'ห่านทองคำ' ปะทะ 'หงส์เหินฟ้า'
โพสต์แล้ว: เสาร์ พ.ค. 31, 2008 3:24 pm
'ห่านทองคำ' ปะทะ 'หงส์เหินฟ้า'
ร. รวี ลงกานี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
กลุ่มนักลงทุนที่ผมคิดว่าคึกคักมากที่สุดขณะนี้ เห็นจะเป็นกลุ่มนักลงทุน "คุณค่า" หรือ Value Investor ชื่อต่างๆ ที่เรียกกัน เช่น ห่านทองคำ นักลงทุนคุณค่า วอร์เรน บัฟเฟตต์ หรือ ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร กลายเป็นชื่อที่แทบไม่มีใครไม่รู้จัก
................................
โค๊ด..'หงส์เหินฟ้า' สะท้อนถึงการบินขึ้นสูงได้และถือเป็นสิ่งที่มีสวยงาม และไม่จำเป็นต้องมีราคาถูก คนเป็น Growth Investor จึงยอมจ่ายแพง เพราะคิดว่าคุ้มกับความสามารถเติบโตของกิจการ
................................
หนังสือในแนวนี้มีอยู่หลากหลายและทำให้เห็นว่าการเป็นนักลงทุนสไตล์เน้นคุณค่าแบบ "วอร์เรน บัฟเฟตต์" หรือ "เบนจามิน เกรแฮม" นั้นเป็นสไตล์การลงทุนที่ดีที่สุด หลายคนที่อ่านหนังสือเหล่านี้อาจเคลิบเคลิ้มไปได้ว่าสักวันหนึ่งจะเป็นแบบวอร์เรน หรือ ดร. นิเวศน์ ได้
แน่นอนหุ้นส่วนใหญ่ที่ Value Investor เลือกลงทุนคือ หุ้นประเภท Value Stock หรือหุ้นคุณค่า แต่ในความเป็นจริงแล้ว Value Investor ลงทุนในหุ้นที่มากกว่า Value Stock ครับ
นักลงทุนที่เป็น Value Investor หลายคน ยังไม่รู้ว่า Value Stock คืออะไร อะไรเป็นเกณฑ์ตัดสินว่าหุ้นใดเป็น Value Stock บางคนเข้าใจกันผิดๆ ว่า หุ้นพื้นฐานดีทุกตัวเป็น Value Stock หลายคนบอกว่า หุ้นของบริษัทผลิตสินค้าที่ตัวเองรู้จักดีนั่นแหละเป็น Value Stock เช่น หุ้นของบริษัททำมาม่า หุ้นบริษัทยาสีฟัน หรือหุ้น ปตท.เป็นต้น
หลายคนเชื่อว่า หากลงทุนในหุ้น Value แล้วสักวันหนึ่ง หุ้นจะต้องขึ้นอย่างแน่นอน Value Investor บางคนนึกว่าการเป็น Value Investor นั้นเป็นการลงทุนที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ (เนื่องจาก เบนจามิน และ ดร.นิเวศน์ เป็นทั้งนักวิชาการและนักลงทุน) เพราะเป็นการลงทุนที่มองปัจจัยพื้นฐานอย่างถ้วนถี่แล้ว
ตามนิยามและความหมายของ Value Stock แล้ว หุ้นกลุ่มนี้หมายถึง หุ้นที่มีราคาหรือมูลค่าต่ำกว่าราคาที่เหมาะสมตามทฤษฎีของมัน และสมมติฐานหนึ่งของการลงทุนในหุ้นกลุ่มนี้คือ ถ้าหากราคาของมันต่ำกว่าราคาที่เหมาะสมตามทฤษฎีแล้ว สักวันหนึ่งราคาจะต้องปรับขึ้นมาหาราคาที่เหมาะสมอย่างแน่นอน จะช้าหรือเร็วเท่านั้น
นักลงทุนที่เป็น Value Investor จึงถูกสอนให้รู้จักการรอคอยโอกาส และไม่ผลีผลามขายหุ้นเมื่อราคาตกลงไป เกณฑ์สำคัญของการเป็น Value Stock ได้คือ การที่มีราคาต่ำกว่าหุ้นในกลุ่มเดียวกัน เกณฑ์สำคัญที่ใช้ตัดสินใจว่าหุ้นใดเป็นหุ้นคุณค่าคือ เกณฑ์ ค่า P/E (ในทางวิชาการนิยมใช้ค่า P/BV)
โดยถือว่าหุ้นใดที่มีค่า P/E ต่ำกว่าหุ้นในกลุ่มเดียวกันหรือ ค่าเฉลี่ย P/E ของอุตสาหกรรมนั้นเป็นหุ้นที่มีราคาถูกและเป็น Value Stock
ค่า P/E (หรือ P/BV, หรือ Dividend Yield) เป็นเครื่องมือบอกว่าหุ้นตัวนั้นจะสามารถเป็น Value Stock ได้หรือไม่ แต่ตำราของ Value Investor จะแนะนำต่อไปว่า มองแค่ราคาหรือมูลค่าอย่างเดียวยังไม่พอต่อการตัดสินใจ ต้องมองด้วยว่าฐานอย่างอื่นของกิจการนั้นดีหรือไม่
เช่น มีหนี้มากเกินไปหรือไม่ (ดูจากอัตราส่วนหนี้ต่อทุน) มีผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้นดีหรือไม่ มีกำไรต่อเนื่องหรือไม่ จากเกณฑ์ต่างๆ ของ Value Investor นี้จึงคัดเลือกได้ว่า หุ้น Value Stock เป็นหุ้นถูกตังค์ โดยเปรียบเทียบ และเป็นหุ้นที่ฐานะการเงินดี
สรุปง่ายๆ ว่า Value Investor นิยมชมชอบหุ้นที่เป็นทั้งหุ้นคุณค่า (Value Stock หรือ Good Stock) และ เป็นกิจการที่ดี (Good Company) ด้วย
หุ้นดี (Good Stock) กับกิจการดี (Good Company) นั้น ไม่เหมือนกัน และไม่จำเป็นว่าหุ้นดี จะเป็นหุ้นของกิจการดี เสมอไป
ความหมายของหุ้นดี หมายถึงหุ้นที่ประเมินออกมาแล้วว่า ราคาถูกกว่าราคาที่เหมาะสมของมันตาทฤษฎี ซึ่งแปลว่าราคาน่าจะสูงขึ้นไปในอนาคตได้
ส่วนกิจการดี หมายถึงกิจการมีลักษณะดี เช่น ยอดขายเติบโต มีกำไรสูง หนี้ต่ำ ความเสี่ยงน้อย ซึ่งหากพิจารณาโดยผิวเผินหุ้นของบริษัทเหล่านี้ก็น่าจะดีไปด้วย แต่อาจไม่เป็นเช่นนั้นถ้าหากว่าหุ้นของกิจการดีนั้นมีราคาสูงขึ้นไปแล้วจากการที่คนรับรู้ว่าเป็นกิจการดี หุ้นกิจการดีที่ราคาปรับขึ้นไปแล้ว ก็ย่อมไม่ได้เป็นหุ้นดีต่อไป
งานวิจัยส่วนใหญ่ เห็นตรงกันว่า หุ้นที่เป็น Value Stock นั้นให้ผลตอบแทนสูงจริง แต่เหตุที่เป็นเช่นนั้นเป็นเพราะว่า หุ้นส่วนใหญ่ของ Value Stock นั้นมักเป็นกิจการที่มีปัญหา (Distress Firm)
การที่ผลตอบแทนของหุ้นกลุ่มนี้สูงกว่าชาวบ้าน จึงเป็นไปได้ 2 อย่างคือ หุ้นกลุ่มนี้เสี่ยงมากจึงได้ผลตอบแทนสูงมาชดเชยกับความเสี่ยง (Fama and French, 1998, 2005,2005) หรือ นักลงทุนส่วนใหญ่มองหุ้นแบบ Overreact คือประเมินราคาต่ำเกินจริง (เนื่องจากเป็นกิจการที่มีปัญหา) เมื่อเวลาผ่านไปและตลาดหุ้นรับรู้ถึงมูลค่าที่เหมาะสมแล้วราคาหุ้นกลุ่มนี้จึงปรับตัวสูงขึ้น (Lakonishok et al., 1994)
ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจเลยว่าทำไม Value Stock จึงให้ผลตอบแทนสูงกว่าหุ้นอื่น
สรุปได้ว่า Value Stock ไม่ได้เป็นหุ้นของกิจการที่ดี มีอนาคต เสี่ยงน้อย เสมอไป
หลายคนคงตั้งคำถามขึ้นมาแล้วว่า เอ๊ะ! ถ้าอย่างนั้นทำไมจึงแนะนำให้ลงทุนใน Value Stock ทั้งที่เป็นหุ้นของกิจการมีปัญหา มีความเสี่ยงต่ำ
ในบ้านเราแปลคำว่า Value Stock นั้นก็คือ หุ้นราคาถูกพ่วงด้วยการเป็นหุ้นที่มีลักษณะของกิจการดี (Good Company) คู่ไปด้วย แล้วตีความรวมว่า หุ้นกลุ่มนี้แหละคือ Value Stock กล่าวได้ว่า Value Stock บ้านเราหมายถึงหุ้นของกิจการที่ดี แถมยังมีราคาถูก เพราะนักลงทุนยังไม่เข้าไปไล่ราคา หรืออาจแปลว่า ของดีที่ยังไม่มีใครรู้ (ราคาจึงยังถูกอยู่)
ตามความหมายของ Value Stock ที่ใช้ในบ้านเราจึงมีความหมายกว้างกว่า Value Stock ที่อ้างอิงในงานวิจัย Value Investor จึงแนะนำการลงทุนใน Value Stock ใครเจอหุ้นนี้ในบ้านเราเรียกได้ว่าโชคดี ครับ
ผมทำนายต่อไปได้เลยว่า นักลงทุนที่เป็น Value Stock จะลดบทบาทลงไปในอนาคต
เหตุที่เป็นเช่นนี้ เพราะการเข้ามาของนักลงทุนสถาบัน เช่น กองทุนต่างๆ ที่เข้ามามากขึ้น หรือการที่นักลงทุนพัฒนาขึ้นมาเป็นนักลงทุนที่มีความรู้ มีทักษะในการวิเคราะห์ ประกอบกับความรวดเร็วในการเผยแพร่ข้อมูลนั้น ทำให้กิจการที่ดีถูกค้นพบอย่างรวดเร็วและถูกไล่ซื้อในเวลารวดเร็วจนของดี ราคาถูกไม่ปรากฏให้เห็นอีก
ที่จริงแล้ว Value Stock ไม่ได้เป็นคำตอบเดียวที่มีอยู่ของนักลงทุน สไตล์การลงทุนที่เน้นหุ้นคุณค่านั้นไม่ได้เป็นสไตล์การลงทุนเดียวที่มีอยู่ในโลก
นักลงทุนสถาบัน หรือรายย่อยบางคนเลือกลงทุน โดยไม่ดูว่าหุ้นนั้นถูกหรือเปล่า แต่กลับมองที่ปัจจัยแห่งความสำเร็จของหุ้นคือ "การเติบโตของหุ้น" นักลงทุนกลุ่มนี้เชื่อว่าหุ้นเติบโตสูง (วัดง่ายๆ จากการเติบโตของกำไร) คือเพชรเม็ดงาม ซึ่งถึงแม้มีค่าแพงแต่ก็มีศักดิ์ศรีแห่งความเป็นเพชรเม็ดงามอยู่ดี นักลงทุนกลุ่มนี้ไม่ได้มองที่ราคาเป็นหลักครับ แต่กลับมองที่การเติบโตของกำไรกิจการเป็นหลัก หุ้นไหนที่กำไรเติบโตสูง ถึงแม้มีราคาแพงก็ถือว่าลงทุนได้อยู่ เพราะเชื่อว่าในบางโอกาสนั้น (โดยเฉพาะช่วงเศรษฐกิจไม่ดี) กิจการไหนยังสามารถเติบโตได้สูง หุ้นกิจการนั้นจะเป็นหุ้นทีโดดเด่นมาก หุ้นกลุ่มนี้เรียกว่า "หุ้นเติบโต" (Growth Stock) ครับ
การวัดว่าหุ้นใดเป็นหุ้นเติบโตก็ดูไม่ยาก คือ ดูที่ค่า P/E เหมือนกัน แต่คราวนี้กลับมองว่าหุ้นที่ P/E หรือ P/BV สูงเป็นหุ้นเติบโต และถ้าให้แน่ใจอีก็ไปมองที่อัตราการขยายตัวของยอดขายและกำไรก็ได้ครับ
งานวิจัย (ต่างประเทศอีกแล้ว) พบว่า หุ้นเติบโตสูงมักเป็นหุ้นของกิจการที่มี "ความรุ่งโรจน์" (Glamour Stock) ผมเรียกหุ้นกลุ่มนี้ว่า "หุ้นหงส์เหินฟ้า" เพื่อให้รู้สึกตรงข้ามกับห่านทองคำ
หงส์เหินฟ้า สะท้อนถึงการบินขึ้นสูงได้และถือเป็นสิ่งที่มีสวยงาม และไม่จำเป็นต้องมีราคาถูก คนเป็น Growth Investor จึงยอมจ่ายแพง เพราะคิดว่าคุ้มกับความสามารถเติบโตของกิจการครับ หลายหุ้นในบ้านเราคนนิยมกันเพราะเป็น Growth Stock นะครับ
นึกไปนึกมาก็เหมือนรสนิยมของคนนั่นแหละครับ เมื่อมีคนซื้อรถ "โตโยต้า" ใส่นาฬิกา "ไซโก้" ก็ยังมีคนอย่างขับเบนซ์ ใส่โรเล็กซ์ อยู่เสมอ ของที่ขายในตลาดจึงไม่จำเป็นต้องถูกตังค์เสมอไป
การลงทุนใน Growth Stock นั้น มีข้อที่ต้องระวังอยู่นิดหนึ่งคือ การเติบโตของกิจการนั้นไม่ได้เป็นสิ่งที่ถาวรเสมอไป เพราะวันใดวันหนึ่งความสามารถในการเติบโตย่อมลดลงไปและทำให้หุ้นนี้ไม่ได้เป็นหุ้นเติบโตอีกต่อไป อนาคตของหุ้นกลุ่มนี้จึงอาจไม่ได้ยืนยาวนัก เหมือนกับหงส์เหินฟ้าได้ชั่วคราวก็ต้องร่อนลงมา
Value Stock จึงไม่ได้เป็นทางเลือกเดียวที่ดีที่สุดของการลงทุน ยังมีสไตล์การลงทุนอื่นที่ควรรู้จัก อย่างสไตล์การลงทุนใน Growth Stock เป็นอีกกลยุทธ์การลงทุนที่น่าสนใจในภาวการณ์ที่ตลาดเริ่มถดถอย และหุ้นถูกๆ เริ่มหายากขึ้นทุกที
ห่านทองคำวันนี้ถูกจับไปเกือบหมดแล้ว แต่หงส์ยังคงบินว่อนเต็มท้องฟ้า
http://www.bangkokbizweek.com/
ร. รวี ลงกานี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
กลุ่มนักลงทุนที่ผมคิดว่าคึกคักมากที่สุดขณะนี้ เห็นจะเป็นกลุ่มนักลงทุน "คุณค่า" หรือ Value Investor ชื่อต่างๆ ที่เรียกกัน เช่น ห่านทองคำ นักลงทุนคุณค่า วอร์เรน บัฟเฟตต์ หรือ ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร กลายเป็นชื่อที่แทบไม่มีใครไม่รู้จัก
................................
โค๊ด..'หงส์เหินฟ้า' สะท้อนถึงการบินขึ้นสูงได้และถือเป็นสิ่งที่มีสวยงาม และไม่จำเป็นต้องมีราคาถูก คนเป็น Growth Investor จึงยอมจ่ายแพง เพราะคิดว่าคุ้มกับความสามารถเติบโตของกิจการ
................................
หนังสือในแนวนี้มีอยู่หลากหลายและทำให้เห็นว่าการเป็นนักลงทุนสไตล์เน้นคุณค่าแบบ "วอร์เรน บัฟเฟตต์" หรือ "เบนจามิน เกรแฮม" นั้นเป็นสไตล์การลงทุนที่ดีที่สุด หลายคนที่อ่านหนังสือเหล่านี้อาจเคลิบเคลิ้มไปได้ว่าสักวันหนึ่งจะเป็นแบบวอร์เรน หรือ ดร. นิเวศน์ ได้
แน่นอนหุ้นส่วนใหญ่ที่ Value Investor เลือกลงทุนคือ หุ้นประเภท Value Stock หรือหุ้นคุณค่า แต่ในความเป็นจริงแล้ว Value Investor ลงทุนในหุ้นที่มากกว่า Value Stock ครับ
นักลงทุนที่เป็น Value Investor หลายคน ยังไม่รู้ว่า Value Stock คืออะไร อะไรเป็นเกณฑ์ตัดสินว่าหุ้นใดเป็น Value Stock บางคนเข้าใจกันผิดๆ ว่า หุ้นพื้นฐานดีทุกตัวเป็น Value Stock หลายคนบอกว่า หุ้นของบริษัทผลิตสินค้าที่ตัวเองรู้จักดีนั่นแหละเป็น Value Stock เช่น หุ้นของบริษัททำมาม่า หุ้นบริษัทยาสีฟัน หรือหุ้น ปตท.เป็นต้น
หลายคนเชื่อว่า หากลงทุนในหุ้น Value แล้วสักวันหนึ่ง หุ้นจะต้องขึ้นอย่างแน่นอน Value Investor บางคนนึกว่าการเป็น Value Investor นั้นเป็นการลงทุนที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ (เนื่องจาก เบนจามิน และ ดร.นิเวศน์ เป็นทั้งนักวิชาการและนักลงทุน) เพราะเป็นการลงทุนที่มองปัจจัยพื้นฐานอย่างถ้วนถี่แล้ว
ตามนิยามและความหมายของ Value Stock แล้ว หุ้นกลุ่มนี้หมายถึง หุ้นที่มีราคาหรือมูลค่าต่ำกว่าราคาที่เหมาะสมตามทฤษฎีของมัน และสมมติฐานหนึ่งของการลงทุนในหุ้นกลุ่มนี้คือ ถ้าหากราคาของมันต่ำกว่าราคาที่เหมาะสมตามทฤษฎีแล้ว สักวันหนึ่งราคาจะต้องปรับขึ้นมาหาราคาที่เหมาะสมอย่างแน่นอน จะช้าหรือเร็วเท่านั้น
นักลงทุนที่เป็น Value Investor จึงถูกสอนให้รู้จักการรอคอยโอกาส และไม่ผลีผลามขายหุ้นเมื่อราคาตกลงไป เกณฑ์สำคัญของการเป็น Value Stock ได้คือ การที่มีราคาต่ำกว่าหุ้นในกลุ่มเดียวกัน เกณฑ์สำคัญที่ใช้ตัดสินใจว่าหุ้นใดเป็นหุ้นคุณค่าคือ เกณฑ์ ค่า P/E (ในทางวิชาการนิยมใช้ค่า P/BV)
โดยถือว่าหุ้นใดที่มีค่า P/E ต่ำกว่าหุ้นในกลุ่มเดียวกันหรือ ค่าเฉลี่ย P/E ของอุตสาหกรรมนั้นเป็นหุ้นที่มีราคาถูกและเป็น Value Stock
ค่า P/E (หรือ P/BV, หรือ Dividend Yield) เป็นเครื่องมือบอกว่าหุ้นตัวนั้นจะสามารถเป็น Value Stock ได้หรือไม่ แต่ตำราของ Value Investor จะแนะนำต่อไปว่า มองแค่ราคาหรือมูลค่าอย่างเดียวยังไม่พอต่อการตัดสินใจ ต้องมองด้วยว่าฐานอย่างอื่นของกิจการนั้นดีหรือไม่
เช่น มีหนี้มากเกินไปหรือไม่ (ดูจากอัตราส่วนหนี้ต่อทุน) มีผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้นดีหรือไม่ มีกำไรต่อเนื่องหรือไม่ จากเกณฑ์ต่างๆ ของ Value Investor นี้จึงคัดเลือกได้ว่า หุ้น Value Stock เป็นหุ้นถูกตังค์ โดยเปรียบเทียบ และเป็นหุ้นที่ฐานะการเงินดี
สรุปง่ายๆ ว่า Value Investor นิยมชมชอบหุ้นที่เป็นทั้งหุ้นคุณค่า (Value Stock หรือ Good Stock) และ เป็นกิจการที่ดี (Good Company) ด้วย
หุ้นดี (Good Stock) กับกิจการดี (Good Company) นั้น ไม่เหมือนกัน และไม่จำเป็นว่าหุ้นดี จะเป็นหุ้นของกิจการดี เสมอไป
ความหมายของหุ้นดี หมายถึงหุ้นที่ประเมินออกมาแล้วว่า ราคาถูกกว่าราคาที่เหมาะสมของมันตาทฤษฎี ซึ่งแปลว่าราคาน่าจะสูงขึ้นไปในอนาคตได้
ส่วนกิจการดี หมายถึงกิจการมีลักษณะดี เช่น ยอดขายเติบโต มีกำไรสูง หนี้ต่ำ ความเสี่ยงน้อย ซึ่งหากพิจารณาโดยผิวเผินหุ้นของบริษัทเหล่านี้ก็น่าจะดีไปด้วย แต่อาจไม่เป็นเช่นนั้นถ้าหากว่าหุ้นของกิจการดีนั้นมีราคาสูงขึ้นไปแล้วจากการที่คนรับรู้ว่าเป็นกิจการดี หุ้นกิจการดีที่ราคาปรับขึ้นไปแล้ว ก็ย่อมไม่ได้เป็นหุ้นดีต่อไป
งานวิจัยส่วนใหญ่ เห็นตรงกันว่า หุ้นที่เป็น Value Stock นั้นให้ผลตอบแทนสูงจริง แต่เหตุที่เป็นเช่นนั้นเป็นเพราะว่า หุ้นส่วนใหญ่ของ Value Stock นั้นมักเป็นกิจการที่มีปัญหา (Distress Firm)
การที่ผลตอบแทนของหุ้นกลุ่มนี้สูงกว่าชาวบ้าน จึงเป็นไปได้ 2 อย่างคือ หุ้นกลุ่มนี้เสี่ยงมากจึงได้ผลตอบแทนสูงมาชดเชยกับความเสี่ยง (Fama and French, 1998, 2005,2005) หรือ นักลงทุนส่วนใหญ่มองหุ้นแบบ Overreact คือประเมินราคาต่ำเกินจริง (เนื่องจากเป็นกิจการที่มีปัญหา) เมื่อเวลาผ่านไปและตลาดหุ้นรับรู้ถึงมูลค่าที่เหมาะสมแล้วราคาหุ้นกลุ่มนี้จึงปรับตัวสูงขึ้น (Lakonishok et al., 1994)
ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจเลยว่าทำไม Value Stock จึงให้ผลตอบแทนสูงกว่าหุ้นอื่น
สรุปได้ว่า Value Stock ไม่ได้เป็นหุ้นของกิจการที่ดี มีอนาคต เสี่ยงน้อย เสมอไป
หลายคนคงตั้งคำถามขึ้นมาแล้วว่า เอ๊ะ! ถ้าอย่างนั้นทำไมจึงแนะนำให้ลงทุนใน Value Stock ทั้งที่เป็นหุ้นของกิจการมีปัญหา มีความเสี่ยงต่ำ
ในบ้านเราแปลคำว่า Value Stock นั้นก็คือ หุ้นราคาถูกพ่วงด้วยการเป็นหุ้นที่มีลักษณะของกิจการดี (Good Company) คู่ไปด้วย แล้วตีความรวมว่า หุ้นกลุ่มนี้แหละคือ Value Stock กล่าวได้ว่า Value Stock บ้านเราหมายถึงหุ้นของกิจการที่ดี แถมยังมีราคาถูก เพราะนักลงทุนยังไม่เข้าไปไล่ราคา หรืออาจแปลว่า ของดีที่ยังไม่มีใครรู้ (ราคาจึงยังถูกอยู่)
ตามความหมายของ Value Stock ที่ใช้ในบ้านเราจึงมีความหมายกว้างกว่า Value Stock ที่อ้างอิงในงานวิจัย Value Investor จึงแนะนำการลงทุนใน Value Stock ใครเจอหุ้นนี้ในบ้านเราเรียกได้ว่าโชคดี ครับ
ผมทำนายต่อไปได้เลยว่า นักลงทุนที่เป็น Value Stock จะลดบทบาทลงไปในอนาคต
เหตุที่เป็นเช่นนี้ เพราะการเข้ามาของนักลงทุนสถาบัน เช่น กองทุนต่างๆ ที่เข้ามามากขึ้น หรือการที่นักลงทุนพัฒนาขึ้นมาเป็นนักลงทุนที่มีความรู้ มีทักษะในการวิเคราะห์ ประกอบกับความรวดเร็วในการเผยแพร่ข้อมูลนั้น ทำให้กิจการที่ดีถูกค้นพบอย่างรวดเร็วและถูกไล่ซื้อในเวลารวดเร็วจนของดี ราคาถูกไม่ปรากฏให้เห็นอีก
ที่จริงแล้ว Value Stock ไม่ได้เป็นคำตอบเดียวที่มีอยู่ของนักลงทุน สไตล์การลงทุนที่เน้นหุ้นคุณค่านั้นไม่ได้เป็นสไตล์การลงทุนเดียวที่มีอยู่ในโลก
นักลงทุนสถาบัน หรือรายย่อยบางคนเลือกลงทุน โดยไม่ดูว่าหุ้นนั้นถูกหรือเปล่า แต่กลับมองที่ปัจจัยแห่งความสำเร็จของหุ้นคือ "การเติบโตของหุ้น" นักลงทุนกลุ่มนี้เชื่อว่าหุ้นเติบโตสูง (วัดง่ายๆ จากการเติบโตของกำไร) คือเพชรเม็ดงาม ซึ่งถึงแม้มีค่าแพงแต่ก็มีศักดิ์ศรีแห่งความเป็นเพชรเม็ดงามอยู่ดี นักลงทุนกลุ่มนี้ไม่ได้มองที่ราคาเป็นหลักครับ แต่กลับมองที่การเติบโตของกำไรกิจการเป็นหลัก หุ้นไหนที่กำไรเติบโตสูง ถึงแม้มีราคาแพงก็ถือว่าลงทุนได้อยู่ เพราะเชื่อว่าในบางโอกาสนั้น (โดยเฉพาะช่วงเศรษฐกิจไม่ดี) กิจการไหนยังสามารถเติบโตได้สูง หุ้นกิจการนั้นจะเป็นหุ้นทีโดดเด่นมาก หุ้นกลุ่มนี้เรียกว่า "หุ้นเติบโต" (Growth Stock) ครับ
การวัดว่าหุ้นใดเป็นหุ้นเติบโตก็ดูไม่ยาก คือ ดูที่ค่า P/E เหมือนกัน แต่คราวนี้กลับมองว่าหุ้นที่ P/E หรือ P/BV สูงเป็นหุ้นเติบโต และถ้าให้แน่ใจอีก็ไปมองที่อัตราการขยายตัวของยอดขายและกำไรก็ได้ครับ
งานวิจัย (ต่างประเทศอีกแล้ว) พบว่า หุ้นเติบโตสูงมักเป็นหุ้นของกิจการที่มี "ความรุ่งโรจน์" (Glamour Stock) ผมเรียกหุ้นกลุ่มนี้ว่า "หุ้นหงส์เหินฟ้า" เพื่อให้รู้สึกตรงข้ามกับห่านทองคำ
หงส์เหินฟ้า สะท้อนถึงการบินขึ้นสูงได้และถือเป็นสิ่งที่มีสวยงาม และไม่จำเป็นต้องมีราคาถูก คนเป็น Growth Investor จึงยอมจ่ายแพง เพราะคิดว่าคุ้มกับความสามารถเติบโตของกิจการครับ หลายหุ้นในบ้านเราคนนิยมกันเพราะเป็น Growth Stock นะครับ
นึกไปนึกมาก็เหมือนรสนิยมของคนนั่นแหละครับ เมื่อมีคนซื้อรถ "โตโยต้า" ใส่นาฬิกา "ไซโก้" ก็ยังมีคนอย่างขับเบนซ์ ใส่โรเล็กซ์ อยู่เสมอ ของที่ขายในตลาดจึงไม่จำเป็นต้องถูกตังค์เสมอไป
การลงทุนใน Growth Stock นั้น มีข้อที่ต้องระวังอยู่นิดหนึ่งคือ การเติบโตของกิจการนั้นไม่ได้เป็นสิ่งที่ถาวรเสมอไป เพราะวันใดวันหนึ่งความสามารถในการเติบโตย่อมลดลงไปและทำให้หุ้นนี้ไม่ได้เป็นหุ้นเติบโตอีกต่อไป อนาคตของหุ้นกลุ่มนี้จึงอาจไม่ได้ยืนยาวนัก เหมือนกับหงส์เหินฟ้าได้ชั่วคราวก็ต้องร่อนลงมา
Value Stock จึงไม่ได้เป็นทางเลือกเดียวที่ดีที่สุดของการลงทุน ยังมีสไตล์การลงทุนอื่นที่ควรรู้จัก อย่างสไตล์การลงทุนใน Growth Stock เป็นอีกกลยุทธ์การลงทุนที่น่าสนใจในภาวการณ์ที่ตลาดเริ่มถดถอย และหุ้นถูกๆ เริ่มหายากขึ้นทุกที
ห่านทองคำวันนี้ถูกจับไปเกือบหมดแล้ว แต่หงส์ยังคงบินว่อนเต็มท้องฟ้า
http://www.bangkokbizweek.com/