วิธีการโจมตีค่าเงินบาท
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ค. 15, 2007 8:19 pm
อันนี้เอามาจาก http://speculator.diaryclub.com/?date=20070713 ซึ่งผมคาดว่าน่าจะเขียนขึ้นราวๆ ปี 2546 เนื้อหาเกี่ยวกับวิธีการโจมตีค่าเงินบาทในช่วงปี 2539-2540 โดยในเวปไซด์ดังกล่าวบอกว่าเป็นบทความจาก รศ. ดร. ถวิล นิลใบ เนื้อหามีดังนี้
ตั้งแต่ต้นเดือนกันยายน 2549 ที่ผ่านมาค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ จนเป็นที่วิตกว่าจะมีผลกระทบต่อการส่งออกและต่อภาวะการเติบโตทางเศรษฐกิจ รัฐบาลให้คำอธิบายว่าเป็นภาวะปกติที่เป็นผลเนื่องมาจากดุลการค้าเกินดุลและภาวะเศรษฐกิจที่เติบโตในระดับสูง จึงเป็นสิ่งจูงใจให้มีเงินทุนไหลเข้ามา ค่าเงินบาทจึงแข็ง แต่ธนาคารแห่งประเทศไทยผู้ซึ่งดูแลเงินทุนไหลเข้าออกอย่างใกล้ชิดเห็นว่ามีเงินทุนระยะสั้นไหลเข้ามาสู่ประเทศสูงผิดปกติ และได้เปิดเผยว่ามีการเก็งกาํไรค่าเงินบาทเกิดขึ้น จึงได้มีมาตรการตอบโตบรรดานักเกร็งกำไรดังกล่าว ทำให้นึกถึงเรื่องการโจมตีค่าเงินบาทที่เกิดขึ้นในช่วงปลายปี 2539 และต้นปี 2540 ซึ่งนำไปสู่วิกฤตเศรษฐกิจครั้งร้ายแรงที่สุดของประวัติศาสตร์ชาติไทย
การโจมตีค่าเงินบาทในครั้งนั้น ทำให้ประเทศไทยต้องเสียทุนสำรองระหว่างประเทศเกือบหมดประเทศต้องขอความช่วยเหลือจาก IMF พร้อมทั้งต้องเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยนจากคงที่เป็นลอยตัว สถาบันการเงินและภาคธุรกิจต้องประสบกับปัญหาหนี้เพิ่มขึ้นอย่างมากต้องล้มละลายและฉุดให้เศรษฐกิจตกตํ่าอย่างรุนแรง การโจมตีค่าเงินถือว่าเป็นเรื่องใหม่สำหรับธนาคารแห่งประเทศไทยและสังคมไทย ในอดีตประเทศไทยเป็นประเทศเล็กและอยู่นอกสายตาของนักเก็งกำไรค่าเงิน เราจึงไม่คิดว่าคนกลุ่มนี้จะมาสนใจโจมตีค่าเงินเราแต่ในช่วง 2530 2539 ประเทศไทยเป็นที่รู้จักกันดีในสายตาของชาวโลกในฐานะที่เป็นประเทศที่มีการเติบโตสูงในลำดับต้น ๆ ของโลก รวมทั้งได้รับคำชมเชยจากองค์กรระหว่างประเทศ เช่น IMF และ World Bank ในการบริหารจัดการประเทศจนเติบโตในระดับที่สูงและต่อเนื่อง
ความโดดเด่นของประเทศไทยจึงเป็นที่จับตามองของนักลงทุนต่างประเทศและนักเก็งกำไร เมื่อโอกาสและเงื่อนไขต่างๆ เอื้ออำนวย กลุ่มนักเก็งกำไรจึงทำการโจมตีค่าเงินบาท โดยที่เราไม่คาดคิดมาก่อน บทความนี้จะย้อนกลับไปในอดีตนำเสนอวิธีการที่นักเก็งกำไรใช้โจมตีค่าเงินบาทที่เกิดขึ้นในปลายปี 2539 และในช่วงต้นปี 2540 ทั้งนี้เพื่อเป็นบทเรียนและข้อคิดให้กับเรา
ก่อนที่จะกล่าวถึงวิธีการโจมตีค่าเงินบาท เรามาทำความเข้าใจเบื้องต้นถึงความหมายของการโจมตีค่าเงิน (currency attack) ซึ่งหมายถึงการที่นักลงทุนต่างประเทศเข้ามาแสวงหากำไรจากการซื้อขายเงินตราของสกุลหนึ่ง
เพื่อทำกำไรจากผลต่างระหว่างอัตราที่ซื้อและอัตราที่ขาย เป็นวิธีการหารายได้รูปแบบหนึ่งของนักลงทุนระหว่างประเทศ ถ้าจะเปรียบเทียบกับ การเก็งกำไรค่าเงิน (currency speculation) จะมีนิยามเหมือนกัน แต่แตกต่างกันตรงที่การโจมตีนั้นมุ่งหวังให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรง ดังนั้น ขนาดของการเก็งกำไรจึงมีจำนวนมากและกระทำอย่างต่อเนื่อง และพร้อมที่จะต่อสู้กับมาตรการที่ธนาคารชาติออกมาตอบโต้ โดยปกติการโจมตีค่าเงินมักจะกระทำกับประเทศที่ใชระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ (fixed exchange rate system)
ที่ทางการกำหนดค่าเงินไว้สูงเกินไป (over value) และมีสภาพแวดล้อมอื่นเอื้ออำนวย เช่น ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลเรื้อรังหนี้ระยะสั้นสูงเมื่อเทียบกับทุนสำรอง เป็นต้น ส่วนการเก็งกำไรค่าเงินมักจะกระทำสำหรับประเทศที่ใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว นักลงทุนที่โจมตีค่าเงินมักเป็นนักลงทุนขนาดใหญ่และเป็นนักลงทุนประเภทสถาบันที่ระดมทุนมาเก็งกำไรค่าเงินหรือโจมตีค่าเงินโดยตั้งเป็นกองทุนมีชื่อเรียกว่า Hedge Funds ตัวอย่างของกองทุนประเภทนี้คือ Quantum Fund ซึ่งดูแลโดยนาย George Soros ที่พวกเราคุ้นเคยชื่อนี้ดี และเข้ามาร่วมโจมตีค่าเงินบาทด้วย นอกจากนี้ธนาคารพาณิชย์ทั้งไทยและเทศก็เป็นอีกกลุ่มที่แสวงหากำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนส่วนมากมักจะเป็นรูปแบบของการเก็งกำไร เช่น ล่าสุดที่ทำกับประเทศไทยในเดือนกันยายนที่ผ่านมา ช่องทางการโจมตีค่าเงินบาทที่เกิดขึ้นในปลายปี 2539
และต้นปี 2540 มีเป็นดังนี้
ช่องทางแรก เป็นการโจมตีผ่านช่องทางตลาดเงิน คือผ่านธนาคารพาณิชย์ในประเทศเริ่มจากนักเก็งกำไรกู้เงินบาทจากธนาคารพาณิชย์ แล้วนำไปซื้อดอลลาร์ทันที ธนาคารพาณิชย์จะนำเงินบาทที่นักเก็งกำไรขอกู้ไปซื้อดอลลาร์จากธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อส่งมอบให้กับนักเก็งกำไร การโจมตีค่าเงินด้วยวิธีนี้ นักลงเก็งกำไรต้องเสียดอกเบี้ยเงินกู้เงินบาทให้กับธนาคารพาณิชย์ซึ่งเมื่อได้ดอลลาร์สหรัฐแล้วไปพักไว้ในบัญชีได้รับดอกเบี้ยเงินฝากดอลลาร์ซึ่งจะตํ่ากว่าดอกเบี้ยเงินกู้ (เงินบาท) นั่นคือนักเก็งกำไรยอมรับภาระผลต่างของดอกเบี้ยทั้งสอง ซึ่งเป็นต้นทุนในการโจมตีค่าเงินด้วยช่องทางนี้
แต่หวังว่าเมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยลดค่าเงินหรือลอยตัวค่าเงินก็จะนำ
ดอลลาร์ที่ถือไว้มาขายคืน เช่น ตอนเอาเงินบาทซื้อดอลลาร์สหรัฐที่ 25 บาท แต่ตอนขายคืน ถ้าอัตราแลกเปลี่ยนลดค่าไปอยู่ที่ 30 บาท นักลงทุนต่างชาติก็จะได้กำไร 5 บาทต่อดอลลาร์เมื่อหักดอกเบี้ยเงินกู้ให้กับธนาคารแล้วยังมีกำไรเหลือ (หลังลอยตัวค่าเงินบาทในปี 2540 อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ย 31 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ) การโจมตีด้วยวิธีนี้ค่อนข้างง่าย นักเก็งกำไรหลายกลุ่มทำพร้อม ๆ กันและต่อเนื่อง เงินดอลลาร์สหรัฐซึ่งเป็นทุนสำรองทางการก็จะเหลือน้อยลง คำถามคือธนาคารชาติทราบหรือไม่ว่าถูกโจมตีด้วยวิธีนี้ คำตอบคือ ทราบดี คำถามต่อไปคือ แล้วทำไมจึงปล่อยให้ทำ
คำตอบคือ มั่นใจว่าจะชนะ กล่าวคือ ถ้าธนาคารชาติไม่ลดค่าเงิน นักเก็งกำไร
ซึ่งมักจะกู้ในระยะเวลาสั้น ๆ เช่น 1 เดือน หรือ 3 เดือน เมื่อครบกำหนดสัญญาต้องใช้คืนธนาคาร ถ้าอัตราแลกเปลี่ยนคงเดิม ก็จะขาดทุนเพราะต้องเสียดอกเบี้ยเงินกู้ การต่อสู้กันระหว่างธนาคารชาติกับนักเก็งกำไรมี 2 ยก
ยกแรก เกิดขึ้นประมาณปลายปี 2539 ต่อเนื่องมาจนถึงต้นปี 2540 ธนาคารชาติเป็นฝ่ายชนะ ยกที่สอง เกิดขึ้นประมาณเดือนพฤษภาคม 2540 ธนาคารชาติเป็นฝ่ายแพ้ ทำให้ธนาคารชาติห้ามธนาคารพาณิชย์ให้กู้เงินบาทกับต่างชาติเพื่อมาซื้อดอลลาร์สหรัฐ ปิดช่องทางการโจมตีค่าเงินโดยผ่านตลาดเงินหรือผ่านธนาคารพาณิชย์
เมื่อธนาคารชาติปิดช่องทางดังกล่าว นักเก็งกำไรต่างชาติเริ่มโจมตีผ่านช่องทางที่สองคือผ่านตลาดหลักทรัพย์หรือตลาดหุ้น วิธีนี้ค่อนข้างซับซ้อนกว่าวิธีแรก กล่าวคือ นักเก็งกำไรจะขอกู้เงินบาทจากธนาคารพาณิชย์ แต่ไม่สามารถนำไปซื้อดอลลาร์ได้ เพราะธนาคารชาติห้ามนักเก็งกำไรจะนำเงินบาทที่กู้ไปซื้อหุ้นในคราบของนักลงทุนซึ่งทางการไม่ห้าม เมื่อเข้าไปซื้อหุ้นวันนี้พรุ่งนี้ก็จะขายหุ้นทิ้ง จากนั้นนำเงินบาทที่ได้จาการขายหุ้นไปซื้อดอลลาร์จากธนาคารพาณิชย์ธนาคารพาณิชย์ก็นำไปซื้อดอลลาร์จากธนาคารชาติส่งมอบให้กับนักลงทุน เป็นผลทำให้ทุนสำรองของทางการลดลงเหมือนกับช่องทางแรก แต่ช่องทางนี้ซับซ้อนและมีต้นทุนในการโจมตีเพิ่มขึ้นจากการซื้อขายหุ้น แต่เป็นวิธีที่มีแนวร่วม กล่าวคือ เมื่อขายหุ้นทิ้งราคาดิ่งลง ทำให้นักลงทุนที่เข้ามีเล่นหุ้นตามปกติ ขายหุ้นตามแล้วนำเงินที่ได้แลกดอลลาร์กลับยิ่งเพิ่มแรงกดดันให้ทุนสำรองลดลง เมื่อธนาคารชาติทราบการโจมตีด้วยวิธีนี้ จึงห้ามไม่ให้ธนาคารพาณิชย์ให้กู้กับต่างชาติไม่ว่ากรณีใดเท่ากับเป็นการแบ่งตลาดเงินบาทในประเทศ (ON SHORE MARKET) ออกจากตลาดต่างประเทศ(OFF SHORE MARKET)
เดี๋ยวอ่านต่อ...
ตั้งแต่ต้นเดือนกันยายน 2549 ที่ผ่านมาค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ จนเป็นที่วิตกว่าจะมีผลกระทบต่อการส่งออกและต่อภาวะการเติบโตทางเศรษฐกิจ รัฐบาลให้คำอธิบายว่าเป็นภาวะปกติที่เป็นผลเนื่องมาจากดุลการค้าเกินดุลและภาวะเศรษฐกิจที่เติบโตในระดับสูง จึงเป็นสิ่งจูงใจให้มีเงินทุนไหลเข้ามา ค่าเงินบาทจึงแข็ง แต่ธนาคารแห่งประเทศไทยผู้ซึ่งดูแลเงินทุนไหลเข้าออกอย่างใกล้ชิดเห็นว่ามีเงินทุนระยะสั้นไหลเข้ามาสู่ประเทศสูงผิดปกติ และได้เปิดเผยว่ามีการเก็งกาํไรค่าเงินบาทเกิดขึ้น จึงได้มีมาตรการตอบโตบรรดานักเกร็งกำไรดังกล่าว ทำให้นึกถึงเรื่องการโจมตีค่าเงินบาทที่เกิดขึ้นในช่วงปลายปี 2539 และต้นปี 2540 ซึ่งนำไปสู่วิกฤตเศรษฐกิจครั้งร้ายแรงที่สุดของประวัติศาสตร์ชาติไทย
การโจมตีค่าเงินบาทในครั้งนั้น ทำให้ประเทศไทยต้องเสียทุนสำรองระหว่างประเทศเกือบหมดประเทศต้องขอความช่วยเหลือจาก IMF พร้อมทั้งต้องเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยนจากคงที่เป็นลอยตัว สถาบันการเงินและภาคธุรกิจต้องประสบกับปัญหาหนี้เพิ่มขึ้นอย่างมากต้องล้มละลายและฉุดให้เศรษฐกิจตกตํ่าอย่างรุนแรง การโจมตีค่าเงินถือว่าเป็นเรื่องใหม่สำหรับธนาคารแห่งประเทศไทยและสังคมไทย ในอดีตประเทศไทยเป็นประเทศเล็กและอยู่นอกสายตาของนักเก็งกำไรค่าเงิน เราจึงไม่คิดว่าคนกลุ่มนี้จะมาสนใจโจมตีค่าเงินเราแต่ในช่วง 2530 2539 ประเทศไทยเป็นที่รู้จักกันดีในสายตาของชาวโลกในฐานะที่เป็นประเทศที่มีการเติบโตสูงในลำดับต้น ๆ ของโลก รวมทั้งได้รับคำชมเชยจากองค์กรระหว่างประเทศ เช่น IMF และ World Bank ในการบริหารจัดการประเทศจนเติบโตในระดับที่สูงและต่อเนื่อง
ความโดดเด่นของประเทศไทยจึงเป็นที่จับตามองของนักลงทุนต่างประเทศและนักเก็งกำไร เมื่อโอกาสและเงื่อนไขต่างๆ เอื้ออำนวย กลุ่มนักเก็งกำไรจึงทำการโจมตีค่าเงินบาท โดยที่เราไม่คาดคิดมาก่อน บทความนี้จะย้อนกลับไปในอดีตนำเสนอวิธีการที่นักเก็งกำไรใช้โจมตีค่าเงินบาทที่เกิดขึ้นในปลายปี 2539 และในช่วงต้นปี 2540 ทั้งนี้เพื่อเป็นบทเรียนและข้อคิดให้กับเรา
ก่อนที่จะกล่าวถึงวิธีการโจมตีค่าเงินบาท เรามาทำความเข้าใจเบื้องต้นถึงความหมายของการโจมตีค่าเงิน (currency attack) ซึ่งหมายถึงการที่นักลงทุนต่างประเทศเข้ามาแสวงหากำไรจากการซื้อขายเงินตราของสกุลหนึ่ง
เพื่อทำกำไรจากผลต่างระหว่างอัตราที่ซื้อและอัตราที่ขาย เป็นวิธีการหารายได้รูปแบบหนึ่งของนักลงทุนระหว่างประเทศ ถ้าจะเปรียบเทียบกับ การเก็งกำไรค่าเงิน (currency speculation) จะมีนิยามเหมือนกัน แต่แตกต่างกันตรงที่การโจมตีนั้นมุ่งหวังให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรง ดังนั้น ขนาดของการเก็งกำไรจึงมีจำนวนมากและกระทำอย่างต่อเนื่อง และพร้อมที่จะต่อสู้กับมาตรการที่ธนาคารชาติออกมาตอบโต้ โดยปกติการโจมตีค่าเงินมักจะกระทำกับประเทศที่ใชระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ (fixed exchange rate system)
ที่ทางการกำหนดค่าเงินไว้สูงเกินไป (over value) และมีสภาพแวดล้อมอื่นเอื้ออำนวย เช่น ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลเรื้อรังหนี้ระยะสั้นสูงเมื่อเทียบกับทุนสำรอง เป็นต้น ส่วนการเก็งกำไรค่าเงินมักจะกระทำสำหรับประเทศที่ใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว นักลงทุนที่โจมตีค่าเงินมักเป็นนักลงทุนขนาดใหญ่และเป็นนักลงทุนประเภทสถาบันที่ระดมทุนมาเก็งกำไรค่าเงินหรือโจมตีค่าเงินโดยตั้งเป็นกองทุนมีชื่อเรียกว่า Hedge Funds ตัวอย่างของกองทุนประเภทนี้คือ Quantum Fund ซึ่งดูแลโดยนาย George Soros ที่พวกเราคุ้นเคยชื่อนี้ดี และเข้ามาร่วมโจมตีค่าเงินบาทด้วย นอกจากนี้ธนาคารพาณิชย์ทั้งไทยและเทศก็เป็นอีกกลุ่มที่แสวงหากำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนส่วนมากมักจะเป็นรูปแบบของการเก็งกำไร เช่น ล่าสุดที่ทำกับประเทศไทยในเดือนกันยายนที่ผ่านมา ช่องทางการโจมตีค่าเงินบาทที่เกิดขึ้นในปลายปี 2539
และต้นปี 2540 มีเป็นดังนี้
ช่องทางแรก เป็นการโจมตีผ่านช่องทางตลาดเงิน คือผ่านธนาคารพาณิชย์ในประเทศเริ่มจากนักเก็งกำไรกู้เงินบาทจากธนาคารพาณิชย์ แล้วนำไปซื้อดอลลาร์ทันที ธนาคารพาณิชย์จะนำเงินบาทที่นักเก็งกำไรขอกู้ไปซื้อดอลลาร์จากธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อส่งมอบให้กับนักเก็งกำไร การโจมตีค่าเงินด้วยวิธีนี้ นักลงเก็งกำไรต้องเสียดอกเบี้ยเงินกู้เงินบาทให้กับธนาคารพาณิชย์ซึ่งเมื่อได้ดอลลาร์สหรัฐแล้วไปพักไว้ในบัญชีได้รับดอกเบี้ยเงินฝากดอลลาร์ซึ่งจะตํ่ากว่าดอกเบี้ยเงินกู้ (เงินบาท) นั่นคือนักเก็งกำไรยอมรับภาระผลต่างของดอกเบี้ยทั้งสอง ซึ่งเป็นต้นทุนในการโจมตีค่าเงินด้วยช่องทางนี้
แต่หวังว่าเมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยลดค่าเงินหรือลอยตัวค่าเงินก็จะนำ
ดอลลาร์ที่ถือไว้มาขายคืน เช่น ตอนเอาเงินบาทซื้อดอลลาร์สหรัฐที่ 25 บาท แต่ตอนขายคืน ถ้าอัตราแลกเปลี่ยนลดค่าไปอยู่ที่ 30 บาท นักลงทุนต่างชาติก็จะได้กำไร 5 บาทต่อดอลลาร์เมื่อหักดอกเบี้ยเงินกู้ให้กับธนาคารแล้วยังมีกำไรเหลือ (หลังลอยตัวค่าเงินบาทในปี 2540 อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ย 31 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ) การโจมตีด้วยวิธีนี้ค่อนข้างง่าย นักเก็งกำไรหลายกลุ่มทำพร้อม ๆ กันและต่อเนื่อง เงินดอลลาร์สหรัฐซึ่งเป็นทุนสำรองทางการก็จะเหลือน้อยลง คำถามคือธนาคารชาติทราบหรือไม่ว่าถูกโจมตีด้วยวิธีนี้ คำตอบคือ ทราบดี คำถามต่อไปคือ แล้วทำไมจึงปล่อยให้ทำ
คำตอบคือ มั่นใจว่าจะชนะ กล่าวคือ ถ้าธนาคารชาติไม่ลดค่าเงิน นักเก็งกำไร
ซึ่งมักจะกู้ในระยะเวลาสั้น ๆ เช่น 1 เดือน หรือ 3 เดือน เมื่อครบกำหนดสัญญาต้องใช้คืนธนาคาร ถ้าอัตราแลกเปลี่ยนคงเดิม ก็จะขาดทุนเพราะต้องเสียดอกเบี้ยเงินกู้ การต่อสู้กันระหว่างธนาคารชาติกับนักเก็งกำไรมี 2 ยก
ยกแรก เกิดขึ้นประมาณปลายปี 2539 ต่อเนื่องมาจนถึงต้นปี 2540 ธนาคารชาติเป็นฝ่ายชนะ ยกที่สอง เกิดขึ้นประมาณเดือนพฤษภาคม 2540 ธนาคารชาติเป็นฝ่ายแพ้ ทำให้ธนาคารชาติห้ามธนาคารพาณิชย์ให้กู้เงินบาทกับต่างชาติเพื่อมาซื้อดอลลาร์สหรัฐ ปิดช่องทางการโจมตีค่าเงินโดยผ่านตลาดเงินหรือผ่านธนาคารพาณิชย์
เมื่อธนาคารชาติปิดช่องทางดังกล่าว นักเก็งกำไรต่างชาติเริ่มโจมตีผ่านช่องทางที่สองคือผ่านตลาดหลักทรัพย์หรือตลาดหุ้น วิธีนี้ค่อนข้างซับซ้อนกว่าวิธีแรก กล่าวคือ นักเก็งกำไรจะขอกู้เงินบาทจากธนาคารพาณิชย์ แต่ไม่สามารถนำไปซื้อดอลลาร์ได้ เพราะธนาคารชาติห้ามนักเก็งกำไรจะนำเงินบาทที่กู้ไปซื้อหุ้นในคราบของนักลงทุนซึ่งทางการไม่ห้าม เมื่อเข้าไปซื้อหุ้นวันนี้พรุ่งนี้ก็จะขายหุ้นทิ้ง จากนั้นนำเงินบาทที่ได้จาการขายหุ้นไปซื้อดอลลาร์จากธนาคารพาณิชย์ธนาคารพาณิชย์ก็นำไปซื้อดอลลาร์จากธนาคารชาติส่งมอบให้กับนักลงทุน เป็นผลทำให้ทุนสำรองของทางการลดลงเหมือนกับช่องทางแรก แต่ช่องทางนี้ซับซ้อนและมีต้นทุนในการโจมตีเพิ่มขึ้นจากการซื้อขายหุ้น แต่เป็นวิธีที่มีแนวร่วม กล่าวคือ เมื่อขายหุ้นทิ้งราคาดิ่งลง ทำให้นักลงทุนที่เข้ามีเล่นหุ้นตามปกติ ขายหุ้นตามแล้วนำเงินที่ได้แลกดอลลาร์กลับยิ่งเพิ่มแรงกดดันให้ทุนสำรองลดลง เมื่อธนาคารชาติทราบการโจมตีด้วยวิธีนี้ จึงห้ามไม่ให้ธนาคารพาณิชย์ให้กู้กับต่างชาติไม่ว่ากรณีใดเท่ากับเป็นการแบ่งตลาดเงินบาทในประเทศ (ON SHORE MARKET) ออกจากตลาดต่างประเทศ(OFF SHORE MARKET)
เดี๋ยวอ่านต่อ...