หน้า 1 จากทั้งหมด 1

Force Sell

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ต.ค. 30, 2008 11:59 pm
โดย vi_tal signs
เห็นช่วงนี้หลายตัวกำลังโดนพอดีครับ

เผอิญเป็นมือใหม่

เลยอยากถามว่า

1.  มีที่มาที่ไปอย่างไร  ถึงต้องกระทำฟอร์ซเซล   ( เหตุผลอะไรที่ถึงทำ )

2. หุ้นที่โดนฟอร์ซเซล  ในสายตาของนักลงทุนคุณค่า หรือนักเกร็งกำไร  มีความ

  รู้สึกอย่างไรครับ

Force Sell

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ พ.ย. 09, 2008 7:02 pm
โดย Guiman
1.เหตุผลที่ ฟอร์ซเซลคือ นักลุงทุน เล่นมาจิ้นครับ (กู้เงินมาซื้อหุ้น พอเศรษฐกิจไม่ดีเลยต้องขาย ทำให้หุ้นตกอย่างหนัก)

2.คิดว่าเป็นหุ้นอันตรายที่มีความเสี่ยงสูงนะครับ ระวังไว้ก็ดี

Force Sell

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ พ.ย. 16, 2008 7:32 pm
โดย ily
บัญชีเงินกู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์ (ระบบ Credit Balance)

ระบบ Credit Balance เป็นรูปแบบการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์ (Margin Loan) ซึ่งลูกค้าต้องนำเงินหรือหลักทรัพย์จดทะเบียนมาวางเป็นประกันการชำระหนี้กับบริษัทก่อนการซื้อหลักทรัพย์ โดยอำนาจซื้อของลูกค้าจะขึ้นอยู่กับมูลค่าของหลักประกันที่ลูกค้านำมาวาง และมูลค่าหลักทรัพย์ที่ซื้อและที่วางเป็นประกัน ทั้งนี้บริษัทต้องทำการ Mark to Market หลักทรัพย์ที่เป็นประกันทุกวัน ซึ่งผลจากการ Mark to Market จะทำให้อำนาจซื้อของลูกค้าเพิ่ม/ลด โดยอัตโนมัติตามมูลค่าตลาดของหลักทรัพย์ของลูกค้า
การซื้อขายหลักทรัพย์

ก่อนการซื้อขายหลักทรัพย์ ลูกค้าจะต้องนำเงินหรือหลักทรัพย์จดทะเบียนมาวางเป็นประกัน ซึ่งบริษัทจะแยกหลักประกันของลูกค้าออกจากทรัพย์สินของบริษัท สำหรับเงินสดจะนำไปลงทุนตามที่กำหนดในประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. โดยระบุเป็น "บัญชีของบริษัท เพื่อลูกค้า"
ในกรณีที่ลูกค้าซื้อหลักทรัพย์ในบัญชีมาร์จิ้น บริษัทจะหักเงินที่ลูกค้าวางเป็นประกันเพื่อชำระค่าซื้อหลักทรัพย์ก่อน
หากไม่พอที่จะชำระค่าซื้อส่วนที่เหลือจึงจะเป็นเงินให้กู้ยืม ซึ่งบริษัทจะคิดดอกเบี้ยจากเงินที่ให้กู้ยืมตามอัตราที่กำหนด
ในขณะเดียวกันเงินของลูกค้าที่วางเป็นประกันในส่วนที่ยังไม่ได้นำไปชำระค่าซื้อ? บริษัทจะให้ดอกเบี้ยเงินฝากแก่ ลูกค้าตามอัตราที่กำหนด อัตราดอกเบี้ยทั้ง 2 กรณีนี้ บริษัทจะประกาศให้ทราบ ณ ที่ทำการของบริษัททุกต้นเดือน บริษัทไม่อนุญาตให้ลูกค้าในบัญชีมาร์จิ้นซื้อเกินกว่าอำนาจซื้อที่คำนวณได้ หรือวงเงินกู้ยืมที่บริษัทฯ อนุมัติ และไม่อนุญาตให้ลูกค้าขายหลักทรัพย์โดยไม่มีหลักทรัพย์ในบัญชี
ในกรณีที่ลูกค้าขายหลักทรัพย์หรือนำเงินมาวางเพิ่ม บริษัทจะนำเงินที่ได้รับมาหักหนี้เงินกู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์ที่มี
อยู่เดิมก่อน ส่วนที่เหลือนำฝากเข้าเป็นหลักประกันในบัญชี

หลักทรัพย์ที่อนุญาตให้ซื้อในบัญชี ระบบ Credit Balance

บริษัทจะจัดทำรายชื่อหลักทรัพย์ที่อนุญาตให้ซื้อในบัญชีมาร์จิ้น (Marginable Securities) และอัตรามาร์จิ้นเริ่มต้นของ แต่ละหลักทรัพย์ โดยจะทำการทบทวนรายชื่อหลักทรัพย์ดังกล่าวเป็นประจำอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง และติด ประกาศ ณ ที่ทำการของบริษัททุก ๆ เดือน
บริษัทสงวนสิทธิที่จำทำการปรับปรุงรายชื่อหลักทรัพย์ที่อนุญาตให้ซื้อในบัญชีมาร์จิ้น หรืออัตรามาร์จิ้นเริ่มต้นของแต่ละ
หลักทรัพย์ได้ตามความเหมาะสม

การเรียกหลักประกันเพิ่ม (Call Margin 35%)

ในกรณีที่ทรัพย์สินรวมของลูกค้า(Equity) ลดลงจนต่ำกว่ามูลค่าหลักประกันที่ต้องดำรงไว้ (Maintenance Margin
Requirement) ลูกค้าต้องนำทรัพย์สินมาวางเป็นหลักประกันเพิ่ม จนทำให้ทรัพย์สินรวมของลูกค้า (Equity) เท่ากับหรือสูงกว่ามูลค่าหลักประกันที่ต้องดำรงไว้ตามที่บริษัทฯ กำหนด หากลูกค้าไม่นำทรัพย์สินมาวางเป็นหลักประกันเพิ่ม และหากมูลค่าหลักประกันที่ต้องดำรงไว้มีมูลค่าหลักประกันขั้นต่ำ (Minimum Margin Requirement) ที่บริษัทกำหนด บริษัทจะทำการขายทรัพย์สินที่เป็นประกัน เพื่อชำระหนี้เงินกู้ จนทำให้ทรัพย์สินรวมของลูกค้าสูงกว่ามูลค่า หลักประกันที่ต้องดำรงไว้ (Maintenance Margin Requirement) หรือตามที่บริษัทฯ เห็นสมควร
อนึ่ง ทรัพย์สินที่นำมาวางเป็นหลักประกันได้นั้น ต้องเป็นทรัพย์สินตามบัญชีรายชื่อที่บริษัทติดประกาศไว้ ณ ที่ทำ
การของบริษัท และลูกค้าจะต้องดำเนินการให้บริษัทมีบุริมสิทธิเหนือหลักประกันดังกล่าว

การบังคับชำระหนี้ (Force Sell 25%)

ในกรณีที่ทรัพย์สินรวมของลูกค้า (Equity) ลดลงต่ำกว่ามูลค่าหลักประกันขั้นต่ำ (Minimum Margin Requirement) บริษัทจะทำการบังคับชำระหนี้เงินกู้จากทรัพย์สินที่วางเป็นประกันในวันทำการถัดไป จนทำให้ทรัพย์สิน รวมของลูกค้าสูงกว่ามูลค่าหลักประกันที่ต้องดำรงไว้ (Maintenance Margin Requirement) หรือตามที่บริษัทฯ เห็น สมควร

Force Sell

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ พ.ย. 16, 2008 7:42 pm
โดย ily
ลืมบอกว่า copy from ADKINSONonline.com