พี่(PE)โข่ง - Again
โพสต์แล้ว: เสาร์ ส.ค. 18, 2007 8:31 am
พี่(PE)โข่ง
โดย ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
สัปดาห์ที่แล้วมีข่าวเล็ก ๆ ออกมาจากสำนักงาน ก.ล.ต.ว่าค่า PE ของตลาดที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยคำนวณทุกวันและแสดงต่อสาธารณชนว่ามีค่าประมาณ 13.6 เท่านั้น เป็นการคำนวณเฉพาะบริษัทที่มีกำไร แต่หากรวมบริษัทที่ขาดทุนเข้าไปด้วย ค่า PE จะออกมาเท่ากับ 17.6 เท่า และยังบอกต่อด้วยว่า การคำนวณโดยไม่เอาบริษัทที่ขาดทุนมาคิดนั้นในเอเชียก็มีประเทศจีน ฟิลิปปินส์ และไทย ในขณะที่ประเทศที่คำนวณโดยรวมบริษัทที่ขาดทุนไว้ด้วย ประกอบไปด้วย ญี่ปุ่น ฮ่องกง ไต้หวัน เกาหลีใต้และมาเลเซีย การที่ ก.ล.ต.ออกมาชี้แจงเรื่องนี้ก็เพื่อเป็นการเตือนให้คนที่ใช้ข้อมูลนี้ในการเปรียบเทียบว่าตลาดหุ้นไทยในขณะนี้หุ้นมีราคาถูกหรือแพง จึงควรตระหนักถึงความแตกต่างนี้ด้วย
มองในฐานะนักวิชาการแล้วผมคิดว่าการไม่เอาบริษัทที่ขาดทุนมาคำนวณหาค่า PE ของตลาดนั้นไม่น่าจะถูกต้อง ลองคิดดูว่าถ้าสมมติมีบริษัทโฮลดิ้ง ถือหุ้น 100% ในหลาย ๆ บริษัท แต่เวลาคิดกำไรขาดทุนของบริษัทแม่กลับตัดบริษัทลูกที่ขาดทุนออก เอาเฉพาะบริษัทที่มีกำไรมาคิด ผลกำไรที่แสดงก็จะสูงเกินความเป็นจริง เวลาคิดค่า PE ค่า PE ก็จะต่ำกว่าความเป็นจริง ผลก็คือคนที่ไม่รู้ก็จะคิดว่าหุ้นบริษัทนี้มีราคาถูกและเข้าซื้อหุ้นลงทุนโดยไม่รู้ว่ามีความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหน
ผมเองไม่ทราบว่าก.ล.ต. คำนวณค่า PE ของตลาดด้วยวิธีใด แต่ถ้าลองใช้ข้อมูลง่ายที่สุดที่ผมมีก็คือ กำไรของบริษัทจดทะเบียนในช่วง 4 ไตรมาสที่ผ่านมาซึ่งมีค่าประมาณ 233,000 ล้านบาทซึ่งก็คือค่า E ไปหารมูลค่าตลาดหลักทรัพย์ทั้งหมดในวันนี้ที่ประมาณ 4.9 ล้านล้านบาทหรือก็คือค่า P ก็จะได้ค่า PE ตลาดประมาณ 20.8 เท่าซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับสถิติที่ผ่านมาทั้งของตลาดหุ้นไทย และตลาดหุ้นอื่น ๆ ทั่วโลกก็ถือว่าตลาดหุ้นไทย ณ วันนี้ไม่ถูกอีกต่อไปแล้ว
เรื่องของค่า PE นั้นไม่ใช่เป็นปัญหาเฉพาะ PE ของตลาดแต่เป็นปัญหาของหุ้นแต่ละตัวด้วย ว่าที่จริงข้อมูลของ PE แต่ละตัวที่แสดงในหนังสือพิมพ์ธุรกิจทั้งหลายนั้น ผมคิดว่าไม่สามารถแสดงถึงค่า PE ที่แท้จริงของหุ้นหลาย ๆ ตัวได้ เพราะหุ้นเหล่านั้นอาจจะมีข้อมูลบางอย่างที่ยังไม่ได้เอามารวม หรือข้อมูลบางอย่างอาจเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นครั้งเป็นคราวซึ่งทำให้ตัวเลขค่า PE บิดเบี้ยวไปจากที่ควรจะเป็น ดังนั้น การใช้ค่า PE ที่แสดงในหน้าหนังสือพิมพ์มาเป็นข้อมูลในการตัดสินใจซื้อขายหุ้นจึงเป็นความเสี่ยงมหาศาล
ข้อมูลที่ผมคิดว่าเรายังไม่ได้เอามารวมและทำให้ค่า PE ที่เห็นไม่สะท้อนความเป็นจริงมากที่สุดข้อหนึ่งก็คือ จำนวนหุ้นของบริษัทจดทะเบียนที่อาจจะเพิ่มขึ้นจากการใช้สิทธิของวอแรนต์ซึ่งในหลาย ๆ บริษัทนั้นมีมหาศาล และบริษัทที่ออกวอแรนต์เองก็มีกว่า 60 บริษัท ข้อมูลเกี่ยวกับวอแรนต์แต่ละตัวเองก็ยังมีความซับซ้อน เพราะบางตัวนั้นราคาใช้สิทธิต่ำกว่าราคาหุ้นแม่มาก ดังนั้น โอกาสที่จะถูกใช้สิทธิ์ก็มีมาก บางตัวราคาใช้สิทธิสูงกว่าหุ้นแม่โอกาสถูกใช้สิทธิ์ก็น้อยลง วอแรนต์บางตัวแปลงเป็นหุ้นแม่ได้แบบหนึ่งต่อหนึ่ง บางตัวแปลงเป็นหุ้นแม่ได้ห้าหรือสิบหุ้นก็มี ทั้งหมดนี้ยังไม่ได้พูดถึงเรื่องระยะเวลาการใช้สิทธิของวอแรนต์ซึ่งบางตัวยาวมากเพราะฉะนั้นจึงมีโอกาสที่จะถูกใช้สิทธิ์สูงในอนาคต ในขณะที่บางตัวใกล้หมดอายุซึ่งอาจจะถูกใช้สิทธิหรือไม่ถูกใช้สิทธิก็ได้ขึ้นอยู่กับเรื่องของราคาและภาวะหุ้นในระยะสั้น ๆ
ความยุ่งยากของการคำนวณหาค่า PE ของบริษัทที่มีวอแรนต์ออกมามาก ๆ และหลายรุ่นนั้น ทำให้ผมค่อนข้างจะไม่อยากยุ่งกับหุ้นเหล่านั้น และถ้าสนใจก็จะต้องคำนวณหาค่า PE โดยตั้งสมมติฐานว่าวอแรนต์ทั้งหมดที่ออกมาจะถูกใช้สิทธิซื้อหุ้นซึ่งทำให้กำไรต่อหุ้นน้อยลงและค่า PE สูงขึ้น ซึ่งบ่อยครั้งพอทำอย่างนั้นหุ้นที่ดูเหมือนว่า PE ต่ำก็กลายเป็นหุ้น PE สูงและไม่คุ้มที่จะลงทุน
นอกจากเรื่องของวอแรนต์แล้ว เรื่องของกำไรของบริษัทจดทะเบียนที่เกิดขึ้นเนื่องจากรายการพิเศษ เช่น เกิดจากการปรับโครงสร้างหุ้นหรือประนอมหนี้ หรือเกิดจากรายการอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจปกติก็มักทำให้กำไรผิดจากที่ควรจะเป็น และทำให้ค่า PE ลดต่ำลงบางทีเหลือเพียง 2 3 เท่าก็มี ข้อมูลแบบนี้หลายครั้งก็สามารถดึงดูดให้ Value Investor ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เข้าใจลึกซึ้งถึงตัวเลขที่มาของข้อมูล และยังไม่สามารถวิเคราะห์ข้อเท็จจริงได้ เข้ามาซื้อหุ้นลงทุนโดยไม่ทราบถึงความเสี่ยงที่มีอยู่
ปัญหาทั้งหลายเกี่ยวกับข้อมูลค่า PE น่าจะแก้ไขได้บ้างถ้านักวิเคราะห์ของโบรกเกอร์ทั้งหลายทำการปรับค่าต่าง ๆ ให้ใกลเคียงกับค่า PE ที่แท้จริงและอนุรักษ์นิยม นั่นก็คือค่า E หรือกำไรต่อหุ้นนั้นควรเป็นกำไรที่เกิดจากธุรกิจปกติที่ยั่งยืนและจำนวนหุ้นของบริษัทควรรวมหุ้นที่อาจจะถูกใช้สิทธิซื้อจากวอแรนต์หรือสิทธิอื่น ๆ ข้อมูล PE ที่ได้ควรจะแสดงไว้อย่างชัดเจนและให้ความเห็นว่าหุ้นตัวนั้นมีราคาถูกหรือแพงหรือไม่เพราะเหตุผลใด
แต่ข้อเท็จจริงก็คือ นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ไม่ได้วิเคราะห์เพื่อให้คนซื้อหุ้นเพื่อลงทุนระยะยาวแต่วิเคราะห์เพื่อให้มีการซื้อขายหุ้นเก็งกำไรระยะสั้น ดังนั้น เรื่องที่ยังไม่เกิดขึ้นในวันนี้หรือภายในเวลาไม่กี่เดือนก็มักจะไม่ถูกนำมาคิด เพราะฉะนั้นหุ้นที่ถูกคำนวณว่ามีค่า PE ต่ำทั้งที่ยังไม่ได้ปรับจำนวนหุ้นหรือข้อมูลอื่น ๆ ที่สำคัญก็จะถูกแนะนำให้ซื้อโดยหลักการของ หุ้นพื้นฐาน หรือหุ้น Value ส่วนหุ้นที่คำนวณอย่างไรก็ยังมี PE สูงอยู่ดีบางทีก็ไม่พูดถึงค่า PE เลยแต่ไปเน้นว่ากำไรจะเติบโตอย่างก้าวกระโดดเป็นหุ้น Growth Stock หรือหุ้นโตเร็วที่ควรซื้อลงทุน และทั้งหมดนี้อยู่ภายใต้ภาวะตลาดหุ้นที่เอื้ออำนวยและ ถูก เมื่อคำนึงถึงค่า PE ของตลาดที่ยัง ต่ำ อยู่
การรายงานข้อมูลที่ทำให้ตลาดหรือหุ้นแต่ละตัวดูเหมือนว่าจะถูกกว่าความเป็นจริงโดยตัวเลข PE ที่ต่ำกว่าความเป็นจริงหรือเป็น PE โข่ง เพื่อให้คนสนใจเข้ามาซื้อหุ้นนั้น ในระยะยาวผมคิดว่าเป็นผลเสียมากกว่าผลดี เพราะในที่สุดแล้วคนที่เข้ามาลงทุนโดยยึดถือพื้นฐานจริง ๆ แต่ถูกทำให้เข้าใจผิดจากข้อมูลอาจจะเกิดความเสียหายและ เข็ด กับการลงทุน หรือไม่ก็คิดว่าวิธีการลงทุนตามปัจจัยพื้นฐานนั้นใช้ไม่ได้ผล ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อการพัฒนาตลาดหลักทรัพย์ และตลาดหุ้นของไทยก็คงจะถูกจัดอยู่ในกลุ่มของฟิลิปปินส์และจีนซึ่งชื่อเสียงในเรื่องของความโปร่งใสของข้อมูลยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศหลัก ๆ ในเอเชียต่อไป
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
เป็นบทความของอาจารย์นิเวศน์เมื่อ 3 ปีกว่าๆ ที่แล้วน่ะครับ
ขอเอามาโพสอีกทีเพื่อถ่วงดุลความคิดที่ว่าหุ้นไทยถูกเหลือเกินถูกจริงๆ เลือกตั้งแล้วจะวิ่งไป 1,000 จุด 1,600 - 1,800 เพื่อให้แต่ละท่านใช้ความระมัดระวัง อย่าได้ตกเป็นเหยื่อของอารมณ์โลภและกลัว ใช้เหตุผลให้มาก สังวรณ์ใน margin of safety เสมอเมื่อทำการตัดสินใจลงทุนด้วยนะครับ
โดย ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
สัปดาห์ที่แล้วมีข่าวเล็ก ๆ ออกมาจากสำนักงาน ก.ล.ต.ว่าค่า PE ของตลาดที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยคำนวณทุกวันและแสดงต่อสาธารณชนว่ามีค่าประมาณ 13.6 เท่านั้น เป็นการคำนวณเฉพาะบริษัทที่มีกำไร แต่หากรวมบริษัทที่ขาดทุนเข้าไปด้วย ค่า PE จะออกมาเท่ากับ 17.6 เท่า และยังบอกต่อด้วยว่า การคำนวณโดยไม่เอาบริษัทที่ขาดทุนมาคิดนั้นในเอเชียก็มีประเทศจีน ฟิลิปปินส์ และไทย ในขณะที่ประเทศที่คำนวณโดยรวมบริษัทที่ขาดทุนไว้ด้วย ประกอบไปด้วย ญี่ปุ่น ฮ่องกง ไต้หวัน เกาหลีใต้และมาเลเซีย การที่ ก.ล.ต.ออกมาชี้แจงเรื่องนี้ก็เพื่อเป็นการเตือนให้คนที่ใช้ข้อมูลนี้ในการเปรียบเทียบว่าตลาดหุ้นไทยในขณะนี้หุ้นมีราคาถูกหรือแพง จึงควรตระหนักถึงความแตกต่างนี้ด้วย
มองในฐานะนักวิชาการแล้วผมคิดว่าการไม่เอาบริษัทที่ขาดทุนมาคำนวณหาค่า PE ของตลาดนั้นไม่น่าจะถูกต้อง ลองคิดดูว่าถ้าสมมติมีบริษัทโฮลดิ้ง ถือหุ้น 100% ในหลาย ๆ บริษัท แต่เวลาคิดกำไรขาดทุนของบริษัทแม่กลับตัดบริษัทลูกที่ขาดทุนออก เอาเฉพาะบริษัทที่มีกำไรมาคิด ผลกำไรที่แสดงก็จะสูงเกินความเป็นจริง เวลาคิดค่า PE ค่า PE ก็จะต่ำกว่าความเป็นจริง ผลก็คือคนที่ไม่รู้ก็จะคิดว่าหุ้นบริษัทนี้มีราคาถูกและเข้าซื้อหุ้นลงทุนโดยไม่รู้ว่ามีความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหน
ผมเองไม่ทราบว่าก.ล.ต. คำนวณค่า PE ของตลาดด้วยวิธีใด แต่ถ้าลองใช้ข้อมูลง่ายที่สุดที่ผมมีก็คือ กำไรของบริษัทจดทะเบียนในช่วง 4 ไตรมาสที่ผ่านมาซึ่งมีค่าประมาณ 233,000 ล้านบาทซึ่งก็คือค่า E ไปหารมูลค่าตลาดหลักทรัพย์ทั้งหมดในวันนี้ที่ประมาณ 4.9 ล้านล้านบาทหรือก็คือค่า P ก็จะได้ค่า PE ตลาดประมาณ 20.8 เท่าซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับสถิติที่ผ่านมาทั้งของตลาดหุ้นไทย และตลาดหุ้นอื่น ๆ ทั่วโลกก็ถือว่าตลาดหุ้นไทย ณ วันนี้ไม่ถูกอีกต่อไปแล้ว
เรื่องของค่า PE นั้นไม่ใช่เป็นปัญหาเฉพาะ PE ของตลาดแต่เป็นปัญหาของหุ้นแต่ละตัวด้วย ว่าที่จริงข้อมูลของ PE แต่ละตัวที่แสดงในหนังสือพิมพ์ธุรกิจทั้งหลายนั้น ผมคิดว่าไม่สามารถแสดงถึงค่า PE ที่แท้จริงของหุ้นหลาย ๆ ตัวได้ เพราะหุ้นเหล่านั้นอาจจะมีข้อมูลบางอย่างที่ยังไม่ได้เอามารวม หรือข้อมูลบางอย่างอาจเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นครั้งเป็นคราวซึ่งทำให้ตัวเลขค่า PE บิดเบี้ยวไปจากที่ควรจะเป็น ดังนั้น การใช้ค่า PE ที่แสดงในหน้าหนังสือพิมพ์มาเป็นข้อมูลในการตัดสินใจซื้อขายหุ้นจึงเป็นความเสี่ยงมหาศาล
ข้อมูลที่ผมคิดว่าเรายังไม่ได้เอามารวมและทำให้ค่า PE ที่เห็นไม่สะท้อนความเป็นจริงมากที่สุดข้อหนึ่งก็คือ จำนวนหุ้นของบริษัทจดทะเบียนที่อาจจะเพิ่มขึ้นจากการใช้สิทธิของวอแรนต์ซึ่งในหลาย ๆ บริษัทนั้นมีมหาศาล และบริษัทที่ออกวอแรนต์เองก็มีกว่า 60 บริษัท ข้อมูลเกี่ยวกับวอแรนต์แต่ละตัวเองก็ยังมีความซับซ้อน เพราะบางตัวนั้นราคาใช้สิทธิต่ำกว่าราคาหุ้นแม่มาก ดังนั้น โอกาสที่จะถูกใช้สิทธิ์ก็มีมาก บางตัวราคาใช้สิทธิสูงกว่าหุ้นแม่โอกาสถูกใช้สิทธิ์ก็น้อยลง วอแรนต์บางตัวแปลงเป็นหุ้นแม่ได้แบบหนึ่งต่อหนึ่ง บางตัวแปลงเป็นหุ้นแม่ได้ห้าหรือสิบหุ้นก็มี ทั้งหมดนี้ยังไม่ได้พูดถึงเรื่องระยะเวลาการใช้สิทธิของวอแรนต์ซึ่งบางตัวยาวมากเพราะฉะนั้นจึงมีโอกาสที่จะถูกใช้สิทธิ์สูงในอนาคต ในขณะที่บางตัวใกล้หมดอายุซึ่งอาจจะถูกใช้สิทธิหรือไม่ถูกใช้สิทธิก็ได้ขึ้นอยู่กับเรื่องของราคาและภาวะหุ้นในระยะสั้น ๆ
ความยุ่งยากของการคำนวณหาค่า PE ของบริษัทที่มีวอแรนต์ออกมามาก ๆ และหลายรุ่นนั้น ทำให้ผมค่อนข้างจะไม่อยากยุ่งกับหุ้นเหล่านั้น และถ้าสนใจก็จะต้องคำนวณหาค่า PE โดยตั้งสมมติฐานว่าวอแรนต์ทั้งหมดที่ออกมาจะถูกใช้สิทธิซื้อหุ้นซึ่งทำให้กำไรต่อหุ้นน้อยลงและค่า PE สูงขึ้น ซึ่งบ่อยครั้งพอทำอย่างนั้นหุ้นที่ดูเหมือนว่า PE ต่ำก็กลายเป็นหุ้น PE สูงและไม่คุ้มที่จะลงทุน
นอกจากเรื่องของวอแรนต์แล้ว เรื่องของกำไรของบริษัทจดทะเบียนที่เกิดขึ้นเนื่องจากรายการพิเศษ เช่น เกิดจากการปรับโครงสร้างหุ้นหรือประนอมหนี้ หรือเกิดจากรายการอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจปกติก็มักทำให้กำไรผิดจากที่ควรจะเป็น และทำให้ค่า PE ลดต่ำลงบางทีเหลือเพียง 2 3 เท่าก็มี ข้อมูลแบบนี้หลายครั้งก็สามารถดึงดูดให้ Value Investor ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เข้าใจลึกซึ้งถึงตัวเลขที่มาของข้อมูล และยังไม่สามารถวิเคราะห์ข้อเท็จจริงได้ เข้ามาซื้อหุ้นลงทุนโดยไม่ทราบถึงความเสี่ยงที่มีอยู่
ปัญหาทั้งหลายเกี่ยวกับข้อมูลค่า PE น่าจะแก้ไขได้บ้างถ้านักวิเคราะห์ของโบรกเกอร์ทั้งหลายทำการปรับค่าต่าง ๆ ให้ใกลเคียงกับค่า PE ที่แท้จริงและอนุรักษ์นิยม นั่นก็คือค่า E หรือกำไรต่อหุ้นนั้นควรเป็นกำไรที่เกิดจากธุรกิจปกติที่ยั่งยืนและจำนวนหุ้นของบริษัทควรรวมหุ้นที่อาจจะถูกใช้สิทธิซื้อจากวอแรนต์หรือสิทธิอื่น ๆ ข้อมูล PE ที่ได้ควรจะแสดงไว้อย่างชัดเจนและให้ความเห็นว่าหุ้นตัวนั้นมีราคาถูกหรือแพงหรือไม่เพราะเหตุผลใด
แต่ข้อเท็จจริงก็คือ นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ไม่ได้วิเคราะห์เพื่อให้คนซื้อหุ้นเพื่อลงทุนระยะยาวแต่วิเคราะห์เพื่อให้มีการซื้อขายหุ้นเก็งกำไรระยะสั้น ดังนั้น เรื่องที่ยังไม่เกิดขึ้นในวันนี้หรือภายในเวลาไม่กี่เดือนก็มักจะไม่ถูกนำมาคิด เพราะฉะนั้นหุ้นที่ถูกคำนวณว่ามีค่า PE ต่ำทั้งที่ยังไม่ได้ปรับจำนวนหุ้นหรือข้อมูลอื่น ๆ ที่สำคัญก็จะถูกแนะนำให้ซื้อโดยหลักการของ หุ้นพื้นฐาน หรือหุ้น Value ส่วนหุ้นที่คำนวณอย่างไรก็ยังมี PE สูงอยู่ดีบางทีก็ไม่พูดถึงค่า PE เลยแต่ไปเน้นว่ากำไรจะเติบโตอย่างก้าวกระโดดเป็นหุ้น Growth Stock หรือหุ้นโตเร็วที่ควรซื้อลงทุน และทั้งหมดนี้อยู่ภายใต้ภาวะตลาดหุ้นที่เอื้ออำนวยและ ถูก เมื่อคำนึงถึงค่า PE ของตลาดที่ยัง ต่ำ อยู่
การรายงานข้อมูลที่ทำให้ตลาดหรือหุ้นแต่ละตัวดูเหมือนว่าจะถูกกว่าความเป็นจริงโดยตัวเลข PE ที่ต่ำกว่าความเป็นจริงหรือเป็น PE โข่ง เพื่อให้คนสนใจเข้ามาซื้อหุ้นนั้น ในระยะยาวผมคิดว่าเป็นผลเสียมากกว่าผลดี เพราะในที่สุดแล้วคนที่เข้ามาลงทุนโดยยึดถือพื้นฐานจริง ๆ แต่ถูกทำให้เข้าใจผิดจากข้อมูลอาจจะเกิดความเสียหายและ เข็ด กับการลงทุน หรือไม่ก็คิดว่าวิธีการลงทุนตามปัจจัยพื้นฐานนั้นใช้ไม่ได้ผล ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อการพัฒนาตลาดหลักทรัพย์ และตลาดหุ้นของไทยก็คงจะถูกจัดอยู่ในกลุ่มของฟิลิปปินส์และจีนซึ่งชื่อเสียงในเรื่องของความโปร่งใสของข้อมูลยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศหลัก ๆ ในเอเชียต่อไป
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
เป็นบทความของอาจารย์นิเวศน์เมื่อ 3 ปีกว่าๆ ที่แล้วน่ะครับ
ขอเอามาโพสอีกทีเพื่อถ่วงดุลความคิดที่ว่าหุ้นไทยถูกเหลือเกินถูกจริงๆ เลือกตั้งแล้วจะวิ่งไป 1,000 จุด 1,600 - 1,800 เพื่อให้แต่ละท่านใช้ความระมัดระวัง อย่าได้ตกเป็นเหยื่อของอารมณ์โลภและกลัว ใช้เหตุผลให้มาก สังวรณ์ใน margin of safety เสมอเมื่อทำการตัดสินใจลงทุนด้วยนะครับ