ทำใจหุ้นไทยซึมถึง พ.ย. วงการฟันธงรอรับที่ 850-820 จุด
โพสต์แล้ว: จันทร์ ต.ค. 22, 2007 9:02 pm
ทำใจหุ้นไทยซึมถึง พ.ย. วงการฟันธงรอรับที่ 850-820 จุด
ทำใจเถิดชาวหุ้น วงการฟันธงดัชนีฯซึมยาวถึงเดือน พ.ย. เหตุถูกตลาดอเมริกากดดัน หลังซับไพร์มป่วนไม่เลิก ชี้รอเก็บช่วง 850-820 จุด ปลอดภัยที่สุด กิมเอ็ง แนะถือหุ้นแค่ 65% ของพอร์ต ด้าน ดีบีเอสวิคเคอร์ส เปิดโผหุ้นพื้นฐานดี P/BV ต่ำ เหมาะซื้อเก็บช่วงตลาดฯผันผวน ฟากหุ้นแบงก์ร่วงระนาว หลังมีข่าวคลังเตรียมขายหุ้น นำเงินเพิ่มทุน TMB
บรรยากาศการลงทุนตลาดหุ้นไทยวันแรกของสัปดาห์ (22 ต.ค.) ดัชนีฯรูดลงตามตลาดหุ้นต่างประเทศ โดยเฉพาะดาวโจนส์ที่ร่วงกว่า 360 จุด เมื่อคืนวันศุกร์ 19 ต.ค. 2550 ซึ่งเป็นวันครบรอบ 20 ปี ของเหตุการณ์ black monday ประกอบกับในช่วงนี้ปัญหาซับไพร์มเริ่มกลับมาป่วนตลาดอเมริกาอีกครั้ง โดยเฉพาะผลกระทบที่เกิดกับบรรดาสถาบันการเงินของสหรัฐที่ประกาศผลการดำเนินงานออกมาแย่กว่าคาด ซึ่งจากการปรับตัวลงแรงของดาวโจนส์ ส่งผลต่อตลาดหุ้นทั่วโลกให้ปรับลดลง รวมถึงดัชนีตลาดหุ้นไทยด้วย
ทั้งนี้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยปิดการซื้อขายวานนี้ (22 ต.ค.) ที่ 860.09 จุด ลดลง 15.74 จุด หรือ 1.80% มูลค่าการซื้อขาย 13,657.58 ล้านบาท โดยนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 488.68 ล้านบาท
eFinanceThai.com รวบรวมความเห็นของเซียนหุ้นหลายค่ายที่ประเมินตรงกันว่าหุ้นไทยน่าจะปรับฐานไปจนถึงเดือน พ.ย. พร้อมกับกลยุมธ์การลงทุนในช่วงต่างชาติกำลังปรับพอร์ตหนีปัญหาซับไพร์ม
**เซียนชี้หุ้นปรับฐานถึง พ.ย.แนะรอเก็บตอน 850-820 จุด
นายรณกฤต สารินวงศ์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ บล.แอ๊ดคินซัน ประเมินดัชนีฯตลาดหลักทรัพย์ น่าจะอยู่ในช่วงของการพักฐานในจนถึงเดือน พ.ย. หลังจากที่สถานการณ์ซับไพร์ม ที่เริ่มกลับเข้ามากระทบตลาดอเมริกาอีกครั้ง ดังนั้นในช่วงนี้นักลงทุนควรหลีกเลี่ยงหุ้นมาร์เก็ตแคปใหญ่ที่เป็นเป้าหมายการขายของนักลงทุนต่างชาติ โดยมองว่าช่วงที่เหมาะจะเก็บหุ้นคือในช่วงสัปดาห์ที่ 3 ของเดือน พ.ย. หรือในระดับแนวรับ 850-820 จุด โดยมองว่าดัชนีฯมีโอกาสที่จะปรับตัวขึ้นแรงในช่วงเดือน ม.ค. หลังจากการเลือกตั้งผ่านพ้นไปแล้ว
ส่วนการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่จะมีขึ้นในวันที่ 30-31 ต.ค. นี้ แม้จะมีการคาดการณ์ว่าเฟดจะลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก 0.50% แค่ประเมินว่าไม่น่าจะส่งผลต่อการลงทุนในตลาดหุ้น เนื่องจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อแก้ไขปัญหาซับไพร์มที่เกิดขึ้น ไม่ได้ทำเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
สอดคล้องกับบทวิเคราะห์ บล.ซีมิโก้ที่ระบุว่า ตลาดยังอยู่ในช่วงพักฐาน ราคาน้ำมันที่ดีดตัวขึ้น และปัญหาวิกฤติสินเชื่อในสหรัฐที่ยังไม่พบจุดจบ ดูจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเติบโตของเศรษฐกิจโลก และผลประกอบการบริษัท จึงทำให้มีการขายทำกำไรเพื่อลดความเสี่ยง และอาจจะชะลอการไหลเข้าของเม็ดเงินลงทุนในระยะสั้น
กลยุทธ์การลงทุนระยะสั้น แนะนำให้ทยอยขายทำกำไรหุ้นที่ปรับตัวขึ้นแรง แล้วรอสะสมกลับเมื่อดัชนีอ่อนตัวบริเวณ 850 จุดแทน เพราะเรายังคงมีมุมมองเชิงบวกต่อการลงทุนในระยะกลาง โดยเฉพาะศักยภาพในการทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนในปี 51 และคงเป้าหมายดัชนีที่ 960 จุด กลุ่มที่น่าสนใจยังคงเป็นกลุ่มพลังงาน (PTTEP, BCP) อสังหาริมทรัพย์ (PS, QH, CK) และกลุ่มธนาคาร (KBANK, BBL, BAY) ซึ่ง upside เพิ่มขึ้นมาก หลังผลการดำเนินงาน 3Q50 สะท้อนการฟื้นตัวต่อเนื่องของผลการดำเนินงานในธุรกิจหลัก
บทวิเคราะห์ระบุว่า การดีดตัวของราคาน้ำมันนับจากนี้ จะมีผลบวกต่อดัชนีน้อยลง เพราะจะแปรเปลี่ยนเป็นความหวาดกลัวว่า ราคาน้ำมันที่สูงขึ้น จะกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจโลก นอกเหนือไปจากวิกฤติในตลาดการเงิน PTT ซึ่งปรับตัวขึ้นมาแล้วกว่า 63% นับตั้งแต่กลางเดือน ส.ค. ยังมีโอกาสอ่อนตัวลงได้ในระยะสั้น เพราะราคายังสูงกว่ามูลค่าตามปัจจัยพื้นฐานที่คำนวณจากราคาตลาดของหุ้นที่อยู่อีกราว 2% และ 5% กรณี NAV ปกติ ควรรอสะสมเมื่อราคาอ่อนตัวต่ำกว่า NAV ที่ 355 บาท
นายชัย จิระเสวีนุประพันธ์ ผู้จัดการฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บล.พัฒนสิน เปิดเผยว่า ในวันพุธนี้ (24 ตุลาคม 2550) คาดว่ามีโอกาสปรับลดลงได้ต่อ เนื่องจากไม่มีปัจจัยบวกใหม่เข้ามาสนับสนุน ขณะเดียวกันนักลงทุนยังคงรอดูผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ในไตรมาสที่ 3/2550 ที่เริ่มทยอยประกาศออกมาแล้ว จึงมีการชะลอการลงทุนเพื่อรอดูปัจจัยดังกล่าวประกอบการลงทุนด้วย จึงทำให้บรรยากาศการลงทุนในระยะนี้คงจะไม่สดใสมากนัก
"ที่ตลาดหุ้นดาวโจนส์ปรับลดลงเป็นเพราะว่าผลประกอบการในหุ้นกลุ่มแบงก์ออกมาย่ำแย่ จึงทำให้นักลงทุนไม่มั่นใจรวมทั้งส่งผลให้ตลาดหุ้นรอบด้านรวมทั้งประเทศไทยได้รับผลกระทบด้วย อีกอย่างปัจจัยนี้ก็ส่งผลต่อจิตวิทยาการลงทุนด้วย" นายชัย กล่าว
ดังนั้นจึงแนะนำให้เลือกซื้อหุ้นในกลุ่มพลังงานและเคมีภัณฑ์ เนื่องจากมีปัจจัยพื้นฐานดี ซึ่งน่าจะปลอดภัยมากที่สุด โดยให้แนวรับ SET Index วันพุธไว้ที่ 850 จุด ให้แนวต้านไว้ที่ 875 จุด
**กิมเอ็งแนะถือหุ้น 65%
ด้านบทวิเคราะห์ บล.กิมเอ็ง (ประเทศไทย) แนะนำกลยุทธ์การจัดพอร์ตลงทุน โดยระบุว่า เรายังคงสัดส่วนการลงทุนในหุ้นที่ 65% ของพอร์ตการลงทุนรวม โดยแรงเทขายต่อปัจจัยความเสี่ยงในตลาดหุ้นสหรัฐฯ จะช่วยเพิ่มโอกาสในการปรับตัวขึ้นของตลาดหุ้นไทยและทำให้น่าเข้าเก็บสะสมหุ้นต่อเพื่อรอการปรับตัวขึ้นของตลาดในช่วงปลายปี
สัดส่วน(%) หุ้นหลัก
เงินสด 35%
หุ้นขนาดใหญ่ 20% PTT, ADVANC, KBANK และ BBL
หุ้นไวต่อดัชนี 19% BAY, TOP, DTAC, ASP, BLS และ BSEC
หุ้นมีประเด็น 20% SAT, MCOT, HANA, CPF, STEC, MAJOR, THAI,
BEC และ SPALI
หุ้นขนาดเล็ก 6% OISHI, MCS, TRC, MFEC, TOG, TPC, NNCL และ KCE
ทั้งนี้ให้หุ้นน่าจับตา ได้แก่ BEC และ MCOT โดยคาดว่าราคาหุ้นจะได้ปรับประโยชน์จากการเข้าสู่ช่วงหาเสียงและฤดูกาลใช้จ่ายในช่วงไตรมาส 4/50 โดยราคาเหมาะสมของเราคือ 25 และ 36 บาทตามลำดับ
**ดีบีเอสฯเปิดโผหุ้นหุ้นพื้นฐานดี-P/BV ต่ำ
ด้านบทวิเคราะห์ บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส (ประเทศไทย) ระบุว่า ตลาดในช่วงนี้อาจจะผันผวน เนื่องจาก 1) ดัชนีได้ทำ New High ไปแล้ว ซึ่งมีโอกาสที่จะมีการปรับฐานตามมา, 2) สหรัฐประกาศผลประกอบการ 3Q50 ซึ่งจะเห็นผลกระทบจากวิกฤติซับไพร์มชัดเจนขึ้น, 3) ราคาน้ำมันดิบที่ทะยานขึ้นแรงเป็นลบกับภาพเศรษฐกิจโดยรวม และ 4) มีความเห็นที่ไม่ชัดเจนต่อทิศทางอัตราดอกเบี้ยของเฟดในการประชุมปลายเดือนต.ค.นี้
ในสัปดาห์นี้เราจึงวิเคราะห์หาหุ้นใน DBSV Coverage ที่มี P/BV ต่ำ แต่มีธุรกิจมั่นคง และนักวิเคราะห์ยังแนะนำให้ซื้อลงทุน ซึ่งเรามองว่าหุ้นลักษณะนี้น่าจะเป็น Valued Play ได้
หุ้นที่มี PBV ต่ำกว่าถึงเท่ากับ 1.0 เท่า ที่ทีมกลยุทธ์เห็นว่าน่าสนใจซื้อลงทุน ประกอบด้วย SYNTEC, SIRI, SPF, CPF, TSTH
ส่วนอีกกลุ่มที่มี PBV อยู่ในช่วง 1.1-1.5 เท่า และมีปัจจัยพื้นฐานที่โดดเด่น ได้แก่ BECL, KTB, BBL, MCS และ PRIN
**หุ้นแบงก์ไม่ฟื้น หลังมีข่าวคลังเล็งโละหุ้นหาเงินเพิ่มทุน TMB
ผู้สื่อข่าวรายงานความเคลื่อนไหวราคาหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาราคาปรับตัวลดลงถ้วนหน้า โดยเฉพาะหุ้น BBL-SCB-KTB ที่มีข่าวว่ากระทรวงการคลังจะขายหุ้นออกมาเพื่อนำเงินไปเพิ่มทุนใน TMB จำนวน 7,000 ล้านบาทนั้น จากการสำรวจหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ที่กระทรวงการคลังถือหุ้นอยู่ มีทั้งหมด 3 ธนาคาร ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB และธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)หรือ KTB ซึ่งหากขายหุ้นธนาคารทั้ง 3 แห่งนี้ จะทำให้ได้เงินรวมทั้งสิ้น 6,297 ล้านบาท แบ่งเป็น
1.BBL จำนวน 1.79% หรือ 34,134,380 หุ้น (ณ 11 ก.ย.50)หากคิดราคาในกระดานของ BBL ที่ 120 บาท จะได้เงินทั้งสิ้น 4,096 ล้านบาท 2. ถือใน KTB (ผ่านแบงก์
ออมสิน)0.79% หรือ 88,145,858 หุ้น (ณ 9 เม.ย.50)หากขายไปที่ราคา 11 บาทต่อหุ้น จะได้เงิน 969 ล้านบาท 3. SCB 0.80% หรือ 15,214,380 หุ้น (18 เม.ย.50) หากขายไปที่ราคา 81 บาท ต่อหุ้น จะได้เงินมาทั้งสิ้น 1,232 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 6,297 ล้านบาท
ส่วนเงินที่ยังขาดอีกเพียงเล็กน้อย กระทรวงการคลังอาจจะตัดขายหุ้นบางส่วนที่ถืออยู่ในรัฐวิสาหกิจหลายแห่ง ซึ่งจากการสำรวจของ eFinanceThai.com พบว่า กระทรวงการคลังถือหุ้นใหญ่ในรัฐวิสาหกิจหลายบริษัท แต่ที่ถือมากสุดใน 4 บริษัท เรียงตามลำดับ ได้แก่ 1.บมจ.ท่าอากาศยานไทย (AOT)จำนวน 1,000,000,000 หุ้น หรือ 70% (ณ 5 ม.ค.50) ซึ่งราคาปัจจุบันของ AOT อยู่ที่ประมาณ 62 บาท/หุ้น 2.บมจ.อสมท ( MCOT) จำนวน 452,134,022 หุ้น หรือ 65.80% (ณ 28 ส.ค.50)โดยราคาในกระดานของ MCOT อยู่ที่ประมาณ 30.25 บาท/หุ้น 3.บมจ.การบินไทย( THAI)จำนวน 913,407,726 หุ้น หรือ 53.76% (ณ 10 ม.ค.50)ส่วนราคาของ THAI อยู่ที่ประมาณ 41บาท/หุ้น และ4.บมจ.ปตท.( PTT)จำนวน 1,467,750,743 หุ้น หรือ 52.17% (ณ 20 ก.ย.50) และราคาปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 372 บาท/หุ้น
ด้านนายภูวดล ลาภอุดมสุข ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน สายงานวิจัย บล.เอเซียพลัส กล่าวว่า คาดว่าหุ้นกลุ่มแบงก์จะปรับลดลงรับข่าวที่กระทรวงการคลังเตรียมจะขายหุ้นแบงก์ออก ซึ่งเป็นการสะท้อนด้านจิตวิทยาให้ทราบว่ากระทรวงการคลังจะขายออกมาแล้ว หากนักลงทุนที่มองว่าหุ้นแบงก์ยังมีพื้นฐานดีก็สามารถถือลงทุนต่อได้ ดังนั้น กลยุทธ์การลงทุนหุ้นแบงก์ นักลงทุนจะต้องรอให้แต่ละตัวรีบาวน์ 3% ขึ้นไป ถึงจะเป็นจังหวะที่ควรขายออก
ราคาหุ้น BBL ปิดการซื้อขายที่ 117 บาท ลดลง 2 บาท หรือ 1.68% มูลค่าการซื้อขาย 598.85 ล้านบาท SCB ปิดที่ 79 บาท ลดลง 2 บาท หรือ 2.47% มูลค่าการซื้อขาย 228.62 ล้านบาท และ KTB ปิดที่ 10.70 บาท ลดลง 0.20 บาท หรือ 1.84% มูลค่าการซื้อขาย 195.86 ล้านบาท
ทำใจเถิดชาวหุ้น วงการฟันธงดัชนีฯซึมยาวถึงเดือน พ.ย. เหตุถูกตลาดอเมริกากดดัน หลังซับไพร์มป่วนไม่เลิก ชี้รอเก็บช่วง 850-820 จุด ปลอดภัยที่สุด กิมเอ็ง แนะถือหุ้นแค่ 65% ของพอร์ต ด้าน ดีบีเอสวิคเคอร์ส เปิดโผหุ้นพื้นฐานดี P/BV ต่ำ เหมาะซื้อเก็บช่วงตลาดฯผันผวน ฟากหุ้นแบงก์ร่วงระนาว หลังมีข่าวคลังเตรียมขายหุ้น นำเงินเพิ่มทุน TMB
บรรยากาศการลงทุนตลาดหุ้นไทยวันแรกของสัปดาห์ (22 ต.ค.) ดัชนีฯรูดลงตามตลาดหุ้นต่างประเทศ โดยเฉพาะดาวโจนส์ที่ร่วงกว่า 360 จุด เมื่อคืนวันศุกร์ 19 ต.ค. 2550 ซึ่งเป็นวันครบรอบ 20 ปี ของเหตุการณ์ black monday ประกอบกับในช่วงนี้ปัญหาซับไพร์มเริ่มกลับมาป่วนตลาดอเมริกาอีกครั้ง โดยเฉพาะผลกระทบที่เกิดกับบรรดาสถาบันการเงินของสหรัฐที่ประกาศผลการดำเนินงานออกมาแย่กว่าคาด ซึ่งจากการปรับตัวลงแรงของดาวโจนส์ ส่งผลต่อตลาดหุ้นทั่วโลกให้ปรับลดลง รวมถึงดัชนีตลาดหุ้นไทยด้วย
ทั้งนี้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยปิดการซื้อขายวานนี้ (22 ต.ค.) ที่ 860.09 จุด ลดลง 15.74 จุด หรือ 1.80% มูลค่าการซื้อขาย 13,657.58 ล้านบาท โดยนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 488.68 ล้านบาท
eFinanceThai.com รวบรวมความเห็นของเซียนหุ้นหลายค่ายที่ประเมินตรงกันว่าหุ้นไทยน่าจะปรับฐานไปจนถึงเดือน พ.ย. พร้อมกับกลยุมธ์การลงทุนในช่วงต่างชาติกำลังปรับพอร์ตหนีปัญหาซับไพร์ม
**เซียนชี้หุ้นปรับฐานถึง พ.ย.แนะรอเก็บตอน 850-820 จุด
นายรณกฤต สารินวงศ์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ บล.แอ๊ดคินซัน ประเมินดัชนีฯตลาดหลักทรัพย์ น่าจะอยู่ในช่วงของการพักฐานในจนถึงเดือน พ.ย. หลังจากที่สถานการณ์ซับไพร์ม ที่เริ่มกลับเข้ามากระทบตลาดอเมริกาอีกครั้ง ดังนั้นในช่วงนี้นักลงทุนควรหลีกเลี่ยงหุ้นมาร์เก็ตแคปใหญ่ที่เป็นเป้าหมายการขายของนักลงทุนต่างชาติ โดยมองว่าช่วงที่เหมาะจะเก็บหุ้นคือในช่วงสัปดาห์ที่ 3 ของเดือน พ.ย. หรือในระดับแนวรับ 850-820 จุด โดยมองว่าดัชนีฯมีโอกาสที่จะปรับตัวขึ้นแรงในช่วงเดือน ม.ค. หลังจากการเลือกตั้งผ่านพ้นไปแล้ว
ส่วนการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่จะมีขึ้นในวันที่ 30-31 ต.ค. นี้ แม้จะมีการคาดการณ์ว่าเฟดจะลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก 0.50% แค่ประเมินว่าไม่น่าจะส่งผลต่อการลงทุนในตลาดหุ้น เนื่องจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อแก้ไขปัญหาซับไพร์มที่เกิดขึ้น ไม่ได้ทำเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
สอดคล้องกับบทวิเคราะห์ บล.ซีมิโก้ที่ระบุว่า ตลาดยังอยู่ในช่วงพักฐาน ราคาน้ำมันที่ดีดตัวขึ้น และปัญหาวิกฤติสินเชื่อในสหรัฐที่ยังไม่พบจุดจบ ดูจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเติบโตของเศรษฐกิจโลก และผลประกอบการบริษัท จึงทำให้มีการขายทำกำไรเพื่อลดความเสี่ยง และอาจจะชะลอการไหลเข้าของเม็ดเงินลงทุนในระยะสั้น
กลยุทธ์การลงทุนระยะสั้น แนะนำให้ทยอยขายทำกำไรหุ้นที่ปรับตัวขึ้นแรง แล้วรอสะสมกลับเมื่อดัชนีอ่อนตัวบริเวณ 850 จุดแทน เพราะเรายังคงมีมุมมองเชิงบวกต่อการลงทุนในระยะกลาง โดยเฉพาะศักยภาพในการทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนในปี 51 และคงเป้าหมายดัชนีที่ 960 จุด กลุ่มที่น่าสนใจยังคงเป็นกลุ่มพลังงาน (PTTEP, BCP) อสังหาริมทรัพย์ (PS, QH, CK) และกลุ่มธนาคาร (KBANK, BBL, BAY) ซึ่ง upside เพิ่มขึ้นมาก หลังผลการดำเนินงาน 3Q50 สะท้อนการฟื้นตัวต่อเนื่องของผลการดำเนินงานในธุรกิจหลัก
บทวิเคราะห์ระบุว่า การดีดตัวของราคาน้ำมันนับจากนี้ จะมีผลบวกต่อดัชนีน้อยลง เพราะจะแปรเปลี่ยนเป็นความหวาดกลัวว่า ราคาน้ำมันที่สูงขึ้น จะกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจโลก นอกเหนือไปจากวิกฤติในตลาดการเงิน PTT ซึ่งปรับตัวขึ้นมาแล้วกว่า 63% นับตั้งแต่กลางเดือน ส.ค. ยังมีโอกาสอ่อนตัวลงได้ในระยะสั้น เพราะราคายังสูงกว่ามูลค่าตามปัจจัยพื้นฐานที่คำนวณจากราคาตลาดของหุ้นที่อยู่อีกราว 2% และ 5% กรณี NAV ปกติ ควรรอสะสมเมื่อราคาอ่อนตัวต่ำกว่า NAV ที่ 355 บาท
นายชัย จิระเสวีนุประพันธ์ ผู้จัดการฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บล.พัฒนสิน เปิดเผยว่า ในวันพุธนี้ (24 ตุลาคม 2550) คาดว่ามีโอกาสปรับลดลงได้ต่อ เนื่องจากไม่มีปัจจัยบวกใหม่เข้ามาสนับสนุน ขณะเดียวกันนักลงทุนยังคงรอดูผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ในไตรมาสที่ 3/2550 ที่เริ่มทยอยประกาศออกมาแล้ว จึงมีการชะลอการลงทุนเพื่อรอดูปัจจัยดังกล่าวประกอบการลงทุนด้วย จึงทำให้บรรยากาศการลงทุนในระยะนี้คงจะไม่สดใสมากนัก
"ที่ตลาดหุ้นดาวโจนส์ปรับลดลงเป็นเพราะว่าผลประกอบการในหุ้นกลุ่มแบงก์ออกมาย่ำแย่ จึงทำให้นักลงทุนไม่มั่นใจรวมทั้งส่งผลให้ตลาดหุ้นรอบด้านรวมทั้งประเทศไทยได้รับผลกระทบด้วย อีกอย่างปัจจัยนี้ก็ส่งผลต่อจิตวิทยาการลงทุนด้วย" นายชัย กล่าว
ดังนั้นจึงแนะนำให้เลือกซื้อหุ้นในกลุ่มพลังงานและเคมีภัณฑ์ เนื่องจากมีปัจจัยพื้นฐานดี ซึ่งน่าจะปลอดภัยมากที่สุด โดยให้แนวรับ SET Index วันพุธไว้ที่ 850 จุด ให้แนวต้านไว้ที่ 875 จุด
**กิมเอ็งแนะถือหุ้น 65%
ด้านบทวิเคราะห์ บล.กิมเอ็ง (ประเทศไทย) แนะนำกลยุทธ์การจัดพอร์ตลงทุน โดยระบุว่า เรายังคงสัดส่วนการลงทุนในหุ้นที่ 65% ของพอร์ตการลงทุนรวม โดยแรงเทขายต่อปัจจัยความเสี่ยงในตลาดหุ้นสหรัฐฯ จะช่วยเพิ่มโอกาสในการปรับตัวขึ้นของตลาดหุ้นไทยและทำให้น่าเข้าเก็บสะสมหุ้นต่อเพื่อรอการปรับตัวขึ้นของตลาดในช่วงปลายปี
สัดส่วน(%) หุ้นหลัก
เงินสด 35%
หุ้นขนาดใหญ่ 20% PTT, ADVANC, KBANK และ BBL
หุ้นไวต่อดัชนี 19% BAY, TOP, DTAC, ASP, BLS และ BSEC
หุ้นมีประเด็น 20% SAT, MCOT, HANA, CPF, STEC, MAJOR, THAI,
BEC และ SPALI
หุ้นขนาดเล็ก 6% OISHI, MCS, TRC, MFEC, TOG, TPC, NNCL และ KCE
ทั้งนี้ให้หุ้นน่าจับตา ได้แก่ BEC และ MCOT โดยคาดว่าราคาหุ้นจะได้ปรับประโยชน์จากการเข้าสู่ช่วงหาเสียงและฤดูกาลใช้จ่ายในช่วงไตรมาส 4/50 โดยราคาเหมาะสมของเราคือ 25 และ 36 บาทตามลำดับ
**ดีบีเอสฯเปิดโผหุ้นหุ้นพื้นฐานดี-P/BV ต่ำ
ด้านบทวิเคราะห์ บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส (ประเทศไทย) ระบุว่า ตลาดในช่วงนี้อาจจะผันผวน เนื่องจาก 1) ดัชนีได้ทำ New High ไปแล้ว ซึ่งมีโอกาสที่จะมีการปรับฐานตามมา, 2) สหรัฐประกาศผลประกอบการ 3Q50 ซึ่งจะเห็นผลกระทบจากวิกฤติซับไพร์มชัดเจนขึ้น, 3) ราคาน้ำมันดิบที่ทะยานขึ้นแรงเป็นลบกับภาพเศรษฐกิจโดยรวม และ 4) มีความเห็นที่ไม่ชัดเจนต่อทิศทางอัตราดอกเบี้ยของเฟดในการประชุมปลายเดือนต.ค.นี้
ในสัปดาห์นี้เราจึงวิเคราะห์หาหุ้นใน DBSV Coverage ที่มี P/BV ต่ำ แต่มีธุรกิจมั่นคง และนักวิเคราะห์ยังแนะนำให้ซื้อลงทุน ซึ่งเรามองว่าหุ้นลักษณะนี้น่าจะเป็น Valued Play ได้
หุ้นที่มี PBV ต่ำกว่าถึงเท่ากับ 1.0 เท่า ที่ทีมกลยุทธ์เห็นว่าน่าสนใจซื้อลงทุน ประกอบด้วย SYNTEC, SIRI, SPF, CPF, TSTH
ส่วนอีกกลุ่มที่มี PBV อยู่ในช่วง 1.1-1.5 เท่า และมีปัจจัยพื้นฐานที่โดดเด่น ได้แก่ BECL, KTB, BBL, MCS และ PRIN
**หุ้นแบงก์ไม่ฟื้น หลังมีข่าวคลังเล็งโละหุ้นหาเงินเพิ่มทุน TMB
ผู้สื่อข่าวรายงานความเคลื่อนไหวราคาหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาราคาปรับตัวลดลงถ้วนหน้า โดยเฉพาะหุ้น BBL-SCB-KTB ที่มีข่าวว่ากระทรวงการคลังจะขายหุ้นออกมาเพื่อนำเงินไปเพิ่มทุนใน TMB จำนวน 7,000 ล้านบาทนั้น จากการสำรวจหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ที่กระทรวงการคลังถือหุ้นอยู่ มีทั้งหมด 3 ธนาคาร ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB และธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)หรือ KTB ซึ่งหากขายหุ้นธนาคารทั้ง 3 แห่งนี้ จะทำให้ได้เงินรวมทั้งสิ้น 6,297 ล้านบาท แบ่งเป็น
1.BBL จำนวน 1.79% หรือ 34,134,380 หุ้น (ณ 11 ก.ย.50)หากคิดราคาในกระดานของ BBL ที่ 120 บาท จะได้เงินทั้งสิ้น 4,096 ล้านบาท 2. ถือใน KTB (ผ่านแบงก์
ออมสิน)0.79% หรือ 88,145,858 หุ้น (ณ 9 เม.ย.50)หากขายไปที่ราคา 11 บาทต่อหุ้น จะได้เงิน 969 ล้านบาท 3. SCB 0.80% หรือ 15,214,380 หุ้น (18 เม.ย.50) หากขายไปที่ราคา 81 บาท ต่อหุ้น จะได้เงินมาทั้งสิ้น 1,232 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 6,297 ล้านบาท
ส่วนเงินที่ยังขาดอีกเพียงเล็กน้อย กระทรวงการคลังอาจจะตัดขายหุ้นบางส่วนที่ถืออยู่ในรัฐวิสาหกิจหลายแห่ง ซึ่งจากการสำรวจของ eFinanceThai.com พบว่า กระทรวงการคลังถือหุ้นใหญ่ในรัฐวิสาหกิจหลายบริษัท แต่ที่ถือมากสุดใน 4 บริษัท เรียงตามลำดับ ได้แก่ 1.บมจ.ท่าอากาศยานไทย (AOT)จำนวน 1,000,000,000 หุ้น หรือ 70% (ณ 5 ม.ค.50) ซึ่งราคาปัจจุบันของ AOT อยู่ที่ประมาณ 62 บาท/หุ้น 2.บมจ.อสมท ( MCOT) จำนวน 452,134,022 หุ้น หรือ 65.80% (ณ 28 ส.ค.50)โดยราคาในกระดานของ MCOT อยู่ที่ประมาณ 30.25 บาท/หุ้น 3.บมจ.การบินไทย( THAI)จำนวน 913,407,726 หุ้น หรือ 53.76% (ณ 10 ม.ค.50)ส่วนราคาของ THAI อยู่ที่ประมาณ 41บาท/หุ้น และ4.บมจ.ปตท.( PTT)จำนวน 1,467,750,743 หุ้น หรือ 52.17% (ณ 20 ก.ย.50) และราคาปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 372 บาท/หุ้น
ด้านนายภูวดล ลาภอุดมสุข ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน สายงานวิจัย บล.เอเซียพลัส กล่าวว่า คาดว่าหุ้นกลุ่มแบงก์จะปรับลดลงรับข่าวที่กระทรวงการคลังเตรียมจะขายหุ้นแบงก์ออก ซึ่งเป็นการสะท้อนด้านจิตวิทยาให้ทราบว่ากระทรวงการคลังจะขายออกมาแล้ว หากนักลงทุนที่มองว่าหุ้นแบงก์ยังมีพื้นฐานดีก็สามารถถือลงทุนต่อได้ ดังนั้น กลยุทธ์การลงทุนหุ้นแบงก์ นักลงทุนจะต้องรอให้แต่ละตัวรีบาวน์ 3% ขึ้นไป ถึงจะเป็นจังหวะที่ควรขายออก
ราคาหุ้น BBL ปิดการซื้อขายที่ 117 บาท ลดลง 2 บาท หรือ 1.68% มูลค่าการซื้อขาย 598.85 ล้านบาท SCB ปิดที่ 79 บาท ลดลง 2 บาท หรือ 2.47% มูลค่าการซื้อขาย 228.62 ล้านบาท และ KTB ปิดที่ 10.70 บาท ลดลง 0.20 บาท หรือ 1.84% มูลค่าการซื้อขาย 195.86 ล้านบาท