เพิ่มเติมเรื่องสูตร Gordon's Model
โพสต์แล้ว: ศุกร์ มิ.ย. 15, 2007 1:47 am
ถึงทุกท่านที่ไปร่วมงาน TVI Meeting
ในวันงานท่าน ดร. นิเวศน์ ได้บรรยายถึงสูตรของ Gordon's Model หลังจากวันงานได้ไปอ่านเจอสูตรนี้ จึงขออนุญาตบอกกล่าวเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Gordon's Model และหากท่านใดมีข้อแนะนำเพิ่มเติมก็ช่วยกันนะครับ จะได้เป็นการเพิ่มความเข้าใจให้ลึกซึ้งเข้าไปอีก
สูตร Gordon's Model นั้นเป็นแบบหนึ่งของการคิดราคาหุ้นตามกระแสเงินสดที่ได้รับจากเงินปันผลในอนาคต โดยสมมุติว่าเราซื้อหุ้นและถือไว้โดยไม่ขาย ซึ่งสิ่งที่เราหวังจะได้รับทุกปีก็คือเงินปันผล สูตรก็คือ
K = (D/P)+g หรือ P = D/(k-g)
ซึ่ง K อัตราผลตอบแทนที่คาดหวัง(%), D คือเงินปันผลที่คาดว่าจะจ่ายในปีต่อไป, P คือราคาของหุ้น, g อัตราการเจริญเติบโตของเงินปันผลต่อปี(%)
สูตรนี้จะใช้ได้ต่อเมื่ออัตราผลตอบแทนที่ต้องการ (k) มากกว่าอัตราการเจริญเติบโต (g) เท่านั้น ดังนั้น สูตรนี้จะไม่เหมาะที่จะใช้กับหุ้นของบริษัทที่มีอัตราการเติบโตสูง (g>k) ทั้งนี้เพราะคงไม่มีบริษัทไหนในโลกนี้ที่จะโตในอัตราสูงมากได้ตลอดกาล ในกรณีที่บริษัทกำลังอยู่ในช่วงเติบโตเร็วนี้ จะต้องเปลี่ยนแปลงข้อสมมุติเกี่ยวกับการเจริญเติบโตในอัตราคงที่เสียใหม่ แต่สูตรการคำนวณก็จะยุ่งยากขึ้น
ถ้าสมมุติว่าบริษัทมีนโยบายในการจ่ายเงินปันผลเป็นสัดส่วนกับกำไรที่ได้เสมอ เช่น 50% ของกำไร ตัวนี้คือ Payout Ration (b) หรือเขียนค่า D ใหม่ได้ว่า D=bE เมื่อ E คือกำไรต่อหุ้น
เขียนใหม่ได้ว่า P = bE/(k-g) หรือก็คือ P/E = b/(k-g)
เพราะฉะนั้นปัจจัยที่กำหนดค่า P/E มี 3 ส่วนคือ
1) อัตราจ่ายเงินปันผล หรือ Payout Ratio (b)
2) อัตราผลตอบแทนที่คาดหวังจากการลงทุน (k)
3) อัตราการเติบโตของบริษัท
ในวันงานท่าน ดร. นิเวศน์ ได้บรรยายถึงสูตรของ Gordon's Model หลังจากวันงานได้ไปอ่านเจอสูตรนี้ จึงขออนุญาตบอกกล่าวเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Gordon's Model และหากท่านใดมีข้อแนะนำเพิ่มเติมก็ช่วยกันนะครับ จะได้เป็นการเพิ่มความเข้าใจให้ลึกซึ้งเข้าไปอีก
สูตร Gordon's Model นั้นเป็นแบบหนึ่งของการคิดราคาหุ้นตามกระแสเงินสดที่ได้รับจากเงินปันผลในอนาคต โดยสมมุติว่าเราซื้อหุ้นและถือไว้โดยไม่ขาย ซึ่งสิ่งที่เราหวังจะได้รับทุกปีก็คือเงินปันผล สูตรก็คือ
K = (D/P)+g หรือ P = D/(k-g)
ซึ่ง K อัตราผลตอบแทนที่คาดหวัง(%), D คือเงินปันผลที่คาดว่าจะจ่ายในปีต่อไป, P คือราคาของหุ้น, g อัตราการเจริญเติบโตของเงินปันผลต่อปี(%)
สูตรนี้จะใช้ได้ต่อเมื่ออัตราผลตอบแทนที่ต้องการ (k) มากกว่าอัตราการเจริญเติบโต (g) เท่านั้น ดังนั้น สูตรนี้จะไม่เหมาะที่จะใช้กับหุ้นของบริษัทที่มีอัตราการเติบโตสูง (g>k) ทั้งนี้เพราะคงไม่มีบริษัทไหนในโลกนี้ที่จะโตในอัตราสูงมากได้ตลอดกาล ในกรณีที่บริษัทกำลังอยู่ในช่วงเติบโตเร็วนี้ จะต้องเปลี่ยนแปลงข้อสมมุติเกี่ยวกับการเจริญเติบโตในอัตราคงที่เสียใหม่ แต่สูตรการคำนวณก็จะยุ่งยากขึ้น
ถ้าสมมุติว่าบริษัทมีนโยบายในการจ่ายเงินปันผลเป็นสัดส่วนกับกำไรที่ได้เสมอ เช่น 50% ของกำไร ตัวนี้คือ Payout Ration (b) หรือเขียนค่า D ใหม่ได้ว่า D=bE เมื่อ E คือกำไรต่อหุ้น
เขียนใหม่ได้ว่า P = bE/(k-g) หรือก็คือ P/E = b/(k-g)
เพราะฉะนั้นปัจจัยที่กำหนดค่า P/E มี 3 ส่วนคือ
1) อัตราจ่ายเงินปันผล หรือ Payout Ratio (b)
2) อัตราผลตอบแทนที่คาดหวังจากการลงทุน (k)
3) อัตราการเติบโตของบริษัท