subprime คืออะไรมีผลอย่างไรกับการลงทุน
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ส.ค. 09, 2007 9:50 pm
เห็นที่กระทิงเขียวครับ เขียนโดยพี่ pknight
อ่านเข้าใจง่ายดีเลยนำมาฝากครับ
Subprime แยกออกเป็นสองคำ
Sub = ต่ำกว่า
Prime = มาจาก Prime Rate คือดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าชั้นดี
ดังนั้น Subprime Loan ก็คือเงินกู้ที่สถาบันการเงินปล่อยกู้แก่ผู้กู้ที่มีความเสี่ยงสูง และมักจะถูกปฎิเสธการให้กู้เงินจากสถาบันการเงินหลัก เช่น ธนาคารพานิชย์
เงินกู้นี้อาจจะรวมถึงบัตรเครดิต เงินกู้ซื้อบ้าน และอื่นๆ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้น ณ
ขณะนี้เกิดจาก เงินกู้สำหรับการซื้อบ้านและอสังหาริมทรัพย์
แล้วปัญหามันเกิดขึ้นได้อย่างไร?
ให้ลองนึกภาพตามคำอธิบายนะครับ
บริษัทเงินทุน กระทิงเขียว ปล่อยเงินกู้บ้านแก่ลูกค้าความเสี่ยงสูง
ต่อมา บริษัทเงินทุน กระทิงเขียว ปล่อยเงินกู้ซะเต็มพอร์ต แต่ยังต้องการ
ขยายพอร์ต จึง นำเอา พอร์ตเงินกู้ที่มีอยู่ เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันในการ
ออกตราสารหนี้ เพื่อนำเงินมาหมุนต่อไป
คราวนี้ สมมุติมี หน่วยงานที่สอง สมมุติว่าเป็น บริษัทประกันชีวิต จตุคามคุ้มภัย
บริษัทประกันชีวิต จตุคามคุ้มภัย ต้องการนำเงินที่มีอยู่จากเบี้ยประกันที่ได้รับ
ไปลงทุนในตราสารหนี้ความเสี่ยงสูง จึงตกลงไปซื้อ ตราสารหนี้ของบริษัท
เงินทุนกระทิงเขียว
เราติต่างว่า ตราสารหนี้ของ บริษัทเงินทุนกระทิงเขียว จ่ายดอกเบี้ย 8%
แต่ด้วยเพราะความเป็นบริษัทประกัน ซึ่งรับความเสี่ยงได้ไม่มาก
บริษัทประกันชีวิต จตุคามคุ้มภัย จึงออกตราสารอนุพันธ์ที่เรียกว่า
CREDIT DEFAULT SWAP
CREDIT DEFAULT SWAP คืออะไร
CREDIT DEFAULT SWAP คือตราสารอนุพันธ์ชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นการตกลงระหว่าง
ผู้ออกตราสาร และ ผู้ซื้อตราสาร ว่า ผู้ออกตราสารสัญญาว่าจะจ่ายดอกเบี้ยให้
X % โดย ผู้ถือตราสารสัญญาว่าจะจ่ายชดเชยความเสียหายในกรณีที่เกิดเหตุการณ์
ทางเครดิต อาทิ การประกาศไม่จ่ายหนี้
มาดู ตัวอย่าง ในกรณี บริษัทประกัน จตุคามคุ้มภัย และ กองทุนละลายทรัพย์
เมื่อบริษัท ประกันจตุคามคุ้มภัย ทำการซื้อตราสารหนี้มาจาก บริษัทเงินทุนกระทิงเขียว
ซึ่งจากดอกเบี้ยให้ 10% คราวนี้บริษัทประกัน จตุคามคุ้มภัย ก็ไปติดต่อ กองทุนละลายทรัพย์
ให้มาซื้อ Credit Default Swap โดยหลังจากประเมินความเสี่ยงแล้ว ตกลงกันที่
บริษัทประกันจตุคามคุ้มภัย จ่ายเงินให้ กองทุนละลายทรัพย์ ปีละ 4% ของมูลหนี้
ของตราสารหนี้ บริษัทประกันจะได้ผลตอบแทนลดลงจาก 10% เหลือ 6% แต่
บริษัทประกันได้กำจัดความเสี่ยงเรื่องการเบี้ยวหนี้โดย
Credit Default Swap นั้นเป็นตราสารอนุพันธ์ เหมือนกัน SET 50 Index Futuresดังนั้นเวลาตกลงซื้อขายกัน กองทุนละลายทรัพย์อาจจะวางเงินแค่ 10% ของมูลค่า
ตราสารหนี้ทั้งหมด แต่ได้กลับมาปีละถึง 4% ของมุลค่าตราสารหนี้ทั้งหมดนั้นถือ
เป็นกำไรถึง 40% ต่อปี
แต่แล้ววันหนึ่ง ตลาดอสังหาริมทรัพย์เริ่มมีปัญหา เศรษฐกิจเริ่มชะลอ ราคาบ้านเริ่ม
ดิ่งลง เพราะปัญหาสร้างมากเกินไป กลุ่มคนที่กู้เงินมาซื้อบ้านเพื่อเก็งกำไรเริ่มมี
ปัญหาในการจ่ายคืนนี้
บริษัทเงินทุน กระทิงเขียวมีปัญหาในการเรียกชำระเงิน ในขณะที่ลูกค้าเริ่มฟ้อง
ล้มละลายตัวเอง หนี้เสียเริ่มพุ่ง ซึ่งส่งผลต่อสภาพคล่องบริษัท และความสามารถ
ในการชำระคืนหนี้
จนในที่สุด บริษัทเงินทุน กระทิงเขียว ขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรง จนไม่สามารถ
จ่ายคืนหนี้ได้ และประกาศยกเลิกการชำระหนี้ และล้มละลายไปในที่สุด แต่เรื่อง
ไม่จบแค่นั้น
ในภาวะปกติ บริษัทประกันชีวิต จตุคามคุ้มภัย ก็จะต้องแทงมูลหนี้ตรงหนี้เป็นหนี้สูญ
เพราะบริษัทเงินทุน กระทิงเขียวเบี้ยวหนี้ แต่เพราะได้ทำ SWAP ไว้กับกองทุนละลายทรัพย์
กองทุนละลายทรัพย์จะต้องชำระค่าความเสียหายทั้งหมดแก่บริษัทประกันชีวิต จตุคามคุ้มภัย
คราวนี้สมมุติว่า ตัวตราสารหนี้มีมูลค่าทั้งหมด 5 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งหมายถึง
เมื่อการวางเงินครั้งแรกในการซื้อ Credit Default Swap ของบริษัทประกันชีวิต
จตุคามคุ้มภัย วางไว้เพียง 500 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่เพราะความเสียหายที่เกิดขึ้นคือ
5 พันล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้ กองทุนละลายทรัพย์ต้องจ่ายเงินเพิ่มอีก 4.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ
นั้นคือการขาดทุนทันทีถึง 900%
เอาแล้วสิครับ คราวนี้กองทุนละลายทรัพย์จะทำอย่างไรถึงจะหาเงินมาได้
4.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ ตัวกองทุนเองก็ไม่มีเงิน แถมส่วนสินทรัพย์ที่เหลือ
อยู่ก็ไม่พอ ส่วนทุนกลายเป็นติดลบ บริษัทจัดการกองทุนที่จัดการกองทุนละลายทรัพย์
ติต่างว่า ชื่อ บริษัทจัดการกองทุน กรีนบูล ก็ต้องนำเงินมาเติมให้ตัวกองทุนแล้ว
ปิดกองทุนไป แต่คราวนี้ บริษัทจัดการกองทุน กรีนบูล เป็นส่วนหนึ่งของ
บริษัทหลักทรัพย์ กรีนบูล ซึ่งมีการลงทุนอยู่ทั่วโลก รวมถึงหุ้น นโยบายการลงทุน
ของบริษัทหลักทรัพย์ กรีนบูล มีการกำหนดสัดส่วนไว้อย่างชัดเจน ดังนั้นเมื่อ
บริษัทหลักทรัพย์ กรีนบูล ต้องเอาเงินมาเติมให้ บริษัทจัดการกองทุน จึงต้องขาย
หุ้นออกทั่วโลก อย่างเท่าเทียมเพื่อรักษาสัดส่วนไว้ตามนโยบาย
และนั่นคือ สิ่งที่อาจจะกำลังเกิดขึ้นอยู่ ณ ปัจจุบัน หรือเป็นสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น
ในอนาคต ตราบใดที่ตลาดอสังหาของอเมริกา ยังมีปัญหาอยู่ต่อไป ซึ่งรวมถึง
ราคาอสังหาริมทรัพย์ยังคงลดลงต่อเนื่อง
ข้อมูลอื่นๆ
Subprime Loan มีมูลค่า 6 แสนล้านเหรียญสหรัฐในปี 2006 คิดเป็น 1 ใน 5 ของ
ยอดเงินกู้เพื่อซื้อบ้านทั้งหมดของสหรัฐ
สมาคมสว๊อป และอนุพันธ์นานาชาติ ประมาณการณ์ไว้ว่า ในครึ่งปีแรกของ 2006
มูลค่าอนุพันธ์ที่ผูกกับตราสารหนี้ มีมูลค่าสูงถึง 26 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ
บริษัทที่ล้มละลายไปแล้วอันเนื่องมาจากผลของ วิกฤตการณ์ที่กำลังก่อตัวได้แก่
1) New Century Financial Corp ซึ่งเคยเป็นผู้มีมาร์เก็ตแชร์อันดับสอง ในการปล่อยเงินกู้
Subprime
2 ) กองทุนในความดูแลของ Bear Stearns 2 กองทุน
3 ) และล่าสุดเมื่อวันจันทร์นี้ 30 กรกฎา กองทุน Hedge fund Sowood Capital
ขาดทุนมากกว่า 50% จนทำให้ต้องปิดกองทุน แล้วขายสินทรัพย์ที่เหลือให้อีก
กองทุนซึ่งใหญ่กว่า
อ่านเข้าใจง่ายดีเลยนำมาฝากครับ
Subprime แยกออกเป็นสองคำ
Sub = ต่ำกว่า
Prime = มาจาก Prime Rate คือดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าชั้นดี
ดังนั้น Subprime Loan ก็คือเงินกู้ที่สถาบันการเงินปล่อยกู้แก่ผู้กู้ที่มีความเสี่ยงสูง และมักจะถูกปฎิเสธการให้กู้เงินจากสถาบันการเงินหลัก เช่น ธนาคารพานิชย์
เงินกู้นี้อาจจะรวมถึงบัตรเครดิต เงินกู้ซื้อบ้าน และอื่นๆ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้น ณ
ขณะนี้เกิดจาก เงินกู้สำหรับการซื้อบ้านและอสังหาริมทรัพย์
แล้วปัญหามันเกิดขึ้นได้อย่างไร?
ให้ลองนึกภาพตามคำอธิบายนะครับ
บริษัทเงินทุน กระทิงเขียว ปล่อยเงินกู้บ้านแก่ลูกค้าความเสี่ยงสูง
ต่อมา บริษัทเงินทุน กระทิงเขียว ปล่อยเงินกู้ซะเต็มพอร์ต แต่ยังต้องการ
ขยายพอร์ต จึง นำเอา พอร์ตเงินกู้ที่มีอยู่ เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันในการ
ออกตราสารหนี้ เพื่อนำเงินมาหมุนต่อไป
คราวนี้ สมมุติมี หน่วยงานที่สอง สมมุติว่าเป็น บริษัทประกันชีวิต จตุคามคุ้มภัย
บริษัทประกันชีวิต จตุคามคุ้มภัย ต้องการนำเงินที่มีอยู่จากเบี้ยประกันที่ได้รับ
ไปลงทุนในตราสารหนี้ความเสี่ยงสูง จึงตกลงไปซื้อ ตราสารหนี้ของบริษัท
เงินทุนกระทิงเขียว
เราติต่างว่า ตราสารหนี้ของ บริษัทเงินทุนกระทิงเขียว จ่ายดอกเบี้ย 8%
แต่ด้วยเพราะความเป็นบริษัทประกัน ซึ่งรับความเสี่ยงได้ไม่มาก
บริษัทประกันชีวิต จตุคามคุ้มภัย จึงออกตราสารอนุพันธ์ที่เรียกว่า
CREDIT DEFAULT SWAP
CREDIT DEFAULT SWAP คืออะไร
CREDIT DEFAULT SWAP คือตราสารอนุพันธ์ชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นการตกลงระหว่าง
ผู้ออกตราสาร และ ผู้ซื้อตราสาร ว่า ผู้ออกตราสารสัญญาว่าจะจ่ายดอกเบี้ยให้
X % โดย ผู้ถือตราสารสัญญาว่าจะจ่ายชดเชยความเสียหายในกรณีที่เกิดเหตุการณ์
ทางเครดิต อาทิ การประกาศไม่จ่ายหนี้
มาดู ตัวอย่าง ในกรณี บริษัทประกัน จตุคามคุ้มภัย และ กองทุนละลายทรัพย์
เมื่อบริษัท ประกันจตุคามคุ้มภัย ทำการซื้อตราสารหนี้มาจาก บริษัทเงินทุนกระทิงเขียว
ซึ่งจากดอกเบี้ยให้ 10% คราวนี้บริษัทประกัน จตุคามคุ้มภัย ก็ไปติดต่อ กองทุนละลายทรัพย์
ให้มาซื้อ Credit Default Swap โดยหลังจากประเมินความเสี่ยงแล้ว ตกลงกันที่
บริษัทประกันจตุคามคุ้มภัย จ่ายเงินให้ กองทุนละลายทรัพย์ ปีละ 4% ของมูลหนี้
ของตราสารหนี้ บริษัทประกันจะได้ผลตอบแทนลดลงจาก 10% เหลือ 6% แต่
บริษัทประกันได้กำจัดความเสี่ยงเรื่องการเบี้ยวหนี้โดย
Credit Default Swap นั้นเป็นตราสารอนุพันธ์ เหมือนกัน SET 50 Index Futuresดังนั้นเวลาตกลงซื้อขายกัน กองทุนละลายทรัพย์อาจจะวางเงินแค่ 10% ของมูลค่า
ตราสารหนี้ทั้งหมด แต่ได้กลับมาปีละถึง 4% ของมุลค่าตราสารหนี้ทั้งหมดนั้นถือ
เป็นกำไรถึง 40% ต่อปี
แต่แล้ววันหนึ่ง ตลาดอสังหาริมทรัพย์เริ่มมีปัญหา เศรษฐกิจเริ่มชะลอ ราคาบ้านเริ่ม
ดิ่งลง เพราะปัญหาสร้างมากเกินไป กลุ่มคนที่กู้เงินมาซื้อบ้านเพื่อเก็งกำไรเริ่มมี
ปัญหาในการจ่ายคืนนี้
บริษัทเงินทุน กระทิงเขียวมีปัญหาในการเรียกชำระเงิน ในขณะที่ลูกค้าเริ่มฟ้อง
ล้มละลายตัวเอง หนี้เสียเริ่มพุ่ง ซึ่งส่งผลต่อสภาพคล่องบริษัท และความสามารถ
ในการชำระคืนหนี้
จนในที่สุด บริษัทเงินทุน กระทิงเขียว ขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรง จนไม่สามารถ
จ่ายคืนหนี้ได้ และประกาศยกเลิกการชำระหนี้ และล้มละลายไปในที่สุด แต่เรื่อง
ไม่จบแค่นั้น
ในภาวะปกติ บริษัทประกันชีวิต จตุคามคุ้มภัย ก็จะต้องแทงมูลหนี้ตรงหนี้เป็นหนี้สูญ
เพราะบริษัทเงินทุน กระทิงเขียวเบี้ยวหนี้ แต่เพราะได้ทำ SWAP ไว้กับกองทุนละลายทรัพย์
กองทุนละลายทรัพย์จะต้องชำระค่าความเสียหายทั้งหมดแก่บริษัทประกันชีวิต จตุคามคุ้มภัย
คราวนี้สมมุติว่า ตัวตราสารหนี้มีมูลค่าทั้งหมด 5 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งหมายถึง
เมื่อการวางเงินครั้งแรกในการซื้อ Credit Default Swap ของบริษัทประกันชีวิต
จตุคามคุ้มภัย วางไว้เพียง 500 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่เพราะความเสียหายที่เกิดขึ้นคือ
5 พันล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้ กองทุนละลายทรัพย์ต้องจ่ายเงินเพิ่มอีก 4.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ
นั้นคือการขาดทุนทันทีถึง 900%
เอาแล้วสิครับ คราวนี้กองทุนละลายทรัพย์จะทำอย่างไรถึงจะหาเงินมาได้
4.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ ตัวกองทุนเองก็ไม่มีเงิน แถมส่วนสินทรัพย์ที่เหลือ
อยู่ก็ไม่พอ ส่วนทุนกลายเป็นติดลบ บริษัทจัดการกองทุนที่จัดการกองทุนละลายทรัพย์
ติต่างว่า ชื่อ บริษัทจัดการกองทุน กรีนบูล ก็ต้องนำเงินมาเติมให้ตัวกองทุนแล้ว
ปิดกองทุนไป แต่คราวนี้ บริษัทจัดการกองทุน กรีนบูล เป็นส่วนหนึ่งของ
บริษัทหลักทรัพย์ กรีนบูล ซึ่งมีการลงทุนอยู่ทั่วโลก รวมถึงหุ้น นโยบายการลงทุน
ของบริษัทหลักทรัพย์ กรีนบูล มีการกำหนดสัดส่วนไว้อย่างชัดเจน ดังนั้นเมื่อ
บริษัทหลักทรัพย์ กรีนบูล ต้องเอาเงินมาเติมให้ บริษัทจัดการกองทุน จึงต้องขาย
หุ้นออกทั่วโลก อย่างเท่าเทียมเพื่อรักษาสัดส่วนไว้ตามนโยบาย
และนั่นคือ สิ่งที่อาจจะกำลังเกิดขึ้นอยู่ ณ ปัจจุบัน หรือเป็นสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น
ในอนาคต ตราบใดที่ตลาดอสังหาของอเมริกา ยังมีปัญหาอยู่ต่อไป ซึ่งรวมถึง
ราคาอสังหาริมทรัพย์ยังคงลดลงต่อเนื่อง
ข้อมูลอื่นๆ
Subprime Loan มีมูลค่า 6 แสนล้านเหรียญสหรัฐในปี 2006 คิดเป็น 1 ใน 5 ของ
ยอดเงินกู้เพื่อซื้อบ้านทั้งหมดของสหรัฐ
สมาคมสว๊อป และอนุพันธ์นานาชาติ ประมาณการณ์ไว้ว่า ในครึ่งปีแรกของ 2006
มูลค่าอนุพันธ์ที่ผูกกับตราสารหนี้ มีมูลค่าสูงถึง 26 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ
บริษัทที่ล้มละลายไปแล้วอันเนื่องมาจากผลของ วิกฤตการณ์ที่กำลังก่อตัวได้แก่
1) New Century Financial Corp ซึ่งเคยเป็นผู้มีมาร์เก็ตแชร์อันดับสอง ในการปล่อยเงินกู้
Subprime
2 ) กองทุนในความดูแลของ Bear Stearns 2 กองทุน
3 ) และล่าสุดเมื่อวันจันทร์นี้ 30 กรกฎา กองทุน Hedge fund Sowood Capital
ขาดทุนมากกว่า 50% จนทำให้ต้องปิดกองทุน แล้วขายสินทรัพย์ที่เหลือให้อีก
กองทุนซึ่งใหญ่กว่า