หน้า 1 จากทั้งหมด 1

ทำไม ROA ถึงสูงกว่า ROE ได้ครับ

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. พ.ค. 01, 2008 7:11 am
โดย Basel View
ผมดูใน web settrade หลายบริษัท ROA มากกว่า ROE ซึ่งผมคิดว่าเกิดได้กรณีเดียวเท่านั้นคือ Equity ติดลบ แต่ผมดูแล้ว Equity ก็ไม่ได้ติดลบ หรือใน web settrade ข้อมูลผิดครับ

อย่าง TF
ROA 14.17
ROE 13.7

ขอบคุณทุกท่านครับ

ทำไม ROA ถึงสูงกว่า ROE ได้ครับ

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. พ.ค. 01, 2008 7:57 am
โดย ครรชิต ไพศาล
ROA = กำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษี/สินทรัพย์เฉลี่ยต้นงวดท้ายงวด
ROE = กำไรสุทธิ/ส่วนผู้ถือหุ้นเฉลี่ยต้นงวดท้ายงวด

กรณีนี้ มีสิทธิ์เกิดขึ้นได้ครับ
ถ้าบริษัทนั้น มี สินทรัพย์เฉลี่ยต้นงวดท้ายงวด และ ส่วนผู้ถือหุ้นเฉลี่ยต้นงวดท้ายงวด ใกล้เคียงกันมาก
คือมี หนี้สิน/ส่วนผู้ถือหุ้น ต่ำมากๆ เช่นตัวอย่างข้างล่างนี้

รูปภาพ

ทำไม ROA ถึงสูงกว่า ROE ได้ครับ

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. พ.ค. 01, 2008 3:06 pm
โดย humdrum
คือมี หนี้สิน/ส่วนผู้ถือหุ้น ต่ำมากๆ เช่นตัวอย่างข้างล่างนี้
  เห็นคนตอบเป็นพี่ครรชิตยิ่งต้องอ่านเลยครับ
 เพราะเรื่องการสังเกตและการจดบันทึก Observe and record ไม่มีใครเก่งเท่าพี่จริงๆ ครับ  :wink:
 
     ผมพึ่งสังเกต Aprint ก็มีพฤติกรรมอย่างนี้

ROE(%) 19.75 18.47 18.86 14.81

   ผมตั้งสมุติฐานว่า asset ทีสร้างรยได้ที่แท้จริงของ aprint คือ คนมากกว่าเครืองจักรและที่ดินซึ่งเป็น assets รองลงไป ก็เลยคิดว่า ROA ทีสูงนั้น มาจากการที่ Asset ที่เป็นคนไมได้เอามาหารด้วย ROA ก็เลยสูง

     แต่คิดแล้ว TF ก้ไม่น่ามีพฤติกรรมเป้นลักษณะเช่นเดียวกับ aprint

     หรือว่า Asset ที่แท้จริงที่สร้างรายได้ให้กับ TF เป็นคน?

ทำไม ROA ถึงสูงกว่า ROE ได้ครับ

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. พ.ค. 01, 2008 3:14 pm
โดย humdrum
วิธีที่หนึ่ง การสังเกตและจดบันทึก (Observe and record) เป็นการศึกษาที่ง่ายๆศึกษาชีวิตในธรรมชาติของมัน โดยการศึกษาจากธรรมชาติโดยตรง
TF

                47   *   48  *    49 *   50
ROA(%) 14.19   16.62  16.72   14.17    

ROE(%) 14.59   16.88  16.79   13.70

วิธีที่สอง วิธีการทดลองในภาคสนาม เพื่อหาคำตอบเกี่ยวกับการตอบสนองของสิ่งมีชีวิตต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม

  ปี 50 มีสิ่งแวดล้อมอะไรมากระทบ Tf ครับ จึงเป็นผลให้ R ตอบสนองลดลง และเป็นผลให้ ROA ROE ลดลงด้วย????

ทำไม ROA ถึงสูงกว่า ROE ได้ครับ

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. พ.ค. 01, 2008 3:26 pm
โดย humdrum
มีอีกตัวครับที่ผมเลี้ยงอยู่
แต่ไม่ยักมีพฤติกรรมที่ว่า

 มี หนี้สิน/ส่วนผู้ถือหุ้น ต่ำมากๆ แล้ว ROA > ROE

GRAMMY

                    47               48               49           50
สินทรัพย์รวม 5,907.41   7,172.46   6,665.92   6,719.00    

หนี้สินรวม   2,295.90   3,576.51      3,052.11    3,071.30    

ส่วนของผู้ถือหุ้น 3,203.98    2,937.09    2,906.59   2,984.64  
 

มูลค่าหุ้นที่เรียกชำระแล้ว 500.00 490.00 490.00 490.00    

รายได้รวม 6,671.44 6,313.28 6,427.26 7,317.34    

กำไรสุทธิ 700.20 203.51 208.76 502.24    

กำไรต่อหุ้น(บาท) 1.43 0.42 0.43 1.02    

อัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญ  

ROA(%) 19.14  7.87   7.61  13.46    

ROE(%) 22.25   6.63   7.14 17.05  
 

อัตรากำไรสุทธิ(%) 10.50 3.22 3.25 6.86


  ปี 48  * 49  หนี้สิน/ทุน  > 1  แต่ ROA > ROE เช่นกัน

    ข้อสังเกตที่ว่า จึงใช่ไมได้กับ Grammy ครับ  :roll:

ทำไม ROA ถึงสูงกว่า ROE ได้ครับ

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. พ.ค. 01, 2008 3:57 pm
โดย humdrum
ทราบแล้วครับ ทำไม ปี 50 R ถึงน้อยลง

  ปี 50 -- มาตรฐานบัญชี 44 มากระทบนี่เอง!!!!!!

       
บริษัทฯ ขอนำส่งงบการเงินประจำปี 2550 เปรียบเทียบปี 2549 โดยจัดส่งงบดุลรวมและงบกำไรขาดทุนรวม ซึ่งผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตรวจสอบเรียบร้อยแล้ว
        ในระหว่างไตรมาสที่ 1 ของปีปัจจุบัน บริษัทฯได้เปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีเกี่ยวกับการบันทึกเงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วมในงบการเงินเฉพาะกิจการ จากวิธีส่วนได้เสียเป็นวิธีราคาทุนตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 44 (ปรับปรุง 2550)เรื่องงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ
ซึ่งกำหนดให้เงินลงทุนในบริษัทย่อย และบริษัทร่วมในงบการเงินเฉพาะกิจการต้องแสดงตามวิธีราคาทุน
        ในการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีดังกล่าว บริษัทฯได้ปรับย้อนหลังงบการเงินเฉพาะกิจการงวดก่อนที่นำมาแสดงเปรียบเทียบเสมือนว่าบริษัทฯ ได้ถือปฏิบัติเกี่ยวกับการบันทึกบัญชีเงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วมตามวิธีราคาทุนมาโดยตลอด การเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้บริษัทฯ มีกำไรสุทธิใน
งบกำไรขาดทุนเฉพาะกิจการสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2550 ลดลงเป็นจำนวนประมาณ181 ล้านบาท ( 10.07 บาทต่อหุ้น)

      :roll:

ทำไม ROA ถึงสูงกว่า ROE ได้ครับ

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. พ.ค. 01, 2008 4:14 pm
โดย Alastor
ถ้า ROA > ROE ก็แปลว่าบริษัทใช้ส่วนผู้ถือหุ้นในการดำเนินงานมากเกินไป

ปกติการกู้ยืมเงินจะมีต้นทุนการเงินต่ำกว่าเนื่องจากดอกเบี้ยช่วยลดภาระภาษี ถ้าบริษัทไม่มีการกู้ยืมเงินเลย เวลาคิด ROE จากค่า ROA จะได้

ROE = ROA *(A/E)*((EBIT-I)*(1-Tax)/EBIT) ; A=E เพราะไม่มีหนี้เลย, I = 0 เพราะไม่มีหนี้เลย
       = ROA * 1 * (1-Tax)

แบบนี้ ROE ก็จะน้อยกว่า ROA ครับ

ผมว่าถ้าเป็นแบบนี้บริษัทน่าจะปันผลออกมาซะแล้วเงินไม่พอก็ไปกู้เอา จะได้ใช้ส่วนผู้ถือหุ้นไม่เปลืองมาก ผู้ถือหุ้นเอาเงินไปลงทุนอย่างอื่นดีกว่า

ทำไม ROA ถึงสูงกว่า ROE ได้ครับ

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. พ.ค. 01, 2008 4:19 pm
โดย Alastor
[quote=".^O-O^"]ทราบแล้วครับ ทำไม ปี 50 R ถึงน้อยลง

ทำไม ROA ถึงสูงกว่า ROE ได้ครับ

โพสต์แล้ว: ศุกร์ พ.ค. 02, 2008 8:30 am
โดย sattaya
[quote="Alastor"]ถ้า ROA > ROE ก็แปลว่าบริษัทใช้ส่วนผู้ถือหุ้นในการดำเนินงานมากเกินไป

ปกติการกู้ยืมเงินจะมีต้นทุนการเงินต่ำกว่าเนื่องจากดอกเบี้ยช่วยลดภาระภาษี ถ้าบริษัทไม่มีการกู้ยืมเงินเลย เวลาคิด ROE จากค่า ROA จะได้

ROE = ROA *(A/E)*((EBIT-I)*(1-Tax)/EBIT) ; A=E เพราะไม่มีหนี้เลย, I = 0 เพราะไม่มีหนี้เลย

ทำไม ROA ถึงสูงกว่า ROE ได้ครับ

โพสต์แล้ว: ศุกร์ พ.ค. 02, 2008 9:04 am
โดย Alastor
1. การใช้ส่วนของผู้ถือหุ้นในการดำเนินงานมากนี่เป็นผลดีหรือผลเสียครับ
เสียตรงที่เปลืองเงินลงทุน
ดีที่ไม่เสียดอกเบี้ย ไม่มีความเสี่ยงด้านการเงิน
2. ถ้ามองในแง่ผู้ลงทุน ROE ต่ำไม่มีใครชอบแน่ แต่ถ้า E เยอะแล้วปันผลออกมา หากเงินไม่พอก็ไปกู้มาเพื่อใช้ในการดำเนินงานมันดูแปลกๆไหมครับ
ผมหมายถึงกรณี ROA > ROE อ่ะครับ ผมมองแบบนี้ครับ
ก็ในเมื่อ ใช้ส่วนผู้ถือหุ้นลงทุนจะได้ผลตอบแทนต่ำกว่าการกู้เงินมาลงทุน ละเก็บ Equity ไว้ใยละครับ
3. บริษัทที่มีแต่ส่วนของผู้ถือหุ้นไม่มีเงินกู้เลย กับบริษัทที่มีทั้งส่วนของผู้ถือหุ้นกับเงินกู้ บริษัทไหนน่าสนใจกว่ากันครับ ถ้าผลการดำเนินงานเหมือนกันทุกประการ
ไม่ทราบครับ เพราะ ความน่าสนใจในการลงทุน สำหรับผมต้องดูให้ครบถ้วนทั้งบริษัท
บริษัทที่หนี้บานแต่น่าสน กับบริษัทที่ไม่มีหนี้แต่ไม่น่าสน มีให้เห็นเยอะแยะครับ ธุรกิจก็ไม่เห็นจะเหมือนกันซักแห่ง ตอบม่ายไหวครับ

ทำไม ROA ถึงสูงกว่า ROE ได้ครับ

โพสต์แล้ว: ศุกร์ พ.ค. 02, 2008 9:30 am
โดย humdrum
ROE = ROA *(A/E)*((EBIT-I)*(1-Tax)/EBIT) ; A=E เพราะไม่มีหนี้เลย, I = 0 เพราะไม่มีหนี้เลย
      = ROA * 1 * (1-Tax)

 ROE =  net profit / equity  

 EBITDA / Assets   =  


   R =  EBITDA * A   *   EBITDA -I    *   1 -TAX
   E         A          E                               EBITDA


        =  EBITDA *  1- TAX
                E  

 R =   EBITDA * 1-TAX   =   net profit
         
       ตอนแรก ดูแล้วยังสงสัย
       ต้องจับมาแงะอย่างนี้
      ตอนนี้เข้าใจแล้วครับ
   ขอบคุณครับที่เอื้อเฟื้อสูตร

 ROE < ROA   ผมว่าถ้าเป็นแบบนี้บริษัทน่าจะปันผลออกมาซะแล้วเงินไม่พอก็ไปกู้เอา จะได้ใช้ส่วนผู้ถือหุ้นไม่เปลืองมาก ผู้ถือหุ้นเอาเงินไปลงทุนอย่างอื่นดีกว่า
         เงินสดบานเลยซิครับ เงินสดมันลาก ROE ลงทุกทีเลย  แต่ก่อนผมชอบมองเงินสดมากเลย ชอบติดว่า โห....เราซื้อหุ้นตัวนี้ได้เงินสดมา เท่านี้บาทต่อหุ้น หลังๆ เลิกมองแล้วครับ  อย่าที่ท่าน alastor บอก มันมี opp cost อยู่ใน E ด้วย สำหรับผู้ถือหุ้น แต่สำหรับบริษัท เขาก็มอง opp cost เหมือนกัน แต่มันเป็น opp คนละตัวกะเรามองครับ      
 

         
     มาตราฐานการบัญชีใหม่นี่กระทบเฉพาะ งบเดี่ยว ครับ
ตอนคิด ROE ROA ที่แสดงก่อนหน้านี้ ใช้งบรวมใช่ไหมครับ? ดังนั้นไม่กระทบอะไรเลยครับ
   

        สำนวนเหมือน อาจารย์เลย....5555

        เฉพาะ ปี 50 ครับ........ :wink:

ทำไม ROA ถึงสูงกว่า ROE ได้ครับ

โพสต์แล้ว: ศุกร์ พ.ค. 02, 2008 9:40 am
โดย humdrum
ROE และส่วนที่ควรระวัง
Value Way
มนตรี นิพิฐวิทยา  16 พฤศจิกายน 2550




อัตราส่วนที่นักลงทุนนิยมใช้ และสามารถหาได้จากหลายแหล่งข้อมูลคือ อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น หรือ Return on Equity, ROE อัตราส่วนนี้หาได้ง่ายๆจากสูตรนี้

                             ROE = Net income / Share holders Equity หรือ กำไรสุทธิ / ส่วนผู้ถือหุ้น

         อัตราส่วนนี้ใช้วัดว่า เงินลงทุนที่ผู้ถือหุ้นได้ลงทุนไปในบริษัทนั้นสามารถแปลงเป็นกำไรที่เป็นของผู้ถือหุ้นได้กี่เปอร์เซ็นต์ อัตราส่วนนี้แตกต่างจาก ROA ค่อนข้างมาก ROA นั้นเป็นอัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์โดยไม่สนใจว่าเงินทุนนั้นมาจากการก่อหนี้หรือจากส่วนผู้ถือหุ้น ให้สังเกตว่า กำไรสุทธิหรือ Net Income นั้นได้หักดอกเบี้ยจ่ายซึ่งเป็นต้นทุนของเงินกู้ออกไปแล้ว

          โดยปกติแล้ว ROE ควรจะมีค่าสูงกว่า ROA ในกรณีที่บริษัทมีหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ย แต่ในหลายบริษัทที่มีภาระดอกเบี้ย (ดอกเบี้ยจ่าย)มากๆ เราอาจเห็น ROAมากกว่าROE ซึ่งไม่เป็นเรื่องผิดปกติ แต่เป็นเรื่องที่น่าสนใจ น่าสนใจอย่างไร เราลองมาดูที่มาของ ROE กันครับ

                             ROE = Net income / Shareholders Equity

         ถ้าเราเอา EBIT/ EBIT และ Assets/Assets คูณเข้าไปในสมการข้างบน เราจะได้

                             ROE = (EBIT/Assets) x (Net Income/EBIT) x (Assets/Shareholder Equity)

         เขียนใหม่จะได้สูตรดังนี้

                             ROE = ROA x Common Earning Leverage x Capital structure Leverage

         Common Earning Leverage, CEL (Net Income/EBIT) หมายถึง ในกำไรสุทธินั้นเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของEBIT เพราะเนื่องจาก กำไรสุทธินั้นคือ EBIT ดอกเบี้ยจ่าย ภาษี หรือ หมายถึงว่า ในEBIT 100% ผู้ถือหุ้นมีสิทธิกี่เปอร์เซ็นต์

         Capital Structure Leverage, CSL (Assets/Shareholder Equity) หมายถึงในสินทรัพย์100% นั้น ใช้ส่วนผู้ถือหุ้นกี่เปอร์เซ็นต์

         จุดที่น่าสังเกตในสมการ ROE คือ ROEจะสูงหรือต่ำนั้นขึ้นอยู่กับตัวแปรสามตัวคือ ROA, CEL และ CSL

         ROA จะสูงหรือต่ำขึ้นอยู่กับ Profit Margin กับ Assets Turnover ซึ่งอธิบายไปแล้วในฉบับก่อนๆ

         CEL จะสูงหรือต่ำนั้นขึ้นอยู่กับ ดอกเบี้ยจ่าย และภาษี ที่น่าสนใจคือดอกเบี้ยจ่าย ส่วนภาษีนั้นจ่ายในอัตราเท่ากันเกือบทุกบริษัท ตัวแปรของดอกเบี้ยจ่ายมีสองส่วน คือ ถ้ามีหนี้มาก ก็เสียดอกเบี้ยมาก หรือ อัตราดอกเบี้ยที่บริษัทเสียสูงหรือต่ำ ค่าๆนี้จะไปสัมพันธ์กับ CSL

         CSL จะสูงหรือต่ำนั้นให้ดูว่า สินทรัพย์ที่มีอยู่ทั้งหมดมาจากส่วนทุนกี่เปอร์เซ็นต์ ค่าๆนี้ควรมีค่าไม่น้อยไปกว่า1 ในกรณีของบริษัทที่ดำเนินงานอย่างต่อเนื่องได้ ไม่นับรวมบริษัทที่ขาดทุนเกินทุน ค่านี้น่าสนใจตรงที่ในกรณีที่อัตราดอกเบี้ยต่ำๆ การใช้เงินกู้มาลงทุนจะทำให้ROEสูงขึ้น เพราะCELจะมีค่าไม่ต่ำ เมื่อคูณกับCSLที่มีค่าสูงๆ (ใช้เงินกู้มาก) เมื่อนำไปคูณกับROAแล้วจะทำให้ROEสูงกว่า ROAมาก แต่ในทางกับกัน หากอัตราดอกเบี้ยสูง การมีCSLสูง มันจะไปลดROEให้ต่ำลง

         ดังนั้นพอจะสรุปได้ว่า ตราบใดที่ ROA มีค่าสูงกว่าอัตราดอกเบี้ย ตราบนั้น ROEก็จะยังสูงกว่า ROA การหาค่าต่างๆเหล่านี้ออกมาก็เพื่อตรวจสอบว่า การที่ROEสูงนั้น สูงมาจาก ROA ซึ่งเป็นการใช้สินทรัพย์อย่างมีประสิทธิภาพหรือ ว่าเกิดจากการใช้ข้อได้เปรียบจากการก่อหนี้ในสภาวะที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ

         สำหรับในการบริหารงานจริงๆแล้วผู้บริหารควรบริหารการใช้สินทรัพย์ให้มีประสิทธิภาพ กล่าวคือ ใช้สินทรัพย์มาหากำไรได้เป็นอย่างดีซึ่งสะท้อนออกมาจากการที่ ROA มีค่าสูง และพยายามจัดโครงสร้างเงินทุนของกิจการเพื่อใช้ข้อได้เปรียบจากการก่อหนี้ในระดับความเสี่ยงที่ควบคุมได้เป็นอย่างดี การที่บริษัทใช้เงินทุนจากการก่อหนี้ที่สูงก็เท่ากับเป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้แก่บริษัท ฉะนั้น ถ้าท่านเห็นบริษัทไหนมี ROE สูงกว่า ROA มากๆ ก็พึงได้ตรวจสอบดูว่า ผู้บริหารได้มีแผนการบริหารความเสี่ยงจากโครงสร้างเงินทุนไว้อย่างไร ปลอดภัยเพียงพอหรือไม่?

http://www.thaivi.com/article/value-way/487-roe.html

ทำไม ROA ถึงสูงกว่า ROE ได้ครับ

โพสต์แล้ว: ศุกร์ พ.ค. 02, 2008 9:49 am
โดย humdrum
ผมชอบอ่านบทความ อ. มน มากครับ
   อ่านบทความอ.มน ไปเรื่อยๆ เริ่มคิดแบบบท่านเหมือนกัน
 วิธีคิดของท่าน มันสะท้อนออกมาจากบทความเสมอ
   และทำให้เข้าใจว่า
  เราจะเข้าอะไรได้ในโลกของการลงทุนนั้น
   
       Ratioanal สำคัญที่สุด