ขายหุ้นอย่างไรไม่ให้ช้ำใจ (โดยคุณ Invisible Hand)
โพสต์แล้ว: พุธ ต.ค. 17, 2007 11:51 pm
ผมขออนุญาตคุณ Invisible Hand นำบทความดีๆมาเผยแพร่ต่อนะครับ
http://www.bbznet.com/scripts3/view.php ... c=1&order=
เรื่องการขายหุ้นนั้นเป็นศิลปะที่สำคัญอย่างหนึ่งของการลงทุนครับ ผมคิดว่าไม่มีสูตรตายตัว และการตัดสินใจขายนั้นผมคิดว่ายากกว่าการตัดสินใจซื้อหลายเท่าครับ
การขายหุ้นที่เราลงทุนแต่ละตัวไม่จำเป็นต้องคาดหวังว่าจะขายได้ราคาสูงสุดหรือใกล้เคียงกับราคาสูงสุดที่หุ้นตัวนั้นจะไปถึงครับ เพราะไม่มี VI ที่สามารถทำได้ทุกครั้งแน่นอน ( ถ้าเป็นเจ้ามืออาจจะพอเป็นไปได้บ้าง ) การคิดว่าหุ้นที่เราขายทุกตัวจะต้องลงหลังจากที่เราขายหรือเราจะต้องขายที่ peak นั้นจะทำให้เราเกิดความทุกข์ในการลงทุนซึ่งเป็นความเครียดและส่งผลลบต่อร่างกายและจิตใจอย่างที่ไม่สามารถประเมินความเสียหายได้ครับ และไม่ต้องเสียดายประมาณว่ารู้งี้ถือต่อดีกว่า หรือ รู้งี้ซื้อเยอะกว่านี้ดีกว่า หรือ รู้งี้ . เพราะรู้อะไรไม่สู้รู้งี้หรอกนะครับ ( ยืมคำพูดพี่ Muffin มาครับ )
โดยทั่วไป ผมจะดูหุ้นในพอร์ตเป็นระยะๆ แล้วถามตัวเองว่า ณ ราคาหุ้นปัจจุบัน เราคิดว่าหุ้นตัวนี้ยังน่าสนใจในระยะยาวหรือไม่ หมายความว่า ถ้าไม่มีหุ้นตัวนี้อยู่เลยแล้วต้องซื้อราคานี้ ในระยะยาวจะสามารถให้ผลตอบแทนที่น่าพอใจหรือไม่ ถ้าคำตอบคือใช่ แสดงว่าหุ้นตัวนั้นน่าถือต่อ ไม่สำคัญว่าเราจะได้กำไรมามากน้อยเท่าใด แต่ถ้าคำตอบคือ ไม่ใช่ แสดงว่าหุ้นตัวนั้นควรพิจารณาขาย เช่นกันครับ ไม่สำคัญว่าเราจะได้กำไรหรือขาดทุนมากน้อยก็ตาม
ดังนั้น เรื่องที่ว่าหุ้นตัวนั้นซื้อมาต้นทุนเท่าไหร่ ได้กำไรมาเท่าไหร่หรือกำลังขาดทุนอยู่เท่าไหร่ ผมจะพยายามไม่นำมาเป็นปัจจัยในการพิจารณาซื้อขายหุ้น แม้ว่ามันอาจจะขัดกับความรู้สึกของเราทุกคนก็ตาม มันก็เป็นเรื่องยากแต่ผมคิดว่าถ้าทำได้จะทำให้เรามีการตัดสินใจในการขายหุ้นที่ดีขึ้นได้ครับ
เนื่องจากการขายหุ้นเป็นเรื่องที่ยากจะตัดสินใจ และการขายหุ้น ณ ราคาสถานการณ์ปัจจุบันที่ดอกเบี้ยเงินฝาก 2% นั้นก็เท่ากับว่าเรามีความเสี่ยงกับการหาหุ้นใหม่ๆ ในการลงทุน หรือที่ผมเคยเขียนในบทความประกอบงานสัมมนา Thaivi คือ reinvestment risk ยิ่งพอร์ตใหญ่ขึ้นความเสี่ยงดังกล่าวก็ยิ่งมาก ดังนั้นในระยะหลังๆ ผมจะพยายามหาหุ้นที่สามารถถือยาวๆ ได้ในระดับ 5-10 ปี และไม่จำเป็นจะต้องขายเล่นรอบเหมือนหุ้นบางกลุ่มที่ขึ้นลงตามตลาด เช่น ธนาคาร หลักทรัพย์ หุ้นวัฎจักรหรือหุ้นเก็งกำไรอื่นๆ
ในหนังสือด้านการลงทุนบางเล่มได้บอกว่า แม้ว่าเราจะเห็นว่าผลตอบแทนดัชนีดาวโจนส์จะสูงมากในรอบ 100 ปีที่ผ่านมา คือ ให้ผลตอบแทนหลายสิบเท่า แต่เชื่อหรือไม่ว่าหากเราพลาดการถือหุ้นเต็มพอร์ตเพียงไม่กี่ปี ผลตอบแทนจะลดลงไปเกินครึ่ง เพราะบางปีดัชนีอาจจะปรับเพิ่มถึง 50-100% และแม้จะมีปรับฐานลงมาบ้างแต่ก็ไม่ลงกลับมาจุดเดิมอีกเลย ยกตัวอย่างหุ้นไทยก็ในช่วงปี 2546 ดังนั้นเรายากที่จะคาดเดาได้ถูกทุกครั้งว่าตลาดหุ้นในแต่ละปีจะเป็นอย่างไรดังนั้นการถือหุ้นเกือบเต็มพอร์ต ( ในช่วงดอกเบี้ยต่ำ 2-3% ) แบบนี้จึงเป็นสิ่งที่ผมคิดว่าเป็นสิ่งที่ไม่เสี่ยงเกินไปนักกับการลงทุนแบบ VI หากเราสามารถเลือกธุรกิจและหุ้นที่เหมาะสม และมีการกระจายความเสี่ยงในจำนวนหุ้นและประเภทอุตสาหกรรมที่เหมาะสม คือ ลงทุนในอุตสาหกรรมที่เรามีความรู้ความเข้าใจอย่างแท้จริง และจำนวนหุ้นไม่มากเกินไปที่จะติดตามข้อมูลไม่ไหว และไม่น้อยเกินไปจนทำให้การลงทุนมีความเสี่ยงกับปัจจัยที่เราควบคุมไม่ได้
หุ้นที่เราควรจะถือลงทุนสำหรับการลงทุนแบบ VI ควรจะเป็นหุ้นที่เราถือแล้วไม่ต้องเฝ้าตลาด ถ้าจะดูราคาหุ้นแต่ละวันก็เป็นสิ่งที่ทำได้ มีคำถามว่า VI ตัวจริงต้องไม่ดูราคาหุ้นหรือไม่ ผมคิดว่าดูได้ไม่เสียหายอะไรถ้าไม่กระทบกระเทือนงานของเรา ราคาหุ้นอาจจะดูได้ระหว่างวันเป็นช่วงๆ หากเรามีเวลา แต่ไม่จำเป็นว่าทุกครั้งที่ดูราคาหุ้นจะต้องมีการสั่งซื้อขาย บางครั้งการดูราคาหุ้นบ่อยๆ ในแง่ VI อาจจะเป็นการฝึกความอดทนต่อความผันผวนของตลาดและราคาหุ้นที่เราถือก็ยังได้ครับ หรือการดูราคาหุ้นก็เป็นการเพิ่มโอกาสการลงทุนในหุ้นบางตัวที่ราคาลดลงมาอย่างรวดเร็วด้วยปัจจัยบางอย่างแต่พื้นฐานไม่เปลี่ยน แต่แน่นอนครับ การไม่ดูราคาหุ้นเป็นเวลา 1 สัปดาห์ หรือ 1 เดือน ก็เป็นสิ่งที่ VI ก็ต้องทำได้เช่นกันครับ เพราะ VI บางท่านอาจจะมีภาระกิจในงานประจำที่ยุ่งมาก เช่น ไปอยู่แท่นขุดเจาะน้ำมัน หรือเป็นนักบินอวกาศ ดังนั้น แม้ว่าการลงทุนทุกรูปแบบก็สามารถสร้างกำไรได้เหมือนกันหากมีความเชี่ยวชาญและมีวินัยการลงทุนที่ดีสำหรับการลงทุนแบบนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นแบบ VI แบบดูเทคนิค ดู fund flow เพราะไม่มีแมวดำแมวขาวในโลกการลงทุน การลงทุนแบบ Buffet หรือ Soros ก็ทำเงินได้เหมือนกัน แต่ข้อดีของการเป็นนักลงทุนแบบ VI อย่างหนึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับการลงทุนแบบอื่นๆ คือ สามารถที่จะไม่ต้องปรับพอร์ตได้เป็นระยะเวลานานพอสมควรหากเราไม่มีเวลา
มีนักลงทุนอายุในวัยใกล้เกษียณคนหนึ่งที่ผันตัวจากการลงทุนแบบนั่งห้องค้าซื้อหุ้นตามคนอื่นๆ และไม่มีความรู้ทางกราฟเท่าที่ควร มาลงทุนโดยซื้อหุ้นตามผม เมื่อเวลาผ่านไปพอสมควร ผมได้ถามว่าตอนนี้ยังถือหุ้นอะไรอยู่บ้าง นักลงทุนท่านนั้นเลยบอกว่าขายหุ้นไปหมดเพราะว่าต้องเดินทางไปเมืองนอกหลายสัปดาห์กลัวว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นระหว่างที่เค้าไม่อยู่เมืองไทยแล้วจะปรับพอร์ตไม่ทัน คือยังติดความคิดแบบตอนที่เล่นในห้องค้าอยู่ว่าต้องซื้อๆ ขายๆ บ่อยๆ แต่เมื่อนักลงทุนท่านนั้นกลับมาก็พบว่าหุ้นบางตัวที่ขายไปแล้วนั้นก็มีราคาสูงกว่าที่ราคาที่ขายไปแล้ว ซึ่งแน่นอนครับ นักลงทุนกว่า 90% ทำใจไม่ค่อยได้ที่จะซื้อหุ้นที่ขายไปแล้วในราคาแพงกว่าที่เดิม ดังนั้นคำถามยอดฮิตของเพื่อนนักลงทุนที่ชอบขายหุ้นก่อนเวลาอันสมควรคือ แล้วหุ้น A B C ที่ขายไปแล้วมันจะลงมาอีกรึเปล่า? ซึ่งเป็นการหาคำตอบที่ผมลำบากใจจริงๆ ครับ หรือคำถามที่ว่า มีหุ้นตัวอื่นอีกมั้ย? มีหุ้นใหม่ๆ อีกมั้ย? แน่นอนครับ การหาหุ้นที่น่าสนใจใหม่ๆ นั้นคงไม่เหมือนแม่ไก่ที่ออกไข่ได้เกือบทุกวันครับ
ดังนั้นการลงทุนแบบ VI นั้นควรจะเลือกหุ้นที่สามารถถือได้ในเกือบทุกสถานการณ์ โดยเฉพาะสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับต่างประเทศแล้วส่งผมมายังบ้านเราโดยที่เป็นระยะเวลาอันสั้น ที่ผ่านมาก็เช่น 911 ระเบิดที่ลอนดอน สงครามสหรัฐกับอิรัก หรือ sub prime หรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในบ้านเราแต่ไม่ทำให้พื้นฐานหุ้นและเศรษฐกิจเปลี่ยนอย่างถาวร เช่น ซึนามิ ไข้หวัดนก เป็นต้น อย่างตอนที่มีระเบิดที่กรุงลอนดอนในปี 2547 นั้นวันที่มีระเบิดนั้นผมเดินทางถึงลอนดอนพอดี และนั่งดูราคาหุ้นตอนปิดตลาดลดลงเกือบทุกวัน แต่ท้ายสุดราคาหุ้นก็กลับมาได้เองเมื่อสถานการณ์เริ่มปกติ ในปีนั้นก็มีนักลงทุนบางคนตกใจขายหุ้นที่ราคาเกือบจะต่ำสุดเพราะความตกใจ เพื่อนนักลงทุนมือใหม่ขี้ตกใจคนหนึ่งไม่สามารถโทรศัพท์ติดต่อผมไม่ได้ขณะผมอยู่ที่ลอนดอนก็ตัดสินใจขายขาดทุนหุ้นตัวหนึงที่ถ้าถือถึงปัจจุบันก็ได้ 2 เท่ากว่าๆ เหตุผลหนึ่งที่ขายไปคงเพราะอาจจะคิดว่าผมจะเสียชีวิตไปแล้วจากเหตุการณ์ระเบิดไปเสียแล้วก็เป็นได้ครับ แต่ตอนนี้เพื่อนนักลงทุนท่านนี้ก็เป็นโรคตกใจน้อยลงแล้วและหมั่นเข้า course อบรม และอ่านหนังสือหาความรู้เพิ่มเติมเป็นระยะแล้วครับ
-------------------------------------------------------------------------------------
คำถามหนึ่งที่อาจจะสงสัยและผมเองก็ยังสงสัยตัวเองว่า แล้วถ้าถือหุ้น 100% แล้วเวลาหุ้นลงมามากๆ จะเอาเงินที่ไหนมาซื้อหุ้น นั่นนะสิครับ
ปกติแล้วผมจะใช้วิธีการขายหุ้นบางตัวและมาซื้อบางตัว ซึ่งตัวที่ขายอาจจะเป็นตัวที่ลงน้อยกว่าหรือมีความน่าสนใจในระยะยาวๆ น้อยกว่า เพราะหากเรากระจายกลุ่มอุตสาหกรรมที่มากพอ จะพบว่าบางกลุ่มอุตสาหกรรมอาจจะมีความผันผวนเทียบกับตลาดมากหรือน้อยกว่าอีกกลุ่มหนึ่ง ทั้งๆ ที่หุ้น 2 ตัวในต่างกลุ่มอาจจะมีความสนใจใกล้เคียงกัน ยกตัวอย่างเช่น ในวันที่ 19 ธ.ค. ผมก็ขายหุ้นบางตัวที่ลงประมาณ 2-5% ไปซื้อหุ้นที่ผมคิดว่ามีพื้นฐานในระยะยาวที่ดีเหมือนกันในราคาที่ลง 25-30% ถ้าเป็นภาษาการลงทุนก็คือ เวลาลงมากๆ เราก็เพิ่ม beta ของ port ของเรานั่นเอง ( คือการขายตัวที่ลงน้อยไปซื้อตัวที่ลงมากๆ )
แต่เทคนิคนี้ถ้าจะทำเราควรจะต้องรู้พื้นฐานของหุ้นตัวที่เรากำลังจะขายและกำลังจะซื้อดีมากพอ เพราะในทุกๆ สถานการณ์ ตัวที่ลงน้อยก็ไม่ใช่ว่าควรขาย และตัวที่ลงมากๆ ก็ไม่ใช่ว่าน่าซื้อทุกตัวครับ
อย่างกรณีวันที่ 19 ธ.ค. หุ้นพื้นฐานดีตัวหนึ่งที่ลงไปติด floor อยู่ช่วงระยะเวลาหนึ่งคือ AP ครับ ราคาลงไปถึง 3.40 บาท
หรือในช่วง 911 หุ้นพื้นฐานอีกตัวหนึ่งที่ราคาลงมามากคือ Tisco คือจาก 15 บาทเหลือ 10 บาท ถ้าเราซื้อ Tisco-c1 แล้วเผื่อเงินไว้แปลงส่วนหนึ่ง จะพบว่า Tisco-c1 ขึ้นจาก 1 บาทเป็น 12 บาทในระยะเวลา 6 เดือนครับ เช่นกันครับ ไม่ใช่ warrant ทุกตัวจะน่าซื้อเมื่อตลาด panic มีเป็นส่วนน้อยเท่านั้นเองครับที่น่าซื้อ
ถือหุ้นที่หลังจากเราลงทุนแล้ว เราเชื่อได้ว่า
1 ผู้บริหารมีความสามารถสูง
2 มีจริยธรรมที่เพียงพอ
3 อยู่ในธุรกิจที่มีศักยภาพในระยะยาว
ผมคิดว่าหุ้นที่ผ่านทั้ง 3 ข้อนี้เราไม่จำเป็นต้องขายเลยก็ได้แม้ว่าราคาจะมีความผันผวนขึ้นๆ ลงๆ อยู่บ้าง หรือแม้ว่าบางปีกำไรอาจจะไม่โตหรือติดลบชั่วครั้งคราวจากปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ ซึ่งทำให้ 1-2 ปีนั้นๆ ราคาหุ้นลดลงมาบ้างหรือราคาหุ้นไม่ไปไหนแต่ตลาดหุ้นขึ้นเรื่อยๆ
บางคนอาจจะถามว่า แล้วถ้ามีข้อ 1 และ 2 แต่ข้อ 3 ไม่ผ่านจะได้หรือไม่ มันก็ขึ้นอยู่กับกรณีครับ ว่าบริษัทที่ว่านั้นสามารถเติบโตด้วยการกินส่วนแบ่งการตลาดจากคนอื่นมาได้หรือไม่ ผมขอยกตัวอย่าง 3 กรณีครับ
1 กรณีของ Phillip Moris ที่ทำบุหรี่ยี่ห้อมาร์โบโร่ นักลงทุนในต่างประเทศส่วนใหญ่จะไม่ได้ลงทุนในหุ้นตัวนี้ด้วย 3 เหตุผลคือ เหตุผลแรกคือเป็นบริษัทที่ผิดศีลธรรมอันดีเพราะทำลายสุขภาพลูกค้า ( ถ้า Phillip Morris อยู่เมืองไทยไม่ได้เข้าตลาดหุ้นแน่นอนครับ ) และเหตุผลที่ 2 คือ กระแสรักษาสุขภาพอาจจะทำให้คนสูบบุหรี่น้อยลง ( ซึ่งภายหลังพบว่าอาจจะไม่จริง ) และเหตุผลที่ 3 คือ Phillip Morris ถูกฟ้องร้องตลอดเวลา แต่ผลก็คือ การคำนวณผลตอบแทนแบบ dividend reinvest คือนำเงินปันผลที่ได้จากหุ้นตัวนั้นมาลงทุนหุ้นตัวเดิม Phillip Moris สามารถสร้างผลตอบแทนได้ top5 ของตลาดหุ้นสหรัฐในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา ด้วยเหตุผลคือคู่แข่งตายไปเยอะ และการห้ามโฆษณาในหลายๆ สื่อเป็นการทำให้คู่แข่งรายใหม่เกิดยากเป็น barrier to entry ในตัวและลดค่าใช้จ่ายการตลาดได้จำนวนมาก การลงทุนเพิ่มก็น้อยทำให้จ่ายปันผลได้สูง ( เมืองไทยก็ห้ามอย่างนี้รู้ไหมว่าคนดื่ม คนสูบเท่าเดิมแต่กำไรของผู้ประกอบการจะดีขึ้น แถมรายการ highlight ฟุตบอลเอาเซ็นเซอร์ไปบังนักฟุตบอลหรือป้ายโฆษณาจนมองไม่เห็นลูกฟุตบอลไปเลยครับ )
2 กรณีของ บ. พฤกษา หรือ PS เห็นได้ชัดเจนว่าตลาดบ้านในระยะ 3-4 ปีที่ผ่านมาแทบไม่เติบโตเลย แต่ PS สามารถสร้างยอดขายเพิ่มขึ้นได้อย่างมากซึ่งเป็นผลจากการได้เปรียบด้านต้นทุนกับคู่แข่งอย่างมาก ดังนั้นการเติบโตของ PS คือความสามารถในการกินส่วนแบ่งการตลาดจากคนอื่นมาได้
3 กรณีของ Aprint ซึ่งทำนิตยสารแพรว บ้านและสวน ชีวจิต Real parenting ฯลฯ แม้ว่าน่าจะผ่านข้อ 1 และ 2 แต่ภาวะตลาดโฆษณาในช่วง 1-2 ปีหลังซบเซามาก รายจ่ายโฆษณาเท่าเดิมในขณะที่นิตยสารหัวใหม่ออกเพิ่มทุกปี Aprint เองก็มีนิตยสารใหม่เช่นกันคือ Real Parenting ซึ่งเป็นแนวคิดที่ดีมากทีเดียว แต่ก็ไม่สามารถกินส่วนแบ่งจากคู่แข่งได้เพราะคู่แข่งมีมากเกินไปและ Aprint ไม่สามารถเจาะไปทุก segment ได้
สำหรับหุ้นที่ไม่ใช่หุ้นวัฎจักร ( ที่ซื้อแล้วต้องหาจังหวะขายแน่นอน ) หุ้นตัวใดตัวหนึ่งผ่านข้อ 1-3 ผมคิดว่าหุ้นตัวนั้นพอจะถือไปได้เรื่อยๆ แม้ราคาหุ้นจะขึ้นมามากแล้ว เพราะหุ้นที่ผู้บริหารดีและเก่ง จะมีเรื่องดีๆ ตามมาเองอยู่เรื่อยๆ สม่ำเสมอ ไม่ว่าการลงทุนใหม่ๆ ที่ดูชาญฉลาด ไม่ว่าจะขยายกำลังการผลิตในธุรกิจเดิม หรือขยายไปยังธุรกิจที่ใกล้เคียงกับของเดิม การจัดการการเงินที่เหมาะสม ฯลฯ หุ้นประเภทนี้น่าซื้อทุกครั้งเมื่อตลาดปรับตัวลงจากเหตุการณ์ที่ชั่วครั้งชั่วคราวและทำให้หุ้นตัวนั้นๆ ปรับลดลงมามากพอ
แต่หุ้นที่แม้ว่าจะมีอัตราส่วนทางการเงินที่สวยงาม เช่น p/bv ต่ำมาก หรือมีเงินสดมาก แต่ไม่ผ่านข้อ 1-2 แล้ว ผมคิดว่าเมื่อเราถือไปเรื่อยๆ จะมีแต่ข่าวไม่ค่อยดีเข้ามามากกว่าข่าวดีๆ การขยับเขยื้อนของผู้บริหารแต่ละครั้งจะดูเหมือนเป็นการทำลายมูลค่าของหุ้นไปเรื่อยๆ เช่น การดำเนินกลยุทธ์ทางธุรกิจที่ไม่เหมาะสม การลงทุนใหม่ๆ ที่ไม่เข้าท่า ผลตอบแทนต่ำหรือเสี่ยงจะขาดทุนสูง ( ซึ่งคนส่วนใหญ่พอรู้แต่ทำไมผู้บริหารไม่รู้? ) การปล่อยกู้บริษัทในเครือ การบริหารการเงินหรือการจ่ายปันผลที่สร้างความผิดหวังกับนักลงทุน การได้ยินคนในวงการธุรกิจนั้นๆ เล่าในสิ่งที่ไม่ดีเกี่ยวกับผู้บริหารหรือการจัดการภายใน ฯลฯ หุ้นประเภทนี้ถ้าเรามีอยู่ควรจะขายทุกครั้งที่หุ้นปรับสูงขึ้นตามรอบของตลาดครับ หรือมีใครหลงผิดมาไล่ราคาหุ้นตัวนั้น ( แบบที่เราอาจจะเคยทำเช่นกัน )
บางคนอาจจะถามว่า แล้วการที่เราเพิ่งมาศึกษาบริษัทต่างๆ มีวิธีคร่าวๆ ที่จะดูว่าบริษัทไหนมีการจัดการด้านการบริหารธุรกิจและบริหารการเงินที่ดีบ้าง ตัวกรองที่ไม่ยากนักคือการดู ROE และ ROA ครับเพราะ
ROA บ่งบอกการใช้ประสิทธิภาพของสินทรัพย์ แต่ละธุรกิจจะมี ROA ไม่เท่ากัน เช่น บางธุรกิจเป็น Asset base อาจจะมี Roa ไม่สูงนัก เช่น โรงแรม ค้าปลีกบางบริษัท บางธุรกิจไม่ต้องใช้ asset จึงมี Roa สูง เช่น หลักทรัพย์ ดังนั้นเราควรเปรียบเทียบ ROA ของหุ้นที่เราสนใจกับหุ้นในธุรกิจเดียวกัน
แต่ก็มีบางธุรกิจที่เป็น asset base และ ROA ไม่สูง และตัวที่ ROA สูงที่สุดก็ยังไม่น่าสนใจเพราะธุรกิจนั้นๆ ต้องใช้เงินลงทุนสูงมาก และการเติบโตจะเกิดขึ้นไม่ได้หากไม่เพิ่มสินทรัพย์ และสินทรัพย์ที่เกิดขึ้นนั้นไม่สามารถทำ securitize หรือการขายออกไปได้ เช่นการออก property fund ทำให้ธุรกิจนี้เมื่อเติบโตถึงจุดหนึ่งต้องเพิ่มทุน ธุรกิจประเภทนี้ได้แก่ ธนาคาร สถาบันการเงินที่ปล่อยสินเชื่อ หุ้นอุตสาหกรรมที่ต้องใช้เงินลงทุนสูง ธุรกิจให้เช่าสินทรัพย์ที่ไม่สามารถ securitize ออกได้ เป็นต้น
ROE บ่งบอกถึงประสิทธิภาพการใช้เงินของผู้ถือหุ้น ROE นี้ไม่ต้องนำไปเปรียบเทียบกับอุตสาหกรรมอื่นๆ เลยครับ ถ้าหุ้นที่มี ROE ต่ำเป็นระยะเวลาติดต่อกันหลายๆ ปีแสดงว่าหุ้นตัวนั้นมีผลตอบแทนในการดำเนินธุรกิจต่ำ หรือ มีการจัดโครงสร้างเงินลงทุนไม่เหมาะสม เช่น มีกำไรค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับยอดขายหรือสินทรัพย์ ( ROA ต่ำหรือ net margin ต่ำ ) มีส่วนของผู้ถือหุ้นมากเกินไปซึ่งเกิดจากการปันผลน้อยเกินกว่าที่ควรจะเป็นทำให้มีเงินสดแช่ในบริษัทจำนวนมาก หรือพอจะขยายแต่ละทีก็เพิ่มทุนมากเกินไปทั้งๆ บางส่วนอาจจะกู้มาได้หากธุรกิจไม่เสี่ยงเกินไป มีหุ้นทำขนมปังตัวหนึ่งธุรกิจดีใช้ได้ทีเดียว และมีความเสี่ยงต่ำมาก แต่เลือกขยายกิจการด้วยการเพิ่มทุนในสัดส่วนที่ค่อนข้างสูงทั้งๆ ที่น่าจะกู้ได้มากกว่านี้ ท้ายสุด EPS เลยถูก dilute และ ROE ก็ลดลง ทำให้หุ้นตัวนี้กลายเป็นหุ้นเกรด B ไปทั้งๆ ที่อาจจะเป็นหุ้นเกรด A และถือยาวๆ ได้ตัวหนึ่งเลยทีเดียวครับ หุ้นประเภทเดียวกับหุ้นขนมปังนี้ยังมีอีกหลายตัวทีเดียวครับ
แต่ก็มีบางบริษัทที่ ROE สูงเพราะใช้โครงสร้างเงินทุนไม่เหมาะสมก็มีครับ คือ ปกติแล้ว ROE จะสัมพันธ์กับ D/E ratio คือถ้า D/E สูงขึ้น ROE จะสูงตาม ดังนั้นบางบริษัที่มี ROE สูงใช้ได้อาจจะมี D/E สูงเกินไปเมื่อเทียบกับความเหมาะสมกับธุรกิจนั้นๆ ได้ครับ ซึ่งเป็นกับดักอย่างหนึ่งเหมือนกัน
อาจจะมีคำถามต่ออีกว่า แล้วธุรกิจแบบไหนใช้ d/e สูงได้ แล้วแบบไหนไม่ควรสูง
HIGH operating risk SHOULD have LOW financial risk
LOW operating risk CAN have HIGHER financial risk
คำแปลก็คือ หุ้นที่มีความเสี่ยงธุรกิจสูงควรมีความเสี่ยงทางการเงินหรือ d/e ต่ำ และหุ้นที่มีความเสี่ยงทางธุรกิจต่ำก็สามารถมีความเสี่ยงทางการเงินหรือ d/e สูงขึ้นได้
หุ้นที่มีความเสี่ยงทางธุรกิจสูงก็คือหุ้นที่มีความไม่แน่นอนของรายได้ในแต่ละปี ประเภทที่ยอดขายในแต่ละต้นปีต้องเริ่มใหม่ที่ 0 หรือมีความไม่แน่นอนของกำไร หรือ margin ซึ่งหุ้นตัวนั้นมีความเสี่ยงสูงจากปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้สูง เช่น ราคาวัตถุดิบ ดินฟ้าอากาศ การเมือง สงคราม หรือการทุ่มตลาดของคู่แข่ง ภาวะ demand supply ในตลาดโลกฯลฯ หุ้นประเภทนี้ควรมี d/e ต่ำ
หุ้นที่มีความเสี่ยงทางธุรกิจต่ำ คือ หุ้นที่มีความแน่นอนของรายได้ในแต่ละปี ซึ่งอาจจะอยู่ในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยที่สำคัญในการดำรงชีวิตของประชาชนที่ไม่สามารถชะลอการซื้อได้นานนัก เช่น อาหาร เครื่องอุปโภคบริโภค การรักษาโรค หรือมีรายได้ที่แน่นอนจากสัญญาต่างๆ ของลูกค้าเช่น การให้เช่า เป็นต้น หุ้นประเภทนี้สามารถมี d/e สูงได้ในระดับหนึ่ง เช่นอาจจะสูงถึง 2 เท่าได้
ส่วนหุ้นที่มีการ mismatch ระหว่าง D/e และ ความเสี่ยงทางธุรกิจที่หลายคนนึกไม่ถึงคือ ธุรกิจธนาคารและสถาบันการเงินที่ปล่อยกู้บุคคล เพราะสินทรัพย์หลักของธุรกิจนี้คือลูกหนี้ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการเสียหายมากหากเศรษฐกิจตกต่ำ สถาบันการเงินจะมีทุน 1 ส่วนและระดมเงินฝากประมาณ 5-9 ส่วนเพื่อปล่อยกู้ประมาณ 6-10 ส่วน ซึ่งเงินฝากธนาคารนั้นถือว่าธนาคารเป็นลูกหนี้ของผู้ฝากเงินซึ่งผู้ฝากเงินจะถอนเมื่อไหร่ก็ได้ ดังนั้นผู้ฝากเงินถือว่าเป็นเจ้าหนี้ที่น่ากลัวเพราะในบางครั้งไม่มีกำหนดที่แน่นอน โดยเฉพาะช่วงเศรษฐกิจตกต่ำหรือมีข่าวการขาดสภาพคล่องของสถาบันการเงิน คือ ช่วงที่ธนาคารต้องการเงินสดหรือสภาพคล่องที่สุดกลับกลายเป็นช่วงที่ผู้ฝากเงินหรือเจ้าหนี้ต้องการถอนเงินออกมากที่สุดเช่นกัน อย่างที่เกิดในบ้านเราในปี 2540-2541 นั่นเอง
การที่ธุรกิจธนาคารมีทุน 1 ส่วนแต่ปล่อยกู้ 6 ถึง 10 ส่วนก็เท่ากับว่าธนาคารและสถาบันการเงินเหล่านี้มี d/e ratio สูงถึง 5-9 เท่าในขณะที่ความเสี่ยงทางธุรกิจก็ค่อนข้างสูง ในขณะที่ roe ก็อยู่ 10-20% ซึ่งไม่ได้สูงกว่าธุรกิจที่มีความเสี่ยงต่ำกว่าหรือ d/e ต่ำกว่ามากนัก ดังนั้นเราจึงเห็นเลยว่า ทำไมหุ้นธนาคารหรือสถาบันการเงินบางแห่งถึงต้องถูกลดทุนเหลือ 0 หรือเพิ่มทุนมหาศาลในช่วงวิกฤติ หรือบางธนาคารตอนนี้แม้ไม่ล้มแต่ต้องเพิ่มทุนซ้ำซากเปลี่ยนผู้ถือหุ้นไปมาอยู่ เพราะการมีทุน 1 บาท แต่ปล่อยกู้ 5-9 บาท ถ้าเงินที่ปล่อยกู้หายไป 2 บาทก็เท่ากับว่าเงินทุนติดลบแล้ว 1 บาททันที หรือที่ใกล้ตัวที่สุดคือ เหตุการณ์ subprime ได้ทำให้กำไรของสถาบันการเงินในสหรัฐและยุโรปลดลงไปมากจากการที่ต้องตั้งสำรองหนี้เสีย ดังนั้นเราจะเห็นว่าการลงทุนในหุ้นสถาบันการเงินในระยะยาวๆ มักจะไม่ค่อยให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่ากับความเสี่ยงและระยะเวลาการรอคอยนัก
ขอจบเรื่อง ขายหุ้นอย่างไรไม่ให้ช้ำใจ ภาคแรกไว้เท่านี้ก่อนนะครับ
http://www.bbznet.com/scripts3/view.php ... c=1&order=
เรื่องการขายหุ้นนั้นเป็นศิลปะที่สำคัญอย่างหนึ่งของการลงทุนครับ ผมคิดว่าไม่มีสูตรตายตัว และการตัดสินใจขายนั้นผมคิดว่ายากกว่าการตัดสินใจซื้อหลายเท่าครับ
การขายหุ้นที่เราลงทุนแต่ละตัวไม่จำเป็นต้องคาดหวังว่าจะขายได้ราคาสูงสุดหรือใกล้เคียงกับราคาสูงสุดที่หุ้นตัวนั้นจะไปถึงครับ เพราะไม่มี VI ที่สามารถทำได้ทุกครั้งแน่นอน ( ถ้าเป็นเจ้ามืออาจจะพอเป็นไปได้บ้าง ) การคิดว่าหุ้นที่เราขายทุกตัวจะต้องลงหลังจากที่เราขายหรือเราจะต้องขายที่ peak นั้นจะทำให้เราเกิดความทุกข์ในการลงทุนซึ่งเป็นความเครียดและส่งผลลบต่อร่างกายและจิตใจอย่างที่ไม่สามารถประเมินความเสียหายได้ครับ และไม่ต้องเสียดายประมาณว่ารู้งี้ถือต่อดีกว่า หรือ รู้งี้ซื้อเยอะกว่านี้ดีกว่า หรือ รู้งี้ . เพราะรู้อะไรไม่สู้รู้งี้หรอกนะครับ ( ยืมคำพูดพี่ Muffin มาครับ )
โดยทั่วไป ผมจะดูหุ้นในพอร์ตเป็นระยะๆ แล้วถามตัวเองว่า ณ ราคาหุ้นปัจจุบัน เราคิดว่าหุ้นตัวนี้ยังน่าสนใจในระยะยาวหรือไม่ หมายความว่า ถ้าไม่มีหุ้นตัวนี้อยู่เลยแล้วต้องซื้อราคานี้ ในระยะยาวจะสามารถให้ผลตอบแทนที่น่าพอใจหรือไม่ ถ้าคำตอบคือใช่ แสดงว่าหุ้นตัวนั้นน่าถือต่อ ไม่สำคัญว่าเราจะได้กำไรมามากน้อยเท่าใด แต่ถ้าคำตอบคือ ไม่ใช่ แสดงว่าหุ้นตัวนั้นควรพิจารณาขาย เช่นกันครับ ไม่สำคัญว่าเราจะได้กำไรหรือขาดทุนมากน้อยก็ตาม
ดังนั้น เรื่องที่ว่าหุ้นตัวนั้นซื้อมาต้นทุนเท่าไหร่ ได้กำไรมาเท่าไหร่หรือกำลังขาดทุนอยู่เท่าไหร่ ผมจะพยายามไม่นำมาเป็นปัจจัยในการพิจารณาซื้อขายหุ้น แม้ว่ามันอาจจะขัดกับความรู้สึกของเราทุกคนก็ตาม มันก็เป็นเรื่องยากแต่ผมคิดว่าถ้าทำได้จะทำให้เรามีการตัดสินใจในการขายหุ้นที่ดีขึ้นได้ครับ
เนื่องจากการขายหุ้นเป็นเรื่องที่ยากจะตัดสินใจ และการขายหุ้น ณ ราคาสถานการณ์ปัจจุบันที่ดอกเบี้ยเงินฝาก 2% นั้นก็เท่ากับว่าเรามีความเสี่ยงกับการหาหุ้นใหม่ๆ ในการลงทุน หรือที่ผมเคยเขียนในบทความประกอบงานสัมมนา Thaivi คือ reinvestment risk ยิ่งพอร์ตใหญ่ขึ้นความเสี่ยงดังกล่าวก็ยิ่งมาก ดังนั้นในระยะหลังๆ ผมจะพยายามหาหุ้นที่สามารถถือยาวๆ ได้ในระดับ 5-10 ปี และไม่จำเป็นจะต้องขายเล่นรอบเหมือนหุ้นบางกลุ่มที่ขึ้นลงตามตลาด เช่น ธนาคาร หลักทรัพย์ หุ้นวัฎจักรหรือหุ้นเก็งกำไรอื่นๆ
ในหนังสือด้านการลงทุนบางเล่มได้บอกว่า แม้ว่าเราจะเห็นว่าผลตอบแทนดัชนีดาวโจนส์จะสูงมากในรอบ 100 ปีที่ผ่านมา คือ ให้ผลตอบแทนหลายสิบเท่า แต่เชื่อหรือไม่ว่าหากเราพลาดการถือหุ้นเต็มพอร์ตเพียงไม่กี่ปี ผลตอบแทนจะลดลงไปเกินครึ่ง เพราะบางปีดัชนีอาจจะปรับเพิ่มถึง 50-100% และแม้จะมีปรับฐานลงมาบ้างแต่ก็ไม่ลงกลับมาจุดเดิมอีกเลย ยกตัวอย่างหุ้นไทยก็ในช่วงปี 2546 ดังนั้นเรายากที่จะคาดเดาได้ถูกทุกครั้งว่าตลาดหุ้นในแต่ละปีจะเป็นอย่างไรดังนั้นการถือหุ้นเกือบเต็มพอร์ต ( ในช่วงดอกเบี้ยต่ำ 2-3% ) แบบนี้จึงเป็นสิ่งที่ผมคิดว่าเป็นสิ่งที่ไม่เสี่ยงเกินไปนักกับการลงทุนแบบ VI หากเราสามารถเลือกธุรกิจและหุ้นที่เหมาะสม และมีการกระจายความเสี่ยงในจำนวนหุ้นและประเภทอุตสาหกรรมที่เหมาะสม คือ ลงทุนในอุตสาหกรรมที่เรามีความรู้ความเข้าใจอย่างแท้จริง และจำนวนหุ้นไม่มากเกินไปที่จะติดตามข้อมูลไม่ไหว และไม่น้อยเกินไปจนทำให้การลงทุนมีความเสี่ยงกับปัจจัยที่เราควบคุมไม่ได้
หุ้นที่เราควรจะถือลงทุนสำหรับการลงทุนแบบ VI ควรจะเป็นหุ้นที่เราถือแล้วไม่ต้องเฝ้าตลาด ถ้าจะดูราคาหุ้นแต่ละวันก็เป็นสิ่งที่ทำได้ มีคำถามว่า VI ตัวจริงต้องไม่ดูราคาหุ้นหรือไม่ ผมคิดว่าดูได้ไม่เสียหายอะไรถ้าไม่กระทบกระเทือนงานของเรา ราคาหุ้นอาจจะดูได้ระหว่างวันเป็นช่วงๆ หากเรามีเวลา แต่ไม่จำเป็นว่าทุกครั้งที่ดูราคาหุ้นจะต้องมีการสั่งซื้อขาย บางครั้งการดูราคาหุ้นบ่อยๆ ในแง่ VI อาจจะเป็นการฝึกความอดทนต่อความผันผวนของตลาดและราคาหุ้นที่เราถือก็ยังได้ครับ หรือการดูราคาหุ้นก็เป็นการเพิ่มโอกาสการลงทุนในหุ้นบางตัวที่ราคาลดลงมาอย่างรวดเร็วด้วยปัจจัยบางอย่างแต่พื้นฐานไม่เปลี่ยน แต่แน่นอนครับ การไม่ดูราคาหุ้นเป็นเวลา 1 สัปดาห์ หรือ 1 เดือน ก็เป็นสิ่งที่ VI ก็ต้องทำได้เช่นกันครับ เพราะ VI บางท่านอาจจะมีภาระกิจในงานประจำที่ยุ่งมาก เช่น ไปอยู่แท่นขุดเจาะน้ำมัน หรือเป็นนักบินอวกาศ ดังนั้น แม้ว่าการลงทุนทุกรูปแบบก็สามารถสร้างกำไรได้เหมือนกันหากมีความเชี่ยวชาญและมีวินัยการลงทุนที่ดีสำหรับการลงทุนแบบนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นแบบ VI แบบดูเทคนิค ดู fund flow เพราะไม่มีแมวดำแมวขาวในโลกการลงทุน การลงทุนแบบ Buffet หรือ Soros ก็ทำเงินได้เหมือนกัน แต่ข้อดีของการเป็นนักลงทุนแบบ VI อย่างหนึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับการลงทุนแบบอื่นๆ คือ สามารถที่จะไม่ต้องปรับพอร์ตได้เป็นระยะเวลานานพอสมควรหากเราไม่มีเวลา
มีนักลงทุนอายุในวัยใกล้เกษียณคนหนึ่งที่ผันตัวจากการลงทุนแบบนั่งห้องค้าซื้อหุ้นตามคนอื่นๆ และไม่มีความรู้ทางกราฟเท่าที่ควร มาลงทุนโดยซื้อหุ้นตามผม เมื่อเวลาผ่านไปพอสมควร ผมได้ถามว่าตอนนี้ยังถือหุ้นอะไรอยู่บ้าง นักลงทุนท่านนั้นเลยบอกว่าขายหุ้นไปหมดเพราะว่าต้องเดินทางไปเมืองนอกหลายสัปดาห์กลัวว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นระหว่างที่เค้าไม่อยู่เมืองไทยแล้วจะปรับพอร์ตไม่ทัน คือยังติดความคิดแบบตอนที่เล่นในห้องค้าอยู่ว่าต้องซื้อๆ ขายๆ บ่อยๆ แต่เมื่อนักลงทุนท่านนั้นกลับมาก็พบว่าหุ้นบางตัวที่ขายไปแล้วนั้นก็มีราคาสูงกว่าที่ราคาที่ขายไปแล้ว ซึ่งแน่นอนครับ นักลงทุนกว่า 90% ทำใจไม่ค่อยได้ที่จะซื้อหุ้นที่ขายไปแล้วในราคาแพงกว่าที่เดิม ดังนั้นคำถามยอดฮิตของเพื่อนนักลงทุนที่ชอบขายหุ้นก่อนเวลาอันสมควรคือ แล้วหุ้น A B C ที่ขายไปแล้วมันจะลงมาอีกรึเปล่า? ซึ่งเป็นการหาคำตอบที่ผมลำบากใจจริงๆ ครับ หรือคำถามที่ว่า มีหุ้นตัวอื่นอีกมั้ย? มีหุ้นใหม่ๆ อีกมั้ย? แน่นอนครับ การหาหุ้นที่น่าสนใจใหม่ๆ นั้นคงไม่เหมือนแม่ไก่ที่ออกไข่ได้เกือบทุกวันครับ
ดังนั้นการลงทุนแบบ VI นั้นควรจะเลือกหุ้นที่สามารถถือได้ในเกือบทุกสถานการณ์ โดยเฉพาะสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับต่างประเทศแล้วส่งผมมายังบ้านเราโดยที่เป็นระยะเวลาอันสั้น ที่ผ่านมาก็เช่น 911 ระเบิดที่ลอนดอน สงครามสหรัฐกับอิรัก หรือ sub prime หรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในบ้านเราแต่ไม่ทำให้พื้นฐานหุ้นและเศรษฐกิจเปลี่ยนอย่างถาวร เช่น ซึนามิ ไข้หวัดนก เป็นต้น อย่างตอนที่มีระเบิดที่กรุงลอนดอนในปี 2547 นั้นวันที่มีระเบิดนั้นผมเดินทางถึงลอนดอนพอดี และนั่งดูราคาหุ้นตอนปิดตลาดลดลงเกือบทุกวัน แต่ท้ายสุดราคาหุ้นก็กลับมาได้เองเมื่อสถานการณ์เริ่มปกติ ในปีนั้นก็มีนักลงทุนบางคนตกใจขายหุ้นที่ราคาเกือบจะต่ำสุดเพราะความตกใจ เพื่อนนักลงทุนมือใหม่ขี้ตกใจคนหนึ่งไม่สามารถโทรศัพท์ติดต่อผมไม่ได้ขณะผมอยู่ที่ลอนดอนก็ตัดสินใจขายขาดทุนหุ้นตัวหนึงที่ถ้าถือถึงปัจจุบันก็ได้ 2 เท่ากว่าๆ เหตุผลหนึ่งที่ขายไปคงเพราะอาจจะคิดว่าผมจะเสียชีวิตไปแล้วจากเหตุการณ์ระเบิดไปเสียแล้วก็เป็นได้ครับ แต่ตอนนี้เพื่อนนักลงทุนท่านนี้ก็เป็นโรคตกใจน้อยลงแล้วและหมั่นเข้า course อบรม และอ่านหนังสือหาความรู้เพิ่มเติมเป็นระยะแล้วครับ
-------------------------------------------------------------------------------------
คำถามหนึ่งที่อาจจะสงสัยและผมเองก็ยังสงสัยตัวเองว่า แล้วถ้าถือหุ้น 100% แล้วเวลาหุ้นลงมามากๆ จะเอาเงินที่ไหนมาซื้อหุ้น นั่นนะสิครับ
ปกติแล้วผมจะใช้วิธีการขายหุ้นบางตัวและมาซื้อบางตัว ซึ่งตัวที่ขายอาจจะเป็นตัวที่ลงน้อยกว่าหรือมีความน่าสนใจในระยะยาวๆ น้อยกว่า เพราะหากเรากระจายกลุ่มอุตสาหกรรมที่มากพอ จะพบว่าบางกลุ่มอุตสาหกรรมอาจจะมีความผันผวนเทียบกับตลาดมากหรือน้อยกว่าอีกกลุ่มหนึ่ง ทั้งๆ ที่หุ้น 2 ตัวในต่างกลุ่มอาจจะมีความสนใจใกล้เคียงกัน ยกตัวอย่างเช่น ในวันที่ 19 ธ.ค. ผมก็ขายหุ้นบางตัวที่ลงประมาณ 2-5% ไปซื้อหุ้นที่ผมคิดว่ามีพื้นฐานในระยะยาวที่ดีเหมือนกันในราคาที่ลง 25-30% ถ้าเป็นภาษาการลงทุนก็คือ เวลาลงมากๆ เราก็เพิ่ม beta ของ port ของเรานั่นเอง ( คือการขายตัวที่ลงน้อยไปซื้อตัวที่ลงมากๆ )
แต่เทคนิคนี้ถ้าจะทำเราควรจะต้องรู้พื้นฐานของหุ้นตัวที่เรากำลังจะขายและกำลังจะซื้อดีมากพอ เพราะในทุกๆ สถานการณ์ ตัวที่ลงน้อยก็ไม่ใช่ว่าควรขาย และตัวที่ลงมากๆ ก็ไม่ใช่ว่าน่าซื้อทุกตัวครับ
อย่างกรณีวันที่ 19 ธ.ค. หุ้นพื้นฐานดีตัวหนึ่งที่ลงไปติด floor อยู่ช่วงระยะเวลาหนึ่งคือ AP ครับ ราคาลงไปถึง 3.40 บาท
หรือในช่วง 911 หุ้นพื้นฐานอีกตัวหนึ่งที่ราคาลงมามากคือ Tisco คือจาก 15 บาทเหลือ 10 บาท ถ้าเราซื้อ Tisco-c1 แล้วเผื่อเงินไว้แปลงส่วนหนึ่ง จะพบว่า Tisco-c1 ขึ้นจาก 1 บาทเป็น 12 บาทในระยะเวลา 6 เดือนครับ เช่นกันครับ ไม่ใช่ warrant ทุกตัวจะน่าซื้อเมื่อตลาด panic มีเป็นส่วนน้อยเท่านั้นเองครับที่น่าซื้อ
ถือหุ้นที่หลังจากเราลงทุนแล้ว เราเชื่อได้ว่า
1 ผู้บริหารมีความสามารถสูง
2 มีจริยธรรมที่เพียงพอ
3 อยู่ในธุรกิจที่มีศักยภาพในระยะยาว
ผมคิดว่าหุ้นที่ผ่านทั้ง 3 ข้อนี้เราไม่จำเป็นต้องขายเลยก็ได้แม้ว่าราคาจะมีความผันผวนขึ้นๆ ลงๆ อยู่บ้าง หรือแม้ว่าบางปีกำไรอาจจะไม่โตหรือติดลบชั่วครั้งคราวจากปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ ซึ่งทำให้ 1-2 ปีนั้นๆ ราคาหุ้นลดลงมาบ้างหรือราคาหุ้นไม่ไปไหนแต่ตลาดหุ้นขึ้นเรื่อยๆ
บางคนอาจจะถามว่า แล้วถ้ามีข้อ 1 และ 2 แต่ข้อ 3 ไม่ผ่านจะได้หรือไม่ มันก็ขึ้นอยู่กับกรณีครับ ว่าบริษัทที่ว่านั้นสามารถเติบโตด้วยการกินส่วนแบ่งการตลาดจากคนอื่นมาได้หรือไม่ ผมขอยกตัวอย่าง 3 กรณีครับ
1 กรณีของ Phillip Moris ที่ทำบุหรี่ยี่ห้อมาร์โบโร่ นักลงทุนในต่างประเทศส่วนใหญ่จะไม่ได้ลงทุนในหุ้นตัวนี้ด้วย 3 เหตุผลคือ เหตุผลแรกคือเป็นบริษัทที่ผิดศีลธรรมอันดีเพราะทำลายสุขภาพลูกค้า ( ถ้า Phillip Morris อยู่เมืองไทยไม่ได้เข้าตลาดหุ้นแน่นอนครับ ) และเหตุผลที่ 2 คือ กระแสรักษาสุขภาพอาจจะทำให้คนสูบบุหรี่น้อยลง ( ซึ่งภายหลังพบว่าอาจจะไม่จริง ) และเหตุผลที่ 3 คือ Phillip Morris ถูกฟ้องร้องตลอดเวลา แต่ผลก็คือ การคำนวณผลตอบแทนแบบ dividend reinvest คือนำเงินปันผลที่ได้จากหุ้นตัวนั้นมาลงทุนหุ้นตัวเดิม Phillip Moris สามารถสร้างผลตอบแทนได้ top5 ของตลาดหุ้นสหรัฐในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา ด้วยเหตุผลคือคู่แข่งตายไปเยอะ และการห้ามโฆษณาในหลายๆ สื่อเป็นการทำให้คู่แข่งรายใหม่เกิดยากเป็น barrier to entry ในตัวและลดค่าใช้จ่ายการตลาดได้จำนวนมาก การลงทุนเพิ่มก็น้อยทำให้จ่ายปันผลได้สูง ( เมืองไทยก็ห้ามอย่างนี้รู้ไหมว่าคนดื่ม คนสูบเท่าเดิมแต่กำไรของผู้ประกอบการจะดีขึ้น แถมรายการ highlight ฟุตบอลเอาเซ็นเซอร์ไปบังนักฟุตบอลหรือป้ายโฆษณาจนมองไม่เห็นลูกฟุตบอลไปเลยครับ )
2 กรณีของ บ. พฤกษา หรือ PS เห็นได้ชัดเจนว่าตลาดบ้านในระยะ 3-4 ปีที่ผ่านมาแทบไม่เติบโตเลย แต่ PS สามารถสร้างยอดขายเพิ่มขึ้นได้อย่างมากซึ่งเป็นผลจากการได้เปรียบด้านต้นทุนกับคู่แข่งอย่างมาก ดังนั้นการเติบโตของ PS คือความสามารถในการกินส่วนแบ่งการตลาดจากคนอื่นมาได้
3 กรณีของ Aprint ซึ่งทำนิตยสารแพรว บ้านและสวน ชีวจิต Real parenting ฯลฯ แม้ว่าน่าจะผ่านข้อ 1 และ 2 แต่ภาวะตลาดโฆษณาในช่วง 1-2 ปีหลังซบเซามาก รายจ่ายโฆษณาเท่าเดิมในขณะที่นิตยสารหัวใหม่ออกเพิ่มทุกปี Aprint เองก็มีนิตยสารใหม่เช่นกันคือ Real Parenting ซึ่งเป็นแนวคิดที่ดีมากทีเดียว แต่ก็ไม่สามารถกินส่วนแบ่งจากคู่แข่งได้เพราะคู่แข่งมีมากเกินไปและ Aprint ไม่สามารถเจาะไปทุก segment ได้
สำหรับหุ้นที่ไม่ใช่หุ้นวัฎจักร ( ที่ซื้อแล้วต้องหาจังหวะขายแน่นอน ) หุ้นตัวใดตัวหนึ่งผ่านข้อ 1-3 ผมคิดว่าหุ้นตัวนั้นพอจะถือไปได้เรื่อยๆ แม้ราคาหุ้นจะขึ้นมามากแล้ว เพราะหุ้นที่ผู้บริหารดีและเก่ง จะมีเรื่องดีๆ ตามมาเองอยู่เรื่อยๆ สม่ำเสมอ ไม่ว่าการลงทุนใหม่ๆ ที่ดูชาญฉลาด ไม่ว่าจะขยายกำลังการผลิตในธุรกิจเดิม หรือขยายไปยังธุรกิจที่ใกล้เคียงกับของเดิม การจัดการการเงินที่เหมาะสม ฯลฯ หุ้นประเภทนี้น่าซื้อทุกครั้งเมื่อตลาดปรับตัวลงจากเหตุการณ์ที่ชั่วครั้งชั่วคราวและทำให้หุ้นตัวนั้นๆ ปรับลดลงมามากพอ
แต่หุ้นที่แม้ว่าจะมีอัตราส่วนทางการเงินที่สวยงาม เช่น p/bv ต่ำมาก หรือมีเงินสดมาก แต่ไม่ผ่านข้อ 1-2 แล้ว ผมคิดว่าเมื่อเราถือไปเรื่อยๆ จะมีแต่ข่าวไม่ค่อยดีเข้ามามากกว่าข่าวดีๆ การขยับเขยื้อนของผู้บริหารแต่ละครั้งจะดูเหมือนเป็นการทำลายมูลค่าของหุ้นไปเรื่อยๆ เช่น การดำเนินกลยุทธ์ทางธุรกิจที่ไม่เหมาะสม การลงทุนใหม่ๆ ที่ไม่เข้าท่า ผลตอบแทนต่ำหรือเสี่ยงจะขาดทุนสูง ( ซึ่งคนส่วนใหญ่พอรู้แต่ทำไมผู้บริหารไม่รู้? ) การปล่อยกู้บริษัทในเครือ การบริหารการเงินหรือการจ่ายปันผลที่สร้างความผิดหวังกับนักลงทุน การได้ยินคนในวงการธุรกิจนั้นๆ เล่าในสิ่งที่ไม่ดีเกี่ยวกับผู้บริหารหรือการจัดการภายใน ฯลฯ หุ้นประเภทนี้ถ้าเรามีอยู่ควรจะขายทุกครั้งที่หุ้นปรับสูงขึ้นตามรอบของตลาดครับ หรือมีใครหลงผิดมาไล่ราคาหุ้นตัวนั้น ( แบบที่เราอาจจะเคยทำเช่นกัน )
บางคนอาจจะถามว่า แล้วการที่เราเพิ่งมาศึกษาบริษัทต่างๆ มีวิธีคร่าวๆ ที่จะดูว่าบริษัทไหนมีการจัดการด้านการบริหารธุรกิจและบริหารการเงินที่ดีบ้าง ตัวกรองที่ไม่ยากนักคือการดู ROE และ ROA ครับเพราะ
ROA บ่งบอกการใช้ประสิทธิภาพของสินทรัพย์ แต่ละธุรกิจจะมี ROA ไม่เท่ากัน เช่น บางธุรกิจเป็น Asset base อาจจะมี Roa ไม่สูงนัก เช่น โรงแรม ค้าปลีกบางบริษัท บางธุรกิจไม่ต้องใช้ asset จึงมี Roa สูง เช่น หลักทรัพย์ ดังนั้นเราควรเปรียบเทียบ ROA ของหุ้นที่เราสนใจกับหุ้นในธุรกิจเดียวกัน
แต่ก็มีบางธุรกิจที่เป็น asset base และ ROA ไม่สูง และตัวที่ ROA สูงที่สุดก็ยังไม่น่าสนใจเพราะธุรกิจนั้นๆ ต้องใช้เงินลงทุนสูงมาก และการเติบโตจะเกิดขึ้นไม่ได้หากไม่เพิ่มสินทรัพย์ และสินทรัพย์ที่เกิดขึ้นนั้นไม่สามารถทำ securitize หรือการขายออกไปได้ เช่นการออก property fund ทำให้ธุรกิจนี้เมื่อเติบโตถึงจุดหนึ่งต้องเพิ่มทุน ธุรกิจประเภทนี้ได้แก่ ธนาคาร สถาบันการเงินที่ปล่อยสินเชื่อ หุ้นอุตสาหกรรมที่ต้องใช้เงินลงทุนสูง ธุรกิจให้เช่าสินทรัพย์ที่ไม่สามารถ securitize ออกได้ เป็นต้น
ROE บ่งบอกถึงประสิทธิภาพการใช้เงินของผู้ถือหุ้น ROE นี้ไม่ต้องนำไปเปรียบเทียบกับอุตสาหกรรมอื่นๆ เลยครับ ถ้าหุ้นที่มี ROE ต่ำเป็นระยะเวลาติดต่อกันหลายๆ ปีแสดงว่าหุ้นตัวนั้นมีผลตอบแทนในการดำเนินธุรกิจต่ำ หรือ มีการจัดโครงสร้างเงินลงทุนไม่เหมาะสม เช่น มีกำไรค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับยอดขายหรือสินทรัพย์ ( ROA ต่ำหรือ net margin ต่ำ ) มีส่วนของผู้ถือหุ้นมากเกินไปซึ่งเกิดจากการปันผลน้อยเกินกว่าที่ควรจะเป็นทำให้มีเงินสดแช่ในบริษัทจำนวนมาก หรือพอจะขยายแต่ละทีก็เพิ่มทุนมากเกินไปทั้งๆ บางส่วนอาจจะกู้มาได้หากธุรกิจไม่เสี่ยงเกินไป มีหุ้นทำขนมปังตัวหนึ่งธุรกิจดีใช้ได้ทีเดียว และมีความเสี่ยงต่ำมาก แต่เลือกขยายกิจการด้วยการเพิ่มทุนในสัดส่วนที่ค่อนข้างสูงทั้งๆ ที่น่าจะกู้ได้มากกว่านี้ ท้ายสุด EPS เลยถูก dilute และ ROE ก็ลดลง ทำให้หุ้นตัวนี้กลายเป็นหุ้นเกรด B ไปทั้งๆ ที่อาจจะเป็นหุ้นเกรด A และถือยาวๆ ได้ตัวหนึ่งเลยทีเดียวครับ หุ้นประเภทเดียวกับหุ้นขนมปังนี้ยังมีอีกหลายตัวทีเดียวครับ
แต่ก็มีบางบริษัทที่ ROE สูงเพราะใช้โครงสร้างเงินทุนไม่เหมาะสมก็มีครับ คือ ปกติแล้ว ROE จะสัมพันธ์กับ D/E ratio คือถ้า D/E สูงขึ้น ROE จะสูงตาม ดังนั้นบางบริษัที่มี ROE สูงใช้ได้อาจจะมี D/E สูงเกินไปเมื่อเทียบกับความเหมาะสมกับธุรกิจนั้นๆ ได้ครับ ซึ่งเป็นกับดักอย่างหนึ่งเหมือนกัน
อาจจะมีคำถามต่ออีกว่า แล้วธุรกิจแบบไหนใช้ d/e สูงได้ แล้วแบบไหนไม่ควรสูง
HIGH operating risk SHOULD have LOW financial risk
LOW operating risk CAN have HIGHER financial risk
คำแปลก็คือ หุ้นที่มีความเสี่ยงธุรกิจสูงควรมีความเสี่ยงทางการเงินหรือ d/e ต่ำ และหุ้นที่มีความเสี่ยงทางธุรกิจต่ำก็สามารถมีความเสี่ยงทางการเงินหรือ d/e สูงขึ้นได้
หุ้นที่มีความเสี่ยงทางธุรกิจสูงก็คือหุ้นที่มีความไม่แน่นอนของรายได้ในแต่ละปี ประเภทที่ยอดขายในแต่ละต้นปีต้องเริ่มใหม่ที่ 0 หรือมีความไม่แน่นอนของกำไร หรือ margin ซึ่งหุ้นตัวนั้นมีความเสี่ยงสูงจากปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้สูง เช่น ราคาวัตถุดิบ ดินฟ้าอากาศ การเมือง สงคราม หรือการทุ่มตลาดของคู่แข่ง ภาวะ demand supply ในตลาดโลกฯลฯ หุ้นประเภทนี้ควรมี d/e ต่ำ
หุ้นที่มีความเสี่ยงทางธุรกิจต่ำ คือ หุ้นที่มีความแน่นอนของรายได้ในแต่ละปี ซึ่งอาจจะอยู่ในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยที่สำคัญในการดำรงชีวิตของประชาชนที่ไม่สามารถชะลอการซื้อได้นานนัก เช่น อาหาร เครื่องอุปโภคบริโภค การรักษาโรค หรือมีรายได้ที่แน่นอนจากสัญญาต่างๆ ของลูกค้าเช่น การให้เช่า เป็นต้น หุ้นประเภทนี้สามารถมี d/e สูงได้ในระดับหนึ่ง เช่นอาจจะสูงถึง 2 เท่าได้
ส่วนหุ้นที่มีการ mismatch ระหว่าง D/e และ ความเสี่ยงทางธุรกิจที่หลายคนนึกไม่ถึงคือ ธุรกิจธนาคารและสถาบันการเงินที่ปล่อยกู้บุคคล เพราะสินทรัพย์หลักของธุรกิจนี้คือลูกหนี้ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการเสียหายมากหากเศรษฐกิจตกต่ำ สถาบันการเงินจะมีทุน 1 ส่วนและระดมเงินฝากประมาณ 5-9 ส่วนเพื่อปล่อยกู้ประมาณ 6-10 ส่วน ซึ่งเงินฝากธนาคารนั้นถือว่าธนาคารเป็นลูกหนี้ของผู้ฝากเงินซึ่งผู้ฝากเงินจะถอนเมื่อไหร่ก็ได้ ดังนั้นผู้ฝากเงินถือว่าเป็นเจ้าหนี้ที่น่ากลัวเพราะในบางครั้งไม่มีกำหนดที่แน่นอน โดยเฉพาะช่วงเศรษฐกิจตกต่ำหรือมีข่าวการขาดสภาพคล่องของสถาบันการเงิน คือ ช่วงที่ธนาคารต้องการเงินสดหรือสภาพคล่องที่สุดกลับกลายเป็นช่วงที่ผู้ฝากเงินหรือเจ้าหนี้ต้องการถอนเงินออกมากที่สุดเช่นกัน อย่างที่เกิดในบ้านเราในปี 2540-2541 นั่นเอง
การที่ธุรกิจธนาคารมีทุน 1 ส่วนแต่ปล่อยกู้ 6 ถึง 10 ส่วนก็เท่ากับว่าธนาคารและสถาบันการเงินเหล่านี้มี d/e ratio สูงถึง 5-9 เท่าในขณะที่ความเสี่ยงทางธุรกิจก็ค่อนข้างสูง ในขณะที่ roe ก็อยู่ 10-20% ซึ่งไม่ได้สูงกว่าธุรกิจที่มีความเสี่ยงต่ำกว่าหรือ d/e ต่ำกว่ามากนัก ดังนั้นเราจึงเห็นเลยว่า ทำไมหุ้นธนาคารหรือสถาบันการเงินบางแห่งถึงต้องถูกลดทุนเหลือ 0 หรือเพิ่มทุนมหาศาลในช่วงวิกฤติ หรือบางธนาคารตอนนี้แม้ไม่ล้มแต่ต้องเพิ่มทุนซ้ำซากเปลี่ยนผู้ถือหุ้นไปมาอยู่ เพราะการมีทุน 1 บาท แต่ปล่อยกู้ 5-9 บาท ถ้าเงินที่ปล่อยกู้หายไป 2 บาทก็เท่ากับว่าเงินทุนติดลบแล้ว 1 บาททันที หรือที่ใกล้ตัวที่สุดคือ เหตุการณ์ subprime ได้ทำให้กำไรของสถาบันการเงินในสหรัฐและยุโรปลดลงไปมากจากการที่ต้องตั้งสำรองหนี้เสีย ดังนั้นเราจะเห็นว่าการลงทุนในหุ้นสถาบันการเงินในระยะยาวๆ มักจะไม่ค่อยให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่ากับความเสี่ยงและระยะเวลาการรอคอยนัก
ขอจบเรื่อง ขายหุ้นอย่างไรไม่ให้ช้ำใจ ภาคแรกไว้เท่านี้ก่อนนะครับ