หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เป็นไปได้มั้ยที่วิกฤตคราวนี้ เอเชียจะผงาด

โพสต์แล้ว: พุธ ต.ค. 08, 2008 5:19 pm
โดย charnengi
ลองนึกดูแต่ผมว่ายังยากอยู่ เพราะเรื่องการศึกษายังเป็นรอง
แต่ผมว่าถ้าทำได้ล่ะก้อ :8)

ลองคิดเหมือนการแข่งขัน ถ้าคู่ต่อสู้บาดเจ็บเราย่อมได้เปรียบ
แต่ในโลกธุรกิจมันซับซ้อนกว่านั้นมาก

โลภอยู่ หรือ กลัวอยู่ ลองคิดดูนะครับ
ผมโลภเลยเป็นเช่นนี้ แต่ก็ยังไม่กลัวการลงหุ้นในหุ้น

เป็นไปได้มั้ยที่วิกฤตคราวนี้ เอเชียจะผงาด

โพสต์แล้ว: พุธ ต.ค. 08, 2008 5:29 pm
โดย Dr.T
An Asia bond could save us from the dollar

Published: October 6 2008 19:37 | Last updated: October 6 2008 19:37

Asia has an opportunity to save itself, and the world economy, from the crushing excesses of Wall Street. China and Japan, with other Asian countries holding substantial surplus reserves, should act now to create an Asia bond to contain the fallout from a weak dollar.

I hope my US friends will not see this as an ungrateful act of abandoning a ship in trouble. On the contrary, my plan will keep the ship in service, as it is repaired. This is the best way for countries that have benefited from the American century to repay their debt.

The prosperity in Asia created by US investment and trade has spawned problems for the US. East Asias current account surpluses have averaged $400bn over the past decade, while the US current account deficit runs at an annual average of $800bn . Asian countries, other than Japan, accumulated the surpluses largely by supplying cheap goods and services to the US. They can no longer rely on this one major market given that Americas ability to sustain consumer spending is severely curtailed. Having parked most of their surpluses in the currency that was most convertible the dollar Asian countries face the prospect of losing as much as the country that issued the currency. Most of Asias sovereign surpluses are in US dollar-denominated equity and notes and Treasury bills. Is there a way to protect the value of these as the US economy finds its feet? Asias reserves could be turned into Asia bonds that, without losing their value, could be used to stimulate investment and trade in Asia.

An Asia bond would not be a self-centred zero-sum game. It could offer an opportunity for wealth creation across the world. Three billion Asians want their governments to invest their hard-earned surpluses in tangible productive capacity that they can see rather than playing with paper investments, such as esoteric derivatives.

The bond will be denominated in, shall we say, global dollars or globars (if you like the allusion to the shiny metal bars that were once the universal standard currency). The International Monetary Fund could play a consultative or managerial role in maintaining the value of this global or offshore dollar while the national currency of the US settles down to a level that suits its economic needs.

What happens if the new US administration is not farsighted enough to agree to a separate standard for external dollars? Asian governments could still issue these bonds incrementally as they accumulate new surpluses. China, Japan, Korea, Singapore and Thailand could agree to pool some of their reserves in a certain ratio into a basket of currencies to issue a bond. The return on this bond will be the same or higher than those on US Treasury bills as the issuers of the bond have a better ability to pay than the US government.

The dilemma for investors is judging political risks in Asia. The Taliban will continue in Afghanistan and Pakistan but these countries role in issuing and managing the Asia bond will be nominal. Another poison gas explosion in the Japanese underground will not undermine Japans capacity to honour its commitments. Risk is relative. I would rather bet on Chinas authorities who ignored the prediction offered 18 months ago by Hank Paulson, the US Treasury secretary, that they risked trillions of dollars in lost economic potential unless they freed their capital markets. That seems wiser than praying to God that the US soon finds a credible model of economic growth and for regulation of financial institutions.

To those familiar with bond markets, this may not seem a revolutionary proposal. It is not. A number of Asian governments issue bonds in their own currencies. Their quality and performance vary. Asian bond returns, taken in conjunction with their volatility, compare unfavourably with their US Treasury counterparts, market by market. However, an aggregate of Asian bonds gives a more positive picture. Part of the problem is the historical perception, perpetuated by rating agencies, that Asian countries are all borrowers, just as the US has become. Now, some of these countries are there to lend. It is time they reaped the premium that is theirs as lenders. The value of their loans will be better protected if they take collective decisions.

Their collective bond could be traded in Tokyo, Singapore and Hong Kong. This bond would contribute to the development of a healthy capital market in the region that can remain stable while the US works its way through its financial crises. The greatest benefit would be that Asias surpluses will be recycled into productive assets in Asia.
พันธบัตรเอเชียจะช่วยปกป้องเราจากดอลลาร์
ตีพิมพ์ในไฟแนนเชียลไทมส์ 6 ตุลาคม 2551

เอเชียประสบโอกาสที่จะปกป้องตนเองและเศรษฐกิจโลก จากวิกฤติที่เกิดจากส่วนเกินในวอลล์สตรีท โดยที่ประเทศจีน ญี่ปุ่นและประเทศเอเชียอื่นๆ ซึ่งถือครองเงินสำรองจำนวนมากเอาไว้ จะต้องเริ่มออกพันธบัตรเอเชียทันที เพื่อยับยั้งผลกระทบที่เลวร้ายจากค่าเงินดอลลาร์อ่อน

ผมหวังว่าเพื่อนชาวอเมริกัน จะไม่มองข้อเสนอนี้เป็นปฏิกิริยาในทำนองเนรคุณ ซึ่งโดดออกจากเรือที่กำลังจม ในทางตรงข้าม, แผนของผมกลับจะช่วยให้เรือคงอยู่รอดได้ต่อไป และซ่อมแซมมันด้วย นี่เป็นหนทางที่ดีที่สุดสำหรับประเทศที่จะได้รับผลประโยชน์จากศตวรรษถัดไปที่อเมริกาจะต้องชำระหนี้ของตนเอง

ความเฟื่องฟูในเอเชีย ซึ่งถูกสร้างขึ้นจากการค้าและการลงทุนของสหรัฐอเมริกา ได้ก่อปัญหาให้กับสหรัฐฯ ประเทศในเอเชียตะวันออกมีการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดประมาณ 4 แสนล้านเหรียญสหรัฐตลอดทศวรรษที่ผ่านมา ในขณะที่การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของสหรัฐฯ ตกราวปีละ 8 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ประเทศในเอเชียนอกเหนือจากญี่ปุ่นได้สะสมการเกินดุลขนาดมโหฬาร ได้โดยการผลิตสินค้าและบริการราคาถูกให้กับสหรัฐฯ แต่นับแต่นี้ไปประเทศเหล่านี้ไม่อาจพึ่งพิงตลาดหลักแห่งนี้ได้อีกต่อไป เมื่อคำนึงถึงว่าความสามารถของอเมริกาที่จะธำรงการใช้จ่ายของผู้บริโภคนั้น ถูกจำกัดลงอย่างยิ่งยวด ส่วนการพักมูลค่าของเงินเอาไว้ในสกุลเงินซึ่งแลกเปลี่ยนได้ง่ายที่สุด ซึ่งก็คือดอลลาร์ ประเทศในเอเชียจะพบความเสี่ยงซึ่งอาจขาดทุนได้ไม่น้อยกว่าประเทศที่เป็นเจ้าของสกุลเงินนี้ ประเทศเอเชียเก็บเงินที่ได้กำไรจากส่วนเกินนี้เอาไว้ในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นได้ทั้งตราสาร ตั๋วเงินฝาก และ หุ้นที่มีการกำหนดเงื่อนไขบางอย่างเอาไว้ แล้วเรามีทางที่จะปกป้องมูลค่าของสิ่งเหล่านี้เอาไว้ในขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐกำลังประสบปัญหาเช่นนี้หรือไม่ นั่นคือเงินสำรองของเอเชียจะต้องถูกเปลี่ยนให้เป็นพันธบัตรเอเชีย ซึ่งเมื่อไม่ได้สูญเสียมูลค่าของมันไปแล้ว ก็จะสามารถถูกใช้เพื่อนำมากระตุ้นการค้าและการลงทุนในเอเชีย

พันธบัตรเอเชียไม่ได้เป็นเกมส์แบบได้หมด-เสียหมด ที่ให้ประโยชน์เฉพาะตัวมันเองเท่านั้น มันยังเอื้อโอกาสให้กับการสร้างความมั่งคั่งได้ทั้งโลก ประชากรชาวเอเชียทั้งสามพันล้านคนต้องการให้รัฐบาลของพวกเขาได้นำเอาการเกินดุลการค้าที่พวกเขาไม่อาจหาประโยชน์จากมันได้เลยนั้น ลงทุนในประสิทธิภาพการผลิตที่จับต้องได้ มากกว่าที่พวกเขาจะเห็นการเล่นกับการลงทุนในกระดาษ, อย่างเช่น ตราสารทางการเงินซึ่งยากต่อการทำความเข้าใจ

เราจะเรียกพันธบัตรนี้ว่า ดอลลาร์ของโลก หรือ กลอบาร์ (แผลงมาจากคำ globars คือ global + dollars ผู้แปล) (ซึ่งคุณอาจจะชอบเมื่อนึกถึงแท่งโลหะที่เปล่งประกาย และครั้งหนึ่งเคยเป็นมาตรฐานการวัดมูลค่าสกุลเงินมาตรฐาน) ในขณะที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) สามารถเล่นบทที่ปรึกษา หรือผู้จัดการ ในการดูแลมูลค่าของดอลลาร์โลก หรือดอลลาร์นอกสหรัฐ ในขณะที่สกุลเงินในประเทศสหรัฐจะเสื่อมค่าลงถึงระดับดังที่เศรษฐกิจของประเทศดำรงอยู่

แล้วอะไรจะเกิดขึ้นหากรัฐบาลใหม่ของสหรัฐไม่ได้มีสายตายาวไกลที่จะให้การยอมรับมาตรฐานใหม่ซึ่งเป็นดอลลาร์ภายนอกนี้? รัฐบาลในประเทศเอเชียก็ยังคงสามารถออกพันธบัตรเพิ่มขึ้นทุกครั้งที่ประเทศเหล่านี้ได้รับส่วนเกินดุลครั้งใหม่ ประเทศอย่างจีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี, สิงคโปร์ และ ไทย สามารถเห็นชอบที่จะแบ่งปันบางส่วนของเงินทุนสำรองของตนเอง ในอัตราส่วนที่แน่นอนลงไปในตระกร้าสกุลเงินที่จะออกพันธบัตรนี้ ผลตอบแทนของพันธบัตรนี้จะอยู่ในระดับเดียวหรืออาจจะมากกว่าพันธบัตรสหรัฐ ในฐานะที่ผู้ออกพันธบัตรนี้มีฐานะดีกว่าสหรัฐที่จะให้ผลตอบแทนผู้ลงทุน

แต่ก็มีความยากลำบากสำหรับนักลงทุนที่จะตัดสินความเสี่ยงทางการเมืองในเอเชียอยู่บ้าง ตาลีบันยังคงปฏิบัติงานอยู่ในประเทศอัฟกานิสถานและปากีสถาน แต่บทบาทของประเทศเหล่านี้เป็นแต่เพียงในนาม ส่วนการปล่อยก๊าซพิษในสถานีรถไฟใต้ดินของญี่ปุ่นไม่สามารถกัดกร่อน ความน่าเชื่อถือของญี่ปุ่นในการให้คำมั่นของพวกเขา ความเสี่ยงเป็นเรื่องสัมพัทธ์ ผมอยากจะวางเดิมพันลงฝั่งรัฐบาลจีน ซึ่งเคยมองข้ามคำทำนายเมื่อ 18 เดือนก่อนโดย แฮงค์ พอลสัน, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของสหรัฐ, ว่าจีนอาจสูญเสียมูลค่าทางเศรษฐกิจนับล้านล้านดอลลาร์ หากพวกเขาไม่เปิดตลาดหุ้นแบบเสรี ซึ่งน่าคิดว่าเป็นเรื่องฉลาดกว่าการสวดอ้อนวอนแด่พระผู้เป็นเจ้า ให้สหรัฐหาโมเดลการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่น่าเชื่อถือ และการกำกับการดูแลสถาบันการเงินให้พบ

สำหรับคนที่คุ้นเคยกับตลาดพันธบัตรแล้ว นี่อาจไม่ใช้ข้อเสนอที่เป็นเรื่องพลิกฟ้าดินแต่อย่างใด มีรัฐบาลประเทศเอเชียหลายประเทศได้ออกพันธบัตรในสกุลเงินของตนเอง คุณภาพและผลตอบแทนก็แตกต่างกันออกไป ผลตอบแทนของพันธบัตรเอเชีย ต้องรวมเอาความผันผวนต่างๆเข้าด้วยกัน แล้วไปเทียบกับผลตอบแทนที่ไม่ได้น่าพอใจในเวลานี้นักของพันธบัตรสหรัฐ แล้วให้ตลาดเป็นผู้ตัดสิน แต่อย่างไรก็ตาม ผลรวมของพันธบัตรเอเชียให้ภาพที่เป็นบวกกว่ามาก ส่วนที่เป็นปัญหาจริงก็คือความรับรู้ในอดีต ซึ่งดูเหมือนกำหนดไปแล้วอย่างถาวรโดยพวกหน่วยงานจัดอันดับทั้งหลาย ว่าประเทศเอเชียทั้งหลายเป็นผู้กู้ สหรัฐเป็นผู้ให้ยืม แต่ตอนนี้ประเทศเหล่านี้บางแห่งเป็นผู้ให้กู้ มันเป็นเวลาที่จะเก็บเกี่ยวผลตอบแทนในฐานะผู้ให้กู้ มูลค่าของการให้กู้จะได้รับการปกป้องเป็นอย่างดีถ้าพวกเขาสร้างการตัดสินใจร่วมกัน

พันธบัตรร่วมเหล่านี้สามารถกำหนดให้ซื้อขายได้ใน โตเกียว สิงคโปร์ และฮ่องกง พันธบัตรนี้สามารถเอื้อให้เกิดการพัฒนาตลาดทุนที่เข้มแข็งขึ้นในภูมิภาค และรักษาไว้ได้อย่างมั่นคง ในขณะที่สหรัฐได้กลับไปดูแลปัญหาวิกฤติการเงินของตนเอง สิ่งที่เป็นประโยชน์ที่สุดก็คือส่วนเกินของเอเชียจะถูกวนกลับไปใช้ในการสร้างสินทรัพย์ที่มีผลิตภาพในเอเชีย
[/quote]

เป็นไปได้มั้ยที่วิกฤตคราวนี้ เอเชียจะผงาด

โพสต์แล้ว: พุธ ต.ค. 08, 2008 5:42 pm
โดย nanchan
เชื่อว่าเขมร ลาว พม่า จะมาผงาด  :lol:
เพราะไม่ค่อยสูญเสียทรัพยากร และไม่ได้ส่งออก  :lol: