subprime crisis monitor
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ส.ค. 17, 2007 6:48 pm
วิกฤติ Subprime บานปลาย เหตุจากความคลุมเครือ
Posted on Friday, August 17, 2007
นายสมภพ มานะรังสรรค์ นักเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้สัมภาษณ์ในรายการ Morning Brief ว่า สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์สำหรับลูกค้าที่มีความน่าเชื่อถือหรือเครดิตต่ำกว่ามาตรฐาน (Subprime Mortgage Loan) ได้ส่งผลลุกลามกับตลาดเงินและตลาดทุนทั่วโลกมากกว่าที่หลายคนคาด เพราะผู้ที่ได้รับความเสียหายในเบื้องต้นเป็นวาณิชธนกิจขนาดใหญ่ที่ลงทุนไปทั่วโลก และเมื่อเกิดการขาดทุนในบริษัทแม่ ทำให้จำเป็นต้องมีการสั่งปิดกองทุน และมีการขายสินทรัพย์ออกมา
นอกจากนี้ แม้ว่าธนาคารกลางของประเทศต่าง ๆ จะยืนยันว่าไม่จำเป็นต้องออกมาตรการพิเศษออกมาเพิ่มเติม และได้พยายามบรรเท่าสถานการณ์ที่เลวร้ายด้วยการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบ แต่นายสมภพมองว่าเป็นเพียงการแก้ไขที่ปลายเหตุ และทำได้เพียงแค่การผ่อนหนักเป็นเบา เพราะปัญหาที่แท้จริงไม่ใช่เพียงแค่การที่ผู้ขอสินเชื่อไม่สามารถหาเงินมาผ่อนชำระเงินกู้ แต่เป็นเพราะมีการกู้เงินจากแหล่งเงินอื่นมาลงทุนในสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับสินเชื่อ Subprime และข้อมูลข่าวสารที่ออกมาก็ยังขาดความชัดเจนว่า สินเชื่อ Subprime จะสร้างความเสียหายในวงกว้างมากน้อยเพียงใด
ทั้งนี้ นายสมภพมองว่า ความคลุมเครือที่รอความชัดเจนในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ Subprime มีด้วยกัน 4 ประเด็นคือ
1. ปัญหา Subprime จะลุกลามไปยังอสังหาริมทรัพย์อื่น ๆ ของสหรัฐฯหรือไม่ เพราะหลายปีมาแล้วที่ปัญหาอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐฯทำให้เกิดฟองสบู่ในระบบเศรษฐกิจ ที่หากมีการปรับฐานลงมาก็จะกระทบกับความมั่งคั่งของชาวสหรัฐฯ ที่ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ และความมั่งคั่งที่ลดลงจะทำให้เงินในกระเป๋าของชาวสหรัฐฯที่จะนำไปลงทุนในด้านต่าง ๆ ลดลงด้วย
2. ปัญหา Subprime ยังอาจลุกลามต่อเนื่องไปถึงการลดทอนการบริโภคลง สังเกตได้จากยอดขายของห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ของสหรัฐฯ เช่น Wall Mart ที่มีแนวโน้มลดลง
3. ปัญหา Junk Bond ที่นักเก็งกำไรทั้งหลายนิยมเข้าไปลงทุนในช่วงก่อนหน้านี้ เพราะให้ผลตอบแทนสูงกว่า Bond ที่มีความน่าเชื่อถือสูง และเมื่อเกิดปัญหากับ Junk Bond ที่เกี่ยวข้องกับ Subprime ก็อาจทำให้มีการเทขาย Junk Bond ต่อเนื่องตามมา
4. ปัญหา Junk Bond อาจส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังกองทุนส่วนบุคคล Private Equity Fund ที่ไปกู้เงินมาลงทุนที่อาจต้องเจริญรอยตามกองทุนเพื่อเก็งกำไร (Hedge Fund) ที่ถูกปิดไป
ด้านนางนภาภรณ์ คุรุพสุธาชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย (AFET) ให้สัมภาษณ์ในรายการ Trading Hour ว่า ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับตลาดล่วงหน้าทั่วโลกจากสินเชื่อ Subprime ในขณะนี้ เป็นเพราะ Hedge Fund ซึ่งมีการลงทุนที่หลากหลายจำเป็นต้องขายสินทรัพย์ที่ลงทุนไว้ออกมาเพื่อลดความเสี่ยง และรวมถึงการขายสัญญาซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดล่วงหน้าด้วย ผลที่เกิดตามมาคือตราสารหนี้อื่น ๆ ราคาตกลง และทำให้นักลงทุนยิ่งตกใจกันมากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ยังมีประเด็นเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนเพราะนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาลงทุนใน AFET ของไทยจะลงทุนควบคู่ไปกับตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าของญี่ปุ่น TOCOM ที่ช่วงนี้เงินเยนแข็งค่า ขณะที่ค่าเงินบาทเริ่มอ่อนค่าลง แต่จะต้องลงทุนเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้เมื่อมีการแปลงเป็นเงินบาทแล้วทำให้สินค้าใน AFET มีราคาแพงขึ้นกว่าเดิม
ทั้งหมดนี้ล้วนส่งผลในเชิงจิตวิทยา เพราะเหมือนกับว่าเงินในกระเป๋าลดลงไปพร้อมกับความมั่นใจ และเกิดความไม่แน่ใจว่าทิศทางการลงทุนจะไปในทางไหน อย่างไรก็ตามนางนภาภรณ์มองว่า ในสัปดาห์หน้าหากทางสหรัฐฯสามารถควบคุมความเสียหายไม่ให้ขยายวงกว้างออกไปได้ ก็น่าจะทำให้บรรยากาศการลงทุนดีขึ้น ซึ่งถ้านักลงทุนโดยเฉพาะนักลงทุนไทยไม่ตกใจจนเกินไป ก็จะสามารถหาประโยชน์ได้ในช่วงสั้น ๆ เพราะสามารถทำกำไรในช่วงขาลงได้ สำหรับในระยะยาว พื้นฐานของสินค้าโภคภัณฑ์ยังคงไม่เปลี่ยนแปลง คือขึ้นอยู่กับ Demand และ Supply ในตลาดโลกที่ยังไม่มีปัจจัยใหม่เข้ามาทำให้เชื่อได้ว่า การลงทุนในตลาดล่วงหน้ายังคงน่าสนใจอยู่
นายกรวุฒิ ลีนะบรรจง หัวหน้าเจ้าหน้าที่การลงทุน (CIO) บลจ. ยูโอบี กล่าวว่า ในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมาปัญหา Subprime ได้ส่งผลกระทบต่อตลาดการเงินและภาคการลงทุนในภูมิภาคเอเชียค่อนข้างมาก ที่เห็นได้ชัดเจน คือ อัตราส่วนต่างของผลตอบแทนจากการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของตราสาร (Credit Spread)ได้ปรับเพิ่มขึ้น ซึ่งชี้ให้เห็นว่าการลงทุนจะมีความเสี่ยงสูงขึ้น ส่งผลให้นักลงทุนแห่ถอนเงินออกจากการลงทุนในตลาดหุ้น และนำไปลงทุนในตลาดตราสารหนี้แทน
นอกจากนี้ ธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยได้ลงทุนในตราสาร CDO (Collateralized Debt Obligation) ที่ออกโดยสหรัฐฯน้อยมาก หรือคิดเป็นสัดส่วนเพียง 0.2-1% ของสินทรัพย์ที่นำไปลงทุนในต่างประเทศ ดังนั้น ปัญหาที่เกิดขึ้นต่อ CDO ที่อ้างอิงผลตอบแทนจากตลาด Subprime ของสหรัฐฯ จึงไม่มีผลกระทบต่อธนาคารพาณิชย์เลย อีกทั้งตราสารที่ธนาคารพาณิชย์ได้เข้าไปลงทุน เป็นตราสาร CDO ที่มีคุณภาพดี แต่ในขณะที่Hedge Funds ของ Bearstearns อาจลงทุนใน CDO ที่มีความเสี่ยงสูง จึงเกิดปัญหาขึ้น
นายกรวุฒิมองว่า หากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) มีนโยบายการลงทุนที่ถูกต้อง การเกิดปัญหาในตลาด Subprime ก็จะไม่มีผลกระทบต่อกองทุนนั้น ๆ ซึ่งกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ (FIF) ของไทยไม่ได้ลงทุนใน CDO เพราะเป็นไปตามข้อบังคับของ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กองทุน FIF ของไทยจึงลงทุนในหุ้นและตราสารหนี้ต่างประเทศเท่านั้น สำหรับ FIF ของบลจ. ยูโอบีนั้น ไม่มีนักลงทุนมาไถ่ถอนหน่วยลงทุนเลย และยังมีนักลงทุนบางรายไถ่ถอนหน่วยลงทุนจากกองทุนตราสารหนี้เพื่อนำมาลงทุนใน FIF ที่ลงทุนในตลาดหุ้นเอเชียเพิ่มเติมอีกด้วย
นายกรวุฒิกล่าวด้วยว่า แม้ว่าปัญหาในตลาด Subprime ที่เกิดขึ้น จะไม่ส่งผลกระทบต่อประเทศ แต่เพื่อความไม่ประมาท นักลงทุนก็ควรติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และเมื่อพิจารณาแล้วจะพบว่า ปัจจัยพื้นฐานของประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียเริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้น ทั้งตัวเลขทางเศรษฐกิจ ตลอดจนสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่งขึ้น แม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากตลาด Subprime อยู่ในขณะนี้ แต่หากปัญหาดังกล่าวผ่านพ้นไปแล้ว เชื่อว่าสภาวะการลงทุนในเอเชียจะฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Tra ... fault.aspx
Posted on Friday, August 17, 2007
นายสมภพ มานะรังสรรค์ นักเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้สัมภาษณ์ในรายการ Morning Brief ว่า สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์สำหรับลูกค้าที่มีความน่าเชื่อถือหรือเครดิตต่ำกว่ามาตรฐาน (Subprime Mortgage Loan) ได้ส่งผลลุกลามกับตลาดเงินและตลาดทุนทั่วโลกมากกว่าที่หลายคนคาด เพราะผู้ที่ได้รับความเสียหายในเบื้องต้นเป็นวาณิชธนกิจขนาดใหญ่ที่ลงทุนไปทั่วโลก และเมื่อเกิดการขาดทุนในบริษัทแม่ ทำให้จำเป็นต้องมีการสั่งปิดกองทุน และมีการขายสินทรัพย์ออกมา
นอกจากนี้ แม้ว่าธนาคารกลางของประเทศต่าง ๆ จะยืนยันว่าไม่จำเป็นต้องออกมาตรการพิเศษออกมาเพิ่มเติม และได้พยายามบรรเท่าสถานการณ์ที่เลวร้ายด้วยการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบ แต่นายสมภพมองว่าเป็นเพียงการแก้ไขที่ปลายเหตุ และทำได้เพียงแค่การผ่อนหนักเป็นเบา เพราะปัญหาที่แท้จริงไม่ใช่เพียงแค่การที่ผู้ขอสินเชื่อไม่สามารถหาเงินมาผ่อนชำระเงินกู้ แต่เป็นเพราะมีการกู้เงินจากแหล่งเงินอื่นมาลงทุนในสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับสินเชื่อ Subprime และข้อมูลข่าวสารที่ออกมาก็ยังขาดความชัดเจนว่า สินเชื่อ Subprime จะสร้างความเสียหายในวงกว้างมากน้อยเพียงใด
ทั้งนี้ นายสมภพมองว่า ความคลุมเครือที่รอความชัดเจนในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ Subprime มีด้วยกัน 4 ประเด็นคือ
1. ปัญหา Subprime จะลุกลามไปยังอสังหาริมทรัพย์อื่น ๆ ของสหรัฐฯหรือไม่ เพราะหลายปีมาแล้วที่ปัญหาอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐฯทำให้เกิดฟองสบู่ในระบบเศรษฐกิจ ที่หากมีการปรับฐานลงมาก็จะกระทบกับความมั่งคั่งของชาวสหรัฐฯ ที่ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ และความมั่งคั่งที่ลดลงจะทำให้เงินในกระเป๋าของชาวสหรัฐฯที่จะนำไปลงทุนในด้านต่าง ๆ ลดลงด้วย
2. ปัญหา Subprime ยังอาจลุกลามต่อเนื่องไปถึงการลดทอนการบริโภคลง สังเกตได้จากยอดขายของห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ของสหรัฐฯ เช่น Wall Mart ที่มีแนวโน้มลดลง
3. ปัญหา Junk Bond ที่นักเก็งกำไรทั้งหลายนิยมเข้าไปลงทุนในช่วงก่อนหน้านี้ เพราะให้ผลตอบแทนสูงกว่า Bond ที่มีความน่าเชื่อถือสูง และเมื่อเกิดปัญหากับ Junk Bond ที่เกี่ยวข้องกับ Subprime ก็อาจทำให้มีการเทขาย Junk Bond ต่อเนื่องตามมา
4. ปัญหา Junk Bond อาจส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังกองทุนส่วนบุคคล Private Equity Fund ที่ไปกู้เงินมาลงทุนที่อาจต้องเจริญรอยตามกองทุนเพื่อเก็งกำไร (Hedge Fund) ที่ถูกปิดไป
ด้านนางนภาภรณ์ คุรุพสุธาชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย (AFET) ให้สัมภาษณ์ในรายการ Trading Hour ว่า ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับตลาดล่วงหน้าทั่วโลกจากสินเชื่อ Subprime ในขณะนี้ เป็นเพราะ Hedge Fund ซึ่งมีการลงทุนที่หลากหลายจำเป็นต้องขายสินทรัพย์ที่ลงทุนไว้ออกมาเพื่อลดความเสี่ยง และรวมถึงการขายสัญญาซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดล่วงหน้าด้วย ผลที่เกิดตามมาคือตราสารหนี้อื่น ๆ ราคาตกลง และทำให้นักลงทุนยิ่งตกใจกันมากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ยังมีประเด็นเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนเพราะนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาลงทุนใน AFET ของไทยจะลงทุนควบคู่ไปกับตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าของญี่ปุ่น TOCOM ที่ช่วงนี้เงินเยนแข็งค่า ขณะที่ค่าเงินบาทเริ่มอ่อนค่าลง แต่จะต้องลงทุนเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้เมื่อมีการแปลงเป็นเงินบาทแล้วทำให้สินค้าใน AFET มีราคาแพงขึ้นกว่าเดิม
ทั้งหมดนี้ล้วนส่งผลในเชิงจิตวิทยา เพราะเหมือนกับว่าเงินในกระเป๋าลดลงไปพร้อมกับความมั่นใจ และเกิดความไม่แน่ใจว่าทิศทางการลงทุนจะไปในทางไหน อย่างไรก็ตามนางนภาภรณ์มองว่า ในสัปดาห์หน้าหากทางสหรัฐฯสามารถควบคุมความเสียหายไม่ให้ขยายวงกว้างออกไปได้ ก็น่าจะทำให้บรรยากาศการลงทุนดีขึ้น ซึ่งถ้านักลงทุนโดยเฉพาะนักลงทุนไทยไม่ตกใจจนเกินไป ก็จะสามารถหาประโยชน์ได้ในช่วงสั้น ๆ เพราะสามารถทำกำไรในช่วงขาลงได้ สำหรับในระยะยาว พื้นฐานของสินค้าโภคภัณฑ์ยังคงไม่เปลี่ยนแปลง คือขึ้นอยู่กับ Demand และ Supply ในตลาดโลกที่ยังไม่มีปัจจัยใหม่เข้ามาทำให้เชื่อได้ว่า การลงทุนในตลาดล่วงหน้ายังคงน่าสนใจอยู่
นายกรวุฒิ ลีนะบรรจง หัวหน้าเจ้าหน้าที่การลงทุน (CIO) บลจ. ยูโอบี กล่าวว่า ในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมาปัญหา Subprime ได้ส่งผลกระทบต่อตลาดการเงินและภาคการลงทุนในภูมิภาคเอเชียค่อนข้างมาก ที่เห็นได้ชัดเจน คือ อัตราส่วนต่างของผลตอบแทนจากการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของตราสาร (Credit Spread)ได้ปรับเพิ่มขึ้น ซึ่งชี้ให้เห็นว่าการลงทุนจะมีความเสี่ยงสูงขึ้น ส่งผลให้นักลงทุนแห่ถอนเงินออกจากการลงทุนในตลาดหุ้น และนำไปลงทุนในตลาดตราสารหนี้แทน
นอกจากนี้ ธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยได้ลงทุนในตราสาร CDO (Collateralized Debt Obligation) ที่ออกโดยสหรัฐฯน้อยมาก หรือคิดเป็นสัดส่วนเพียง 0.2-1% ของสินทรัพย์ที่นำไปลงทุนในต่างประเทศ ดังนั้น ปัญหาที่เกิดขึ้นต่อ CDO ที่อ้างอิงผลตอบแทนจากตลาด Subprime ของสหรัฐฯ จึงไม่มีผลกระทบต่อธนาคารพาณิชย์เลย อีกทั้งตราสารที่ธนาคารพาณิชย์ได้เข้าไปลงทุน เป็นตราสาร CDO ที่มีคุณภาพดี แต่ในขณะที่Hedge Funds ของ Bearstearns อาจลงทุนใน CDO ที่มีความเสี่ยงสูง จึงเกิดปัญหาขึ้น
นายกรวุฒิมองว่า หากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) มีนโยบายการลงทุนที่ถูกต้อง การเกิดปัญหาในตลาด Subprime ก็จะไม่มีผลกระทบต่อกองทุนนั้น ๆ ซึ่งกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ (FIF) ของไทยไม่ได้ลงทุนใน CDO เพราะเป็นไปตามข้อบังคับของ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กองทุน FIF ของไทยจึงลงทุนในหุ้นและตราสารหนี้ต่างประเทศเท่านั้น สำหรับ FIF ของบลจ. ยูโอบีนั้น ไม่มีนักลงทุนมาไถ่ถอนหน่วยลงทุนเลย และยังมีนักลงทุนบางรายไถ่ถอนหน่วยลงทุนจากกองทุนตราสารหนี้เพื่อนำมาลงทุนใน FIF ที่ลงทุนในตลาดหุ้นเอเชียเพิ่มเติมอีกด้วย
นายกรวุฒิกล่าวด้วยว่า แม้ว่าปัญหาในตลาด Subprime ที่เกิดขึ้น จะไม่ส่งผลกระทบต่อประเทศ แต่เพื่อความไม่ประมาท นักลงทุนก็ควรติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และเมื่อพิจารณาแล้วจะพบว่า ปัจจัยพื้นฐานของประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียเริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้น ทั้งตัวเลขทางเศรษฐกิจ ตลอดจนสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่งขึ้น แม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากตลาด Subprime อยู่ในขณะนี้ แต่หากปัญหาดังกล่าวผ่านพ้นไปแล้ว เชื่อว่าสภาวะการลงทุนในเอเชียจะฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Tra ... fault.aspx