เงินเฟ้อ อย่างที่เราเจอตอนนี้ ควรใช้มาตรการแบบไหนดีครับ
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ก.ค. 24, 2008 5:24 pm
Failure of Inflation Targeting "สติกลิทซ์" คิด... "หมอเลี้ยบ" จุดพลุ
นโยบายการเงินตามแนวทางการกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อ (inflation targeting) เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันมาเป็นระยะๆ ในเรื่องความสัมฤทธิผลของนโยบาย ภายใต้ปัจจัยแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป แต่ไม่ค่อยจะเป็น ข้อถกเถียงที่เด่นชัดนักในประเทศไทย
กระทั่งเมื่อ น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี หยิบยกเอามุมมองของ "โจเซฟ สติกลิทซ์" นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล ปี 2544 มาอ้างถึง ประกอบการวิจารณ์การปรับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม
โดยเฉพาะข้อสังเกตของสติกลิทซ์ที่ว่า อัตราเงินเฟ้อที่มาจากปัจจัยภายนอกคือราคาน้ำมัน ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยอัตรา ดอกเบี้ย เพราะมันจะทำให้เศรษฐกิจฟุบ ชะลอตัว ผู้ประกอบการล้มละลายได้
ทำให้การดำเนินนโยบายการเงินตามแนวทาง inflation targeting กลับมาเป็นที่สนใจอีกครั้ง
มุมมองต่างของสติกลิทซ์ที่ น.พ.สุรพงษ์อ้างถึงมาจากบทความเรื่อง "The Failure of Inflation Tageting" เผยแพร่ในเว็บไซต์ www.project-syndicate.org ซึ่งเปิดประเด็นตรงๆ ที่ปรากฏการณ์ของธนาคารกลางหลายประเทศ ได้นำแนวทาง inflation targeting มาประยุกต์ใช้แทนนโยบายการเงินตามแนวทางของสำนักการเงินนิยม (แบบเน้นอุปทาน)
กลไกการทำงานของนโยบายการเงินแนวทางนี้คือ เมื่อใดก็ตามที่ราคาเพิ่มขึ้นเกินระดับเป้าหมายหนึ่ง (ที่ธนาคารกลางกำหนดไว้) อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จะต้องปรับขึ้น "วิธีการอันหยาบๆ นี้อ้างอิงทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์หรือหลักฐานเชิงประจักษ์เพียงเล็กน้อยเท่านั้น แม้ไม่มีเหตุผลที่จะไปคาดเดาว่าแนวทางนี้ไม่ได้คำนึงถึงแหล่งที่มาของเงินเฟ้อ"
ด้วยเหตุนี้ทำให้สติกลิทซ์คาดหวังว่าประเทศส่วนใหญ่จะมีสำนึกที่ดีที่จะไม่นำแนวทางการกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อมาใช้ เพราะกังวลกับผลกระทบที่จะตกอยู่กับพลเมืองของประเทศเหล่านั้น (อย่างไรก็ตามในบทความของสติกลิทซ์เอง ได้ให้รายชื่อประเทศที่นำนโยบายการเงินแนวทางนี้มาปรับใช้แล้วอย่างเป็นทางการในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ได้แก่ สาธารณรัฐเช็ก โปแลนด์ บราซิล ชิลี โคลัมเบีย แอฟริกาใต้ ไทย เกาหลีใต้ เม็กซิโก ฮังการี เปรู ฟิลิปปินส์ สโลวัก อินโดนีเซีย โรมาเนีย นิวซีแลนด์ แคนาดา อังกฤษ สวีเดน ออสเตรเลีย ไอซ์แลนด์ และนอร์เวย์)
เขาเตือนว่า จากสภาพการณ์ในปัจจุบันแนวทางแบบกำหนดกรอบเงินเฟ้อกำลังถูกทดสอบและเกือบจะล้มเลวอย่างแน่นอนแล้ว
"ปัจจุบันประเทศกำลังพัฒนาเผชิญกับอัตราเงินเฟ้อสูงซึ่งไม่ได้เป็นเพราะการบริหารนโยบายมหภาคที่ด้อยประสิทธิภาพ แต่เป็นเพราะราคาอาหาร และน้ำมันกำลังปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และรายการเหล่านี้คิดเป็นสัดส่วนที่ใหญ่มากในงบใช้จ่ายของครัวเรือนโดยเฉลี่ย เมื่อเทียบกับครัวเรือนประเทศร่ำรวย"
สติกลิทซ์เรียก "เงินเฟ้อ" ในประเทศกำลังพัฒนาว่า ส่วนใหญ่เป็นเงินเฟ้อนำเข้า ดังนั้นการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จะไม่ส่ง ผลกระทบมากนักต่อราคาในต่างประเทศของพืชพันธุ์ธัญญาหารหรือเชื้อเพลง "ซึ่งอันที่จริงหากพิจารณาจากขนาดของเศรษฐกิจสหรัฐ การชะลอตัวของที่นั่นอาจส่งผลกระทบต่อระดับราคาทั่วโลกได้มากกว่าในประเทศกำลังพัฒนาทุกราย ดังนั้นหากมองจากระดับโลกแล้วก็ควรจะมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในสหรัฐมากกว่า ไม่ใช่ ในประเทศกำลังพัฒนา"
เขามองว่าตราบใดที่ประเทศกำลังพัฒนายังคงเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจทั่วโลกอยู่ โดยที่ไม่มีการดำเนินมาตรการใดจำกัดผลกระทบของราคาในต่างประเทศที่มีต่อราคาในประเทศ เพราะทั้งราคาข้าวในประเทศและราคาพืชพันธุ์ธัญญาหารต่างๆ มีแนวโน้มจะปรับขึ้น เมื่อราคาต่างประเทศปรับขึ้น ราคาน้ำมันและอาหารที่สูงขึ้นเป็นภัย "ยกกำลัง 3" เพราะประเทศนำเข้าจะต้องใช้เงินมากขึ้นในการซื้อ ในการนำเข้ามา และในการแจกจ่ายไปยังผู้บริโภค ที่อยู่ห่างไกลออกไป
ในความคิดของสติกลิทซ์ แม้การขึ้นดอกเบี้ยจะสามารถดึง อุปสงค์รวมลงซึ่งส่งผลต่อเนื่องไปลดการเติบโตทางเศรษฐกิจและชะลอการขึ้นของราคาสินค้าและบริการบางชนิด แต่หากไม่สามารถดึงระดับราคาลงมาในระดับที่ยอมรับได้ มาตรการเหล่านี้โดยลำพังไม่สามารถดึงอัตราเงินเฟ้อลงมาสู่ระดับเป้าหมายได้
ยกตัวอย่างแม้ว่าราคาอาหารและพลังงานทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นในระดับปานกลางกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เช่น สัก 20% ต่อปี และการเพิ่มขึ้นดังกล่าวมีผลต่อราคาภายในประเทศ ซึ่งการจะดึงอัตราเงินเฟ้อโดยรวมลงมาที่ระดับประมาณ 3% ได้ จะต้องทำให้ราคาในส่วนอื่นๆ ลดลงอย่างมากด้วย นั่นย่อมจะส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอตัวตามมา และมีอัตราว่างงานสูง "แนวทางแก้ไขวิธีนี้อาจเลวร้าย กว่าโรคระบาดเสียอีก"
เมื่อเป็นเช่นนี้ควรจะทำอย่างไรดี ? สติกลิทซ์เสนอแนะว่า ประการแรก ไม่ควรจะไปตำหนินักการเมืองหรือผู้ว่าการธนาคารกลางในกรณีของ "เงินเฟ้อนำเข้า" เช่นเดียวกับที่ไม่จำเป็นต้องให้เครดิตคนกลุ่มนี้ในช่วงที่เงินเฟ้อต่ำ เพราะเป็นช่วงที่ปัจจัยแวดล้อมทั่วโลกเอื้ออำนวย
ดังเช่นกรณีของ อลัน กรีนสแปน อดีตประธานธนาคารกลางสหรัฐ ซึ่งในช่วงนี้ถูกตำหนิที่ทำให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจขึ้นในอเมริกา แต่ในบางเวลาเขาได้รับการยกย่องที่ทำให้เงินเฟ้อในสหรัฐอยู่ในระดับต่ำในช่วงที่เขาคุมนโยบายการเงินของประเทศนี้อยู่ แต่ความจริงก็คือในยุคของกรีนสแปนได้รับประโยชน์จากราคาสินค้า คอมโมดิตี้ตกต่ำ และภาวะ "เงินฝืด" ที่มาจากจีนซึ่งช่วยให้สามารถควบคุมราคาสินค้าในภาคการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
"ประการที่สอง เราต้องตระหนักว่า ราคาที่สูงขึ้นสามารถสร้างปัญหาได้อย่างมากมาย โดยเฉพาะต่อกลุ่มคนที่มีรายได้ต่ำ การจลาจล และการประท้วงในประเทศกำลังพัฒนาบางราย คือประจักษ์พยานที่เลวร้ายที่สุดของสถานการณ์นี้"
ในตอนท้ายสติกลิทซ์ย้ำว่า สิ่งที่สำคัญที่สุดคือทั้งประเทศกำลังพัฒนา และประเทศพัฒนาแล้วจำเป็นต้องยกเลิกนโยบายการเงินตามแนวทาง inflation targeting เพราะ "ความพยายามในการสนองตอบต่อการขึ้นของราคาอาหารและพลังงานจึงเป็นเรื่องยากพอสมควร ยิ่งในช่วงที่เศรษฐกิจอ่อนแอลงและมีการว่างงานมากขึ้น การใช้นโยบายกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อจะไม่ส่งผลต่อเงินเฟ้อมากนัก แต่จะยิ่งทำให้การทำงานเพื่อให้อยู่รอดได้ในสภาพแวดล้อมเหล่านี้ยากมากขึ้น"
นี่คือเนื้อหาหลักๆ ส่วนหนึ่งในบทความของสติกลิทซ์ซึ่งนอกเหนือจาก น.พ.สุรพงษ์และทีมที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจเห็นด้วยและคิดคล้อยตามแล้ว ยังมีนักเศรษฐศาสตร์ระดับแถวหน้าอีกจำนวนไม่น้อยที่มองเห็นจุดอ่อนของ inflation targeting ในจำนวนนั้นรวมถึง เดวิด บลันช์ฟลาวเวอร์ หนึ่งในคณะกรรมการกำหนดนโยบายของธนาคารกลางอังกฤษ ซึ่งเพิ่งจะออกมาขย่มขวัญคนอังกฤษเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า อังกฤษกำลังเข้าใกล้ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจและอาจจะเลวร้ายกว่าภาวะถดถอยในสหรัฐ
อย่างไรก็ตามแนวคิดดังกล่าวใช่จะมีแต่คนเห็นด้วย คนที่คิดต่างก็มาก ซึ่งหากไม่นับ ธาริษา วัฒนเกส และเจ้าหน้าที่ระดับสูงในธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้ว่าการธนาคารกลางเกือบทุกแห่งที่นำแนวทางนี้มาใช้ก็ล้วนแต่มองเห็นต่างทั้งสิ้น ในจำนวนนั้นรวมถึง เมอร์วิน คิง ผู้ว่าการธนาคารกลางอังกฤษ และ เกลน สตีเฟนส์ ผู้ว่าการธนาคารกลางออสเตรเลีย
ในแง่ของนักวิชาการและนักเศรษฐศาสตร์จากตลาดการเงิน ก็มีหลายเสียงที่เห็นขัดแย้งกับสติกลิทซ์ ในช่วงที่เขาวิพากษ์นโยบายการเงินของธนาคารกลางออสเตรเลียในช่วงเดือนพฤษภาคม
ดังคำตอบโต้ของ ซาอูล เอสเลค หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จากธนาคารเอเอ็นซีที่ระบุว่า คำวิจารณ์ของสติกลิทซ์ต่อ inflation targeting เป็นไปอย่างพื้นๆ และไม่น่าเชื่อถือ ขณะที่ จอห์น ฟรีเบรน นักเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น กล่าวว่า inflation targeting มีความสมบูรณ์เพียงพอที่จะจัดการกับการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าและบริการ อีกทั้ง เขาไม่เชื่อว่าธนาคารกลางหรือนักวิชาการรายหนึ่งรายใดในช่วงนี้มีการพัฒนานโยบายการเงินทางเลือกที่สามารถสนองต่อการทะยานอย่างต่อเนื่องของราคาสินทรัพย์รองรับไว้แล้ว
อีกหนึ่งมุมมองต่างที่น่าสนใจมาจาก "มัลคอล์ม ดี ไนต์" ผู้จัดการทั่วไป ของธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (BIS) โดยระบุว่า โดยตัวของ inflation targeting แล้ว ไม่ใช่ยาครอบจักรวาล แต่จำเป็นต้องได้การสนับสนุนจากการดำเนินนโยบายการคลังที่ยั่งยืนควบคู่กันไป ภายใต้เงื่อนไขสำคัญ 2 ประการ ได้แก่ ประการแรก ธนาคารกลางต้องไม่ไปก่อหนี้โดยตรง เพื่ออุดช่องโหว่ของการขาดดุลให้กับรัฐบาล และอีกประการหนึ่ง นโยบายการคลังจะต้องดำเนินภายใต้กรอบของความยั่งยืน
บางรายเป็นคอลัมนิสต์ดัง อาทิ ไมเคิล อาร์ เซซิต คอลัมนิสต์ของ บลูมเบิร์ก และเมแกน แมคอาร์เดิล จากดิ อีโคโนมิสต์
บทวิเคราะห์เซซิตตั้งข้อสังเกตว่า สติกลิทซ์อาจตั้งข้อสังเกตพลาดที่ระบุว่า เงินเฟ้อในประเทศกำลังพัฒนาเป็น "ปรากฏการณ์จากภายนอก"
นั่นเท่ากับว่าได้มองข้ามหลายๆ เรื่องไป อาทิ การอุดหนุน ซึ่งประเทศกำลังพัฒนาจัดสรรให้กับประชากร การใช้พลังงานอย่างไร้ประสิทธิภาพ และพฤติกรรมของธนาคารกลางในเอเชียและตะวันออกกลางหลายแห่งที่ผูกค่าเงินกับดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งทำให้ต้อง "นำเข้า" นโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐมาด้วย
เซซิตอ้างว่า หากพิจารณาจากข้อมูลในอดีต พบว่าในช่วง 50 ปีที่ผ่านมาอัตราเงินเฟ้อสูงที่สุดที่มาพร้อมๆ กับอัตราการเติบโต ต่ำที่สุด ในช่วงเกิดภาวะเศรษฐกิจชะงักงันและเงินเฟ้อสูง ในช่วงทศวรรษ 1970 อันเป็นผลมาจากวิกฤตการณ์ราคาน้ำมัน ซึ่งการดำเนินนโยบายการเงินเข้มงวดของ "พอล โวล์คเกอร์" ประธานธนาคารกลางสหรัฐ และธนาคารกลางอื่นๆ ในช่วงทศวรรษ 1980 ในที่สุดก็ส่งผลให้เงินเฟ้อลดต่ำลง เศรษฐกิจขยายตัวเร็วขึ้น มีการจ้างงานและการลงทุนเพิ่มมากขึ้น
เซซิตทิ้งท้ายว่า เป้าหมายเงินเฟ้อควรจะสะท้อนความเป็นจริง ธนาคารกลางที่ใช้นโยบายการเงินนี้ต้องมีวินัย ปลอดจากอิทธิพลทางการเมือง และนโยบายของพวกเขาอาจจะต้องสะท้อนความเต็มใจของพลเมืองที่จะยืนหยัดยอมรับความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นจากการควบคุมเงินเฟ้อให้เป็นตามเป้าหมาย
ประเด็นโต้แย้งๆ ที่พบในเว็บบล็อกของนักเศรษฐศาสตร์ต่างๆ ได้แก่ inflation targeting ไม่ใช่หลักการเลื่อนลอยแต่มีรากฐานมาจากทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์ที่เป็นต้นรากของแนวคิดนี้ก็ได้รับรางวัลโนเบล ในปี 2547 เช่นกัน คือ ฟินน์ คิดแลนด์ และเอ็ดเวิร์ด เพรสคอตต์ (Finn Kydland and Edward Prescott)
ผลงานของทั้งสองไม่เพียงแต่ช่วยเปลี่ยนโฉมหน้าการวิจัยทางเศรษฐศาสตร์ แต่ยังมีอิทธิพลต่อการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจ โดยเฉพาะนโยบายการเงิน เนื่องจาก inflation targeting ได้รับการพัฒนาขึ้น เพื่อสนองตอบต่อประเด็นปัญหาที่นักเศรษฐศาสตร์ทั้งสองท่านได้ค้นพบ จากการวิจัยการดำเนินนโยบายการเงินและการคลังพร้อมๆ กัน เพื่อแก้ไขปัญหาความผันผวนของภาคธุรกิจ ในช่วงทศวรรษ 1970
ทั้งนี้ inflation targeting เกิดขึ้นในช่วงที่อัตราเงินเฟ้อ พุ่งทะยานเป็นเลข 2 หลัก ในทศวรรษ 1970 และหลังจากนั้นก็มีการนำแนวทางนี้มาใช้ในนิวซีแลนด์เป็นประเทศแรก ก่อนจะไปยังธนาคารกลางของประเทศอื่นๆ
นโยบายการเงินตามแนวทางการกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อ (inflation targeting) เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันมาเป็นระยะๆ ในเรื่องความสัมฤทธิผลของนโยบาย ภายใต้ปัจจัยแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป แต่ไม่ค่อยจะเป็น ข้อถกเถียงที่เด่นชัดนักในประเทศไทย
กระทั่งเมื่อ น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี หยิบยกเอามุมมองของ "โจเซฟ สติกลิทซ์" นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล ปี 2544 มาอ้างถึง ประกอบการวิจารณ์การปรับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม
โดยเฉพาะข้อสังเกตของสติกลิทซ์ที่ว่า อัตราเงินเฟ้อที่มาจากปัจจัยภายนอกคือราคาน้ำมัน ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยอัตรา ดอกเบี้ย เพราะมันจะทำให้เศรษฐกิจฟุบ ชะลอตัว ผู้ประกอบการล้มละลายได้
ทำให้การดำเนินนโยบายการเงินตามแนวทาง inflation targeting กลับมาเป็นที่สนใจอีกครั้ง
มุมมองต่างของสติกลิทซ์ที่ น.พ.สุรพงษ์อ้างถึงมาจากบทความเรื่อง "The Failure of Inflation Tageting" เผยแพร่ในเว็บไซต์ www.project-syndicate.org ซึ่งเปิดประเด็นตรงๆ ที่ปรากฏการณ์ของธนาคารกลางหลายประเทศ ได้นำแนวทาง inflation targeting มาประยุกต์ใช้แทนนโยบายการเงินตามแนวทางของสำนักการเงินนิยม (แบบเน้นอุปทาน)
กลไกการทำงานของนโยบายการเงินแนวทางนี้คือ เมื่อใดก็ตามที่ราคาเพิ่มขึ้นเกินระดับเป้าหมายหนึ่ง (ที่ธนาคารกลางกำหนดไว้) อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จะต้องปรับขึ้น "วิธีการอันหยาบๆ นี้อ้างอิงทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์หรือหลักฐานเชิงประจักษ์เพียงเล็กน้อยเท่านั้น แม้ไม่มีเหตุผลที่จะไปคาดเดาว่าแนวทางนี้ไม่ได้คำนึงถึงแหล่งที่มาของเงินเฟ้อ"
ด้วยเหตุนี้ทำให้สติกลิทซ์คาดหวังว่าประเทศส่วนใหญ่จะมีสำนึกที่ดีที่จะไม่นำแนวทางการกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อมาใช้ เพราะกังวลกับผลกระทบที่จะตกอยู่กับพลเมืองของประเทศเหล่านั้น (อย่างไรก็ตามในบทความของสติกลิทซ์เอง ได้ให้รายชื่อประเทศที่นำนโยบายการเงินแนวทางนี้มาปรับใช้แล้วอย่างเป็นทางการในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ได้แก่ สาธารณรัฐเช็ก โปแลนด์ บราซิล ชิลี โคลัมเบีย แอฟริกาใต้ ไทย เกาหลีใต้ เม็กซิโก ฮังการี เปรู ฟิลิปปินส์ สโลวัก อินโดนีเซีย โรมาเนีย นิวซีแลนด์ แคนาดา อังกฤษ สวีเดน ออสเตรเลีย ไอซ์แลนด์ และนอร์เวย์)
เขาเตือนว่า จากสภาพการณ์ในปัจจุบันแนวทางแบบกำหนดกรอบเงินเฟ้อกำลังถูกทดสอบและเกือบจะล้มเลวอย่างแน่นอนแล้ว
"ปัจจุบันประเทศกำลังพัฒนาเผชิญกับอัตราเงินเฟ้อสูงซึ่งไม่ได้เป็นเพราะการบริหารนโยบายมหภาคที่ด้อยประสิทธิภาพ แต่เป็นเพราะราคาอาหาร และน้ำมันกำลังปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และรายการเหล่านี้คิดเป็นสัดส่วนที่ใหญ่มากในงบใช้จ่ายของครัวเรือนโดยเฉลี่ย เมื่อเทียบกับครัวเรือนประเทศร่ำรวย"
สติกลิทซ์เรียก "เงินเฟ้อ" ในประเทศกำลังพัฒนาว่า ส่วนใหญ่เป็นเงินเฟ้อนำเข้า ดังนั้นการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จะไม่ส่ง ผลกระทบมากนักต่อราคาในต่างประเทศของพืชพันธุ์ธัญญาหารหรือเชื้อเพลง "ซึ่งอันที่จริงหากพิจารณาจากขนาดของเศรษฐกิจสหรัฐ การชะลอตัวของที่นั่นอาจส่งผลกระทบต่อระดับราคาทั่วโลกได้มากกว่าในประเทศกำลังพัฒนาทุกราย ดังนั้นหากมองจากระดับโลกแล้วก็ควรจะมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในสหรัฐมากกว่า ไม่ใช่ ในประเทศกำลังพัฒนา"
เขามองว่าตราบใดที่ประเทศกำลังพัฒนายังคงเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจทั่วโลกอยู่ โดยที่ไม่มีการดำเนินมาตรการใดจำกัดผลกระทบของราคาในต่างประเทศที่มีต่อราคาในประเทศ เพราะทั้งราคาข้าวในประเทศและราคาพืชพันธุ์ธัญญาหารต่างๆ มีแนวโน้มจะปรับขึ้น เมื่อราคาต่างประเทศปรับขึ้น ราคาน้ำมันและอาหารที่สูงขึ้นเป็นภัย "ยกกำลัง 3" เพราะประเทศนำเข้าจะต้องใช้เงินมากขึ้นในการซื้อ ในการนำเข้ามา และในการแจกจ่ายไปยังผู้บริโภค ที่อยู่ห่างไกลออกไป
ในความคิดของสติกลิทซ์ แม้การขึ้นดอกเบี้ยจะสามารถดึง อุปสงค์รวมลงซึ่งส่งผลต่อเนื่องไปลดการเติบโตทางเศรษฐกิจและชะลอการขึ้นของราคาสินค้าและบริการบางชนิด แต่หากไม่สามารถดึงระดับราคาลงมาในระดับที่ยอมรับได้ มาตรการเหล่านี้โดยลำพังไม่สามารถดึงอัตราเงินเฟ้อลงมาสู่ระดับเป้าหมายได้
ยกตัวอย่างแม้ว่าราคาอาหารและพลังงานทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นในระดับปานกลางกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เช่น สัก 20% ต่อปี และการเพิ่มขึ้นดังกล่าวมีผลต่อราคาภายในประเทศ ซึ่งการจะดึงอัตราเงินเฟ้อโดยรวมลงมาที่ระดับประมาณ 3% ได้ จะต้องทำให้ราคาในส่วนอื่นๆ ลดลงอย่างมากด้วย นั่นย่อมจะส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอตัวตามมา และมีอัตราว่างงานสูง "แนวทางแก้ไขวิธีนี้อาจเลวร้าย กว่าโรคระบาดเสียอีก"
เมื่อเป็นเช่นนี้ควรจะทำอย่างไรดี ? สติกลิทซ์เสนอแนะว่า ประการแรก ไม่ควรจะไปตำหนินักการเมืองหรือผู้ว่าการธนาคารกลางในกรณีของ "เงินเฟ้อนำเข้า" เช่นเดียวกับที่ไม่จำเป็นต้องให้เครดิตคนกลุ่มนี้ในช่วงที่เงินเฟ้อต่ำ เพราะเป็นช่วงที่ปัจจัยแวดล้อมทั่วโลกเอื้ออำนวย
ดังเช่นกรณีของ อลัน กรีนสแปน อดีตประธานธนาคารกลางสหรัฐ ซึ่งในช่วงนี้ถูกตำหนิที่ทำให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจขึ้นในอเมริกา แต่ในบางเวลาเขาได้รับการยกย่องที่ทำให้เงินเฟ้อในสหรัฐอยู่ในระดับต่ำในช่วงที่เขาคุมนโยบายการเงินของประเทศนี้อยู่ แต่ความจริงก็คือในยุคของกรีนสแปนได้รับประโยชน์จากราคาสินค้า คอมโมดิตี้ตกต่ำ และภาวะ "เงินฝืด" ที่มาจากจีนซึ่งช่วยให้สามารถควบคุมราคาสินค้าในภาคการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
"ประการที่สอง เราต้องตระหนักว่า ราคาที่สูงขึ้นสามารถสร้างปัญหาได้อย่างมากมาย โดยเฉพาะต่อกลุ่มคนที่มีรายได้ต่ำ การจลาจล และการประท้วงในประเทศกำลังพัฒนาบางราย คือประจักษ์พยานที่เลวร้ายที่สุดของสถานการณ์นี้"
ในตอนท้ายสติกลิทซ์ย้ำว่า สิ่งที่สำคัญที่สุดคือทั้งประเทศกำลังพัฒนา และประเทศพัฒนาแล้วจำเป็นต้องยกเลิกนโยบายการเงินตามแนวทาง inflation targeting เพราะ "ความพยายามในการสนองตอบต่อการขึ้นของราคาอาหารและพลังงานจึงเป็นเรื่องยากพอสมควร ยิ่งในช่วงที่เศรษฐกิจอ่อนแอลงและมีการว่างงานมากขึ้น การใช้นโยบายกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อจะไม่ส่งผลต่อเงินเฟ้อมากนัก แต่จะยิ่งทำให้การทำงานเพื่อให้อยู่รอดได้ในสภาพแวดล้อมเหล่านี้ยากมากขึ้น"
นี่คือเนื้อหาหลักๆ ส่วนหนึ่งในบทความของสติกลิทซ์ซึ่งนอกเหนือจาก น.พ.สุรพงษ์และทีมที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจเห็นด้วยและคิดคล้อยตามแล้ว ยังมีนักเศรษฐศาสตร์ระดับแถวหน้าอีกจำนวนไม่น้อยที่มองเห็นจุดอ่อนของ inflation targeting ในจำนวนนั้นรวมถึง เดวิด บลันช์ฟลาวเวอร์ หนึ่งในคณะกรรมการกำหนดนโยบายของธนาคารกลางอังกฤษ ซึ่งเพิ่งจะออกมาขย่มขวัญคนอังกฤษเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า อังกฤษกำลังเข้าใกล้ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจและอาจจะเลวร้ายกว่าภาวะถดถอยในสหรัฐ
อย่างไรก็ตามแนวคิดดังกล่าวใช่จะมีแต่คนเห็นด้วย คนที่คิดต่างก็มาก ซึ่งหากไม่นับ ธาริษา วัฒนเกส และเจ้าหน้าที่ระดับสูงในธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้ว่าการธนาคารกลางเกือบทุกแห่งที่นำแนวทางนี้มาใช้ก็ล้วนแต่มองเห็นต่างทั้งสิ้น ในจำนวนนั้นรวมถึง เมอร์วิน คิง ผู้ว่าการธนาคารกลางอังกฤษ และ เกลน สตีเฟนส์ ผู้ว่าการธนาคารกลางออสเตรเลีย
ในแง่ของนักวิชาการและนักเศรษฐศาสตร์จากตลาดการเงิน ก็มีหลายเสียงที่เห็นขัดแย้งกับสติกลิทซ์ ในช่วงที่เขาวิพากษ์นโยบายการเงินของธนาคารกลางออสเตรเลียในช่วงเดือนพฤษภาคม
ดังคำตอบโต้ของ ซาอูล เอสเลค หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จากธนาคารเอเอ็นซีที่ระบุว่า คำวิจารณ์ของสติกลิทซ์ต่อ inflation targeting เป็นไปอย่างพื้นๆ และไม่น่าเชื่อถือ ขณะที่ จอห์น ฟรีเบรน นักเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น กล่าวว่า inflation targeting มีความสมบูรณ์เพียงพอที่จะจัดการกับการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าและบริการ อีกทั้ง เขาไม่เชื่อว่าธนาคารกลางหรือนักวิชาการรายหนึ่งรายใดในช่วงนี้มีการพัฒนานโยบายการเงินทางเลือกที่สามารถสนองต่อการทะยานอย่างต่อเนื่องของราคาสินทรัพย์รองรับไว้แล้ว
อีกหนึ่งมุมมองต่างที่น่าสนใจมาจาก "มัลคอล์ม ดี ไนต์" ผู้จัดการทั่วไป ของธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (BIS) โดยระบุว่า โดยตัวของ inflation targeting แล้ว ไม่ใช่ยาครอบจักรวาล แต่จำเป็นต้องได้การสนับสนุนจากการดำเนินนโยบายการคลังที่ยั่งยืนควบคู่กันไป ภายใต้เงื่อนไขสำคัญ 2 ประการ ได้แก่ ประการแรก ธนาคารกลางต้องไม่ไปก่อหนี้โดยตรง เพื่ออุดช่องโหว่ของการขาดดุลให้กับรัฐบาล และอีกประการหนึ่ง นโยบายการคลังจะต้องดำเนินภายใต้กรอบของความยั่งยืน
บางรายเป็นคอลัมนิสต์ดัง อาทิ ไมเคิล อาร์ เซซิต คอลัมนิสต์ของ บลูมเบิร์ก และเมแกน แมคอาร์เดิล จากดิ อีโคโนมิสต์
บทวิเคราะห์เซซิตตั้งข้อสังเกตว่า สติกลิทซ์อาจตั้งข้อสังเกตพลาดที่ระบุว่า เงินเฟ้อในประเทศกำลังพัฒนาเป็น "ปรากฏการณ์จากภายนอก"
นั่นเท่ากับว่าได้มองข้ามหลายๆ เรื่องไป อาทิ การอุดหนุน ซึ่งประเทศกำลังพัฒนาจัดสรรให้กับประชากร การใช้พลังงานอย่างไร้ประสิทธิภาพ และพฤติกรรมของธนาคารกลางในเอเชียและตะวันออกกลางหลายแห่งที่ผูกค่าเงินกับดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งทำให้ต้อง "นำเข้า" นโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐมาด้วย
เซซิตอ้างว่า หากพิจารณาจากข้อมูลในอดีต พบว่าในช่วง 50 ปีที่ผ่านมาอัตราเงินเฟ้อสูงที่สุดที่มาพร้อมๆ กับอัตราการเติบโต ต่ำที่สุด ในช่วงเกิดภาวะเศรษฐกิจชะงักงันและเงินเฟ้อสูง ในช่วงทศวรรษ 1970 อันเป็นผลมาจากวิกฤตการณ์ราคาน้ำมัน ซึ่งการดำเนินนโยบายการเงินเข้มงวดของ "พอล โวล์คเกอร์" ประธานธนาคารกลางสหรัฐ และธนาคารกลางอื่นๆ ในช่วงทศวรรษ 1980 ในที่สุดก็ส่งผลให้เงินเฟ้อลดต่ำลง เศรษฐกิจขยายตัวเร็วขึ้น มีการจ้างงานและการลงทุนเพิ่มมากขึ้น
เซซิตทิ้งท้ายว่า เป้าหมายเงินเฟ้อควรจะสะท้อนความเป็นจริง ธนาคารกลางที่ใช้นโยบายการเงินนี้ต้องมีวินัย ปลอดจากอิทธิพลทางการเมือง และนโยบายของพวกเขาอาจจะต้องสะท้อนความเต็มใจของพลเมืองที่จะยืนหยัดยอมรับความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นจากการควบคุมเงินเฟ้อให้เป็นตามเป้าหมาย
ประเด็นโต้แย้งๆ ที่พบในเว็บบล็อกของนักเศรษฐศาสตร์ต่างๆ ได้แก่ inflation targeting ไม่ใช่หลักการเลื่อนลอยแต่มีรากฐานมาจากทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์ที่เป็นต้นรากของแนวคิดนี้ก็ได้รับรางวัลโนเบล ในปี 2547 เช่นกัน คือ ฟินน์ คิดแลนด์ และเอ็ดเวิร์ด เพรสคอตต์ (Finn Kydland and Edward Prescott)
ผลงานของทั้งสองไม่เพียงแต่ช่วยเปลี่ยนโฉมหน้าการวิจัยทางเศรษฐศาสตร์ แต่ยังมีอิทธิพลต่อการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจ โดยเฉพาะนโยบายการเงิน เนื่องจาก inflation targeting ได้รับการพัฒนาขึ้น เพื่อสนองตอบต่อประเด็นปัญหาที่นักเศรษฐศาสตร์ทั้งสองท่านได้ค้นพบ จากการวิจัยการดำเนินนโยบายการเงินและการคลังพร้อมๆ กัน เพื่อแก้ไขปัญหาความผันผวนของภาคธุรกิจ ในช่วงทศวรรษ 1970
ทั้งนี้ inflation targeting เกิดขึ้นในช่วงที่อัตราเงินเฟ้อ พุ่งทะยานเป็นเลข 2 หลัก ในทศวรรษ 1970 และหลังจากนั้นก็มีการนำแนวทางนี้มาใช้ในนิวซีแลนด์เป็นประเทศแรก ก่อนจะไปยังธนาคารกลางของประเทศอื่นๆ