หน้า 1 จากทั้งหมด 1
น้องใหม่ครับ มาพร้อมกับคำถาม
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. มิ.ย. 14, 2007 11:52 pm
โดย 1216
สวัสดีครับ
คำถามคือ ทำไมช่วงยุคทักษิณเศรษฐกิจถึงดีครับ เขาทำกันอย่างไรครับ
ขอแบบละเอียดๆเลยนะครับ เรียนเชิญท่านเทพทั้งหลายช่วยมาให้ความกระจ่าง
ด้วยครับ
ขอบคุณครับ
น้องใหม่ครับ มาพร้อมกับคำถาม
โพสต์แล้ว: ศุกร์ มิ.ย. 15, 2007 7:04 am
โดย สุมาอี้
กลัวกระทู้นี้กลายเป็นกระทู้การเมืองจังครับ แสดงความเห็นได้แต่อย่าแรงนะครับ
น้องใหม่ครับ มาพร้อมกับคำถาม
โพสต์แล้ว: ศุกร์ มิ.ย. 15, 2007 6:58 pm
โดย macarian
ขอบอกก่อนว่าเป็นแนวเทพ โพธิงามนาครับ แล้วก็ไม่ขอยุ่งการเมืองนาครับ
แนวคิดเคนส์
แนวคิดนี้ตรงข้ามกับ แนวคิดของพวก adam smith กล่าวคือ adam smith เชื่อว่า โดยปกติระบบเศรษฐกิจจะอยู่ในจุดดุลยภาพเสมอ ถ้าไม่อยู่ก็จะมี invisible hand เป็นตัวดึงกลับมาสู่จุดดุลยภาพ invisible hand ก็คือ กลไกตลาด demand supply นั่นเอง เพราะฉะนั้นระบบนี้จึงเน้นให้เกิดการแขงขันเสรี ให้ระบบ demand supply ทำงานเต็มที่โดยไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยว
ในปี 1930 เศรษฐกิจโลกประสบปัญหา กิจกรรมการผลิตหยุดนิ่ง คนว่างง่านตรึม ซึ่งแนวคิดด้านบน (neoclassical) ตอบโจทย์นี้ไมได้
แนวคิดเคนส์ คือ เชื่อว่า โดยปกติ ระบบเศษฐกิจนั้นไม่มีเสถียรภาพ ไม่อยู่ในดุลยภาพ จึงมีความจำเป็นทีจะต้องเข้าไปจัดการ ให้มีดุลยภาพ
การพึ่งกลไกตลาดอย่างเดียว จะทำให้ demand รวมขอระบบเศรษฐกิจมีไม่พอ (หรือไม่ก็มากเกินไป) และทำให้เกิดการว่างงาน (หรือ ภาวะราคาเฟ้อ inflation) เพราะงั้น รัฐบาลจึงต้องเข้าไปยุ่งเกี่ยว ไม่งั้นระบบจะไม่เดินและล่มสลายได้ในที่สุด
ลักษณะพิเศษของเคนส์คือ
1. ยืนยันให้รัฐบาลเข้ามายุ่งเกี่ยวอย่างเต็มที่ เพื่อสร้างเสถียรภาพ (ตรงข้ามกับพวก classical ที่ไม่แนะนำให้ยุ่งเกี่ยว)
2. การเข้ามายุ่งเกี่ยวอย่างเต็มี่นี้ ออกมาในรูปการใช้นโยบายการคลังเป็นหลักในการควบคุมด้าน demand side กล่าวคือ สมมติให้ด้าน supply ไม่มีการเปลี่ยนแปลง จึงเป็นการวิเคราะห์ความไร้เสถียรภาพของเศรษฐกิจจากด้าน demand ว่ามากหรือน้อยไป เมือ supply ถูกจับให้คงที่
3. มีแนวโน้มที่มุ่งวิเคราะห์สเถียรภาพในระยะสั้น คือสนแค่การปรับปริมาณดีมานด์ให้เข้ากับซัพพลาย เพราะในระยะสั้นปัจจัยด้านอุปทาน พวกวัตถุดิบ เทคโนโลยีต่างๆ จะมีลักษณะคงที่
4. เศรษฐศาสตร์เคนส์ คือทฤษฎีเศรษฐกิจมหภาค คือสนใจเรื่องความสัมพันธ์มหภาค พวก gdp การออม การลงทุน มากกว่าที่จะศึกษาถึงพฤติกรรมย่อยๆของแต่ละหน่วยเศรษฐกิจ (แบบจุลภาค)
การยอมรับ เคนส์ เท่ากับยอมรับการเป็น big goverment ว่าเป็นสิ่งดี สนับสนุนการใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดินในจำนวนาก การขยายระบบราชการ การลงทุนเพื่อกระตุ้นการลงทุนภาคเอกชนแต่การเน้น รัฐบาลใหญ่ อย่างเกินขอบเขต ก็จะเป็นการสร้าง illusion ให้กับประชาชน ทำให้หวังพึ่งรัฐบาลอย่างเดียว
แนวโน้มอีกอย่างของเคนส์คือ การไม่ปฎิเสธภาวะ เงินเฟ้อ โดยเด็ดขาด เพราะจุดเริ่มอยู่ที่การแก้ปัญหาเศรษฐกิจซบเซาและการว่างงาน จึงให้ความสำคัญกับการว่างงานมากกว่าเงินเฟ้อ
ในสมัยรัฐบาลเคเนดี้ ช่วงปี1960 อัตราเงินเฟ้อ อยู่ที่ 1% แต่การว่างงานสูงเกือบ 7% จึงมีการใช้นโยบายขยายอุปสงค์รวเพื่อเพิ่มกาจ้างงาน ซึ่งเน้นที่การลดภาษีขนานใหญ่เพื่อกระตุ้นการบริโภค ผลลัพธ์คือ การว่างงานลดเหลือ 3.5 ซึ่งเป็นระดับใกล้ภาวะการจ้างงานเต็มที่ แต่อัตราเฟ้อพุ่งเป็น 5% ในช่วงปลาย 1960
ความสำเร็จนี้ ทำให้ผู้คนยอมรับการเป็นรัฐบาลใหญ่ว่าเป็นสิ่งที่ดีมาก
ทว่าลัทธิเคนส์ที่สนับสนุนใมการขยายรายจ่ายการคลังเพื่อสร้างสัคมสวัสดิการนั้น ได้กลายเป็นอุปสรรคต่อนโยบายเสถียรภาพแบบเคนส์เอง
เพราะโดยทั่วไป การขยายรายจ่ายการคลังจะช่วยเพิ่มอุปสงค์รวม แต่ในกรณีที่อุปสงค์รวมถูกกระตุ้นมากเกินไป ก็จะทำให้ระดับราคาสูงขึ้น
ในกรณีเช่นี้ การจะลดอุปสงค์รวมจะมี 3 มาตรการ กือ การบีบรัดการเงิน การตัดทอนรายจ่ายการคลัง และการเพิ่มภาษี
ถ้ามองจากจุดยืนเคนส์ การตัดทอนรายจ่ายการคลัง เป็นการขัดแย้งต่อตัวเอง
ส่วนอีกสองมาตรการมีข้อจำกัดทางการเมืองและสังคม ซึ่งไม่เอื้อต่อการตัดสินใจให้เลือกใช้ ผลคือต้องจำใจใช้นโยบายขยายอุปสงค์รวมต่อไป หรือ การจำใจยอมรับอัตราเฟ้อนั่นเอง
เมื่อเป็นเช่นนี้นโยบายแบบเคนส์ จึง มีผลเฉพาะใน่วงที่ซบเซาที่เกิด deflationary gap เท่านั้น แต่ไม่อาจมีผลในกรณี inflationary gap เมื่อเศรษฐกิจได้เฟื่องฟู ผลกลับกลายว่า ความสำเร็จของลัทธิเคนส์ในทศวรรษ 1960 ทำให้อเมริกาในทศวรรษ 1970 ต้องอยู่ในยุคของราคาเฟ้อ อย่างไม่มีทางเลือก
ในปี 1980 อเมริกาอยู่ในภาวะ stagflation มีการเติบโตในระดับต่ำ ราคาเฟ้อสูงขึ้น และการขยายตัวท่าเดียวของราจ่ายรัฐบาลที่ทำให้เกิดภาวะการคลังขาดดุล และภายใต้การขาดดุล ลัทธิเคนส์ไม่อาจต่อสู้กับภาวะราคาเฟ้อได้
วิกฤตการณ์ได้มาเยือน เคนส์ เสียแล้ว
ของเมืองไทย รัฐบาลเก่าหรือรัฐบาลไหนทำอย่างไรผมไม่รู้ ไม่เห็น ไม่เกี่ยว ไม่เอา ไม่ทราบ ไม่มีความเห็นนะครับ
น้องใหม่ครับ มาพร้อมกับคำถาม
โพสต์แล้ว: ศุกร์ มิ.ย. 15, 2007 11:05 pm
โดย BHT
เท่าที่ทราบ รัฐบาลทักษิณอัดฉีดเงินเข้าระบบเยอะ ทำให้เงินหมุนดี เลยจับจ่ายสนุก ก็เศรษฐกิจดี
แต่กลายเป็นเงินอนาคต กู้ยืมมามากกว่าทำมาหาได้ เลยกลายเป็นปัญหาตามมา