ตามนิยามแล้ว เงินเฟ้อ กับ เงินฝืด เกิดขึ้นพร้อมกันไม่ได้ เพราะเงินเฟ้อ วัดจาก
ราคาสินค้าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆติดต่อกัน ส่วนเงินฝืด วัดจากราคาสินค้าลดลงเรื่อยๆ
ติดต่อกัน เห็นได้ว่าดัชนีที่ใ้ช้วัดมันวิ่งสวนทางกัน ดังนั้นจึงไม่น่าเป็นไปได้ครับ
1.เงินเฟ้อ คือ
ภาวะการณ์ที่ระดับราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปเพิ่มขึ้นอย่าง
ต่อเนื่อง หากเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นแต่เพียงเล็กน้อยเป็นปกติก็จะสร้างสิ่งจูงใจแก่ผู้
ประกอบการ แต่หากเพิ่มขึ้นมากและผันผวนก็จะสร้างความไม่แน่นอนและ
ก่อให้เกิดปัญหาต่อ ระบบเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการครองชีพของประชาชน และ
การขาดเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ
ในประเทศไทยเงินเฟ้อวัดจากอัตราการเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคา
ผู้บริโภค ซึ่งเป็นดัชนีที่จัดทำโดยกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ โดย
คำนวณจากค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของราคาสินค้าและบริการต่างๆ ที่ผู้บริโภคซื้อหา
เป็นประจำ โดยน้ำหนักของสินค้าและบริการแต่ละรายการกำหนดจาก รูปแบบ
การใช้จ่ายของครัวเรือนซึ่งได้จากการสำรวจ
ตามหลักเศรษฐศาสตร์ การเกิดภาวะเงินเฟ้อมาจาก 2 ปัจจัยหลัก
ปัจจัยแรก คือ แรงดึงทางด้านอุปสงค์ เกิดขึ้นจากระบบเศรษฐกิจมีความ
ต้องการปริมาณสินค้าและบริการมากกว่าที่มี อยู่ในขณะนั้นๆจึงดึงให้ราคาสินค้า
เพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของความต้องการสินค้าและบริการอาจมาจากหลาย
สาเหตุ เช่น การเปลี่ยนแปลงของปริมาณเงิน การดำเนินนโยบายการคลังของ
ภาครัฐบาล การเพิ่มขึ้นของอุปสงค์ในต่างประเทศ และการเปลี่ยนแปลง
พฤติกรรมการบริโภคของประชาชน
ปัจจัยที่สองเกิดจากด้านต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ทำให้ผู้ผลิตต้องปรับ
ราคาสินค้าขึ้น สาเหตุที่ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น อาทิ การเพิ่มขึ้นของค่าจ้าง
แรงงาน การเกิดวิกฤตการณ์ทางธรรมชาติ การเพิ่มกำไรของผู้ประกอบการ การ
เปลี่ยนแปลงของราคาสินค้านำเข้า ซึ่งอาจเพิ่มไปตามภาวะ ตลาดโลก หรือผล
ของอัตราแลกเปลี่ยน
2. เงินฝืด คือ
ภาวะการณ์ที่ระดับราคาสินค้าและบริการลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมี
ความหมายตรงกันข้ามกับคำว่าเงินเฟ้อ ทั้งนี้ อาจมีสาเหตุหลายประการ เช่น การ
เพิ่มขึ้นของอุปทาน การหดตัวของอุปสงค์ การลดลงของต้นทุนจากปัจจัยอัตรา
แลกเปลี่ยน หรือมาตรการปรับลดภาษี และการที่ปริมาณเงินหมุนเวียนมีไม่
เพียงพอต่อขนาดของระบบเศรษฐกิจ เป็นต้น
ื
ส่วนเรื่อง Stagflation คือ เศรษฐกิจซบเซา (แม่ค้าขายของไม่ออก) แต่ราคา
สินค้ากลับพุ่งขึ้นไม่หยุด (คนไม่มีปัญญาซื้อของ แม่ค้าก็ยิ่งขายของไม่ได้) ซึ่ง
ภาวะนี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วแก้ยากมากๆ เพราะถ้าจะแก้ปัญหาเศรษฐกิจซบเซา
ด้วยการกระตุ้นเศรษฐกิจเข้าไปก็จะยิ่งเกิดเงินเฟ้อ (ถามนักเศรษฐศาสตร์ดูก็ได้ว่า
สมัยที่เคนส์ปล่อยให้เกิดเงินเฟ้อสูง มันหายนะขนาดไหน) ส่วนจะแก้เงินเฟ้อให้
อยู่หมัดด้วยการขึ้นดอกเบี้ยก็จะยิ่งทำให้เศรษฐกิจซบเซาหนักขึ้น (อัตราว่างงาน
จะสูงขึ้น)
การจัดการด้านอุปสงค์ โดยใช้นโยบายการเงิน ถือว่าค่อนข้างได้ผลในระยะสั้น
แต่ก็ยังแก้ปัญหาในระยะยาวไม่ได้ ส่วนการจัดการด้านอุปทาน โดยใช้นโยบาย
การคลัง อาจจะแก้ปัญหาระยะยาวได้ แต่ระยะสั้นคงต้องทุกข์หนักกันไปก่อน ใน
อดีตอเมริกาใช้วิธีแก้โดยการแก้ปัญหาเงินเฟ้อให้อยู่หมัดก่อน แล้วค่อยหันมา
กระตุ้นเศรษฐกิจในภายหลัง
สรุปก็คือ ต้องทำทั้ง 2 ทางพร้อมๆกันอย่างเหมาะสมครับ
ปล. เมื่อเกือบ 20 ปีที่แล้วโลกเคยเจอปัญหาแบบนี้มาแล้วเนื่องจากน้ำมันขาด
แคลนและราคาพุ่งขึ้นไม่หยุด (คล้ายๆกับปัจจุบัน) ที่น่าสังเกตคือญี่ปุ่น แก้ปัญหา
โดยการทำประเทศให้พึ่งพาน้ำมันน้อยที่สุด ทำให้ปัจจุบันญี่ปุ่นจึงเป็นประเทศที่
โดนผลกระทบทางเศรษฐกิจน้อยมากๆ เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆทั้งโลก
ปล2. สำหรับประเทศไทยถ้านักการเมืองยังคงใช้นโยบายต่างๆเพื่อ ..... อยู่อย่าง
นี้ พวกเราคงอายุยืนไม่พอที่จะเห็นผลจากนโยบายแก้ปัญหาต่างๆหรอกครับ :(
บทความนี้น่าสนใจครับ
http://kawthoung.blogspot.com/2007/12/stagflation.html[/url]