ตลาดหุ้นไทยกับต่างชาติ ฟ้าหลังฝน...อาจไม่สดใส
โพสต์แล้ว: พุธ ก.ค. 02, 2008 2:02 pm
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 2 กรกฎาคม 2551 10:00 น.
"แนวโน้มตลาดหุ้นไทยในช่วงที่เหลือมองว่าการที่นักลงทุนต่างชาติจะกลับมาลงทุนในตลาดหุ้นไทยขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย แต่มูลค่าการลงทุนยังคงขึ้นอยู่กับการชั่งน้ำหนักต่อปัจจัยแวดล้อมต่างๆ เพราะราคาหุ้นในหลายตลาดในภูมิภาคปรับลดลงมากกว่า ประกอบกับแรงซื้อของต่างชาติอาจจะถูกจำกัดด้วยความวิตกเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจไทยที่มีแนวโน้มชะลอตัวลง จากอัตราเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้น รวมทั้งการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย"
หมดไปอีก 1 ไตรมาสแล้วสำหรับปี 2551 ซึ่งต้องเรียกว่าเป็นไตรมาสที่วุ่นวายไม่ใช่น้อยสำหรับนักลงทุน เพราะปัจจัยภายในประเทศ โดยเฉพาะปัญหาการเมืองที่ไม่นิ่ง และปัญหาภายนอกประเทศ จากเรื่องภาวะเศรษฐกิจโลก ส่งผลทำให้การลงทุนในทุกตลาดประสบปัญหาความผันผวน โดยเฉพาะการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ที่ประสบปัญหาการเทขายของนักลงทุนต่างชาติอย่างต่อเนื่องจนดัชนีโดยรวมปรับตัวลดลง นอกจากนี้ถ้าจะมองย้อนไปถึงช่วงต้นปีแล้ว ก็ยังพบด้วยว่าดัชนีในปัจจุบันยังปรับตัวลดลงจากดัชนีเปิดต้นปีที่ 858.10 จุดอีกด้วย
ทั้งนี้ "ศูนย์วิจัยกสิกรไทย" ได้ออกบทวิเคราะห์เกี่ยวกับภาวะการลงทุนในตลาดหุ้นไทย โดยให้มุมมองว่า นับจากต้นปี 2551 เป็นต้นมา ดัชนีตลาดหุ้นไทยมีทิศทางที่ปรับตัวลดลง โดยเฉพาะตั้งแต่ปลายเดือน พฤษภาคม เป็นต้นมา ซึ่งนับจากวันเปิดตลาดจนถึงวันที่ 24 มิถุนายน ตลาดหุ้นไทยลดลงไปแล้ว 94.35 จุด หรือร้อยละ 11.0 เมื่อเทียบจากระดับปิด ณ.สิ้นปีก่อน ขณะที่ในวันที่ 19 มิถุนายน ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นไทยร่วงลงไปปิดที่ระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 5 เดือน
ทั้งนี้สาเหตุที่ดัชนีปรับตัวลงค่อนข้างแรงนั้น มาจากการขายสุทธิอย่างต่อเนื่องของนักลงทุนต่างชาติ โดยในช่วงครึ่งแรกของปี 2551 นั้น นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิไปแล้วกว่า 46,000 ล้านบาท ขณะที่ในช่วงเดียวกันของปีก่อนนักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิสูงถึง 97,000 ล้านบาท และทั้งปี 2550 นั้น นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิประมาณ 56,000 ล้านบาท ทำให้ปัจจุบันนักลงทุนต่างชาติเปลี่ยนฐานะจากซื้อสุทธิในปีก่อนมาเป็นการขายสุทธิในปีนี้แทน เนื่องจากตลาดหุ้นไทยได้รับแรงกดดันจากความกังวลเกี่ยวกับเสถียรภาพทางการเมืองในประเทศ ซึ่งทำให้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนลดลง
นอกจากนี้ ดัชนี SET ยังมีการปรับตัวที่สอดคล้องกับตลาดหุ้นในภูมิภาคที่ปรับตัวลดลง เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโลกที่อาจชะลอตัวแต่เงินเฟ้อสูง (Stagflation) หลังได้รับแรงกดดันจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่พุ่งขึ้นเป็นประวัติการณ์ อาจส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายของภาคเอกชน ส่งผลให้นักลงทุนลดการถือครองทรัพย์สินที่มีความเสี่ยง เช่น หุ้น และเพิ่มน้ำหนักการลงทุนให้สินทรัพย์ที่มีความปลอดภัยสูงกว่า เช่น พันธบัตรรัฐบาล
อย่างไรก็ตาม การปรับพอร์ตการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติในครั้งนี้ ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นไทยเพียงแห่งเดียวเท่านั้น เนื่องจากตลาดหุ้นทั่วโลกล้วนแต่มีการปรับตัวไปในทิศทางเดียวกัน เห็นได้จากเมื่อเริ่มเปิดขายในปี 2551 จนถึงวันที่ 24 มิถุนายน ดัชนีตลาดหุ้นต่างๆ หลายแห่งทั่วโลกร่วงลงอย่างหนัก เช่น ดัชนีหุ้นเวียดนามร่วงลงร้อยละ 59.4 และดัชนีหุ้นจีนปรับลดลงร้อยละ 46.7 เป็นต้น ส่วนการปรับตัวของดัชนีตลาดหุ้นไทยนั้น ดัชนีร่วงลงไปแล้วถึง 94.35 จุด หรือร้อยละ 11.0 ไปปิดที่ 763.75 จุด ขณะที่นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิไปแล้วกว่า 46,000 ล้านบาท แต่ดัชนีหุ้นไทยยังปรับลดลงไปไม่มากนักเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นอื่นๆ ในภูมิภาค ยกเว้นเพียง ดัชนีตลาดหุ้นไต้หวัน และดัชนี NIKKEI ของตลาดหุ้นญี่ปุ่น
ในขณะที่ส่วนแบ่งของมูลค่าการซื้อขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหุ้นไทยในช่วงครึ่งแรกของปี 2551 ลดลงจากร้อยละ 38 ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2550 เหลือร้อยละ 32 อย่างไรก็ตาม สัดส่วนดังกล่าวยังคงถือได้ว่าสูง ขณะที่ค่าความสัมพันธ์ (Correlation) ระหว่างการปรับตัวของตลาดหุ้นไทยกับมูลค่าการซื้อขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติยังเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมา เมื่อเทียบกับค่าความสัมพันธ์ในช่วง 4 ปีก่อน โดยเพิ่มจากร้อยละ 2.7 เป็นร้อยละ 34.5 ซึ่งแสดงให้เห็นว่านักลงทุนต่างชาติยังคงมีบทบาทสำคัญในตลาดหุ้นไทย ดังแสดงในภาพต่อไปนี้
ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าฐานะการซื้อขายสุทธิของต่างชาติมีความสัมพันธ์กับผลตอบแทนของดัชนีหุ้นไทย โดยในช่วงที่นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิอัตราผลตอบแทนของตลาดมักจะเป็นบวก ในขณะที่เมื่อนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิอัตราผลตอบแทนของตลาดมักจะติดลบ
สำหรับแนวโน้มตลาดหุ้นไทยในช่วงที่เหลือของปีนี้นั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า การที่นักลงทุนต่างชาติจะกลับมาลงทุนในตลาดหุ้นไทยขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย โดยตลาดหุ้นไทยอาจจะได้รับปัจจัยบวก จากการที่ดัชนีหุ้นไทยปรับตัวลดลงมาค่อนข้างมากในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ตลาดหุ้นไทยมีราคาถูก (ค่า P/E ต่ำ) กว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค ในขณะที่มีอัตราเงินปันผลตอบแทน (Dividend Yield) อยู่ในระดับที่น่าพอใจ ซึ่งน่าจะเป็นปัจจัยที่ดึงดูดให้นักลงทุนต่างชาติกลับเข้ามาลงทุน โดยค่า P/E ของตลาดหุ้นไทย ณ.สิ้นเดือน พฤษภาคม อยู่ที่ประมาณ 11.36 ขณะที่ Dividend Yield ร้อยละ 3.50
อย่างไรก็ดี ปัจจัยบวกดังกล่าว อาจมีน้ำหนักลดลง เพราะหากเทียบค่า P/E ณ.สิ้นเดือน พ.ค. กับต้นปี 2550 จะพบว่าค่า P/E ของดัชนีหุ้นไทยเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับประเทศเกาหลี ขณะที่ตลาดอื่นๆ ในภูมิภาคลดลง นอกจากนี้ หากเทียบกับตั้งแต่ต้นปี 2551 พบว่าค่า P/E ของตลาดหุ้นอื่นๆ เช่น ดัชนีตลาดหุ้นจีน ฮ่องกง สิงคโปร์ และมาเลเซีย ก็ลดลงมาค่อนข้างมาก ทำให้ตลาดหุ้นเหล่านี้เริ่มมีความดึงดูดมากขึ้นโดยเปรียบเทียบ นอกจากนี้ แรงซื้อของนักลงทุนต่างชาติอาจจะถูกจำกัดด้วยความวิตกเกี่ยวกับปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจของไทย
ขณะเดียวกัน สถานการณ์ทางการเมืองในประเทศ ทั้งการชุมนุมประท้วงของกลุ่มพันธมิตรฯ ที่มีแนวโน้มจะดำเนินไปอย่างยืดเยื้อมากขึ้น และการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ซึ่งอาจกระทบต่อความเชื่อมั่นของภาคเอกชน โดยเฉพาะนักลงทุนชาวต่างชาติได้
นอกจากนี้ ภาวะเงินเฟ้อ และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในประเทศ ซึ่งแรงกดดันเงินเฟ้อของไทยกำลังปรับตัวสูงขึ้นท่ามกลางความเสี่ยงที่เศรษฐกิจจะชะลอตัวในช่วงที่เหลือของปี หลังจากที่ตัวเลขเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนพฤษภาคม เร่งตัวขึ้นเกินคาดสู่ระดับสูงสุดในรอบเกือบ 10 ปีที่ร้อยละ 7.6 จากร้อยละ 6.2 ในเดือนเมษายน โดยล่าสุดเจ้าหน้าที่ระดับสูงของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยังกล่าวว่า มีโอกาสที่อัตราเงินเฟ้อของไทยในระยะถัดไปจะขยายตัวเป็นเลขสองหลักเนื่องจากการเปรียบเทียบกับฐานที่ต่ำในปีก่อนหน้า
ที่มา : ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
"แนวโน้มตลาดหุ้นไทยในช่วงที่เหลือมองว่าการที่นักลงทุนต่างชาติจะกลับมาลงทุนในตลาดหุ้นไทยขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย แต่มูลค่าการลงทุนยังคงขึ้นอยู่กับการชั่งน้ำหนักต่อปัจจัยแวดล้อมต่างๆ เพราะราคาหุ้นในหลายตลาดในภูมิภาคปรับลดลงมากกว่า ประกอบกับแรงซื้อของต่างชาติอาจจะถูกจำกัดด้วยความวิตกเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจไทยที่มีแนวโน้มชะลอตัวลง จากอัตราเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้น รวมทั้งการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย"
หมดไปอีก 1 ไตรมาสแล้วสำหรับปี 2551 ซึ่งต้องเรียกว่าเป็นไตรมาสที่วุ่นวายไม่ใช่น้อยสำหรับนักลงทุน เพราะปัจจัยภายในประเทศ โดยเฉพาะปัญหาการเมืองที่ไม่นิ่ง และปัญหาภายนอกประเทศ จากเรื่องภาวะเศรษฐกิจโลก ส่งผลทำให้การลงทุนในทุกตลาดประสบปัญหาความผันผวน โดยเฉพาะการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ที่ประสบปัญหาการเทขายของนักลงทุนต่างชาติอย่างต่อเนื่องจนดัชนีโดยรวมปรับตัวลดลง นอกจากนี้ถ้าจะมองย้อนไปถึงช่วงต้นปีแล้ว ก็ยังพบด้วยว่าดัชนีในปัจจุบันยังปรับตัวลดลงจากดัชนีเปิดต้นปีที่ 858.10 จุดอีกด้วย
ทั้งนี้ "ศูนย์วิจัยกสิกรไทย" ได้ออกบทวิเคราะห์เกี่ยวกับภาวะการลงทุนในตลาดหุ้นไทย โดยให้มุมมองว่า นับจากต้นปี 2551 เป็นต้นมา ดัชนีตลาดหุ้นไทยมีทิศทางที่ปรับตัวลดลง โดยเฉพาะตั้งแต่ปลายเดือน พฤษภาคม เป็นต้นมา ซึ่งนับจากวันเปิดตลาดจนถึงวันที่ 24 มิถุนายน ตลาดหุ้นไทยลดลงไปแล้ว 94.35 จุด หรือร้อยละ 11.0 เมื่อเทียบจากระดับปิด ณ.สิ้นปีก่อน ขณะที่ในวันที่ 19 มิถุนายน ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นไทยร่วงลงไปปิดที่ระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 5 เดือน
ทั้งนี้สาเหตุที่ดัชนีปรับตัวลงค่อนข้างแรงนั้น มาจากการขายสุทธิอย่างต่อเนื่องของนักลงทุนต่างชาติ โดยในช่วงครึ่งแรกของปี 2551 นั้น นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิไปแล้วกว่า 46,000 ล้านบาท ขณะที่ในช่วงเดียวกันของปีก่อนนักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิสูงถึง 97,000 ล้านบาท และทั้งปี 2550 นั้น นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิประมาณ 56,000 ล้านบาท ทำให้ปัจจุบันนักลงทุนต่างชาติเปลี่ยนฐานะจากซื้อสุทธิในปีก่อนมาเป็นการขายสุทธิในปีนี้แทน เนื่องจากตลาดหุ้นไทยได้รับแรงกดดันจากความกังวลเกี่ยวกับเสถียรภาพทางการเมืองในประเทศ ซึ่งทำให้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนลดลง
นอกจากนี้ ดัชนี SET ยังมีการปรับตัวที่สอดคล้องกับตลาดหุ้นในภูมิภาคที่ปรับตัวลดลง เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโลกที่อาจชะลอตัวแต่เงินเฟ้อสูง (Stagflation) หลังได้รับแรงกดดันจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่พุ่งขึ้นเป็นประวัติการณ์ อาจส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายของภาคเอกชน ส่งผลให้นักลงทุนลดการถือครองทรัพย์สินที่มีความเสี่ยง เช่น หุ้น และเพิ่มน้ำหนักการลงทุนให้สินทรัพย์ที่มีความปลอดภัยสูงกว่า เช่น พันธบัตรรัฐบาล
อย่างไรก็ตาม การปรับพอร์ตการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติในครั้งนี้ ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นไทยเพียงแห่งเดียวเท่านั้น เนื่องจากตลาดหุ้นทั่วโลกล้วนแต่มีการปรับตัวไปในทิศทางเดียวกัน เห็นได้จากเมื่อเริ่มเปิดขายในปี 2551 จนถึงวันที่ 24 มิถุนายน ดัชนีตลาดหุ้นต่างๆ หลายแห่งทั่วโลกร่วงลงอย่างหนัก เช่น ดัชนีหุ้นเวียดนามร่วงลงร้อยละ 59.4 และดัชนีหุ้นจีนปรับลดลงร้อยละ 46.7 เป็นต้น ส่วนการปรับตัวของดัชนีตลาดหุ้นไทยนั้น ดัชนีร่วงลงไปแล้วถึง 94.35 จุด หรือร้อยละ 11.0 ไปปิดที่ 763.75 จุด ขณะที่นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิไปแล้วกว่า 46,000 ล้านบาท แต่ดัชนีหุ้นไทยยังปรับลดลงไปไม่มากนักเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นอื่นๆ ในภูมิภาค ยกเว้นเพียง ดัชนีตลาดหุ้นไต้หวัน และดัชนี NIKKEI ของตลาดหุ้นญี่ปุ่น
ในขณะที่ส่วนแบ่งของมูลค่าการซื้อขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหุ้นไทยในช่วงครึ่งแรกของปี 2551 ลดลงจากร้อยละ 38 ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2550 เหลือร้อยละ 32 อย่างไรก็ตาม สัดส่วนดังกล่าวยังคงถือได้ว่าสูง ขณะที่ค่าความสัมพันธ์ (Correlation) ระหว่างการปรับตัวของตลาดหุ้นไทยกับมูลค่าการซื้อขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติยังเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมา เมื่อเทียบกับค่าความสัมพันธ์ในช่วง 4 ปีก่อน โดยเพิ่มจากร้อยละ 2.7 เป็นร้อยละ 34.5 ซึ่งแสดงให้เห็นว่านักลงทุนต่างชาติยังคงมีบทบาทสำคัญในตลาดหุ้นไทย ดังแสดงในภาพต่อไปนี้
ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าฐานะการซื้อขายสุทธิของต่างชาติมีความสัมพันธ์กับผลตอบแทนของดัชนีหุ้นไทย โดยในช่วงที่นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิอัตราผลตอบแทนของตลาดมักจะเป็นบวก ในขณะที่เมื่อนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิอัตราผลตอบแทนของตลาดมักจะติดลบ
สำหรับแนวโน้มตลาดหุ้นไทยในช่วงที่เหลือของปีนี้นั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า การที่นักลงทุนต่างชาติจะกลับมาลงทุนในตลาดหุ้นไทยขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย โดยตลาดหุ้นไทยอาจจะได้รับปัจจัยบวก จากการที่ดัชนีหุ้นไทยปรับตัวลดลงมาค่อนข้างมากในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ตลาดหุ้นไทยมีราคาถูก (ค่า P/E ต่ำ) กว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค ในขณะที่มีอัตราเงินปันผลตอบแทน (Dividend Yield) อยู่ในระดับที่น่าพอใจ ซึ่งน่าจะเป็นปัจจัยที่ดึงดูดให้นักลงทุนต่างชาติกลับเข้ามาลงทุน โดยค่า P/E ของตลาดหุ้นไทย ณ.สิ้นเดือน พฤษภาคม อยู่ที่ประมาณ 11.36 ขณะที่ Dividend Yield ร้อยละ 3.50
อย่างไรก็ดี ปัจจัยบวกดังกล่าว อาจมีน้ำหนักลดลง เพราะหากเทียบค่า P/E ณ.สิ้นเดือน พ.ค. กับต้นปี 2550 จะพบว่าค่า P/E ของดัชนีหุ้นไทยเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับประเทศเกาหลี ขณะที่ตลาดอื่นๆ ในภูมิภาคลดลง นอกจากนี้ หากเทียบกับตั้งแต่ต้นปี 2551 พบว่าค่า P/E ของตลาดหุ้นอื่นๆ เช่น ดัชนีตลาดหุ้นจีน ฮ่องกง สิงคโปร์ และมาเลเซีย ก็ลดลงมาค่อนข้างมาก ทำให้ตลาดหุ้นเหล่านี้เริ่มมีความดึงดูดมากขึ้นโดยเปรียบเทียบ นอกจากนี้ แรงซื้อของนักลงทุนต่างชาติอาจจะถูกจำกัดด้วยความวิตกเกี่ยวกับปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจของไทย
ขณะเดียวกัน สถานการณ์ทางการเมืองในประเทศ ทั้งการชุมนุมประท้วงของกลุ่มพันธมิตรฯ ที่มีแนวโน้มจะดำเนินไปอย่างยืดเยื้อมากขึ้น และการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ซึ่งอาจกระทบต่อความเชื่อมั่นของภาคเอกชน โดยเฉพาะนักลงทุนชาวต่างชาติได้
นอกจากนี้ ภาวะเงินเฟ้อ และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในประเทศ ซึ่งแรงกดดันเงินเฟ้อของไทยกำลังปรับตัวสูงขึ้นท่ามกลางความเสี่ยงที่เศรษฐกิจจะชะลอตัวในช่วงที่เหลือของปี หลังจากที่ตัวเลขเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนพฤษภาคม เร่งตัวขึ้นเกินคาดสู่ระดับสูงสุดในรอบเกือบ 10 ปีที่ร้อยละ 7.6 จากร้อยละ 6.2 ในเดือนเมษายน โดยล่าสุดเจ้าหน้าที่ระดับสูงของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยังกล่าวว่า มีโอกาสที่อัตราเงินเฟ้อของไทยในระยะถัดไปจะขยายตัวเป็นเลขสองหลักเนื่องจากการเปรียบเทียบกับฐานที่ต่ำในปีก่อนหน้า
ที่มา : ศูนย์วิจัยกสิกรไทย