การเป็นนักลงทุนให้ประโยชน์ กับประเทศชาติ และประชาชน อย่างไร
โพสต์แล้ว: เสาร์ เม.ย. 19, 2008 7:01 pm
ใครป็นหนี้บุญคุณใคร
กล่าวกันว่าทางภาคตะวันออกของรัฐเจ็งมีคนเก่งในวิทยาการสาขาต่างๆมากมาย ไป่เพิง (ศิษย์ของปรมาจารย์หลีจื๊อ) เดินทางผ่านไปทางภาคตะวันออกของรัฐเจ็งพร้อมบริวาร สวนทางกับเต็งสีขุนนางผู้ใหญ่ของรัฐคนหนึ่ง
เต็งสีหันมายิ้มกับลูกน้อง พูดว่า
ถ้าฉันจะทำให้นักบวชพวกนี้เต้นเป็นเจ้าเข้า พวกแกจะว่าอย่างไร
ก็ดีน่ะสิ ใต้เท้า ลูกน้องส่งเสริม
เต็งสีเดินตรงไปหาไป่เพิง พูดถากถางว่า
ท่านรู้ไหม การเลี้ยงดู กับการขุนสัตว์ ต่างกันตรงไหน อย่างบุตรเลี้ยงดูพ่อแม่เพราะพ่อแม่มีบุณคุณต่อตน คนขุนสัตว์เพราะได้ประโยชน์จากมัน ( เช่นเลี้ยงสุนัขไว้เฝ้าบ้าน เลี้ยงสุกรไว้กินเนื้อ) แต่นักบวชเช่นพวกท่าน จะว่าถูกเลี้ยงดูก็ไม่ใช่ เพราะไม่มีบุญคุณต่อรัฐ จะว่าถูกขุนก็ไม่ใช่เพราะไม่ได้ให้ประโยชน์อะไร พวกท่านทั้งหนุ่มและแก่ต่างอยู่ดีกินดี อ้วนท้วนสมบูรณ์เป็นหนี้บุญคุณต่อรัฐเปล่าๆ
ไป่เพิงไม่มีกิริยาโต้ตอบแต่อย่างใด แต่ศิษย์คนหนึ่งก้าวพรวดออกมาประจันหน้าเต็งสี กล่าวว่า
ท่านไม่เคยได้ยินหรือว่าในรัฐชี้ มีคนเชี่ยวชาญในวิชาการต่างๆมาก บางคนเป็นช่างปั้นหม้อ บางคนเป็นช่างเหล็ก ช่างไม้ ช่างหนัง นักเขียน นักทำนาย นักการทหาร นักศาสนา ในแต่ละวิชามีคนเก่งมากมาย คนเก่งเหล่านั้นไม่เคยตั้งใครไว้ในตำแหน่งใดๆ และไม่เคยสั่งให้ใครทำอะไร แต่คนที่ตั้งพวกเขาในตำแหน่งต่างๆ มักไม่มีความรู้และคนที่สั่งให้เขาทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ มักไม่มีความสามารถจะทำเองได้ ต้องอาศัยความรู้และความสามารถของคนเก่งเหล่านั้น ขุนนางเช่นพวกท่านที่ตั้งใครต่อใครในตำแหน่งต่างๆ และสั่งให้ใครทำอะไรให้ต่างหากเล่า เป็นหนี้บุญคุณคนเช่นพวกข้า อย่างนี้แล้วยังจะหยิ่งผยองอีกหรือ
เต็งสีไม่รู้จะโต้ตอบอย่างไร จึงเดินหนีไป
การเป็นนักลงทุนให้ประโยชน์อะไรกับประเทศชาติ และประชาชน ?
เป็นคำถามที่เหมือนกับจะหาคุณค่าของการเป็นนักลงทุน
นิทานเรื่องที่ยกขึ้นมา เป็นตัวอย่างหนึ่ง ซึ่ง บุคคลในเรื่องอยู่ในสภาวะการเป็นนักบวช หรือ พระ ( ในประเทศไทย)
ถ้ามองโดยทั่วไป นักบวช(ที่ดี) ไม่ได้ทำธุรกิจ ไม่ได้ตั้งใจในการทำมาหากินอย่างเป็นกิจจะลักษณะ ทุกๆวันไปรับ การตักบาตร จากบุคคลทั่วไปเพื่อเป็นอาหาร รับบริจาค จากบุคคลทั่วไปเพื่อสร้างวัด (ที่อยู่อาศัย)
ถ้าดูอย่างง่ายๆ ก็อาจจะคิดว่า นักบวชทำอะไร ขอ กิน นอน สวดมนต์
แต่ถ้าคิดดูให้ดีอย่างถี่ถ้วน นักบวชที่ดีก็มีหน้าที่ของนักบวช ซึ่งก็อยู่ในเกณฑ์ ทำเพื่อส่วนรวม
เช่น การเทศน์ คำสอนทางศาสนา ผู้มีทุกข์ กังวล ทั้งหลายเมื่อได้ฟังก็เกิดปัญญาแก้ไข ปัญหาในชีวิตของตนได้
สวดมนต์ในพิธีต่างๆ ก็ทำให้ผู้ได้ฟัง เชื่อได้ว่า ได้ทำสิ่งเหล่านั้นอย่างถูกต้องตามประเพณี ก็จะสบายใจ
การออกไปรับการตักบาตร ก็จะช่วยให้ผู้มาใส่บาตร สบายใจ รวมถึงลดความตระหนี่ ของตนด้วยการให้
นักบวชก็จะยังคงศึกษาคำสอนศาสนา และก็สืบต่อกันไป
และถ้าจะให้คนมีอาชีพ พ่อค้าทั่วไป ซึ่งคนสนใจ ในเรื่อง ของการซื้อขาย ผลกำไร จะมีความสามารถมานั่งศึกษาคำสอนศาสนา และทำอย่างที่นักบวช ทำได้หรือ
แล้วถ้าประเทศชาติ ขาดนักบวช หรือพระ ผู้คงในคำสอนที่ดี ประเทศ และประชาชนจะเป็นอย่างไร
กลับมาโจทย์ที่ว่า
การเป็นนักลงทุนให้ประโยชน์อะไรกับประเทศชาติ และประชาชน ?
ในมุมมองคนโดยทั่วไป จะเห็นว่า ใครที่นำเงิน และเอาไปซื้อหุ้นในตลาดหุ้น ก็คือนักลงทุน
ผมคิดว่ามันค่อนข้างจะผิดไปสักหน่อย ซึ่งจริงๆแล้ว ต้องเข้าใจและแยกแยะ ให้ออก
ซึ่ง แยกแบบง่ายๆ ได้เป็น นักลงทุน และ นักเก็งกำไร อาจจะดูความหมายได้จากหนังสือ intelligent investor
นักเก็งกำไร คงไม่ได้สนใจอะไรไปมากกว่า ตัวเลข บริษัท(พื้นฐานที่จะเป็นข่าว ดี หรือ ร้าย) และ ผลกำไร
และคนภายนอก ซึ่งก็มักจะยังไม่เข้าใจการลงทุนดีนัก แล้วมอง เข้ามาสู่ผู้ลงทุน ในหุ้น ก็มักจะมีภาพ ของนักเก็งกำไรติดอยู่ด้วย(ซึ่งคิดไปว่า นี่ก็คือนักลงทุน) เลยไม่แปลกที่คนๆนั้นจะคิดว่า คนพวกนี้พอหุ้นขึ้นก็ได้เงิน ไม่เห็นทำอะไร แล้วประเทศชาติ และประชาชนผู้อื่นจะได้ประโยชน์อย่างไร
และคนในตลาดโดยส่วนใหญ่ จะเก็งกำไร แล้วเหลือเพียงส่วนน้อยที่เป็นนักลงทุน
ซึ่งการที่บุคคลโดยทั่วไป ไม่สามารถแยกแยะ ระหว่างนักเก็งกำไร กับนักลงทุน และ ไม่เข้าใจ กลไก หน้าที่ของผู้ลงทุน แล้วสรุปเช่นนั้น ก็ทำให้นักลงทุนจริงๆ น้อยใจไม่น้อย
นักลงทุน ที่เป็นนักลงทุนจริงๆ น่าจะสรุปได้ว่าอยู่ในสายการเงิน จะมีลักษณะ การคิดที่พอจะได้ยินมา
มอง คิด และลงทุนในหุ้นแต่ละบริษัทเป็นระยะยาว ก็น่าจะเป็นความรู้ พื้นฐานด้านเศรษฐศาสตร์
การลงทุนในหุ้น ในธุรกิจ ต้องมีความรู้มากพอที่จะดูงบการเงิน ผลกำไรขาดทุน ซี่งเป็นความรู้ด้านบัญชีพื้นฐาน
การทำความเข้าใจ ในลักษณะ ประเภท และการดำเนินงานของบริษัท ซึ่งเป็นความรู้ ด้านการบริหารพื้นฐาน
การเข้าใจ ราคา ราคาที่ควรจะเป็น ผลตอบแทน ก็เป็นความรู้ด้านการเงินพื้นฐาน
ซึ่งถ้าจะถามว่า การเข้าใจความรู้เหล่านี้แล้วประสานได้ดี ก็คงจะไม่ใช่เรื่องง่ายนัก
ซึ่งนักลงทุนที่แท้จริงส่วนใหญ่จะเข้าใจ และอาจจะต้องพลิกแพลง และรู้มากกว่าสิ่งเหล่านี้ด้วยซ้ำ
แล้วเมื่อนักลงทุน ต้องการลงทุน นักลงทุนย่อม พยายาม ศึกษา บริษัท ที่ต้องการเข้าไปลงทุน อย่างมากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ย่อมเปรียบเสมือน การตรวจสอบที่นักลงทุนคนหนึ่งพอจะทำได้
ซึ่งยังเคยได้ยินอาจารย์ ท่านหนึ่ง นำเรื่องมาเล่าว่า ไปซื้อขนม ตามร้านขายปลีก ซึ่งบริษัทอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ แต่กลับปรากฏว่า พอซื้อ กลับไม่ได้รับใบเสร็จใดๆ ซึ่งผู้มีความรู้ด้านบัญชีบ้างก็จะคิดได้ว่า รายได้ส่วนนี้จะไปอยู่ที่ไหน ถ้าไม่มีการออกใบเสร็จจริงๆ ซึ่งก็จะเป็นการตั้งข้อสังเกตว่ามันเกิดอะไร ซึ่งก็จะทำให้เกิดโอกาส ที่เงิน ไม่ได้เข้าระบบบัญชีบริษัท และตกเป็นของพนักงาน ก็ได้ หรืออาจสามารถ เป็นในรูปแบบอื่นๆได้อีก ซึ่งถ้ารายได้เข้ามาถูกต้อง ระบบภาษี จะนำมาซึ่งรายได้เข้ารัฐมากขึ้นไม่มากก็น้อย แล้วถ้าเป็นบุคคลทั่วไปซื้อของแล้วเจอเหตุการณ์แบบนี้ ก็คงไม่คิดอะไรแล้วมันก็ผ่านไป
และเมื่อเกิดการตรวจสอบผู้ที่จะกระทำ ก็กระทำได้ยากกว่า การที่ไม่มีใครสนใจเลย
แล้วเมื่อนักลงทุน ลงทุนก็ย่อมสนใจอย่างยิ่งในหุ้นที่ถูกกว่ามูลค่าที่ควรจะเป็น และเมื่อมีนักลงทุน สนใจมากขึ้น เข้าใจบริษัทนั้นๆ ราคาก็จะปรับไปสู่ที่ๆควรจะเป็น และโดยเฉพาะ นักลงทุนที่เข้าใจมูลค่าจริงๆ ย่อมไม่อยากลงทุนเพิ่ม ในขณะที่ราคาสูงกว่าความเป็นจริง ดังนั้น นักลงทุนจะไม่เป็นตัวแกนนำในการทำให้ราคาหุ้นสูงกว่าความเป็นจริง
เลยน่าจะกล่าวได้ว่านักลงทุนเป็นกลไกหนึ่ง ที่ช่วยปรับสมดุลให้กับตลาดหุ้น ตลาดทุน
แล้วเมื่อนักลงทุน ลงทุนด้วยความรู้ ความเข้าใจและประสบความสำเร็จ ย่อมได้ผลตอบแทน และนักลงทุนที่แท้จริงมักลงทุนเป็นระยะยาว ผลตอบแทนจำนวนหนึ่งซึ่งไม่น้อย ย่อมมาจากเงินปันผล ซึ่งก็นำมาซึ่งการเสียภาษี ซึ่งเป็นการเสียภาษีที่เต็มเม็ดเต็มหน่วยมาก ซึ่งกรณีนี้ก็แตกต่างจากนักเก็งกำไร แต่ภาพที่คนทั่วไปเข้าใจ แยกแยะไม่ออก
ซึ่งประเทศไทย ก็เข้าอยู่ในรูปแบบทุนนิยม แล้วรูปแบบทุนนิยม ถ้าไม่มีนักลงทุน มาคอยประเมินมูลค่าที่แท้จริง จะเป็นเช่นไร
แล้วบุคคลในอาชีพ พ่อค้าแม่ค้า พนักงานออฟฟิศ นักแสดง แพทย์ นักกฎหมาย นักเรียน ที่ไม่ได้เข้าใจการลงทุน จะมาเป็นนักลงทุนที่แท้จริง และทำหน้าที่ในสิ่งที่นักลงทุนทำได้หรือ
กล่าวกันว่าทางภาคตะวันออกของรัฐเจ็งมีคนเก่งในวิทยาการสาขาต่างๆมากมาย ไป่เพิง (ศิษย์ของปรมาจารย์หลีจื๊อ) เดินทางผ่านไปทางภาคตะวันออกของรัฐเจ็งพร้อมบริวาร สวนทางกับเต็งสีขุนนางผู้ใหญ่ของรัฐคนหนึ่ง
เต็งสีหันมายิ้มกับลูกน้อง พูดว่า
ถ้าฉันจะทำให้นักบวชพวกนี้เต้นเป็นเจ้าเข้า พวกแกจะว่าอย่างไร
ก็ดีน่ะสิ ใต้เท้า ลูกน้องส่งเสริม
เต็งสีเดินตรงไปหาไป่เพิง พูดถากถางว่า
ท่านรู้ไหม การเลี้ยงดู กับการขุนสัตว์ ต่างกันตรงไหน อย่างบุตรเลี้ยงดูพ่อแม่เพราะพ่อแม่มีบุณคุณต่อตน คนขุนสัตว์เพราะได้ประโยชน์จากมัน ( เช่นเลี้ยงสุนัขไว้เฝ้าบ้าน เลี้ยงสุกรไว้กินเนื้อ) แต่นักบวชเช่นพวกท่าน จะว่าถูกเลี้ยงดูก็ไม่ใช่ เพราะไม่มีบุญคุณต่อรัฐ จะว่าถูกขุนก็ไม่ใช่เพราะไม่ได้ให้ประโยชน์อะไร พวกท่านทั้งหนุ่มและแก่ต่างอยู่ดีกินดี อ้วนท้วนสมบูรณ์เป็นหนี้บุญคุณต่อรัฐเปล่าๆ
ไป่เพิงไม่มีกิริยาโต้ตอบแต่อย่างใด แต่ศิษย์คนหนึ่งก้าวพรวดออกมาประจันหน้าเต็งสี กล่าวว่า
ท่านไม่เคยได้ยินหรือว่าในรัฐชี้ มีคนเชี่ยวชาญในวิชาการต่างๆมาก บางคนเป็นช่างปั้นหม้อ บางคนเป็นช่างเหล็ก ช่างไม้ ช่างหนัง นักเขียน นักทำนาย นักการทหาร นักศาสนา ในแต่ละวิชามีคนเก่งมากมาย คนเก่งเหล่านั้นไม่เคยตั้งใครไว้ในตำแหน่งใดๆ และไม่เคยสั่งให้ใครทำอะไร แต่คนที่ตั้งพวกเขาในตำแหน่งต่างๆ มักไม่มีความรู้และคนที่สั่งให้เขาทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ มักไม่มีความสามารถจะทำเองได้ ต้องอาศัยความรู้และความสามารถของคนเก่งเหล่านั้น ขุนนางเช่นพวกท่านที่ตั้งใครต่อใครในตำแหน่งต่างๆ และสั่งให้ใครทำอะไรให้ต่างหากเล่า เป็นหนี้บุญคุณคนเช่นพวกข้า อย่างนี้แล้วยังจะหยิ่งผยองอีกหรือ
เต็งสีไม่รู้จะโต้ตอบอย่างไร จึงเดินหนีไป
การเป็นนักลงทุนให้ประโยชน์อะไรกับประเทศชาติ และประชาชน ?
เป็นคำถามที่เหมือนกับจะหาคุณค่าของการเป็นนักลงทุน
นิทานเรื่องที่ยกขึ้นมา เป็นตัวอย่างหนึ่ง ซึ่ง บุคคลในเรื่องอยู่ในสภาวะการเป็นนักบวช หรือ พระ ( ในประเทศไทย)
ถ้ามองโดยทั่วไป นักบวช(ที่ดี) ไม่ได้ทำธุรกิจ ไม่ได้ตั้งใจในการทำมาหากินอย่างเป็นกิจจะลักษณะ ทุกๆวันไปรับ การตักบาตร จากบุคคลทั่วไปเพื่อเป็นอาหาร รับบริจาค จากบุคคลทั่วไปเพื่อสร้างวัด (ที่อยู่อาศัย)
ถ้าดูอย่างง่ายๆ ก็อาจจะคิดว่า นักบวชทำอะไร ขอ กิน นอน สวดมนต์
แต่ถ้าคิดดูให้ดีอย่างถี่ถ้วน นักบวชที่ดีก็มีหน้าที่ของนักบวช ซึ่งก็อยู่ในเกณฑ์ ทำเพื่อส่วนรวม
เช่น การเทศน์ คำสอนทางศาสนา ผู้มีทุกข์ กังวล ทั้งหลายเมื่อได้ฟังก็เกิดปัญญาแก้ไข ปัญหาในชีวิตของตนได้
สวดมนต์ในพิธีต่างๆ ก็ทำให้ผู้ได้ฟัง เชื่อได้ว่า ได้ทำสิ่งเหล่านั้นอย่างถูกต้องตามประเพณี ก็จะสบายใจ
การออกไปรับการตักบาตร ก็จะช่วยให้ผู้มาใส่บาตร สบายใจ รวมถึงลดความตระหนี่ ของตนด้วยการให้
นักบวชก็จะยังคงศึกษาคำสอนศาสนา และก็สืบต่อกันไป
และถ้าจะให้คนมีอาชีพ พ่อค้าทั่วไป ซึ่งคนสนใจ ในเรื่อง ของการซื้อขาย ผลกำไร จะมีความสามารถมานั่งศึกษาคำสอนศาสนา และทำอย่างที่นักบวช ทำได้หรือ
แล้วถ้าประเทศชาติ ขาดนักบวช หรือพระ ผู้คงในคำสอนที่ดี ประเทศ และประชาชนจะเป็นอย่างไร
กลับมาโจทย์ที่ว่า
การเป็นนักลงทุนให้ประโยชน์อะไรกับประเทศชาติ และประชาชน ?
ในมุมมองคนโดยทั่วไป จะเห็นว่า ใครที่นำเงิน และเอาไปซื้อหุ้นในตลาดหุ้น ก็คือนักลงทุน
ผมคิดว่ามันค่อนข้างจะผิดไปสักหน่อย ซึ่งจริงๆแล้ว ต้องเข้าใจและแยกแยะ ให้ออก
ซึ่ง แยกแบบง่ายๆ ได้เป็น นักลงทุน และ นักเก็งกำไร อาจจะดูความหมายได้จากหนังสือ intelligent investor
นักเก็งกำไร คงไม่ได้สนใจอะไรไปมากกว่า ตัวเลข บริษัท(พื้นฐานที่จะเป็นข่าว ดี หรือ ร้าย) และ ผลกำไร
และคนภายนอก ซึ่งก็มักจะยังไม่เข้าใจการลงทุนดีนัก แล้วมอง เข้ามาสู่ผู้ลงทุน ในหุ้น ก็มักจะมีภาพ ของนักเก็งกำไรติดอยู่ด้วย(ซึ่งคิดไปว่า นี่ก็คือนักลงทุน) เลยไม่แปลกที่คนๆนั้นจะคิดว่า คนพวกนี้พอหุ้นขึ้นก็ได้เงิน ไม่เห็นทำอะไร แล้วประเทศชาติ และประชาชนผู้อื่นจะได้ประโยชน์อย่างไร
และคนในตลาดโดยส่วนใหญ่ จะเก็งกำไร แล้วเหลือเพียงส่วนน้อยที่เป็นนักลงทุน
ซึ่งการที่บุคคลโดยทั่วไป ไม่สามารถแยกแยะ ระหว่างนักเก็งกำไร กับนักลงทุน และ ไม่เข้าใจ กลไก หน้าที่ของผู้ลงทุน แล้วสรุปเช่นนั้น ก็ทำให้นักลงทุนจริงๆ น้อยใจไม่น้อย
นักลงทุน ที่เป็นนักลงทุนจริงๆ น่าจะสรุปได้ว่าอยู่ในสายการเงิน จะมีลักษณะ การคิดที่พอจะได้ยินมา
มอง คิด และลงทุนในหุ้นแต่ละบริษัทเป็นระยะยาว ก็น่าจะเป็นความรู้ พื้นฐานด้านเศรษฐศาสตร์
การลงทุนในหุ้น ในธุรกิจ ต้องมีความรู้มากพอที่จะดูงบการเงิน ผลกำไรขาดทุน ซี่งเป็นความรู้ด้านบัญชีพื้นฐาน
การทำความเข้าใจ ในลักษณะ ประเภท และการดำเนินงานของบริษัท ซึ่งเป็นความรู้ ด้านการบริหารพื้นฐาน
การเข้าใจ ราคา ราคาที่ควรจะเป็น ผลตอบแทน ก็เป็นความรู้ด้านการเงินพื้นฐาน
ซึ่งถ้าจะถามว่า การเข้าใจความรู้เหล่านี้แล้วประสานได้ดี ก็คงจะไม่ใช่เรื่องง่ายนัก
ซึ่งนักลงทุนที่แท้จริงส่วนใหญ่จะเข้าใจ และอาจจะต้องพลิกแพลง และรู้มากกว่าสิ่งเหล่านี้ด้วยซ้ำ
แล้วเมื่อนักลงทุน ต้องการลงทุน นักลงทุนย่อม พยายาม ศึกษา บริษัท ที่ต้องการเข้าไปลงทุน อย่างมากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ย่อมเปรียบเสมือน การตรวจสอบที่นักลงทุนคนหนึ่งพอจะทำได้
ซึ่งยังเคยได้ยินอาจารย์ ท่านหนึ่ง นำเรื่องมาเล่าว่า ไปซื้อขนม ตามร้านขายปลีก ซึ่งบริษัทอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ แต่กลับปรากฏว่า พอซื้อ กลับไม่ได้รับใบเสร็จใดๆ ซึ่งผู้มีความรู้ด้านบัญชีบ้างก็จะคิดได้ว่า รายได้ส่วนนี้จะไปอยู่ที่ไหน ถ้าไม่มีการออกใบเสร็จจริงๆ ซึ่งก็จะเป็นการตั้งข้อสังเกตว่ามันเกิดอะไร ซึ่งก็จะทำให้เกิดโอกาส ที่เงิน ไม่ได้เข้าระบบบัญชีบริษัท และตกเป็นของพนักงาน ก็ได้ หรืออาจสามารถ เป็นในรูปแบบอื่นๆได้อีก ซึ่งถ้ารายได้เข้ามาถูกต้อง ระบบภาษี จะนำมาซึ่งรายได้เข้ารัฐมากขึ้นไม่มากก็น้อย แล้วถ้าเป็นบุคคลทั่วไปซื้อของแล้วเจอเหตุการณ์แบบนี้ ก็คงไม่คิดอะไรแล้วมันก็ผ่านไป
และเมื่อเกิดการตรวจสอบผู้ที่จะกระทำ ก็กระทำได้ยากกว่า การที่ไม่มีใครสนใจเลย
แล้วเมื่อนักลงทุน ลงทุนก็ย่อมสนใจอย่างยิ่งในหุ้นที่ถูกกว่ามูลค่าที่ควรจะเป็น และเมื่อมีนักลงทุน สนใจมากขึ้น เข้าใจบริษัทนั้นๆ ราคาก็จะปรับไปสู่ที่ๆควรจะเป็น และโดยเฉพาะ นักลงทุนที่เข้าใจมูลค่าจริงๆ ย่อมไม่อยากลงทุนเพิ่ม ในขณะที่ราคาสูงกว่าความเป็นจริง ดังนั้น นักลงทุนจะไม่เป็นตัวแกนนำในการทำให้ราคาหุ้นสูงกว่าความเป็นจริง
เลยน่าจะกล่าวได้ว่านักลงทุนเป็นกลไกหนึ่ง ที่ช่วยปรับสมดุลให้กับตลาดหุ้น ตลาดทุน
แล้วเมื่อนักลงทุน ลงทุนด้วยความรู้ ความเข้าใจและประสบความสำเร็จ ย่อมได้ผลตอบแทน และนักลงทุนที่แท้จริงมักลงทุนเป็นระยะยาว ผลตอบแทนจำนวนหนึ่งซึ่งไม่น้อย ย่อมมาจากเงินปันผล ซึ่งก็นำมาซึ่งการเสียภาษี ซึ่งเป็นการเสียภาษีที่เต็มเม็ดเต็มหน่วยมาก ซึ่งกรณีนี้ก็แตกต่างจากนักเก็งกำไร แต่ภาพที่คนทั่วไปเข้าใจ แยกแยะไม่ออก
ซึ่งประเทศไทย ก็เข้าอยู่ในรูปแบบทุนนิยม แล้วรูปแบบทุนนิยม ถ้าไม่มีนักลงทุน มาคอยประเมินมูลค่าที่แท้จริง จะเป็นเช่นไร
แล้วบุคคลในอาชีพ พ่อค้าแม่ค้า พนักงานออฟฟิศ นักแสดง แพทย์ นักกฎหมาย นักเรียน ที่ไม่ได้เข้าใจการลงทุน จะมาเป็นนักลงทุนที่แท้จริง และทำหน้าที่ในสิ่งที่นักลงทุนทำได้หรือ