หน้า 1 จากทั้งหมด 1
เงินตึงตัว เป็นอย่างไร
โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ค. 29, 2008 8:50 pm
โดย dinnn
ช่วยหน่อยคราบ ต่างจากเงินเฟ้อหรือเงินฝืดมั้ย
เงินตึงตัว เป็นอย่างไร
โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ค. 29, 2008 9:48 pm
โดย ayethebing
เงินเฟ้อ คือค่าของเงินลดลงเพราะสินค้าต่างๆ แพงขึ้น
เงินฝืด คือตรงข้ามกับเงินเฟ้อ
เงินตึงตัวคือเงินหมุนเวียนในระบบ (เอ มันหายไปไหนหมดหว่า) ช่วงนี้สปริงจะขายไม่ออกเพราะทุกๆ ท่านสามารถได้ฟรีจากเช๊คแทน
ยังไม่เช้าใจอยู่ดี ขอแบบ ภาษาเชิงวิชาการได้ มั้ย งง อ่ะ
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ส.ค. 15, 2008 6:51 pm
โดย dinnn
ยังไม่เช้าใจอยู่ดี ขอแบบ ภาษาเชิงวิชาการได้ มั้ย งง อ่ะ
เงินตึงตัว เป็นอย่างไร
โพสต์แล้ว: เสาร์ ส.ค. 16, 2008 2:41 am
โดย brabra
เริ่มแรก จากการที่แบงค์รับฝากเงินจากปชช. ทำให้มีเงินสดสำรองส่วนเกินเหลืออยู่ แบงค์นั้นก็นั้นก็นำเงินไปปล่อยสินเชื่อออกไป เพราะการถือเงินเก็บไว้นั้นมันมีต้นทุนของมันอยู่ก็คือดอกเบี้ย
>>ปล่อยสินเชื่อไปหมดปุ๊ป จากสินเชื่อที่มีนั้น ทำให้เกิดการสร้างกระแสเงินสดขึ้นในระบบ เงินหนึ่งพันบาท(สมมติ) สร้างเงินได้หมื่นบาทหรือ สิบเท่า ของเงินต้น
>>>คิดดูครับเงินเป็นล้านๆจะสร้างเงินได้มากขนาดไหนครับ
>> พอสินเชื่อถูกปล่อยออกไป ปริมาณเงินในระบบเพิ่มขึ้น > ระดับราคาสินค้าเพิ่มขึ้น
>> รายได้ที่แท้จริงลดลง>>เงินเฟ้อ
>>แบงค์ปล่อยสินเชื่อ จนเงินในระบบธนาคารเหลือเพียง เงินสดสำรองตาม กม. >แบงค์อาจเกิดวิกฤติด้านสภาพคล่องเพราะ > bot อาจเพิ่ม ดบ. นโยบายเพื่อหยุดหรือชะลอเงินเฟ้อในระบบ
>> ดบ. สูงขึ้น >> ในด้านปชช.(ประชาชน) เมือเงินเฟ้อเพิ่มจนถึงระดับหนึ่ง พวกเขาอาจถอนเงินออกมาใช้หมด จนแบงค์อาจเกิดปัญหา >> แบงค์จึงต้องขึ้นดอกเบี้ยตาม ดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อดึงเงินกลับ
>> เงินในระบบศก. ลดลง อัตราดอกเบี้ยสูง นั่นหมายความว่า เงินหายาก ต้นทุนของเงินแพง ทำนองนั้นล่ะครับ
แต่ๆๆ ปัญหาใน ปัจจุบัน มันเป็นอย่างนี้
- stagflation คือภาวะที่เงินเฟ้อและระดับอัตราดอกเบี้ยสูง
- เงินเฟ้อนั้น ไม่ได้เกิดจาก demand แต่เกิดจาก cost คือต้นทุนผลัก น้ำมันแพง
- ระบบ ศก โลกชะลอตัว ปัญหาซับไพร์ม ดอลลาร์อ่อน นักลงทุนตปท. ถอนเงินกลับ เงินตราไหลออก ดูได้จากดัชนีที่มีการเทขายอีก
- ไหนจะ ยูโรโซน ญี่ปุ่น สะท้อนภาวะการชะลอตัวอีก เหอะๆ
>>> น่าคิดว่าอีกนานแค่ไหน ใช้นโยบายแบบไหน อย่างไร จะช่วยชะลอวิกฤติการเงินเฟ้อ กับ กระตุ้นศก.ได้???
>>> แต่ผมคิดว่าลด ดบ หรือ ขึ้นดบ ไม่สำคัญเท่ากับความเชื่อมั่นของนักลงทุนกับปชชหรอก แต่จะเชื่อมั่นได้อาจต้องมาจากการที่มี Gov. ที่มีเสถียรภาพ มั่นคงและเป็นเอกภาพ
ปล.ด้วยความรู้เท่าหางอึง ผมอาจบอกอะไรผิดก็ได้ ควรหาข้อมูลเพิ่มเติมประกอบ หากผิดพลาด โปรดอภัยด้วยครับ
สรุป คือยังไม่รู้อยู่ดี ว่าเงินตึงตัวคืออะไร
โพสต์แล้ว: เสาร์ ส.ค. 16, 2008 7:01 pm
โดย dinnn
สรุป คือยังไม่รู้อยู่ดี ว่าเงินตึงตัวคืออะไร
ส่วนเงินฝืดและเงินเฟ้อรู้อยู่แล้ว
เงินตึงตัว เป็นอย่างไร
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ส.ค. 17, 2008 12:53 pm
โดย noooon010
คุณ brabra ไม่หางอึ่งหรอกครับ
ผมก็พึ่งทราบอย่างละเอียดก็ครั้งนี้แหละครับ ขอบคุณมากๆนะครับผม
เงินตึงตัว เป็นอย่างไร
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ส.ค. 21, 2008 1:16 pm
โดย ayethebing
เงินตึงตัว (Tight money)
จาก investopedia
tight money
Definition
A situation in which money or loans are very difficult to obtain in a given country. If you do have the opportunity to secure a loan, then interest rates are usually extremely high. Also known as "dear money".
สถานการณ์ที่เงินหรือเงินกู้หายาก ถ้าจะหาเงินกู้ได้ก็จะเจออัตราดอกเบี้ยสูง
ความหมายจากบทความอันนึงที่ผมเจอในเวบ
เงินตึงตัว คือ สถานการณ์ที่มีปริมาณเงินหมุนเวียนในท้องตลาดน้อยมาก ในขณะที่มีความต้องการเงินกู้ยืมสูง ในสถานการณ์เช่นนี้ อัตราดอกเบี้ยจะปรับตัวสูงขึ้น แต่ในขณะเดียวกันการขยายตัวของการลงทุนและการผลิตกลับลดต่ำลง เป็นสภาพที่เงินหายาก เงินที่มีอยู่ในตลาดมีน้อยไม่พอกับความต้องการของประชาชน
ภาวะเงินตึงในระบบธนาคารพาณิชย์ นับว่าเป็นปัญหาที่ร้ายแรงที่เกิดขึ้น ในปี 2522 ซึ่งแท้จริงแล้วเริ่มส่อเค้ามาตั้งแต่ปี 2521 ดังจะเห็นได้จากอัตราส่วนระหว่างเงินให้กู้ยืม กับเงินฝากธนาคารพาณิชย์ในปี 2521 อยู่ในเกณฑ์สูงสุดในประวัติศาสตร์การเงินไทย กระทั่งก่อให้เกิดปัญหาภาวะเงินตึงที่ร้ายแรงในปี 2522
เงินตึงตัว เป็นอย่างไร
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ส.ค. 21, 2008 1:42 pm
โดย ayethebing
เงินตึงตัวสามารถเกิดขึ้นได้จากนโยบายทางการเงินที่กำหนดโดยแบงก์ชาติของแต่ละประเทศ โดยจุดประสงค์หลักคือลดอัตราเงินเฟ้อภายในประเทศ โดยนโยบายขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพื่อลดปริมาณเงินที่หมุนเวียนในประเทศ (Money Supply)
การที่แบงก์ชาต์ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา (จาก 3.25% เป็น 3.5%) ซึ่งการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายคือเป็นการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของการซื้อคืนพันธบัตรรัฐบาล (Repurchase หรือ RP) เพื่อลดปริมาณเงินจากระบบ เพราะแบงก์ต่างๆ จะเพิ่มการขายคืนและลดการกู้จาก window ของแบงก์ชาติลง ทำให้เงินหมุนเวียนลดลง
เงินตึงตัว เป็นอย่างไร
โพสต์แล้ว: จันทร์ ส.ค. 25, 2008 4:06 pm
โดย ayethebing
เดาว่าคุณ จขกท คงเข้าใจแล้วหรือไม่ก็เลิกสนใจคำตอบแล้วครับ โหะ โหะ