ทางรอดของระบบประกันสังคมไทย
โพสต์แล้ว: เสาร์ ต.ค. 06, 2007 3:24 pm
บทความลงใน ฐานเศรษฐกิจ
ทางรอดของระบบประกันสังคมไทย : แนวทางการปฎิรูปสู่ความยั่งยืน
หนึ่งในปัญหาเชิงนโยบายที่เป็นความเสี่ยงสำคัญที่สุดของประเทศในระยะยาว คือ ภาครัฐจะดูแลวางกรอบให้ระบบประกันสังคม (กรณีชราภาพ) อย่างไร ให้สามารถอยู่รอดได้ ภายใต้แรงกดดันของแนวโน้มทางประชากรที่กำลังทำให้สังคมไทยเริ่มเข้าสู่ภาวะสังคมชราภาพอย่างรวดเร็ว ไม่ให้กลายเป็นปัญหาสำคัญให้กับภาครัฐและประเทศชาติในระยะยาว
****จากการประมาณการทางด้านประชากร สัดส่วนประชากรที่มีอายุมากกว่า 60 ปี จะเพิ่มขึ้นจากประมาณ 6 ล้านคน หรือร้อยละ 9.4 ของประชากรในปี 2543 เป็นมากกว่า 20 ล้านคนหรือประมาณร้อยละ 30 ของประชากรในช่วงต่อไป
****ประเด็นที่น่ากังวลใจ คือ จากการศึกษาพบว่า ณ ต้นปี 2550 กองทุนประกันสังคม แม้จะมีเงินกองทุนมากกว่า 3 แสนล้านบาท (ในส่วนของประโยชน์ทดแทน 2 กรณี ซึ่งรวมถึงกรณีชราภาพ) แต่เมื่อวิเคราะห์ถึงฐานะที่แท้จริงในปัจจุบัน จากภาระที่จะเกิดขึ้นในอนาคต พบว่า กองทุนประกันสังคมกรณีชราภาพ จะมีเงินไม่เพียงพอต่อการจ่ายสิทธิประโยชน์ต่างๆ ให้กับสมาชิกระบบประกันสังคมที่จะเกษียณอายุในช่วงต่อไป โดยเงินที่จัดเตรียมไว้ในตอนนี้ จะเริ่มหมดลงในช่วง 40- 50 ปี ข้างหน้า
****ทั้งหมดนี้หมายความว่า หากสำนักงานประกันสังคมไม่มีการเปลี่ยนแปลงในเชิงนโยบายอย่างมีนัยสำคัญแล้ว หรือรัฐบาลไม่ได้มีการเตรียมการที่จะรองรับปัญหานี้ไว้ คนหนุ่มสาวที่เริ่มเข้าเป็นสมาชิกประกันสังคมในช่วงนี้ จะได้รับสิทธิประโยชน์สุทธิ จากทางประกันสังคมน้อยลงกว่าสมาชิกปัจจุบันที่กำลังจะเกษียณอายุในช่วง 10 ปีข้างหน้า
**** หรือไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ตามที่ตนคาดว่าจะได้รับจากการเป็นสมาชิกของระบบประกันสังคม ทำให้คนกลุ่มนี้จะต้องตกเป็นภาระของลูกหลานและสังคม ซึ่งท้ายสุดหากภาครัฐจำต้องยื่นมือเข้ามาดูแล รับเอาเป็นภาระของภาครัฐ ปัญหาความอยู่รอดระยะยาวของระบบประกันสังคม ก็จะกลายเป็นภาระและความเสี่ยงสำคัญด้านการคลังของประเทศชาติในระยะต่อไป
**** เมื่อเราศึกษาข้อมูลในระดับจุลภาคเพิ่มเติม เพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงความเป็นไปได้ที่ผู้สูงอายุจะสามารถเลี้ยงดูตนเองในวัยชรานั้น เราพบว่าประชากรที่เข้าสู่วัยชราของประเทศในปัจจุบันนั้น มีข้อจำกัดในหลายด้าน ส่วนใหญ่อาศัยรายได้ที่ได้จากการช่วยเหลือจุนเจือจากครอบครัวเป็นสำคัญ บางส่วนแม้จะอาศัยรายได้จากการทำงานต่อไป แม้ว่าอายุมากกว่า 60 ปี ก็ได้รับรายได้เพียงไม่มากนัก อีกทั้งเงินออมของแต่ละครัวเรือนที่มีคนแก่อยู่ด้วย ก็มีจำนวนไม่มากนัก ไม่เพียงพอต่อการยังชีพในช่วงวัยชรา
***ทั้งนี้ ประเด็นที่น่ากังวลใจก็คือ จากจำนวนผู้ทำงานต่อผู้สูงอายุที่จะลดลง ความช่วยเหลือที่ผู้สูงอายุได้จากครอบครัว (ซึ่งเป็นรายได้หลักที่ช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถยังชีพอยู่ได้) มีแนวโน้มที่จะลดน้อยลงด้วย ทั้งหมดนี้ จะเกิดขึ้นขณะที่กองทุนประกันสังคมกำลังจะประสบปัญหาการมีเงินไม่เพียงพอต่อการจ่ายสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพให้กับสมาชิก
***บทความนี้จึงวิเคราะห์ประเมินผลกระทบของทางเลือกเชิงนโยบายในด้านต่างๆ รวมทั้ง ได้นำตัวอย่างแนวทางการปฏิรูประบบประกันสังคมในกรณีต่างประเทศ มาเป็นบทเรียน ประยุกต์ใช้ในกรณีประเทศไทย เพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบต่อไป ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว โดยเน้นการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบแต่เนิ่นๆ โดยเริ่มจากการดูแลให้ระบบประกันสังคมมีการเก็บสะสมเงินที่เพียงพอ โดยไม่มีการเอาเปรียบประชากรกลุ่มอายุใดอายุหนึ่งมากเกินไป การปรับรายละเอียดกฎเกณฑ์ด้านต่างๆ เพื่อจูงใจให้ประชากรเลือกที่จะเกษียณอายุให้ช้าลงให้สอดคล้องกับการที่อายุของคนไทยที่จะยาวเพิ่มขึ้น รวมไปถึงการเตรียมการที่จะปฏิรูปโครงสร้าง (Structural reform) ของระบบการประกันสังคมและการออมของประเทศในระยะยาว ควบคู่กันไป ซึ่งทั้งหมดนี้น่าจะเป็นภูมิคุ้มกันภัยที่สำคัญของประเทศ ที่จะช่วยให้เราสามารถบริหารจัดการความท้าทายอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างครั้งสำคัญในเชิงประชากรของประเทศ ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ ได้อย่างน่าพอใจ
***หมายเหตุ: บทวิจัย ทางรอดของระบบประกันสังคมไทย : แนวทางการปฎิรูปสู่ความยั่งยืน เป็นผลงานของ ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้บริหารส่วน ส่วนเศรษฐกิจมหภาค ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ สายนโยบายการเงิน และน.ส. อนรรฆ เสรีเชษฐพงษ์ เศรษฐกร ทีมนโยบายเศรษฐกิจมหาภาค โดยบทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของบทความในการสัมมนาทางวิชาการประจำปี 2550 ของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยจะจัดขึ้นที่ โรงแรมแชงกรี-ลา, กรุงเทพฯ ในวันที่ 3-4 ตุลาคม 2550นี้
==========================
ผมว่ากองทุนประกันสังคมและรัฐบาล ต้องช่วยกันหาทางออกโดยเร็ว ในสหรัฐอเมริกานั้นเงินภาษี Social security ซึ่งหักจากคนที่ทำงานในอเมริกาทุกเดือน จะเริ่มมีเงินไหลออก (จ่ายสิทธิประโยชน์) มากกว่าเข้า (จ่ายภาษีก้อนนี้) ภายในสิบกว่าปีนี้ และคาดว่าอาจจะหมดเกลี้ยงภายในไม่เกิน 25 ปี ถ้าไม่ทำอย่างหนึ่งอย่างใด ระหว่างการเพิ่มภาษี, ลดสิทธิประโยชน์ หรือเพิ่มอายุเมื่อเกษียณ (เริ่มรับสิทธิประโยชน์)
ปัญหานี้ไม่มีพรรคไหนกล้าแตะ เพราะแตะแล้วเสียคะแนนนิยมแน่ ๆ แต่เป็นระเบิดเวลาที่นับถอยหลัง รอเวลาหมด...
ไม่ทราบว่า กองทุนประกันสังคมของเรา นำเงินส่วนหนึ่งไปลงทุนแบบ CalPERS มั่งหรือเปล่า..
ทางรอดของระบบประกันสังคมไทย : แนวทางการปฎิรูปสู่ความยั่งยืน
หนึ่งในปัญหาเชิงนโยบายที่เป็นความเสี่ยงสำคัญที่สุดของประเทศในระยะยาว คือ ภาครัฐจะดูแลวางกรอบให้ระบบประกันสังคม (กรณีชราภาพ) อย่างไร ให้สามารถอยู่รอดได้ ภายใต้แรงกดดันของแนวโน้มทางประชากรที่กำลังทำให้สังคมไทยเริ่มเข้าสู่ภาวะสังคมชราภาพอย่างรวดเร็ว ไม่ให้กลายเป็นปัญหาสำคัญให้กับภาครัฐและประเทศชาติในระยะยาว
****จากการประมาณการทางด้านประชากร สัดส่วนประชากรที่มีอายุมากกว่า 60 ปี จะเพิ่มขึ้นจากประมาณ 6 ล้านคน หรือร้อยละ 9.4 ของประชากรในปี 2543 เป็นมากกว่า 20 ล้านคนหรือประมาณร้อยละ 30 ของประชากรในช่วงต่อไป
****ประเด็นที่น่ากังวลใจ คือ จากการศึกษาพบว่า ณ ต้นปี 2550 กองทุนประกันสังคม แม้จะมีเงินกองทุนมากกว่า 3 แสนล้านบาท (ในส่วนของประโยชน์ทดแทน 2 กรณี ซึ่งรวมถึงกรณีชราภาพ) แต่เมื่อวิเคราะห์ถึงฐานะที่แท้จริงในปัจจุบัน จากภาระที่จะเกิดขึ้นในอนาคต พบว่า กองทุนประกันสังคมกรณีชราภาพ จะมีเงินไม่เพียงพอต่อการจ่ายสิทธิประโยชน์ต่างๆ ให้กับสมาชิกระบบประกันสังคมที่จะเกษียณอายุในช่วงต่อไป โดยเงินที่จัดเตรียมไว้ในตอนนี้ จะเริ่มหมดลงในช่วง 40- 50 ปี ข้างหน้า
****ทั้งหมดนี้หมายความว่า หากสำนักงานประกันสังคมไม่มีการเปลี่ยนแปลงในเชิงนโยบายอย่างมีนัยสำคัญแล้ว หรือรัฐบาลไม่ได้มีการเตรียมการที่จะรองรับปัญหานี้ไว้ คนหนุ่มสาวที่เริ่มเข้าเป็นสมาชิกประกันสังคมในช่วงนี้ จะได้รับสิทธิประโยชน์สุทธิ จากทางประกันสังคมน้อยลงกว่าสมาชิกปัจจุบันที่กำลังจะเกษียณอายุในช่วง 10 ปีข้างหน้า
**** หรือไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ตามที่ตนคาดว่าจะได้รับจากการเป็นสมาชิกของระบบประกันสังคม ทำให้คนกลุ่มนี้จะต้องตกเป็นภาระของลูกหลานและสังคม ซึ่งท้ายสุดหากภาครัฐจำต้องยื่นมือเข้ามาดูแล รับเอาเป็นภาระของภาครัฐ ปัญหาความอยู่รอดระยะยาวของระบบประกันสังคม ก็จะกลายเป็นภาระและความเสี่ยงสำคัญด้านการคลังของประเทศชาติในระยะต่อไป
**** เมื่อเราศึกษาข้อมูลในระดับจุลภาคเพิ่มเติม เพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงความเป็นไปได้ที่ผู้สูงอายุจะสามารถเลี้ยงดูตนเองในวัยชรานั้น เราพบว่าประชากรที่เข้าสู่วัยชราของประเทศในปัจจุบันนั้น มีข้อจำกัดในหลายด้าน ส่วนใหญ่อาศัยรายได้ที่ได้จากการช่วยเหลือจุนเจือจากครอบครัวเป็นสำคัญ บางส่วนแม้จะอาศัยรายได้จากการทำงานต่อไป แม้ว่าอายุมากกว่า 60 ปี ก็ได้รับรายได้เพียงไม่มากนัก อีกทั้งเงินออมของแต่ละครัวเรือนที่มีคนแก่อยู่ด้วย ก็มีจำนวนไม่มากนัก ไม่เพียงพอต่อการยังชีพในช่วงวัยชรา
***ทั้งนี้ ประเด็นที่น่ากังวลใจก็คือ จากจำนวนผู้ทำงานต่อผู้สูงอายุที่จะลดลง ความช่วยเหลือที่ผู้สูงอายุได้จากครอบครัว (ซึ่งเป็นรายได้หลักที่ช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถยังชีพอยู่ได้) มีแนวโน้มที่จะลดน้อยลงด้วย ทั้งหมดนี้ จะเกิดขึ้นขณะที่กองทุนประกันสังคมกำลังจะประสบปัญหาการมีเงินไม่เพียงพอต่อการจ่ายสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพให้กับสมาชิก
***บทความนี้จึงวิเคราะห์ประเมินผลกระทบของทางเลือกเชิงนโยบายในด้านต่างๆ รวมทั้ง ได้นำตัวอย่างแนวทางการปฏิรูประบบประกันสังคมในกรณีต่างประเทศ มาเป็นบทเรียน ประยุกต์ใช้ในกรณีประเทศไทย เพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบต่อไป ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว โดยเน้นการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบแต่เนิ่นๆ โดยเริ่มจากการดูแลให้ระบบประกันสังคมมีการเก็บสะสมเงินที่เพียงพอ โดยไม่มีการเอาเปรียบประชากรกลุ่มอายุใดอายุหนึ่งมากเกินไป การปรับรายละเอียดกฎเกณฑ์ด้านต่างๆ เพื่อจูงใจให้ประชากรเลือกที่จะเกษียณอายุให้ช้าลงให้สอดคล้องกับการที่อายุของคนไทยที่จะยาวเพิ่มขึ้น รวมไปถึงการเตรียมการที่จะปฏิรูปโครงสร้าง (Structural reform) ของระบบการประกันสังคมและการออมของประเทศในระยะยาว ควบคู่กันไป ซึ่งทั้งหมดนี้น่าจะเป็นภูมิคุ้มกันภัยที่สำคัญของประเทศ ที่จะช่วยให้เราสามารถบริหารจัดการความท้าทายอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างครั้งสำคัญในเชิงประชากรของประเทศ ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ ได้อย่างน่าพอใจ
***หมายเหตุ: บทวิจัย ทางรอดของระบบประกันสังคมไทย : แนวทางการปฎิรูปสู่ความยั่งยืน เป็นผลงานของ ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้บริหารส่วน ส่วนเศรษฐกิจมหภาค ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ สายนโยบายการเงิน และน.ส. อนรรฆ เสรีเชษฐพงษ์ เศรษฐกร ทีมนโยบายเศรษฐกิจมหาภาค โดยบทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของบทความในการสัมมนาทางวิชาการประจำปี 2550 ของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยจะจัดขึ้นที่ โรงแรมแชงกรี-ลา, กรุงเทพฯ ในวันที่ 3-4 ตุลาคม 2550นี้
==========================
ผมว่ากองทุนประกันสังคมและรัฐบาล ต้องช่วยกันหาทางออกโดยเร็ว ในสหรัฐอเมริกานั้นเงินภาษี Social security ซึ่งหักจากคนที่ทำงานในอเมริกาทุกเดือน จะเริ่มมีเงินไหลออก (จ่ายสิทธิประโยชน์) มากกว่าเข้า (จ่ายภาษีก้อนนี้) ภายในสิบกว่าปีนี้ และคาดว่าอาจจะหมดเกลี้ยงภายในไม่เกิน 25 ปี ถ้าไม่ทำอย่างหนึ่งอย่างใด ระหว่างการเพิ่มภาษี, ลดสิทธิประโยชน์ หรือเพิ่มอายุเมื่อเกษียณ (เริ่มรับสิทธิประโยชน์)
ปัญหานี้ไม่มีพรรคไหนกล้าแตะ เพราะแตะแล้วเสียคะแนนนิยมแน่ ๆ แต่เป็นระเบิดเวลาที่นับถอยหลัง รอเวลาหมด...
ไม่ทราบว่า กองทุนประกันสังคมของเรา นำเงินส่วนหนึ่งไปลงทุนแบบ CalPERS มั่งหรือเปล่า..