ต่างชาติมองไทย..อ่อนแอ ดัชนีเชื่อมั่นลงทุนต่ำสุดในเอเชีย
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ก.ค. 17, 2008 10:43 am
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 16 กรกฎาคม 2551 10:25 น.
ดังนั้น ความสามารถของรัฐบาลในการจัดการปัญหาเงินเฟ้อและเสริมสร้างเสถียรภาพทางการเมืองจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการสนับสนุนการเติบโตให้แก่เศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งหลังของปี 2551
ไอเอ็นจี กรุ๊ป สถาบันการเงินระดับโลก เปิดเผยผลการสำรวจภาวะการลงทุนประจำไตรมาส ซึ่งปรากฏว่า นักลงทุนมีความเชื่อมั่นในการลงทุนในประเทศไทยลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับความเชื่อมั่นในการลงทุนในภูมิภาคเอเชียที่ปรับลดลง
โดยไทยมีดัชนีความเชื่อมั่นในการลงทุนลดลง 38% จาก 131 ในไตรมาส 1 ปี 2551 มาอยู่ที่ 81 ในไตรมาส 2 ที่ผ่านมา ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นในการลงทุนในไทยมีแนวโน้มอยู่ในระดับเกือบต่ำ สุด เพราะนักลงทุนเอเชียมองว่า จากสถานการณ์ปัจจุบันนี้ทำให้ตลาดไทยได้รับการพิจารณาว่ามีความอ่อนแอมากที่สุด
ในส่วนของดัชนีความเชื่อมั่นโดยรวมของภูมิภาคเอเชียก็มีการปรับลดลงเช่นกัน นำโดยประเทศจีน ตามด้วยประเทศใน ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นการลงทุนในเอเชีย-แปซิฟิกลดลงไปอยู่ที่ระดับกลาง (neutral) เป็นครั้งแรก หลังจากเคยอยู่ในระดับดีมาโดยตลอดนับตั้งแต่เริ่มมีการจัดทำรายงานการสำรวจความเชื่อมั่นในการลงทุนในไตรมาส 3 ปี 2550 เป็นต้นมา
สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นการลงทุนในภูมิภาคเอเชียโดยรวมมีการปรับลดลงติดต่อกัน 3 ไตรมาส โดยลดลงจาก 125 ในไตรมาส 1 ปี 2551 มาเป็น 109 ในไตรมาส 2 ซึ่งเป็นผลจากปัจจัยด้านเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศ และสภาวะการเมืองในแต่ละประเทศ โดยก่อนหน้านี้ ดัชนีความเชื่อมั่นด้านการลงทุนของเอเชียเท่ากับ 141 ในไตรมาส 3 ปี 2550 และลดลงเป็น 135 ในไตรมาส 4 ปี 2550
การสำรวจภาวะการลงทุนไอเอ็นจี อินเวสเตอร์ แดชบอร์ด (ING Investor Dashboard) เป็นการสำรวจดัชนีการลงทุนประจำไตรมาสในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (ยกเว้นญี่ปุ่น) เป็นรายแรก โดยเป็นการชี้วัดความเชื่อมั่นของนักลงทุนในภูมิภาคนี้ทั้ง 13 ประเทศ ได้แก่ ไทย ฮ่องกง จีน อินเดียอินโดนีเซีย เกาหลี มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไต้หวัน ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และ นิวซีแลนด์ ส่วนดัชนีภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก จะรวมทุกตลาด ยกเว้นญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ พร้อมทั้งเสนอ ภาพรวมของตลาดการลงทุนและทัศนคติของนักลงทุน โดยสามารถใช้ดัชนีความเชื่อมั่นประจำไตรมาสของไอเอ็นจี กรุ๊ป ในการอ้างอิง
ดัชนีความเชื่อมั่นลงทุนไทยต่ำสุดในเอเชีย
ผลการสำรวจภาวะการลงทุนของไอเอ็นจี กรุ๊ป พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นในตลาดไทยลดลงในช่วงไตรมาส 2 ปี 2551 และได้รับการพิจารณาว่ามีแนวโน้มอยู่ในระดับเกือบ ต่ำ สุด โดยมีสาเหตุจากปัจจัยหลายประการ ได้แก่ ความไม่แน่นอนทางการเมือง แนวโน้มที่อาจจะเกิดรัฐประหารอีกครั้ง ความกังวลเกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาลปัจจุบัน ค่าเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นอันเป็นผลจากราคาสินค้าและน้ำมันที่เพิ่มขึ้น และภาวะซบเซาของตลาดหุ้นซึ่งมีมูลค่าการซื้อขายลดลงถึง 12% ระหว่างวันที่ 25 พฤษภาคม 2551 และวันที่ 1 มิถุนายน 2551 ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นการลงทุนของไทยลดลงจาก 131 ในไตรมาส 1 ปี 2551 มาอยู่ที่ 81 ในไตรมาส 2 ของปีเดียวกัน
โดยมี 32% ของนักลงทุนไทยคาดว่า ตลาดหุ้นจะฟื้นตัวขึ้นในไตรมาส 3 ของปีนี้ ซึ่งลดลงกว่าไตรมาสที่ผ่านมาซึ่งมีนักลงทุนไทยถึง 60% ที่มั่นใจว่าตลาดหุ้นจะพื้นตัว
นอกจากนี้ ผลสำรวจยังระบุว่า นักลงทุนเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักลงทุนจากฮ่องกงเชื่อว่า ภาวะการลงทุนในเอเชียโดยรวมจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้นในไตรมาส 3 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ 2 ที่ผ่านมา อีกทั้งยังมีความเชื่อมั่นในภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาในไตรมาส 3 นี้ เช่นเดียวกับนักลงทุนไทยที่มีความเชื่อมั่นต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกาใน ไตรมาส 3 แต่คาดการณ์ว่า ภาวะเศรษฐกิจไทยจะทรุดต่ำลงอีกเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา
ผลสำรวจของนักลงทุนไทย
นักลงทุนไทย 18% เชื่อว่า เศรษฐกิจจะดีขึ้นในไตรมาส 3 ปี 2551 ขณะที่มีเพียง 12% เชื่อว่าเศรษฐกิจจะปรับตัวดีขึ้นในไตรมาส 2 ปี 2551
นักลงทุนไทย 34% คาดว่า ผลตอบแทนการลงทุนจะสูงขึ้นในไตรมาส 3 ปี 2551 ขณะที่ 29% เชื่อว่า ผลตอบแทน การลงทุนจะสูงขึ้นในไตรมาส 2 ปี2551
นักลงทุนไทย 29% เห็นว่า สถานะการเงินส่วนบุคคลจะดีขึ้นในไตรมาส 3 ปี 2551 เทียบกับ 31% คิดว่า สถานะการเงินส่วนบุคคลจะดีขึ้นตั้งแต่ไตรมาส 2 ปี 2551
นักลงทุนไทย 49% เชื่อมั่นว่า เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาจะดีขึ้นในไตรมาส 3 ปี 2551 เทียบกับ 30% คาดว่า เศรษฐกิจในสหรัฐฯ จะฟื้นตัวดีขึ้นมาตั้งแต่ไตรมาส 2 ปี 2551
มาริษ ท่าราบ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยโดยรวมยังคงมีรากฐานที่แข็งแกร่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งออกสินค้าเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม แต่อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นบวกกับความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ลดลงส่งผลให้อัตราการเติบโตของจีดีพี ลดลง และก่อให้เกิดผลกระทบเป็นลูกโซ่ตามมา และด้วยสภาวะความไม่แน่นอนทางการเมืองเป็นปัจจัยที่ซ้ำเติมให้ ความเชื่อมั่นของนักลงทุนไทยและต่างชาติลดลงอย่างเด่นชัด
ดังนั้น ความสามารถของรัฐบาลในการจัดการปัญหาเงินเฟ้อและเสริมสร้างเสถียรภาพทางการเมืองจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการสนับสนุนการเติบโตให้แก่เศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งหลังของปี 2551
ผลสำรวจนักลงทุนในเอเชีย (ยกเว้นญี่ปุ่น)
นักลงทุน 41% ชี้ว่า สภาพเศรษฐกิจจะดีขึ้นตั้งแต่ไตรมาส 3 ปี 2551 เทียบกับ 25% คิดว่า สภาพเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้นในไตรมาสที่ 2 ปี 2551
นักลงทุน 45% มองว่า ผลตอบแทนการลงทุนจะเพิ่มขึ้นในไตรมาส 3 ปี 2551 เทียบกับ 30% คิดว่า ผลตอบแทนการลงทุนเพิ่มขึ้นตั้งแต่ไตรมาส 2 ปี 2551
นักลงทุน 46% กล่าวว่า สถานะการเงินส่วนบุคคลจะดีขึ้นในไตรมาส 3 ปี 2551 เทียบกับ 35% คิดว่า สถานะดีขึ้นตั้งแต่ไตรมาส 2 ปี 2551
นักลงทุน 34% คาดว่า เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาจะดีขึ้นในไตรมาส 3 ปี 2551 เทียบกับ 29% คิดว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ ดีขึ้นในไตรมาส 2 ปี 2551
นอกจากนี้ นักลงทุนไทยสัดส่วน 64% และนักลงทุนในเอเชีย (ยกเว้นญี่ปุ่น) จำนวน 71% คิดว่า วิกฤติสินทรัพย์ด้อยคุณภาพและภาวะเงินเฟ้อจะส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจการลงทุนของพวกเขาในไตรมาส 3 ปี 2551 ขณะที่นักลงทุนไทย 91% และนักลงทุนในเอเชีย (ยกเว้นญี่ปุ่น) 81% คิดว่า ภาวะเงินเฟ้อจะส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจลงทุนของพวกเขาในไตรมาส 3 ปี 2551
ข้อมูลที่น่าสนใจ
นักลงทุนไทย 35% มีการลงทุนในหุ้น IPO หรือหุ้นของบริษัทที่จะเสนอขายครั้งแรกให้ประชาชนทั่วไป ในไตรมาส 2 ปี 2551 และ 28% คาดว่าจะลงทุนในหุ้น IPO ในไตรมาส 3 ปี 2551
นักลงทุนไทย 30% ระบุว่า เตรียมลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับแหล่งทรัพยากรธรรมชาติของโลก อาทิ น้ำมัน ก๊าซ โลหะ และน้ำ ในไตรมาส 3 ปี2551
ความไร้เสถียรภาพทางการเมือง ค่าครองชีพที่ดีดตัวพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และสินค้าอาหารที่มีราคาแพงขึ้น ทั้งหมดนี้คือปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นของลงทุนลดสู่ระดับต่ำมาอย่างต่อเนื่องในหลายไตรมาสที่ผ่านมา นักลงทุนเกือบ 50% ประกาศลดการลงทุนเพื่อสำรองเงินไว้สำหรับการใช้ซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นในชีวิตประจำวันที่มีราคาพุ่งสูงขึ้น นอกจากนี้ นักลงทุนส่วนใหญ่ยังเชื่อว่า ค่าครองชีพจะยังคงมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
จากการคาดการณ์ดังกล่าว ซึ่งมีความเป็นไปได้นี้ส่งผลให้ผู้ผลิตสินค้ามีการปรับราคาสินค้าขึ้น และพนักงานต้องการเงินเดือนเพิ่ม อย่างไรก็ตาม จาก ผลสำรวจ นักลงทุนไทยยังมีความเชื่อมั่นว่า เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาอาจจะฟื้นตัวดีขึ้นในไตรมาสหน้า ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการส่งออกของไทยนายมาริษ กล่าว
ดังนั้น ความสามารถของรัฐบาลในการจัดการปัญหาเงินเฟ้อและเสริมสร้างเสถียรภาพทางการเมืองจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการสนับสนุนการเติบโตให้แก่เศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งหลังของปี 2551
ไอเอ็นจี กรุ๊ป สถาบันการเงินระดับโลก เปิดเผยผลการสำรวจภาวะการลงทุนประจำไตรมาส ซึ่งปรากฏว่า นักลงทุนมีความเชื่อมั่นในการลงทุนในประเทศไทยลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับความเชื่อมั่นในการลงทุนในภูมิภาคเอเชียที่ปรับลดลง
โดยไทยมีดัชนีความเชื่อมั่นในการลงทุนลดลง 38% จาก 131 ในไตรมาส 1 ปี 2551 มาอยู่ที่ 81 ในไตรมาส 2 ที่ผ่านมา ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นในการลงทุนในไทยมีแนวโน้มอยู่ในระดับเกือบต่ำ สุด เพราะนักลงทุนเอเชียมองว่า จากสถานการณ์ปัจจุบันนี้ทำให้ตลาดไทยได้รับการพิจารณาว่ามีความอ่อนแอมากที่สุด
ในส่วนของดัชนีความเชื่อมั่นโดยรวมของภูมิภาคเอเชียก็มีการปรับลดลงเช่นกัน นำโดยประเทศจีน ตามด้วยประเทศใน ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นการลงทุนในเอเชีย-แปซิฟิกลดลงไปอยู่ที่ระดับกลาง (neutral) เป็นครั้งแรก หลังจากเคยอยู่ในระดับดีมาโดยตลอดนับตั้งแต่เริ่มมีการจัดทำรายงานการสำรวจความเชื่อมั่นในการลงทุนในไตรมาส 3 ปี 2550 เป็นต้นมา
สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นการลงทุนในภูมิภาคเอเชียโดยรวมมีการปรับลดลงติดต่อกัน 3 ไตรมาส โดยลดลงจาก 125 ในไตรมาส 1 ปี 2551 มาเป็น 109 ในไตรมาส 2 ซึ่งเป็นผลจากปัจจัยด้านเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศ และสภาวะการเมืองในแต่ละประเทศ โดยก่อนหน้านี้ ดัชนีความเชื่อมั่นด้านการลงทุนของเอเชียเท่ากับ 141 ในไตรมาส 3 ปี 2550 และลดลงเป็น 135 ในไตรมาส 4 ปี 2550
การสำรวจภาวะการลงทุนไอเอ็นจี อินเวสเตอร์ แดชบอร์ด (ING Investor Dashboard) เป็นการสำรวจดัชนีการลงทุนประจำไตรมาสในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (ยกเว้นญี่ปุ่น) เป็นรายแรก โดยเป็นการชี้วัดความเชื่อมั่นของนักลงทุนในภูมิภาคนี้ทั้ง 13 ประเทศ ได้แก่ ไทย ฮ่องกง จีน อินเดียอินโดนีเซีย เกาหลี มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไต้หวัน ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และ นิวซีแลนด์ ส่วนดัชนีภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก จะรวมทุกตลาด ยกเว้นญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ พร้อมทั้งเสนอ ภาพรวมของตลาดการลงทุนและทัศนคติของนักลงทุน โดยสามารถใช้ดัชนีความเชื่อมั่นประจำไตรมาสของไอเอ็นจี กรุ๊ป ในการอ้างอิง
ดัชนีความเชื่อมั่นลงทุนไทยต่ำสุดในเอเชีย
ผลการสำรวจภาวะการลงทุนของไอเอ็นจี กรุ๊ป พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นในตลาดไทยลดลงในช่วงไตรมาส 2 ปี 2551 และได้รับการพิจารณาว่ามีแนวโน้มอยู่ในระดับเกือบ ต่ำ สุด โดยมีสาเหตุจากปัจจัยหลายประการ ได้แก่ ความไม่แน่นอนทางการเมือง แนวโน้มที่อาจจะเกิดรัฐประหารอีกครั้ง ความกังวลเกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาลปัจจุบัน ค่าเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นอันเป็นผลจากราคาสินค้าและน้ำมันที่เพิ่มขึ้น และภาวะซบเซาของตลาดหุ้นซึ่งมีมูลค่าการซื้อขายลดลงถึง 12% ระหว่างวันที่ 25 พฤษภาคม 2551 และวันที่ 1 มิถุนายน 2551 ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นการลงทุนของไทยลดลงจาก 131 ในไตรมาส 1 ปี 2551 มาอยู่ที่ 81 ในไตรมาส 2 ของปีเดียวกัน
โดยมี 32% ของนักลงทุนไทยคาดว่า ตลาดหุ้นจะฟื้นตัวขึ้นในไตรมาส 3 ของปีนี้ ซึ่งลดลงกว่าไตรมาสที่ผ่านมาซึ่งมีนักลงทุนไทยถึง 60% ที่มั่นใจว่าตลาดหุ้นจะพื้นตัว
นอกจากนี้ ผลสำรวจยังระบุว่า นักลงทุนเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักลงทุนจากฮ่องกงเชื่อว่า ภาวะการลงทุนในเอเชียโดยรวมจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้นในไตรมาส 3 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ 2 ที่ผ่านมา อีกทั้งยังมีความเชื่อมั่นในภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาในไตรมาส 3 นี้ เช่นเดียวกับนักลงทุนไทยที่มีความเชื่อมั่นต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกาใน ไตรมาส 3 แต่คาดการณ์ว่า ภาวะเศรษฐกิจไทยจะทรุดต่ำลงอีกเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา
ผลสำรวจของนักลงทุนไทย
นักลงทุนไทย 18% เชื่อว่า เศรษฐกิจจะดีขึ้นในไตรมาส 3 ปี 2551 ขณะที่มีเพียง 12% เชื่อว่าเศรษฐกิจจะปรับตัวดีขึ้นในไตรมาส 2 ปี 2551
นักลงทุนไทย 34% คาดว่า ผลตอบแทนการลงทุนจะสูงขึ้นในไตรมาส 3 ปี 2551 ขณะที่ 29% เชื่อว่า ผลตอบแทน การลงทุนจะสูงขึ้นในไตรมาส 2 ปี2551
นักลงทุนไทย 29% เห็นว่า สถานะการเงินส่วนบุคคลจะดีขึ้นในไตรมาส 3 ปี 2551 เทียบกับ 31% คิดว่า สถานะการเงินส่วนบุคคลจะดีขึ้นตั้งแต่ไตรมาส 2 ปี 2551
นักลงทุนไทย 49% เชื่อมั่นว่า เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาจะดีขึ้นในไตรมาส 3 ปี 2551 เทียบกับ 30% คาดว่า เศรษฐกิจในสหรัฐฯ จะฟื้นตัวดีขึ้นมาตั้งแต่ไตรมาส 2 ปี 2551
มาริษ ท่าราบ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยโดยรวมยังคงมีรากฐานที่แข็งแกร่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งออกสินค้าเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม แต่อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นบวกกับความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ลดลงส่งผลให้อัตราการเติบโตของจีดีพี ลดลง และก่อให้เกิดผลกระทบเป็นลูกโซ่ตามมา และด้วยสภาวะความไม่แน่นอนทางการเมืองเป็นปัจจัยที่ซ้ำเติมให้ ความเชื่อมั่นของนักลงทุนไทยและต่างชาติลดลงอย่างเด่นชัด
ดังนั้น ความสามารถของรัฐบาลในการจัดการปัญหาเงินเฟ้อและเสริมสร้างเสถียรภาพทางการเมืองจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการสนับสนุนการเติบโตให้แก่เศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งหลังของปี 2551
ผลสำรวจนักลงทุนในเอเชีย (ยกเว้นญี่ปุ่น)
นักลงทุน 41% ชี้ว่า สภาพเศรษฐกิจจะดีขึ้นตั้งแต่ไตรมาส 3 ปี 2551 เทียบกับ 25% คิดว่า สภาพเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้นในไตรมาสที่ 2 ปี 2551
นักลงทุน 45% มองว่า ผลตอบแทนการลงทุนจะเพิ่มขึ้นในไตรมาส 3 ปี 2551 เทียบกับ 30% คิดว่า ผลตอบแทนการลงทุนเพิ่มขึ้นตั้งแต่ไตรมาส 2 ปี 2551
นักลงทุน 46% กล่าวว่า สถานะการเงินส่วนบุคคลจะดีขึ้นในไตรมาส 3 ปี 2551 เทียบกับ 35% คิดว่า สถานะดีขึ้นตั้งแต่ไตรมาส 2 ปี 2551
นักลงทุน 34% คาดว่า เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาจะดีขึ้นในไตรมาส 3 ปี 2551 เทียบกับ 29% คิดว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ ดีขึ้นในไตรมาส 2 ปี 2551
นอกจากนี้ นักลงทุนไทยสัดส่วน 64% และนักลงทุนในเอเชีย (ยกเว้นญี่ปุ่น) จำนวน 71% คิดว่า วิกฤติสินทรัพย์ด้อยคุณภาพและภาวะเงินเฟ้อจะส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจการลงทุนของพวกเขาในไตรมาส 3 ปี 2551 ขณะที่นักลงทุนไทย 91% และนักลงทุนในเอเชีย (ยกเว้นญี่ปุ่น) 81% คิดว่า ภาวะเงินเฟ้อจะส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจลงทุนของพวกเขาในไตรมาส 3 ปี 2551
ข้อมูลที่น่าสนใจ
นักลงทุนไทย 35% มีการลงทุนในหุ้น IPO หรือหุ้นของบริษัทที่จะเสนอขายครั้งแรกให้ประชาชนทั่วไป ในไตรมาส 2 ปี 2551 และ 28% คาดว่าจะลงทุนในหุ้น IPO ในไตรมาส 3 ปี 2551
นักลงทุนไทย 30% ระบุว่า เตรียมลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับแหล่งทรัพยากรธรรมชาติของโลก อาทิ น้ำมัน ก๊าซ โลหะ และน้ำ ในไตรมาส 3 ปี2551
ความไร้เสถียรภาพทางการเมือง ค่าครองชีพที่ดีดตัวพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และสินค้าอาหารที่มีราคาแพงขึ้น ทั้งหมดนี้คือปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นของลงทุนลดสู่ระดับต่ำมาอย่างต่อเนื่องในหลายไตรมาสที่ผ่านมา นักลงทุนเกือบ 50% ประกาศลดการลงทุนเพื่อสำรองเงินไว้สำหรับการใช้ซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นในชีวิตประจำวันที่มีราคาพุ่งสูงขึ้น นอกจากนี้ นักลงทุนส่วนใหญ่ยังเชื่อว่า ค่าครองชีพจะยังคงมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
จากการคาดการณ์ดังกล่าว ซึ่งมีความเป็นไปได้นี้ส่งผลให้ผู้ผลิตสินค้ามีการปรับราคาสินค้าขึ้น และพนักงานต้องการเงินเดือนเพิ่ม อย่างไรก็ตาม จาก ผลสำรวจ นักลงทุนไทยยังมีความเชื่อมั่นว่า เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาอาจจะฟื้นตัวดีขึ้นในไตรมาสหน้า ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการส่งออกของไทยนายมาริษ กล่าว