หน้า 1 จากทั้งหมด 1

สภาพคล่องของหุ้น กับ free float

โพสต์แล้ว: ศุกร์ มิ.ย. 20, 2008 8:40 pm
โดย kotaro
เห็นหุ้นหลายๆ ตัว แม้ตลาดจะตกขนาดไหน

ก็ยังไม่มีการซื้อขาย  บางเดือน ไม่มีซื้อ ไม่มีขายเลย

ไม่ทราบว่า แบบนี้ ตลท  เขามีกฏบังคับหรือว่ามีการควบคุมส่งเสริมยังไงบ้างหรือไม่ครับ

เพราะเคยเห็นข่าว ตลท ออกมาตรการมาสนับสนุน ให้ บจ เพิ่มสภาพคล่องของหุ้น โดยดูจากข้อมูล free float

แต่สังเกตุ หุ้นบางตัว free float ต่ำกว่า 15 แต่เทรดกระจุย หุ้นบางตัว free float 30 กว่า กลับไม่มีซือขายกันเป็นเดือนครับ


ตลท.  17 มิ.ย. -  ตลท.เผยบริษัทจดทะเบียนที่มีสัดส่วนการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นรายย่อยหรือ Free float  ต่ำกว่าเกณฑ์ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. แล้ว  โดยจะยกเลิก Call Market ตั้งแต่ 4  กรกฎาคมนี้  และให้บริษัทเปิดเผยความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาทุก  6  เดือน  หากไม่สามารถเพิ่มสัดส่วนผู้ถือหุ้นรายย่อยได้ ตามกำหนดจะเก็บค่าธรรมเนียมส่วนเพิ่มตั้งแต่ปีที่ 2 จนกว่าจะแก้ไขได้   เตรียมประกาศรายชื่อ บจ.ที่มี Free float ต่ำกว่าเกณฑ์เป็นปีที่ 2 ขึ้นไป  2  กรกฎาคมนี้

นางภัทรียา  เบญจพลชัย  กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)  เปิดเผยว่า การปรับปรุงมาตรการสำหรับบริษัทจดทะเบียนที่มีการกระจายการถือหุ้นรายย่อยไม่ครบถ้วน หรือบริษัทจดทะเบียนที่มีสัดส่วนการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นรายย่อยต่ำกว่าเกณฑ์ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.)นั้น ทางตลท.จะมีการยกเลิกCall Market  ตั้งแต่วันที่ 4 กรกฎาคมนี้ นอกจากนี้ จะมีการเก็บค่าธรรมเนียมจากบริษัทจดทะเบียนเพิ่มขึ้นและบริษัทจดทะเบียนรายงานความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาทุก 6 เดือน

สำหรับการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมส่วนเพิ่ม จะเริ่มเมื่อบริษัทจดทะเบียนไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้เป็นปีที่  2 ขึ้นไปจนกว่าจะแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้  โดย ตลท.จะประกาศชื่อบริษัทดังกล่าวให้ผู้ลงทุนทราบ โดยหวังว่า จะเป็นแนวทางที่จะช่วยกระตุ้นให้บริษัทจดทะเบียนให้ความสำคัญและเร่งแก้ไขปัญหาการกระจายผู้ถือหุ้นรายย่อยได้เร็วขึ้น  เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายส่วนนี้  ซึ่งการเพิ่มสภาพคล่องของหลักทรัพย์จะส่งผลดีต่อบริษัท   ผู้ลงทุน และตลาดทุนโดยรวม  ขณะเดียวกัน ตลท.จะประกาศรายชื่อของบริษัทจดทะเบียนที่มีการกระจาย การถือหุ้นต่ำกว่าเกณฑ์เป็นปีที่ 2 ขึ้นไปในวันที่  2  กรกฎาคมนี้

นางภัทรียา  กล่าวว่า  การเสริมสภาพคล่องการซื้อขายหลักทรัพย์ใน ตลท.เป็นแนวทางหนึ่งในการเพิ่มความน่าสนใจแก่ตลาดหุ้นไทย โดย ตลท.จะเร่งสนับสนุนให้มีการทำงานร่วมกับชมรมวาณิชธนกิจ  สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ เพื่อให้คำแนะนำและสนับสนุนแนวทางการเพิ่มสัดส่วน Free float ของบริษัทจดทะเบียนอย่างต่อเนื่อง.-LogisticNews

สภาพคล่องของหุ้น กับ free float

โพสต์แล้ว: ศุกร์ มิ.ย. 20, 2008 10:16 pm
โดย miracle
ตลท.สั่งยกเลิก Call Market ใน 13 บจ. พร้อมสั่งให้ซื้อเข้าในระบบปกติตั้งแต่ 4 ก.ค. เป็น
ต้นไป

              รายงานข่าวจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า เพื่อให้หลักทรัพย์จด
ทะเบียนที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมีสภาพคล่อง โดยมีการกระจายการถือหุ้น
ของผู้ถือหุ้นรายย่อยอย่างเพียงพอและเหมาะสม  ตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงได้ปรับปรุงแนวทางดำเนิน
การกรณีบริษัทจดทะเบียนที่มีการกระจายรายย่อยไม่ครบถ้วนให้เหมาะสมขึ้น  สรุปได้ดังนี้
               1. ยกเลิกมาตรการ Call Market เพื่อให้หลักทรัพย์ของบริษัทกลับมาซื้อขายใน
ระบบปกติ  (Automatic Order Matching : AOM) แทน  ซึ่งจะช่วยเพิ่มสภาพคล่องในการซื้อ
ขายและช่วยให้การกระจายหุ้นเป็นไปโดยสะดวกยิ่งขึ้น อีกทั้งการดำเนินการดังกล่าวยังไม่มีผล
กระทบต่อผู้ถือหุ้นรายย่อย
             2. ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะให้ระยะเวลาบริษัทจดทะเบียนในการแก้ไขการกระจายการถือ
หุ้นให้ครบถ้วน โดยในปีแรก ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะแจ้งให้บริษัทจดทะเบียนได้ทราบเพื่อดำเนิน
การแก้ไขให้บริษัทจดทะเบียนมีคุณสมบัติในด้านการกระจายการถือหุ้นตามเกณฑ์ หากบริษัทจด
ทะเบียนยังไม่สามารถดำเนินการแก้ไขการกระจายการถือหุ้นได้ในปีที่ 2  ตลาดหลักทรัพย์ฯ
จะแจ้งการขาดคุณสมบัติของบริษัทจดทะเบียนให้ผู้ลงทุนได้ทราบ และเรียกเก็บค่าธรรมเนียม
ส่วนเพิ่มจนกว่าบริษัทจะแก้ไขเหตุดังกล่าวได้  โดยบริษัทจดทะเบียนจะรายงานความคืบหน้าการ
แก้ไขปัญหาทุก 6 เดือนนับจากวันครบกำหนดส่งรายงานการกระจายจนกว่าบริษัทจดทะเบียนจะ
มีคุณสมบัติครบถ้วน เพื่อให้ผู้ลงทุนได้ทราบความคืบหน้าในการดำเนินการดังกล่าว
             เนื่องจากมีบริษัทจดทะเบียนจำนวน 21 บริษัทที่มีคุณสมบัติด้านการกระจายของผู้ถือ
หุ้นรายย่อยไม่ครบถ้วนตามข้อกำหนดติดต่อกันเป็นปีที่ 2 ขึ้นไป จะมีการดำเนินการ ดังนี้
             1. บริษัทที่ขาดคุณสมบัติมากกว่า 2 ปีขึ้นไป จำนวน 15 บริษัท ในระบบการจับคู่ในช่วง
เวลา (Call Market)  
            1.1  ยกเลิกการกำหนดให้หลักทรัพย์ซื้อในระบบ Call Market โดยให้ซื้อขายในระบบ
ปกติ (Automatic Order Matching ) แทน  จำนวน 13 บริษัท โดยเริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 4
กรกฎาคม 2550 เป็นต้นไป ได้แก่
              1. บริษัท รองเท้าบาจาแห่งประเทศไทย จำกัด (มหาชน) (BATA)
              2 บริษัท เทพธานีกรีฑา จำกัด (มหาชน) (CSR)  
              3 บริษัทนำสินประกันภัย จำกัด (มหาชน) (NSI)
              4 บริษัท ปทุม ไรซมิล แอนด์ แกรนารี่ จำกัด (มหาชน) (PRG) 1/
              5 บริษัท แพ็คฟู้ด จำกัด (มหาชน) (PPC)
              6 บริษัท โรงแรมราชดำริ จำกัด (มหาชน) (RHC) 2/
              7 บริษัท โรงแรมรอยัล ออคิด (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)(ROH)  
              8 บริษัทไทยพาณิชย์นิวยอร์คไลฟ์ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)(SCNYL)
              9 บริษัท แชงกรี-ลา โฮเต็ล จำกัด (มหาชน) (SHANG)
              10 บริษัท สมิติเวช จำกัด (มหาชน) (SVH)
              11 บริษัท ไทย อกริ ฟู้ดส์ จำกัด (มหาชน)(TAF)      
              12 ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) (TBANK)    
              13 บริษัท ยูไนเต็ดฟลาวมิลล์ จำกัด (มหาชน) (UFM)        
               1.2 ยกเลิกการกำหนดให้หลักทรัพย์ของธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด
(มหาชน) (SCBT)3/  และบริษัท นครหลวงเส้นใยสังเคราะห์ จำกัด (มหาชน) (HTX) ซื้อขายใน
ระบบ Call Market  มีผลตั้งแต่วันที่ 4 กรกฎาคม 2550 เป็นต้นไป โดยยังคงสั่งห้ามการซื้อหรือ
ขายต่อไป
               2.  บริษัทที่ขาดคุณสมบัติเป็นปีที่ 2 จำนวน 6 บริษัท ยังคงซื้อขายในระบบปกติ
ได้แก่                                                                                  
          1. บริษัท วาไทยอุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน) (HT)
          2. บริษัท บางกอกแร้นช์ จำกัด (มหาชน) (RANCH)
          3. บริษัท ประกันคุ้มภัย จำกัด (มหาชน) (SAFE)
          4. บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (SHIN)
          5. บริษัท ยูไนเต็ดคอมมูนิเกชั่น อินดัสตรี จำกัด (มหาชน) (UCOM) 4/
          6. บริษัท วีนิไทย จำกัด (มหาชน) (VNT)
              ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามแนวทางดำเนินการที่ได้ปรับปรุงใหม่ข้างต้น บริษัทดังกล่าว
ข้างต้นจะดำเนินการดังนี้
             1. แก้ไขการกระจายรายย่อยให้ครบถ้วนภายใน 1 ปีนับจากวันครบกำหนดนำส่ง
รายงานการกระจายการถือหุ้นของแต่ละบริษัท  
              2. รายงานความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาทุก 6 เดือน ครั้งแรกวันที่ 14 พฤศจิกายน
2550 (สำหรับบริษัทที่มีงวดบัญชีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม) และครั้งต่อไปทุก 6 เดือนจนกว่า
บริษัทจะมีคุณสมบัติเรื่องการกระจายรายย่อยครบถ้วน
              3. กรณีบริษัทยังไม่สามารถแก้ไขคุณสมบัติการกระจายรายย่อยภายในเวลาดังกล่าว
ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมส่วนเพิ่มในงวดถัดไป (กรกฎาคมปี 2551 -
มิถุนายนปี 2552) โดยนับเป็นปีที่ 1 ตามจำนวนการกระจายผู้ถือหุ้นรายย่อยที่บริษัทยังไม่
สามารถปฏิบัติได้ตามเกณฑ์ และจะเรียกเก็บต่อไปตามตารางอัตราค่าธรรมเนียมที่กำหนดจน
กว่าบริษัทจะสามารถแก้ไขคุณสมบัติได้ (รายละเอียดของมาตรการดำเนินการกับบริษัทจด
ทะเบียนที่มีการกระจายรายย่อยไม่ครบถ้วนให้เหมาะสมขึ้น ปรากฏใน www.set.or.th. ใน
หมวดหนังสือเวียนฝ่ายกำกับบริษัทจดทะเบียน เลขที่ 28/2550 ลงวันที่ 13 มิถุนายน 2550 และ
สามารถติดตามรายงานความคืบหน้าในการแก้ไขการกระจายได้จาก www.set.or.th หัวข้อ  
ข้อมูลบริษัทจดทะเบียน  รายชื่อบริษัทที่มีการกระจายรายย่อยไม่ครบถ้วน)
                1/ PRG มีงวดบัญชีสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน
                2/ RHC อยู่ระหว่างดำเนินการเพิกถอนหลักทรัพย์โดยสมัครใจ โดยมีบริษัท หัวหิน รี
ซอร์ท จำกัด  เป็นผู้ทำคำเสนอซื้อในระหว่างวันที่ 25 เมษายน 2550 ถึงวันที่ 29 มิถุนายน
2550
                3/ SCBT อยู่ระหว่างดำเนินการเพิกถอนหลักทรัพย์โดยสมัครใจ  กำหนดประชุมผู้
ถือหุ้นเพื่อขออนุมัติการเพิกถอนหลักทรัพย์ในวันที่ 10 กรกฎาคม 2550 โดยมีธนาคารสแตนดาร์
ดชาร์เตอร์ด (ผู้ถือหุ้นใหญ่ 99.8%) เป็นผู้ทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์
                4/ UCOM อยู่ระหว่างดำเนินการเพิกถอนหลักทรัพย์โดยสมัครใจ  โดยผู้ถือหุ้นได้
อนุมัติการเพิกถอนหลักทรัพย์แล้วเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2550 โดยมีบริษัทโทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอม
มูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) (DTAC) เป็นผู้ทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์

ไม่รู้ว่า หมดหรือยังน่าครับ
http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.php?t=2639

สภาพคล่องของหุ้น กับ free float

โพสต์แล้ว: ศุกร์ มิ.ย. 20, 2008 10:17 pm
โดย miracle
อันบนเป็นข่าวเมื่อ 1 ปีที่แล้ว