หน้า 1 จากทั้งหมด 1
ค่าเงินบาทกับการคีนหนี้ต่างประเทศ
โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ค. 23, 2007 4:46 pm
โดย เอก
ขอถามแบบคนไม่รู้เรื่ืองหน่อยครับ หลายวันก่อนได้ยินวิทยุบอกว่าประเทศไทยจะคืนหนี้ต่างประเทศปีนี้สักแสนล้านบาท เพื่อให้เงินบาทอ่อนตัว ผมไม่เข้าใจว่ามันเกี่ยวกันยังไงครับ รบกวนตอบหน่อยครับ
ค่าเงินบาทกับการคีนหนี้ต่างประเทศ
โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ค. 23, 2007 5:24 pm
โดย akekarat
ก็สมมติว่าเรามีหนี้เค้า 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ตอนนั้นกู้มาขณะที่อัตราแลกเปลี่ยน 40 บาท : 1 เหรียญ ได้เงินบาทมา 40,000 ล้านบาท
แต่พอตอนนี้ เงินบาทแข็งค่า และเราอยากช่วยให้เงินบาทอ่อนลง ก็เลยหาทางคืนเงินที่เคยกู้มา โดยเอาเงินบาท 33,500 ล้านบาท ไปซื้อเงินเหรียญสหรัฐได้ 1,000 ล้านเหรียญ เห็นประโยชน์เปล่าครับว่า ตอนขามากับขากลับต่างกันยังไง
ตามหลัก Demand/Supply เมื่อเราต้องการใช้เงินคืน เราก็ต้องเอาเงินบาทไปแลกเป็นเงินเหรียญสหรัฐก่อนใช้คืน ก็ทำให้เกิด demand ในตัวเงินเหรียญสหรัฐ ทำให้ค่าเงินสหรัฐเมื่อเทียบเงินบาท แข็งค่าขึ้น (หรือเงินบาทอ่อนตัวลงนั่นเอง)
เหมือนกับของที่ถ้ามีคนอยากได้มาก ๆ ราคาก็จะแพงขึ้นไงครับ
ค่าเงินบาทกับการคีนหนี้ต่างประเทศ
โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ค. 23, 2007 8:10 pm
โดย chatchai
ผมมีความรู้สึกคล้ายกับกองทุนพยุงหุ้นในอดีตเลยแฮะ
เมื่อหุ้นตกมากๆ นักลงทุน โบรคเกอร์ ก็ขาดทุนมากมาย เรียกร้องให้ทางการออกมาตรการมาช่วยเหลือ
ทางการก็ใจดี นำเงินมาออกตั้งกองทุนพยุงหุ้น เพื่อเข้าซื้อหุ้นไม่ให้ตก
ปัญหาก็คือ ราคาที่ซื้อ เป็นราคาที่เหมาะสมหรือไม่
ถ้าแพงเกินไป กองทุนก็จะขาดทุน
กรณีนี้ก็เช่นกัน ค่าเงินดอลล่าร์เมื่อเทียบกับเงินบาทอ่อนค่าจนน่าลงทุนแล้วหรือยัง
ค่าเงินบาทกับการคีนหนี้ต่างประเทศ
โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ค. 23, 2007 8:36 pm
โดย akekarat
ผมเองก็ไม่เห็นด้วยนะ เรื่องที่จะมีการจัดตั้งกองทุนช่วยผู้ส่งออก หรืออะไรก็แล้วแต่ในทำนองนี้ มันเหมือนกับการแก้ปัญหาระยะสั้นที่ปลายเหตุมากกว่าที่จะมาหาต้นตอและแก้ปัญหาระยะยาว
แต่อย่างที่พี่ฉัตรชัยว่า ถ้าเรามองว่า ค่าเงินดอลล่าร์เมื่อเทียบกับเงินบาทอ่อนค่าจนน่าลงทุนแล้วหรือยัง แต่ไม่มองว่า ถ้าเงินดอลล่าร์อ่อนไปมากกว่านี้ จะเกิดผลเสียต่อภาพรวมยังไง มันก็น่าสงสารผู้ที่ได้รับผลกระทบเช่นกัน อย่างผมคิดแบบง่าย ๆ นะ (ผิดหรือถูกก็แล้วแต่) ถ้ารัฐอยากช่วยประคองค่าเงินบาท ทำไมไม่นำทุนของรัฐไม่ว่าจะเป็นกองทุนน้ำมันที่เก็บได้แล้วไม่รู้กี่หมื่นล้านหรือสั่งการรัฐวิสาหกิจอย่าง PTT ให้นำเข้าน้ำมัน หรือสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นต้องนำเข้า มาสำรองให้มากขึ้น น้ำมันน่ะ สำรองไปเหอะ ยังไงก็ได้ใช้ บางคนอาจแย้งว่า ก็ทิศทางเงินบาทน่าจะแข็งค่ากว่านี้ บาทน่าจะลงไปได้มากกว่านี้ แล้วค่อยซื้อตอนนั้นไม่ดีกว่าเหรอ ผมก็คงจะแย้งว่า แล้วรัฐหรือ PTT จะช่วยกรุณาไม่เห็นแก่ผลประโยชน์ส่วนต่างนั้นซักหน่อยบ้างไม่ได้เลยหรือ? ส่วนต่างที่เสียไปนั้น เปรียบเทียบกับช่วยไม่ให้ภาคการส่งออกและลูกจ้างต้องมีปัญหาอย่างทุกวันนี้ มันไม่คุ้มหรือ? บางคนอาจมองอีกว่า การนำเข้าน้ำมันหรืออะไรนั้น จะช่วยได้แค่ไหนกันเชียว แต่ผมว่า ก็ยังดีกว่าไม่ทำอะไรเลย หรือเอาแต่มองไปที่การทำกำไรสูงสุดเพียงอย่างเดียวไม่ใช่เหรอครับ?
ก็แค่คิดผ่าน ๆ เข้ามาในสมองครับ เชื่อว่าคนที่เค้าทำงานส่วนนี้คงรู้ผลกระทบดีกว่าเรา ๆ หลาย ๆ คน และหวังว่าท่าน ๆ ในนั้นจะทำอะไรที่มีประโยชน์กับประเทศมากกว่าที่เป็นอยู่ทุกวันนี้
ค่าเงินบาทกับการคีนหนี้ต่างประเทศ
โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ค. 23, 2007 8:59 pm
โดย qingwen
ผมว่าซื้อน้ำมั้นเข้ามา ต้องมีที่เก็บก่อนนะครับ
ค่าเงินบาทกับการคีนหนี้ต่างประเทศ
โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ค. 23, 2007 9:36 pm
โดย เอก
ขอบคุณมากนะครับ
ค่าเงินบาทกับการคีนหนี้ต่างประเทศ
โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ค. 23, 2007 9:37 pm
โดย เอก
ผมเข้าใจแล้วที่เงินไหลเข้ามาในตลาดหุ้นมากๆ ก็เป็นเรื่องตรงข้ามเงินบาทก็เลยยิ่งอ่อนลงเรื่อยๆตามจำนวนเงินที่ไหลเข้ามา
ค่าเงินบาทกับการคีนหนี้ต่างประเทศ
โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ค. 23, 2007 9:40 pm
โดย เอก
ผมพูดผิดเงินบาทยิ่งแข็งขึ้นเรื่อยๆตามจำนวนดอลล์ที่เข้ามา
ค่าเงินบาทกับการคีนหนี้ต่างประเทศ
โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ค. 24, 2007 12:25 am
โดย ปุย
akekarat เขียน:
ก็แค่คิดผ่าน ๆ เข้ามาในสมองครับ เชื่อว่าคนที่เค้าทำงานส่วนนี้คงรู้ผลกระทบดีกว่าเรา ๆ หลาย ๆ คน และหวังว่าท่าน ๆ ในนั้นจะทำอะไรที่มีประโยชน์กับประเทศมากกว่าที่เป็นอยู่ทุกวันนี้
ผมก็เคยเชื่อว่า อย่างนั้น ว่าพวกที่ร่ำเรียนมาโดยตรง ทำงานเฉพาะทาง
น่าจะเป็น Professional
น่าจะ นะครับ
แต่ในความจริง ผลงานที่ผ่านๆมา มาตรการ การรับมือต่างๆ มันกลับเป็นตรงกันข้าม
คิดแล้วก็เศร้าใจ พูดไปก็ไม่ช่วยให้อะไรดีขึ้น ความรู้ก็ไม่มี เหมือนกะเค้า
ผมมองว่า หลายภาคส่วน ในเมืองไทย ใกล้คำว่าล้มเหลว มากๆ
ภาคการเมือง ภาคความปลอดภัย ภาคการศึกษา และ อีกหลายภาค
ทำยังไงกันดีครับ เครียด
ค่าเงินบาทกับการคีนหนี้ต่างประเทศ
โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ค. 24, 2007 7:01 am
โดย mprandy
ปุย เขียน:
ผมก็เคยเชื่อว่า อย่างนั้น
ค่าเงินบาทกับการคีนหนี้ต่างประเทศ
โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ค. 24, 2007 7:16 am
โดย terati20
akekarat เขียน:
สั่งการรัฐวิสาหกิจอย่าง PTT ให้นำเข้าน้ำมัน หรือสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นต้องนำเข้า มาสำรองให้มากขึ้น น้ำมันน่ะ สำรองไปเหอะ ยังไงก็ได้ใช้ บางคนอาจแย้งว่า ก็ทิศทางเงินบาทน่าจะแข็งค่ากว่านี้ บาทน่าจะลงไปได้มากกว่านี้ แล้วค่อยซื้อตอนนั้นไม่ดีกว่าเหรอ ผมก็คงจะแย้งว่า แล้วรัฐหรือ PTT จะช่วยกรุณาไม่เห็นแก่ผลประโยชน์ส่วนต่างนั้นซักหน่อยบ้างไม่ได้เลยหรือ? ส่วนต่างที่เสียไปนั้น เปรียบเทียบกับช่วยไม่ให้ภาคการส่งออกและลูกจ้างต้องมีปัญหาอย่างทุกวันนี้ มันไม่คุ้มหรือ? บางคนอาจมองอีกว่า การนำเข้าน้ำมันหรืออะไรนั้น จะช่วยได้แค่ไหนกันเชียว แต่ผมว่า ก็ยังดีกว่าไม่ทำอะไรเลย หรือเอาแต่มองไปที่การทำกำไรสูงสุดเพียงอย่างเดียวไม่ใช่เหรอครับ?
ถ้า ราคา น้ำมันมันลง PTT ก็รับขาดทุนไป งั้นเหรอคับ?
ทำไมต่อง เอา PTT ไปรับความเสี่ยงให้คนทั้งประเทศอะ
เอาเปรียบผูถือหุ้น นิ
ค่าเงินบาทกับการคีนหนี้ต่างประเทศ
โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ค. 24, 2007 8:09 am
โดย ปรัชญา
ค่าเงินบาทวันนี้ 24 กค 50
ภาพจากอาจารย์GABLIEL แห่งสินธรครับ
ค่าเงินบาทกับการคีนหนี้ต่างประเทศ
โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ค. 24, 2007 8:59 am
โดย chatchai
ก่อนที่จะให้รัฐบาลเข้าช่วยเหลือพนักงานที่ต้องผิดกิจการไป
ผมว่าคนที่ต้องช่วยเหลือมากที่สุดก็คือเจ้าของกิจการธุรกิจส่งออกครับ
หลายบริษัท ผมว่าเจ้าของบริษัทย่อมรู้สถานะของบริษัทก่อนใคร การเอาตัวรอดก่อนย่อมพบเห็นได้ทั่วไป
บริษัทเจ๊ง ธนาคารมีหนี้เสีย พนักงานได้ค่าแรงไม่ครบและตกงาน แต่เจ้าของกิจการก็ยังคงมีฐานะที่ดี มีหน้ามีตาในสังคมครับ
พวกคุณๆเหล่านั้น เมื่อสมัยค่าเงินบาทอ่อนสุดๆ กอบโกยกำไรไปมากมาย
ค่าเงินบาทกับการคีนหนี้ต่างประเทศ
โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ค. 24, 2007 10:45 am
โดย akekarat
[quote="terati20"]
ถ้า ราคา น้ำมันมันลง PTT ก็รับขาดทุนไป งั้นเหรอคับ?
ทำไมต่อง เอา PTT ไปรับความเสี่ยงให้คนทั้งประเทศอะ
เอาเปรียบผูถือหุ้น นิ
ค่าเงินบาทกับการคีนหนี้ต่างประเทศ
โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ค. 24, 2007 10:52 am
โดย yoko
K.CHATCHAI ต้องไปอ่านพ่อรวยสอนลูก
เขาอธิบายความรู้สึกในมุมมองของเจ้าของกิจการได้ดี
ค่าเงินบาทกับการคีนหนี้ต่างประเทศ
โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ค. 24, 2007 11:00 am
โดย picatos
ในความเห็นของผมนะครับ...
พวกรัฐวิสาหกิจ หรือรัฐบาล ที่กู้เงินในต่างประเทศมาในช่วงก่อนหน้า เนี่ยไม่ได้ทำการปิดความเสีี่ยงจากความผันผวนของค่าเงิน
พูดง่ายๆ ก็คือ เวลากู้เงินมาก็เอามาแปลงเป็นเงินบาทเอาดื้อๆ แล้วก็เอาเงินบาทมาใช้ หรือในอีกกรณีหนึ่งก็คือกู้เงินต่างประเทศมาแล้วเอาเงินต่างประเทศไปจ่ายค่าก่อสร้างที่เป็นสกุลต่างประเทศ โดยที่มีรายรับเป็นสกุลเงินบาท ซึ่งในกรณีนี้รัฐวิสาหกิจก็มีความเสี่ยงจากความผันผวนของค่าเงินเช่นกัน
ด้วยเหตุนี้ในกรณีดังกล่าว ถ้าเป็นค่าเงินบาทแข็งค่า ก็ถือว่าโชคดีกำไรเละเหมือนอย่างที่เป็นอยู่ มูลหนี้ลดลง กำไรจากค่าเงินกระจาย
แต่ถ้าค่าเงินเกิดอ่อนค่า ไหนจะโดนดอกเบี้ยเงินกู้ ไหนค่าขาดทุนจากค่าเงินที่อ่อนตัว เรียกได้ว่าขาดทุนเละไปเลย เหมือนกับตอนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจปี 40
คำถามก็คือ แล้วทำไมถึงไม่ปิดความเสี่ยงไปให้หมดแต่ต้นล่ะ?
ผมเชื่อว่าคนกู้ (รัฐวิสาหกิจ) เค้าก็อยากจะปิดเหมือนกันแหละ แต่ครั้นจะปิดความเสี่ยงโดยการทำ Forward ตลาดเงินบาทก็เล็กเสียเหลือเกิน (ในกรณีที่ดีลมันใหญ่มากๆ) จะทำทั้งหมดก็ทำไม่ได้ ทำไปตลาดก็ป่วนเละไปหมด อีกทั้งจะมีแบงค์ไหนให้วงเงิน Forward ได้มหาศาลอย่างที่รัฐวิสาหกิจต้องการ
ด้วยเหตุนี้ รัฐวิสาหกิจก็เลยต้องทำตัวเหมือนมักง่าย โดยการกู้มาเป็นเงินต่างประเทศก้อนใหญ่ๆ มาลงทุน พอได้รายรับของแต่ละปีเป็นเงินบาท ก็ค่อยๆ นำไปแปลงกลับเป็นเงินต่างประเทศเพื่อค่อยๆ คืนเงินกู้
ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวรัฐวิสาหกิจโดนความเสี่ยงจากค่าเงินเต็มๆ
วันเวลาผ่านไปจนกระทั่งถึงวันนี้ เงินกู้ที่กู้มาตอนบาทอ่อนๆ กำไรเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากค่าเงินที่แข็งขึ้นๆ กู้มา 1 ดอล 40 บาท ปัจจุบัน 1 ดอลเหลือ 33 บาท กำไร 7 บาท (ในอีกแง่มูลหนี้ลดลงมาถึง 7 บาท)
ถามว่าคืนหนี้ก่อนกำหนดจำเป็นไหม...
ผมว่าไม่จำเป็นต้องคืนหนี้หรอก แค่ปิดความเสี่ยงจากความผันผวนไปซะก็พอแล้ว ปัจจุบันตลาดเงินมีขนาดใหญ่ขึ้นมา Demand ที่ต้องการเงินบาทมีมาก การปิดความเสี่ยงโดยการทำ Forward ซึ่งมีผมเทียบเท่ากับการซื้อ Spot USD/THB และการทำ Swap USD/THB จะให้ผลดีทั้งสำหรับรัฐวิสาหกิจเองที่ Realise Profit จากค่าเงินที่แข็งค่าขึ้น ในขณะที่ตลาดบาทก็มี Demand ฝั่งซื้อ USD เข้ามาช่วยพยุงให้ค่าเงินไม่แข็งค่ามากจนเกินไป
การที่ไม่ปิดความเสี่ยงค่าเงินสักที ผมว่าถ้าไม่ติดในเรื่องกฎหมาย หรือพรบ. แล้ว... ผมคิดว่ารัฐวิสาหกิจคงจะโลภมากจนเกินไปมากกว่าที่กะจะฟันกำไรจากค่าเงินให้มากไปกว่านี้
ค่าเงินบาทกับการคีนหนี้ต่างประเทศ
โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ค. 24, 2007 3:10 pm
โดย chatchai
akekarat เขียน:ผมว่าไม่ว่าอย่างไร การที่บริษัทเจ๊ง ไม่มีเงินจ่ายพนักงาน แต่เจ้าของกิจการก็ยังคงมีฐานะดี มีหน้ามีตา มันเป็นเรื่องที่ช่วยไม่ได้ครับ และก็คงหาคนมารับผิดชอบไม่ได้เหมือนกัน (เหมือนเป็นเรื่องต้องทำใจในระบบแบบไทย ๆ)
ถ้าเจ้าของกิจการได้จ่ายผลประโยชน์ให้แก่พนักงานตามที่กฎหมายกำหนด ก็คงจะหาคนมารับผิดชอบไม่ได้
แต่ถ้าเป็นประเภท บอกพนักงานว่าไม่มีเงินจ่ายค่าชดเชย ไม่มีเงินจ่ายค่าแรงงาน แต่ครอบครัวตัวเองสุขสบายมากๆ ผมว่าถ้าคิดว่าเป็นเรื่องที่ช่วยไม่ได้ ก็คงไม่ไหวครับ
สมัยปี 40 กิจการใหญ่โตมากมาย ต้องปรับเป็นหนี้เสีย บางแห่งเจ้าของกิจการก็แสนดี พยายามหาเงินมาใช้หนี้ แต่บางกิจการมีปัญญาจ่ายหนี้ แต่ไม่จ่ายแกล้งเป็นหนี้เสีย เพื่อขอลดหนี้ โยนภาระให้แก่ประเทศชาติ
akekarat เขียน:แต่พี่ฉัตรชัยลองคิดดู ถ้ารัฐไม่ช่วยพวกส่งออก (ถึงแม้ว่าผมจะไม่เห็นด้วยเรื่องการแก้ปัญหาด้วยการโยนเงินใส่) แล้วจะเกิดอะไรขึ้น ?? บริษัทที่อยู่ไม่ได้ ก็จะพังไปแบบไทยศิลป์และทิ้งปัญหาไว้กับพนักงานส่วนหนึ่ง ส่วนพวกที่พอเอาตัวรอดได้ เค้าก็ต้องพยายามลดต้นทุนทุกวิถีทาง แล้วมันจะกระทบกันเป็นลูกโซ่อย่างไรครับ?? อย่างเช่นเมื่อวานผมเพิ่งอ่านไทยรัฐ เค้าบอกว่า สุรพลฟู้ดส์ วิธีเอาตัวรอดของผู้ส่งออกกุ้งบางรายก็คือ ในเมื่อเงินบาทแข็งค่า เค้าก็ไปกดราคากุ้งจากเกษตรกรลงไปอีกกิโลละ 10 บาท เพื่อ cover ส่วนที่เค้าเสียไปจากอัตราแลกเปลี่ยน คนที่ได้รับผลกระทบอีกต่อก็คือ เกษตรกร ไม่มีเงิน แล้วเป็นยังไง ?? ก็จะมีเงินไปซื้อของ ไปทำกินน้อยลง หรือตายตามไป เป็นลูกโซ่แบบนี้ไงครับ แล้วจะให้ไม่เซ็งได้ไงเมื่อผู้รับผิดชอบออกมาพูดว่า
แล้วเราต้องช่วยเหลือไปอีกนานเท่าไรครับ
ธนาคารพาณิชย์ของไทย ได้รับการคุ้มครองมาแสนยาวนาน เมื่อพวกเขามีกำไรมากมาย ก็ไปเสวยสุข ไม่คิดที่จะลงทุนปรับปรุงกิจการ สุดท้ายก็อุ้มกันไม่ไหว ต้องขายให้ต่างชาติหลายแห่ง
ปัจจุบันเวลามีปัญหาอะไร รู้สึกไหมว่า มักจะนำประชาชนมาเป็นตัวประกัน พนักงานที่มีความสามารถก็คงจะหางานใหม่ได้
ผมไม่ชอบการอุ้ม เพราะคนที่ถูกอุ้มก็จะรู้สึกว่าไม่ต้องพัฒนาอะไร เดี๋ยวก็มีคนมาปกป้อง เกิดปัญหาอะไรก็ออกมาเรียกร้อง
ค่าเงินบาทกับการคีนหนี้ต่างประเทศ
โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ค. 24, 2007 4:14 pm
โดย BHT
เห็นข่าวว่าเงื่อนไขเงินกู้ของรัฐวิสาหกิจ มีว่าห้ามคืนหนี้ก่อนกำหนด
แบบนี้ค่าเงินแข็งคงต้องแลกดอลลาร์เก็บไว้ รอถึงเวลาค่อยไปจ่ายคืน
ค่าเงินบาทกับการคีนหนี้ต่างประเทศ
โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ค. 24, 2007 9:16 pm
โดย yoko
ไม่เคยเป็นเจ้าของกิจการก็พูดๆกันไป
ค่าเงินบาทกับการคีนหนี้ต่างประเทศ
โพสต์แล้ว: พุธ ก.ค. 25, 2007 10:50 am
โดย chatchai
yoko เขียน:ไม่เคยเป็นเจ้าของกิจการก็พูดๆกันไป
ผมว่า ทุกคนที่ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ โดยเฉพาะแนว VI ก็คิดว่าตัวเองเป็นเจ้าของร่วมของกิจการแทบทุกคนนะครับ
คุณ yoko มีความคิดเห็นอย่างไร เห็นด้วย ขัดแย้ง ก็พูดกันได้ครับ