** ตลท.สั่งยกเลิก Call Market ใน 13 บจ. **
โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ค. 02, 2007 5:37 pm
คุ้นๆๆ เหมือนเห็นว่าบางบริษัท มีคนในเวปนี้ลงทุนอยู่เหมือนกัน เลยเอามาแจ้งไว้น่ะครับ :lol:
*****************
ตลท.สั่งยกเลิก Call Market ใน 13 บจ. พร้อมสั่งให้ซื้อเข้าในระบบปกติตั้งแต่ 4 ก.ค. เป็น
ต้นไป
รายงานข่าวจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า เพื่อให้หลักทรัพย์จด
ทะเบียนที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมีสภาพคล่อง โดยมีการกระจายการถือหุ้น
ของผู้ถือหุ้นรายย่อยอย่างเพียงพอและเหมาะสม ตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงได้ปรับปรุงแนวทางดำเนิน
การกรณีบริษัทจดทะเบียนที่มีการกระจายรายย่อยไม่ครบถ้วนให้เหมาะสมขึ้น สรุปได้ดังนี้
1. ยกเลิกมาตรการ Call Market เพื่อให้หลักทรัพย์ของบริษัทกลับมาซื้อขายใน
ระบบปกติ (Automatic Order Matching : AOM) แทน ซึ่งจะช่วยเพิ่มสภาพคล่องในการซื้อ
ขายและช่วยให้การกระจายหุ้นเป็นไปโดยสะดวกยิ่งขึ้น อีกทั้งการดำเนินการดังกล่าวยังไม่มีผล
กระทบต่อผู้ถือหุ้นรายย่อย
2. ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะให้ระยะเวลาบริษัทจดทะเบียนในการแก้ไขการกระจายการถือ
หุ้นให้ครบถ้วน โดยในปีแรก ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะแจ้งให้บริษัทจดทะเบียนได้ทราบเพื่อดำเนิน
การแก้ไขให้บริษัทจดทะเบียนมีคุณสมบัติในด้านการกระจายการถือหุ้นตามเกณฑ์ หากบริษัทจด
ทะเบียนยังไม่สามารถดำเนินการแก้ไขการกระจายการถือหุ้นได้ในปีที่ 2 ตลาดหลักทรัพย์ฯ
จะแจ้งการขาดคุณสมบัติของบริษัทจดทะเบียนให้ผู้ลงทุนได้ทราบ และเรียกเก็บค่าธรรมเนียม
ส่วนเพิ่มจนกว่าบริษัทจะแก้ไขเหตุดังกล่าวได้ โดยบริษัทจดทะเบียนจะรายงานความคืบหน้าการ
แก้ไขปัญหาทุก 6 เดือนนับจากวันครบกำหนดส่งรายงานการกระจายจนกว่าบริษัทจดทะเบียนจะ
มีคุณสมบัติครบถ้วน เพื่อให้ผู้ลงทุนได้ทราบความคืบหน้าในการดำเนินการดังกล่าว
เนื่องจากมีบริษัทจดทะเบียนจำนวน 21 บริษัทที่มีคุณสมบัติด้านการกระจายของผู้ถือ
หุ้นรายย่อยไม่ครบถ้วนตามข้อกำหนดติดต่อกันเป็นปีที่ 2 ขึ้นไป จะมีการดำเนินการ ดังนี้
1. บริษัทที่ขาดคุณสมบัติมากกว่า 2 ปีขึ้นไป จำนวน 15 บริษัท ในระบบการจับคู่ในช่วง
เวลา (Call Market)
1.1 ยกเลิกการกำหนดให้หลักทรัพย์ซื้อในระบบ Call Market โดยให้ซื้อขายในระบบ
ปกติ (Automatic Order Matching ) แทน จำนวน 13 บริษัท โดยเริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 4
กรกฎาคม 2550 เป็นต้นไป ได้แก่
1. บริษัท รองเท้าบาจาแห่งประเทศไทย จำกัด (มหาชน) (BATA)
2 บริษัท เทพธานีกรีฑา จำกัด (มหาชน) (CSR)
3 บริษัทนำสินประกันภัย จำกัด (มหาชน) (NSI)
4 บริษัท ปทุม ไรซมิล แอนด์ แกรนารี่ จำกัด (มหาชน) (PRG) 1/
5 บริษัท แพ็คฟู้ด จำกัด (มหาชน) (PPC)
6 บริษัท โรงแรมราชดำริ จำกัด (มหาชน) (RHC) 2/
7 บริษัท โรงแรมรอยัล ออคิด (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)(ROH)
8 บริษัทไทยพาณิชย์นิวยอร์คไลฟ์ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)(SCNYL)
9 บริษัท แชงกรี-ลา โฮเต็ล จำกัด (มหาชน) (SHANG)
10 บริษัท สมิติเวช จำกัด (มหาชน) (SVH)
11 บริษัท ไทย อกริ ฟู้ดส์ จำกัด (มหาชน)(TAF)
12 ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) (TBANK)
13 บริษัท ยูไนเต็ดฟลาวมิลล์ จำกัด (มหาชน) (UFM)
1.2 ยกเลิกการกำหนดให้หลักทรัพย์ของธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด
(มหาชน) (SCBT)3/ และบริษัท นครหลวงเส้นใยสังเคราะห์ จำกัด (มหาชน) (HTX) ซื้อขายใน
ระบบ Call Market มีผลตั้งแต่วันที่ 4 กรกฎาคม 2550 เป็นต้นไป โดยยังคงสั่งห้ามการซื้อหรือ
ขายต่อไป
2. บริษัทที่ขาดคุณสมบัติเป็นปีที่ 2 จำนวน 6 บริษัท ยังคงซื้อขายในระบบปกติ
ได้แก่
1. บริษัท วาไทยอุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน) (HT)
2. บริษัท บางกอกแร้นช์ จำกัด (มหาชน) (RANCH)
3. บริษัท ประกันคุ้มภัย จำกัด (มหาชน) (SAFE)
4. บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (SHIN)
5. บริษัท ยูไนเต็ดคอมมูนิเกชั่น อินดัสตรี จำกัด (มหาชน) (UCOM) 4/
6. บริษัท วีนิไทย จำกัด (มหาชน) (VNT)
ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามแนวทางดำเนินการที่ได้ปรับปรุงใหม่ข้างต้น บริษัทดังกล่าว
ข้างต้นจะดำเนินการดังนี้
1. แก้ไขการกระจายรายย่อยให้ครบถ้วนภายใน 1 ปีนับจากวันครบกำหนดนำส่ง
รายงานการกระจายการถือหุ้นของแต่ละบริษัท
2. รายงานความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาทุก 6 เดือน ครั้งแรกวันที่ 14 พฤศจิกายน
2550 (สำหรับบริษัทที่มีงวดบัญชีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม) และครั้งต่อไปทุก 6 เดือนจนกว่า
บริษัทจะมีคุณสมบัติเรื่องการกระจายรายย่อยครบถ้วน
3. กรณีบริษัทยังไม่สามารถแก้ไขคุณสมบัติการกระจายรายย่อยภายในเวลาดังกล่าว
ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมส่วนเพิ่มในงวดถัดไป (กรกฎาคมปี 2551 -
มิถุนายนปี 2552) โดยนับเป็นปีที่ 1 ตามจำนวนการกระจายผู้ถือหุ้นรายย่อยที่บริษัทยังไม่
สามารถปฏิบัติได้ตามเกณฑ์ และจะเรียกเก็บต่อไปตามตารางอัตราค่าธรรมเนียมที่กำหนดจน
กว่าบริษัทจะสามารถแก้ไขคุณสมบัติได้ (รายละเอียดของมาตรการดำเนินการกับบริษัทจด
ทะเบียนที่มีการกระจายรายย่อยไม่ครบถ้วนให้เหมาะสมขึ้น ปรากฏใน www.set.or.th. ใน
หมวดหนังสือเวียนฝ่ายกำกับบริษัทจดทะเบียน เลขที่ 28/2550 ลงวันที่ 13 มิถุนายน 2550 และ
สามารถติดตามรายงานความคืบหน้าในการแก้ไขการกระจายได้จาก www.set.or.th หัวข้อ
ข้อมูลบริษัทจดทะเบียน รายชื่อบริษัทที่มีการกระจายรายย่อยไม่ครบถ้วน)
1/ PRG มีงวดบัญชีสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน
2/ RHC อยู่ระหว่างดำเนินการเพิกถอนหลักทรัพย์โดยสมัครใจ โดยมีบริษัท หัวหิน รี
ซอร์ท จำกัด เป็นผู้ทำคำเสนอซื้อในระหว่างวันที่ 25 เมษายน 2550 ถึงวันที่ 29 มิถุนายน
2550
3/ SCBT อยู่ระหว่างดำเนินการเพิกถอนหลักทรัพย์โดยสมัครใจ กำหนดประชุมผู้
ถือหุ้นเพื่อขออนุมัติการเพิกถอนหลักทรัพย์ในวันที่ 10 กรกฎาคม 2550 โดยมีธนาคารสแตนดาร์
ดชาร์เตอร์ด (ผู้ถือหุ้นใหญ่ 99.8%) เป็นผู้ทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์
4/ UCOM อยู่ระหว่างดำเนินการเพิกถอนหลักทรัพย์โดยสมัครใจ โดยผู้ถือหุ้นได้
อนุมัติการเพิกถอนหลักทรัพย์แล้วเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2550 โดยมีบริษัทโทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอม
มูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) (DTAC) เป็นผู้ทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์
*****************
ตลท.สั่งยกเลิก Call Market ใน 13 บจ. พร้อมสั่งให้ซื้อเข้าในระบบปกติตั้งแต่ 4 ก.ค. เป็น
ต้นไป
รายงานข่าวจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า เพื่อให้หลักทรัพย์จด
ทะเบียนที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมีสภาพคล่อง โดยมีการกระจายการถือหุ้น
ของผู้ถือหุ้นรายย่อยอย่างเพียงพอและเหมาะสม ตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงได้ปรับปรุงแนวทางดำเนิน
การกรณีบริษัทจดทะเบียนที่มีการกระจายรายย่อยไม่ครบถ้วนให้เหมาะสมขึ้น สรุปได้ดังนี้
1. ยกเลิกมาตรการ Call Market เพื่อให้หลักทรัพย์ของบริษัทกลับมาซื้อขายใน
ระบบปกติ (Automatic Order Matching : AOM) แทน ซึ่งจะช่วยเพิ่มสภาพคล่องในการซื้อ
ขายและช่วยให้การกระจายหุ้นเป็นไปโดยสะดวกยิ่งขึ้น อีกทั้งการดำเนินการดังกล่าวยังไม่มีผล
กระทบต่อผู้ถือหุ้นรายย่อย
2. ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะให้ระยะเวลาบริษัทจดทะเบียนในการแก้ไขการกระจายการถือ
หุ้นให้ครบถ้วน โดยในปีแรก ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะแจ้งให้บริษัทจดทะเบียนได้ทราบเพื่อดำเนิน
การแก้ไขให้บริษัทจดทะเบียนมีคุณสมบัติในด้านการกระจายการถือหุ้นตามเกณฑ์ หากบริษัทจด
ทะเบียนยังไม่สามารถดำเนินการแก้ไขการกระจายการถือหุ้นได้ในปีที่ 2 ตลาดหลักทรัพย์ฯ
จะแจ้งการขาดคุณสมบัติของบริษัทจดทะเบียนให้ผู้ลงทุนได้ทราบ และเรียกเก็บค่าธรรมเนียม
ส่วนเพิ่มจนกว่าบริษัทจะแก้ไขเหตุดังกล่าวได้ โดยบริษัทจดทะเบียนจะรายงานความคืบหน้าการ
แก้ไขปัญหาทุก 6 เดือนนับจากวันครบกำหนดส่งรายงานการกระจายจนกว่าบริษัทจดทะเบียนจะ
มีคุณสมบัติครบถ้วน เพื่อให้ผู้ลงทุนได้ทราบความคืบหน้าในการดำเนินการดังกล่าว
เนื่องจากมีบริษัทจดทะเบียนจำนวน 21 บริษัทที่มีคุณสมบัติด้านการกระจายของผู้ถือ
หุ้นรายย่อยไม่ครบถ้วนตามข้อกำหนดติดต่อกันเป็นปีที่ 2 ขึ้นไป จะมีการดำเนินการ ดังนี้
1. บริษัทที่ขาดคุณสมบัติมากกว่า 2 ปีขึ้นไป จำนวน 15 บริษัท ในระบบการจับคู่ในช่วง
เวลา (Call Market)
1.1 ยกเลิกการกำหนดให้หลักทรัพย์ซื้อในระบบ Call Market โดยให้ซื้อขายในระบบ
ปกติ (Automatic Order Matching ) แทน จำนวน 13 บริษัท โดยเริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 4
กรกฎาคม 2550 เป็นต้นไป ได้แก่
1. บริษัท รองเท้าบาจาแห่งประเทศไทย จำกัด (มหาชน) (BATA)
2 บริษัท เทพธานีกรีฑา จำกัด (มหาชน) (CSR)
3 บริษัทนำสินประกันภัย จำกัด (มหาชน) (NSI)
4 บริษัท ปทุม ไรซมิล แอนด์ แกรนารี่ จำกัด (มหาชน) (PRG) 1/
5 บริษัท แพ็คฟู้ด จำกัด (มหาชน) (PPC)
6 บริษัท โรงแรมราชดำริ จำกัด (มหาชน) (RHC) 2/
7 บริษัท โรงแรมรอยัล ออคิด (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)(ROH)
8 บริษัทไทยพาณิชย์นิวยอร์คไลฟ์ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)(SCNYL)
9 บริษัท แชงกรี-ลา โฮเต็ล จำกัด (มหาชน) (SHANG)
10 บริษัท สมิติเวช จำกัด (มหาชน) (SVH)
11 บริษัท ไทย อกริ ฟู้ดส์ จำกัด (มหาชน)(TAF)
12 ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) (TBANK)
13 บริษัท ยูไนเต็ดฟลาวมิลล์ จำกัด (มหาชน) (UFM)
1.2 ยกเลิกการกำหนดให้หลักทรัพย์ของธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด
(มหาชน) (SCBT)3/ และบริษัท นครหลวงเส้นใยสังเคราะห์ จำกัด (มหาชน) (HTX) ซื้อขายใน
ระบบ Call Market มีผลตั้งแต่วันที่ 4 กรกฎาคม 2550 เป็นต้นไป โดยยังคงสั่งห้ามการซื้อหรือ
ขายต่อไป
2. บริษัทที่ขาดคุณสมบัติเป็นปีที่ 2 จำนวน 6 บริษัท ยังคงซื้อขายในระบบปกติ
ได้แก่
1. บริษัท วาไทยอุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน) (HT)
2. บริษัท บางกอกแร้นช์ จำกัด (มหาชน) (RANCH)
3. บริษัท ประกันคุ้มภัย จำกัด (มหาชน) (SAFE)
4. บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (SHIN)
5. บริษัท ยูไนเต็ดคอมมูนิเกชั่น อินดัสตรี จำกัด (มหาชน) (UCOM) 4/
6. บริษัท วีนิไทย จำกัด (มหาชน) (VNT)
ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามแนวทางดำเนินการที่ได้ปรับปรุงใหม่ข้างต้น บริษัทดังกล่าว
ข้างต้นจะดำเนินการดังนี้
1. แก้ไขการกระจายรายย่อยให้ครบถ้วนภายใน 1 ปีนับจากวันครบกำหนดนำส่ง
รายงานการกระจายการถือหุ้นของแต่ละบริษัท
2. รายงานความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาทุก 6 เดือน ครั้งแรกวันที่ 14 พฤศจิกายน
2550 (สำหรับบริษัทที่มีงวดบัญชีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม) และครั้งต่อไปทุก 6 เดือนจนกว่า
บริษัทจะมีคุณสมบัติเรื่องการกระจายรายย่อยครบถ้วน
3. กรณีบริษัทยังไม่สามารถแก้ไขคุณสมบัติการกระจายรายย่อยภายในเวลาดังกล่าว
ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมส่วนเพิ่มในงวดถัดไป (กรกฎาคมปี 2551 -
มิถุนายนปี 2552) โดยนับเป็นปีที่ 1 ตามจำนวนการกระจายผู้ถือหุ้นรายย่อยที่บริษัทยังไม่
สามารถปฏิบัติได้ตามเกณฑ์ และจะเรียกเก็บต่อไปตามตารางอัตราค่าธรรมเนียมที่กำหนดจน
กว่าบริษัทจะสามารถแก้ไขคุณสมบัติได้ (รายละเอียดของมาตรการดำเนินการกับบริษัทจด
ทะเบียนที่มีการกระจายรายย่อยไม่ครบถ้วนให้เหมาะสมขึ้น ปรากฏใน www.set.or.th. ใน
หมวดหนังสือเวียนฝ่ายกำกับบริษัทจดทะเบียน เลขที่ 28/2550 ลงวันที่ 13 มิถุนายน 2550 และ
สามารถติดตามรายงานความคืบหน้าในการแก้ไขการกระจายได้จาก www.set.or.th หัวข้อ
ข้อมูลบริษัทจดทะเบียน รายชื่อบริษัทที่มีการกระจายรายย่อยไม่ครบถ้วน)
1/ PRG มีงวดบัญชีสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน
2/ RHC อยู่ระหว่างดำเนินการเพิกถอนหลักทรัพย์โดยสมัครใจ โดยมีบริษัท หัวหิน รี
ซอร์ท จำกัด เป็นผู้ทำคำเสนอซื้อในระหว่างวันที่ 25 เมษายน 2550 ถึงวันที่ 29 มิถุนายน
2550
3/ SCBT อยู่ระหว่างดำเนินการเพิกถอนหลักทรัพย์โดยสมัครใจ กำหนดประชุมผู้
ถือหุ้นเพื่อขออนุมัติการเพิกถอนหลักทรัพย์ในวันที่ 10 กรกฎาคม 2550 โดยมีธนาคารสแตนดาร์
ดชาร์เตอร์ด (ผู้ถือหุ้นใหญ่ 99.8%) เป็นผู้ทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์
4/ UCOM อยู่ระหว่างดำเนินการเพิกถอนหลักทรัพย์โดยสมัครใจ โดยผู้ถือหุ้นได้
อนุมัติการเพิกถอนหลักทรัพย์แล้วเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2550 โดยมีบริษัทโทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอม
มูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) (DTAC) เป็นผู้ทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์