ข้อดี เมื่อโลกร้อน หุ้นเรือจะเป็นไง
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ พ.ย. 11, 2007 7:26 am
จากไทยรัฐ
ทางสายใหม่ [9 พ.ย. 50 - 18:49]
ใดๆในโลกย่อมมีทั้งแง่บวกและแง่ลบ เช่นเดียวกับสภาวะโลกร้อน ชาวโลกส่วนใหญ่ ได้รับทราบข้อมูลกันแต่ด้านร้าย รู้ว่าโลกร้อนก่อสภาพอากาศแปรปรวน พายุฝนลมรุนแรงน้ำท่วมดินถล่ม หิมะตกหนัก ร้อนแห้งแล้งบ้าเลือด รวมถึงระดับน้ำทะเลเพิ่มสูง
นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกระบุตรงกัน การเพิ่มระดับของน้ำทะเล สาเหตุหลักมาจากน้ำแข็งขั้วโลกละลายเร็วขึ้นทำให้พื้นที่ลุ่ม และแนวชายฝังทะเลตกอยู่ในสภาพปริ่มน้ำ
แต่ในสิ่งร้ายย่อมมีสิ่งดีแฝงอยู่ด้วยเสมอ การเพิ่มระดับของน้ำทะเลและการละลายของน้ำแข็งขั้วโลกได ้ก่อให้เกิดเส้นทางเดินเรือสายใหม่ ทำให้การไปมาหาสู่กันหรือขนส่งค้าขายระหว่างชาวโลกซีก ตะวันออกกับตะวันตกร่นระยะเวลา และลดค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิงลงไม่น้อย
ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน การเดินเรือจากมหานครนิวยอร์กไปกรุงโตเกียว ต้องใช้เส้นทางมหาสมุทรแอตแลนติก ลัดเลาะลงผ่านคลองปานามา เข้ามหาสมุทรแปซิฟิกแล้วเดินทางข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกถึงกรุงโตเกียว ระยะทางทั้งหมด18,200 กม.
ส่วนการเดินเรือจากกรุงลอนดอนไปกรุงโตเกียว ใช้เส้นทางมหาสมุทรแอตแลนติก ลัดเลาะลงผ่านเข้าทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เข้าคลองสุเอซ ลงมหาสมุทรอินเดีย ผ่านอ้อมช่องแคบมะละกา แล้ววกขึ้นเหนือสู่มหาสมุทรแปซิฟิกถึงกรุงโตเกียว ระยะทางทั้งหมด20,900 กม.
แต่ด้วยอานิสงส์ภูเขาน้ำแข็งขั้วโลกเหนือละลายเพราะโลกร้อน เส้นทางเดินเรือสายใหม่ที่เกิดขึ้นจึงถูกขนานนาม ช่อง ผ่านด้านตะวันตก เฉียงเหนือ คือจากมหานครนิวยอร์ก เปลี่ยนเดินทางขึ้นเหนือไปตามมหาสมุทรแอตแลนติก เข้ามหาสมุทรอาร์กติกผ่านทะเลแบริ่งออกสู่มหาสมุทรแปซิฟิก ข้ามฟากถึงกรุงโตเกียว ระยะทางทั้งหมด 14,000 กม. ...ใกล้กว่าเส้นทางเดินเรือสายเดิม 4,200 กม.
ส่วนเส้นทางเดินเรือสายใหม่จากกรุงลอนดอนไปกรุงโตเกียว ถูกขนานนาม ช่องผ่านด้านตะวันออกเฉียงเหนือ ออกจากกรุงลอนดอนมุ่งขึ้น เหนือสู่มหาสมุทรอาร์กติก ผ่านทะเลแบริ่งและทวีปอเมริกาเหนือ ผ่านรัสเซีย ออกมหาสมุทรแปซิฟิก ลัดเลาะลงมาตามแนวคาบสมุทรคัมชัตกา ถึงกรุงโตเกียว ระยะทาง13,000 กม. ... ใกล้กว่าเส้นทางเดินเรือสายเก่า 7,900กม.
เส้นทางเดินเรือสายใหม่ที่ทั้งใกล้กว่าและประหยัดกว่า เชื่อแน่ว่าจะถูกใช้เดินเรือกันอย่างกว้างขวางในอีกไม่กี่สิบปีข้างหน้า
แต่ปัญหาใหม่ที่กำลังเกิดขึ้นในยุคน้ำแข็งขั้วโลกเหนือละลาย คือการแย่งชิงอาณาเขตและทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แหล่งพลังงาน อันถือเป็นความท้าทายมวลมนุษยชาติในยุคศตวรรษที่ 21.
ทางสายใหม่ [9 พ.ย. 50 - 18:49]
ใดๆในโลกย่อมมีทั้งแง่บวกและแง่ลบ เช่นเดียวกับสภาวะโลกร้อน ชาวโลกส่วนใหญ่ ได้รับทราบข้อมูลกันแต่ด้านร้าย รู้ว่าโลกร้อนก่อสภาพอากาศแปรปรวน พายุฝนลมรุนแรงน้ำท่วมดินถล่ม หิมะตกหนัก ร้อนแห้งแล้งบ้าเลือด รวมถึงระดับน้ำทะเลเพิ่มสูง
นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกระบุตรงกัน การเพิ่มระดับของน้ำทะเล สาเหตุหลักมาจากน้ำแข็งขั้วโลกละลายเร็วขึ้นทำให้พื้นที่ลุ่ม และแนวชายฝังทะเลตกอยู่ในสภาพปริ่มน้ำ
แต่ในสิ่งร้ายย่อมมีสิ่งดีแฝงอยู่ด้วยเสมอ การเพิ่มระดับของน้ำทะเลและการละลายของน้ำแข็งขั้วโลกได ้ก่อให้เกิดเส้นทางเดินเรือสายใหม่ ทำให้การไปมาหาสู่กันหรือขนส่งค้าขายระหว่างชาวโลกซีก ตะวันออกกับตะวันตกร่นระยะเวลา และลดค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิงลงไม่น้อย
ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน การเดินเรือจากมหานครนิวยอร์กไปกรุงโตเกียว ต้องใช้เส้นทางมหาสมุทรแอตแลนติก ลัดเลาะลงผ่านคลองปานามา เข้ามหาสมุทรแปซิฟิกแล้วเดินทางข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกถึงกรุงโตเกียว ระยะทางทั้งหมด18,200 กม.
ส่วนการเดินเรือจากกรุงลอนดอนไปกรุงโตเกียว ใช้เส้นทางมหาสมุทรแอตแลนติก ลัดเลาะลงผ่านเข้าทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เข้าคลองสุเอซ ลงมหาสมุทรอินเดีย ผ่านอ้อมช่องแคบมะละกา แล้ววกขึ้นเหนือสู่มหาสมุทรแปซิฟิกถึงกรุงโตเกียว ระยะทางทั้งหมด20,900 กม.
แต่ด้วยอานิสงส์ภูเขาน้ำแข็งขั้วโลกเหนือละลายเพราะโลกร้อน เส้นทางเดินเรือสายใหม่ที่เกิดขึ้นจึงถูกขนานนาม ช่อง ผ่านด้านตะวันตก เฉียงเหนือ คือจากมหานครนิวยอร์ก เปลี่ยนเดินทางขึ้นเหนือไปตามมหาสมุทรแอตแลนติก เข้ามหาสมุทรอาร์กติกผ่านทะเลแบริ่งออกสู่มหาสมุทรแปซิฟิก ข้ามฟากถึงกรุงโตเกียว ระยะทางทั้งหมด 14,000 กม. ...ใกล้กว่าเส้นทางเดินเรือสายเดิม 4,200 กม.
ส่วนเส้นทางเดินเรือสายใหม่จากกรุงลอนดอนไปกรุงโตเกียว ถูกขนานนาม ช่องผ่านด้านตะวันออกเฉียงเหนือ ออกจากกรุงลอนดอนมุ่งขึ้น เหนือสู่มหาสมุทรอาร์กติก ผ่านทะเลแบริ่งและทวีปอเมริกาเหนือ ผ่านรัสเซีย ออกมหาสมุทรแปซิฟิก ลัดเลาะลงมาตามแนวคาบสมุทรคัมชัตกา ถึงกรุงโตเกียว ระยะทาง13,000 กม. ... ใกล้กว่าเส้นทางเดินเรือสายเก่า 7,900กม.
เส้นทางเดินเรือสายใหม่ที่ทั้งใกล้กว่าและประหยัดกว่า เชื่อแน่ว่าจะถูกใช้เดินเรือกันอย่างกว้างขวางในอีกไม่กี่สิบปีข้างหน้า
แต่ปัญหาใหม่ที่กำลังเกิดขึ้นในยุคน้ำแข็งขั้วโลกเหนือละลาย คือการแย่งชิงอาณาเขตและทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แหล่งพลังงาน อันถือเป็นความท้าทายมวลมนุษยชาติในยุคศตวรรษที่ 21.