ข่าวนี้กระทบกับ PRANDA มากน้อยแค่ไหนอย่างไรครับ วิจารณ์หน่อย
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.ย. 28, 2007 9:38 pm
เครื่องประดับแท้ปี50 หดตัวหลังถูกสหรัฐฯ ตัดสิทธิ GSP
26 กันยายน พ.ศ. 2550 10:35:00
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : อุตสาหกรรมเครื่องประดับแท้ ถือเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ โดยสามารถนำรายได้เข้าประเทศในปีหนึ่งๆ เป็นมูลค่าหลายหมื่นล้านบาท คิดเป็น สัดส่วนสูงถึง 38% ของมูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับทั้งหมด ทั้งนี้ เป็นรายได้จากการส่งออกเครื่องประดับทองเป็นส่วนใหญ่ ปัจจุบัน การส่งออกเครื่องประดับแท้ต้องเผชิญกับภาวะการแข่งขันทางการค้าที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะจากประเทศคู่แข่งที่สำคัญ เช่น จีนและอินเดียที่มีปัจจัยเกื้อหนุนอุตสาหกรรมค่อนข้างพร้อม ขณะที่ ไทยกลับได้รับผลกระทบจากการถูกตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) ที่สหรัฐอเมริกาเคยให้กับไทย ส่งผลให้ความสามารถในการแข่งขันของไทยลดลง ทำให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเครื่องประดับแท้ของไทยจำเป็นต้องปรับตัวและเร่งพัฒนาศักยภาพในการแข่งขัน เพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์ทางการค้าที่เปลี่ยนแปลงไป
ผู้ประกอบการส่วนใหญ่รับจ้างผลิต
อุตสาหกรรมเครื่องประดับแท้ จัดเป็นอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อการส่งออกเป็นสำคัญ โดยมีสัดส่วนสูงถึง 70% ของการผลิตทั้งหมด ส่วนที่เหลือ 30% จะถูกวางจำหน่ายภายในประเทศ ผู้ผลิตเครื่องประดับแท้ในประเทศไทยที่ส่งออกเครื่องประดับทองมีประมาณ 406 ราย และส่งออกเครื่องประดับเงินมีประมาณ 532 ราย ในจำนวนนี้ มีผู้ประกอบการ รายใหญ่ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ จำนวน 3 ราย ได้แก่ บริษัท แพรนด้า จิวเวลรี่ จำกัด (มหาชน) บริษัท สว่าง เอ็กซ์ปอร์ต จำกัด (มหาชน) และบริษัท โกลด์ไฟน์ เมนูแฟคเจอเรอส์ จำกัด (มหาชน) ส่วนที่เหลือจะเป็นผู้ผลิตขนาดกลางและขนาดเล็กซึ่งเป็นผู้ผลิตส่วนใหญ่ในอุตสาหกรรม และมักดำเนินการผลิตในลักษณะรับจ้างผลิต ปัจจุบัน ภาวะการแข่งขันทางการค้าในตลาดโลกมีความรุนแรงมากขึ้น ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงส่งเสริมอุตสาหกรรมเครื่องประดับแท้ให้ปรับลักษณะการผลิตโดยมุ่งเน้นการออกแบบเองและจำหน่ายภายใต้สัญลักษณ์และ/หรือเครื่องหมายการค้าของตนเองเป็นหลัก
ตลาดในประเทศชะลอตัว
เครื่องประดับแท้จัดเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยที่มีราคาค่อนข้างสูง ลูกค้าภายในประเทศ ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มที่มีรายได้ระดับปานกลางขึ้นไป อาทิ กลุ่มลูกค้าที่ทำงานแล้ว และกลุ่มที่เป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีอำนาจการซื้อสูง เครื่องประดับแท้ที่ได้ รับความนิยมจากผู้บริโภคมากที่สุดคือ เครื่องประดับทอง รองลงมาคือ เครื่องประดับเงินส่วนเครื่องประดับทองคำขาว หรือเครื่องประดับแพลทินัม ตลาดค่อนข้างแคบเพราะมีราคาสูงรูปแบบของเครื่องประดับขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้าเป็นสำคัญ จึงทำให้รูปแบบของเครื่องประดับที่ขายภายในประเทศมีความหลากหลาย ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่จะนิยมสินค้าที่มีเอกลักษณ์ เฉพาะตัว ทันสมัย และราคาไม่แพง ปัจจุบัน ตลาดเครื่องประดับแท้ภายในประเทศได้ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศและการปรับตัวสูงขึ้นของค่าจ้างแรงงานและราคาน้ำมัน ขณะที่ กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลงและต้องระมัดระวังในการใช้จ่ายมากขึ้น ประกอบกับความเสี่ยงกับความไม่ปลอดภัยในขณะสวมใส่ ผู้บริโภคจึงหันมาสนใจและนิยมซื้อเครื่องประดับเทียมเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเครื่องประดับเทียมมีรูปแบบที่คล้ายเครื่องประดับแท้มีความสวยงามทัดเทียมกัน และมีราคาต่ำกว่า
การส่งออกหดตัวหลังถูกตัดสิทธิ GSP
สถานการณ์การส่งออกเครื่องประดับแท้ไทยในช่วงเดือน ม.ค.-ก.ค. 2550 มีมูลค่า การส่งออก 28,773.2 ล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 13.42 อันเป็นผลมา จากตลาดหลักอย่างสหรัฐอเมริกาได้ลดปริมาณการสั่งซื้อเครื่องประดับแท้จากไทยลง ประกอบกับการเผชิญกับภาวะการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงขึ้นจากคู่แข่งอย่างประเทศจีนและอินเดียที่สามารถส่งออกสินค้าได้ในราคาที่ต่ำกว่า เพราะมีความได้เปรียบในด้านต้นทุนแรงงานที่ต่ำกว่า ทั้งนี้ การส่งออกเครื่องประดับแท้ส่วนใหญ่หรือกว่าร้อยละ 50 เป็นการส่งออกในรูปของเครื่องประดับทอง โดยมีมูลค่า 15,502.4 ล้านบาท ขณะที่ เครื่องประดับเงิน มีมูลค่าการส่งออก 13,270.8 ล้านบาท ตลาดส่งออกเครื่องประดับทองและเครื่องประดับเงินที่สำคัญของไทย ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร เยอรมนี และญี่ปุ่น เป็นต้น
สหรัฐอเมริกา เป็นตลาดส่งออกเครื่องประดับแท้รายใหญ่อันดับหนึ่งของไทย ในปี 2550 (ม.ค.-ก.ค.) มีการส่งออกเครื่องประดับแท้ไปยังสหรัฐอเมริกาเป็นมูลค่า 11,845.2 ล้านบาท ลดลง 23.25% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน อันเป็นผลมาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา ส่งผลให้กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง และการปรับตัวอ่อนค่าลงมากของเงินดอลลาร์ สรอ. ทำให้สินค้านำเข้ามีราคาสูงขึ้นในสายตาของผู้บริโภคในสหรัฐฯ รวมทั้งการถูกตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) จากสหรัฐฯ ทำให้การส่งออกเครื่องประดับที่ทำจาก ทองคำของไทยถูกเรียกเก็บภาษีนำเข้าในอัตราที่เพิ่มขึ้นเป็น 5.5% จากเดิมที่เคยได้รับการผ่อนผันยกเว้น จึงส่งผลให้ความสามารถในการแข่งขันของไทยในตลาดสหรัฐฯลดลง โดยไทยมีส่วนแบ่งตลาดเครื่องประดับทองในสัดส่วน 9% ของมูลค่าที่สหรัฐฯนำเข้าเครื่องประดับทองทั้งหมด หรือครองตลาดเป็นอันดับ 3 รองจาก อินดีย และจีน ส่วนเครื่องประดับเงินมีส่วนแบ่งตลาด 27% ของมูลค่าที่สหรัฐฯนำเข้าเครื่องประดับเงินทั้งหมด หรือเป็นอันดับ 2 รองจาก จีน ซึ่งก่อนหน้านี้เครื่องประดับเงินไทยเคยครองส่วนแบ่งตลาดมากเป็นอันดับหนึ่ง
สหราชอาณาจักร เป็นตลาดส่งออกเครื่องประดับแท้ที่มีความสำคัญอีกแห่งหนึ่ง ในปี 2550 (ม.ค.-ก.ค.) มีมูลค่าการส่งออก 2,895.54 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 0.06% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สหราชอาณาจักรเป็นตลาดที่นิยมเครื่องประดับทองค่อนข้างสูงในสัดส่วนที่มากกว่า 90% ของมูลค่าตลาดเครื่องประดับแท้ทั้งหมดในสหราชอาณาจักรแหล่งนำเข้าเครื่องประดับทองที่สำคัญส่วนใหญ่จะอยู่ในทวีปยุโรป ส่วนไทยมีส่วนแบ่งตลาดไม่แตกต่างจากประเทศคู่แข่งที่สำคัญ อาทิ อินเดีย และอิตาลี มากนัก โดยอยู่ที่ประมาณ 7% ส่วนจีนมีส่วนแบ่งตลาดประมาณ 2% ทั้งนี้ เป็นที่สังเกตว่า ไทยสามารถขยาย ส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นได้อย่างต่อเนื่องนับแต่ปี 2545 เป็นต้นมา ส่วนเครื่องประดับเงินในตลาด สหราชอาณาจักร ไทยเป็นผู้ครองส่วนแบ่งตลาดสูงสุดมาโดยตลอด ด้วยส่วนแบ่งตลาดสูงถึง 38% ของมูลค่าที่สหราชอาณาจักรนำเข้าเครื่องประดับเงินทั้งหมด
ญี่ปุ่น ในปี 2550 (ม.ค.-ก.ค.) ไทยส่งออกเครื่องประดับแท้ไปยังญี่ปุ่นเป็นมูลค่า 879.43 ล้านบาท ลดลง 45.71% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน นอกจากจะเป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจของญี่ปุ่นที่ซบเซาอย่างต่อเนื่องแล้ว ยังเป็นผลมาจากการเผชิญกับภาวะการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น เฉพาะอย่างยิ่ง การแข่งขันด้านราคาในตลาดระดับล่าง โดยในช่วงที่ผ่านมา ไทยต้องสูญเสียตลาดเครื่องประดับแท้ระดับล่างให้กับจีนและอินเดียไปค่อนข้างมากจนปัจจุบัน ไทยมีส่วนแบ่งในตลาดเครื่องประดับทองในญี่ปุ่นลดลงเหลือประมาณ 5% ของมูลค่าที่ญี่ปุ่นนำเข้าเครื่องประดับทองทั้งหมด ขณะที่ ส่วนแบ่งตลาดของจีนและอินเดียเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 4% และ 2% ตามลำดับ ส่วนตลาดเครื่องประดับเงินของญี่ปุ่นนั้น ไทยมีส่วนแบ่งตลาด 15% ของมูลค่าที่ญี่ปุ่นนำเข้าเครื่องประดับเงินทั้งหมด หรือครองตลาดเป็นอันดับ 2 รองจากสหรัฐอเมริกา
จีน และอินเดียคู่แข่งสำคัญในการส่งออก
หากพิจารณาศักยภาพการแข่งขันในตลาดส่งออกเครื่องประดับแท้ จะพบว่า อินเดีย จีน และอิตาลี เป็นคู่แข่งที่สำคัญของไทย โดยเครื่องประดับทองคำของอินเดียมีศักยภาพในการแข่งขันสูง เฉพาะอย่างยิ่งในตลาดสหรัฐอเมริกา ซึ่งอินเดียครองส่วนแบ่งตลาดสูงสุดและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปีอย่างต่อเนื่อง เพราะอินเดียมีความพร้อมทั้งในด้านแรงงาน วัตถุดิบ และ อุตสาหกรรมสนับสนุนอย่างซอฟแวร์ที่มีส่วนช่วยในกระบวนการผลิตและการออกแบบ ขณะที่ ไทยสามารถแข่งขันได้ในอุตสาหกรรมเครื่องประกอบอัญมณี (Gemset Jewelry) เนื่องจากมีศักยภาพในการพัฒนาคุณภาพและการเจียระไนพลอย ส่วนประเทศคู่แข่งที่มีความสำคัญรองลงมา ได้แก่ จีน และอิตาลี โดยเฉพาะในตลาดส่งออกที่สำคัญ เช่น สหรัฐอเมริกาที่ปัจจุบันพบว่ามีเครื่องประดับเงินของจีนกลับมาครองส่วนแบ่งตลาดมากกว่าของไทยจากความได้เปรียบในด้านต้นทุนแรงงานที่ต่ำกว่า และความพร้อมด้านวัตถุดิบทั้งแหล่งแร่โลหะมีค่าและอัญมณีในประเทศ ขณะที่ อิตาลีมีความโดดเด่นในการผลิตสินค้าคุณภาพสูงและการออกแบบที่ค่อนข้างมีอิทธิพลต่อทิศทางของแฟชั่น รวมทั้งการจำหน่ายภายใต้เครื่องหมายการค้าของตนเอง
หลากหลายกลยุทธ์กระตุ้นยอดขาย
จากภาวะการแข่งขันของตลาดเครื่องประดับแท้ที่ยังคงมีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ผู้ประกอบการไทยจำเป็นต้องใช้กลยุทธ์ในด้านต่าง ๆ เพื่อเป็นเครื่องมือในการสร้างความ เป็นผู้นำในตลาด สำหรับกลยุทธ์ที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เลือกใช้ยังคงเป็นกลยุทธ์ด้านการพัฒนาคุณภาพและรูปแบบสินค้ามากกว่าด้านราคา ซึ่งมีลักษณะเป็นการแข่งขันกันใน การออกแบบสินค้าให้มีความแตกต่างและโดดเด่นตรงกับรสนิยมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลง อยู่ตลอดเวลา โดยยังคงต้องเน้นความทันสมัย การมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และมีรูปแบบที่สามารถสวมใส่ได้ในหลายโอกาสภายใต้ระดับราคาที่เหมาะสม สำหรับตลาดที่ผู้ประกอบการให้ความสำคัญยังคงเป็นตลาดระดับบนที่มีการแข่งขันด้านคุณภาพเป็นหลัก
นอกจากนี้ ยังมุ่งเน้นการใช้กลยุทธ์การปรับปรุงและพัฒนาการบริการหลังการขาย ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจในคุณภาพและไว้วางใจในตัวผลิตภัณฑ์ โดยกลยุทธ์ที่ผู้ประกอบการเลือกใช้ยังมีอีกหลายวิธี อาทิ การกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน การขยายช่องทางการจำหน่าย การทำตลาดเชิงรุก และการส่งเสริมการตลาด เป็นต้น ทั้งนี้ การนำกลยุทธ์เหล่านี้มาใช้ก็เพื่อเพิ่มและรักษาส่วนแบ่งตลาดของตนไว้
ปัญหาและอุปสรรคกระทบต่อการขยายตัวของอุตสาหกรรม
ปัจจุบัน อุตสาหกรรมเครื่องประดับแท้ของไทยยังมีปัญหาสำคัญที่กระทบต่อความสามารถในการแข่งขันอยู่หลายประการ ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้
การขาดแคลนแรงงานฝีมือ อุตสาหกรรมเครื่องประดับแท้ของไทยยังขาดแคลน แรงงานฝีมือในด้านการออกแบบและผลิตสินค้าในระดับสูงค่อนข้างมาก เนื่องจากต้องใช้ระยะเวลาในการฝึกฝนจึงจะเกิดความชำนาญและความประณีตในชิ้นงานนั้น อีกทั้งในปัจจุบันมักมีปัญหาแรงงานฝีมือไทยถูกซื้อตัวโดยบรรดาคู่แข่งทั้งจากจีน มาเลเซีย และอินเดีย เป็นต้น ส่งผล ให้การพัฒนาของอุตสาหกรรมเติบโตน้อยกว่าที่ควรจะเป็น
ภาวะการแข่งขันทวีความรุนแรงมากขึ้น ทั้งด้านราคาและผลิตภัณฑ์ ที่ประเทศคู่แข่ง อาทิ จีน และอินเดีย มีความได้เปรียบในด้านค่าจ้างแรงงานที่ต่ำกว่าและมีความพร้อมทางด้านวัตถุดิบ รวมทั้งยังให้ความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพสินค้า ทำให้สามารถส่งออกได้มากขึ้น เฉพาะอย่างยิ่งในตลาดระดับล่างที่ไทยมีส่วนแบ่งตลาดลดลง
การกีดกันทางการค้าจากประเทศผู้นำเข้าสำคัญ จากการที่ไทยได้ถูกตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร หรือ GSP จากสหรัฐอเมริกาในกลุ่มสินค้าเครื่องประดับอัญมณีแท้ที่ทำมาจากทองคำ (พิกัด HS.711319.50) ซึ่งมีผลบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2550 ทำให้เครื่อง ประดับที่ทำจากทองคำของไทยจะต้องเสียภาษีนำเข้าในอัตราร้อยละ 5.5 จากเดิมที่เคยได้รับ การผ่อนผันยกเว้น ส่งผลให้ความสามารถในการแข่งขันของไทยในตลาดสหรัฐอเมริกาลดลง
การพัฒนาเทคโนโลยีด้านการออกแบบและการเจียระไนของไทยยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำเมื่อเทียบกับคู่แข่ง อาทิ อินเดีย และยุโรป ทำให้อัญมณีและเครื่องประดับไทยมีรูปแบบไม่ทันสมัยและไม่จูงใจผู้ซื้อเท่าที่ควร
แนวโน้มปี 50ชะลอตัวลง
การส่งออกเครื่องประดับแท้ของไทยในปี 2550 คาดว่า จะมีมูลค่าประมาณ 59,000 ล้านบาท ลดลง 10% จากปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ เป็นผลมาจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของประเทศผู้นำเข้าที่สำคัญ ประกอบกับการเผชิญกับภาวะการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงขึ้นจากประเทศคู่แข่งที่มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่า เฉพาะอย่างยิ่งจากจีนและอินเดีย ซึ่งมีความได้เปรียบ ด้านค่าจ้างแรงงานที่ต่ำกว่าและเป็นคู่แข่งที่สำคัญในตลาดระดับล่าง นอกจากนี้ การส่งออก เครื่องประดับแท้ไปยังสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักของไทยได้รับผลกระทบจากการตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร หรือ GSP ส่งผลให้เครื่องประดับทองของไทยมีราคาแพงขึ้นในสายตาของผู้บริโภคในสหรัฐฯ
อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมเครื่องประดับแท้ยังคงมีปัจจัยหนุนที่สำคัญ จากการส่งออกเครื่องประดับเงิน ซึ่งได้รับความสนใจจากตลาดต่างประเทศมาก รวมทั้งจากการ ลงนามในข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจระหว่างไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) ซึ่งจะทำให้มีการปรับลดอัตราภาษีนำเข้าอัญมณีและเครื่องประดับของไทยลงจากร้อยละ 2.7-10 เหลือร้อยละ 0 ทันทีที่ข้อตกลง มีผลบังคับใช้ ซึ่งการปรับลดอัตราภาษีนำเข้าดังกล่าว จะมีส่วนช่วยกระตุ้นการส่งออกเครื่องประดับแท้โดยรวมของไทยให้มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการก็ต้องเร่งพัฒนาคุณภาพสินค้าให้สูงขึ้น เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและยกระดับสินค้าสู่ตลาดระดับบน ตลอดจนเร่งขยายตลาดส่งออกแห่งใหม่ เพื่อลดปัญหาการพึ่งพาตลาดส่งออกเดิมเป็นหลัก
ที่มา : ฝ่ายวิจัยธนาคารนครหลวงไทย
http://www.bangkokbiznews.com/2007/09/2 ... sid=186136
26 กันยายน พ.ศ. 2550 10:35:00
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : อุตสาหกรรมเครื่องประดับแท้ ถือเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ โดยสามารถนำรายได้เข้าประเทศในปีหนึ่งๆ เป็นมูลค่าหลายหมื่นล้านบาท คิดเป็น สัดส่วนสูงถึง 38% ของมูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับทั้งหมด ทั้งนี้ เป็นรายได้จากการส่งออกเครื่องประดับทองเป็นส่วนใหญ่ ปัจจุบัน การส่งออกเครื่องประดับแท้ต้องเผชิญกับภาวะการแข่งขันทางการค้าที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะจากประเทศคู่แข่งที่สำคัญ เช่น จีนและอินเดียที่มีปัจจัยเกื้อหนุนอุตสาหกรรมค่อนข้างพร้อม ขณะที่ ไทยกลับได้รับผลกระทบจากการถูกตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) ที่สหรัฐอเมริกาเคยให้กับไทย ส่งผลให้ความสามารถในการแข่งขันของไทยลดลง ทำให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเครื่องประดับแท้ของไทยจำเป็นต้องปรับตัวและเร่งพัฒนาศักยภาพในการแข่งขัน เพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์ทางการค้าที่เปลี่ยนแปลงไป
ผู้ประกอบการส่วนใหญ่รับจ้างผลิต
อุตสาหกรรมเครื่องประดับแท้ จัดเป็นอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อการส่งออกเป็นสำคัญ โดยมีสัดส่วนสูงถึง 70% ของการผลิตทั้งหมด ส่วนที่เหลือ 30% จะถูกวางจำหน่ายภายในประเทศ ผู้ผลิตเครื่องประดับแท้ในประเทศไทยที่ส่งออกเครื่องประดับทองมีประมาณ 406 ราย และส่งออกเครื่องประดับเงินมีประมาณ 532 ราย ในจำนวนนี้ มีผู้ประกอบการ รายใหญ่ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ จำนวน 3 ราย ได้แก่ บริษัท แพรนด้า จิวเวลรี่ จำกัด (มหาชน) บริษัท สว่าง เอ็กซ์ปอร์ต จำกัด (มหาชน) และบริษัท โกลด์ไฟน์ เมนูแฟคเจอเรอส์ จำกัด (มหาชน) ส่วนที่เหลือจะเป็นผู้ผลิตขนาดกลางและขนาดเล็กซึ่งเป็นผู้ผลิตส่วนใหญ่ในอุตสาหกรรม และมักดำเนินการผลิตในลักษณะรับจ้างผลิต ปัจจุบัน ภาวะการแข่งขันทางการค้าในตลาดโลกมีความรุนแรงมากขึ้น ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงส่งเสริมอุตสาหกรรมเครื่องประดับแท้ให้ปรับลักษณะการผลิตโดยมุ่งเน้นการออกแบบเองและจำหน่ายภายใต้สัญลักษณ์และ/หรือเครื่องหมายการค้าของตนเองเป็นหลัก
ตลาดในประเทศชะลอตัว
เครื่องประดับแท้จัดเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยที่มีราคาค่อนข้างสูง ลูกค้าภายในประเทศ ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มที่มีรายได้ระดับปานกลางขึ้นไป อาทิ กลุ่มลูกค้าที่ทำงานแล้ว และกลุ่มที่เป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีอำนาจการซื้อสูง เครื่องประดับแท้ที่ได้ รับความนิยมจากผู้บริโภคมากที่สุดคือ เครื่องประดับทอง รองลงมาคือ เครื่องประดับเงินส่วนเครื่องประดับทองคำขาว หรือเครื่องประดับแพลทินัม ตลาดค่อนข้างแคบเพราะมีราคาสูงรูปแบบของเครื่องประดับขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้าเป็นสำคัญ จึงทำให้รูปแบบของเครื่องประดับที่ขายภายในประเทศมีความหลากหลาย ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่จะนิยมสินค้าที่มีเอกลักษณ์ เฉพาะตัว ทันสมัย และราคาไม่แพง ปัจจุบัน ตลาดเครื่องประดับแท้ภายในประเทศได้ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศและการปรับตัวสูงขึ้นของค่าจ้างแรงงานและราคาน้ำมัน ขณะที่ กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลงและต้องระมัดระวังในการใช้จ่ายมากขึ้น ประกอบกับความเสี่ยงกับความไม่ปลอดภัยในขณะสวมใส่ ผู้บริโภคจึงหันมาสนใจและนิยมซื้อเครื่องประดับเทียมเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเครื่องประดับเทียมมีรูปแบบที่คล้ายเครื่องประดับแท้มีความสวยงามทัดเทียมกัน และมีราคาต่ำกว่า
การส่งออกหดตัวหลังถูกตัดสิทธิ GSP
สถานการณ์การส่งออกเครื่องประดับแท้ไทยในช่วงเดือน ม.ค.-ก.ค. 2550 มีมูลค่า การส่งออก 28,773.2 ล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 13.42 อันเป็นผลมา จากตลาดหลักอย่างสหรัฐอเมริกาได้ลดปริมาณการสั่งซื้อเครื่องประดับแท้จากไทยลง ประกอบกับการเผชิญกับภาวะการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงขึ้นจากคู่แข่งอย่างประเทศจีนและอินเดียที่สามารถส่งออกสินค้าได้ในราคาที่ต่ำกว่า เพราะมีความได้เปรียบในด้านต้นทุนแรงงานที่ต่ำกว่า ทั้งนี้ การส่งออกเครื่องประดับแท้ส่วนใหญ่หรือกว่าร้อยละ 50 เป็นการส่งออกในรูปของเครื่องประดับทอง โดยมีมูลค่า 15,502.4 ล้านบาท ขณะที่ เครื่องประดับเงิน มีมูลค่าการส่งออก 13,270.8 ล้านบาท ตลาดส่งออกเครื่องประดับทองและเครื่องประดับเงินที่สำคัญของไทย ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร เยอรมนี และญี่ปุ่น เป็นต้น
สหรัฐอเมริกา เป็นตลาดส่งออกเครื่องประดับแท้รายใหญ่อันดับหนึ่งของไทย ในปี 2550 (ม.ค.-ก.ค.) มีการส่งออกเครื่องประดับแท้ไปยังสหรัฐอเมริกาเป็นมูลค่า 11,845.2 ล้านบาท ลดลง 23.25% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน อันเป็นผลมาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา ส่งผลให้กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง และการปรับตัวอ่อนค่าลงมากของเงินดอลลาร์ สรอ. ทำให้สินค้านำเข้ามีราคาสูงขึ้นในสายตาของผู้บริโภคในสหรัฐฯ รวมทั้งการถูกตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) จากสหรัฐฯ ทำให้การส่งออกเครื่องประดับที่ทำจาก ทองคำของไทยถูกเรียกเก็บภาษีนำเข้าในอัตราที่เพิ่มขึ้นเป็น 5.5% จากเดิมที่เคยได้รับการผ่อนผันยกเว้น จึงส่งผลให้ความสามารถในการแข่งขันของไทยในตลาดสหรัฐฯลดลง โดยไทยมีส่วนแบ่งตลาดเครื่องประดับทองในสัดส่วน 9% ของมูลค่าที่สหรัฐฯนำเข้าเครื่องประดับทองทั้งหมด หรือครองตลาดเป็นอันดับ 3 รองจาก อินดีย และจีน ส่วนเครื่องประดับเงินมีส่วนแบ่งตลาด 27% ของมูลค่าที่สหรัฐฯนำเข้าเครื่องประดับเงินทั้งหมด หรือเป็นอันดับ 2 รองจาก จีน ซึ่งก่อนหน้านี้เครื่องประดับเงินไทยเคยครองส่วนแบ่งตลาดมากเป็นอันดับหนึ่ง
สหราชอาณาจักร เป็นตลาดส่งออกเครื่องประดับแท้ที่มีความสำคัญอีกแห่งหนึ่ง ในปี 2550 (ม.ค.-ก.ค.) มีมูลค่าการส่งออก 2,895.54 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 0.06% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สหราชอาณาจักรเป็นตลาดที่นิยมเครื่องประดับทองค่อนข้างสูงในสัดส่วนที่มากกว่า 90% ของมูลค่าตลาดเครื่องประดับแท้ทั้งหมดในสหราชอาณาจักรแหล่งนำเข้าเครื่องประดับทองที่สำคัญส่วนใหญ่จะอยู่ในทวีปยุโรป ส่วนไทยมีส่วนแบ่งตลาดไม่แตกต่างจากประเทศคู่แข่งที่สำคัญ อาทิ อินเดีย และอิตาลี มากนัก โดยอยู่ที่ประมาณ 7% ส่วนจีนมีส่วนแบ่งตลาดประมาณ 2% ทั้งนี้ เป็นที่สังเกตว่า ไทยสามารถขยาย ส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นได้อย่างต่อเนื่องนับแต่ปี 2545 เป็นต้นมา ส่วนเครื่องประดับเงินในตลาด สหราชอาณาจักร ไทยเป็นผู้ครองส่วนแบ่งตลาดสูงสุดมาโดยตลอด ด้วยส่วนแบ่งตลาดสูงถึง 38% ของมูลค่าที่สหราชอาณาจักรนำเข้าเครื่องประดับเงินทั้งหมด
ญี่ปุ่น ในปี 2550 (ม.ค.-ก.ค.) ไทยส่งออกเครื่องประดับแท้ไปยังญี่ปุ่นเป็นมูลค่า 879.43 ล้านบาท ลดลง 45.71% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน นอกจากจะเป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจของญี่ปุ่นที่ซบเซาอย่างต่อเนื่องแล้ว ยังเป็นผลมาจากการเผชิญกับภาวะการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น เฉพาะอย่างยิ่ง การแข่งขันด้านราคาในตลาดระดับล่าง โดยในช่วงที่ผ่านมา ไทยต้องสูญเสียตลาดเครื่องประดับแท้ระดับล่างให้กับจีนและอินเดียไปค่อนข้างมากจนปัจจุบัน ไทยมีส่วนแบ่งในตลาดเครื่องประดับทองในญี่ปุ่นลดลงเหลือประมาณ 5% ของมูลค่าที่ญี่ปุ่นนำเข้าเครื่องประดับทองทั้งหมด ขณะที่ ส่วนแบ่งตลาดของจีนและอินเดียเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 4% และ 2% ตามลำดับ ส่วนตลาดเครื่องประดับเงินของญี่ปุ่นนั้น ไทยมีส่วนแบ่งตลาด 15% ของมูลค่าที่ญี่ปุ่นนำเข้าเครื่องประดับเงินทั้งหมด หรือครองตลาดเป็นอันดับ 2 รองจากสหรัฐอเมริกา
จีน และอินเดียคู่แข่งสำคัญในการส่งออก
หากพิจารณาศักยภาพการแข่งขันในตลาดส่งออกเครื่องประดับแท้ จะพบว่า อินเดีย จีน และอิตาลี เป็นคู่แข่งที่สำคัญของไทย โดยเครื่องประดับทองคำของอินเดียมีศักยภาพในการแข่งขันสูง เฉพาะอย่างยิ่งในตลาดสหรัฐอเมริกา ซึ่งอินเดียครองส่วนแบ่งตลาดสูงสุดและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปีอย่างต่อเนื่อง เพราะอินเดียมีความพร้อมทั้งในด้านแรงงาน วัตถุดิบ และ อุตสาหกรรมสนับสนุนอย่างซอฟแวร์ที่มีส่วนช่วยในกระบวนการผลิตและการออกแบบ ขณะที่ ไทยสามารถแข่งขันได้ในอุตสาหกรรมเครื่องประกอบอัญมณี (Gemset Jewelry) เนื่องจากมีศักยภาพในการพัฒนาคุณภาพและการเจียระไนพลอย ส่วนประเทศคู่แข่งที่มีความสำคัญรองลงมา ได้แก่ จีน และอิตาลี โดยเฉพาะในตลาดส่งออกที่สำคัญ เช่น สหรัฐอเมริกาที่ปัจจุบันพบว่ามีเครื่องประดับเงินของจีนกลับมาครองส่วนแบ่งตลาดมากกว่าของไทยจากความได้เปรียบในด้านต้นทุนแรงงานที่ต่ำกว่า และความพร้อมด้านวัตถุดิบทั้งแหล่งแร่โลหะมีค่าและอัญมณีในประเทศ ขณะที่ อิตาลีมีความโดดเด่นในการผลิตสินค้าคุณภาพสูงและการออกแบบที่ค่อนข้างมีอิทธิพลต่อทิศทางของแฟชั่น รวมทั้งการจำหน่ายภายใต้เครื่องหมายการค้าของตนเอง
หลากหลายกลยุทธ์กระตุ้นยอดขาย
จากภาวะการแข่งขันของตลาดเครื่องประดับแท้ที่ยังคงมีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ผู้ประกอบการไทยจำเป็นต้องใช้กลยุทธ์ในด้านต่าง ๆ เพื่อเป็นเครื่องมือในการสร้างความ เป็นผู้นำในตลาด สำหรับกลยุทธ์ที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เลือกใช้ยังคงเป็นกลยุทธ์ด้านการพัฒนาคุณภาพและรูปแบบสินค้ามากกว่าด้านราคา ซึ่งมีลักษณะเป็นการแข่งขันกันใน การออกแบบสินค้าให้มีความแตกต่างและโดดเด่นตรงกับรสนิยมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลง อยู่ตลอดเวลา โดยยังคงต้องเน้นความทันสมัย การมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และมีรูปแบบที่สามารถสวมใส่ได้ในหลายโอกาสภายใต้ระดับราคาที่เหมาะสม สำหรับตลาดที่ผู้ประกอบการให้ความสำคัญยังคงเป็นตลาดระดับบนที่มีการแข่งขันด้านคุณภาพเป็นหลัก
นอกจากนี้ ยังมุ่งเน้นการใช้กลยุทธ์การปรับปรุงและพัฒนาการบริการหลังการขาย ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจในคุณภาพและไว้วางใจในตัวผลิตภัณฑ์ โดยกลยุทธ์ที่ผู้ประกอบการเลือกใช้ยังมีอีกหลายวิธี อาทิ การกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน การขยายช่องทางการจำหน่าย การทำตลาดเชิงรุก และการส่งเสริมการตลาด เป็นต้น ทั้งนี้ การนำกลยุทธ์เหล่านี้มาใช้ก็เพื่อเพิ่มและรักษาส่วนแบ่งตลาดของตนไว้
ปัญหาและอุปสรรคกระทบต่อการขยายตัวของอุตสาหกรรม
ปัจจุบัน อุตสาหกรรมเครื่องประดับแท้ของไทยยังมีปัญหาสำคัญที่กระทบต่อความสามารถในการแข่งขันอยู่หลายประการ ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้
การขาดแคลนแรงงานฝีมือ อุตสาหกรรมเครื่องประดับแท้ของไทยยังขาดแคลน แรงงานฝีมือในด้านการออกแบบและผลิตสินค้าในระดับสูงค่อนข้างมาก เนื่องจากต้องใช้ระยะเวลาในการฝึกฝนจึงจะเกิดความชำนาญและความประณีตในชิ้นงานนั้น อีกทั้งในปัจจุบันมักมีปัญหาแรงงานฝีมือไทยถูกซื้อตัวโดยบรรดาคู่แข่งทั้งจากจีน มาเลเซีย และอินเดีย เป็นต้น ส่งผล ให้การพัฒนาของอุตสาหกรรมเติบโตน้อยกว่าที่ควรจะเป็น
ภาวะการแข่งขันทวีความรุนแรงมากขึ้น ทั้งด้านราคาและผลิตภัณฑ์ ที่ประเทศคู่แข่ง อาทิ จีน และอินเดีย มีความได้เปรียบในด้านค่าจ้างแรงงานที่ต่ำกว่าและมีความพร้อมทางด้านวัตถุดิบ รวมทั้งยังให้ความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพสินค้า ทำให้สามารถส่งออกได้มากขึ้น เฉพาะอย่างยิ่งในตลาดระดับล่างที่ไทยมีส่วนแบ่งตลาดลดลง
การกีดกันทางการค้าจากประเทศผู้นำเข้าสำคัญ จากการที่ไทยได้ถูกตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร หรือ GSP จากสหรัฐอเมริกาในกลุ่มสินค้าเครื่องประดับอัญมณีแท้ที่ทำมาจากทองคำ (พิกัด HS.711319.50) ซึ่งมีผลบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2550 ทำให้เครื่อง ประดับที่ทำจากทองคำของไทยจะต้องเสียภาษีนำเข้าในอัตราร้อยละ 5.5 จากเดิมที่เคยได้รับ การผ่อนผันยกเว้น ส่งผลให้ความสามารถในการแข่งขันของไทยในตลาดสหรัฐอเมริกาลดลง
การพัฒนาเทคโนโลยีด้านการออกแบบและการเจียระไนของไทยยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำเมื่อเทียบกับคู่แข่ง อาทิ อินเดีย และยุโรป ทำให้อัญมณีและเครื่องประดับไทยมีรูปแบบไม่ทันสมัยและไม่จูงใจผู้ซื้อเท่าที่ควร
แนวโน้มปี 50ชะลอตัวลง
การส่งออกเครื่องประดับแท้ของไทยในปี 2550 คาดว่า จะมีมูลค่าประมาณ 59,000 ล้านบาท ลดลง 10% จากปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ เป็นผลมาจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของประเทศผู้นำเข้าที่สำคัญ ประกอบกับการเผชิญกับภาวะการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงขึ้นจากประเทศคู่แข่งที่มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่า เฉพาะอย่างยิ่งจากจีนและอินเดีย ซึ่งมีความได้เปรียบ ด้านค่าจ้างแรงงานที่ต่ำกว่าและเป็นคู่แข่งที่สำคัญในตลาดระดับล่าง นอกจากนี้ การส่งออก เครื่องประดับแท้ไปยังสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักของไทยได้รับผลกระทบจากการตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร หรือ GSP ส่งผลให้เครื่องประดับทองของไทยมีราคาแพงขึ้นในสายตาของผู้บริโภคในสหรัฐฯ
อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมเครื่องประดับแท้ยังคงมีปัจจัยหนุนที่สำคัญ จากการส่งออกเครื่องประดับเงิน ซึ่งได้รับความสนใจจากตลาดต่างประเทศมาก รวมทั้งจากการ ลงนามในข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจระหว่างไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) ซึ่งจะทำให้มีการปรับลดอัตราภาษีนำเข้าอัญมณีและเครื่องประดับของไทยลงจากร้อยละ 2.7-10 เหลือร้อยละ 0 ทันทีที่ข้อตกลง มีผลบังคับใช้ ซึ่งการปรับลดอัตราภาษีนำเข้าดังกล่าว จะมีส่วนช่วยกระตุ้นการส่งออกเครื่องประดับแท้โดยรวมของไทยให้มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการก็ต้องเร่งพัฒนาคุณภาพสินค้าให้สูงขึ้น เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและยกระดับสินค้าสู่ตลาดระดับบน ตลอดจนเร่งขยายตลาดส่งออกแห่งใหม่ เพื่อลดปัญหาการพึ่งพาตลาดส่งออกเดิมเป็นหลัก
ที่มา : ฝ่ายวิจัยธนาคารนครหลวงไทย
http://www.bangkokbiznews.com/2007/09/2 ... sid=186136