ระหว่าง Quantitative และ Qualitative อะไรสำคัญกว่ากัน
โพสต์แล้ว: จันทร์ มี.ค. 24, 2008 6:17 pm
เข้าใจว่าทั้้งการวิเคราะห์เชิงปริมาณ และ คุณภาพก็สำคัญทั้งสองอย่างครับ
1. การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ ก็สำคัญในแง่ที่จะบอกว่าโมเดลธุรกิจนั้นๆเป็นอย่างไร เราก็มานั่งคิดว่าแบบนี้ๆ ในอนาคตจะสำเร็จหรือไม่ เสี่ยงแค่ไหน ... ทั้งเรื่องอุตสาหกรรมรวม และก็ 5 force ครับ ผมมองว่าแบบนี้เหมือนการมองไปในอนาคต ซึ่งไม่ว่าจะเป็นตัวบริษัทเองหรือ ผู้ลงทุนจริงๆก็ยังไม่มีใครแน่ใจว่าโมเดลที่ทำอยู่จะดีแค่ไหน จะสำเร็จหรือล้มเหลว (ถ้าทุกคนฟันธงว่ามันดีแน่ๆ ก็คงราคาหุ้นคงไปไกล แล้วก็ไม่ต้องคิดมากในการวิเคราะห์)
วิธีนี้มีข้อดีคือง่ายกว่า ใครๆก็พอจะเข้าใจธุรกิจได้ โดยเลือกธุรกิจที่เราพอจะมีความรู้ ข้อดีอีกอย่างก็คือ biz model มันเป็น trend คือใครก็พอจะรู้ แต่การเปลี่ยนแปลงที่ใช้เวลาโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้ามันเป็นสิ่งแวดล้อมที่เราคุ้นเคย เราจะไม่ทันสังเกตว่า trend มันเปลี่ยนไปแล้วครับ กว่าทุกคนจะยอมรับว่า biz model นี้สำเร็จก็ต้องใช้เวลา แล้วคนที่มอง trend ออกตั้งแต่ต้นก็จะได้เปรียบ แต่ก็มีข้อเสียคือมันใช้เวลานี่แหละครับ แล้วก็อีกอย่างมันง่ายเกินไปหรือเปล่า เพราะถ้าใครๆก็ทำความเข้าใจได้ เราจะได้เปรียบได้อย่างไร (ในหนังสือ Lynch ชอบยกตัวอย่าง เด็กอนุบาลทีี่เลือกหุ้นเก่งกว่ากองทุน)
2. ส่วนเชิงปริมาณ ก็นั่งดูงบอย่างละเอียด ชนิดเกาะติดรายไตรมาศ และดูงบปีด้วย โดยนั่งดูวิเคราะห์อย่างละเอียด แกะทุกอย่างออกมาเท่าที่ความรู้บัญชีของเราจะมี แล้วก็บันทึกข้อมูลเปรียบเทียบทั้งการเปลี่ยนแปลง ของบริษัทเองรายไตรมาศ รายปี แลวก็เปรียบเทียบกับคู่แข่งด้วย วิธีนี้ผมเข้าใจว่าเหมือนการดูที่ปัจจุบันครับ แล้วก็อดีตเป็นตัวยืนยันแนวโน้มและความแข็งแกร่งในการทำกำไร
วิธีนี้มีข้อดีคือ การออกแรงดูงบน่าจะทำให้เรากลายเป็นคนส่วนน้อยที่เข้าถึงข้อมูลก่อน และน่าจะได้เปรียบคนที่สนใจงบแค่พื้นๆ และการดูงบยังละเอียดๆ บอกอะไรหลายอย่างมากกว่าความสามารถในการทำกำไร อย่างเช่นกิจกรรมทางการธุรกิจ หรือการลงทุนของบริษัท (ซึ่งบางอย่างผู้บริหารไม่อยากให้ใครรู้ และจะไม่พูด แต่จะไปซ่อนอย่างลึกลับในงบ) แต่ข้อเสียก็ของกา่รวิเคราะปริมาณก็คือ ต้องใช้เวลาในการศึกษาบัญชีสำหรับคนไม่มีพื้นครับ และอ่านเป็นแล้วก็ต้องใช้เวลาอีกหลายปีในการเพิ่มทักษะในการอ่าน และอีกอย่างที่สำคัญคือ งบมันบอกแค่อดีตกับปัจจุบัน ถ้าฝ่ายบริหารกำลังปรับเปลี่ยน ปรับปรุง สินค้าหรือบริการ ก็อาจทำให้กำไรเพิ่มหรือลดในอนาคตก็ได้
ผมรู้ว่าถ้าเราเข้าใจสองส่วนอย่างละเอียด ก็น่าจะดีมาก แต่ผมขอสงสัยว่าถ้าเรารู้แค่อันใดอันหนึ่งโดยไม่รู้อีกอันเลย แบบไหนจะประสบความสำเร็จมากกว่ากันครับอย่างเช่น
- นาย A ไม่เคยอ่านงบ รู้คร่าวๆแค่ผลประกอบการกำไรขาดทุน และมีความมั่นคงทางการเงินจากงบ แต่เลือกลงทุน บ. ที่เข้าใจอุตสาหกรรมเป็นอย่างดี ถ้าเป็นอุตสาหกรรมการผลิต ก็รู้ลึกถึงแนวโน้มราคาวัตถุดิบ และคลุกคลีกับงานตนเอง มองเห็นรถบรรทุก ทั้งวัตถุดิบ และสินค้า บริษัทที่ลงทุนวิ่งเข้าๆออก โรงงานอยู่ทุกวัน หรือถ้าลงทุนในธุรกิจค้าปลีก ก็เรียกว่าเป็นแฟนประจำร้านค้า ต้องไปซื้อของทั้งส่วนตัว หรือซื้อเข้าบริษัทเป็นประจำ อย่ืางน้อยทุก 1-2 สัปดาห์ เรียกว่าร้านกำลังปรับปรุง เพิ่มลด การขายสินค้าหมวดไหนก็สังเกตได้หมด แล้วก็จะเิริ่มลงทุนเมื่อเห็น trend ที่ตัวเองติดตามมานานเริ่มเป็นไปอย่างที่คิดไว้
- นาย B เซียนงบ อ่านทะลุปรุโปร่ง แกะงบย้อนหลังไปหลายปี และตามประกบงบล่าสุดชนิดออกที่หน้า web บริษัท ก็ต้อง load มาอ่านเป็นคนแรกในโลก อ่านทะลุชนิดที่ว่า ผู้บริหารซ่อนอะไรไว้ ก็รู้ทันหมด แกะไปจนคาดการณ์กิจกรรมทางธุรกิจได้ว่า บริษัทกำลังจะทำอะไร บอกเหตุผลได้ว่าทำไมรายการนี้เพิ่ม รายการนี้ลด แต่นาย B ไม่อยากรู้ะอะไรเกี่ยวกับ อุตสาหกรรม หรือสินค้าบริการที่ตัวเองลงทุนเลยครับ อย่างเช่นไปลงทุนอุตสาหกรรมการผลิตสักอย่าง ที่ไม่ได้อยู่ใน field การทำงานของตนเอง แล้วก็ไม่เคยรู้ด้วยว่าการผลิตมันทำอย่างไร ใครเป็นลูกค้า ใครเป็น supplier
ป.ล. สมมุติให้ทั้งสองลงทุนแนวคล้ายๆกันนะครับ เรียกว่าเป็นนักลงทุน ไม่ใช่นักเก็งกำไร คือเก็งความสามารถของบริษัทตามแนวทางที่ตนเองรู้ แล้วก็สามารถถือหุ้นได้นานพอๆกัน เพียงแต่ใช้ความสามารถคนละแบบ
อยากทราบว่า นาย A. กับ B. ใครจะประสบความสำเร็จมากกว่ากันครับ หรือไม่รอดทั้งคู่
ขอบคุณสำหรับทุกความเห็นครับ ถ้าความคิดผมแปลกๆก็โปรดชี้แนะด้วย ถือว่าเป็นการให้และเปลี่ยนความรู้กันนะครับ
1. การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ ก็สำคัญในแง่ที่จะบอกว่าโมเดลธุรกิจนั้นๆเป็นอย่างไร เราก็มานั่งคิดว่าแบบนี้ๆ ในอนาคตจะสำเร็จหรือไม่ เสี่ยงแค่ไหน ... ทั้งเรื่องอุตสาหกรรมรวม และก็ 5 force ครับ ผมมองว่าแบบนี้เหมือนการมองไปในอนาคต ซึ่งไม่ว่าจะเป็นตัวบริษัทเองหรือ ผู้ลงทุนจริงๆก็ยังไม่มีใครแน่ใจว่าโมเดลที่ทำอยู่จะดีแค่ไหน จะสำเร็จหรือล้มเหลว (ถ้าทุกคนฟันธงว่ามันดีแน่ๆ ก็คงราคาหุ้นคงไปไกล แล้วก็ไม่ต้องคิดมากในการวิเคราะห์)
วิธีนี้มีข้อดีคือง่ายกว่า ใครๆก็พอจะเข้าใจธุรกิจได้ โดยเลือกธุรกิจที่เราพอจะมีความรู้ ข้อดีอีกอย่างก็คือ biz model มันเป็น trend คือใครก็พอจะรู้ แต่การเปลี่ยนแปลงที่ใช้เวลาโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้ามันเป็นสิ่งแวดล้อมที่เราคุ้นเคย เราจะไม่ทันสังเกตว่า trend มันเปลี่ยนไปแล้วครับ กว่าทุกคนจะยอมรับว่า biz model นี้สำเร็จก็ต้องใช้เวลา แล้วคนที่มอง trend ออกตั้งแต่ต้นก็จะได้เปรียบ แต่ก็มีข้อเสียคือมันใช้เวลานี่แหละครับ แล้วก็อีกอย่างมันง่ายเกินไปหรือเปล่า เพราะถ้าใครๆก็ทำความเข้าใจได้ เราจะได้เปรียบได้อย่างไร (ในหนังสือ Lynch ชอบยกตัวอย่าง เด็กอนุบาลทีี่เลือกหุ้นเก่งกว่ากองทุน)
2. ส่วนเชิงปริมาณ ก็นั่งดูงบอย่างละเอียด ชนิดเกาะติดรายไตรมาศ และดูงบปีด้วย โดยนั่งดูวิเคราะห์อย่างละเอียด แกะทุกอย่างออกมาเท่าที่ความรู้บัญชีของเราจะมี แล้วก็บันทึกข้อมูลเปรียบเทียบทั้งการเปลี่ยนแปลง ของบริษัทเองรายไตรมาศ รายปี แลวก็เปรียบเทียบกับคู่แข่งด้วย วิธีนี้ผมเข้าใจว่าเหมือนการดูที่ปัจจุบันครับ แล้วก็อดีตเป็นตัวยืนยันแนวโน้มและความแข็งแกร่งในการทำกำไร
วิธีนี้มีข้อดีคือ การออกแรงดูงบน่าจะทำให้เรากลายเป็นคนส่วนน้อยที่เข้าถึงข้อมูลก่อน และน่าจะได้เปรียบคนที่สนใจงบแค่พื้นๆ และการดูงบยังละเอียดๆ บอกอะไรหลายอย่างมากกว่าความสามารถในการทำกำไร อย่างเช่นกิจกรรมทางการธุรกิจ หรือการลงทุนของบริษัท (ซึ่งบางอย่างผู้บริหารไม่อยากให้ใครรู้ และจะไม่พูด แต่จะไปซ่อนอย่างลึกลับในงบ) แต่ข้อเสียก็ของกา่รวิเคราะปริมาณก็คือ ต้องใช้เวลาในการศึกษาบัญชีสำหรับคนไม่มีพื้นครับ และอ่านเป็นแล้วก็ต้องใช้เวลาอีกหลายปีในการเพิ่มทักษะในการอ่าน และอีกอย่างที่สำคัญคือ งบมันบอกแค่อดีตกับปัจจุบัน ถ้าฝ่ายบริหารกำลังปรับเปลี่ยน ปรับปรุง สินค้าหรือบริการ ก็อาจทำให้กำไรเพิ่มหรือลดในอนาคตก็ได้
ผมรู้ว่าถ้าเราเข้าใจสองส่วนอย่างละเอียด ก็น่าจะดีมาก แต่ผมขอสงสัยว่าถ้าเรารู้แค่อันใดอันหนึ่งโดยไม่รู้อีกอันเลย แบบไหนจะประสบความสำเร็จมากกว่ากันครับอย่างเช่น
- นาย A ไม่เคยอ่านงบ รู้คร่าวๆแค่ผลประกอบการกำไรขาดทุน และมีความมั่นคงทางการเงินจากงบ แต่เลือกลงทุน บ. ที่เข้าใจอุตสาหกรรมเป็นอย่างดี ถ้าเป็นอุตสาหกรรมการผลิต ก็รู้ลึกถึงแนวโน้มราคาวัตถุดิบ และคลุกคลีกับงานตนเอง มองเห็นรถบรรทุก ทั้งวัตถุดิบ และสินค้า บริษัทที่ลงทุนวิ่งเข้าๆออก โรงงานอยู่ทุกวัน หรือถ้าลงทุนในธุรกิจค้าปลีก ก็เรียกว่าเป็นแฟนประจำร้านค้า ต้องไปซื้อของทั้งส่วนตัว หรือซื้อเข้าบริษัทเป็นประจำ อย่ืางน้อยทุก 1-2 สัปดาห์ เรียกว่าร้านกำลังปรับปรุง เพิ่มลด การขายสินค้าหมวดไหนก็สังเกตได้หมด แล้วก็จะเิริ่มลงทุนเมื่อเห็น trend ที่ตัวเองติดตามมานานเริ่มเป็นไปอย่างที่คิดไว้
- นาย B เซียนงบ อ่านทะลุปรุโปร่ง แกะงบย้อนหลังไปหลายปี และตามประกบงบล่าสุดชนิดออกที่หน้า web บริษัท ก็ต้อง load มาอ่านเป็นคนแรกในโลก อ่านทะลุชนิดที่ว่า ผู้บริหารซ่อนอะไรไว้ ก็รู้ทันหมด แกะไปจนคาดการณ์กิจกรรมทางธุรกิจได้ว่า บริษัทกำลังจะทำอะไร บอกเหตุผลได้ว่าทำไมรายการนี้เพิ่ม รายการนี้ลด แต่นาย B ไม่อยากรู้ะอะไรเกี่ยวกับ อุตสาหกรรม หรือสินค้าบริการที่ตัวเองลงทุนเลยครับ อย่างเช่นไปลงทุนอุตสาหกรรมการผลิตสักอย่าง ที่ไม่ได้อยู่ใน field การทำงานของตนเอง แล้วก็ไม่เคยรู้ด้วยว่าการผลิตมันทำอย่างไร ใครเป็นลูกค้า ใครเป็น supplier
ป.ล. สมมุติให้ทั้งสองลงทุนแนวคล้ายๆกันนะครับ เรียกว่าเป็นนักลงทุน ไม่ใช่นักเก็งกำไร คือเก็งความสามารถของบริษัทตามแนวทางที่ตนเองรู้ แล้วก็สามารถถือหุ้นได้นานพอๆกัน เพียงแต่ใช้ความสามารถคนละแบบ
อยากทราบว่า นาย A. กับ B. ใครจะประสบความสำเร็จมากกว่ากันครับ หรือไม่รอดทั้งคู่
ขอบคุณสำหรับทุกความเห็นครับ ถ้าความคิดผมแปลกๆก็โปรดชี้แนะด้วย ถือว่าเป็นการให้และเปลี่ยนความรู้กันนะครับ