Value Way วันที่ 25 สิงหาคม 2551/เซอร์จอห์น เทมเปลตั้น
โพสต์แล้ว: จันทร์ ส.ค. 25, 2008 7:53 am
โดยวิบูลย์ พึงประเสริฐ
ในวันที่ 8 กรกฏาคมที่ผ่านมาโลกได้สูญเสียนักลงทุนระดับโลกท่านหนึ่งอย่างไม่มีวันกลับ ท่านนั้นคือ ท่านเซอร์จอห์น เทมเปิลตั้น ด้วยอายุรวม 95 ปี เซอร์จอห์นเกิดที่เมืองเล็กๆชื่อวินเชสเตอร์ในมลรัฐเทนเนสซี่ สหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1912 เขาเกิดในครอบครัวที่ค่อนข้างเคร่งศาสนาและเป็นนักเรียนคนแรกของเมืองที่ได้เข้าเรียนในระดับมหาวิทยาลัย เขาส่งเสียตัวเองเรียนที่มหาวิทยาลัยเยลในช่วงปี 1930 หลังจากที่ผู้ปกครองต้องสูญเสียงานและรายได้จากการตกต่ำทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ (Great Depression 1930) จนไม่สามารถหาเงินมาจ่ายค่าเล่าเรียนให้เซอร์จอห์นได้
เนื่องจากเรียนได้เกรดดีมาก เขาได้รับทุนการศึกษาเรียนต่อในระดับปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยออกฟอร์ดในประเทศอังกฤษ ในช่วงที่เรียนที่ออกฟอร์ด เซอร์จอห์นได้วางแผนเดินทางไปทั่วโลกกับเพื่อนโดยใช้เงินค่าใช้จ่ายให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ เขาเดินทางไปแทบทุกประเทศในเอเซียและยุโรป ซึ่งการเดินทางในครั้งนั้นถือว่าสร้างประสบการณ์และแนวคิดของเขาต่อการลงทุนในอนาคตเป็นอย่างมาก
เมื่อสำเร็จการศึกษาจากอังกฤษ เขาได้เริ่มทำงานครั้งแรกในวอล์สตรีทในปี 1937 ในช่วงนั้นเป็นช่วงของสงครามโลกครั้งที่สอง เขาได้ทำการกู้ยืมเงินเป็นจำนวน 100,000 เหรียญสหรัฐและซื้อหุ้นจำนวน 100 หุ้นในบริษัทต่างๆจำนวน 104 บริษัทที่มีราคาต่ำกว่าหุ้นละ 1 เหรียญ เพราะเขาคิดว่าหุ้นเหล่านี้มีราคาที่ถูกเกินไป หลังจากสงครามสงบเขาขายหุ้นบริษัทเหล่านี้ทั้งหมดได้กำไรจำนวนมาก
ในปี 1940 เขาซื้อบริษัทการลงทุนแห่งหนึ่งและพัฒนาเป็นกองทุนรวมเทมเปิ้ลตัน ซึ่งถือว่าเป็นกองทุนรวมยุคแรกๆที่มีการระดมทุนจากนักลงทุนรายย่อยเพื่อทำการลงทุนในตลาดหุ้นทั่วโลก ในช่วงนั้นนักลงทุนส่วนใหญ่ในสหรัฐมักชอบซื้อขายหุ้นในตลาดสหรัฐมากกว่า เพราะคิดว่าตลาดต่างประเทศนั้นเล็กเกินไป ไม่มีความสำคัญ แต่สำหรับเซอร์จอห์นแล้ว ความคิดดังกล่าวเป็นการจำกัดโอกาสในการลงทุนเป็นอย่างมาก ประสบการณ์จากการเดินทางรอบโลกในช่วงที่ยังเรียนหนังสือยู่ ทำให้เขาพบว่าในประเทศอื่นๆมีบริษัทระดับโลกอยู่มากมายนอกประเทศสหรัฐอเมริกา
ตัวอย่างเช่น เซอร์จอห์นเริ่มลงทุนในตลาดหุ้นญี่ปุ่นในช่วงปี 1960 ซึ่งเป็นช่วงที่ไม่มีนักลงทุนจากต่างประเทศสนใจลงทุน เขามองเห็นการเติบโตของบริษัทญี่ปุ่นที่มีต่อโลกมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และสถาบันการเงินต่างๆ ในช่วงนั้นราคาหุ้นในตลาดหุ้นญี่ปุ่นถูกมากๆ เขาถือหุ้นเหล่านี้ไว้จนถึงในช่วงปี 1980 และขายหุ้นออกไปก่อนที่ฟองสบู่ในตลาดหุ้นญี่ปุ่นจะแตก
กองทุนเทมเปิ้ลตันทำผลตอบแทนได้เฉลี่ยปีละ 14.5 เปอร์เซนต์ในช่วงปี 1954 ถึง 1992 เงินลงทุน 10,000 เหรียญในกองทุนนี้เมื่อเริ่มต้นจะเติบโตเป็นเงิน 2 ล้านเหรียญในช่วงเวลาดังกล่าว เซอร์จอห์นขายกองทุนเทมเปิ้ลตันในปี 1992 และหันมาให้ความสนใจในการดำเนินงานของมูลนิธิเทมเปิ้ลตันเป็นหลัก มูลนิธินี้มีนโยบายในการส่งเสริมการศึกษาในเรื่องของมนุษย์ธรรมและศาสนา ผู้ได้รับรางวัลคนแรกของมูลนิธิคือแม่ชีเทเรซา ปัจจุบันมูลนิธิมีเงินในการดูแล 1.5 พันล้านเหรียญหรือราวๆ 5 หมื่นล้านบาท และบริจาคเงินให้กับการกุศลปีละ 70 ล้านเหรียญ
ในช่วงที่ยังมีชีวิตอยู่ เซอร์จอห์นใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย เขาขับรถเองโดยไม่มีคนขับรถ ใช้เวลาส่วนใหญ่ในการอ่านหนังสือ เขียนบทความและดูแลมูลนิธิ ผู้มาเยี่ยมมักได้รับการต้อนรับด้วยแซนวิสและชายามบ่ายในที่พักของเขาที่บาฮามาส เขาละทิ้งสัญชาติอเมริกัน ย้ายไปอยู่ที่เมืองนัสซอในหมู่เกาะบาฮามาส ได้รับสัญชาติอังกฤษและได้รับพระราชทานยศ”เซอร์”จากพระราชินีอลิซาเบธจากอังกฤษ
นักลงทุนรุ่นหลังควรศึกษาหลักการลงทุนแบบเน้นคุณค่า (Value Investing) ของเซอร์จอห์น ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้กับการลงทุนในปัจจุบัน หนังสือที่เขียนเกี่ยวกับเซอร์จอห์นที่น่าสนใจได้แก่หนังสือชื่อ Investing The Templeton Way เขียนโดย Lauren C. Templeton ซึ่งเป็นหลานแท้ๆของท่าน
ในวันที่ 8 กรกฏาคมที่ผ่านมาโลกได้สูญเสียนักลงทุนระดับโลกท่านหนึ่งอย่างไม่มีวันกลับ ท่านนั้นคือ ท่านเซอร์จอห์น เทมเปิลตั้น ด้วยอายุรวม 95 ปี เซอร์จอห์นเกิดที่เมืองเล็กๆชื่อวินเชสเตอร์ในมลรัฐเทนเนสซี่ สหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1912 เขาเกิดในครอบครัวที่ค่อนข้างเคร่งศาสนาและเป็นนักเรียนคนแรกของเมืองที่ได้เข้าเรียนในระดับมหาวิทยาลัย เขาส่งเสียตัวเองเรียนที่มหาวิทยาลัยเยลในช่วงปี 1930 หลังจากที่ผู้ปกครองต้องสูญเสียงานและรายได้จากการตกต่ำทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ (Great Depression 1930) จนไม่สามารถหาเงินมาจ่ายค่าเล่าเรียนให้เซอร์จอห์นได้
เนื่องจากเรียนได้เกรดดีมาก เขาได้รับทุนการศึกษาเรียนต่อในระดับปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยออกฟอร์ดในประเทศอังกฤษ ในช่วงที่เรียนที่ออกฟอร์ด เซอร์จอห์นได้วางแผนเดินทางไปทั่วโลกกับเพื่อนโดยใช้เงินค่าใช้จ่ายให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ เขาเดินทางไปแทบทุกประเทศในเอเซียและยุโรป ซึ่งการเดินทางในครั้งนั้นถือว่าสร้างประสบการณ์และแนวคิดของเขาต่อการลงทุนในอนาคตเป็นอย่างมาก
เมื่อสำเร็จการศึกษาจากอังกฤษ เขาได้เริ่มทำงานครั้งแรกในวอล์สตรีทในปี 1937 ในช่วงนั้นเป็นช่วงของสงครามโลกครั้งที่สอง เขาได้ทำการกู้ยืมเงินเป็นจำนวน 100,000 เหรียญสหรัฐและซื้อหุ้นจำนวน 100 หุ้นในบริษัทต่างๆจำนวน 104 บริษัทที่มีราคาต่ำกว่าหุ้นละ 1 เหรียญ เพราะเขาคิดว่าหุ้นเหล่านี้มีราคาที่ถูกเกินไป หลังจากสงครามสงบเขาขายหุ้นบริษัทเหล่านี้ทั้งหมดได้กำไรจำนวนมาก
ในปี 1940 เขาซื้อบริษัทการลงทุนแห่งหนึ่งและพัฒนาเป็นกองทุนรวมเทมเปิ้ลตัน ซึ่งถือว่าเป็นกองทุนรวมยุคแรกๆที่มีการระดมทุนจากนักลงทุนรายย่อยเพื่อทำการลงทุนในตลาดหุ้นทั่วโลก ในช่วงนั้นนักลงทุนส่วนใหญ่ในสหรัฐมักชอบซื้อขายหุ้นในตลาดสหรัฐมากกว่า เพราะคิดว่าตลาดต่างประเทศนั้นเล็กเกินไป ไม่มีความสำคัญ แต่สำหรับเซอร์จอห์นแล้ว ความคิดดังกล่าวเป็นการจำกัดโอกาสในการลงทุนเป็นอย่างมาก ประสบการณ์จากการเดินทางรอบโลกในช่วงที่ยังเรียนหนังสือยู่ ทำให้เขาพบว่าในประเทศอื่นๆมีบริษัทระดับโลกอยู่มากมายนอกประเทศสหรัฐอเมริกา
ตัวอย่างเช่น เซอร์จอห์นเริ่มลงทุนในตลาดหุ้นญี่ปุ่นในช่วงปี 1960 ซึ่งเป็นช่วงที่ไม่มีนักลงทุนจากต่างประเทศสนใจลงทุน เขามองเห็นการเติบโตของบริษัทญี่ปุ่นที่มีต่อโลกมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และสถาบันการเงินต่างๆ ในช่วงนั้นราคาหุ้นในตลาดหุ้นญี่ปุ่นถูกมากๆ เขาถือหุ้นเหล่านี้ไว้จนถึงในช่วงปี 1980 และขายหุ้นออกไปก่อนที่ฟองสบู่ในตลาดหุ้นญี่ปุ่นจะแตก
กองทุนเทมเปิ้ลตันทำผลตอบแทนได้เฉลี่ยปีละ 14.5 เปอร์เซนต์ในช่วงปี 1954 ถึง 1992 เงินลงทุน 10,000 เหรียญในกองทุนนี้เมื่อเริ่มต้นจะเติบโตเป็นเงิน 2 ล้านเหรียญในช่วงเวลาดังกล่าว เซอร์จอห์นขายกองทุนเทมเปิ้ลตันในปี 1992 และหันมาให้ความสนใจในการดำเนินงานของมูลนิธิเทมเปิ้ลตันเป็นหลัก มูลนิธินี้มีนโยบายในการส่งเสริมการศึกษาในเรื่องของมนุษย์ธรรมและศาสนา ผู้ได้รับรางวัลคนแรกของมูลนิธิคือแม่ชีเทเรซา ปัจจุบันมูลนิธิมีเงินในการดูแล 1.5 พันล้านเหรียญหรือราวๆ 5 หมื่นล้านบาท และบริจาคเงินให้กับการกุศลปีละ 70 ล้านเหรียญ
ในช่วงที่ยังมีชีวิตอยู่ เซอร์จอห์นใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย เขาขับรถเองโดยไม่มีคนขับรถ ใช้เวลาส่วนใหญ่ในการอ่านหนังสือ เขียนบทความและดูแลมูลนิธิ ผู้มาเยี่ยมมักได้รับการต้อนรับด้วยแซนวิสและชายามบ่ายในที่พักของเขาที่บาฮามาส เขาละทิ้งสัญชาติอเมริกัน ย้ายไปอยู่ที่เมืองนัสซอในหมู่เกาะบาฮามาส ได้รับสัญชาติอังกฤษและได้รับพระราชทานยศ”เซอร์”จากพระราชินีอลิซาเบธจากอังกฤษ
นักลงทุนรุ่นหลังควรศึกษาหลักการลงทุนแบบเน้นคุณค่า (Value Investing) ของเซอร์จอห์น ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้กับการลงทุนในปัจจุบัน หนังสือที่เขียนเกี่ยวกับเซอร์จอห์นที่น่าสนใจได้แก่หนังสือชื่อ Investing The Templeton Way เขียนโดย Lauren C. Templeton ซึ่งเป็นหลานแท้ๆของท่าน