หน้า 1 จากทั้งหมด 1
อดีตไม่ได้สอนปัจจุบันหรือ?
โพสต์แล้ว: เสาร์ ส.ค. 18, 2007 9:41 pm
โดย miracle
ไปเปิดดูฟองสบู่ในรอบปี 1901-2000 นั้น
ส่วนใหญ่มาจากภาคอสังหาริมทรัพย์เป็นตัวต้นเหตุ
มีคำถามเกิดขึ้นว่า ทำไมปัญหาถึงได้เริ่มจากภาคอสังหาริมทรัพย์ก่อน เป็นตัวจุดฉนวนด้วย
แล้วอดีตในเหตุการณ์เหล่านั้น ไม่ได้สอนคนในรุ่นปัจจุบันให้รู้ว่า คนรุ่นที่แล้วเกิดอะไรขึ้น แถมเมื่อเกิดขึ้นแล้ว ระดับความรุ่นแรงยิ่งทวีคูณมากกว่าเดิม เกิดเฉพาะประเทศนั้นประเทศเดียว เริ่มเป็นระดับภูมิภาคของโลก ระดับทวีป และระดับโลกแล้ว
ทุกคนในที่นี้สังเกตบ้างหรือไม่ว่า อดีตที่เกิดขึ้นกับสิ่งที่เกิดในปัจจุบันมันเหมือนและแตกต่างกันอย่างไง
อดีตไม่ได้สอนปัจจุบันหรือ?
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ส.ค. 19, 2007 7:23 pm
โดย cryptonian_man
อาจเป็นเพราะอสังหาริมทรัพย์เป็นสิ่งที่คนเราใช้เก็งกำไรกันมาตลอดก็เป็นได้ครับ
คนเราลืมง่ายครับ พออะไรทำท่าจะเข้าที่ ดูดีปุ๊บ ก็ถึงเวลาทำการเก็งกำไร
เพียงแต่งวดนี้ปัญหาคือธ. ปล่อยกู้ง่ายเกิน อาจเป็นเพราะผลกำไรไม่ค่อยดี เลยต้องพยายามทำยอดก็เป็นได้ครับ
อดีตไม่ได้สอนปัจจุบันหรือ?
โพสต์แล้ว: จันทร์ ส.ค. 20, 2007 11:59 am
โดย romee
สอนนะสอน แต่ไม่เข็ดมั้งครับ :lol:
อดีตไม่ได้สอนปัจจุบันหรือ?
โพสต์แล้ว: จันทร์ ส.ค. 20, 2007 12:21 pm
โดย Raphin Phraiwal
เวลาที่อดีตสอน ปัจจุบันดันนั่งหลับ :lol:
อดีตไม่ได้สอนปัจจุบันหรือ?
โพสต์แล้ว: จันทร์ ส.ค. 20, 2007 12:25 pm
โดย mprandy
การเก็งกำไรเกิดกับสินค้าทุกอย่างที่มีการซื้อมาขายไปได้อยู่แล้วครับ แต่ที่วิกฤตเกิดจากการเก็งกำไรในอสังหา ผมเข้าใจว่าเป็นเพราะอสังหาริมทรัพย์เป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ ปัญหาในอสังหาริมทรัพย์จึงมีผลกระทบกับคนวงกว้างมากกว่าพวกหุ้นหรือสินค้าโภคภัณฑ์อื่น ๆ ในตลาด
ส่วนปัญหาว่าทำไมคนถึงเจ็บแล้วไม่รู้จักจำ ผมว่าเพราะ...
1. คนเคยเจ็บ (โดยเฉพาะที่เจ็บหนัก) ส่วนใหญ่จำ คนที่เจ็บ (หรือกำลังจะเจ็บ) ตอนนี้ ไม่เคยเจ็บมาก่อน คือคนที่อยู่ในวิกฤตรุ่นนี้ ไม่ได้อยู่ในวิกฤตสมัยก่อน
2. ความโลภ (Greed) เป็นอาวุธทำลายล้างสำคัญที่สุดของมนุษย์ สามารถบดบังเหตุผลทุกอย่างที่มนุษย์นำมาใช้ได้หมดแหละ
อดีตไม่ได้สอนปัจจุบันหรือ?
โพสต์แล้ว: จันทร์ ส.ค. 20, 2007 12:26 pm
โดย สามัญชน
subprime ของเมกามีอสังหาร่วมด้วยประมาณกี่เปอร์เซนต์ครับ
ผมเข้าใจไปเองว่ามีอสังหาร่วมด้วยเยอะมากเลย(เกือบทั้งหมดมั้ง) ไม่รู้ถูกหรือผิด
คุณมิกำลังจะบอกว่าปัญหานี้จะก่อให้เกิด crisis ได้สบายๆเลยใช่ไหมครับ เพราะเขาไม่ยอมเรียนรู้จากอดีต
อดีตไม่ได้สอนปัจจุบันหรือ?
โพสต์แล้ว: จันทร์ ส.ค. 20, 2007 12:41 pm
โดย กระทิงแดง
ผมว่า crisis ในอดีตของแต่ละประเทศ จะไม่เกิดซ้ำครับ ประวัติศาสตร์มักจะไม่ซ้ำรอยครับ จะไม่เหมือนกับในอดีตซักทีเดียว
ยกตัวอย่าง
2000 ของ USA เป็น crisis ของ internet
2007 ของ USA เป็น crisis ของ การเกร็งกำไรจากอสังหาด้อยคุณภาพ
1997 ของ ไทย เกิดจาก การทำกู้เงินต่างชาติของ สถาบันการเงิน และการเก็งกำไรของ อสังหา
2007 ของไทย เกิดจาก ค่าเงินบาทแข็งอย่างรวดเร็ว
อดีตไม่ได้สอนปัจจุบันหรือ?
โพสต์แล้ว: จันทร์ ส.ค. 20, 2007 1:04 pm
โดย miracle
รูปแบบคล้ายกันครับ
คือการเพิ่มขึ้นของราคาที่ดินเป็นประวัติการณ์
ของไทยถ้ามองย้อนไปอีกสองปีคือ 2535 เห็นราคาที่ดินพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ก่อนฟองสบู่แตก
เหตุการณ์มันมากคล้ายๆกัน
ยาแก้ไขก็คล้ายกัน
แต่อย่าให้เจอ Case ของ ญี่ปุ่นล่ะกัน
อันนี้ฟองสบู่แตกแล้ว แต่ เจอเป็นเงินฝืดต่อ
อดีตไม่ได้สอนปัจจุบันหรือ?
โพสต์แล้ว: จันทร์ ส.ค. 20, 2007 1:56 pm
โดย tech
ผมก็เคยสงสัยว่าทำไม มันถึงเกิดขึ้นซ้ำซากไม่รู้จักเข็ดกันบ้างหรือ ?
อาจจะต่างในรายละเอียด แต่สุดท้ายก็ฟองสบู่เหมือนกัน
ไม่ว่าจะเป็นฟองสบู่ดอกทิวลิป ในเนเธอร์แลนด์
ฟองสบู่ดอทคอม ฟองสบู่อสังหา Supprime ในอเมริกาปัจจุบัน
หรือ ฟองสบู่ต้มยำกุ้งบ้านเราปี 1997
แต่หลังจากผมได้อ่านหนังสือ Technical เล่มหนึ่ง ชื่อ
How to make profits trading commodities
By W.D. Gann เขียนเมื่อปี 1942
ผมก็พอเข้าใจครับ ......
The main cause of these is that human nature never changes.
Every 20 years a new generation comes along.
They are full of hope, optimistic and are progressive and up-to-date.
They are inexperienced .
.It is the nature of youth to gamble, to take chances,
and to be fearless of danger. Therefore, the young generation are
anxious and eager to try their hands at speculation.
Just as sure as young-generations come along from time to time,
we will continue to have booms in business,
booms in the stock markets and commodities,
land booms and other wild waves of speculation.
Youth has to be served and young nature has to have its fling.
That is why history repeat,
because human nature does not changes
and each coming generation have to go through
the same experiences as the former generation did.
อดีตไม่ได้สอนปัจจุบันหรือ?
โพสต์แล้ว: จันทร์ ส.ค. 20, 2007 3:34 pm
โดย mprandy
[quote="สามัญชน"]subprime ของเมกามีอสังหาร่วมด้วยประมาณกี่เปอร์เซนต์ครับ
อดีตไม่ได้สอนปัจจุบันหรือ?
โพสต์แล้ว: จันทร์ ส.ค. 20, 2007 7:27 pm
โดย metro
ปัญหาครั้งนี้น่าจะใหญ่และรุนแรงกว่ามากๆเลยนะครับ
เท่าที่ฟังมาจากคนที่ติดตามเรื่องนี้ เค้าเล่าประมาณว่าก่อนหน้านี้ปัญหาเรื่องฟองสบู่อสังหานั้นสามารถหา scope ของความร้ายแรงได้ไม่ยาก เพราะมันจบกันตรงที่จุดนั้นๆ แต่ครั้งนี้ไม่เหมือนกับครั้งที่แล้ว ปัญหาครั้งนี้มีการนำ derivative มาป้องกันความเสี่ยง และ derivative ของปัญหายังมี derivative สวมไปอีกชั้นนึงแล้วนำมากระจายไปยังกองทุนต่างๆทั่วโลก คล้ายๆกับว่าเรามีมะเร็ง 1 ก้อนแต่ก่อนหน้านั้นมะเร็งมันทำร้ายคนที่เป็นเท่านั้น แต่มะเร็งครั้งนี้กลับเป็นชิ้นเนื้อร้ายที่กระจายกันไปทั่วโลกและมันก้ลุกลามไปเรื่อยๆ ลองคิดดูว่าการซื้อ derivative นั้นใช้เงินน้อยนิดเพื่อเสี่ยงกับเงินก้อนโตได้ ครั้งนี้ก็เช่นกันที่มันลุกลามใหญ่โต เพราะเงินก้อนเล็กมันรองรับความเสี่ยงไว้มาก
ส่วนเรื่อง Fed ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.50 เปอร์เซ็นต์นั้นไม่น่าจะช่วยอะไรได้มากครับเนื่องจากการลดดอกเบี้ยเป็นการแก้ต้นทุนให้ต่ำลงเพื่อให้ธนาคารปล่อยกุ้ให้กันได้เพื่อไปแก้ปัญหาธนาคารที่ไปซื้อ Sub prime เอาไว้ แต่ความมั่นใจที่จะให้นาคารจะปล่อยกู้ให้กันนั้นมันไม่ได้ตามมาด้วยครับ
อดีตไม่ได้สอนปัจจุบันหรือ?
โพสต์แล้ว: จันทร์ ส.ค. 20, 2007 9:12 pm
โดย yoyo
ทำไมเท่าที่ผมอ่านดู (เน้นจากนักลงทุนฝรั่งดังๆเป็นหลัก) มันไม่ได้มีอะไรน่ากลัวเท่าไหร่เลยล่ะครับ แม้แต่ใน us เองก็ไม่ได้คิดว่าจะกระทบอะไรมาก เพราะงั้นพี่ไทยเรายิ่งไม่น่าจะห่วง
เพราะดูจากตัวเลขแล้ว subprime คิดเป็น % ก็ไม่ได้สูงมากของสินเชื่อในระบบ ส่วนที่เป็นหนี้เสียก็ไม่ได้สูงมากคิดจาก % ของ subprime ทั้งหมด แล้วได้ส่วนที่ lost จากที่เสียก็ไม่ได้สูงมาก จะมีกระทบเป็นสายต่อไปก็พวกกองทุนที่ลงทุนในหลักทรัพย์พวกนี้ ซึ่งถ้าเทียบเป็นสัดส่วนกับเงินกองทุนก็ไม่ได้สูงอะไร สรุปแล้วที่ตลาดลงหนักๆเพราะคนไม่มั่นใจก็ขายไว้ก่อน คนไม่มั่นใจก็ไถ่ถอนกองทุนก่อน กองทุนก็เลยต้องขาย พอหุ้นยิ่งลง คนก็ยิ่งตกใจ หุ้นเลยลงใหญ่ แล้วตลาดหุ้นคนชอบมองว่าเป็น Leading Indicator พอเห็นหุ้นลงก็เลยมาคิดต่อว่าปัญหามันใหญ่มาก ไม่งั้นหุ้นไม่ลงขนาดนี้ ...
ผมไม่ได้ศึกษาไอ้ปัญหา subprime นี้ลึกๆ แต่รู้สึกว่าไม่ได้น่าห่วงอะไรครับ
อดีตไม่ได้สอนปัจจุบันหรือ?
โพสต์แล้ว: จันทร์ ส.ค. 20, 2007 10:32 pm
โดย metro
metro เขียน:ปัญหาครั้งนี้น่าจะใหญ่และรุนแรงกว่ามากๆเลยนะครับ
เท่าที่ฟังมาจากคนที่ติดตามเรื่องนี้ เค้าเล่าประมาณว่าก่อนหน้านี้ปัญหาเรื่องฟองสบู่อสังหานั้นสามารถหา scope ของความร้ายแรงได้ไม่ยาก เพราะมันจบกันตรงที่จุดนั้นๆ แต่ครั้งนี้ไม่เหมือนกับครั้งที่แล้ว ปัญหาครั้งนี้มีการนำ derivative มาป้องกันความเสี่ยง และ derivative ของปัญหายังมี derivative สวมไปอีกชั้นนึงแล้วนำมากระจายไปยังกองทุนต่างๆทั่วโลก คล้ายๆกับว่าเรามีมะเร็ง 1 ก้อนแต่ก่อนหน้านั้นมะเร็งมันทำร้ายคนที่เป็นเท่านั้น แต่มะเร็งครั้งนี้กลับเป็นชิ้นเนื้อร้ายที่กระจายกันไปทั่วโลกและมันก้ลุกลามไปเรื่อยๆ ลองคิดดูว่าการซื้อ derivative นั้นใช้เงินน้อยนิดเพื่อเสี่ยงกับเงินก้อนโตได้ ครั้งนี้ก็เช่นกันที่มันลุกลามใหญ่โต เพราะเงินก้อนเล็กมันรองรับความเสี่ยงไว้มาก
ส่วนเรื่อง Fed ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.50 เปอร์เซ็นต์นั้นไม่น่าจะช่วยอะไรได้มากครับเนื่องจากการลดดอกเบี้ยเป็นการแก้ต้นทุนให้ต่ำลงเพื่อให้ธนาคารปล่อยกุ้ให้กันได้เพื่อไปแก้ปัญหาธนาคารที่ไปซื้อ Sub prime เอาไว้ แต่ความมั่นใจที่จะให้ธนาคารจะปล่อยกู้ให้กันนั้นมันไม่ได้ตามมาด้วยครับ
มาต่อนะครับ ...
ตอนนี้ S&P และ มูดดี้ส์ กำลังโดนถล่มว่ามาจัดเรตติ้งของ Junk Bonds ไว้ดีเกินจริง ซึ่งทำให้การ rating credit ครั้งหน้าจะออกมาในรูปแบบ Conservative มากขึ้น ดังนั้นการออกขายหุ้นกู้ในอนาคตอาจจะมีปัญหามากขึ้นตามอันดับเครดิตที่ลดลง อาจจะทำให้บริษัทที่จะต้องการเงินทุนผ่านหุ้นกู้ไม่สามารถขยายงานได้ตามต้องการเนื่องจากการขายหุ้นกู้ไม่เข้าเป้า อาจจะทำให้ภาวะเศรษฐกิจชลอตัวลงครับ
ฟังเค้ามาอีกทีนะครับ :D
อดีตไม่ได้สอนปัจจุบันหรือ?
โพสต์แล้ว: จันทร์ ส.ค. 20, 2007 11:48 pm
โดย tatandchin
metro เขียน:
แต่มะเร็งครั้งนี้กลับเป็นชิ้นเนื้อร้ายที่กระจายกันไปทั่วโลกและมันก้ลุกลามไปเรื่อยๆ ลองคิดดูว่าการซื้อ derivative นั้นใช้เงินน้อยนิดเพื่อเสี่ยงกับเงินก้อนโตได้ ครั้งนี้ก็เช่นกันที่มันลุกลามใหญ่โต เพราะเงินก้อนเล็กมันรองรับความเสี่ยงไว้มาก
ขอความรู้ครับ
เท่าที่ผมเข้าใจแม้จะมีพวกอนุพันธ์ ที่ไปขายต่อให้กับกองทุนต่างๆ มันก็แค่การกระจายความเสียหายออกไปให้ผู้ถือหน่วยลงทุนเท่านั้น ไม่ใช่เหรอครับ ส่วนมูลค่าความเสียหายก็ยังคงเป็นแค่ มูลค่าตราสารที่พวกกองทุนไปซื้อลงทุนไว้ และไปอิงกับ sub prime mortgage ที่มีปัญหาเท่านั้นเอง ไม่ใช่เหรอครับ
ผมเข้าใจว่าที่หุ้นพากันพาเหรดลง เพราะ ความกล้วมากกว่าครับ
ผิดถูก อย่างไร ชี้แนะด้วยครับ
อดีตไม่ได้สอนปัจจุบันหรือ?
โพสต์แล้ว: อังคาร ส.ค. 21, 2007 12:26 am
โดย mprandy
yoyo เขียน:ทำไมเท่าที่ผมอ่านดู (เน้นจากนักลงทุนฝรั่งดังๆเป็นหลัก) มันไม่ได้มีอะไรน่ากลัวเท่าไหร่เลยล่ะครับ แม้แต่ใน us เองก็ไม่ได้คิดว่าจะกระทบอะไรมาก เพราะงั้นพี่ไทยเรายิ่งไม่น่าจะห่วง
เพราะดูจากตัวเลขแล้ว subprime คิดเป็น % ก็ไม่ได้สูงมากของสินเชื่อในระบบ ส่วนที่เป็นหนี้เสียก็ไม่ได้สูงมากคิดจาก % ของ subprime ทั้งหมด แล้วได้ส่วนที่ lost จากที่เสียก็ไม่ได้สูงมาก จะมีกระทบเป็นสายต่อไปก็พวกกองทุนที่ลงทุนในหลักทรัพย์พวกนี้ ซึ่งถ้าเทียบเป็นสัดส่วนกับเงินกองทุนก็ไม่ได้สูงอะไร สรุปแล้วที่ตลาดลงหนักๆเพราะคนไม่มั่นใจก็ขายไว้ก่อน คนไม่มั่นใจก็ไถ่ถอนกองทุนก่อน กองทุนก็เลยต้องขาย พอหุ้นยิ่งลง คนก็ยิ่งตกใจ หุ้นเลยลงใหญ่ แล้วตลาดหุ้นคนชอบมองว่าเป็น Leading Indicator พอเห็นหุ้นลงก็เลยมาคิดต่อว่าปัญหามันใหญ่มาก ไม่งั้นหุ้นไม่ลงขนาดนี้ ...
ผมไม่ได้ศึกษาไอ้ปัญหา subprime นี้ลึกๆ แต่รู้สึกว่าไม่ได้น่าห่วงอะไรครับ
เห็นด้วยกับคุณ yoyo ครับว่า subprime มันไม่ใช่ปัญหาใหญ่ (แค่ยอดภูเขาน้ำแข็ง) แต่ปัญหาใหญ่จริง ๆ (ฐานภูเขาน้ำแข็ง) คือฟองสบู่อสังหา ตอนนี้วิกฤตมันลามมาถึง regular mortgage ที่ไม่ใช่ subprime ครับ ราคาบ้านมันเว่อจนคนไม่กล้าซื้อ บ้านส่วนหนึ่ง (โดยเฉพาะในบริเวณที่ hot hit สมัยก่อน อย่าง Miami) เป็นการซื้อขายโดยการเก็งกำไร เพราะคนซื้อมาก็หวังว่าราคามันจะขึ้นไปอีก มีคนไม่น้อยที่ยอมจำนองบ้านตัวเอง เพื่อเอาเงินไปซื้อบ้านอีกหลัง แล้วหวังว่าจะฟันกำไรเวลาขายออก
พอคนซื้อไม่ไหว บ้านมันก็ร้าง เจ้าของเสียดอกตลอดก็เลยต้องลดราคา เพื่อตัดกำไร (หรือตัดขาดทุน) ขายออกไป คนพอเห็นราคาลด ใครรอได้ก็รอเพราะรู้ว่าจะต้องลงอีก บ้านหลายที่ราคามันตกต่ำกว่า mortgage ที่ตัวเองมีสมัยที่ซื้อ (ลงกันที 10-20%) ก็ตัดสินใจ ทิ้งให้เป็น NPL เพราะว่าขาดทุนน้อยกว่า
ปัญหาเลยลามจาก subprime (พวก credit แย่ ๆ จะเจ๊งก่อน) มาถึง regular mortgage บริษัทปล่อยกู้บ้าน (บริษัทพวกนี้เป็นเจ้าตลาดปล่อยกู้อสังหาในสหรัฐครับ ไม่ใช่ธนาคารอย่างในบ้านเรา พวกนี้เขาไปกู้ธนาคารหรือออก bond มาอีกที) ก็เริ่มล้มทีละรายสองราย
พอล้ม แบงค์ก็กลัว ไม่กล้าปล่อยกู้ให้บริษัทพวกนี้อีก บริษัทพวกนี้ก็ไม่กล้าปล่อยกู้ง่าย ๆ พวกที่จะซื้อบ้านจริง ๆ ก็กู้ไม่ผ่านอีก (เพราะระเบียบเข้มงวดกว่าเดิม) บ้านเลย oversupply แล้วราคามันก็จะต้องลงอีก
กลายเป็นวงจรอุบาทว์
บางรัฐ เช่นฟลอริดา เศรษฐกิจของทั้งรัฐในช่วง 5 ปีมานี้อิงกับอสังหาโดยตรง ปีนี้คาดว่าเข้าสู่ recession แน่นอน
ปัญหาฟองสบู่อสังหา ส่วนหนึ่ง (ไม่น้อย) เกิดจากการดำเนินนโยบายดอกเบี้ยต่ำเป็นเวลานาน ตั้งแต่ 9/11 การที่ Fed จะลดดอกเบี้ย (จริง ๆ คือ Fed fund rate ไม่ใช่ discount rate ที่เพิ่งลดไป) เพื่อสู้กับภาวะนี้ อาจเป็นดาบสองคม คือกลายเป็นการไปทำให้ฟองสบู่อสังหาไม่แฟบลงอย่างที่ควรจะเป็น อาจจะเกิดปัญหาใหญ่ไปกว่านี้ก็ได้
อดีตไม่ได้สอนปัจจุบันหรือ?
โพสต์แล้ว: อังคาร ส.ค. 21, 2007 2:01 am
โดย MindTrick
เพลานี้ ดาว กระ โจน ลง ต่อ ละครับ
ผมยังคิดไรไม่ออก ล้างพอร์ต เสมอตัวไปก่อน :oops:
อดีตไม่ได้สอนปัจจุบันหรือ?
โพสต์แล้ว: อังคาร ส.ค. 21, 2007 9:53 am
โดย ฟังหมดแต่เชื่อตัวเอง
ผมมองยิ่งกว่าโยอีกครับ
ผมว่า ซับพงซับไพร์ม เขาเอามาใช้อธิบายหุ้นตก
หลังจากที่มันตกไปแล้ว
อย่างนี้ก็เหมือนหมอดูสิครับ
อันไหนเกิดจริง
ก็ยกคำทำนายเฉพาะอันที่จริงขึ้นมาให้ดู
ผมก็ทำได้ครับ...แฮะ..มองต่างมุมนะครับ
ที่ว่ามีอนุพันธ์อะไรเข้ามาเกี่ยวด้วยนี่ ไปกันใหญ่แล้ว สำหรับผม
ส่วนที่มีข่าวว่า hedgefund เดือดร้อนหนักเลยงานนี้
ผมยิ่งขำเข้าไปใหญ่
ผมยืนยันความเชื่อว่า คนที่มันแต่งตำราเศรษฐศาสตร์ มาให้เราเรียน
มันหาเหตุผลมาหลอกกินเงินเราอีกแล้วครับ
ของผมนี่เขาเรียก ทฤษฎีก่อการร้าย.....ขำ..ขำ...
อดีตไม่ได้สอนปัจจุบันหรือ?
โพสต์แล้ว: อังคาร ส.ค. 21, 2007 10:28 am
โดย sunrise
ผมมองว่า subprime มันเล็กไม่ใช่ปัญหาใหญ่มากครับ
แต่กลัวเรื่อง credit derivative มากว่าเวลาอสังหาลง
เพราะว่าปัจจัยของมันคือ
เมือก่อนคนขอปล่อยกู้จากแบงค์
แบงค์ก็ปล่อยกู้ออกไป แล้วได้บ้านมาเป็น หลักทรัพย์ค้ำประกัน
ที่นี้อันนี้ไม่มีปัญหา ถ้าคนกู้จ่ายไม่ไหว
แบงค์ก็บาดเจ๊บ เพราะว่าคนกู้เบี้ยวหนี้ แต่ก็เรารู้ว่ามีระดับของการบาดเจ็บขนาดไหน
แบงค์ก็เลยหาทางเอาทรัพยสิน หรือบ้านที่ค้ำประกันอยู่
มาทำให้รายได้ (ดอกเบี้ยจาก ที่คนกู้) มีให้ใกล้เคียงกับรายจ่าย (ต้นทุนเงินกู้ หรือเงินฝาก)
แต่ในแบงค์เนียมันจะมีปัญหาอย่างหนึ่งคือ
ดอกเบี้ยเงินกู้ มันจะค่อนข้างมีอายุนาน แต่เงินฝากมันมีอายุสั้นๆ
คนอาจถอนเมื่อไหร่ก็ได้
ดังนั้น แบงค์มีความเสี่ยงคือ
1. Interest rate risk
คือ ช่วงดอกเบียขึ้น รายได้ จากการกู้ซึ่งคงที่เท่าเดิม ขณะที่ รายจ่ายเพิ่มขึ้น ดังนั้น แบงค์ต้องการให้ กำไรแน่ๆ โดยที่ ออก mortgage bond ออกมา
คือเอาอสังหานั้นแหล่ะ มาออก bond ให้กู้
คราวนี้ ง่ายละ สมมุติว่า ให้กู้ ดอกร้อยละ 7 ออก mortgage bone ดอกร้อยละ 4 แบงค์ก็กำไรชัวร์ 3% ตัวเลขสมมุติทั้งหมดนะครับ
แต่เนี่องจากคนกู้ รับความเสี่ยงได้ไม่เท่ากัน แบงค์เลยมี ทางเลือกให้โดยออกบอนด์หลายๆระดับ
senior bond ( 2.50%)
junior bond (3.00%)
suboridinary bond ( 3.50%)
หมายความว่า ถ้าผู้กู้ไม่ยอมจ่าย คนที่ซื้อ subordinary ก็โดนก่อน แล้วค่อย junior แล้วสุดท้าย ก็ senior bond ดังนั้นเนื่องจ่ายความเสี่ยงมันไม่เท่ากัน
ดอกเบี้ย มันก็ไม่เท่ากัน subodinary ก็ได้ดอกเบียมากกว่า junior, junior ก็ได้มากกว่า senior
subprime ก็พวกๆเดียวกับ subordinary นี่แหละ เป็นพวกผู้กู้ที่มีความเสี่ยงเยอะ
2. Credit risk
มันมีปํญหาแฮะ ที่บอกว่ากำไรชัวร์ 3% มันก็ไม่ได้ชัวร์ซะที่เดียว เพราะถ้าคนไม่ยอมจ่ายค่างวดผ่อนบ้านล่ะ อันนี้เรียกว่า credit risk
แบงค์ก็คิดวิธีใหม่ออกมา
โดยที่ แบงค์อาจไปติดต่อพวก hedge fund บอกว่าผมมีความเสี่ยง
เอางี้ ผมให้ hedge fund 1%ต่อปี ฟรี่ๆ ถ้าลูกค้าผมไม่เบี้ยวจ่ายหนี้
แต่ถ้าคนที่กู้เงินหนีหนี้ พี่ hedge fund จ่ายส่วนต่างระหว่างส่วนต่างจากที่ผู้กู้ไม่ยอมจ่าย กับเงินที่ผมคาดว่าจะขายบ้านได้นะ
แบงค์จะได้มีเงินคืนคนที่ซื้อ bond ไป
credit risk อันนี้แหละที่เป็นปัญหาของจริง
เพราะขนาดมันใหญ่มากๆ และเติบโต แบบ exponential ผมจำได้ว่าเป็น หลายๆ trillion usd แล้วในปี 2006
ดังนั้นจะเห็นว่า เมื่อก่อนถ้าเจ๊ง ก็เจ๊งกันเฉพาะ คนกู้กับแบงค์
แต่เดี๋ยวนี้ มีเป็นโรคติดต่อกันหมด
เพราะคนกู้เห็นว่าไม่คุ้มที่จะ ผ่อนบ้านต่อ ความเสี่ยงต่ออยู่กับ hedge fund ถ้ามีจ่ายก็ต้องไปขายทรัพสินออกมา (หุ้นตก ราคา commodity ตก )
ถ้าปิด ยิ่งไปกันใหญ่เลย เพราะ เค้าอาจแบกรับความเสี่ยง ที่นึกว่าจะได้ free กับอีกหลายๆที่ คราวนี้คนที่ ถือ mortgage bond ก็ลำบากละ อาจไม่ได้เงิน
ปัญหาเป็นโดมิโน่ เพราะเราไม่รู้ว่านอกจากที่เห็นเนี่ยมันยังมี innovation อะไรใหม่ๆ ทางการเงินที่เราไม่รู้จักอีกหรือเปล่า
ที่สำคัญคือ พวก derivative พวกนี้มักจะเป็นหนี้เยอะมากๆ ดังนั้นเป็นอะไรขึ้นมามักจะมีปัญหาหนักมากครับ
ดังนั้น ผมว่า เมื่อไหร่ที่อสังหาเมกาล้ม อาจมีผลอย่างที่คิดไม่ถึงก็ได้
ก็หวังว่าจะไม่เกิดนะ