หน้า 1 จากทั้งหมด 2

เงินปันผล PTTEP ไม่ได้รับเครดิตภาษี นับจาก 9 เม.ย. 2551

โพสต์แล้ว: จันทร์ เม.ย. 21, 2008 5:17 pm
โดย dome2000th
เงินปันผล PTTEP ไม่ได้รับเครดิตภาษีเงินปันผล ในการคำนวณภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร

อ้างอิง : ตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ที่ 37/2551 ครับ

เงินปันผล PTTEP ไม่ได้รับเครดิตภาษี นับจาก 9 เม.ย. 2551

โพสต์แล้ว: จันทร์ เม.ย. 21, 2008 5:22 pm
โดย ครรชิต ไพศาล
คัดลอกมาให้อ่าน บ้างสิ
เขาวินิจฉัยว่าอย่างไร

เงินปันผล PTTEP ไม่ได้รับเครดิตภาษี นับจาก 9 เม.ย. 2551

โพสต์แล้ว: จันทร์ เม.ย. 21, 2008 8:31 pm
โดย miracle
case นี้คือ PTT รับปันผลของ PTTEP แล้วนำมาจ่ายให้แก่นักลงทุนหรือเปล่าครับ
บอกให้ชัดเจนหน่อยครับ

หรือว่า เป็นเงินปันผลของ PTTEP โดยตรง

ตอนนี้สับสน
:)

เงินปันผล PTTEP ไม่ได้รับเครดิตภาษี นับจาก 9 เม.ย. 2551

โพสต์แล้ว: อังคาร เม.ย. 22, 2008 8:19 am
โดย dome2000th
เรียน พี่ครรชิต
ผมส่งไฟล์ คำวินิจฉัย-เงินปันผลปตท สผ

เงินปันผล PTTEP ไม่ได้รับเครดิตภาษี นับจาก 9 เม.ย. 2551

โพสต์แล้ว: อังคาร เม.ย. 22, 2008 8:46 am
โดย vision
แล้วของเก่าจะตามเอาคืนหรือเปล่าครับ

จำได้ว่าเมื่อนหลายปีมาแล้วเคยซื้ออยู่ร้อยหุ้น ยังมีรายงานประจำปีอยู่แสดงว่าได้ปันผล

เงินปันผล PTTEP ไม่ได้รับเครดิตภาษี นับจาก 9 เม.ย. 2551

โพสต์แล้ว: อังคาร เม.ย. 22, 2008 8:50 am
โดย ครรชิต ไพศาล
ทำไม มาเพิ่ง ประกาศ อย่างนี้ ละ

PTTEP เขาเครดิตภาษี ได้คืนกันมาเป็น 10 ปีแล้ว
แล้วมายกเลิก เอาปีนีัได้ไง :twisted:

สรรพากรเห็นเงินคืนเยอะๆ เลยงก..งก หาเรื่องไม่คืนภาษีให้เรา

เงินปันผล PTTEP ไม่ได้รับเครดิตภาษี นับจาก 9 เม.ย. 2551

โพสต์แล้ว: อังคาร เม.ย. 22, 2008 9:06 am
โดย ...
:!:  :evil:

เงินปันผล PTTEP ไม่ได้รับเครดิตภาษี นับจาก 9 เม.ย. 2551

โพสต์แล้ว: อังคาร เม.ย. 22, 2008 9:28 am
โดย dome2000th
เพิ่มเติม

คำวินิจฉัยนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ที่ลงในคำวินิจฉัยนี้เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2551

เงินปันผล PTTEP ไม่ได้รับเครดิตภาษี นับจาก 9 เม.ย. 2551

โพสต์แล้ว: อังคาร เม.ย. 22, 2008 9:35 am
โดย ส.สลึง
คล้ายกันครับพี่ครรชิต ผมยื่นภาษีไปตั้งแต่ 8 ก.พ. ตอนนี้ก็ยังเงียบฉี่เหมือนกัน
สาเหตุก็คงเพราะ PTTEP ด้วยส่วนนึง แต่ถ้ามองในแง่ดีที่สรรพากรมีวินิจฉัยชัดเจน(สักที)
เงินเราก็น่าจะได้คืนเร็วนี้ไงครับ

ปล. แต่ก็ยังไม่รู้ว่าเมื่อไหร่ :twisted: แฮ่...

เงินปันผล PTTEP ไม่ได้รับเครดิตภาษี นับจาก 9 เม.ย. 2551

โพสต์แล้ว: อังคาร เม.ย. 22, 2008 2:48 pm
โดย pairojtw
ผมยื่นขอภาษีคืน(มี PTTEP ด้วย) เมื่อ  3 มกรา 51  ได้เครดิตภาษีคืนเมื่อ
29 กุมภาพันธ์  51 รวมศิริ 3 เดือน อิดออดอยู่นานแต่ก็ได้คืนเครดิตภาษี
ของ PTTEP เป็นจำนวน 1 เท่าของเงินปันผลจริงๆ เจ้าหน้าที่ต้องส่งเรื่อง
เข้าสรรพากรเขตเนื่องจากจำนวนเงินคืนมากเกินอำนาจตัดสินใจ

เงินปันผล PTTEP ไม่ได้รับเครดิตภาษี นับจาก 9 เม.ย. 2551

โพสต์แล้ว: อังคาร เม.ย. 22, 2008 3:28 pm
โดย ...
บางคนได้ บางคนไม่ได้  :roll:

เงินปันผล PTTEP ไม่ได้รับเครดิตภาษี นับจาก 9 เม.ย. 2551

โพสต์แล้ว: อังคาร เม.ย. 22, 2008 4:30 pm
โดย wisut
ยื่นทาง internet เดือนกุมภาพันธ์
14  วันได้เช็ค  บริการดีเยี่ยม
มหัศจรรย์ใจไม่หาย.......ได้คืนมา 6 หลัก.....ไม่สอบถามอะไรเลย

เงินปันผล PTTEP ไม่ได้รับเครดิตภาษี นับจาก 9 เม.ย. 2551

โพสต์แล้ว: อังคาร เม.ย. 22, 2008 4:57 pm
โดย ครรชิต ไพศาล
อิจฉา คนได้คืนเร็ว จัง

ปีแรกที่ผมยื่นทางอินเตอร์เนท ก็ได้คืนเร็ว ยังหลงชมเขาเลยว่าเร็วดีจัง

พอปีที่สองก็ออกลาย ขอตรวจหลักฐาน เข้าไปเกือบ 3 เดือนกว่าจะได้เงิน

มาปีนี้เอาอีก ขอตรวจหลักฐานอีก ยื่นตั้งแต่ 26/2/08 จนบัดนี้ 22/4/08 แล้ว
ยังไม่มีวี่แววว่าจะได้เงินเลย เศร้า  :x

โทรไปถามว่า ส่งเอกสารไปให้แล้ว ใบปะหน้าก็แนบไปให้แล้ว
ทำไมสอบถามการคืนภาษี ในเวบยังบอกว่าไม่ได้รับเอกสาร
เขาก็ได้แต่บอกว่าถ้ามีเมล์ตอบกลับก็แสดงได้รับแล้ว ไม่ต้องห่วง
แต่เนื่องจากคนยื่นมากตรวจไม่ทัน ขอให้รอ.....รอ....ไปก่อนนะครับ  :x

เงินปันผล PTTEP ไม่ได้รับเครดิตภาษี นับจาก 9 เม.ย. 2551

โพสต์แล้ว: อังคาร เม.ย. 22, 2008 5:51 pm
โดย S&K Fund
พี่ยื่นช่วงเดียวกับพี่ครรชิตนะครับ
ปัจจุบันก็ไม่ได้รับเหมือนกัน รู้สึกว่าปีนี้จะช้ากว่าทุกๆปีนะครับ
ผมยื่นมาประมาณ 4 ปีแล้ว แถมปีนี้เข้าไปตรวจสอบว่าได้รับเอกสารแล้ว
แต่ก็ไม่เห็นช่วงให้ติดตามว่าจัดส่งให้เมื่อไร ช้าๆมาก :twisted:

เงินปันผล PTTEP ไม่ได้รับเครดิตภาษี นับจาก 9 เม.ย. 2551

โพสต์แล้ว: อังคาร เม.ย. 22, 2008 6:44 pm
โดย anakinnet
ไม่ทราบว่าคำสั่งนี้ขัดแย้งกับอันนี้หรือเปล่า ข้อ 19 ผมทำตัวหนา หนา เอาไว้
=========================================
คำสั่งกรมสรรพากร

ที่ ป. 119/2545

เรื่อง  การเครดิตภาษีเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร



--------------------------------



               เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการตรวจและแนะนำผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร กรณีการเครดิตภาษีเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไร ตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร กรมสรรพากรจึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้



               ข้อ   1   ให้ยกเลิกคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.108/2544 เรื่อง การเครดิตภาษีเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไร ตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2544



               ข้อ   2   กรณีบุคคลธรรมดาได้รับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย บุคคลธรรมดาผู้มีเงินได้จะได้รับเครดิตในการคำนวณภาษี โดยนำอัตราภาษีเงินได้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นต้องเสีย หารด้วยผลต่างของหนึ่งร้อย ลบด้วยอัตราภาษีเงินได้ดังกล่าวนั้น ได้ผลลัพธ์ เท่าใดให้คูณด้วยจำนวนเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรที่ได้รับ ผลลัพธ์ที่ได้เป็นเครดิตในการคำนวณภาษี ตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร

                          กรณีบุคคลธรรมดาได้รับเงินปันผลซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่งได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน และเป็นเงินปันผลที่จ่ายจากกำไรสุทธิของกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ผู้ได้รับเงินปันผลไม่ได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร



               ข้อ   3   กรณีบุคคลธรรมดาได้รับเงินปันผลซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร จากสถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม ซึ่งไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ได้รับเงินปันผลไม่ได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร แต่หากผู้ได้รับเงินปันผลเลือกเสียภาษีในอัตรา ร้อยละ 10.0 ของเงินได้ ก็ไม่ต้องนำเงินปันผลไปรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 48(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ ตามมาตรา 48(3) วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร



               ข้อ   4   กรณีบุคคลธรรมดาได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร จากกองทุนรวมตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งเงินได้ของกองทุนรวมดังกล่าวได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 42(24) แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรไม่ได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร แต่หากผู้ได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรเลือกเสียภาษีในอัตราร้อยละ 10.0 ของเงินได้ ก็ไม่ต้องนำเงินส่วนแบ่งของกำไรไปรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 48(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ ตามมาตรา 48(3) วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร



               ข้อ   5   กรณีบุคคลธรรมดาได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร จากกองทุนรวมที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรไม่ได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร แต่หากผู้ได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรยอมให้ผู้จ่ายเงินได้นั้นหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50(2) แห่งประมวลรัษฎากร ในอัตราร้อยละ 10.0 ของเงินได้ เมื่อถึงกำหนดยื่น รายการ ผู้ได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินส่วนแบ่งของกำไรดังกล่าวมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ทั้งนี้ เฉพาะกรณีผู้ได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรไม่ขอรับเงินภาษีที่ ถูกหักไว้นั้นคืน หรือไม่ขอเครดิตเงินภาษีที่ถูกหักไว้นั้น ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 262) พ.ศ. 2536



               ข้อ   6   กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยได้รับเงินปันผลจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่งได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน และเป็นเงินปันผลที่จ่ายจากกำไรสุทธิของกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ผู้ได้รับเงินปันผลได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินปันผลดังกล่าวมารวมคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งนี้ ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน



               ข้อ   7   กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยและบริษัทจดทะเบียน ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรจากกองทุนรวมที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินส่วนแบ่งของกำไรดังกล่าวมารวมคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 263) พ.ศ. 2536



               ข้อ   8   กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่งเป็นบริษัทจำกัด ได้รับเงินปันผลจากบริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย หรือสถาบันการเงิน ที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม หรือได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรจากกองทุนรวมตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ได้รับเงินปันผลและเงินส่วนแบ่งของกำไรได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินปันผลและเงินส่วนแบ่งของกำไรดังกล่าวจำนวนกึ่งหนึ่งมารวมคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา 65 ทวิ (10) แห่งประมวลรัษฎากร

                          กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามวรรคหนึ่ง ได้รับเงินปันผลจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่งได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน และเป็นเงินปันผลที่จ่ายจากกำไรสุทธิของกิจการที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ผู้ได้รับเงินปันผลได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินปันผลดังกล่าวจำนวนกึ่งนึ่งมารวมคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา 65 ทวิ (10) แห่งประมวลรัษฎากร

                          กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามวรรคหนึ่ง ได้รับเงินส่วนแบ่งกำไรจากกิจการร่วมค้า ซึ่งมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ได้รับเงินส่วนแบ่งกำไรได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินส่วนแบ่งกำไรดังกล่าวทั้งจำนวนมารวมคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา 65 ทวิ (10) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา 5 ทวิ (1) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2500



               ข้อ   9   กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยดังต่อไปนี้ได้รับเงินปันผลจากบริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรือ อุตสาหกรรม หรือได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรจากกองทุนรวมตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ได้รับเงินปันผลและเงินส่วนแบ่งของกำไรได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินปันผลและเงินส่วนแบ่ง ของกำไรดังกล่าวทั้งจำนวนมารวมคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งนี้ ตาม หลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา 65 ทวิ (10) แห่งประมวลรัษฎากร

                          (1)  บริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่งถือหุ้นในบริษัทจำกัดผู้จ่ายเงินปันผลไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงในบริษัทจำกัดผู้จ่ายเงินปันผลและบริษัทจำกัดผู้จ่ายเงินปันผลไม่ได้ถือหุ้นในบริษัทจำกัดผู้รับเงินปันผลไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม

                          (2)  บริษัทจดทะเบียน ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร

                          กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามวรรคหนึ่ง ได้รับเงินปันผลจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่งได้รับการส่งเสริมการลงทุนตาม กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน และเป็นเงินปันผลที่จ่ายจากกำไรสุทธิของกิจการที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ผู้ได้รับเงินปันผลได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินปันผลดังกล่าวทั้งจำนวนมารวมคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา 65 ทวิ (10) แห่งประมวลรัษฎากร

                          กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามวรรคหนึ่ง ได้รับเงินส่วนแบ่งกำไรจากกิจการร่วมค้า ซึ่งมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ได้รับเงินส่วนแบ่งกำไรได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินส่วนแบ่งกำไรดังกล่าวทั้งจำนวนมารวมคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา 65 ทวิ (10) แห่งประมวลรัษฎากร



               ข้อ   10   กรณีบุคคลธรรมดาได้รับเงินปันผล ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยจ่ายจากเงินปันผลที่ได้รับจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่งได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามกฎหมาย ว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน และเป็นเงินปันผลที่จ่ายจากกำไรสุทธิของกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามข้อ 6 ผู้ได้รับเงินปันผลไม่ได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร

                          กรณีบุคคลธรรมดาได้รับเงินปันผล ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยจ่ายจากเงินส่วนแบ่งของกำไรที่ได้รับจากกองทุนรวมที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ตามข้อ 7ผู้ได้รับเงินปันผลไม่ได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร



               ข้อ   11   กรณีบุคคลธรรมดาได้รับเงินปันผล ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย และเป็นเงินปันผลที่เข้าลักษณะตามข้อ 8 และข้อ 9 ผู้ได้รับเงินปันผลได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร



               ข้อ   12   กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยจ่ายเงินปันผลซึ่งเป็นเงินปันผลที่จ่ายจากกำไรเฉพาะส่วนที่เกิดขึ้นตามข้อ 10 ผู้จ่ายเงินปันผลจะต้องระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายว่า ไม่ได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร

                          กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยจ่ายเงินปันผลซึ่งเป็นเงินปันผลที่จ่ายจากกำไรทั้งในส่วนที่เกิดขึ้นตามข้อ 10 และกำไรจากการประกอบกิจการตามข้อ 11 ผู้จ่ายเงินปันผลจะต้องระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้ชัดเจนว่า เงินที่ได้จ่ายนั้นจำนวนใดได้รับเครดิตภาษี และจำนวนใดไม่ได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร



               ข้อ   13   กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยประกอบกิจการที่ต้องเสียภาษีเงินได้หลายอัตรา เมื่อจ่ายเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรให้แก่ผู้รับซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา และผู้จ่ายเงินได้ทราบโดยชัดแจ้งว่าจ่ายจากเงินกำไรหลังจากเสียภาษีในอัตราใด ผู้จ่ายเงินได้จะต้องระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้ชัดเจนว่าเงินปันผลหรือ เงินส่วนแบ่งของกำไรที่จ่ายนั้นจำนวนใดได้มาจากกิจการที่ต้องเสียภาษีเงินได้ในอัตราใด

                           กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามวรรคหนึ่ง จ่ายเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรให้แก่ผู้รับซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา และผู้จ่ายเงินได้ไม่สามารถทราบโดยชัดแจ้งว่าจ่ายจากเงินกำไรหลังจากเสียภาษีในอัตราใด ผู้จ่ายเงินได้ต้องเฉลี่ยเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรตามส่วนของกำไรหลังจากเสียภาษีในแต่ละอัตราภาษี และจะต้องระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้ชัดเจนว่าเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรที่จ่ายนั้นจำนวนใดได้มาจากกิจการที่ต้องเสียภาษีเงินได้ในอัตราใด



               ข้อ   14   กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้จ่ายเงินปันผลแสดงข้อความที่กำหนดให้ต้องระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามข้อ 12 และข้อ 13 ถูกต้อง และผู้มีเงินได้มิได้นำไปใช้เครดิตภาษี หรือนำไปใช้เครดิตภาษีถูกต้องตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ผู้จ่ายเงินได้และผู้มีเงินได้ไม่ต้องรับผิดตามมาตรา 47 ทวิ วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร



               ข้อ   15   กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้จ่ายเงินปันผลแสดงข้อความที่กำหนดให้ต้องระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามข้อ 12 และข้อ 13 ถูกต้อง และผู้มีเงินได้นำไปใช้เครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร แต่ใช้เครดิตภาษีไม่ถูกต้อง โดยเครดิตภาษีที่คำนวณได้มีจำนวนเกินกว่าที่ผู้มีเงินได้พึงได้รับ อันเป็นเหตุให้ผู้มีเงินได้ได้ รับเงินภาษีคืนเกินไปหรือชำระภาษีไว้ไม่ครบถ้วน ผู้จ่ายเงินได้ไม่ต้องรับผิดตามมาตรา 47 ทวิ วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับผู้มีเงินได้ต้องรับผิดตามจำนวนเงินภาษีที่ได้รับคืนเกินไปหรือเงินภาษีที่ชำระไว้ไม่ครบถ้วน ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจเรียกคืนเงินจำนวนดังกล่าวหรือประเมินเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติมจากผู้มีเงินได้ แล้วแต่กรณี ตามมาตรา 47 ทวิ วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร



               ข้อ   16   กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้จ่ายเงินปันผลแสดงข้อความที่กำหนดให้ต้องระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามข้อ 12 และข้อ 13 ไม่ถูกต้อง และผู้มีเงินได้มิได้นำไปใช้เครดิตภาษี ตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ผู้จ่ายเงินได้และ ผู้มีเงินได้ ไม่ต้องรับผิดตามมาตรา 47 ทวิ วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร



               ข้อ   17   กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้จ่ายเงินปันผลแสดงข้อความที่กำหนดให้ต้องระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามข้อ 12 และข้อ 13 ไม่ถูกต้อง และผู้มีเงินได้นำไปใช้เครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร โดยเครดิตภาษีที่คำนวณได้มีจำนวนเกินกว่าที่ผู้มีเงินได้พึงได้รับ ซึ่งอาจเป็นเหตุให้ผู้มีเงินได้จะได้รับเงินภาษีคืนเกินไป หากผู้มีเงินได้ยังไม่ได้รับเงินภาษีคืน หรือได้รับเงินภาษีคืนแต่ยังไม่เกินกว่าจำนวนที่พึงได้รับ ผู้จ่ายเงินได้และผู้มีเงินได้ไม่ต้องรับผิดตามมาตรา 47 ทวิ วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร



               ข้อ   18   กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้จ่ายเงินปันผลแสดงข้อความที่กำหนดให้ต้องระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามข้อ 12 และข้อ 13 ไม่ถูกต้อง และผู้มีเงินได้นำไปใช้เครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร โดยเครดิตภาษีที่คำนวณได้มีจำนวนเกินกว่าที่ผู้มีเงินได้พึงได้รับ อันเป็นเหตุให้ผู้มีเงินได้ได้รับเงินภาษีคืนเกินไปหรือชำระภาษีไว้ไม่ครบถ้วน ผู้จ่ายเงินได้ต้องรับผิดร่วมกับผู้มีเงินได้ตามจำนวนเงินภาษีที่ได้รับคืนเกิน ไปหรือเงินภาษีที่ชำระไว้ไม่ครบถ้วน ตามมาตรา 47 ทวิ วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่ง เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจเรียกคืนเงินจำนวนดังกล่าวหรือประเมินเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติมจาก ผู้จ่ายเงินได้ก่อน แต่ถ้าเรียกคืนเงินภาษีหรือเรียกเก็บภาษีจากผู้จ่ายเงินได้ไม่ได้หรือไม่ครบจำนวนที่ถูกต้อง เจ้าพนักงานประเมินก็มีอำนาจเรียกคืนเงินภาษีหรือเรียกเก็บภาษีจากผู้มีเงินได้ ตามมาตรา 18 แห่งประมวลรัษฎากร

                          กรณีผู้มีเงินได้ได้รับเงินปันผลจากผู้จ่ายเงินได้หลายราย และผู้จ่ายเงินได้บางรายแสดงข้อความที่กำหนดให้ต้องระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามข้อ 12 และข้อ 13 ไม่ถูกต้อง หากผู้มีเงินได้นำไปใช้เครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร โดยเครดิตภาษีที่คำนวณได้มีจำนวนเกินกว่าที่ผู้มีเงินได้พึงได้รับ อันเป็นเหตุให้ผู้มีเงินได้ได้รับเงินภาษีคืนเกินไปหรือชำระภาษีไว้ไม่ครบถ้วน ผู้จ่ายเงินได้ซึ่งแสดงข้อความที่กำหนดให้ต้องระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ไม่ถูกต้อง ต้องรับผิดร่วมกับผู้มีเงินได้ตามจำนวนเงินภาษีที่ได้รับคืนเกินไปหรือเงินภาษีที่ชำระไว้ไม่ครบถ้วน ตามมาตรา 47 ทวิ วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร



               ข้อ   19   กรณีบุคคลธรรมดาได้รับเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่งเป็นเงินปันผลที่ได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ตามข้อ 11 ผู้มีเงินได้จะเลือกเสียภาษีในอัตราร้อยละ 10.0 ของเงินได้ โดยไม่ต้องนำไปรวมคำนวณกับเงินได้อื่นก็ได้ ในกรณีเลือกนำไปรวมคำนวณกับ เงินได้อื่น ผู้มีเงินได้จะได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร และในกรณีที่ได้รับเงินปันผลที่ได้รับเครดิตภาษีจากผู้จ่ายหลายราย ผู้มีเงินได้จะต้องนำเงินได้ดังกล่าวที่ได้รับในปีภาษีทุกรายมารวมคำนวณภาษี ไม่สามารถเลือกเฉพาะบางรายนำมารวมคำนวณภาษีเพื่อได้รับเครดิตภาษี



               ข้อ   20   บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง หรือคำวินิจฉัยใด ที่ขัดหรือแย้งกับคำสั่งนี้ให้เป็นอันยกเลิก



สั่ง ณ วันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545



วิชัย จึงรักเกียรติ

(นายวิชัย จึงรักเกียรติ)

รองอธิบดี รักษาราชการแทน

อธิบดีกรมสรรพากร

เงินปันผล PTTEP ไม่ได้รับเครดิตภาษี นับจาก 9 เม.ย. 2551

โพสต์แล้ว: อังคาร เม.ย. 22, 2008 9:43 pm
โดย miracle
อย่างนี้ PTTEP ก็ตกสวรรค์เลยล่ะนั้น
จากที่ PTTEP จ่ายปันผลทุกบาททุกสตางค์ แล้วได้คืนทั้งหมด
กลายเป็นว่า PTTEP จ่ายปันผลทุกบาททุกสตางค์เท่ากับ ต้องเสียภาษีแถมไม่ได้คืนเครดิตภาษี ต้องจ่ายเพิ่มเติมด้วย
งานนี้ หุ้น PTTEP ก็ไม่ใช่หุ้นสำหรับใช้คืนเครดิตภาษีต่อไปแล้ว

:)

เงินปันผล PTTEP ไม่ได้รับเครดิตภาษี นับจาก 9 เม.ย. 2551

โพสต์แล้ว: อังคาร เม.ย. 22, 2008 9:45 pm
โดย miracle
นี้คือส่วนหนึ่งของอำนาจรัฐ ที่สามารถให้คุณและให้โทษได้
จากการออกคำสั่ง หรือออกกฏ มาให้ปฏิบัติในกิจการต่างๆ

ตัวอย่างนี้น่าจะเข้าเป็นตัวอย่าง CASE STUDY CLASSIC สำหรับหุ้นปันผล
ที่อดีต เป็นหุ้นยอดนิยมในส่วนของปันผล
แต่ปัจจุบันเมื่อมีกฏระเบียบใหม่เป็นหุ้นตกกระป๋อง

:)

เงินปันผล PTTEP ไม่ได้รับเครดิตภาษี นับจาก 9 เม.ย. 2551

โพสต์แล้ว: อังคาร เม.ย. 22, 2008 9:53 pm
โดย miracle
คำชี้ขาดในกรณีนี้
ไม่ถือว่าเป็นคำตัดสินของศาล
ทำให้สามารถยื่นต่อศาลเพื่อชี้ขาดต่อได้ว่า
กรณีแบบนี้ ได้เครดิตภาษีคืนหรือไม่ได้ครับ

ย้ำว่าเป็นคำวินัยฉัยเท่านั้น
ถ้าหาก คนที่ยื่นภาษีแล้วข้องใจสามารถท้วงได้ตามเวลาที่กำหนด
และสามารถบอกข้อกฏหมายที่มันขัดกันว่าทำไมต้องยื่นแบบนี้เพราะอะไร
จะได้เอาไปตีความต่อ แล้วเป็นไม้บรรทัดต่อไป

อันนี้ดูจากโหดร้ายไปหน่อย แต่เพื่อปกป้องสิทธิ์ แต่มันเสียเวลา
เพราะไม่ต้องการขึ้นโรงขึ้นศาลหรอก

:)

เงินปันผล PTTEP ไม่ได้รับเครดิตภาษี นับจาก 9 เม.ย. 2551

โพสต์แล้ว: อังคาร เม.ย. 22, 2008 10:24 pm
โดย anakinnet
ช่วยเอา คำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ที่ 37/2551 มาแปะให้อ่านกันหน่อยสิครับ

เงินปันผล PTTEP ไม่ได้รับเครดิตภาษี นับจาก 9 เม.ย. 2551

โพสต์แล้ว: พุธ เม.ย. 23, 2008 2:50 am
โดย ปุย
แล้วมีผลกับ PTTEP ตัวเดียวหรือครับ
จะมีผลกับหุ้นตัวอื่นหรือเปล่า ?

เงินปันผล PTTEP ไม่ได้รับเครดิตภาษี นับจาก 9 เม.ย. 2551

โพสต์แล้ว: พุธ เม.ย. 23, 2008 7:22 am
โดย ครรชิต ไพศาล
เขาตีความ จากความแตกต่างของข้อความสีน้ำเงิน เพียงเพื่อว่าจะได้ไม่ต้องจ่ายคืนภาษี
เขาไม่ได้ตีความถึงเจตนารมณ์ เพื่อมุ่งการส่งเสริมการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์

1. ผู้มีเงินได้ที่เป็นบุคคลธรรมดาได้รับเงินปันผลจากบริษัทที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียมและเป็นเงินปันผลซึ่งจ่ายจากกำไรสุทธิที่ได้จากกิจการปิโตรเลียม ไม่ได้รับเครดิตในการคำนวณภาษีตามมาตรา 47 ทวิแห่งประมวลรัษฎากร เนื่องจากการเครดิตภาษีเงินปันผลตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร เงินปันผลดังกล่าวจะต้องจ่ายจากกำไรสุทธิที่ได้เสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากรแล้วเท่านั้น


เขาบอกว่า ภาษีเงินได้ตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ไม่ใช่ ภาษีเงินได้ตามกฎหมายภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร
แต่ผมขอเห็นแย้งว่า ภาษีเงินได้ตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียม เป็นกฎหมายย่อย ของกฎหมายภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร
จาก ข้อความใน พระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514
หมวด 1 ข้อความทั่วไป มาตรา 14
ภาษีค้าง
มาตรา 14 ภาษีที่ต้องเสียหรือนำส่งตามพระราชบัญญัตินี้เมื่อถึงกำหนดชำระหรือนำส่งแล้วมิได้ชำระหรือนำส่ง ให้ถือเป็นภาษีค้าง
เพื่อให้ได้รับชำระภาษีค้าง ให้นำบทบัญญัติตามประมวลรัษฎากรที่เกี่ยวกับวิธีการเพื่อให้ได้รับชำระภาษีอากรค้างมาใช้บังคับ
ที่มี ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ขึ้นมาก็เพื่อกำหนดอัตราภาษีที่ต่างไปจากธุรกิจอื่นเท่านั้น ไม่ใช่ไม่อยู่ภายใต้ประมวลรัษฎากร
จะเห็นได้ว่า ประมวลรัษฎากร เป็นกฎหมายหลักในการเก็บภาษีเข้ารัฐ
ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม เป็นกฎหมายย่อย ต้องอยู่ภายใต้ประมวลรัษฎากร จะอ้างว่าไม่อยู่ภายใต้ ประมวลรัษฎากร ไม่น่าจะถูก

ในเวบนี้ถ้ามีใครที่รู้จักกับ หมอ สุรพงษ์ สืบวงค์ลี รัฐมนตรีคลัง

เงินปันผล PTTEP ไม่ได้รับเครดิตภาษี นับจาก 9 เม.ย. 2551

โพสต์แล้ว: พุธ เม.ย. 23, 2008 7:43 am
โดย hot
คนเครดิตภาษีปีที่ผ่านมา จะผ่านไป

หรือเปล่าคับ

หรือมีการเรียบภาษีบุคคลธรรมดาเพิ่มเติมพร้อม
เบี้ยปรับ2เท่า+ดอกเบี้ยหรือเปล่าคับ

หรือ

ให้เริ่มตั้งแต่คนซื้อหุ้น9เมษายนเป็นต้นไป
ที่เครดิตภาษีไม่ได้

อ่านแล้วงง

เงินปันผล PTTEP ไม่ได้รับเครดิตภาษี นับจาก 9 เม.ย. 2551

โพสต์แล้ว: พุธ เม.ย. 23, 2008 10:46 am
โดย miracle
ประเด็นของพี่ครรชิต ไพศาล น่าสนใจ
เนื่องจาก มีคดีความหลายคดีที่ต้องพิจารณาตีความในเรื่องลำดับของกฏหมาย
ซึ่งในประเด็นของพี่ก็เข้าข่ายนี้
:)

เงินปันผล PTTEP ไม่ได้รับเครดิตภาษี นับจาก 9 เม.ย. 2551

โพสต์แล้ว: พุธ เม.ย. 23, 2008 11:39 am
โดย krisy
พี่ครรชิตจับประเด็นได้น่าสนใจมากค่ะ คงต้องรอผู้รู้ทางกฎหมายมาเฉลย แต่สำหรับเรื่องกฎหมายย่อยกับพวกแม่บทเนี่ย ปกติเคยเข้าใจว่าถ้ามีฉบับเฉพาะเรื่องก็จะต้องบังคับใช้ตามฉบับนั้น ในส่วนที่ไม่มีหรือไม่ได้กล่าวถึงเราถึงจะต้องไปดึงเอาฉบับใหญ่มาใช้ ดังนั้นในเรื่องของการขอเครดิตปันผล ถ้าในกฎหมายเงินได้ปิโตรเลียมไม่ได้ระบุไว้ชัดเจน (ลองหาใน link ที่พี่หามาแล้วไม่เจอ) ก็น่าจะต้องไปใช้แนวของประมวลรัษฎากรนะคะ

สรรพากรทำอะไรไม่ค่อยเคลียร์เลย

เงินปันผล PTTEP ไม่ได้รับเครดิตภาษี นับจาก 9 เม.ย. 2551

โพสต์แล้ว: พุธ เม.ย. 23, 2008 5:31 pm
โดย Pekko
ผมก็เป็นผู้ถือหุ้น PTTEP เหมือนกัน ถ้าดูตามมาตรา 12 และ 13 เหมือนจะไม่ได้ ผมเข้าใจว่า PTTEP ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ประจำปี เพราะได้รับยกเว้น มีหน้าที่ชำระภาษีตามกฎหมายปิโตรเลียม (50-60% ของกำไรสุทธิ) ซึ่งถ้ามองหลักทางบัญชี แล้วเหมือนว่า ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม เป็นค่าใช้จ่ายตัวหนึ่ง  :cry:  แต่ ไม่ต้องตกใจครับ  เพราะเคยมีคนถามสรรพากรไปแล้วดังนี้ครับ


เลขที่หนังสือ
: กค 0706/3634

วันที่
: 18 เมษายน 2546

เรื่อง
: ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีเครดิตภาษีของเงินปันผลมาตรา 47 ทวิ
ข้อกฎหมาย ข้อหารือ
: บุคคลธรรมดาได้รับเงินปันผลที่บุคคลธรรมดาได้รับจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่
ประกอบกิจการตามพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 ซึ่งเสียภาษีเงินได้ปิโตรเลียมในอัตราร้อยละ
50 ของกำไรสุทธิ บุคคลธรรมดาหารือว่า จะได้รับเครดิตภาษีของเงินปันผลในการคำนวณ
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเช่นเดียวกับกรณีที่ได้รับเงินปันผลจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เสีย
ภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 30 หรือไม่

แนววินิจฉัย : กฎหมายมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร บัญญัติว่า ให้ผู้มีเงินได้ตามมาตรา 40(4)(ข)
แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งได้รับจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามตามกฎหมายไทย ได้รับ
เครดิตภาษีโดยให้นำอัตราภาษีเงินได้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นต้องเสีย หารด้วยผลต่างของหนึ่ง
ร้อยลบด้วยอัตราภาษีเงินได้ดังกล่าวนั้น ได้ผลลัพธ์เท่าใดให้คูณด้วยจำนวนเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของ
กำไรที่ได้รับ ดังนั้น กรณีที่บุคคลธรรมดาได้รับเงินปันผลจากบริษัทที่ประกอบกิจการปิโตรเลียมตาม
พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 ซึ่งเสียภาษีเงินได้ปิโตรเลียมตามพระราชบัญญัติ
ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 แทนการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร กรณีดังกล่าว
จึงถือว่าเป็นการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทที่ประกอบกิจการปิโตรเลียมเช่นเดียวกัน ฉะนั้น หาก
บริษัทที่จ่ายเงินปันผลดังกล่าวเป็นบริษัทไทย และบุคคลธรรมดาผู้รับเงินปันผลเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยหรือ
มีภูมิลำเนาในประเทศไทย บุคคลธรรมดาจึงมีสิทธิได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่ง
ประมวลรัษฎากร
เลขตู้
: 66/32374

http://www.rd.go.th/publish/24776.0.html

ดังนั้นการวินิจฉัยที่ว่ากันใหม่นี้ (จริงๆ แล้ว ผมยังไม่เห็นเลย) น่าจะตีความดังที่พี่ครรชิต ตั้งข้อสังเกตไว้ครับ ส่วนผู้ถือหุ้นก็ยังน่าจะได้รับเครดิตภาษีเหมือนเดิมนะ (แอบเข้าข้างตัวเอง)  :P  :P  :P

เงินปันผล PTTEP ไม่ได้รับเครดิตภาษี นับจาก 9 เม.ย. 2551

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. เม.ย. 24, 2008 7:22 am
โดย terati20
คำวินิจฉัย ของกรมสรรพกรถือเป็นที่สิ้นสุดละเปล่าครับ

กลัวจะเป็นหมือนกรณี ทักกี้ อีก...
:8)

เงินปันผล PTTEP ไม่ได้รับเครดิตภาษี นับจาก 9 เม.ย. 2551

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. เม.ย. 24, 2008 4:22 pm
โดย P67
ผมคิดว่าเราน่าจะให้ ปตท.สผ. ออกหน้าแทนผู้ถือหุ้น
แล้วเท่าที่ผมได้ลองโทรไปคุยกับIR ทางนั้นทราบเรื่องแล้ว
และกำลังประชุมกันอยู่ว่าจะดำเนินการอย่างไร

เงินปันผล PTTEP ไม่ได้รับเครดิตภาษี นับจาก 9 เม.ย. 2551

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. เม.ย. 24, 2008 5:28 pm
โดย miracle
terati20 เขียน:คำวินิจฉัย ของกรมสรรพกรถือเป็นที่สิ้นสุดละเปล่าครับ

กลัวจะเป็นหมือนกรณี ทักกี้ อีก...
:8)
ไม่เป็นที่สิ้นสุดครับ
ต้องคำวินิจฉัยของศาลฏีกาเท่านั้นครับ
:)

เงินปันผล PTTEP ไม่ได้รับเครดิตภาษี นับจาก 9 เม.ย. 2551

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. เม.ย. 24, 2008 5:40 pm
โดย ...
P67 เขียน:ผมคิดว่าเราน่าจะให้ ปตท.สผ. ออกหน้าแทนผู้ถือหุ้น
แล้วเท่าที่ผมได้ลองโทรไปคุยกับIR ทางนั้นทราบเรื่องแล้ว
และกำลังประชุมกันอยู่ว่าจะดำเนินการอย่างไร
เห็นด้วยครับ

เงินปันผล PTTEP ไม่ได้รับเครดิตภาษี นับจาก 9 เม.ย. 2551

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. เม.ย. 24, 2008 6:49 pm
โดย tingku
น่าจะส่ง link นี้ให้ทาง IR ของ PTTEP ด้วยนะครับ ผมว่ามีประเด็นดีๆ เยอะ อย่างประเด็นของพี่ครรชิต ก็น่าสนใจครับ

อีกทางที่ผมว่าน่าจะทำได้คือ พี่ๆ ในนี้หลายคนได้ออก TV กันอยู่เนืองๆ ถ้าลองหยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมาพูดในแง่ สงสัยความจริงใจในการส่งเสริมการลุงทุนของรัฐบาล ก็น่าจะทำให้เกิดกระแสได้ไม่มากก็น้อยครับ

ผมไม่ได้ถือทั้ง PTT และ PTTEP แต่ผมเคยสงสัยมานานว่าถ้ารัฐยกเลิกกฎหมาย เครดิตภาษี แล้วผมยังจะถือหุ้นปันผลต่อไปหรือไม่ พอดีมาเจอประเด็นนี้เลยขอเข้ามาแจมครับ