีกครั้งหนึ่งก่อนที่จะสรุปว่าจะมีการปรับแผนงานไปในรูปแบบใด
นายพอล กล่าวต่อว่า ในประเทศไทยนั้น แผนงานหลักจะเน้นที่การ สร้างภาพลักษณ์ของตราสินค้าให้ดีมากขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องของตัวสินค้าจะมีการเปิดตัวรถรุ่นใหม่เข้าทำตลาดอย่างต่อเนื่อง
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=176045
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news04/07/07
โพสต์ที่ 21
ทีโอเอจับญี่ปุ่น ตั้งรง.สีรถยนต์ หวัง5ปีขึ้นผู้นำ
โพสต์ทูเดย์ ทีโอเอจับมืออิซามุ เพ้นท์จากญี่ปุ่น ตั้งโรงงานผลิตสีซ่อมรถยนต์ วางเป้าครองที่ 1 ใน 5 ปี
นายณัฏฐวุฒิ ตั้งคารวคุณ กรรมการผู้จัดการ สายงานการผลิต บริษัท ทีโอเอ เพ้นท์ (ประเทศไทย) กล่าวว่า บริษัทได้ร่วมทุนกับบริษัท อิซามุ เพ้นท์ ผู้ผลิตและจำหน่ายสีพ่นซ่อมรถยนต์ จากประเทศญี่ปุ่น จัดตั้งบริษัท ทีโอเอ-ไอเอสเอ็ม เพ้นท์ (ประเทศไทย) ขึ้น โดยทีโอเอฯ ถือหุ้น 55% และ อิซามุ เพ้นท์ ถือหุ้น 45% พร้อมทั้งใช้งบลงทุนก่อสร้างอาคาร 70 ล้านบาท เพื่อผลิตสีพ่นซ่อมรถยนต์ มีกำลังการผลิตช่วงแรก 400 ตันต่อปี และผลิตได้ถึง 1 พันตันต่อปี
สำหรับระยะแรกจะเป็นการผลิตเพื่อป้อนตลาดในประเทศ และคาดว่าภายใน 3 ปี จะสามารถขยายตลาดส่งออกไปที่เวียดนาม ลาว พม่า กัมพูชา บังกลาเทศ ปากีสถานและประเทศในแถบตะวันออกกลาง รวมทั้งมีแผนสร้างโรงงานในจีน ภายใน 5 ปี ด้วย โดยตั้งเป้าว่า ภายใน 5 ปี จะครองส่วนแบ่งตลาดสีพ่นซ่อมรถยนต์ในไทยให้ได้ 25% หรือมีส่วนแบ่งอันดับ 1 จากยอดขาย 1 พันล้านบาท จากปัจจุบันตลาดสีพ่นซ่อมรถยนต์มียี่ห้อ ดูปองท์เป็นผู้นำด้วยส่วนแบ่ง 24-25%
ส่วนแผนการทำตลาดนั้น จะเน้นไปที่ศูนย์บริการรถยนต์ค่ายต่างๆ สัดส่วน 70% ตลอดจนตัวแทนจำหน่ายที่เป็นเจ้าของอู่ซ่อมรถยนต์ ช่างซ่อมสี ที่ประสานงานกับอู่มาตรฐาน(อู่กลาง) และอีก 30% เป็นการจำหน่ายผ่านตัวแทนจำหน่ายสีทั่วประเทศกว่า 1 พันร้านค้า
การชะลอตัวของภาคอสังหาฯ และการลงทุน ตลอดจนปัจจัยลบทางเศรษฐ กิจ ส่งผลกระทบต่อกลุ่มสีทาอาคารที่จะชะลอตัวถึงปีหน้า ขณะที่ธุรกิจรถยนต์กลับเติบโตต่อเนื่องปีละ 7% บริษัทจึงสนใจเข้าสู่ธุรกิจดังกล่าว เพราะมูลค่าตลาดรวมสูงถึง 8.3 พันล้านบาท แบ่งเป็นตลาดสีพ่นซ่อมรถยนต์ 3.8 พันล้านบาท และสีพ่นรถยนต์ 4.5 พันล้าน บาท นายณัฏฐวุฒิ กล่าว
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=176489
โพสต์ทูเดย์ ทีโอเอจับมืออิซามุ เพ้นท์จากญี่ปุ่น ตั้งโรงงานผลิตสีซ่อมรถยนต์ วางเป้าครองที่ 1 ใน 5 ปี
นายณัฏฐวุฒิ ตั้งคารวคุณ กรรมการผู้จัดการ สายงานการผลิต บริษัท ทีโอเอ เพ้นท์ (ประเทศไทย) กล่าวว่า บริษัทได้ร่วมทุนกับบริษัท อิซามุ เพ้นท์ ผู้ผลิตและจำหน่ายสีพ่นซ่อมรถยนต์ จากประเทศญี่ปุ่น จัดตั้งบริษัท ทีโอเอ-ไอเอสเอ็ม เพ้นท์ (ประเทศไทย) ขึ้น โดยทีโอเอฯ ถือหุ้น 55% และ อิซามุ เพ้นท์ ถือหุ้น 45% พร้อมทั้งใช้งบลงทุนก่อสร้างอาคาร 70 ล้านบาท เพื่อผลิตสีพ่นซ่อมรถยนต์ มีกำลังการผลิตช่วงแรก 400 ตันต่อปี และผลิตได้ถึง 1 พันตันต่อปี
สำหรับระยะแรกจะเป็นการผลิตเพื่อป้อนตลาดในประเทศ และคาดว่าภายใน 3 ปี จะสามารถขยายตลาดส่งออกไปที่เวียดนาม ลาว พม่า กัมพูชา บังกลาเทศ ปากีสถานและประเทศในแถบตะวันออกกลาง รวมทั้งมีแผนสร้างโรงงานในจีน ภายใน 5 ปี ด้วย โดยตั้งเป้าว่า ภายใน 5 ปี จะครองส่วนแบ่งตลาดสีพ่นซ่อมรถยนต์ในไทยให้ได้ 25% หรือมีส่วนแบ่งอันดับ 1 จากยอดขาย 1 พันล้านบาท จากปัจจุบันตลาดสีพ่นซ่อมรถยนต์มียี่ห้อ ดูปองท์เป็นผู้นำด้วยส่วนแบ่ง 24-25%
ส่วนแผนการทำตลาดนั้น จะเน้นไปที่ศูนย์บริการรถยนต์ค่ายต่างๆ สัดส่วน 70% ตลอดจนตัวแทนจำหน่ายที่เป็นเจ้าของอู่ซ่อมรถยนต์ ช่างซ่อมสี ที่ประสานงานกับอู่มาตรฐาน(อู่กลาง) และอีก 30% เป็นการจำหน่ายผ่านตัวแทนจำหน่ายสีทั่วประเทศกว่า 1 พันร้านค้า
การชะลอตัวของภาคอสังหาฯ และการลงทุน ตลอดจนปัจจัยลบทางเศรษฐ กิจ ส่งผลกระทบต่อกลุ่มสีทาอาคารที่จะชะลอตัวถึงปีหน้า ขณะที่ธุรกิจรถยนต์กลับเติบโตต่อเนื่องปีละ 7% บริษัทจึงสนใจเข้าสู่ธุรกิจดังกล่าว เพราะมูลค่าตลาดรวมสูงถึง 8.3 พันล้านบาท แบ่งเป็นตลาดสีพ่นซ่อมรถยนต์ 3.8 พันล้านบาท และสีพ่นรถยนต์ 4.5 พันล้าน บาท นายณัฏฐวุฒิ กล่าว
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=176489
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news08/07/07
โพสต์ที่ 22
รถเล็กจากจีนจะผงาดในตลาดสหรัฐ
โดย ฐานเศรษฐกิจ วัน อาทิตย์ ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 04:50 น.
อุตสาหกรรมรถยนต์จีนถูกจับตามองจากผู้ผลิตรถยนต์ทั่วโลกอีกครั้งเมื่อบริษัท ไครสเลอร์ กรุ๊ปจำกัด (Chrysler Group) ผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติอเมริกัน เตรียมปลุกปั้นรถเล็กแดนมังกรให้เข้าไปทำตลาดในประเทศสหรัฐอเมริกาบ้านเกิด ซึ่งเป็นกลยุทธ์ในการทำตลาดที่ชาญฉลาดและเหมาะสมกับสถานการณ์ตลาดสหรัฐที่ลูกค้าหันมาเลือกซื้อรถยนต์ขนาดเล็กประหยัดน้ำมันกันมากขึ้น
ซึ่งเมื่อเร็วๆนี้ ไครสเลอร์ ได้ลงนามในสัญญาเป็นพันธมิตรร่วมผลิตรถยนต์ขนาดเล็ก กับบริษัท เชรี่ ออโตโมบิล จำกัด (Chery Automobile) โดยใช้โครงสร้างพื้นฐานของ เชรี่ เอ 1 (Chery A1) ผลิตรถยนต์ขนาดเล็กในประเทศจีนและส่งออกไปจำหน่ายในต่างประเทศ
ปัจจุบัน เชรี่ ผลิต เอ 1 รุ่นที่ใช้เครื่องยนต์ 1.3 ลิตร ออกจำหน่ายในตลาดจีนในราคา 7,100 -7,900 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ 245,660-273,340 บาท (อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 5 กรกฏาคม) แต่ไม่มีการเปิดเผยราคารถเล็กเพื่อการส่งออกแต่อย่างใด
นายโทมัส ลาซอร์ดา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) ไครสเลอร์ ระบุว่ารถยนต์ขนาดเล็กที่ผลิตขึ้นมาจากความร่วมมือของทั้งสองบริษัทโดยอาศัยเทคโนโลยีที่ได้จากหน่วยงานวิจัยทั่วโลกของไครสเลอร์ นำมาใช้ในโรงงานของเชรี่ เพื่อรับประกันคุณภาพรถยนต์ ที่จะติดแบรนด์ ดอดจ์ (Dodge)ของไครสเลอร์ ก่อนส่งไปบุกตลาดภูมิภาคละตินอเมริกา หรือ ยุโรปตะวันออก ที่มีมาตรฐานความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมไม่เข้มงวดนักภายในหนึ่งปี และ ตั้งเป้าไว้ว่าจะพัฒนารถยนต์รุ่นดังกล่าวให้สามารถส่งออกไปจำหน่ายในสหรัฐอเมริกา และ ยุโรปตะวันตก ให้ได้ภายในสองปีครึ่งนับจากนี้
- ข้อตกลงแบบวิน-วิน
ข้อตกลงกับผู้ผลิตรถยนต์ในประเทศจีนเป็นการวางกลยุทธ์ในการฟื้นฟูกิจการที่ประสบกับการขาดทุนของไครสเลอร์ เพราะสามารถลดต้นทุนในการก่อตั้งโรงงานผลิตแห่งใหม่ แต่สามารถนำข้อมูลความต้องการลักษณะรถยนต์ของลูกค้า รวมทั้งเทคโนโลยีที่บริษัทมีอยู่ในมือมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ด้วยการผลิตรถยนต์คุณภาพที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนการสร้างความร่วมมือกับผู้ผลิตรถยนต์ทั่วโลกของไครสเลอร์
ซึ่งผู้ผลิตรถยนต์จีนต้องการรับเทคโนโลยีจากต่างประเทศเพื่อใช้พัฒนาคุณภาพการผลิตและคุณภาพรถยนต์ของตน นายหยิง ตงเหยา ประธานกรรมการและซีอีโอของเชรี่ กล่าวว่า เชรี่ เริ่มทำการผลิตรถยนต์ไม่นานนัก ดังนั้นเราจึงต้องเรียนรู้จากไครสเลอร์เพื่อเพิ่มขอบเขตศักยภาพในการแข่งขันในอนาคตอันใกล้
เชรี่ ออโตโมบิล ก่อตั้งขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2540 มีฐานการผลิตหลักที่เมือง วูหู ทางตะวันออกของจีน และ เป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุดทั้งยังมีอัตราการเติบโตสูงที่สุดของจีน ในปีที่แล้วบริษัทสามารถผลิตรถยนต์ได้ 270,000 คัน และส่งออกได้ 40,000 คัน
ศักยภาพในการผลิตรถยนต์ของเชรี่ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ในประเทศจีน ที่ปัจจุบันกลายเป็นผู้ผลิตรถยนต์อันดับสองของโลก แซงหน้าญี่ปุ่นไปเมื่อปีที่แล้ว และปัจจุบันเป็นรองเพียงสหรัฐอเมริกาเท่านั้น ผู้ผลิตยังต้องเพิ่มศักยภาพในการผลิตรถยนต์อีกมากเพื่อรองรับกับความต้องการภายในประเทศที่มีการคาดกันว่าภายในปีพ.ศ. 2557 ความต้องการรถยนต์ในประเทศจีนจะสูงถึง 6 ล้านคันต่อปี
ทั้งยังเป็นที่น่าจับตามองถึงศักยภาพในการส่งออกรถยนต์ของจีนที่จะเพิ่มจำนวนขึ้นเป็นเงาตามกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นเพื่อตอบสนองปริมาณความต้องการในประเทศ ที่ผ่านมาผู้ผลิตรถยนต์ของจีนสามารถส่งออกรถกระบะราคาถูก และ รถโดยสารไปยังแอฟริกา เอเชียและ ประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆได้ 325,000 คัน ในปีพ.ศ. 2549
http://news.sanook.com/economic/economic_153202.php
โดย ฐานเศรษฐกิจ วัน อาทิตย์ ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 04:50 น.
อุตสาหกรรมรถยนต์จีนถูกจับตามองจากผู้ผลิตรถยนต์ทั่วโลกอีกครั้งเมื่อบริษัท ไครสเลอร์ กรุ๊ปจำกัด (Chrysler Group) ผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติอเมริกัน เตรียมปลุกปั้นรถเล็กแดนมังกรให้เข้าไปทำตลาดในประเทศสหรัฐอเมริกาบ้านเกิด ซึ่งเป็นกลยุทธ์ในการทำตลาดที่ชาญฉลาดและเหมาะสมกับสถานการณ์ตลาดสหรัฐที่ลูกค้าหันมาเลือกซื้อรถยนต์ขนาดเล็กประหยัดน้ำมันกันมากขึ้น
ซึ่งเมื่อเร็วๆนี้ ไครสเลอร์ ได้ลงนามในสัญญาเป็นพันธมิตรร่วมผลิตรถยนต์ขนาดเล็ก กับบริษัท เชรี่ ออโตโมบิล จำกัด (Chery Automobile) โดยใช้โครงสร้างพื้นฐานของ เชรี่ เอ 1 (Chery A1) ผลิตรถยนต์ขนาดเล็กในประเทศจีนและส่งออกไปจำหน่ายในต่างประเทศ
ปัจจุบัน เชรี่ ผลิต เอ 1 รุ่นที่ใช้เครื่องยนต์ 1.3 ลิตร ออกจำหน่ายในตลาดจีนในราคา 7,100 -7,900 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ 245,660-273,340 บาท (อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 5 กรกฏาคม) แต่ไม่มีการเปิดเผยราคารถเล็กเพื่อการส่งออกแต่อย่างใด
นายโทมัส ลาซอร์ดา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) ไครสเลอร์ ระบุว่ารถยนต์ขนาดเล็กที่ผลิตขึ้นมาจากความร่วมมือของทั้งสองบริษัทโดยอาศัยเทคโนโลยีที่ได้จากหน่วยงานวิจัยทั่วโลกของไครสเลอร์ นำมาใช้ในโรงงานของเชรี่ เพื่อรับประกันคุณภาพรถยนต์ ที่จะติดแบรนด์ ดอดจ์ (Dodge)ของไครสเลอร์ ก่อนส่งไปบุกตลาดภูมิภาคละตินอเมริกา หรือ ยุโรปตะวันออก ที่มีมาตรฐานความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมไม่เข้มงวดนักภายในหนึ่งปี และ ตั้งเป้าไว้ว่าจะพัฒนารถยนต์รุ่นดังกล่าวให้สามารถส่งออกไปจำหน่ายในสหรัฐอเมริกา และ ยุโรปตะวันตก ให้ได้ภายในสองปีครึ่งนับจากนี้
- ข้อตกลงแบบวิน-วิน
ข้อตกลงกับผู้ผลิตรถยนต์ในประเทศจีนเป็นการวางกลยุทธ์ในการฟื้นฟูกิจการที่ประสบกับการขาดทุนของไครสเลอร์ เพราะสามารถลดต้นทุนในการก่อตั้งโรงงานผลิตแห่งใหม่ แต่สามารถนำข้อมูลความต้องการลักษณะรถยนต์ของลูกค้า รวมทั้งเทคโนโลยีที่บริษัทมีอยู่ในมือมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ด้วยการผลิตรถยนต์คุณภาพที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนการสร้างความร่วมมือกับผู้ผลิตรถยนต์ทั่วโลกของไครสเลอร์
ซึ่งผู้ผลิตรถยนต์จีนต้องการรับเทคโนโลยีจากต่างประเทศเพื่อใช้พัฒนาคุณภาพการผลิตและคุณภาพรถยนต์ของตน นายหยิง ตงเหยา ประธานกรรมการและซีอีโอของเชรี่ กล่าวว่า เชรี่ เริ่มทำการผลิตรถยนต์ไม่นานนัก ดังนั้นเราจึงต้องเรียนรู้จากไครสเลอร์เพื่อเพิ่มขอบเขตศักยภาพในการแข่งขันในอนาคตอันใกล้
เชรี่ ออโตโมบิล ก่อตั้งขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2540 มีฐานการผลิตหลักที่เมือง วูหู ทางตะวันออกของจีน และ เป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุดทั้งยังมีอัตราการเติบโตสูงที่สุดของจีน ในปีที่แล้วบริษัทสามารถผลิตรถยนต์ได้ 270,000 คัน และส่งออกได้ 40,000 คัน
ศักยภาพในการผลิตรถยนต์ของเชรี่ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ในประเทศจีน ที่ปัจจุบันกลายเป็นผู้ผลิตรถยนต์อันดับสองของโลก แซงหน้าญี่ปุ่นไปเมื่อปีที่แล้ว และปัจจุบันเป็นรองเพียงสหรัฐอเมริกาเท่านั้น ผู้ผลิตยังต้องเพิ่มศักยภาพในการผลิตรถยนต์อีกมากเพื่อรองรับกับความต้องการภายในประเทศที่มีการคาดกันว่าภายในปีพ.ศ. 2557 ความต้องการรถยนต์ในประเทศจีนจะสูงถึง 6 ล้านคันต่อปี
ทั้งยังเป็นที่น่าจับตามองถึงศักยภาพในการส่งออกรถยนต์ของจีนที่จะเพิ่มจำนวนขึ้นเป็นเงาตามกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นเพื่อตอบสนองปริมาณความต้องการในประเทศ ที่ผ่านมาผู้ผลิตรถยนต์ของจีนสามารถส่งออกรถกระบะราคาถูก และ รถโดยสารไปยังแอฟริกา เอเชียและ ประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆได้ 325,000 คัน ในปีพ.ศ. 2549
http://news.sanook.com/economic/economic_153202.php
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news09/07/07
โพสต์ที่ 23
10 ปีหลังวิกฤตต้มยำกุ้งรถ มิตซูบิชิ ยังต้องฝ่ามรสุม - 9/7/2550
10 ปีหลังวิกฤตต้มยำกุ้งรถ มิตซูบิชิ ยังต้องฝ่ามรสุม
หลังวิกฤตเศรษฐกิจปี 40 มิตซูบิชิ ค่ายรถยนต์ยักษ์ใหญ่ของโลกจากเมืองปลาดิบ และอยู่ในไทยมาหลายสิบปี โดนหางเลขด้วย แม้ 2-3 ปีต่อมา จนปึงปัจจุบัน คู่แข่งร่วมชาติค่ายสำคัญ อย่าง โตโยต้า ฮอนด้า ฟื้นตัว และกลับมารุ่งเรืองเหมือนเดิม แต่มิตซูบิชิยังมีอาการทรงกับทรุด
โดยเฉพาะในตลาดรถเก๋งนั้น ยอดขายรถเมื่อเทียบกับคู่แข่ง น้อยกว่ามาก โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับในอดีตหลายสิบปีก่อน ที่มิตซูบิชิอยู่ในกลุ่มผู้นำในตลาด มิตซูบิชิเป็นผู้สร้างตลาดรถสปอร์ตซีดาน ด้วยรถรุ่น กาแลนท์ แลนเซอร์ จนมีชื่อเสียงในเรื่องสมรรถนะ และความแรง ล้ำหน้าคู่แข่งตั้งแต่เมื่อเกือบ 40 ปีที่แล้ว และกลายเป็นตำนานจนทุกวันนี้
แต่มาวันนี้ ในประเทศไทย ชื่อเสียงของมิตซูบิชิในตลาดรถเก๋งในกลุ่มผู้บริโภคทั่วไปแผ่วไปมาก แม้รถรุ่นแลนเซอร์ยังมีขายอยู่ แต่ก็ไม่โด่งดังเช่นในอดีต ยอดขายรถเก๋งของมิตซูบิชิปีนี้เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ยังลดลงเดือน พ.ค. 2549 มิตซูบิชิมียอดขายรถเก๋ง 413 คัน แต่เดือนเดียวกันปีนี้ มิตซูบิชิมียอดขายรถเก๋งเพียง 288 คัน รถลงถึง 123 คัน หรือ 30.27%5 เดือนแรกยอดขายวูบ 38%
ถ้าดูยอดรวม 5 เดือนของปี 2549 มิตซูบิชิขายรถเก๋งได้ 2,050 คัน แต่ในช่วงเดียวกันของปีนี้ ลดเหลือ 1,271 คัน ลดลงถึง 779 คัน หรือ 38% มีส่วนแบ่งในตลาดรถเก๋งในไทยเพียง 1.9%ขณะที่ตัวเด่นกลับอยู่ที่รถปิคอัพ รุ่น ไตรตัน ซึ่งโด่งดังมาแต่ครั้งรุ่นก่อน คือ สตราดา ที่มีชื่อเสียงในเรื่องความสวยงาม โฉบเฉี่ยว ถูกใจคนรุ่นใหม่อย่างไรก็ตาม มิตซูบิชิในไทยยังคงมีการทำกิจกรรมการตลาดต่อเนื่อง แม้การโฆษณาจะลดลง แต่ก็เน้นทำอีเว้นท์มากขึ้น เพื่อรักษาผู้บริโภคที่ยังรักมิตซูบิชิไว้
ช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย มีแคมเปญการตลาดออกมาหลายแคมเปญ เช่น แคมเปญ บริการด้วยใจ ใส่รถมิตซู เพื่อเปิดโอกาสให้ลูกค้ารถยนต์มิตซูบิชิทุกรุ่นสามารถนำรถเข้ามารับบริการตรวจเช็คสภาพรถฟรีสูงถึง 27 รายการ พร้อมรับส่วนลดสูงสุด 30% สำหรับค่าอะไหล่แท้ และ 10% สำหรับเคมีภัณฑ์ทั่วไป โดยลูกค้ารถยนต์มิตซูบิชิทุกรุ่น เมื่อซื้อรถยนต์มิตซูบิชิไทรทัน เฉพาะรุ่นตามเงื่อนไขที่บริษัทกำหนด ยังได้รับฟรี ทองคำหนัก 2 บาท และรับฟรีประกันภัยชั้นหนึ่งนาน 1 ปี ยิ่งกว่านั้น สำหรับลูกค้าที่สนใจมิตซูบิชิ ไทรทัน รุ่นเมกะแค็บขับเคลื่อน 2 ล้อ ยังสามารถเลือกรับข้อเสนอ Plus Package หรือเลือกรับข้อเสนอ Safety Package พร้อมรับเงื่อนไขพิเศษต่างๆ
http://www.siamrath.co.th/Economic.asp?ReviewID=177001
10 ปีหลังวิกฤตต้มยำกุ้งรถ มิตซูบิชิ ยังต้องฝ่ามรสุม
หลังวิกฤตเศรษฐกิจปี 40 มิตซูบิชิ ค่ายรถยนต์ยักษ์ใหญ่ของโลกจากเมืองปลาดิบ และอยู่ในไทยมาหลายสิบปี โดนหางเลขด้วย แม้ 2-3 ปีต่อมา จนปึงปัจจุบัน คู่แข่งร่วมชาติค่ายสำคัญ อย่าง โตโยต้า ฮอนด้า ฟื้นตัว และกลับมารุ่งเรืองเหมือนเดิม แต่มิตซูบิชิยังมีอาการทรงกับทรุด
โดยเฉพาะในตลาดรถเก๋งนั้น ยอดขายรถเมื่อเทียบกับคู่แข่ง น้อยกว่ามาก โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับในอดีตหลายสิบปีก่อน ที่มิตซูบิชิอยู่ในกลุ่มผู้นำในตลาด มิตซูบิชิเป็นผู้สร้างตลาดรถสปอร์ตซีดาน ด้วยรถรุ่น กาแลนท์ แลนเซอร์ จนมีชื่อเสียงในเรื่องสมรรถนะ และความแรง ล้ำหน้าคู่แข่งตั้งแต่เมื่อเกือบ 40 ปีที่แล้ว และกลายเป็นตำนานจนทุกวันนี้
แต่มาวันนี้ ในประเทศไทย ชื่อเสียงของมิตซูบิชิในตลาดรถเก๋งในกลุ่มผู้บริโภคทั่วไปแผ่วไปมาก แม้รถรุ่นแลนเซอร์ยังมีขายอยู่ แต่ก็ไม่โด่งดังเช่นในอดีต ยอดขายรถเก๋งของมิตซูบิชิปีนี้เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ยังลดลงเดือน พ.ค. 2549 มิตซูบิชิมียอดขายรถเก๋ง 413 คัน แต่เดือนเดียวกันปีนี้ มิตซูบิชิมียอดขายรถเก๋งเพียง 288 คัน รถลงถึง 123 คัน หรือ 30.27%5 เดือนแรกยอดขายวูบ 38%
ถ้าดูยอดรวม 5 เดือนของปี 2549 มิตซูบิชิขายรถเก๋งได้ 2,050 คัน แต่ในช่วงเดียวกันของปีนี้ ลดเหลือ 1,271 คัน ลดลงถึง 779 คัน หรือ 38% มีส่วนแบ่งในตลาดรถเก๋งในไทยเพียง 1.9%ขณะที่ตัวเด่นกลับอยู่ที่รถปิคอัพ รุ่น ไตรตัน ซึ่งโด่งดังมาแต่ครั้งรุ่นก่อน คือ สตราดา ที่มีชื่อเสียงในเรื่องความสวยงาม โฉบเฉี่ยว ถูกใจคนรุ่นใหม่อย่างไรก็ตาม มิตซูบิชิในไทยยังคงมีการทำกิจกรรมการตลาดต่อเนื่อง แม้การโฆษณาจะลดลง แต่ก็เน้นทำอีเว้นท์มากขึ้น เพื่อรักษาผู้บริโภคที่ยังรักมิตซูบิชิไว้
ช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย มีแคมเปญการตลาดออกมาหลายแคมเปญ เช่น แคมเปญ บริการด้วยใจ ใส่รถมิตซู เพื่อเปิดโอกาสให้ลูกค้ารถยนต์มิตซูบิชิทุกรุ่นสามารถนำรถเข้ามารับบริการตรวจเช็คสภาพรถฟรีสูงถึง 27 รายการ พร้อมรับส่วนลดสูงสุด 30% สำหรับค่าอะไหล่แท้ และ 10% สำหรับเคมีภัณฑ์ทั่วไป โดยลูกค้ารถยนต์มิตซูบิชิทุกรุ่น เมื่อซื้อรถยนต์มิตซูบิชิไทรทัน เฉพาะรุ่นตามเงื่อนไขที่บริษัทกำหนด ยังได้รับฟรี ทองคำหนัก 2 บาท และรับฟรีประกันภัยชั้นหนึ่งนาน 1 ปี ยิ่งกว่านั้น สำหรับลูกค้าที่สนใจมิตซูบิชิ ไทรทัน รุ่นเมกะแค็บขับเคลื่อน 2 ล้อ ยังสามารถเลือกรับข้อเสนอ Plus Package หรือเลือกรับข้อเสนอ Safety Package พร้อมรับเงื่อนไขพิเศษต่างๆ
http://www.siamrath.co.th/Economic.asp?ReviewID=177001
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news09/07/07
โพสต์ที่ 24
สมรภูมิรถยนต์ปี 51 กาแลนท์ แลนเซอร์ ผู้สร้างตำนานจะกลับมา - 9/7/2550
สมรภูมิรถยนต์ปี 51 กาแลนท์ แลนเซอร์ ผู้สร้างตำนานจะกลับมา
เมื่อประมาณ เกือบ 40 ปีที่แล้ว เมื่อพูดถึง กาแลนท์ แลนเซอร์ ของ มิตซูบิชิ เป็นชื่อที่ได้รับการยอมรับถึงความเป็นผู้นำในเรื่องความแรงของเครื่อง และสมรรถนะ เป็นผู้สร้างตลาดรถสปอร์ต ซีดาน ในไทย ที่ภายหลัง คู่แข่งหลายค่ายต่างเดินตามกาแลนท์ แลนเซอร์ ได้ กุลชาติ เทพหัสติน ณ อยุธยา นักจัดรายการเพลงทางวิทยุชื่อดังในยุค ผู้มีเสียงพูดที่ทรงพลัง สะกดคนฟังได้ เป็น -แบรนด์ แอมบาสเดอร์ ต่อเนื่องและยาวนานหลายปี ทำให้กาแลนท์ แลนเซอร์ เข้าถึงผู้บริโภคเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
แต่เมื่อมิตซูบิชิวางตลาดรถรุ่นแลนเซอร์ ที่มีการใช้บอดี้ และชัสซีเดียวกัน สร้างเป็นรุ่นราคาประหยัด ในชื่อ แชมป์ แม้จะเป็นรถขายดีมากต่อเนื่องหลายปี แต่ความเป็นรถราคาประหยัด น่าจะกระทบต่อภาพพจน์ของแลนเซอร์ในอดีตไม่น้อย อาจเป็นหนึ่งในสาเหตุ ที่แลนเซอร์รุ่นถัดมา ไม่แรงเท่าที่ควรในด้านยอดขาย ในอดีต มิตซูบิชิยังมีรถครอบครัวขนาดกลางในชื่อ กาแลนท์ ซิกม่า ด้วย แต่ภายหลังก็หยุดทำตลาดในไทยไปหลังวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 รถมิตซูบิชิในตลาดไทย และตลาดโลก ต่างต้องเผชิญมรสุม มิตซูบิชิ มอเตอร์ คอร์เปอเรชั่น บริษัทแม่ในญี่ปุ่น ได้ปรับแผนการบริหารจัดการ หลายครั้งต่อเนื่องมาตลอด 10 ปีที่ผ่านมา และในที่สุด ก็เริ่มได้รับผลสำเร็จ
มิตซูบิชิ มอเตอร์ส คอร์ปอเรชั่น ประกาศผลประกอบการหลังจบปีงบประมาณ 2549 (มี.ค. 2550) ด้วยตัวเลขรายได้กว่า 2,202.9 พันล้านเยน เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2548 ที่ผ่านมา 82.8 พันล้านเยน ส่งผลให้บริษัทมีกำไรสุทธิ 8.7 พันล้านเยน แม้ยอดขายโดยรวมลดลง 8.3% ทั้งนี้ เป็นผลจากการมีส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ที่ดีขึ้น จากการแนะนำโมเดลใหม่ๆ ออกสู่ตลาดมากขึ้น รวมถึงการประสบความสำเร็จจากการจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการ รวมทั้งแผนลดต้นทุน ที่บริษัทดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นการกลับมาทำกำไรอีกครั้งในรอบ 4 ปี นับตั้งแต่ปีงบประมาณ 2002
อย่างไรก็ตาม ยอดขายที่ลดลงนั้น เกิดเฉพาะในประเทศในเอเชีย ขณะที่ยอดขายในสหรัฐอเมริกา ยุโรป ตะวันออกกลาง รวมถึงแอฟริกา กลับเพิ่มขึ้น สำหรับปีงบประมาณ 2550 มิตซูบิชิวางเป้าหมายยอดขายทั่วโลกไว้ที่ 1,323,000 คัน เพิ่มขึ้น 7.4% เมื่อเทียบกับปีงบประมาณ 2549 หรือประมาณ 9.1 หมื่นคัน คาดการณ์ตัวเลขรายได้ไว้ที่ 2,430 พันล้านเยน เพิ่มขึ้น 10.3% หรือกว่า 227.1 พันล้านเยน รวมทั้งคาดการณ์กำไรสุทธิหลังจบปีงบประมาณ 2550 ไว้ที่ 20 พันล้านเยน เพิ่มขึ้น 2.3 เท่า เมื่อเทียบกับปีงบประมาณ 2006 โดยจะแนะนำโมเดลใหม่ลงสู่ตลาด ได้แก่ มิตซูบิชิ เอาท์ แลนเดอร์ ซึ่งเปิดตัวครั้งแรกในญี่ปุ่นเมื่อปี 2548 และเริ่มเปิดตัวในภูมิภาคต่างๆ ในช่วงปีงบประมาณที่ผ่านมา ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีและมิตซูบิชิ แลนเซอร์ใหม่ ซึ่งเปิดตัวเป็นทางการครั้งแรกของโลกที่อเมริกาเหนือเมื่อเดือน มี.ค. โดยบริษัทมีแผนเปิดตัวในยุโรป ญี่ปุ่น และประเทศอื่นๆ รวมทั้งในไทย ตามลำดับ
http://www.siamrath.co.th/Economic.asp?ReviewID=177002
สมรภูมิรถยนต์ปี 51 กาแลนท์ แลนเซอร์ ผู้สร้างตำนานจะกลับมา
เมื่อประมาณ เกือบ 40 ปีที่แล้ว เมื่อพูดถึง กาแลนท์ แลนเซอร์ ของ มิตซูบิชิ เป็นชื่อที่ได้รับการยอมรับถึงความเป็นผู้นำในเรื่องความแรงของเครื่อง และสมรรถนะ เป็นผู้สร้างตลาดรถสปอร์ต ซีดาน ในไทย ที่ภายหลัง คู่แข่งหลายค่ายต่างเดินตามกาแลนท์ แลนเซอร์ ได้ กุลชาติ เทพหัสติน ณ อยุธยา นักจัดรายการเพลงทางวิทยุชื่อดังในยุค ผู้มีเสียงพูดที่ทรงพลัง สะกดคนฟังได้ เป็น -แบรนด์ แอมบาสเดอร์ ต่อเนื่องและยาวนานหลายปี ทำให้กาแลนท์ แลนเซอร์ เข้าถึงผู้บริโภคเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
แต่เมื่อมิตซูบิชิวางตลาดรถรุ่นแลนเซอร์ ที่มีการใช้บอดี้ และชัสซีเดียวกัน สร้างเป็นรุ่นราคาประหยัด ในชื่อ แชมป์ แม้จะเป็นรถขายดีมากต่อเนื่องหลายปี แต่ความเป็นรถราคาประหยัด น่าจะกระทบต่อภาพพจน์ของแลนเซอร์ในอดีตไม่น้อย อาจเป็นหนึ่งในสาเหตุ ที่แลนเซอร์รุ่นถัดมา ไม่แรงเท่าที่ควรในด้านยอดขาย ในอดีต มิตซูบิชิยังมีรถครอบครัวขนาดกลางในชื่อ กาแลนท์ ซิกม่า ด้วย แต่ภายหลังก็หยุดทำตลาดในไทยไปหลังวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 รถมิตซูบิชิในตลาดไทย และตลาดโลก ต่างต้องเผชิญมรสุม มิตซูบิชิ มอเตอร์ คอร์เปอเรชั่น บริษัทแม่ในญี่ปุ่น ได้ปรับแผนการบริหารจัดการ หลายครั้งต่อเนื่องมาตลอด 10 ปีที่ผ่านมา และในที่สุด ก็เริ่มได้รับผลสำเร็จ
มิตซูบิชิ มอเตอร์ส คอร์ปอเรชั่น ประกาศผลประกอบการหลังจบปีงบประมาณ 2549 (มี.ค. 2550) ด้วยตัวเลขรายได้กว่า 2,202.9 พันล้านเยน เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2548 ที่ผ่านมา 82.8 พันล้านเยน ส่งผลให้บริษัทมีกำไรสุทธิ 8.7 พันล้านเยน แม้ยอดขายโดยรวมลดลง 8.3% ทั้งนี้ เป็นผลจากการมีส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ที่ดีขึ้น จากการแนะนำโมเดลใหม่ๆ ออกสู่ตลาดมากขึ้น รวมถึงการประสบความสำเร็จจากการจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการ รวมทั้งแผนลดต้นทุน ที่บริษัทดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นการกลับมาทำกำไรอีกครั้งในรอบ 4 ปี นับตั้งแต่ปีงบประมาณ 2002
อย่างไรก็ตาม ยอดขายที่ลดลงนั้น เกิดเฉพาะในประเทศในเอเชีย ขณะที่ยอดขายในสหรัฐอเมริกา ยุโรป ตะวันออกกลาง รวมถึงแอฟริกา กลับเพิ่มขึ้น สำหรับปีงบประมาณ 2550 มิตซูบิชิวางเป้าหมายยอดขายทั่วโลกไว้ที่ 1,323,000 คัน เพิ่มขึ้น 7.4% เมื่อเทียบกับปีงบประมาณ 2549 หรือประมาณ 9.1 หมื่นคัน คาดการณ์ตัวเลขรายได้ไว้ที่ 2,430 พันล้านเยน เพิ่มขึ้น 10.3% หรือกว่า 227.1 พันล้านเยน รวมทั้งคาดการณ์กำไรสุทธิหลังจบปีงบประมาณ 2550 ไว้ที่ 20 พันล้านเยน เพิ่มขึ้น 2.3 เท่า เมื่อเทียบกับปีงบประมาณ 2006 โดยจะแนะนำโมเดลใหม่ลงสู่ตลาด ได้แก่ มิตซูบิชิ เอาท์ แลนเดอร์ ซึ่งเปิดตัวครั้งแรกในญี่ปุ่นเมื่อปี 2548 และเริ่มเปิดตัวในภูมิภาคต่างๆ ในช่วงปีงบประมาณที่ผ่านมา ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีและมิตซูบิชิ แลนเซอร์ใหม่ ซึ่งเปิดตัวเป็นทางการครั้งแรกของโลกที่อเมริกาเหนือเมื่อเดือน มี.ค. โดยบริษัทมีแผนเปิดตัวในยุโรป ญี่ปุ่น และประเทศอื่นๆ รวมทั้งในไทย ตามลำดับ
http://www.siamrath.co.th/Economic.asp?ReviewID=177002
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news10/07/07
โพสต์ที่ 25
สัญญาณศก.เริ่มส่อเค้าดี ยอดขายรถวูบแค่12.7%
โพสต์ทูเดย์ ตลาดรถยนต์เดือน มิ.ย. เริ่มกระเตื้อง หดตัวต่ำกว่า 10% เป็นเดือนแรก ทำยอดขายครึ่งปีติดลบไปแค่ 12.7% เท่านั้นรายงานข่าวประมาณการยอด การจำหน่ายรถยนต์ของกลุ่มผู้ผลิตรถยนต์ญี่ปุ่น (เจทีซี) ในเดือน มิ.ย. 2550 แจ้งว่า ยอดจำหน่ายรถยนต์ญี่ปุ่นในตลาดรวมหดตัวลงไป 4.7% เมื่อเทียบกับเดือน มิ.ย. 2549 ซึ่งเป็นการหดตัวน้อยที่สุดในรอบการขายครึ่งปีแรกของปีนี้ โดยตลาดรถยนต์นั่งหดตัวลงไป 1.4% ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์หดตัวลงไป 6.1% ในจำนวนนี้เป็นรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน หดตัวลงไป 9% และรถยนต์ปิกอัพแท้ (ไม่มีแค็บ) หดตัวมากที่สุดในตลาดถึง 9.6%
ยอดจำหน่ายดังกล่าวทำให้ยอดจำหน่ายรถยนต์โดยรวมในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2550 หดตัวลงไป 12.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งหดตัว ลงไป 11.6% ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์หดตัวลงไป 13.1% ในจำนวนนี้เป็นรถปิกอัพ 1 ตัน หดตัวลงไป 16.8% และรถปิกอัพแท้หดตัวลงไป 16.3%
นายวิเชียร เอมประเสริฐสุข ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย กล่าวว่า ภาพรวมตลาดรถยนต์ในช่วงครึ่งปีแรกมียอดขายลดลง 13% เป็นผลมาจากสภาวะเศรษฐกิจและการเมืองที่ผันผวน แต่ในส่วนของโตโยต้ายอดขายลดลงเพียง 7% รวมถึงเฉพาะในเดือน มิ.ย. ยอดขายโตโยต้าอยู่ที่ 2.4 หมื่นคัน ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา
ทั้งนี้ เชื่อมั่นว่าในช่วงครึ่งปีหลัง ตัวเลขยอดขายจะกลับคืนมาใกล้เคียง กับปีที่แล้ว โดยเฉพาะในส่วนของโตโยต้าที่ปรับกลยุทธ์ด้วยการประชุมกับตัวแทนจำหน่ายทุกเดือน จากเดิมจะประชุมกันทุก 3 เดือน มีการทำการตลาดแบบเข้าถึงความต้องการของลูกค้ามากขึ้น และการสนับสนุนให้ความช่วยเหลือกับตัวแทนจำหน่าย เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าด้วย
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=177688
โพสต์ทูเดย์ ตลาดรถยนต์เดือน มิ.ย. เริ่มกระเตื้อง หดตัวต่ำกว่า 10% เป็นเดือนแรก ทำยอดขายครึ่งปีติดลบไปแค่ 12.7% เท่านั้นรายงานข่าวประมาณการยอด การจำหน่ายรถยนต์ของกลุ่มผู้ผลิตรถยนต์ญี่ปุ่น (เจทีซี) ในเดือน มิ.ย. 2550 แจ้งว่า ยอดจำหน่ายรถยนต์ญี่ปุ่นในตลาดรวมหดตัวลงไป 4.7% เมื่อเทียบกับเดือน มิ.ย. 2549 ซึ่งเป็นการหดตัวน้อยที่สุดในรอบการขายครึ่งปีแรกของปีนี้ โดยตลาดรถยนต์นั่งหดตัวลงไป 1.4% ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์หดตัวลงไป 6.1% ในจำนวนนี้เป็นรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน หดตัวลงไป 9% และรถยนต์ปิกอัพแท้ (ไม่มีแค็บ) หดตัวมากที่สุดในตลาดถึง 9.6%
ยอดจำหน่ายดังกล่าวทำให้ยอดจำหน่ายรถยนต์โดยรวมในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2550 หดตัวลงไป 12.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งหดตัว ลงไป 11.6% ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์หดตัวลงไป 13.1% ในจำนวนนี้เป็นรถปิกอัพ 1 ตัน หดตัวลงไป 16.8% และรถปิกอัพแท้หดตัวลงไป 16.3%
นายวิเชียร เอมประเสริฐสุข ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย กล่าวว่า ภาพรวมตลาดรถยนต์ในช่วงครึ่งปีแรกมียอดขายลดลง 13% เป็นผลมาจากสภาวะเศรษฐกิจและการเมืองที่ผันผวน แต่ในส่วนของโตโยต้ายอดขายลดลงเพียง 7% รวมถึงเฉพาะในเดือน มิ.ย. ยอดขายโตโยต้าอยู่ที่ 2.4 หมื่นคัน ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา
ทั้งนี้ เชื่อมั่นว่าในช่วงครึ่งปีหลัง ตัวเลขยอดขายจะกลับคืนมาใกล้เคียง กับปีที่แล้ว โดยเฉพาะในส่วนของโตโยต้าที่ปรับกลยุทธ์ด้วยการประชุมกับตัวแทนจำหน่ายทุกเดือน จากเดิมจะประชุมกันทุก 3 เดือน มีการทำการตลาดแบบเข้าถึงความต้องการของลูกค้ามากขึ้น และการสนับสนุนให้ความช่วยเหลือกับตัวแทนจำหน่าย เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าด้วย
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=177688
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news16/07/07
โพสต์ที่ 26
ยอดขายรถยังชะลอตัวทุกค่ายหวังกระตุ้นปลายปี - 16/7/2550
มิ.ย. ยอดขายรถยนต์โดยรวมยังคงต่ำกว่าเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว ส่งผลให้ยอดขายรถครี่งปีแรก ยังคงต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว แต่ยอดขายรายเดือน 6 เดือนแรกของปีนี้ ชี้ให้เห็นว่าอาจมีแววกลับมารุ่งอีกครั้ง แม้ยักษ์ใหญ่แดนปลาดิบ โตโยต้า ชี้ไตรมาส 2 ส่อแววยอดขายรถหดตัว แต่อาจถือเป็นสัญญาณที่ดี หากไทยมีการเลือกตั้ง ซึ่งจะช่วยพลิกฟื้นเศรษฐกิจไทย กระตุ้นกำลังซื้อผู้บริโภค และค่ายรถยนต์ใหญ่ๆ โดยเฉพาะจากแดนปลาดิบ เปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ๆ ที่เป็นตลาดแมส ช่วงปลายปีนี้
บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เผยสถิติขายรถยนต์ประจำเดือน มิ.ย. 53,222 คัน ลดลง 4.2% แบ่งเป็น รถยนต์นั่ง 15,914 คัน ลดลง 0.7% รถเพื่อการพาณิชย์ 37,308 คัน ลดลง 5.6% รวมทั้ง รถกระบะขนาด 1 ตัน เซกเมนท์นี้ จำนวน 32,904 คัน ลดลง 9% ด้านสถิติการขายสะสมครึ่งปีแรก มีปริมาณทั้งสิ้น 292,514 คัน ลดลง 12.6% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยแบ่งเป็น รถยนต์นั่ง 83,390 คัน ลดลง 11.5% รถเพื่อการพาณิชย์ 209,124 คัน ลดลง 13.1% รวมทั้ง รถกระบะขนาด 1 ตัน เซ็กเมนท์นี้ 183,223 คัน ลดลง 16.8%
โตโยต้าวิเคราะห์สาเหตุของการที่ยอดขายรถยนต์ยังต่ำกว่ากว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้วว่า สาเหตุจากภาวะชะลอตัวของเศรษฐกิจไทย และสถานการณ์ทางการเมือง เหตุการณ์ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมถึงราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง แม้ภาครัฐจะพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยการปรับลดดอกเบี้ย เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายของผู้บริโภค ตลอดจนการอนุมัติโครงการขนาดใหญ่ ก็ตาม
ไตรมาส 2 ส่อแววยอดขายรถหดตัวทั้งนี้ ปัจจัยดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อตลาดรถยนต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์อัตราเติบโตลดลง 13.1% และตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน เซ็กเม้นท์นี้ เติบโตลดลง 16.8% สำหรับตลาดรถยนต์นั่ง ลดลง 11.5% อย่างไรก็ตาม ประมาณการขายไตรมาส 2 ของปี แนวโน้มหดตัวลงเมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปี
เมื่อพิจารณาตลาดรถยนต์ในเดือน มิ.ย. มีปริมาณการขาย 53,222 คัน ลดลง 4.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เป็นอัตราเติบโตที่ลดลงน้อยที่สุดของครึ่งแรกปีนี้ แสดงให้เห็นแนวโน้มเชิงบวกของเศรษฐกิจโดยรวม และมาตรการกระตุ้นกำลังซื้อของรัฐบาล ประกอบกับราคาน้ำมันเดือน มิ.ย. ไม่เปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีอัตราเติบโตลดลง 5.6% รวมทั้งรถกระบะขนาด 1 ตัน เซ็กเมนท์นี้ลดลง 9%เช่นเดียวกันกับตลาดรถยนต์นั่ง ที่ลดลง 0.7%
ถ้าพิจารณาย้อนหลัง 5 เดือนแรกปีนี้ จะเห็นการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกของตลาดรถยนต์ในไทยอย่างชัดเจน โดยเดือน ม.ค. ยอดขายรถยนต์ในไทยลดลงมากถึงประมาณ 23% เทียบเดือนเดียวกันปีที่แล้ว แต่เมื่อถึงเดือน มี.ค. ยอดขายลดเหลือประมาณ 15% เม.ย. การลดลงของยอดขายเหลือประมาณ 7%ครั้นเดือน พ.ค. การลดลงของยอดขายอยู่ที่ประมาณ 8% และเป็น 4.2% เดือนมิ.ย. ดังกล่าว
นี่ถือเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับการขายรถยนต์ ที่มียอดขายลดลงในอัตราที่เพิ่มขึ้น และเมื่อรวมกับการที่โตโยค้า คาดการณ์ว่า ตลาดรถยนต์เดือน ก.ค. แนวโน้มการขายทรงตัว เพราะตามสถิติการขายที่ผ่านมา ก.ค. จะเป็นเดือนที่มียอดขายต่ำอันดับ 3 ของปี เนื่องจากเข้าสู่ช่วงฤดูฝน ซึ่งเป็นช่วงนอกฤดูการขาย อย่างไรก็ตาม การจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย ที่เจาะเข้าถึงผู้บริโภคโดยตรงของค่ายรถยนต์ต่างๆ และข้อเสนอเช่าซื้อที่เอื้อประโยชน์ผู้บริโภค จะเป็นปัจจัยบวกสำคัญทำให้ตลาดรถยนต์สามารถรักษาระดับการขายไว้ได้ ซึ่งน่าจะเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับการขายรถช่วงปลายปี ที่อีกไม่กี่เดือนก็จะถึงฤดูขายแล้ว โอกาสที่ยอดขายรถยนต์จะกลับมารุ่ง มียอดขายสูงกว่าปีที่แล้ว ยังมีอยู่ ถ้าไม่มีเหตุการณ์พลิกผันในทางลบ ทั้งทางเศรษฐกิจและการเมือง
ถ้าสถานการณ์การเมืองยังเดินหน้าในทางสร้างสรรค์ โดยเฉพาะหากมีการเลือกตั้ง ตามค่ำมั่นสัญญาของนายกรัฐมนตรี พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ และการแก้ปัญหาค่าเงินบาท ที่ยังแข็งค่าต่อเนื่องขณะนี้ ที่เป็นปัจจัยสำคัญหนึ่งที่กระทบเศรษฐกิจ โดยทำให้ปัจจัยเหล่านี้มีเสถียรภาพ เอื้อต่อธุรกิจโดยรวมมากว่าที่เป็นอยู่ ผู้บริโภคกลุ่ม ซีบวก ถึงเอ ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อ แต่ขณะนี้ ยังไม่ยอมซื้อ มีเงินแต่ไม่ยอมใช้จ่าย ก็จะเริ่มกล้าใช้เงิน ทำให้ยอดขายรถกระเตื้องขึ้นอีก
ค่ายยักษ์ใหญ่เล็งออกรถรุ่นใหม่ท้ายปีและถ้าประกอบกับมีการนำรถรุ่นใหม่ๆ เข้าสู่ตลาด โดยเฉพาะในตลาดแมส กลุ่มรถยนต์นั่งขนาดกลาง ในตลาดแมส โดยเฉพาะโตโยต้าและนิสสัน ที่ไม่ได้นำรถรุ่นใหม่เข้าสู่ตลาดนี้มา 6 ปีแล้ว
ทั้งอัลติสใหม่ หรือรถในกลุ่มซันนี่รุ่นใหม่ น่าจะถึงเวลาที่นำรถรุ่นใหม่เข้าสู่ตลาดได้แล้ว การนำรถรุ่นใหม่เข้าสู่ตลาดช่วงครี่งปีหลัง ได้เริ่มมีผู้ประเดิมแล้ว ซูบารุ ค่ายอาทิตย์อุทัย เริ่มแนะนำรถรุ่นใหม่แล้ว เริ่มจาก เลกาซี และจะมีรุ่นอื่น อย่างอิมเพรสซ่า หรือรุ่นอื่นตามออกมาอีก นี่นับเป็นปรากฏการณ์ที่น่าสนใจ เพราะซูบารุ ที่การเคลื่อนไหวทำกิจกรรมในตลาดรถยนต์ในไทย ว่างเว้นไปนาน กลับมาออกรถใหม่ในภาวะเช่นนี้ แสดงถึงความมั่นใจในตลาดพอสมควรถ้าโตโยต้า และนิสสันลงมาเล่นด้วย ตลาดน่าจะกลับมารุ่งอีกครั้ง
http://www.siamrath.co.th/Economic.asp?ReviewID=177546
มิ.ย. ยอดขายรถยนต์โดยรวมยังคงต่ำกว่าเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว ส่งผลให้ยอดขายรถครี่งปีแรก ยังคงต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว แต่ยอดขายรายเดือน 6 เดือนแรกของปีนี้ ชี้ให้เห็นว่าอาจมีแววกลับมารุ่งอีกครั้ง แม้ยักษ์ใหญ่แดนปลาดิบ โตโยต้า ชี้ไตรมาส 2 ส่อแววยอดขายรถหดตัว แต่อาจถือเป็นสัญญาณที่ดี หากไทยมีการเลือกตั้ง ซึ่งจะช่วยพลิกฟื้นเศรษฐกิจไทย กระตุ้นกำลังซื้อผู้บริโภค และค่ายรถยนต์ใหญ่ๆ โดยเฉพาะจากแดนปลาดิบ เปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ๆ ที่เป็นตลาดแมส ช่วงปลายปีนี้
บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เผยสถิติขายรถยนต์ประจำเดือน มิ.ย. 53,222 คัน ลดลง 4.2% แบ่งเป็น รถยนต์นั่ง 15,914 คัน ลดลง 0.7% รถเพื่อการพาณิชย์ 37,308 คัน ลดลง 5.6% รวมทั้ง รถกระบะขนาด 1 ตัน เซกเมนท์นี้ จำนวน 32,904 คัน ลดลง 9% ด้านสถิติการขายสะสมครึ่งปีแรก มีปริมาณทั้งสิ้น 292,514 คัน ลดลง 12.6% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยแบ่งเป็น รถยนต์นั่ง 83,390 คัน ลดลง 11.5% รถเพื่อการพาณิชย์ 209,124 คัน ลดลง 13.1% รวมทั้ง รถกระบะขนาด 1 ตัน เซ็กเมนท์นี้ 183,223 คัน ลดลง 16.8%
โตโยต้าวิเคราะห์สาเหตุของการที่ยอดขายรถยนต์ยังต่ำกว่ากว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้วว่า สาเหตุจากภาวะชะลอตัวของเศรษฐกิจไทย และสถานการณ์ทางการเมือง เหตุการณ์ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมถึงราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง แม้ภาครัฐจะพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยการปรับลดดอกเบี้ย เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายของผู้บริโภค ตลอดจนการอนุมัติโครงการขนาดใหญ่ ก็ตาม
ไตรมาส 2 ส่อแววยอดขายรถหดตัวทั้งนี้ ปัจจัยดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อตลาดรถยนต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์อัตราเติบโตลดลง 13.1% และตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน เซ็กเม้นท์นี้ เติบโตลดลง 16.8% สำหรับตลาดรถยนต์นั่ง ลดลง 11.5% อย่างไรก็ตาม ประมาณการขายไตรมาส 2 ของปี แนวโน้มหดตัวลงเมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปี
เมื่อพิจารณาตลาดรถยนต์ในเดือน มิ.ย. มีปริมาณการขาย 53,222 คัน ลดลง 4.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เป็นอัตราเติบโตที่ลดลงน้อยที่สุดของครึ่งแรกปีนี้ แสดงให้เห็นแนวโน้มเชิงบวกของเศรษฐกิจโดยรวม และมาตรการกระตุ้นกำลังซื้อของรัฐบาล ประกอบกับราคาน้ำมันเดือน มิ.ย. ไม่เปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีอัตราเติบโตลดลง 5.6% รวมทั้งรถกระบะขนาด 1 ตัน เซ็กเมนท์นี้ลดลง 9%เช่นเดียวกันกับตลาดรถยนต์นั่ง ที่ลดลง 0.7%
ถ้าพิจารณาย้อนหลัง 5 เดือนแรกปีนี้ จะเห็นการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกของตลาดรถยนต์ในไทยอย่างชัดเจน โดยเดือน ม.ค. ยอดขายรถยนต์ในไทยลดลงมากถึงประมาณ 23% เทียบเดือนเดียวกันปีที่แล้ว แต่เมื่อถึงเดือน มี.ค. ยอดขายลดเหลือประมาณ 15% เม.ย. การลดลงของยอดขายเหลือประมาณ 7%ครั้นเดือน พ.ค. การลดลงของยอดขายอยู่ที่ประมาณ 8% และเป็น 4.2% เดือนมิ.ย. ดังกล่าว
นี่ถือเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับการขายรถยนต์ ที่มียอดขายลดลงในอัตราที่เพิ่มขึ้น และเมื่อรวมกับการที่โตโยค้า คาดการณ์ว่า ตลาดรถยนต์เดือน ก.ค. แนวโน้มการขายทรงตัว เพราะตามสถิติการขายที่ผ่านมา ก.ค. จะเป็นเดือนที่มียอดขายต่ำอันดับ 3 ของปี เนื่องจากเข้าสู่ช่วงฤดูฝน ซึ่งเป็นช่วงนอกฤดูการขาย อย่างไรก็ตาม การจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย ที่เจาะเข้าถึงผู้บริโภคโดยตรงของค่ายรถยนต์ต่างๆ และข้อเสนอเช่าซื้อที่เอื้อประโยชน์ผู้บริโภค จะเป็นปัจจัยบวกสำคัญทำให้ตลาดรถยนต์สามารถรักษาระดับการขายไว้ได้ ซึ่งน่าจะเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับการขายรถช่วงปลายปี ที่อีกไม่กี่เดือนก็จะถึงฤดูขายแล้ว โอกาสที่ยอดขายรถยนต์จะกลับมารุ่ง มียอดขายสูงกว่าปีที่แล้ว ยังมีอยู่ ถ้าไม่มีเหตุการณ์พลิกผันในทางลบ ทั้งทางเศรษฐกิจและการเมือง
ถ้าสถานการณ์การเมืองยังเดินหน้าในทางสร้างสรรค์ โดยเฉพาะหากมีการเลือกตั้ง ตามค่ำมั่นสัญญาของนายกรัฐมนตรี พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ และการแก้ปัญหาค่าเงินบาท ที่ยังแข็งค่าต่อเนื่องขณะนี้ ที่เป็นปัจจัยสำคัญหนึ่งที่กระทบเศรษฐกิจ โดยทำให้ปัจจัยเหล่านี้มีเสถียรภาพ เอื้อต่อธุรกิจโดยรวมมากว่าที่เป็นอยู่ ผู้บริโภคกลุ่ม ซีบวก ถึงเอ ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อ แต่ขณะนี้ ยังไม่ยอมซื้อ มีเงินแต่ไม่ยอมใช้จ่าย ก็จะเริ่มกล้าใช้เงิน ทำให้ยอดขายรถกระเตื้องขึ้นอีก
ค่ายยักษ์ใหญ่เล็งออกรถรุ่นใหม่ท้ายปีและถ้าประกอบกับมีการนำรถรุ่นใหม่ๆ เข้าสู่ตลาด โดยเฉพาะในตลาดแมส กลุ่มรถยนต์นั่งขนาดกลาง ในตลาดแมส โดยเฉพาะโตโยต้าและนิสสัน ที่ไม่ได้นำรถรุ่นใหม่เข้าสู่ตลาดนี้มา 6 ปีแล้ว
ทั้งอัลติสใหม่ หรือรถในกลุ่มซันนี่รุ่นใหม่ น่าจะถึงเวลาที่นำรถรุ่นใหม่เข้าสู่ตลาดได้แล้ว การนำรถรุ่นใหม่เข้าสู่ตลาดช่วงครี่งปีหลัง ได้เริ่มมีผู้ประเดิมแล้ว ซูบารุ ค่ายอาทิตย์อุทัย เริ่มแนะนำรถรุ่นใหม่แล้ว เริ่มจาก เลกาซี และจะมีรุ่นอื่น อย่างอิมเพรสซ่า หรือรุ่นอื่นตามออกมาอีก นี่นับเป็นปรากฏการณ์ที่น่าสนใจ เพราะซูบารุ ที่การเคลื่อนไหวทำกิจกรรมในตลาดรถยนต์ในไทย ว่างเว้นไปนาน กลับมาออกรถใหม่ในภาวะเช่นนี้ แสดงถึงความมั่นใจในตลาดพอสมควรถ้าโตโยต้า และนิสสันลงมาเล่นด้วย ตลาดน่าจะกลับมารุ่งอีกครั้ง
http://www.siamrath.co.th/Economic.asp?ReviewID=177546
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news17/07/07
โพสต์ที่ 27
บิ๊กมิตซูฯเร่งรัฐแก้บาท
ขู่ปล่อยแข็งอย่างนี้ผู้ประกอบการย้ายฐานผลิตแน่-ยันสนอีโคคาร์-ผุดรง.แห่งใหม่
โพสต์ทูเดย์ ประธานมิตซูบิชิ ชี้เงินบาทแข็ง ทำผู้ประกอบการเตรียมย้ายฐานหนี หลังรายได้จากการส่งออก ลดฮวบ
นายโอซามุ มาสุโกะ ประธาน มิตซูบิชิ มอเตอร์ส คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น เปิดเผยว่า จากค่าเงินบาทที่ แข็งตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการอย่างรุนแรง ซึ่งหากรัฐบาลยังไม่เข้ามาจัดการแก้ไขปัญหาเรื่องนี้อย่างจริงจัง ก็เป็นไปได้ที่ ผู้ประกอบการจำเป็นที่จะต้องหาฐานการผลิตแห่งใหม่แทนประเทศไทย
สำหรับมิตซูบิชิเอง แม้จะยังไม่ได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาท เนื่องจากการส่งออกรถปิกอัพมิตซูบิชิ ไทรทัน ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องก็ตาม แต่ก็ทำให้รายได้จากการส่งออกลดลงไปเช่นกัน ทั้งนี้ในปีที่ผ่านมามิตซูบิชิมีการส่งออกไทรทันจากประเทศไทย 1.45 แสนคัน และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 1.5 แสนคันในปีนี้
นอกจากการเพิ่มยอดส่งออกแล้ว จำเป็นที่จะต้องลดต้นทุนในการผลิตเพิ่มเติม เพื่อให้ได้รับผลกระทบจากค่าเงินน้อยที่สุด ซึ่งจากยอดขายที่เพิ่มขึ้น ทำให้มิตซูบิชิมีแผนสร้างโรงงานผลิตแห่งใหม่ในพื้นที่แหลมฉบัง ซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษาว่าจะเพิ่มกำลังการผลิตเป็นเท่าใด จากกำลังการผลิตที่มีอยู่ 2 แสนคันต่อปีในปัจจุบัน ซึ่งเพิ่มมาจาก 1.8 แสนคัน ในเดือน พ.ค.ที่ผ่านมาแล้วครั้งหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม ตลาดส่งออกของมิตซูบิชิยังคงเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากตลาดยุโรป ตะวันออกกลางและออสเตรเลียยังให้ความสนใจกับ ไทรทัน ซึ่งถือว่าเป็นตลาดส่งออกหลักในปัจจุบัน
นายมาสุโกะ กล่าวถึงการทำตลาดในประเทศไทยว่า อยู่ระหว่างการศึกษาแผนงานเพื่อผลิตรถยนต์นั่งขนาดเล็กในประเทศไทย ซึ่งคาดว่าจะได้รับความนิยม เนื่องจากแนวโน้มของตลาดรถยนต์ในประเทศไทยจะหันมานิยมรถขนาดเล็กมากขึ้น
สำหรับโครงการรถยนต์นั่งประหยัดพลังงาน (อีโคคาร์) นั้น มิตซูบิชิมีความสนใจในโครงการดังกล่าวเช่นกัน และมองว่าอีโคคาร์เป็นเรื่องที่ดีที่รัฐบาลออกมาให้ความสำคัญกับเรื่องของการพัฒนาสิ่งแวดล้อม แต่อย่างไรก็ตาม ต้องรอดูว่ารัฐบาลเองจะให้ความสำคัญกับการใช้เทคโนโลยีใด ซึ่งหากสอดคล้องกับที่มิตซูบิชิมีอยู่ในตลาด บริษัทก็พร้อมที่จะเข้าร่วมโครงการนี้
ทั้งนี้ในปลายปี 2551 จะเปิดตัว รถเอสยูวี ที่ดัดแปลงบนพื้นฐานของรถปิกอัพ และเพิ่มประเภทของสินค้าให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าเพิ่มขึ้น
นายมิจิโร่ อิมาอิ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า สิ่งที่ต้องเร่งทำที่สุดก็คือการดึงยอดจำหน่ายของมิตซูบิชิในประเทศไทยให้กลับมาเหมือนปี 2547-2548 แต่ในปีที่ผ่านมายอดขายและส่วนแบ่งการตลาดของมิตซูบิชิลดลงไปมาก ซึ่งยอดจำหน่ายในประเทศไทย จำเป็นที่จะต้องสอดคล้องกับยอดส่งออกที่เติบโตอยู่ในปัจจุบัน
ยอมรับว่าบริษัทยังไม่สามารถออกรถได้ตรงตามความต้องการของลูกค้า และยังไม่อยู่ในช่วงเวลาที่เหมาะสม แต่ก็จะพยายามเต็มที่ นายอิมาอิ กล่าว
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=179153
ขู่ปล่อยแข็งอย่างนี้ผู้ประกอบการย้ายฐานผลิตแน่-ยันสนอีโคคาร์-ผุดรง.แห่งใหม่
โพสต์ทูเดย์ ประธานมิตซูบิชิ ชี้เงินบาทแข็ง ทำผู้ประกอบการเตรียมย้ายฐานหนี หลังรายได้จากการส่งออก ลดฮวบ
นายโอซามุ มาสุโกะ ประธาน มิตซูบิชิ มอเตอร์ส คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น เปิดเผยว่า จากค่าเงินบาทที่ แข็งตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการอย่างรุนแรง ซึ่งหากรัฐบาลยังไม่เข้ามาจัดการแก้ไขปัญหาเรื่องนี้อย่างจริงจัง ก็เป็นไปได้ที่ ผู้ประกอบการจำเป็นที่จะต้องหาฐานการผลิตแห่งใหม่แทนประเทศไทย
สำหรับมิตซูบิชิเอง แม้จะยังไม่ได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาท เนื่องจากการส่งออกรถปิกอัพมิตซูบิชิ ไทรทัน ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องก็ตาม แต่ก็ทำให้รายได้จากการส่งออกลดลงไปเช่นกัน ทั้งนี้ในปีที่ผ่านมามิตซูบิชิมีการส่งออกไทรทันจากประเทศไทย 1.45 แสนคัน และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 1.5 แสนคันในปีนี้
นอกจากการเพิ่มยอดส่งออกแล้ว จำเป็นที่จะต้องลดต้นทุนในการผลิตเพิ่มเติม เพื่อให้ได้รับผลกระทบจากค่าเงินน้อยที่สุด ซึ่งจากยอดขายที่เพิ่มขึ้น ทำให้มิตซูบิชิมีแผนสร้างโรงงานผลิตแห่งใหม่ในพื้นที่แหลมฉบัง ซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษาว่าจะเพิ่มกำลังการผลิตเป็นเท่าใด จากกำลังการผลิตที่มีอยู่ 2 แสนคันต่อปีในปัจจุบัน ซึ่งเพิ่มมาจาก 1.8 แสนคัน ในเดือน พ.ค.ที่ผ่านมาแล้วครั้งหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม ตลาดส่งออกของมิตซูบิชิยังคงเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากตลาดยุโรป ตะวันออกกลางและออสเตรเลียยังให้ความสนใจกับ ไทรทัน ซึ่งถือว่าเป็นตลาดส่งออกหลักในปัจจุบัน
นายมาสุโกะ กล่าวถึงการทำตลาดในประเทศไทยว่า อยู่ระหว่างการศึกษาแผนงานเพื่อผลิตรถยนต์นั่งขนาดเล็กในประเทศไทย ซึ่งคาดว่าจะได้รับความนิยม เนื่องจากแนวโน้มของตลาดรถยนต์ในประเทศไทยจะหันมานิยมรถขนาดเล็กมากขึ้น
สำหรับโครงการรถยนต์นั่งประหยัดพลังงาน (อีโคคาร์) นั้น มิตซูบิชิมีความสนใจในโครงการดังกล่าวเช่นกัน และมองว่าอีโคคาร์เป็นเรื่องที่ดีที่รัฐบาลออกมาให้ความสำคัญกับเรื่องของการพัฒนาสิ่งแวดล้อม แต่อย่างไรก็ตาม ต้องรอดูว่ารัฐบาลเองจะให้ความสำคัญกับการใช้เทคโนโลยีใด ซึ่งหากสอดคล้องกับที่มิตซูบิชิมีอยู่ในตลาด บริษัทก็พร้อมที่จะเข้าร่วมโครงการนี้
ทั้งนี้ในปลายปี 2551 จะเปิดตัว รถเอสยูวี ที่ดัดแปลงบนพื้นฐานของรถปิกอัพ และเพิ่มประเภทของสินค้าให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าเพิ่มขึ้น
นายมิจิโร่ อิมาอิ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า สิ่งที่ต้องเร่งทำที่สุดก็คือการดึงยอดจำหน่ายของมิตซูบิชิในประเทศไทยให้กลับมาเหมือนปี 2547-2548 แต่ในปีที่ผ่านมายอดขายและส่วนแบ่งการตลาดของมิตซูบิชิลดลงไปมาก ซึ่งยอดจำหน่ายในประเทศไทย จำเป็นที่จะต้องสอดคล้องกับยอดส่งออกที่เติบโตอยู่ในปัจจุบัน
ยอมรับว่าบริษัทยังไม่สามารถออกรถได้ตรงตามความต้องการของลูกค้า และยังไม่อยู่ในช่วงเวลาที่เหมาะสม แต่ก็จะพยายามเต็มที่ นายอิมาอิ กล่าว
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=179153
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news18/07/07
โพสต์ที่ 28
บีโอไอย้ำต่างชาติเชื่อมั่น "ทาทา มอเตอร์"ผลิตปิกอัพในไทย
สภาอุตฯเตรียมนำนักลงทุนทั้งไทย-ต่างชาติพบ รมว.อุตสาหกรรม ในวันที่ 19 กรกฏาคม เพื่อความมั่นใจก่อนลงทุนนับแสนล้าน ชี้ช่วยสกัด "บาทแข็ง"ด้านบอร์ด "บีโอไอ"ส่งเสริมลง ทุน 3.6หมื่นล้าน "ทาทา มอเตอร์ส" จากอินเดียเตรียม เล็งลงทุนผลิตปิกอัพขายในไทย
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ในการประชุม คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บอร์ดบีโอไอ) ในวันที่18กรกฏาคมนี้ คงไม่มีการหารือเรื่องเงินบาทแข็งค่า เพราะได้มีการเสนอภาครัฐไปแล้วในหลายเวที โดยขณะนี้ก็หวังว่ามาตรการต่าง ๆ ที่ได้เสนอไป โดยเฉพาะเรื่องการให้ธนาคารพาณิชย์เปิดบัญชีรับฝากเงินตราต่างประเทศ จะได้รับการพิจารณาจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และกำหนดเป็นแนวทางเพิ่มเติมในการชะลอเงินบาทแข็งค่าที่ ธปท.เตรียมประกาศมาตรการมาใน 1-2 วันนี้
ส่วนเรื่องการลงทุน นายสันติ กล่าวว่า เม็ดเงินการลงทุนจะเพิ่มขึ้นทั้งจากความมั่นใจทางการเมืองที่ดีขึ้น รวมไปถึงโครงการลงทุนด้านปิโตรเคมีในอีสเทิร์นซีบอร์ด ที่รัฐบาลได้ประกาศมาตรการดูแลสิ่งแวดล้อมเสร็จสิ้นแล้ว โดยโครงการลงทุนเหล่านี้มีทั้งการร่วมทุนของนักลงทุนไทย-ต่างประเทศ เช่น เครือ ปตท. เครือซิเมนต์ไทย ประมาณ 200,000-300,000 ล้านบาท
โดยในวันที่ 19 กรกฏาคมนี้ จะนำนักลงทุนกลุ่มนี้เข้าพบ นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.อุตสาหกรรม ซึ่งจะมีการทำความเข้าใจในประเด็นต่าง ๆ และหากเร่งการลงทุนด้วยการนำเข้าเครื่องจักรก็จะมีผลต่อค่าเงินด้วย
รายงานข่าวแจ้งว่า ในการประชุมบอร์ดบีโอไอ จะมีการปรับเงื่อนไขมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม เพื่อจูงใจให้ภาคเอกชนลงทุนเพิ่มเติมในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยเงื่อนไขที่ปรับปรุงมี 2 เรื่องหลัก คือ
1.ขยายเวลาดำเนินการจากเดิมกำหนดให้ผู้ประกอบการที่สนใจต้องยื่นคำขอภายในปี 2551 และดำเนินการแล้วเสร็จภายในปี 2553 ปรับเป็นให้ผู้ประกอบการยื่นคำขอภายในปี 2552 และดำเนินการได้แล้วเสร็จภายในเดือนมีนาคม 2554 เพื่อทำให้ผู้ประกอบการมีเวลาในการดำเนินโครงการได้มากขึ้น
2.ผู้ที่ได้รับการส่งเสริมก่อนหน้านี้ สามารถขอรับการส่งเสริมภายใต้มาตรการนี้ได้ โดยผู้ประกอบการที่ได้รับส่งเสริมภายใต้มาตรการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมตามข้อกำหนดของบีโอไอ จะได้รับการยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้ในการปรับปรุง ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 3 ปี เป็นสัดส่วนร้อยละ 70 ของมูลค่าเงินลงทุนที่ใช้ในการปรับปรุง โดยยกเว้นจากรายได้ของกิจการที่ดำเนินการอยู่
รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า สำหรับโครงการที่จะพิจารณาให้การส่งเสริมการลงทุนจะมี 9 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวม 35,960 ล้านบาท ได้แก่ บริษัท นวนคร จำกัด(มหาชน)ผลิตน้ำป้อนให้กับโรงงานในนิคมฯ นวนคร ปีละประมาณ 16.2 ล้านลูกบาศก์เมตร มูลค่าเงินลงทุน 1,060 ล้านบาท บริษัท ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ จำกัด ผลิตไฟฟ้า 32 เมกะวัตต์ เงินลงทุน 1,700 ล้านบาท มูลค่า 1,700 ล้านบาท ตั้งโรงงานอยู่ที่ จ.สระบุรี บริษัท พีทีที ยูทิลิตี้ จำกัด ผลิตไฟฟ้า 113.2 เมกะวัตต์ ผลิตไอน้ำ น้ำเพื่ออุตสาหกรรมมูลค่า 5,590 ล้านบาท ตั้งโรงงานในจ.ระยอง
ขณะที่ บริษัท เอ็น.ที.เอส.สตีลกรุ๊ป ขยายกำลังการผลิตเหล็กขั้นต้น ขั้นกลาง ขั้นปลาย ตั้งโรงงานที่นิคมอุตสาหกรรมเหมราช จ.ชลบุรี เงินลงทุน 3,900 ล้านบาท บริษัท บางปะกงเพลทมิล ผลิตเหล็กแผ่นหนา เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมผลิตเครื่องจักร เครื่องยนต์ ต่อเรือ ท่อปิโตรเลียม แท่นขุดเจาะน้ำมัน ถังความดันสูง หม้อไอน้ำ และก่อสร้าง กำลังผลิต 2,360,000 ตันต่อปี มูลค่า 12,000 ล้านบาท ตั้งโรงงานในฉะเชิงเทรา
บริษัท ทาทา มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด กิจการประกอบรถปิกอัพ ขนาด 1 ตัน เงินลงทุน 1,300 ล้านบาท ตั้งโรงงานในสมุทรปราการ ปริมาณผลิตรถปิกอัพ 35,000 คัน ต่อปี มุ่งเน้นการจำหน่ายในประเทศประมาณ ร้อยละ 80 บริษัท เอ เจ พลาสท์ จำกัด (มหาชน) ขยายการผลิต BOPP FILM ฟิล์มและแผ่นพลาสติก ซึ่งนำไปใช้ผลิตเป็นซองบรรจุสินค้าอุปโภค บริโภค กำลังผลิตปีละประมาณ 34,000 ตัน ใช้เงินลงทุนทั้งสิ้น 800 ล้านบาท ตั้งโรงงานในจังหวัดชลบุรี บริษัท ไทย เอ็มเอ็มเอ จำกัด ขยายการผลิตแผ่นอะคริลิก เป็นวัตถุดิบในการผลิตจอคอมพิวเตอร์ ทีวีจอแบน จอ LCD กำลังการผลิต ปีละประมาณ 26,000 ตัน มูลค่าเงินลงทุน 2,270.0 ล้านบาท ตั้งโรงงานในจังหวัดระยอง บริษัท ไทย เอ็มเอ็มเอ จำกัด ขยายการผลิต METHYL METHACRYLATE (MMA) 105,000 ตันต่อปี และ LOW CONCENTRATION ISOBUTYLENE 137,000 ตันต่อปี เป็นผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีขั้นกลาง ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์และอุตสาหกรรมก่อสร้างมูลค่าเงินลงทุน 7,340 ล้านบาท ตั้งโรงงานอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง
http://www.naewna.com/news.asp?ID=68058
สภาอุตฯเตรียมนำนักลงทุนทั้งไทย-ต่างชาติพบ รมว.อุตสาหกรรม ในวันที่ 19 กรกฏาคม เพื่อความมั่นใจก่อนลงทุนนับแสนล้าน ชี้ช่วยสกัด "บาทแข็ง"ด้านบอร์ด "บีโอไอ"ส่งเสริมลง ทุน 3.6หมื่นล้าน "ทาทา มอเตอร์ส" จากอินเดียเตรียม เล็งลงทุนผลิตปิกอัพขายในไทย
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ในการประชุม คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บอร์ดบีโอไอ) ในวันที่18กรกฏาคมนี้ คงไม่มีการหารือเรื่องเงินบาทแข็งค่า เพราะได้มีการเสนอภาครัฐไปแล้วในหลายเวที โดยขณะนี้ก็หวังว่ามาตรการต่าง ๆ ที่ได้เสนอไป โดยเฉพาะเรื่องการให้ธนาคารพาณิชย์เปิดบัญชีรับฝากเงินตราต่างประเทศ จะได้รับการพิจารณาจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และกำหนดเป็นแนวทางเพิ่มเติมในการชะลอเงินบาทแข็งค่าที่ ธปท.เตรียมประกาศมาตรการมาใน 1-2 วันนี้
ส่วนเรื่องการลงทุน นายสันติ กล่าวว่า เม็ดเงินการลงทุนจะเพิ่มขึ้นทั้งจากความมั่นใจทางการเมืองที่ดีขึ้น รวมไปถึงโครงการลงทุนด้านปิโตรเคมีในอีสเทิร์นซีบอร์ด ที่รัฐบาลได้ประกาศมาตรการดูแลสิ่งแวดล้อมเสร็จสิ้นแล้ว โดยโครงการลงทุนเหล่านี้มีทั้งการร่วมทุนของนักลงทุนไทย-ต่างประเทศ เช่น เครือ ปตท. เครือซิเมนต์ไทย ประมาณ 200,000-300,000 ล้านบาท
โดยในวันที่ 19 กรกฏาคมนี้ จะนำนักลงทุนกลุ่มนี้เข้าพบ นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.อุตสาหกรรม ซึ่งจะมีการทำความเข้าใจในประเด็นต่าง ๆ และหากเร่งการลงทุนด้วยการนำเข้าเครื่องจักรก็จะมีผลต่อค่าเงินด้วย
รายงานข่าวแจ้งว่า ในการประชุมบอร์ดบีโอไอ จะมีการปรับเงื่อนไขมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม เพื่อจูงใจให้ภาคเอกชนลงทุนเพิ่มเติมในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยเงื่อนไขที่ปรับปรุงมี 2 เรื่องหลัก คือ
1.ขยายเวลาดำเนินการจากเดิมกำหนดให้ผู้ประกอบการที่สนใจต้องยื่นคำขอภายในปี 2551 และดำเนินการแล้วเสร็จภายในปี 2553 ปรับเป็นให้ผู้ประกอบการยื่นคำขอภายในปี 2552 และดำเนินการได้แล้วเสร็จภายในเดือนมีนาคม 2554 เพื่อทำให้ผู้ประกอบการมีเวลาในการดำเนินโครงการได้มากขึ้น
2.ผู้ที่ได้รับการส่งเสริมก่อนหน้านี้ สามารถขอรับการส่งเสริมภายใต้มาตรการนี้ได้ โดยผู้ประกอบการที่ได้รับส่งเสริมภายใต้มาตรการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมตามข้อกำหนดของบีโอไอ จะได้รับการยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้ในการปรับปรุง ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 3 ปี เป็นสัดส่วนร้อยละ 70 ของมูลค่าเงินลงทุนที่ใช้ในการปรับปรุง โดยยกเว้นจากรายได้ของกิจการที่ดำเนินการอยู่
รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า สำหรับโครงการที่จะพิจารณาให้การส่งเสริมการลงทุนจะมี 9 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวม 35,960 ล้านบาท ได้แก่ บริษัท นวนคร จำกัด(มหาชน)ผลิตน้ำป้อนให้กับโรงงานในนิคมฯ นวนคร ปีละประมาณ 16.2 ล้านลูกบาศก์เมตร มูลค่าเงินลงทุน 1,060 ล้านบาท บริษัท ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ จำกัด ผลิตไฟฟ้า 32 เมกะวัตต์ เงินลงทุน 1,700 ล้านบาท มูลค่า 1,700 ล้านบาท ตั้งโรงงานอยู่ที่ จ.สระบุรี บริษัท พีทีที ยูทิลิตี้ จำกัด ผลิตไฟฟ้า 113.2 เมกะวัตต์ ผลิตไอน้ำ น้ำเพื่ออุตสาหกรรมมูลค่า 5,590 ล้านบาท ตั้งโรงงานในจ.ระยอง
ขณะที่ บริษัท เอ็น.ที.เอส.สตีลกรุ๊ป ขยายกำลังการผลิตเหล็กขั้นต้น ขั้นกลาง ขั้นปลาย ตั้งโรงงานที่นิคมอุตสาหกรรมเหมราช จ.ชลบุรี เงินลงทุน 3,900 ล้านบาท บริษัท บางปะกงเพลทมิล ผลิตเหล็กแผ่นหนา เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมผลิตเครื่องจักร เครื่องยนต์ ต่อเรือ ท่อปิโตรเลียม แท่นขุดเจาะน้ำมัน ถังความดันสูง หม้อไอน้ำ และก่อสร้าง กำลังผลิต 2,360,000 ตันต่อปี มูลค่า 12,000 ล้านบาท ตั้งโรงงานในฉะเชิงเทรา
บริษัท ทาทา มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด กิจการประกอบรถปิกอัพ ขนาด 1 ตัน เงินลงทุน 1,300 ล้านบาท ตั้งโรงงานในสมุทรปราการ ปริมาณผลิตรถปิกอัพ 35,000 คัน ต่อปี มุ่งเน้นการจำหน่ายในประเทศประมาณ ร้อยละ 80 บริษัท เอ เจ พลาสท์ จำกัด (มหาชน) ขยายการผลิต BOPP FILM ฟิล์มและแผ่นพลาสติก ซึ่งนำไปใช้ผลิตเป็นซองบรรจุสินค้าอุปโภค บริโภค กำลังผลิตปีละประมาณ 34,000 ตัน ใช้เงินลงทุนทั้งสิ้น 800 ล้านบาท ตั้งโรงงานในจังหวัดชลบุรี บริษัท ไทย เอ็มเอ็มเอ จำกัด ขยายการผลิตแผ่นอะคริลิก เป็นวัตถุดิบในการผลิตจอคอมพิวเตอร์ ทีวีจอแบน จอ LCD กำลังการผลิต ปีละประมาณ 26,000 ตัน มูลค่าเงินลงทุน 2,270.0 ล้านบาท ตั้งโรงงานในจังหวัดระยอง บริษัท ไทย เอ็มเอ็มเอ จำกัด ขยายการผลิต METHYL METHACRYLATE (MMA) 105,000 ตันต่อปี และ LOW CONCENTRATION ISOBUTYLENE 137,000 ตันต่อปี เป็นผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีขั้นกลาง ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์และอุตสาหกรรมก่อสร้างมูลค่าเงินลงทุน 7,340 ล้านบาท ตั้งโรงงานอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง
http://www.naewna.com/news.asp?ID=68058
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news18/07/07
โพสต์ที่ 29
อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ ส่งออกขยายตัว....ภายใต้อุปสรรคกีดขวาง
18 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 15:00:00
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์จัดเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่รัฐบาลให้การสนับสนุน เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่มีบทบาทในการสนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์ซึ่งไทยเป็นฐานการผลิตขนาดใหญ่ที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก และมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งในส่วนที่ก่อให้เกิดการจ้างงานเป็นจำนวนมาก และก่อให้เกิดการเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรรมเกี่ยวเนื่องต่างๆ พร้อมทั้งเป็นอุตสาหกรรมที่สามารถทำรายได้เข้าสู่ประเทศในแต่ละปีเป็นจำนวนนับแสนล้านบาท โดยในปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมนี้สามารถทำรายได้เข้าประเทศถึง 2.54 แสนล้านบาท
อย่างไรก็ตาม การส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ไทยต้องผชิญกับภาวะการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น เฉพาะอย่างยิ่งจากประเทศคู่แข่งที่มีความได้เปรียบด้านต้นทุนที่อยู่ในระดับต่ำกว่าเข้ามาชิงส่วนแบ่งตลาด ทำให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนไทยต้องมีการปรับตัวโดยเน้นการเสริมสร้างศักยภาพการออกแบบและพัฒนา พร้อมทั้งยกระดับคุณภาพการผลิต ตลอดจนลดการสูญเสียจากการผลิตด้วยการยกระดับเทคโนโลยีการผลิต และพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถสนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ เพื่อเพิ่มศักภาพในการแข่งขันของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทยให้สามารถเติบโตต่อไปได้ในระยะยาว
ตลาดชิ้นส่วน OEMรับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ
การผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ของไทยในปัจจุบัน ครอบคลุมรายการชิ้นส่วนต่างๆ มากมาย ได้แก่ ชิ้นส่วนเครื่องยนต์ ชิ้นส่วนระบบกันสะเทือนและเบรก ชิ้นส่วนตัวถัง ชิ้นส่วนระบบขับเคลื่อนและถ่ายทอดกำลัง ชิ้นส่วนตกแต่งภายใน และชิ้นส่วนอุปกรณ์ระบบไฟฟ้า เป็นต้น โดยทั่วไปแล้วผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์จะมีตลาดในการจัดจำหน่ายชิ้นส่วนอยู่ 2 ตลาดหลัก ได้แก่
1. ตลาดชิ้นส่วนเพื่อนำไปใช้ประกอบยานยนต์ (Original Equipment Market : OEM) โดยผู้ผลิตต้องผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ป้อนให้กับรถยนต์และจักรยานยนต์รุ่นใหม่ๆ สำหรับค่ายยานยนต์ที่เข้ามาตั้งฐานการผลิตในไทยเพื่อประกอบยานยนต์ส่งออกและจำหน่ายในประเทศ ซึ่งเป็นการผลิตตามคำสั่งซื้อโดยมีการกำหนดจำนวนคำสั่งซื้อเบื้องต้นไว้ล่วงหน้าและในแต่ละครั้งจะมีจำนวนการสั่งซื้อเป็นจำนวนมาก ทำให้ผู้ประกอบการยานยนต์มีอำนาจในการเจรจาต่อรองราคากับผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ เพื่อทำให้ต้นทุนการผลิตยานยนต์ต่ำลง นอกจากนี้ยังมีการตรวจสอบอย่างเข้มงวดจากผู้ประกอบการยานยนต์ในเรื่องของคุณภาพและระยะเวลาในการส่งมอบชิ้นส่วน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่สร้างแรงกดดันให้กับผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ต้องปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต เพื่อให้ได้ชิ้นส่วนที่มีคุณภาพมาตรฐานอย่างสม่ำเสมอและเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของตนเองอย่างไม่หยุดยั้ง
ทั้งนี้ความต้องการใช้ชิ้นส่วนยานยนต์ในกลุ่มนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณการผลิตรถยนต์และรถจักรยานยนต์ของผู้ประกอบการยานยนต์ที่เข้ามาตั้งฐานการผลิตในประเทศไทย โดยในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2550 มีปริมาณการผลิตรถยนต์จำนวน 488,200 คัน ลดลงร้อยละ 1.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งในจำนวนนี้เป็นการผลิตเพื่อการส่งออก 251,924 คัน เพิ่มขึ้น 12.68% และเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 236,276 คัน ลดลง 13.8% ในขณะที่ การผลิตรถจักรยานยนต์มีปริมาณ 1,370,773 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 9.77% ตามภาวะการซบเซาของตลาดรถยนต์และรถจักรยานยนต์ในประเทศ อันเป็นผลจากการชะลอการตัดสินใจซื้อยานยนต์ของผู้บริโภคที่ไม่มั่นใจในภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งได้รับผลกระทบจากความไม่แน่นอนทางการเมือง ความผันผวนของราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น และเหตุการณ์ความไม่สงบในเขตกรุงเทพมหานครและพื้นที่ 3 จังหวัดภาคใต้
2. ตลาดชิ้นส่วนทดแทนหรืออะไหล่ทดแทน (Replacement Equipment Market : REM) เป็นตลาดชิ้นส่วนอะไหล่เพื่อการทดแทนชิ้นส่วนเดิมที่เสียหรือสึกหรอตามสภาพการใช้งาน ซึ่งชิ้นส่วนแต่ละชิ้นจะมีอายุการใช้งานที่แตกต่างกัน ผู้ผลิตที่ทำการผลิตเพื่อป้อนให้กับตลาดทดแทนนี้มีทั้งผู้ประกอบการขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก จึงทำให้ชิ้นส่วนที่ผลิตได้นั้นมีคุณภาพที่หลากหลายทั้งอะไหล่แท้ อะไหล่ปลอม และอะไหล่เทียม ซึ่งจะทำการจัดจำหน่ายให้กับศูนย์บริการอะไหล่ของค่ายยานยนต์ต่างๆ โดยปกติศูนย์บริการจะมีการจัดเก็บสต็อกอะไหล่ทดแทนไม่มากนัก จะเน้นเก็บเฉพาะอะไหล่ที่ใช้ในการซ่อมยานยนต์บ่อยครั้งเท่านั้น
นอกจากนี้ ยังมีการขยายช่องทางการจัดจำหน่ายเข้าไปในร้านค้าอะไหล่ทั่วประเทศ ตลอดจนอู่ซ่อมรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ทั้งนี้ ความต้องการใช้ชิ้นส่วนในตลาดทดแทนนี้ ขึ้นอยู่กับปริมาณการใช้ยานยนต์ภายในประเทศ ซึ่งรถยนต์และรถจักรยานยนต์ที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2550 รวมทั้งสิ้น 1,027,749 คัน โดยแบ่งเป็นจำนวนรถยนต์ 306,942 คัน และจำนวนรถจักรยานยนต์ 720,807 คัน จากจำนวนรถยนต์และจักรยานยนต์จดทะเบียนสะสมที่มีอยู่เดิม ณ ธันวาคม 2549 อยู่ที่ระดับ 23,532,103 คัน ซึ่งยานยนต์ที่ได้จดทะเบียนใหม่เหล่านี้ จะมีส่วนทำให้ปริมาณการใช้ยานยนต์ภายในประเทศเพิ่มมากขึ้น อันจะมีผลให้ความต้องการใช้ชิ้นส่วนยานยนต์ในตลาดทดแทนขยายตัวเพิ่มขึ้นตามไปด้วยในอนาคต
ส่งออก..ยังขยายตัว
อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ของไทยได้มีการขยายการลงทุนและมุ่งพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนสามารถผลิตชิ้นส่วนให้มีความหลากหลาย ตลอดจนมีคุณภาพและมาตรฐานการผลิตอยู่ในระดับที่ผู้ผลิตรถยนต์และรถจักรยานยนต์ระดับโลกยอมรับ ทำให้สามารถส่งออกไปจำหน่ายยังประเทศต่างๆได้เพิ่มขึ้น โดยการส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2550 มีมูลค่าการส่งออกรวมทั้งสิ้น 111,972.40 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 12.55% โดยจำแนกเป็นชิ้นส่วนรถยนต์มูลค่า 102,943.85 ล้านบาท และชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์มูลค่า 9,028.55 ล้านบาท เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกชิ้นส่วนเป็นรายผลิตภัณฑ์แล้ว พบว่าชิ้นส่วนที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุด คือ เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบและส่วนประกอบ มูลค่า 22,867.49 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 20% ของมูลค่าการส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ทั้งหมด ตลาดส่งออกที่สำคัญได้แก่ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และอินเดีย ส่วนมูลค่าการส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์รองลงมาได้แก่ ยางยานพาหนะ ส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ ชุดสายไฟรถยนต์ และหม้อแบตเตอรี่และส่วนประกอบ ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม การส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ของไทยยังต้องเผชิญกับปัญหาค่าเงินบาท ทำให้ความสามารถในการแข่งขันลดลง โดยเฉพาะต้องเผชิญกับคู่แข่งอย่างจีน อินเดีย และเวียดนาม ซึ่งเป็นประเทศผู้ส่งออกที่มีความได้เปรียบด้านต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า
JTEPA กับอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ไทย
ภายใต้ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น(Japan-Thailand Economic Partnership) ได้กำหนดให้สินค้าชิ้นส่วนยานยนต์(เฉพาะที่นำเข้ามาใช้ประกอบรถยนต์หรือOriginal Equipment Manufacturing(OEM)) ซึ่งปัจจุบันไทยมีอัตราภาษีนำเข้าอยู่ที่ร้อยละ 15-30 โดยกำหนดให้รายการที่มีอัตราภาษีเกินร้อยละ 20 ลดภาษีเหลือร้อยละ 20 ทันที ให้คงภาษีไว้ 5 ปี และยกเลิกในปีที่ 6 ส่วนรายการที่มีอัตราภาษีเท่ากับหรือต่ำกว่าร้อยละ 20 ให้คงอัตราภาษีไว้ที่อัตราเดิม 5 ปี และยกเลิกในปีที่ 6 เช่นกัน ขณะที่ กลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์ที่มีความอ่อนไหวง่าย เพราะความสามารถในการแข่งขันไม่มากพอ เช่น เครื่องยนต์และชิ้นส่วนเครื่องยนต์ ได้กำหนดให้คงอัตราภาษีไว้ที่อัตราเดิมเป็นเวลา 7 ปี และยกเลิกในปีที่ 8
การลดภาษีนำเข้าชิ้นส่วนยานยนต์ดังกล่าว จะส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมประกอบรถยนต์ให้สามารถนำเข้าชิ้นส่วนคุณภาพดีในราคาที่ลดลง ซึ่งจะช่วยให้การผลิตรถยนต์มีต้นทุนที่ต่ำลง ขณะที่ ผลกระทบในระยะยาว จะทำให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนของไทยต้องเผชิญกับภาวะการแข่งขันที่มีความรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากญี่ปุ่นได้ชื่อว่าเป็นประเทศผู้นำในการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ระดับโลกประเทศหนึ่ง
นอกจากนี้ ยังเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนสัญชาติญี่ปุ่นส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์เข้ามาในไทยมากขึ้น และเข้ามาลงทุนตั้งฐานการผลิตชิ้นส่วนในไทยลดลง ส่งผลให้ไทยขาดโอกาสในการรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีและไม่สามารถผลิตชิ้นส่วนหลักสำคัญที่มีมูลค่าเพิ่มสูงหรือใช้เทคโนโลยีขั้นสูงได้ อย่างไรก็ตาม การปรับลดภาษีให้ลงเหลือ 0% เป็นการปรับลดแบบมีระยะเวลา ซึ่งจะทำให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ประเภท OEM มีระยะเวลาในการปรับตัว โดยการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตชิ้นส่วนให้มีคุณภาพสูงขึ้น และมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำลง เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันกับชิ้นส่วนที่นำเข้าจากญี่ปุ่น และพร้อมสำหรับการแข่งขันเสรีในระบบโลกาภิวัฒน์ต่อไป
แนวโน้ม
การส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ในปี 2550 คาดว่า จะมีมูลค่าประมาณ 2.8 แสนล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 10% เนื่องจากชิ้นส่วนยานยนต์ไทยที่ผลิตได้มีคุณภาพสูงเทียบเท่าระดับมาตรฐานสากลและเป็นที่ยอมรับในตลาดโลกมากขึ้น รวมถึงการได้รับอานิสงส์จากข้อตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างไทย-ออสเตรเลีย ไทย-นิวซีแลนด์ และข้อตกลงทางการค้าเสรีอาเซียน(AFTA) ตลอดจนการได้รับแรงสนับสนุนจากทางสมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และกรมส่งเสริมการส่งออกในการจัดงานแสดงสินค้าชิ้นส่วนยานยนต์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งจะมีส่วนช่วยขยายตลาดส่งออกได้มากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัจจัยลบสำคัญซึ่งจะฉุดรั้งการขยายตัวของภาคการส่งออกให้ไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้เบื้องต้น ได้แก่ การแข็งค่าขึ้นของเงินบาท ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ผลิตชิ้นส่วนที่พึ่งพาตลาดส่งออกเป็นหลัก โดยเฉพาะตลาดอะไหล่ทดแทน อันจะทำให้ไม่สามารถปรับเพิ่มราคาจำหน่ายขึ้นได้ เพราะอาจจะส่งผลต่อการเปลี่ยนคู่ค้าในตลาดต่างประเทศได้ ขณะเดียวกัน ยังต้องเผชิญกับภาวะการแข่งขันด้านราคาที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นจากประเทศคู่แข่งรายใหม่ที่เริ่มเข้ามามีบทบาทในตลาดโลกมากขึ้นอย่างเวียดนาม นอกเหนือจากคู่แข่งหลักอย่างจีนและอินเดียซึ่งมีแหล่งวัตถุดิบและต้นทุนแรงงานที่ถูกกว่า แม้ว่า ปัจจุบัน คุณภาพการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ของจีนและอินเดียยังไม่สามารถเทียบกับคุณภาพชิ้นส่วนยานยนต์ของไทยได้ แต่ก็สามารถช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดในตลาดส่งออกที่สำคัญไปได้บางส่วน และมีแนวโน้มจะขยายส่วนแบ่งตลาดให้สูงขึ้นได้อีกในอนาคตจากการเร่งพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง อันจะส่งผลให้มูลค่าการส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ของไทยขยายตัวได้ยากลำบากมากขึ้น
ที่มา : ฝ่ายวิจัยธนาคารนครหลวงไทย
http://www.bangkokbiznews.com/2007/07/1 ... wsid=84833
18 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 15:00:00
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์จัดเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่รัฐบาลให้การสนับสนุน เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่มีบทบาทในการสนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์ซึ่งไทยเป็นฐานการผลิตขนาดใหญ่ที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก และมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งในส่วนที่ก่อให้เกิดการจ้างงานเป็นจำนวนมาก และก่อให้เกิดการเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรรมเกี่ยวเนื่องต่างๆ พร้อมทั้งเป็นอุตสาหกรรมที่สามารถทำรายได้เข้าสู่ประเทศในแต่ละปีเป็นจำนวนนับแสนล้านบาท โดยในปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมนี้สามารถทำรายได้เข้าประเทศถึง 2.54 แสนล้านบาท
อย่างไรก็ตาม การส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ไทยต้องผชิญกับภาวะการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น เฉพาะอย่างยิ่งจากประเทศคู่แข่งที่มีความได้เปรียบด้านต้นทุนที่อยู่ในระดับต่ำกว่าเข้ามาชิงส่วนแบ่งตลาด ทำให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนไทยต้องมีการปรับตัวโดยเน้นการเสริมสร้างศักยภาพการออกแบบและพัฒนา พร้อมทั้งยกระดับคุณภาพการผลิต ตลอดจนลดการสูญเสียจากการผลิตด้วยการยกระดับเทคโนโลยีการผลิต และพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถสนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ เพื่อเพิ่มศักภาพในการแข่งขันของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทยให้สามารถเติบโตต่อไปได้ในระยะยาว
ตลาดชิ้นส่วน OEMรับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ
การผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ของไทยในปัจจุบัน ครอบคลุมรายการชิ้นส่วนต่างๆ มากมาย ได้แก่ ชิ้นส่วนเครื่องยนต์ ชิ้นส่วนระบบกันสะเทือนและเบรก ชิ้นส่วนตัวถัง ชิ้นส่วนระบบขับเคลื่อนและถ่ายทอดกำลัง ชิ้นส่วนตกแต่งภายใน และชิ้นส่วนอุปกรณ์ระบบไฟฟ้า เป็นต้น โดยทั่วไปแล้วผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์จะมีตลาดในการจัดจำหน่ายชิ้นส่วนอยู่ 2 ตลาดหลัก ได้แก่
1. ตลาดชิ้นส่วนเพื่อนำไปใช้ประกอบยานยนต์ (Original Equipment Market : OEM) โดยผู้ผลิตต้องผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ป้อนให้กับรถยนต์และจักรยานยนต์รุ่นใหม่ๆ สำหรับค่ายยานยนต์ที่เข้ามาตั้งฐานการผลิตในไทยเพื่อประกอบยานยนต์ส่งออกและจำหน่ายในประเทศ ซึ่งเป็นการผลิตตามคำสั่งซื้อโดยมีการกำหนดจำนวนคำสั่งซื้อเบื้องต้นไว้ล่วงหน้าและในแต่ละครั้งจะมีจำนวนการสั่งซื้อเป็นจำนวนมาก ทำให้ผู้ประกอบการยานยนต์มีอำนาจในการเจรจาต่อรองราคากับผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ เพื่อทำให้ต้นทุนการผลิตยานยนต์ต่ำลง นอกจากนี้ยังมีการตรวจสอบอย่างเข้มงวดจากผู้ประกอบการยานยนต์ในเรื่องของคุณภาพและระยะเวลาในการส่งมอบชิ้นส่วน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่สร้างแรงกดดันให้กับผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ต้องปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต เพื่อให้ได้ชิ้นส่วนที่มีคุณภาพมาตรฐานอย่างสม่ำเสมอและเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของตนเองอย่างไม่หยุดยั้ง
ทั้งนี้ความต้องการใช้ชิ้นส่วนยานยนต์ในกลุ่มนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณการผลิตรถยนต์และรถจักรยานยนต์ของผู้ประกอบการยานยนต์ที่เข้ามาตั้งฐานการผลิตในประเทศไทย โดยในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2550 มีปริมาณการผลิตรถยนต์จำนวน 488,200 คัน ลดลงร้อยละ 1.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งในจำนวนนี้เป็นการผลิตเพื่อการส่งออก 251,924 คัน เพิ่มขึ้น 12.68% และเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 236,276 คัน ลดลง 13.8% ในขณะที่ การผลิตรถจักรยานยนต์มีปริมาณ 1,370,773 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 9.77% ตามภาวะการซบเซาของตลาดรถยนต์และรถจักรยานยนต์ในประเทศ อันเป็นผลจากการชะลอการตัดสินใจซื้อยานยนต์ของผู้บริโภคที่ไม่มั่นใจในภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งได้รับผลกระทบจากความไม่แน่นอนทางการเมือง ความผันผวนของราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น และเหตุการณ์ความไม่สงบในเขตกรุงเทพมหานครและพื้นที่ 3 จังหวัดภาคใต้
2. ตลาดชิ้นส่วนทดแทนหรืออะไหล่ทดแทน (Replacement Equipment Market : REM) เป็นตลาดชิ้นส่วนอะไหล่เพื่อการทดแทนชิ้นส่วนเดิมที่เสียหรือสึกหรอตามสภาพการใช้งาน ซึ่งชิ้นส่วนแต่ละชิ้นจะมีอายุการใช้งานที่แตกต่างกัน ผู้ผลิตที่ทำการผลิตเพื่อป้อนให้กับตลาดทดแทนนี้มีทั้งผู้ประกอบการขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก จึงทำให้ชิ้นส่วนที่ผลิตได้นั้นมีคุณภาพที่หลากหลายทั้งอะไหล่แท้ อะไหล่ปลอม และอะไหล่เทียม ซึ่งจะทำการจัดจำหน่ายให้กับศูนย์บริการอะไหล่ของค่ายยานยนต์ต่างๆ โดยปกติศูนย์บริการจะมีการจัดเก็บสต็อกอะไหล่ทดแทนไม่มากนัก จะเน้นเก็บเฉพาะอะไหล่ที่ใช้ในการซ่อมยานยนต์บ่อยครั้งเท่านั้น
นอกจากนี้ ยังมีการขยายช่องทางการจัดจำหน่ายเข้าไปในร้านค้าอะไหล่ทั่วประเทศ ตลอดจนอู่ซ่อมรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ทั้งนี้ ความต้องการใช้ชิ้นส่วนในตลาดทดแทนนี้ ขึ้นอยู่กับปริมาณการใช้ยานยนต์ภายในประเทศ ซึ่งรถยนต์และรถจักรยานยนต์ที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2550 รวมทั้งสิ้น 1,027,749 คัน โดยแบ่งเป็นจำนวนรถยนต์ 306,942 คัน และจำนวนรถจักรยานยนต์ 720,807 คัน จากจำนวนรถยนต์และจักรยานยนต์จดทะเบียนสะสมที่มีอยู่เดิม ณ ธันวาคม 2549 อยู่ที่ระดับ 23,532,103 คัน ซึ่งยานยนต์ที่ได้จดทะเบียนใหม่เหล่านี้ จะมีส่วนทำให้ปริมาณการใช้ยานยนต์ภายในประเทศเพิ่มมากขึ้น อันจะมีผลให้ความต้องการใช้ชิ้นส่วนยานยนต์ในตลาดทดแทนขยายตัวเพิ่มขึ้นตามไปด้วยในอนาคต
ส่งออก..ยังขยายตัว
อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ของไทยได้มีการขยายการลงทุนและมุ่งพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนสามารถผลิตชิ้นส่วนให้มีความหลากหลาย ตลอดจนมีคุณภาพและมาตรฐานการผลิตอยู่ในระดับที่ผู้ผลิตรถยนต์และรถจักรยานยนต์ระดับโลกยอมรับ ทำให้สามารถส่งออกไปจำหน่ายยังประเทศต่างๆได้เพิ่มขึ้น โดยการส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2550 มีมูลค่าการส่งออกรวมทั้งสิ้น 111,972.40 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 12.55% โดยจำแนกเป็นชิ้นส่วนรถยนต์มูลค่า 102,943.85 ล้านบาท และชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์มูลค่า 9,028.55 ล้านบาท เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกชิ้นส่วนเป็นรายผลิตภัณฑ์แล้ว พบว่าชิ้นส่วนที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุด คือ เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบและส่วนประกอบ มูลค่า 22,867.49 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 20% ของมูลค่าการส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ทั้งหมด ตลาดส่งออกที่สำคัญได้แก่ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และอินเดีย ส่วนมูลค่าการส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์รองลงมาได้แก่ ยางยานพาหนะ ส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ ชุดสายไฟรถยนต์ และหม้อแบตเตอรี่และส่วนประกอบ ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม การส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ของไทยยังต้องเผชิญกับปัญหาค่าเงินบาท ทำให้ความสามารถในการแข่งขันลดลง โดยเฉพาะต้องเผชิญกับคู่แข่งอย่างจีน อินเดีย และเวียดนาม ซึ่งเป็นประเทศผู้ส่งออกที่มีความได้เปรียบด้านต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า
JTEPA กับอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ไทย
ภายใต้ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น(Japan-Thailand Economic Partnership) ได้กำหนดให้สินค้าชิ้นส่วนยานยนต์(เฉพาะที่นำเข้ามาใช้ประกอบรถยนต์หรือOriginal Equipment Manufacturing(OEM)) ซึ่งปัจจุบันไทยมีอัตราภาษีนำเข้าอยู่ที่ร้อยละ 15-30 โดยกำหนดให้รายการที่มีอัตราภาษีเกินร้อยละ 20 ลดภาษีเหลือร้อยละ 20 ทันที ให้คงภาษีไว้ 5 ปี และยกเลิกในปีที่ 6 ส่วนรายการที่มีอัตราภาษีเท่ากับหรือต่ำกว่าร้อยละ 20 ให้คงอัตราภาษีไว้ที่อัตราเดิม 5 ปี และยกเลิกในปีที่ 6 เช่นกัน ขณะที่ กลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์ที่มีความอ่อนไหวง่าย เพราะความสามารถในการแข่งขันไม่มากพอ เช่น เครื่องยนต์และชิ้นส่วนเครื่องยนต์ ได้กำหนดให้คงอัตราภาษีไว้ที่อัตราเดิมเป็นเวลา 7 ปี และยกเลิกในปีที่ 8
การลดภาษีนำเข้าชิ้นส่วนยานยนต์ดังกล่าว จะส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมประกอบรถยนต์ให้สามารถนำเข้าชิ้นส่วนคุณภาพดีในราคาที่ลดลง ซึ่งจะช่วยให้การผลิตรถยนต์มีต้นทุนที่ต่ำลง ขณะที่ ผลกระทบในระยะยาว จะทำให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนของไทยต้องเผชิญกับภาวะการแข่งขันที่มีความรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากญี่ปุ่นได้ชื่อว่าเป็นประเทศผู้นำในการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ระดับโลกประเทศหนึ่ง
นอกจากนี้ ยังเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนสัญชาติญี่ปุ่นส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์เข้ามาในไทยมากขึ้น และเข้ามาลงทุนตั้งฐานการผลิตชิ้นส่วนในไทยลดลง ส่งผลให้ไทยขาดโอกาสในการรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีและไม่สามารถผลิตชิ้นส่วนหลักสำคัญที่มีมูลค่าเพิ่มสูงหรือใช้เทคโนโลยีขั้นสูงได้ อย่างไรก็ตาม การปรับลดภาษีให้ลงเหลือ 0% เป็นการปรับลดแบบมีระยะเวลา ซึ่งจะทำให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ประเภท OEM มีระยะเวลาในการปรับตัว โดยการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตชิ้นส่วนให้มีคุณภาพสูงขึ้น และมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำลง เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันกับชิ้นส่วนที่นำเข้าจากญี่ปุ่น และพร้อมสำหรับการแข่งขันเสรีในระบบโลกาภิวัฒน์ต่อไป
แนวโน้ม
การส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ในปี 2550 คาดว่า จะมีมูลค่าประมาณ 2.8 แสนล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 10% เนื่องจากชิ้นส่วนยานยนต์ไทยที่ผลิตได้มีคุณภาพสูงเทียบเท่าระดับมาตรฐานสากลและเป็นที่ยอมรับในตลาดโลกมากขึ้น รวมถึงการได้รับอานิสงส์จากข้อตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างไทย-ออสเตรเลีย ไทย-นิวซีแลนด์ และข้อตกลงทางการค้าเสรีอาเซียน(AFTA) ตลอดจนการได้รับแรงสนับสนุนจากทางสมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และกรมส่งเสริมการส่งออกในการจัดงานแสดงสินค้าชิ้นส่วนยานยนต์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งจะมีส่วนช่วยขยายตลาดส่งออกได้มากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัจจัยลบสำคัญซึ่งจะฉุดรั้งการขยายตัวของภาคการส่งออกให้ไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้เบื้องต้น ได้แก่ การแข็งค่าขึ้นของเงินบาท ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ผลิตชิ้นส่วนที่พึ่งพาตลาดส่งออกเป็นหลัก โดยเฉพาะตลาดอะไหล่ทดแทน อันจะทำให้ไม่สามารถปรับเพิ่มราคาจำหน่ายขึ้นได้ เพราะอาจจะส่งผลต่อการเปลี่ยนคู่ค้าในตลาดต่างประเทศได้ ขณะเดียวกัน ยังต้องเผชิญกับภาวะการแข่งขันด้านราคาที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นจากประเทศคู่แข่งรายใหม่ที่เริ่มเข้ามามีบทบาทในตลาดโลกมากขึ้นอย่างเวียดนาม นอกเหนือจากคู่แข่งหลักอย่างจีนและอินเดียซึ่งมีแหล่งวัตถุดิบและต้นทุนแรงงานที่ถูกกว่า แม้ว่า ปัจจุบัน คุณภาพการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ของจีนและอินเดียยังไม่สามารถเทียบกับคุณภาพชิ้นส่วนยานยนต์ของไทยได้ แต่ก็สามารถช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดในตลาดส่งออกที่สำคัญไปได้บางส่วน และมีแนวโน้มจะขยายส่วนแบ่งตลาดให้สูงขึ้นได้อีกในอนาคตจากการเร่งพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง อันจะส่งผลให้มูลค่าการส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ของไทยขยายตัวได้ยากลำบากมากขึ้น
ที่มา : ฝ่ายวิจัยธนาคารนครหลวงไทย
http://www.bangkokbiznews.com/2007/07/1 ... wsid=84833
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news20/07/07
โพสต์ที่ 30
เอเอทีปั๊มปิคอัพครบล้านคัน เมินลงทุนขยายโรงงานเพิ่ม
โดย มติชน วัน ศุกร์ ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 09:53 น.
นายมาซากิ โคไก ประธานบริษัท ออโต้อัลลายแอนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือเอเอที บริษัทร่วมทุนระหว่างฟอร์ด มอเตอร์ คอมปานี และมาสด้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ผู้ผลิตรถยนต์ของฟอร์ดและมาสด้าที่โรงงานจังหวัดระยอง เปิดเผยว่า บริษัทประสบความสำเร็จในการผลิตรถกระบะในประเทศไทยได้ครบ 1 ล้านคันแล้ว แต่เรื่องของการลงทุนเพื่อขยายโรงงานคงยังไม่จำเป็นถึงแม้จะมียอดการผลิตสูงสุดตามขนาดของโรงงานแล้ว เพราะสามารถแก้ปัญหาด้วยการเพิ่มกำลังการผลิตได้
นายจอห์น ปาร์คเกอร์ รองประธานกรรมการใหญ่กลุ่มบริษัท ฟอร์ด มอเตอร์กลุ่มธุรกิจภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกและแอฟริกา กล่าวว่า ทางบริษัทมีความสนใจที่จะผลิตและนำรถยนต์ประหยัดหรืออีโคคาร์เข้ามาในประเทศไทย สำหรับผลกระทบจากเศรษฐกิจในขณะนี้ ถือว่ามีผลกระทบกับยอดขายและการส่งออกพอสมควร แต่ผู้ผลิตรายอื่นก็คงได้รับผลกระทบเช่นกัน
นายโรเบิร์ต กราเซียโน รองประธานบริหาร มาสด้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า ส่วนแบ่งทางการตลาดโดยรวม บริษัท ออโต้ อัลลายแอนซ์ มีส่วนแบ่งทางการตลาด 3.5% ในเขตอาเซียน และคาดว่าในอนาคตจะมีการส่งออกรถยนต์ให้กับต่างประเทศ 75% ขายในประเทศ 25% ในแต่ละปีบริษัทซื้อชิ้นส่วนรถยนต์มูลค่าประมาณ 6.02 หมื่นล้านบาท จากผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ 177 ราย เป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ของประเทศไทย 166 ราย ทำให้เอเอทีมีเครือข่ายผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดรายหนึ่งของประเทศ
http://news.sanook.com/economic/economic_158960.php
โดย มติชน วัน ศุกร์ ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 09:53 น.
นายมาซากิ โคไก ประธานบริษัท ออโต้อัลลายแอนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือเอเอที บริษัทร่วมทุนระหว่างฟอร์ด มอเตอร์ คอมปานี และมาสด้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ผู้ผลิตรถยนต์ของฟอร์ดและมาสด้าที่โรงงานจังหวัดระยอง เปิดเผยว่า บริษัทประสบความสำเร็จในการผลิตรถกระบะในประเทศไทยได้ครบ 1 ล้านคันแล้ว แต่เรื่องของการลงทุนเพื่อขยายโรงงานคงยังไม่จำเป็นถึงแม้จะมียอดการผลิตสูงสุดตามขนาดของโรงงานแล้ว เพราะสามารถแก้ปัญหาด้วยการเพิ่มกำลังการผลิตได้
นายจอห์น ปาร์คเกอร์ รองประธานกรรมการใหญ่กลุ่มบริษัท ฟอร์ด มอเตอร์กลุ่มธุรกิจภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกและแอฟริกา กล่าวว่า ทางบริษัทมีความสนใจที่จะผลิตและนำรถยนต์ประหยัดหรืออีโคคาร์เข้ามาในประเทศไทย สำหรับผลกระทบจากเศรษฐกิจในขณะนี้ ถือว่ามีผลกระทบกับยอดขายและการส่งออกพอสมควร แต่ผู้ผลิตรายอื่นก็คงได้รับผลกระทบเช่นกัน
นายโรเบิร์ต กราเซียโน รองประธานบริหาร มาสด้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า ส่วนแบ่งทางการตลาดโดยรวม บริษัท ออโต้ อัลลายแอนซ์ มีส่วนแบ่งทางการตลาด 3.5% ในเขตอาเซียน และคาดว่าในอนาคตจะมีการส่งออกรถยนต์ให้กับต่างประเทศ 75% ขายในประเทศ 25% ในแต่ละปีบริษัทซื้อชิ้นส่วนรถยนต์มูลค่าประมาณ 6.02 หมื่นล้านบาท จากผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ 177 ราย เป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ของประเทศไทย 166 ราย ทำให้เอเอทีมีเครือข่ายผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดรายหนึ่งของประเทศ
http://news.sanook.com/economic/economic_158960.php