หน้า 1 จากทั้งหมด 2
คิดยังไงกับเรื่องกระจายหุ้น ไฟฟ้า-ประปา เข้าตลาดฯ บ้างครับ
โพสต์แล้ว: พุธ มี.ค. 03, 2004 9:49 am
โดย นายสต็อก
ในฐานะคนหนึ่งที่ใช้บริการน้ำ-ไฟ และสาธารณูปโภคพื้นฐานทั้งหลายของ
รัฐ ผมไม่เห็นด้วยที่มีการกระจายหุ้นออกไป (แม้ผมจะอยากได้หุ้นมาเก็บไว้
แต่ก็เป็น เพียงรายย่อยๆคนหนึ่ง แค่นั้นเอง)
ขอทราบความคิดเห็นของนักลงทุนในบอร์ด หน่อยครับ ว่าคิดเช่นไร...
คิดยังไงกับเรื่องกระจายหุ้น ไฟฟ้า-ประปา เข้าตลาดฯ บ้างครับ
โพสต์แล้ว: พุธ มี.ค. 03, 2004 10:31 am
โดย คนใช้ไฟ
ผมเองไม่ค่อยเห็นด้วยในการเข้าตลาดเช่นกัน
หากนายกมีความสามารถจริง และมีความตั้งใจจริงในการปรับปรุงระบบราชการ
นายกก็ควรต่อสู้ให้ระบบมีความโปร่งใส และมีประสิทธิภาพ
เหมือนกับที่แข็งกร้าวกับยาเสพติดและผู้ก่อการร้าย
ผมไม่รู้ว่าต่างประเทศทำแล้วได้ผลอย่างไร เพราะนั่นไกลเกินกว่าที่ผมจะเข้าใจได้ และผมก็ไม่ค่อยสนใจ
แต่ผมรู้ว่าประเทศไทยมีอีกหลายพื้นที่ๆไม่มีไฟฟ้าน้ำประปาใช้ หากขายออกมาแล้ว คนเหล่านั้นจะมีโอกาสได้ใช้หรือไม่
เพราะธุรกิจที่ไม่คุ้มทุน ใครจะทำ เราจะรู้สึกถึงเหตุนี้หรือไม่ในขณะที่เราไม่เคยเดือดร้อนกับเรื่องนี้
ครับ ก็แล้วแต่ว่าเราคิดว่าประเทศไทยเป็นอะไร
ถ้าเป็นบริษัทจำกัด คนอ่อนแอ ก็ถูกเตะออกจากบริษัท ไม่ได้รับความเหลียวแล นั่นก็เป็นความชอบธรรมในระบบธุรกิจ
ถ้าคิดว่าเป็นครอบครัว ลูกคนไหนอ่อนแอ พ่อแม่ก็ยังต้องช่วย ถึงแม้จะไม่คุ้มค่าก็ตาม
แต่พ่อแม่ที่ฉลาด ย่อมต้องหาทางสร้างให้ลูกๆนั้นพึ่งตนเองได้ ไม่ใช่คอยอุ้มคอยแจกอยู่ร่ำไปให้ลูกงอมืองอเท้า
คิดยังไงกับเรื่องกระจายหุ้น ไฟฟ้า-ประปา เข้าตลาดฯ บ้างครับ
โพสต์แล้ว: พุธ มี.ค. 03, 2004 10:34 am
โดย Jeng
แล้วสต๊อกคิดอย่างไร กับ โทรศัพท์ พื้นฐาน ละครับ
เอากลับไปเป็นแบบเดิมดีมั๊ย
อย่าบอกว่า ไฟฟ้า ประปา กับโทรศัพท์ มันไม่เหมือนกัน
สำหรับพี่แล้ว มันก็เป็น สินค้า หรือ ไม่ก็บริการ ที่ จำเป็นต้อง กระจายให้ทั่วถึง ในราคาที่เหมาะสม
รัฐบาลควรเป็นผู้กำหนดกรอบ
แต่เรื่องการทำให้ได้เป้าหมาย ตามกรอบที่กำหนด ควรเป็นเอกชนครับ
คิดยังไงกับเรื่องกระจายหุ้น ไฟฟ้า-ประปา เข้าตลาดฯ บ้างครับ
โพสต์แล้ว: พุธ มี.ค. 03, 2004 10:50 am
โดย Mon money
ผมชอบพูดตรงๆ ไม่เข้าหูแน่ๆ ขอบอกว่าวันนี้ไปจ่ายค่าไฟมาเห็นพวกพนักงานเตรียมไปชุมนุมกัน ถามพนักงานที่ทำงานอยู่เขาบอกว่า คนกลุ่มนี้มาตอกบัตรแล้วออกไปประท้วง พอหมดเวลางานก็กลับมาตอกบัตรออก สลับเอาพวกที่อยู่กะใหม่ไปประท้วงต่อ ผมถามว่าเขาไม่ทำงานกันหรือ บอกว่าตอนนี้ไม่ทำ แต่กลุ่มที่ทำงานก็ทำกันไป ในofficeผมก็ยังเห็นจับกลุ่มคุยกัน เอาลูกมาเลี้ยง(ปิดเทอม) ฯ มันได้เวลาแล้วหรือยังครับ?
แล้วเงินเดือนที่ผมต้องจ่ายจากค่าไฟนี่ ผมยังคงต้องจ่ายไหม?(จ่ายครับ เพราะยังตอกบัตรอยู่) คนมาประท้วงกันมากมาย เห็นว่าเป็นหมื่น ไม่มีพนักงานเหล่านี้ก็ทำงานกันได้ ผมว่าเราน่าจะประหยัดได้มากเลยนะ เฮ้อ.............
กลับไปทำงานกันเถิดครับ ขอร้อง
คิดยังไงกับเรื่องกระจายหุ้น ไฟฟ้า-ประปา เข้าตลาดฯ บ้างครับ
โพสต์แล้ว: พุธ มี.ค. 03, 2004 10:55 am
โดย champ
[quote="Jeng"]แล้วสต๊อกคิดอย่างไร กับ โทรศัพท์ พื้นฐาน ละครับ
เอากลับไปเป็นแบบเดิมดีมั๊ย
อย่าบอกว่า ไฟฟ้า ประปา กับโทรศัพท์ มันไม่เหมือนกัน
สำหรับพี่แล้ว มันก็เป็น สินค้า หรือ ไม่ก็บริการ ที่ จำเป็นต้อง กระจายให้ทั่วถึง ในราคาที่เหมาะสม
รัฐบาลควรเป็นผู้กำหนดกรอบ
แต่เรื่องการทำให้ได้เป้าหมาย ตามกรอบที่กำหนด ควรเป็นเอกชนครับ[/quote]
ผมว่าพี่เจ๋งมีความคิดคล้ายผมนะครับ
เรื่องโทรศัพท์พื้นฐานนี่
ผมว่าหลายๆคน หลายๆพื้นที่ ถ้าไม่มี TA
ก็คงไม่มีโทรศัพท์ใช้แน่ครับ
ซึ่งมันก็ทำให้เกิดการแข่งขัน
ทำให้องค์การโทรศัพท์ต้องปรับตัวเอง
อย่างแถวนนทบุรี องค์การสมัยก่อนขอโทรศัพท์
ต้องรอกี่ปีครับ เดี๋ยวนี้เราไปขอ TA ไม่มี องค์การก็มีให้
มันแปลกนะครับ สมัยก่อนขอยากเย็นแสนเข็ญ
เดี๋ยวนี้แย่งกันแจกแถมโปรโมชั่นอีกต่างหาก
จะบอกว่าไม่ดีดีมั้ยครับ
ถ้าไฟฟ้า ประปา ให้เอกชนทำแบบ TA
พี่เจ๋งคิดว่า ค่าไฟ ค่าน้ำ จะถูกลงบ้างเปล่าครับ
ผมว่ามันก็คงไม่ถูฏลงหรอกครับ
เพราะว่ามันก็จะต้องมีการตั้งราคาขั้นต่ำไว้อีก
เหมือนค่าบริการโทรศัพท์แหละครับ
แต่ที่สำครัญจะมีการแข่งขันอย่างรุนแรง
ประชาชนจะไม่โดนบังคับเหมือนปัจจุบัน
เราจะมีสิทธิเลือกว่าเราจะใช้อันไหนก็ได้
ไม่ใช่มัดมือชกแบบปัจจุบันนี้ ซึ่งผมมองว่าน่าจะดีกว่าครับ
คิดยังไงกับเรื่องกระจายหุ้น ไฟฟ้า-ประปา เข้าตลาดฯ บ้างครับ
โพสต์แล้ว: พุธ มี.ค. 03, 2004 10:56 am
โดย Jeng
โค้ด: เลือกทั้งหมด
ไม่มีพนักงานเหล่านี้ก็ทำงานกันได้ ผมว่าเราน่าจะประหยัดได้มากเลยนะ เฮ้อ.............
เออจริงๆด้วย ขนาดประท้วงแล้วไฟฟ้ายังมีใช้ แสดงว่า พนักงาน มีเกินจริงๆ
คิดยังไงกับเรื่องกระจายหุ้น ไฟฟ้า-ประปา เข้าตลาดฯ บ้างครับ
โพสต์แล้ว: พุธ มี.ค. 03, 2004 11:25 am
โดย คนใช้ไฟ
ไฟฟ้าน้าประปา กับ โทรศัพท์และไปรษณีย์ต่างกันแน่นอนครับ
ถ้าคุณอยากเปลี่ยนไปใช้ไฟฟ้าเจ้าอื่น คุณจะให้อีกบริษัทมาตั้งเสาไฟฟ้าอีกแท่งหน้าบ้านคุณหรือ
ถ้าคุณไม่พอใจน้ำประปาปัจจุบัน คุณจะขุดท่อเปลี่ยนเจ้าใหม่หรือ
โทรศัพท์ ไม่มีก็ไม่เดือดร้อน (แน่นอนพวกคนเมืองบอกว่าธุรกิจเจ๊งแน่ แต่พวกนั้น มีเงินครับ)
โทรศัพท์ไปรษณีย์ ไม่กระทบถึงทุกคนทุกบ้าน ถึงคนที่ไร้สิทธิ
ผมถึงบอกว่า เมื่อเราคิดเอาเราเป็นมาตราฐาน ผลกระทบอื่นย่อมมองข้าม
เมื่อเรามองเห็นประโยชน์ของตน ผลเสียของคนอื่นเราก็เมินเฉย
ผมไม่ได้บอกว่า การไฟฟ้าไม่ควรปรับปรุง
ราชการ รัฐวิสาหกิจ ทุกแห่งในประเทศไทย ควรปรับปรุงทั้งสิ้น
แต่ไร้หนทางที่จะทำให้ราชการไทยดีขึ้นแล้วหรือ โดยไม่ต้องขาย
หากเป็นเช่นนั้น ก็คงต้องขายทั้งราชการเพื่อให้ประเทศไทยได้เจริญ
คิดยังไงกับเรื่องกระจายหุ้น ไฟฟ้า-ประปา เข้าตลาดฯ บ้างครับ
โพสต์แล้ว: พุธ มี.ค. 03, 2004 11:49 am
โดย ayethebing
ว่าจะไม่เขียนแล้วเจียว อดไม่ได้อะครับ
ประเด็นที่คุณคนใช้ไฟ พูดถึงหลักๆ ก็คือการใช้ไฟฟ้าของชนบทอันห่างไกล
อันนี้คงจะไม่ค่อยเกี่ยวกับ กฟผ เท่าไหร่ คงเป็นเงื่อนไขที่เราต้องไปคุยตอนจะแปรรูป กฟภ. ครับ
ในแง่กฟผ. ตราบใดที่กฟภ. ยังจ่ายเงินซื้อไฟฟ้าจากระบบส่งของกฟผ. เค้าก็ขายให้แน่นอนครับ
ในแง่นี้ รัฐอาจจะยังต้องให้ความช่วยเหลือ ในรูปแบบปัจจุบัน เราไม่รู้เลยว่าค่าไฟตอนนี้ เรา subsidize ให้กับชนบทมากน้อยแค่ไหน มีแต่ความรู้สึกว่าพอเป็นบริษัทแล้วบ้านนอกจะไม่ได้ใช้ไฟ???? บทบาทของรัฐตรงนี้คงจะต้องชัดเจนและคงต้องคุยกันมากๆ ในประเด็นนี้ตอนที่จะแปรรูป การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
ทีนี้ประเด็นอีกอันว่า น้ำประปากับไฟฟ้า เราเลือกไม่ได้ จริงครับ ยิ่งในรูปแบบนี้เรายิ่งเลือกไม่ได้เพราะก็ยังมีผู้เล่นเดิมๆ อยู่คือ กฟผ กฟน และ กฟภ
ในเมืองนอก เค้าเลือกได้เพราะเค้าแยกกันออกไประหว่าง โรงผลิตไฟฟ้าหลายๆ โรงก็เป็นคนละบริษัท ผู้ใช้สามารถเลือกได้ว่าเค้าจะเลือกใช้ไฟของใคร
ผมว่าอันนี้อาจจะเป็น next step ที่ไกลเกินฝันครับ
คิดยังไงกับเรื่องกระจายหุ้น ไฟฟ้า-ประปา เข้าตลาดฯ บ้างครับ
โพสต์แล้ว: พุธ มี.ค. 03, 2004 1:23 pm
โดย คนใช้ไฟ
ความเห็นของคุณ ayethebig นับว่ามีเหตุผล
ตอนนี้ยังสรุปโดยกว้างและยังหาประเด็นใหม่ไม่ได้
แล้วค่อยมาเสวนาต่อ
คิดยังไงกับเรื่องกระจายหุ้น ไฟฟ้า-ประปา เข้าตลาดฯ บ้างครับ
โพสต์แล้ว: พุธ มี.ค. 03, 2004 2:24 pm
โดย toon
ขอออกความเห็นด้วยคนนะครับ
สำหรับความคิดเห็นที่พี่เจ๋ง เปรียบเทียบระหว่าง โทรศัพท์ กับประปาและน้ำ ความจริง ผมว่ามันมีข้อต่างอยู่นะครับ คือสำหรับ โทรศัพท์เมื่อ มี TA เข้ามา มี TT&T เข้ามามันทำให้คล้ายกับมีการแข่งขันเกิดขึ้นในตลาดนะครับ แต่สำหรับการแปรรูปไฟฟ้า และประปา ภายหลังการแปรรูปก็ยังคงเป็นผู้ผูกขาดอยู่นะครับ เพราะอย่างที่คุณ คนใช้ไฟกล่าวไว้ ถึงแม้จะมีผู้แข่งขัน 2 ฝ่าย สมมติว่า ดีลการโอนหุ้นระหว่างบ้านปูกับ กฟผ.สำเร็จก็ตาม แต่หากเราต้องการจะเปลี่ยนการใช้ไฟจาก egcomp ของบ้านปู มาใช้ไฟฟ้าของ ratch เราจะต้องสร้างเสาไฟฟ้าเองเลยหรือ นี่แหละทำให้เกิดการผูกขาด เพราะสาเหตุสายส่งไฟฟ้า ทำให้ช่วงแรกที่จะมีการแปรรูปไฟฟ้า ในสมัย คุณปิยสวัสดิ์ อมรนันท์(ที่ตอนนี้ไปอยู่กับกสิกร) จึงเสนอให้ กฟผ. แยกธุรกิจออกมา หนึ่งในนั้นก็คือ การให้กฟผ. แยกธุรกิจออกเป็นการให้บริการสายส่งโดยเฉพาะ และกำหนดให้โรงไฟฟ้าแต่ละแห่งเป็นของเอกชน (รู้สึกจะเรียกว่า power pool มั้ง) มาแข่งขันกันให้บริการไฟฟ้าโดยที่หากบริษัทไฟฟ้าใด เสนอราคาไฟฟ้าถูก ประชาชนก็สามารถเลือกใช้บริการโรงไฟฟ้านั้นได้ เพราะสายส่งไฟฟ้า ของกฟผ. มีไปทุกบ้านที่มีไฟฟ้าอยู่ แต่ระบบดังกล่าวโรงไฟฟ้าของเอกชนก็มีความเสี่ยงอาจจะเกิดไฟฟ้าดับได้เหมือนอย่างที่กับสหรัฐ ทำให้ระบบดังกล่าวถูกล้มเลิกไปในรัฐบาลนี้ ( ข้อมูลเกี่ยวกับการแปรรูไฟฟ้า ลองหาอ่านที่ ไทยรัฐฉบับวันอาทิตย์ที่ผ่านมานะครับ)
ความเห็นส่วนตัวนะครับ ผมอยากไม่ให้ กฟผ. แปรรูป แต่อยากให้มีการทำงาน
ที่โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ ยกตัวอย่างเช่น ค่า Ft ที่เก็บ มีอยู่วันหนึ่งผมอ่านคอลัม ของคุณลมเปลี่ยนทิศ เขากล่าวว่า เขาได้คุยกับคุณหมอมิ้ง แล้วคุณหมอบอกว่า ได้สั่งเจ้าหน้าที่ไปแกะค่า Ft ว่ามีปัจจัยใดบ้างที่มีผลต่อค่า Ft
ปรากฏแกะมาเป็นปียังไม่สามารถระบุได้ ว่า ค่า Ft ขึ้นอยู่กับปัจจัยใดบ้าง แสดงว่า ค่า Ft มันสลับซับซ้อนมาก ซึ่งประชาชนอย่างเราก็ต้องรับกรรมไปโดยที่ไม่รู้ว่าค่าดังกล่าวบางอย่างที่บวกไปในค่า Ft นั้น เราควรจะต้องร่วมรับผิดชอบหรือไม่
คิดยังไงกับเรื่องกระจายหุ้น ไฟฟ้า-ประปา เข้าตลาดฯ บ้างครับ
โพสต์แล้ว: พุธ มี.ค. 03, 2004 2:46 pm
โดย คนใช้ไฟ
สรุปสุดท้ายคงทิ้งไว้แต่ความห่วงใยเป็นใจความได้ดั่งนี้ครับ
การไฟฟ้าควรจะถูกขายหรือไม่ เป็นคำถามที่น่าสนใจ
เมื่อหลายปีก่อน เมืองไทยเป็นหนี้สินล้นพ้นตัว
ก็มีคนคิดว่าควรจะเอาสมบัติของชาติต่างๆมาขายเพื่อใช้หนี้สินนั้น
ถึงตอนนี้ เรามีฐานะที่ดีขึ้น
การขายสมบัติต่างๆนั้นยังจำเป็นหรือไม่ควรจะต้องนำขึ้นมาคิดกันใหม่หรือไม่
ในขณะที่ EGAT เป็นองค์กรที่ทำกำไรสูง มีศักยภาพที่ดี
สมควรหรือไม่ที่รัฐบาลจะเก็บเอาไว้ เป็นห่านทองคำของตัวเอง
ตอนนี้ที่เห็นอยู่คือทุกคนจ้องตาเป็นมันกับการจะได้หุ้นของ EGAT
(ทั้งหมดละครับ ไม่ว่าคนมีอำนาจในรัฐ คนEGATเอง คนเล่นหุ้น รายใหญ่รายย่อย
ไม่ต้องเกี่ยงกัน งานนี้ มือใครยาวสาวได้สาวเอา - อย่าเถียงเลย)
กรณีของ PTT ผมอยากรู้ว่าถึงวันนี้ มีรายย่อยหรือประชาชนทั่วไปถือหุ้นเหลืออยู่กี่ %
แล้วส่วนใหญ่นั้นตกอยู่ที่มือของผู้ใดหรือ?
ใครๆก็อยากได้ชิ้นส่วนเล็กๆของเค็กชิ้นนี้ ใครๆก็พูดถึงผลประโยชน์ในการแปรรูป
แต่ไม่มีใครคิดจะปรับปรุง สิ่งที่มีอยู่ให้ดีขึ้น หรือว่ามันยากที่จะเยียวยาแล้วหรือ (หรือคิดว่าฉันไม่มีหุ้นเลยไม่สน)
ถ้าเราบอกว่าแปรรูปแล้วจะทำให้กิจการดีขึ้นได้ แล้วทำไมเราไม่ทำเสียแต่ตอนนี้เล่า รออะไรหรือ?
ถ้าคน EGAT บอกรักประเทศจริงจะยอมให้มีการปรับปรุงองค์กรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพหรือไม่?
หาทำสำเร็จแล้ว ค่าไฟจะไม่ถูกลงหรือ? ความรวดเร็วจะไม่เกิดขึ้นหรือ?
ผลดีไม่เกิดแก่ประเทศโดยรวมมากกว่าหรือ?
คิดยังไงกับเรื่องกระจายหุ้น ไฟฟ้า-ประปา เข้าตลาดฯ บ้างครับ
โพสต์แล้ว: พุธ มี.ค. 03, 2004 4:27 pm
โดย นายสต็อก
Jeng เขียน:แล้วสต๊อกคิดอย่างไร กับ โทรศัพท์ พื้นฐาน ละครับ...
คำถามนี้น่าสนใจทีเดียว... 8)
ในฐานะผู้ใช้โทรศัพท์ บ้าน, มือถือ, และ อินเตอร์เน็ต ในการสื่อสารกับคน
อื่นๆ ทั้งในประเทศและต่างแดน ผมเชื่อว่า...
อิสรภาพในการสื่อสารเป็นสิ่งจำเป็นยิ่งสำหรับทุกๆคน โดยเฉพาะพี่น้อง
คนไทย!
ไฟฟ้า - ประปา ยังเป็นการให้บริการกับพี่น้องในเมืองไทย และ ประเทศ
เพื่อนบ้าน (แต่ส่วนใหญ่ ก็คงเป็นพี่น้องคนไทยของเรา)
แต่การสื่อสารนี่เป็นหัวใจสำคัญอย่างหนึ่ง ของพี่น้องคนไทยตั้งแต่ระดับ
รากหญ้าไป จนถึงระดับผู้นำประเทศทีเดียว โดยเฉพาะทางด้านการเมือง
การปกครอง...
ประชาชนทั่วไป หรือ นักลงทุน ไม่ว่าระดับไหนก็คงต้องฟังบทสรุปจาก
เสียงตัวแทนครอบครัวไทยส่วนใหญ่เป็นสำคัญครับ....
คิดยังไงกับเรื่องกระจายหุ้น ไฟฟ้า-ประปา เข้าตลาดฯ บ้างครับ
โพสต์แล้ว: พุธ มี.ค. 03, 2004 8:17 pm
โดย ayethebing
EGAT เป็นห่านทองคำที่ทำรายได้ให้กับรัฐบาล????
ถ้าอย่างนั้นถ้ารัฐบาลไม่อยากได้รายได้อันนี้และอยากได้เงินมาชำระหนี้สาธารณะ ที่ยังมากกว่า 40% ของ GDP (ลดลงมาก็จริงแต่ก็ยังไม่หมดนะครับ) แล้วทำไมถึงไม่ได้ละครับ
ถ้ามองในมุมของทุนนิยมเต็มปรี่แบบประเด็นสร้างรายได้ให้กับรัฐ ผมว่าไม่ต้องไปห่วงรัฐหรอกครับ อย่าลืมว่า EGAT ยังถือโดยกระทรวงการคลังกว่า 50% ส่วนหุ้นที่เหลือได้เงินมา เอามาใช้หนี้ก็ดีนะครับ ดอกเบี้ยจ่ายจะได้น้อยลงและเงินงบประมาณได้มาพัฒนาชาติ
PTT เหลือกี่เปอร์เซนต์ที่ถือในมือประชาชนทั่วไป??? แล้วไงครับ ประชาชนทั่วไปแต่งตั้งตัวแทนไปเป็นผู้บริหารเหรอ ถึงต้องสนใจตรงนี้นะ
EGAT ถ้ายอมให้เพิ่มประสิทธิภาพละก็ จะดีมากเลยครับ ถ้าเค้ายอมปลดคนงานส่วนเกิน (อิอิ มาประท้วงได้ตั้ง เป็นหมื่นคงมีส่วนเกินบ้างละครับ) เงินเดือนและโบนัสตามฐานเงินเดือนและตามความสามารถ ถ้าทำได้ละก็ คงไม่ต้องแปรรูปกระมัง แต่ยอมรับความจริงเถอะครับ ว่ามันทำไม่ได้ถ้าโครงสร้างราชการและกฎระเบียบยังเป็นแบบนี้
ปัญหาของคุณ toon น่าสนใจมากครับ แต่ปัญหาคือถ้าเราพยายามขายโรงไฟฟ้าทีละโรงละก้อ รอไปเถอะครับ แถมยังได้ราคาไม่ดีด้วย เพราะบางโรงเรียกว่าเกือบหมดสภาพแล้ว ทีนี้ก็เลยต้องขายทั้งยวงเลยครับ แต่ผมก็เห็นด้วยนะว่า power pool ดีกว่าแต่ผมว่ามีปัญหาเรื่องการนำปฎิบัติ
ชอบกระทู้นี้ตรงที่พูดกันด้วยเหตุผลและสุภาพครับ
ขอบคุณครับ
คิดยังไงกับเรื่องกระจายหุ้น ไฟฟ้า-ประปา เข้าตลาดฯ บ้างครับ
โพสต์แล้ว: พุธ มี.ค. 03, 2004 9:35 pm
โดย นายสต็อก
ในฐานะคนไทยคนหนึ่ง...
ผมว่าถ้าไม่จนตรอกจริงๆ ก็ไม่อยากให้เอาหุ้น
ไฟฟ้า-ประปา มาขาย
เลยสงสารคนยากคนจน ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ
รายได้จากค่าไฟ - ค่าน้ำ เป็นรายได้ประเภทเสือนอนกิน ใครๆก็อยาก
เป็นเจ้าของเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ในระยะยาวๆกันทั้งนั้น ธุรกิจประเภท
นี้ เป็นรายได้แบบ CASH COW
หุ้นเมื่อกระจายไปแล้ว จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงอะไรก็คงลำบาก!!!
พวกนายทุน กระเป๋าใหญ่ - เล็ก ต่างก็อยากได้ไว้ในครอบครอง ถ้าเป็นไปได้
อยากให้รัฐบาล คิดเรื่องนี้ให้รอบคอบมากๆ อย่าเห็นแก่ประโยชน์ของคนกลุ่ม
น้อย หรือ พวกพ้อง
ถ้าเกิดอะไรผิดพลาดเสียงสาบแช่ง หรือ ด่าตามหลัง มีถึงชั่วลูกชั่วหลาน
ทีเดียว...
ประเทศชาติยังต้องใช้ไฟฟ้า - ประปา อีกนานเท่านาน...
คิดยังไงกับเรื่องกระจายหุ้น ไฟฟ้า-ประปา เข้าตลาดฯ บ้างครับ
โพสต์แล้ว: พุธ มี.ค. 03, 2004 11:05 pm
โดย Mon money
จริงๆแค่อยากระบายอีตอนไปจ่ายค่าไฟวันนี้ที่เห็นพนักงานมาตอกบัตรแล้วขึ้นรถบัส(ที่เอามาจากไหนก็ไม่รู้)ไปประท้วงต่อ เพราะในค่าไฟนั้นแน่นอนต้องมีเงินเดือนพนักงานเหล่านี้รวมอยู่ด้วย
เห็นออกมาอ้างกันว่ากลัวค่าไฟจะขึ้นหากแปรรูปแล้ว ผมบอกง่ายๆเลยหากปัจจัยการผลิตเปลี่ยนค่าไฟเปลี่ยนแน่ๆ และเจ้าปัจจัยที่ว่านี่มีเงินเดือนสวัสดิการพนักงานทั้งหลายรวมอยู่ด้วย ท่านมีการปรับเงินเดือนทุกปีหรือเปล่าครับ ท่านมีการเบิกใช้สวัสดิการหรือเปล่าครับ นั่นแหละครับส่วนหนึ่งของต้นทุน ท่านช่วยกันประหยัดตรงนี้ซิครับค่าไฟไม่ขึ้นแน่นอน ผมเองก็อยากรู้เหมือนกันว่าค่าใช่จ่ายตรงนี้มันเป็นกี่เปอร์เซ็นต็ของต้นทุนทั้งหมด
แปรรูปน่ะดีผมจะถือหุ้นแน่ๆและจะไปประชุมตรวจสอบผู้บรหารทุกปีด้วยขอยืนยัน แดนสนธยาจะได้หมดไปสักที
พี่น้องพนักงานทั้งหลายกลับมาทำงานด่วนครับ และกรุณาหยุดการทำลายสมบัติส่วนรวมและแน่นอนมันเป็นของผมด้วยครับ
ขอบพระคุณล่วงหน้า
คิดยังไงกับเรื่องกระจายหุ้น ไฟฟ้า-ประปา เข้าตลาดฯ บ้างครับ
โพสต์แล้ว: พุธ มี.ค. 03, 2004 11:35 pm
โดย ayethebing
คุณ มนครับ นอกจากเวลาที่เค้าไม่ประท้วง เค้าจะทำงานเต็มประสิทธิภาพหรือเปล่า อันนี้น่าคิดนะ
ผมว่าคนที่ขยันขันแข็ง เก่งๆ พอไปอยู่สภาพแวดล้อมอย่างกฟผ ท่าจะแย่เหมือนกัน
คุณนายสต็อกครับ ประเทศชาติตอนนี้ผมว่าจนตรอกนะ เพราะเราหาทางทำให้รัฐวิสาหกิจเหล่านี้มีประสิทธิภาพและโปร่งใสมานานมาก ไม่สำเร็จครับ
กรณีที่เราสงสารคนยากจน เพราะอะไรครับ ค่าไฟฟ้าของคนบ้านนอกถูกกว่าคนกรุงเทพหรือครับ??? อันนี้ไม่รู้จริงๆ แต่เท่าที่รู้เค้าขึ้นค่าไฟก็กระทบกันทั้งประเทศเหมือนกัน
เอาอย่างที่พึ่งขึ้นไปหยกๆ เท่าที่ติดตามข่าวก็คือ กฟผ ทำสัญญาซื้อก๊าสธรรมชาติจากพม่า แล้วพม่าไม่ให้ก๊าซเนื่องจากจะปิดเพื่อขยายกำลังการผลิต ทำให้ต้องซื้อน้ำมันเตามาทดแทนและแน่นอนน้ำมันเตาแพงกว่าแก๊สธรรมชาติ
วางแผนการใช้เชื้อเพลิงผิดอย่างมหันต์ เพราะไม่มีข้อบังคับสัญญาในการปรับถ้าไม่สามารถจัดหาก๊าซให้ได้ ผู้รับผิดชอบหรือครับ พวกเราทั้งประเทศครับ ทั้ง 62 ล้านคนครับ อย่างงี้เรียกว่ามี Accountability มั้ย
ไม่เอาแล้ว พอดีกว่า อ้อ ผมไม่ได้ anti คนกฟผ. นะ เพียงแต่อยากเห็นพวกท่านแสดงศักยภาพทำกำไรในลักษณะที่มีราคาขายที่จำกัดจากรัฐบาลบ้างว่า ท่านจะสามารถทำกำไรให้กับรัฐและผู้ถือหุ้นได้หรือไม่ ส่วนใจลึกๆ ผมเชื่อว่าพวกท่านทำได้ครับ
คิดยังไงกับเรื่องกระจายหุ้น ไฟฟ้า-ประปา เข้าตลาดฯ บ้างครับ
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. มี.ค. 04, 2004 11:17 am
โดย nn
แปรรูป เค้าขายหุ้นไม่ได้ขายทั้งหมดนี่ครับ ขายแค่ 30% อีก 70% ยังเป็นของ ก.คลัง
ในฐานะหุ้นใหญ่ คงไม่ขึ้นค่าไฟ เกินปัจจัยพื้นฐานมากๆ หรอกครับ
เพราะถ้าค่าไฟ ขึ้นมาก ต้นทุนการผลิตขึ้น ของกิน ของใช้แพงขึ้น เศรษฐกิจ ไม่โตสุดท้าย รัฐบาลที่ต้องโดนอยู่ดี
แต่พนักงานที่ประท้วงๆ กันนี่ หยุดงานหลายวัน ทำไมไม่มีการตัดเงินเดือนบ้างหรอ แล้วพวกค่าป้าย ค่าข้าว ค่าน้ำนี่ออกกันเองหรือเปล่า หรือมาเบิกจาก กฟผ อีก
คิดยังไงกับเรื่องกระจายหุ้น ไฟฟ้า-ประปา เข้าตลาดฯ บ้างครับ
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. มี.ค. 04, 2004 12:00 pm
โดย tk
อ่ะครับ
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. มี.ค. 04, 2004 12:15 pm
โดย ปรัชญา ทิพย์มาบุตร
ผมว่าพอไปแกะสูตรแล้วอย่าตกใจละกันว่าต้นทุนส่วนใหญ่มันตกอยู่กับค่าเลี้ยงดูพนักงานน่ะครับ หึ ๆ ถึงคราวที่ต้องเปลี่ยนแล้วครับ เค้าไ่มได้ขายหมดรัฐก็ยังเป็นเจ้าของถือหุ้นตั้ง 70% แต่คราวนี้มันตรวจสอบได้ครับ เนื่องจากเป็นบริษัทจดทะเบียนเนี่ยมันต้องเปิดเผยข้อมูลมากขึ้น
คิดยังไงกับเรื่องกระจายหุ้น ไฟฟ้า-ประปา เข้าตลาดฯ บ้างครับ
โพสต์แล้ว: ศุกร์ มี.ค. 05, 2004 12:10 am
โดย Dech
ขอมีเอี่ยวด้วยคน
ตามความคิดผม
ถ้าจะเรียงลำดับโดยให้เกรดตามอัตราเงินเดือนสวัสดิการต่างๆ มากไปน้อยน่าจะได้ กฟผ. กฟน. กฟภ. กปน. กปภ. ลำดับ สาม สี่ ค่อยข้างสูสี
เรียงตามรายได้เข้ารัฐ น่าจะได้ กฟผ. กฟน. กฟภ. กปน. กปภ. ไม่ค่อยแน่ใจ
เรียงตามประสิทธิภาพการทำงาน เปรียบเทียบกันผลตอบแทน น่าจะได้ กฟภ. กฟน. กปน. กปภ. กฟผ.
รัฐจะเข้าตลาดถ้าจำไม่ผิด เรียงตาม กฟผ. กปน. กฟน. กฟภ. กปภ.
ถ้าจำเป็นต้องเข้าตลาดจริงๆน่าจะเป็น กฟผ. ที่เดียวเท่านั้น เพราะสามารถทำให้มีการแข่งขันได้ ตอนนี้ก็ทำได้เลย
กฟน. กฟภ. จะหาใครมาแข่งครับ ใครจะมีปัญญาเอาเงินมาลงทุน ปักเสา พาดสายไฟ ไปทั่วประเทศ แข่งกับ กฟภ. ยกเว้น สำหรับ กทม. สมุทรปราการ และนนทบุรี อยู่ในความควบคุมของ กฟน.
จะร้อยท่อลงใต้ดิน ยิ่งเป็นไปไม่ได้ ต้นทุนแพงมหาศาล
คุณลองไปถามคนที่เมา หรือประมาณขับ รถชนเสาไฟฟ้า ดูได้เลยครับ ผมรับประกันได้ว่า ต่อไปจะไม่กล้าประมาณอีก เพราะถ้าไม่ตาย ก็ต้องเจ็บตัว ซ่อมรถ บางคนอาจจะไม่ได้ซ่อยรถด้วย เพราะต้องจ่ายค่าความเสียหายที่ทำกับระบบสายส่งไฟฟ้าด้วยนะครับ เข้าข้อหาละเมิด ฟ้องร้องในศาลนะครับ
เสาต้นหนึ่งหลักหมื่น นะครับ ขึ้นกับขนาด ด้วย ถ้าเสาต้นไหนมีหม้อแปลงด้วย ไม่อยากบอกครับ ผมแนะนำให้ทำลาย หลักฐานแล้วหนีไปดีกว่าครับ
แล้วลองคิดดูครับก็รู้ๆกันว่าค่าแรงพนักงานไฟฟ้า พวกนี้แพงขนาดไหน และถ้าต้องทำช่วงโอทีอีกคุณคิดดูครับ
เรื่องหาคนแข่งลืมไปได้เลย
สำหรับ กฟน. ถ้าจะแปรรูปวิธีนี้ ผมอาจยอมกล้อมแกล้มไปได้
แต่ถ้า กฟภ. ไม่เห็นด้วยมากๆ ครับ เคยขับรถไปต่างๆจังหวัดมั้ยครับ นอกเมืองไป ห่างไกลแค่ไหนก็มีไฟฟ้าใช้นะครับ ปักเสา พาดสายลงทุนหลายสิบล้าน ถึงร้อยล้านบาท คุณว่าเก็บค่าไฟ ได้เท่าไหร่ครับ ค่าไฟฟ้ารวมกันบางหมู่บ้าน ผมว่ายังน้อยกว่าเงินเดือนจ้างพนักงานเก็บเงินเพียงคนเดียวด้วยซ้ำครับ ตามเกาะต่างๆ ก็มีนะครับ คิดดูครับ กฟภ. ลงทุนไปมากแค่ไหน
สำหรับ กปน. กะ ฟปภ. ความรับผิดชอบก็เหมือนกัน ครับ พื้นที่ก็ทำนองเดียวกัน
แต่สำหรับ กปภ. จะมีน้ำประปาก็ในเขตเทศบาลต่างๆเท่านั้น ออกไปข้างนอกน้อยครับ ส่วนใหญ่เป็นประปาหมู่บ้าน น้ำบ่อ น้ำบาบาล ทำนองนี้ครับ และ บางที่บางจังหวัดในเขตเทศบาลเอง ประปาที่ใช้ก็เป็นของเทศบาลนะครับ ไม่ใช่ของ กปภ.
วันนี้ไว้แค่นี้ก่อนครับ ถ้ามีข้อสงสัย ถ้าผมมีข้อมูล ถามได้ครับ จะรีบตอบให้ ผมไปดูกระทู้อื่นๆบ้างครับ เด๊ยวจะเสียใจที่ไม่ได้อ่าน ขอบคุณครับ ที่ทนอ่านจนจบ
คิดยังไงกับเรื่องกระจายหุ้น ไฟฟ้า-ประปา เข้าตลาดฯ บ้างครับ
โพสต์แล้ว: ศุกร์ มี.ค. 05, 2004 1:07 am
โดย คนใช้ไฟ
EGAT เองเป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น
ขณะนี้เราเป็นเจ้าของ EGAT กันทุกผู้ทุกคนเรารู้ตัวหรือไม่
แต่เราไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องหรือแก้ไขได้สักน้อยนิด มันน่าแปลกใจนัก
การที่เราได้มีหุ้น EGAT แล้วจะทำให้ใครฟังเราได้มากขึ้นหรือ
บริษัทในตลาดหุ้นปัจจุบัน ฟังผู้ถือหุ้นกันมากน้อยแค่ไหนหรือ
ที่น่านักใจไปมากกว่านั้น ไม่มีใครคิดว่าราชการนั้น เรามีหุ้นอยู่
คงเห็นว่าราชการเป็นหุ้นเน่า อยากจะขายทิ้งไปเสียเต็มประดาแล้วกระมัง
แต่นั้นไม่ใช่ประเด็นใหญ่
ความหวังคงมีแต่ให้ประเทศมีกระดูกที่แข็งแรงสมบูรณ์
หากกระดูกผุกร่อน แตกหักง่ายเช่นนี้ ไหนเลยจะมีชีวิตที่มีความสุขได้
ครับ มีความสุข ไม่ใช่ร่ำรวย ไม่ใช่ก้าวล้ำนำสมัยตามก้นคนอื่น
หากเอาเหล็กจากนอกมาดามกระดูกแล้ว คิดว่าตัวเองแข็งแรง
คิดว่าจะมีชีวิตสมบูรณ์ได้นั้น ก็คงคิดผิด
เพราะนั่นเท่ากับเป็นการตกเป็นทาสโดยสมยอมและยินดี
(ทาสในเรือนเบี้ย สู้จนตัวตายเพื่อให้ได้เป็นไท
ทาสทางความคิด คิดทนง หลงผิด จมปลักในความเป็นทาส)
แน่นอน ใช้เหล็กดามนั้นมันง่าย ออกกำลังกาย สร้างเสริมร่างกาย นั้นมันยาก
เราชอบจะใช้ทางเลือกที่ง่ายกว่า เพื่อให้ได้มาเพียงผลประโยชน์ชั่วข้ามคืน
คนเราพอได้รับแล้ว ก็มักลืมความตั้งใจเดิมได้ง่ายๆ ... ก็คนไทยมันลืมง่ายนี่ครับ
ทั้งนี้ผมใช่จะมีทางออกที่ดี มีความคิดที่วิเศษ
ผมก็เป็นเพียงคนแก่คนหนึ่งที่มองหาความสมหวัง ก่อนที่ชีวิตจะสิ้น
ความหวังลมๆแล้งๆ .... ผมคิดอย่างนั้น
คิดยังไงกับเรื่องกระจายหุ้น ไฟฟ้า-ประปา เข้าตลาดฯ บ้างครับ
โพสต์แล้ว: ศุกร์ มี.ค. 05, 2004 9:26 pm
โดย Stock Broker
อยากถามเพื่อนๆ ที่มาวิพากษ์กันในกระทู้นี้ครับว่า
เพื่อนๆ เข้าใจถึง ข้อดี ข้อเสีย ของ "รัฐวิสาหกิจ หรือบริษัทเอกชน" กับ "บริษัทมหาชน (ที่กระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์)" หรือไม่ ว่ามันต่างกันอย่างไร
- อำนาจในการบริหารจัดการ
- หน้าที่ในการรายงานผลการดำเนินงานแก่สาธารณชน
- สิทธิประโยชน์ทางภาษี
- โอกาสในการเข้าถึงแหล่งทุน
- ความโปร่งใสในการดำเนินงาน
- การตรวจสอบและกำกับดูแลขององค์กรกลาง
- ประสิทธิภาพในการดำเนินงาน
มาช่วยกันตอบคำถามเหล่านี้กันก่อนดีไหมครับ จะได้เป็นข้อมูลเพิ่มเติมในการออกความเห็น
จำนวนของผู้ประท้วง
โพสต์แล้ว: ศุกร์ มี.ค. 05, 2004 11:32 pm
โดย บุคคลทั่วไป
สหภาพของ กฟผ. รวมตัวกันประท้วง ยิ่งจำนวนคนมากจะยิ่งมีพลังมาก...
แต่คิดๆ ไปแล้ว เปลี่ยนกันไปประท้วงแล้ว เรายังมีไฟใช้กัน คือ งานไม่เสีย..แสดงว่า พวกที่ไปประท้วงนั้น เป็นแรงงานส่วนเกินนะซิคะ
ไม่มีงานก็ไม่เสีย แสดงว่า หากไม่มีจริงๆ ก็ช่วยลดต้นทุนไฟฟ้าได้ส่วนนึง :lol:
คิดยังไงกับเรื่องกระจายหุ้น ไฟฟ้า-ประปา เข้าตลาดฯ บ้างครับ
โพสต์แล้ว: ศุกร์ มี.ค. 05, 2004 11:34 pm
โดย Jeng
เห็นด้วยกับผู้เยี่ยมชม 100 % อิอิ
คิดยังไงกับเรื่องกระจายหุ้น ไฟฟ้า-ประปา เข้าตลาดฯ บ้างครับ
โพสต์แล้ว: เสาร์ มี.ค. 06, 2004 10:08 am
โดย _THiNK_
สำหรับผมคิดว่า การประท้วงไม่ใช่แก่นของปัญหา
หากเราบอกว่าเขาไม่ควรประท้วง
นั่นคือเรากำลังสรุปว่าการแปรรูปนั้นถูกต้อง
เพียงแต่เราพูดไปว่าการประท้วงนั้นไม่ถูกต้อง
ดั่งนี้เราก็จะไม่คิดกันต่อว่า การแปรรูปนั้นถูกต้องหรือไม่
เราจึงจะพลาดไม่ใส่ใจในเหตุของผล
คำถามจึงตกอยู่ที่ว่า การแปรรูปนั้น(ส่วนรวม)ได้อะไร(ส่วนรวม)เสียอะไร
คงต้องมองกันหลายด้าน มองกันหลายมุม เห็นกันหลายฝ่าย
อันนี้ผมคงยกให้เซียนๆใน tvi ลองหา intrinsic value ของการแปรรูปกัน
ผมต้องขอไปเรียนวิธีหา DCF ก่อนค่อยมาออกความเห็น
______________ แถมเรื่องคลายเคลียดให้อ่านเล่น อิ อิ
ในขณะที่กอนดอร์ถูกกองกำลังของ Dark Lord โจมตีหนัก
พิ๊บพิ้นถามแกนดาร์ฟถึงความหวังในการที่โฟรโดจะทำงานได้สำเร็จ
"... มันเป็นแค่ความหวังลมๆแล้งๆ" แกนดาร์ฟตอบ
รู้ตัวหรือไม่ก็ตาม หากแต่โฟรโด้กับแซมยังไม่ยอมแพ้
เดินหน้าต่อไปไม่หยุดยั้ง นับว่าเป็นการกระทำของคนโง่หรือผู้กล้าหาญกันแน่
ณ ที่เมาท์ดูม โฟรโดถูกอำนาจแห่งแหวนครอบงำจนไม่อาจตัดใจทำลายแหวน
จนในที่สุดกอลลัม ก็เป็นผู้ทำลายแหวน โดยไม่ได้ตั้งใจ
ก็เนื่องเพราะพระมหาชนกไม่ยอมเป็นอาหารของเต่าปลาแม้จะมองไม่เห็นฝั่ง
จึ่งได้เพียรว่ายน้ำอยู่เจ็ดวันเจ็ดคืน จนนางมณีเมขลามาช่วยไว้
ปาฎิหารจะเกิดขึ้นได้หรือหากเรายอมแพ้
หากโฟรโด้กับแซมยอมแพ้ แหวนก็จะไม่ถึงเมาท์ดูม ...
หากพระมหาชนกไม่ยอมว่ายน้ำ ก็จะเป็นเพียงอาหารของเต่าปลา ...
เมื่อตรองจนรอบคอบแล้ว ถึงเป็นความหวังลมๆแล้งๆ ก็ยังดีกว่าสิ้นหวังเป็นไหนๆ
เมื่อพยามจนสุดความสามารถแล้ว ความสำเร็จนั้นก็ยกให้เป็นหน้าที่ของฟ้าเถิด
คิดยังไงกับเรื่องกระจายหุ้น ไฟฟ้า-ประปา เข้าตลาดฯ บ้างครับ
โพสต์แล้ว: เสาร์ มี.ค. 06, 2004 3:03 pm
โดย MO101
แปรรูปแล้วสนุกดีนะครับ เหมือนเจ้าพ่อเลย สร้างหนังเลย อิอิ
ระบบต่างๆ เหมือนเดิม รัฐบวงถือหุ้นอยู่ 70 ใครกล้าหือ ใครกล้าถูกปด
ส่วนอีก 30 ก็ให้ ญาติถือ หรือไม่ก็ ประชาชนถือ
ถ้าผมเป็นเจ้าพ่อ(ใหญ่กว่ารัฐบวง) สั่งให้รัฐมนโท
ไตรภาคแรก
...ฝ่ายผลิต กำไรมากๆ แล้วให้ญาติถือหุ้น
ไตรภาค 2
...ฝ่ายผลิต กำไรน้อยๆ แล้วให้ประชาชนถือ ญาติขายหมดแล้ว
ไตรภาคสุดท้าย
...ฝ่ายผลิต กำไรน้อยๆ สร้างโรงงานใหม่ รัฐมนโท บอกว่ารัฐบวงไม่มีเงิน
ต้อง นำเข้าเงินทุนจากนอก ...
งานประกาศผล รางวัล ออสการ์
รัฐมนโท1 ได้รางวัล นักแสดงยอดเยี่ยม
รัฐมนโท2 ได้รางวัล ผู้กำกับยอดเยี่ยม
....
รัฐมนโท11 ได้รางวัล ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
---------------------------------------------------
ประชาชนได้ดูหนัง ดีๆ 1 เรื่องพร้อมกับจ่ายเงินค่าหนัง ไปตามระเบียบ
คิดยังไงกับเรื่องกระจายหุ้น ไฟฟ้า-ประปา เข้าตลาดฯ บ้างครับ
โพสต์แล้ว: จันทร์ มี.ค. 08, 2004 6:43 pm
โดย Golden Stock.
ผมคิดว่าโดยหลักการก็ดีครับ
แต่ผลประโยชน์ที่แท้จริงน่าจะตกอยู่กับคนกลุ่มเล็กๆ มากกว่า
คงไม่ต้องระบุอะไร เพราะก็ตรงกับความเห็นข้างบน
คิดยังไงกับเรื่องกระจายหุ้น ไฟฟ้า-ประปา เข้าตลาดฯ บ้างครับ
โพสต์แล้ว: เสาร์ มี.ค. 13, 2004 1:23 pm
โดย บุคคลทั่วไป
เอาอย่างที่พึ่งขึ้นไปหยกๆ เท่าที่ติดตามข่าวก็คือ กฟผ ทำสัญญาซื้อก๊าสธรรมชาติจากพม่า แล้วพม่าไม่ให้ก๊าซเนื่องจากจะปิดเพื่อขยายกำลังการผลิต ทำให้ต้องซื้อน้ำมันเตามาทดแทนและแน่นอนน้ำมันเตาแพงกว่าแก๊สธรรมชาติ
วางแผนการใช้เชื้อเพลิงผิดอย่างมหันต์ เพราะไม่มีข้อบังคับสัญญาในการปรับถ้าไม่สามารถจัดหาก๊าซให้ได้ ผู้รับผิดชอบหรือครับ พวกเราทั้งประเทศครับ ทั้ง 62 ล้านคนครับ อย่างงี้เรียกว่ามี Accountability มั้ย [/u]
ผู้ทำสัญญาซื้อขายก๊าซกับพม่าคือ ปตท. ครับ
เรื่องการปรับส่วนนี้ก็คงต้องถาม ปตท. ส่วนระหว่างกฟผ. กับปตท. เนื่องจากเป็นหน่วยงานรัฐเหมือนกัน ส่วนนี้จึงไม่มี(บางครั้งส่วนจ่ายก๊าซของปตท.
มีปัญหาทำให้โรงไฟฟ้าดับ ก็ปรับปตท.ไม่ได้) ผมเองก็คิดอยู่นะครับปตท.
เป็นบริษัทแล้วทำสัญญาอย่างไร ทำไมเราใช้ก๊าซไม่ได้โดนปรับ
แต่เวลาเขาจ่ายก๊าซไม่ได้ไม่โดนปรับ ที่จริงรัฐมนตรีน่าจะเข้ามาดูแลตรงส่วนนี้ด้วยและแถลงให้ชัด ไม่ใช่ทำเหมือนว่างานนี้กฟผ. เป็นผู้ร้ายซึ่งเป็นรัฐฯที่ต้องการแปลงสภาพ แต่ผู้ร้ายตัวจริงคือปตท. กำไรเงียบเป็นเสือนอนกินตัวจริง หรือว่ากำไรมันไปเข้ากระเป๋าใคร
คิดยังไงกับเรื่องกระจายหุ้น ไฟฟ้า-ประปา เข้าตลาดฯ บ้างครับ
โพสต์แล้ว: เสาร์ มี.ค. 13, 2004 1:35 pm
โดย ayethebing
ขอบคุณครับ คุณผู้เยี่ยมชมที่ทำให้เรารู้ว่าผู้ร้ายตัวจริงคือ ปตท. เอ แต่ปตท. ยังเป็นหน่วยงานของรัฐเหรอครับ นึกว่าอยู่ในตลาดแล้วมันจะไม่ใช่เสียอีก
แล้วข่าวนี้ละครับ จริงเท็จยังไง
กรุงเทพธุรกิจ wrote:
ม็อบกฟผ.พ่นพิษ ดันค่าไฟร้อนนี้พุ่งขึ้น ต้นทุนเชื้อเพลิงเพิ่ม
ม็อบค้านแปรรูป กฟผ.พ่นพิษ ผู้บริหารยอมรับพนักงานหยุดงานร่วมประท้วง ส่งผลหน้าร้อนนี้ค่าไฟพุ่ง หลังหยุดงานประท้วง เหตุการบำรุงรักษาโรงไฟฟ้าแม่เมาะล่าช้ากว่า 6 สัปดาห์ เพราะพนักงานไม่พอ ดันต้นทุนเชื้อเพลิงสูงขึ้น ขณะที่ผู้บริหารกว่า 300 คน เสนอ 3 แนวทางยุติการชุมนุม แนะแกนนำสหภาพพบนายกฯ การันตี กฟผ.สร้างโรงไฟฟ้าใหม่ 50% และรัฐถือหุ้นใหญ่หลังแปลงสภาพ
นายวิศิษฎ์ อัครวิเนค รองผู้ว่าการปฏิบัติการและบำรุงรักษาการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวว่า จากการที่พนักงาน กฟผ.หยุดงานชุมนุมค้านการแปรรูปมาตั้งแต่วันที่ 24 ก.พ.ที่ผ่านมา จนกระทั่งถึงวานนี้ (12 มี.ค) รวม 19 วัน เริ่มส่งผลกระทบต่อการผลิตไฟฟ้า และมีแนวโน้มค่าไฟฟ้าช่วงหน้าร้อนนี้จะสูงขึ้น
เนื่องจากประสบปัญหาพนักงานไม่เพียงพอเตรียมความพร้อมปรับปรุงและซ่อมบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่มีต้นทุนต่ำ ซึ่งต้องทำเป็นประจำทุกปี เพื่อผลิตไฟรองรับความต้องการใช้ในช่วงหน้าร้อน (มี.ค.-พ.ค.) ที่สูงจากปกติ 7-8% ตามความต้องการใช้ไฟสูงขึ้นกว่า 5% ตามภาวะเศรษฐกิจ
โดยโรงไฟฟ้าที่ได้รับผลกระทบ เช่น โรงไฟฟ้าแม่เมาะ 9 ขนาด 300 เมกะวัตต์ ขณะนี้การเตรียมเครื่องกำเนิดไฟฟ้าได้ล่าช้า จากแผนไปแล้ว 6 สัปดาห์ เพราะพนักงานหยุดงานมาประท้วง ทำให้ กฟผ.ต้องปรับแผนการผลิตไฟ โดยจะเปลี่ยนให้โรงไฟฟ้าบางปะกงที่ใช้น้ำมันเตาเป็นเชื้อเพลิงมาผลิตแทน ส่งผลให้ต้นทุนเชื้อเพลิงสูงขึ้นเดือนละกว่า 10 ล้านบาท หรือต้นทุนค่าไฟจากน้ำมันเตาอยูที่ 1 บาทกว่าต่อหน่วยเทียบกับ โรงไฟฟ้าแม่เมาะที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงจะมีต้นทุนต่ำกว่า และอยู่ที่ 60 ส.ต.ต่อหน่วยเท่านั้น
?ไฟฟ้ามีเพียงพอกับความต้องการใช้ในช่วงหน้าร้อนนี้แน่นอน ประชาชนไม่ต้องกังวลว่า จะเกิดปัญหาไฟฟ้าตกหรือดับ แต่มีความเป็นห่วงในต้นทุนค่าไฟที่จะสูงขึ้น เพราะต้องใช้โรงไฟฟ้าที่ใช้น้ำมันเตาเป็นเชื้อเพลิง ที่ต้นทุนสูงกว่าโรงไฟฟ้าถ่านหิน ยอมรับการหยุดงานค้านแปรรูปครั้งนี้กระทบการดำเนินงานของ กฟผ.แต่ที่ประเมินค่าไม่ได้ คือ ผลกระทบต่อภาพพจน์ของ กฟผ.ที่สะสมมานาน และความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้บริหารกับพนักงาน?
ชี้ทางก.ม.การชุมนุมถือว่ามีความผิด
ส่วนการประชุมใหญ่วิสามัญของสหภาพ กฟผ.นั้น ผู้บริหารไม่อนุมัติให้ใช้สถานที่ประชุม เพราะมีการประชุมมติค้านการแปรรูซึ่งขัดนโยบายรัฐบาล ดังนั้น ในทางกฎหมายการชุมนุมครั้งนี้ถือว่ามีความผิด แต่ต้องใช้แนวทางรัฐศาสตร์แก้ไขปัญหา และขึ้นอยูที่อธิบดีกรมแรงงานและสวัสดิการสังคม จะพิจารณาว่าระยะเวลาที่สหภาพจัดประชุมสมควรจะยุติได้แล้วหรือไม่
ด้าน นายคำผุย จีราระรื่นศักดิ์ รองผู้ว่าการอาวุโสกลุ่มระบบส่งทำการแทนผู้ว่าการ กฟผ.ได้เรียกประชุมผู้บริหาร กฟผ.ระดับผู้อำนวยการฝ่ายขึ้นไป จนถึงระดับรองผู้ว่าการกว่า 300 คน เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาการชุมนุม โดยมีนายเชิดพงษ์ สิริวิชช์ ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธาน และมีมติว่าแนวทางที่จะยุติชุมนุมได้ คือ แกนนำสหภาพ กฟผ.ต้องได้เจรจากับนายกฯ และหากจะต้องแปรรูปรัฐต้องสร้างความมั่นใจ โดยทำสัญญาที่ชัดเจนว่ารัฐจะถือหุ้นใหญ่หลังแปลงสภาพองค์กรแล้ว รวมทั้งรับประกันให้ กฟผ.เป็นผู้สร้างโรงไฟฟ้าตามแผนพีดีพีใหม่ (2004) ที่ง ครม.ยังไม่อนุมัติ โดยตั้งแต่ปี 2547-2552 ต้องสร้างโรงไฟฟ้า 4 โรง คือ พระนครเหนือ พระนครใต้ บางปะกง และที่สงขลา
นอกจากนี้ ในปี 2552-2559 จะมีโรงไฟฟ้าใหม่เพิ่มขึ้นอีก 16 โรง ซึ่ง กฟผ.ต้องสร้างโรงไฟฟ้าไม่ต่ำกว่า 50% ในจำนวนดังกล่าว เพื่อเป็นหลักประกันว่า กฟผ.จะยังเป็นผู้ผลิตไฟรายใหญ่ที่ต้องการให้สร้างเสถียรภาพด้านพลังงานของประเทศ โดยจะเสนอข้อคิดเห็นดังกล่าวกับรัฐบาลต่อไป
ขณะที่การชุมนุมของพนักงาน กฟผ.วานนี้ (12 มี.ค.) ยังคงชุมนุมต่อเนื่องเป็นวันที่ 19 แล้ว โดยพนักงานพร้อมใจใส่เสื้อแดง แม้จะมีข่าวว่านายกรัฐมนตรีสั่งให้เช็ควันลา และเช็คเวลาชุมนุมตามกรอบกฎหมายแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ว่าสามารถหยุดงานได้มากน้อยเพียงใด
พรหมินทร์สั่งผู้บริหารหาช่องก.ม.เอาผิดพนักงานลา
น.พ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช รมว.พลังงาน กล่าวถึงกรณีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ระบุว่า การประท้วงของสหภาพ กฟผ.ผู้บริหารต้องไปดูในแง่กฎหมายการชุมนุมว่าใช้ระยะเวลานานจะผิดระเบียบหรือไม่นั้น ตนได้สั่งการให้ผู้บริหารของ กฟผ.ไปพิจารณาเรื่องดังกล่าวแล้วว่าควรจะดำเนินการจัดการอย่างไร
สำหรับการทำความเข้าใจเกี่วกับการแปรรูป กฟผ.ต่อประชาชน ที่นายกฯระบุให้ดำเนินการแล้วเสร็จภายใน 2 เดือนก่อนเดินหน้าการแปรรูปนั้น ขณะนี้ได้เริ่มดำเนินการไปบ้างแล้ว โดยเฉพาะเตรียมที่จะร่างพระราชกฤษฎีการองรับการแปรรูป ซึ่งจะนำเสนอ ครม.ในเร็วๆ นี้
ส่วนการกระจายหุ้นนั้น กระทรวงการคลังได้เร่งดำเนินการอย่างชัดเจน โดยล่าสุดได้สรุปประเด็นการยกเลิกหุ้นผู้มีอุปการคุณไปแล้ว และกำลังดูเรื่องสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจทั้งหมดที่จะต้องเป็นไปตามมาตรฐานเดียวกัน
"การประชุมของสหภาพจะต้องอยู่ภายใต้ของกรอบกฎหมาย การอนุญาตให้มีการประชุมวิสามัญประจำปีนั้น หากดำเนินการ 10 วันไปแล้วจะผิดหรือไม่ ฝ่ายบริหาร กฟผ.จะต้องไปจัดการว่าจะเป็นอย่างไรต่อไป ซึ่งผมได้ให้นโยบายไปแล้ว" รมว.พลังงาน กล่าว
สหภาพเตรียมแจ้งพนง.ชุมนุมได้ไม่ผิดก.ม.
น.พ.บรรลือ เฮงประสิทธิ์ แกนนำสหภาพ กฟผ.กล่าวว่า พนักงานจะยังร่วมชุมนุมต่อไป เพราะตามกฎหมายสามารถดำเนินการได้ และจะเชิญชวนพนักงานที่ไม่ได้เป็นสมาชิกสหภาพให้มาสมัครเป็นสมาชิก โดยเสียค่าสมัครคนละ 200 บาท สหภาพจะให้การรับรองเป็นสมาชิกตามกฎหมาย เพื่อเข้าร่วมชุมนุมในครั้งนี้ด้วย อย่างไรก็ตาม แม้ไม่ได้เป็นสมาชิกก็สามารถร่วมชุมนุมได้ ด้วยการลาป่วย ลากิจ และวันนี้ (13 มี.ค.) สหภาพจะไปร่วมชุมนุมใหญ่กับเครือข่ายประชาชนที่บริเวณท้องสนามหลวง เพื่อแสดงพลังคัดค้านการแปรรูป แม้ กทม.จะขอร้องไม่ให้ไปชุมนุมก็ตาม
นายศิริชัย ไม้งาม ประธานสหภาพ กฟผ.กล่าวได้หารือกับอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ถึงแนวทางการยุติปัญหา ซึ่งได้รับการยืนยันว่าจะไม่ใช่กฎหมายแก้ไขปัญหา โดยสหภาพจะทำหนังสือชี้แจงพนักงาน กฟผ.ทั่วประเทศว่าสามารถมาร่วมชุมนุมได้โดยไม่ผิดกฎหมาย และวันจันทร์ (15 มี.ค.) จะยังคงมีการชุมนุมต่อไปหากยังไม่ได้รับคำตอบจากรัฐบาล
คิดยังไงกับเรื่องกระจายหุ้น ไฟฟ้า-ประปา เข้าตลาดฯ บ้างครับ
โพสต์แล้ว: เสาร์ มี.ค. 13, 2004 4:18 pm
โดย enokwan
อ้างอิงจาก...
"น.พ.บรรลือ เฮงประสิทธิ์ แกนนำสหภาพ กฟผ.กล่าวว่า พนักงานจะยังร่วมชุมนุมต่อไป เพราะตามกฎหมายสามารถดำเนินการได้ และจะ
เชิญชวนพนักงานที่ไม่ได้เป็นสมาชิกสหภาพให้มาสมัครเป็นสมาชิก โดยเสียค่าสมัครคนละ 200 บาท สหภาพจะให้การรับรองเป็นสมาชิกตามกฎหมาย เพื่อเข้าร่วมชุมนุมในครั้งนี้ด้วย อย่างไรก็ตาม แม้ไม่ได้เป็นสมาชิกก็สามารถร่วมชุมนุมได้ ด้วยการลาป่วย ลากิจ "
ไม่ว่าการแปรรูปจะมีผลดีหรือผลเสียอย่างไรก็ตาม ไม่อาจทราบได้ ต่างคนก้อมีเหตุผล ของทุกอย่างย่อมมีทั้ง + และ - การมาร่วมกันแสดงความคิดเห็น วิพากษ์วิจารณ์นั้นเป็นสิ่งที่ดี ตามหลักประชาธิปไตยที่ทุกคนมีสิทธ์แสดงความคิดเห็นได้
...แต่การระดมพลเพื่อปลุกม๊อบนั้นไม่น่าจะเป็นวิธีที่เหมาะสมเท่าไรนัก เพราะที่แน่ๆ คนส่วนใหญ่จะมองว่ามีแรงงานส่วนเกินที่ไม่ได้ทำประโยชน์อะไร แถมเรายังต้องจ่ายค่าไฟให้คนกลุ่มนี้อีกต่างหาก เพราะแค่ลาป่วย ลากิจ ไม่น่าจะเป็นหมื่น ยิ่งถ้ามีการตอกบัตรแล้วยังออกไปร่วมประท้วงด้วยนี่ คงจะไม่ทำให้ประชาชนทั่วไปที่ต้องเสียภาษีเป็นค่าเงินเดือนให้คนกลุ่มนี้ ชื่นชอบมากนัก เพราะฉะนั้นการปลุกม็อบไม่น่าจะเป็นเรื่องที่ฉลาดเท่าไรนักนะคะ ในสายตาของคนภายนอก ยิ่งถ้าม็อบกันจนไม่เป็นอันทำงานทำการกันจนเป็นผลให้ค่าไฟขึ้นอย่างข่าวข้างบนจริงๆละกัอ...งานนี้ถึง จะอ้างหวังดีต่อชาติขนาดไหน ก้อคงจะเป็นประสงค์ร้ายซะมากกว่าล่ะค่ะ งานนี้...