จุดสังเกตหุ้นไทยถึงจุด "ต่ำสุด"..?
โพสต์แล้ว: ศุกร์ พ.ย. 07, 2008 12:49 am
จะรู้ได้อย่างไรว่า "จุดต่ำสุด" หรือ "Bottom" ของดัชนีหุ้นไทยอยู่ตรงไหน เพื่อหาโอกาสจับจังหวะลงทุน ยังเป็นคำถามคาใจ
กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ : แม้ความจริงไม่มีใครสามารถบอกได้ว่า ระดับต่ำสุดของดัชนีอยู่ตรงไหนกันแน่ แต่เราสามารถใช้วิธีการประเมินเหตุการณ์ หรือพิจารณาจาก "เงื่อนไข" (Event) ต่างๆ ที่เกิดขึ้นจะทำให้เห็น จุดต่ำสุดได้ไม่ยาก
มีการประเมินกันว่า "ไคร์ซิส" หรือ วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์รอบนี้ "ร้ายแรง" และกินลึก กว่าที่เคยเกิดมา เนื่องจากเป็นการผสมผสานเอาวิกฤติที่เคยเกิดมาก่อนหน้าถึง 4 เหตุการณ์ ทั้งวิกฤติสหรัฐปี 1930 ต้มยำกุ้งของไทย วิกฤติเศรษฐกิจญี่ปุ่น และภาวะเงินฝืด มาอยู่รวมกัน
ขณะที่สถานการณ์ต่างๆ ในสหรัฐและยุโรป กำลังรอวัน "ปะทุ" ขึ้นมา โดยเฉพาะสัญญารับประกันเงินกู้ (Credit Default Swaps) หรือ "อนุพันธ์ CDS" จะนำความวิบัติมาให้สถาบันการเงินอีกครั้ง ซึ่งมีการประเมินว่า คิดเป็นมูลค่าสูงถึง 54.6 ล้านล้านเหรียญ ใกล้เคียงกับตัวเลขจีดีพีของโลกที่ 54.3 ล้านล้านเหรียญ ทีเดียว
หากอนุพันธ์ CDS เกิดความเสียหายทั้งหมด ก็จะกระทบต่อเศรษฐกิจโลก รวมถึงตลาดหุ้นทั่วโลก อีกครั้งอย่างแน่นอน
เช่นเดียวกับการลงทุนในตลาดหุ้นไทย ซึ่งยังคงปกคลุมด้วยความ "เสี่ยงสูง" จากวิกฤติสหรัฐ รวมถึงการเมืองในประเทศ ที่รอวันระเบิดรอบใหม่
ฉะนั้น เพื่อให้นักลงทุนรายย่อยรู้เท่าทันสถานการณ์และสู้กับนักลงทุนต่างชาติให้ได้ จึงต้องสามารถประเมินเหตุการณ์และพิจารณาเงื่อนไขต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ ก็จะทำให้เราสามารถสแกนหา "จุดต่ำสุด" ของดัชนีหุ้นไทย และหาโอกาสในการเข้าลงทุน
วิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล กรรมการบริหารและหัวหน้าฝ่ายวิจัย บล.ทิสโก้ บอกว่า ก่อนที่จะรู้ว่า เมื่อใดที่ดัชนีหุ้นจะถึงจุดต่ำสุด ตลาดหุ้นไทยจะถูกทดสอบและผ่านสถานการณ์เลวร้ายต่างๆ ที่จะเข้ามากระแทกตลาดหุ้นอย่างน้อย 4 ข่าวร้ายใหญ่จากต่างประเทศไปเสียก่อน..
ข่าวแรก..ประเมินกันว่า จะต้องมี "กองทุนเฮดจ์ฟันด์" ได้รับความเสียหาย จนกระทั่งถึงขั้น "ล้มละลาย"
หลังจากที่ได้เห็นธนาคารขนาดใหญ่ในสหรัฐ ได้ล้มไปบ้างแล้ว ขณะที่ช่วงนี้มีการพุ่งเป้าไปยังกองทุน "CITADEL" ซึ่งเป็นกองทุนเฮดจ์ฟันด์ขนาดใหญ่ ที่มีผู้ถือหน่วยขอไถ่ถอนหน่วยลงทุนคืนกันจำนวนมาก
"เรามองว่า ในช่วงไตรมาส 4 และไตรมาส 1/52 จะมีกองทุนเฮดจ์ฟันด์ล้มละลายอีก เนื่องจากตอนนี้มีเฮดจ์ฟันด์ขอร้องไม่ให้ผู้ถือหน่วยไถ่ถอนอยู่หลายแห่ง ทำให้ยังไม่มีการ Mark to Market หรือบันทึกการขาดทุนจริงเกิดขึ้น
เมื่อสถาบันการเงินล้มละลาย ก็จะทำให้เกิดแรงเทขายกลุ่มสินทรัพย์เสี่ยง รวมถึงสินค้าคอมมอดิตี้ และหุ้น ออกมาอีกมาก เนื่องจากเป็นกองทุนเฮดจ์ ฟันด์ ขนาดใหญ่ที่มีคนถือหน่วยลงทุนไว้จำนวนมาก และที่ผ่านมาให้ผลตอบแทนที่สูง"
ข่าวที่สอง..ผลกระทบของ "อนุพันธ์ CDS " (Credit Default Swaps-CDS) หรือสัญญารับประกันเงินกู้ จะลุกลามไปยังประเทศยุโรปตะวันออก หรือไม่ (Contagion Effects to Eastern Europe)
แม้ว่าธนาคารกลางของยุโรปจะเข้าไปสนับสนุนทางการเงินให้แก่สถาบันการเงิน จึงทำให้ล้มละลายได้ยากกว่า แต่หากเกิดปัญหากับประเทศในยุโรปก็จะทำให้เศรษฐกิจจริงมีปัญหา เพราะเป็นฐานการผลิตที่สำคัญของโลก
"จุดสังเกตก็คือ หาก CDS Spread ของยุโรป และตลาดอีเมอร์จิ้งมาร์เก็ต ปรับตัวขึ้นทำจุดสูงสุด ก็จะทำให้เกิดความเสี่ยงสูงขึ้น และนักลงทุนขาดความเชื่อมั่นต่อการลงทุนในตลาดหุ้น
ดังนั้น จึงต้องจับตาดูการลุกลามของสินเชื่ออนุพันธ์ว่าจะลามไปยังประเทศยุโรปตะวันออก เมื่อไร"
ข่าวที่สาม..ผลประกอบการบริษัทบัตรเครดิตจะมี "หนี้เสีย" เพิ่มขึ้น
เนื่องจากอัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 6.1% และหากเพิ่มขึ้นเป็น 7% จะทำให้คนตกงานจำนวนมาก และความต้องการใช้บัตรเครดิตมากขึ้นเช่นกัน ซึ่งในปัจจุบันหนี้เสียบัตรเครดิตได้เพิ่มขึ้นมาแล้วในปีนี้ 60-70% จากปีที่ผ่านมา คิดเป็นมูลค่าหนี้เสีย 2.4 หมื่นล้านบาท จากเดิมอยู่ที่ 1.4 หมื่นล้านบาท
"ทั้งนี้จะต้องจับตาดูตัวเลขหนี้เสียบัตรเครดิตจะเพิ่มขึ้นอีกเท่าไร โดยเราคาดว่าจะเห็นตัวเลขในราวเดือนธ.ค.หรือม.ค. 2552"
ข่าวที่สี่..ตลาดหุ้นได้รับความเสียหายอย่างมาก
เนื่องจากความมั่งคั่งของคนสหรัฐหายไป เนื่องจากคนสรัฐลงทุนในตลาดหุ้นประมาณ 100 ล้านคน คิดเป็น 1 ใน 3 ของคนทั้งหมดในประเทศ ซึ่งที่ผ่านมาพวกเขาคิดว่ามีสินทรัพย์และความมั่งคั่งอยู่ แต่ปัจจุบันได้กลายเป็นหนี้สินเพิ่มขึ้น
ขณะที่บางคนตกงานจึงจำเป็นต้องไถ่ถอนหน่วยลงทุนในกองทุนบำเหน็จบำนาญ จึงกดดันให้ Pension Fund ของสหรัฐ จำเป็นต้องขายหลักทรัพย์ที่มีกำไรออกไป โดยเฉพาะหุ้นในตลาดเกิดใหม่ซึ่งกองทุนส่วนใหญ่ลงทุนไว้ตั้งแต่ปี 1988-1999
"สี่ข่าวร้ายนี้จะทยอยออกมาตั้งแต่ไตรมาสสุดท้ายปีนี้จนถึงไตรมาส 1 ปีหน้า ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าทั้ง 4 ข่าวจะมาพร้อมๆ กัน หรือไม่ได้เกิดพร้อมกันก็ได้ แต่เป็นสิ่งที่นักลงทุนต้องจับตา"
ส่วนข้อสังเกตว่า ดัชนีหุ้นที่ไหลลงไป เมื่อใดจะถึง "จุดต่ำสุด" หรือ "Bottom" นั้น..
วิศิษฐ์ แนะนำให้นักลงทุนพิจารณาเงื่อนไขต่างๆ ดังต่อไปนี้
ประการแรก.. ให้พิจารณา "ส่วนต่าง" ระหว่างดอกเบี้ยกู้ยืมกับดอกเบี้ยของเฟด (LIBOR Spread) จะต้องกลับมาอยู่ที่ 1% จะเป็นผลดีต่อตลาดมากกว่า จากที่เคยขึ้นไปสูงถึง 3-4% ในช่วงที่เกิดวิกฤติการเงินสหรัฐ สะท้อนถึงสภาพคล่องในตลาดที่ตึงตัวอย่างมาก
ประกาต่อมา.. ต้องดู Credit Default Swaps Spread (CDS) หรือ "ส่วนต่าง" ของสัญญารับประกันเงินกู้ จะต้อง "ลดลง" โดยไม่ทำ "นิวไฮ" หรือ ขึ้นไปสู่จุดสูงสุดอีก เพราะจะสะท้อนถึงนักลงทุนขาดความเชื่อมั่นและตลาดหุ้นจะปรับตัวลง
ประการที่สาม..จะต้องไม่มีการ "บันทึก" ความสูญเสียของสถาบันการเงินในสหรัฐอีก ขณะที่ในปัจจุบันสถาบันการเงินสหรัฐหลายแห่ง ยังไม่ได้ลงบันทึกผลการขาดทุนของสินเชื่ออนุพันธ์ คาดว่าหากลงบันทึกจะทำให้เกิดความสูญเสียขึ้นอีกจำนวนมากหลังจากนี้
และประการสุดท้าย..ธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศจะต้องมีการ "ปล่อยกู้" ออกมาบ้าง เทียบกับสถานการณ์ปัจจุบันที่ธนาคารพาณิชย์ในสหรัฐไม่ได้มีการปล่อยกู้ แม้แต่ระหว่างธนาคารด้วยกัน
ดังนั้น ถ้าหากเงื่อนไขต่างๆ เหล่านี้เกิดขึ้น..
วิศิษฐ์ เชื่อว่า ดัชนีหุ้นไทย "มีสิทธิ" ที่จะไหลลงไปแตะที่ระดับจุดต่ำสุดได้ไม่ยาก ซึ่งฝ่ายวิจัยบล.ทิสโก้ ประเมินว่า ในช่วงไตรมาสแรกปีหน้า (2552) นักลงทุนน่าจะมีโอกาสได้เห็น "จุด Bottom" อย่างแน่นอน
แต่หลังจากวิกฤติ มักเป็นโอกาส (ลงทุน) เสมอ
เขาคาดว่า ในช่วงไตรมาส 2 ปี2552 ตลาดหุ้นไทยจะปรับตัวกลับมา "ขึ้นแรง" อีกครั้ง (Bear Market Rally) ด้วยปัจจัยบวกสนับสนุนจากการปรับลดดอกเบี้ยของเฟดให้ลงเหลือ 0.25-0% จะผลักดันให้ผู้ฝากเงินไว้กับธนาคารพาณิชย์นำเงินออกมาจากซื้อสินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้น โดยเฉพาะหุ้น
รวมถึงปัจจัยเงินเฟ้อทั่วโลกในปีหน้าจะลดลงอย่างรวดเร็ว จนอาจจะถึงขั้นเกิดภาวะเงินฝืด ขณะที่เงินเฟ้อของไทยจะอยู่ที่ 0.5-2%
ปัจจัยเหล่านี้จะทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลก รวมถึงไทย กลับมาดีขึ้นได้อีกครั้ง...
กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ : แม้ความจริงไม่มีใครสามารถบอกได้ว่า ระดับต่ำสุดของดัชนีอยู่ตรงไหนกันแน่ แต่เราสามารถใช้วิธีการประเมินเหตุการณ์ หรือพิจารณาจาก "เงื่อนไข" (Event) ต่างๆ ที่เกิดขึ้นจะทำให้เห็น จุดต่ำสุดได้ไม่ยาก
มีการประเมินกันว่า "ไคร์ซิส" หรือ วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์รอบนี้ "ร้ายแรง" และกินลึก กว่าที่เคยเกิดมา เนื่องจากเป็นการผสมผสานเอาวิกฤติที่เคยเกิดมาก่อนหน้าถึง 4 เหตุการณ์ ทั้งวิกฤติสหรัฐปี 1930 ต้มยำกุ้งของไทย วิกฤติเศรษฐกิจญี่ปุ่น และภาวะเงินฝืด มาอยู่รวมกัน
ขณะที่สถานการณ์ต่างๆ ในสหรัฐและยุโรป กำลังรอวัน "ปะทุ" ขึ้นมา โดยเฉพาะสัญญารับประกันเงินกู้ (Credit Default Swaps) หรือ "อนุพันธ์ CDS" จะนำความวิบัติมาให้สถาบันการเงินอีกครั้ง ซึ่งมีการประเมินว่า คิดเป็นมูลค่าสูงถึง 54.6 ล้านล้านเหรียญ ใกล้เคียงกับตัวเลขจีดีพีของโลกที่ 54.3 ล้านล้านเหรียญ ทีเดียว
หากอนุพันธ์ CDS เกิดความเสียหายทั้งหมด ก็จะกระทบต่อเศรษฐกิจโลก รวมถึงตลาดหุ้นทั่วโลก อีกครั้งอย่างแน่นอน
เช่นเดียวกับการลงทุนในตลาดหุ้นไทย ซึ่งยังคงปกคลุมด้วยความ "เสี่ยงสูง" จากวิกฤติสหรัฐ รวมถึงการเมืองในประเทศ ที่รอวันระเบิดรอบใหม่
ฉะนั้น เพื่อให้นักลงทุนรายย่อยรู้เท่าทันสถานการณ์และสู้กับนักลงทุนต่างชาติให้ได้ จึงต้องสามารถประเมินเหตุการณ์และพิจารณาเงื่อนไขต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ ก็จะทำให้เราสามารถสแกนหา "จุดต่ำสุด" ของดัชนีหุ้นไทย และหาโอกาสในการเข้าลงทุน
วิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล กรรมการบริหารและหัวหน้าฝ่ายวิจัย บล.ทิสโก้ บอกว่า ก่อนที่จะรู้ว่า เมื่อใดที่ดัชนีหุ้นจะถึงจุดต่ำสุด ตลาดหุ้นไทยจะถูกทดสอบและผ่านสถานการณ์เลวร้ายต่างๆ ที่จะเข้ามากระแทกตลาดหุ้นอย่างน้อย 4 ข่าวร้ายใหญ่จากต่างประเทศไปเสียก่อน..
ข่าวแรก..ประเมินกันว่า จะต้องมี "กองทุนเฮดจ์ฟันด์" ได้รับความเสียหาย จนกระทั่งถึงขั้น "ล้มละลาย"
หลังจากที่ได้เห็นธนาคารขนาดใหญ่ในสหรัฐ ได้ล้มไปบ้างแล้ว ขณะที่ช่วงนี้มีการพุ่งเป้าไปยังกองทุน "CITADEL" ซึ่งเป็นกองทุนเฮดจ์ฟันด์ขนาดใหญ่ ที่มีผู้ถือหน่วยขอไถ่ถอนหน่วยลงทุนคืนกันจำนวนมาก
"เรามองว่า ในช่วงไตรมาส 4 และไตรมาส 1/52 จะมีกองทุนเฮดจ์ฟันด์ล้มละลายอีก เนื่องจากตอนนี้มีเฮดจ์ฟันด์ขอร้องไม่ให้ผู้ถือหน่วยไถ่ถอนอยู่หลายแห่ง ทำให้ยังไม่มีการ Mark to Market หรือบันทึกการขาดทุนจริงเกิดขึ้น
เมื่อสถาบันการเงินล้มละลาย ก็จะทำให้เกิดแรงเทขายกลุ่มสินทรัพย์เสี่ยง รวมถึงสินค้าคอมมอดิตี้ และหุ้น ออกมาอีกมาก เนื่องจากเป็นกองทุนเฮดจ์ ฟันด์ ขนาดใหญ่ที่มีคนถือหน่วยลงทุนไว้จำนวนมาก และที่ผ่านมาให้ผลตอบแทนที่สูง"
ข่าวที่สอง..ผลกระทบของ "อนุพันธ์ CDS " (Credit Default Swaps-CDS) หรือสัญญารับประกันเงินกู้ จะลุกลามไปยังประเทศยุโรปตะวันออก หรือไม่ (Contagion Effects to Eastern Europe)
แม้ว่าธนาคารกลางของยุโรปจะเข้าไปสนับสนุนทางการเงินให้แก่สถาบันการเงิน จึงทำให้ล้มละลายได้ยากกว่า แต่หากเกิดปัญหากับประเทศในยุโรปก็จะทำให้เศรษฐกิจจริงมีปัญหา เพราะเป็นฐานการผลิตที่สำคัญของโลก
"จุดสังเกตก็คือ หาก CDS Spread ของยุโรป และตลาดอีเมอร์จิ้งมาร์เก็ต ปรับตัวขึ้นทำจุดสูงสุด ก็จะทำให้เกิดความเสี่ยงสูงขึ้น และนักลงทุนขาดความเชื่อมั่นต่อการลงทุนในตลาดหุ้น
ดังนั้น จึงต้องจับตาดูการลุกลามของสินเชื่ออนุพันธ์ว่าจะลามไปยังประเทศยุโรปตะวันออก เมื่อไร"
ข่าวที่สาม..ผลประกอบการบริษัทบัตรเครดิตจะมี "หนี้เสีย" เพิ่มขึ้น
เนื่องจากอัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 6.1% และหากเพิ่มขึ้นเป็น 7% จะทำให้คนตกงานจำนวนมาก และความต้องการใช้บัตรเครดิตมากขึ้นเช่นกัน ซึ่งในปัจจุบันหนี้เสียบัตรเครดิตได้เพิ่มขึ้นมาแล้วในปีนี้ 60-70% จากปีที่ผ่านมา คิดเป็นมูลค่าหนี้เสีย 2.4 หมื่นล้านบาท จากเดิมอยู่ที่ 1.4 หมื่นล้านบาท
"ทั้งนี้จะต้องจับตาดูตัวเลขหนี้เสียบัตรเครดิตจะเพิ่มขึ้นอีกเท่าไร โดยเราคาดว่าจะเห็นตัวเลขในราวเดือนธ.ค.หรือม.ค. 2552"
ข่าวที่สี่..ตลาดหุ้นได้รับความเสียหายอย่างมาก
เนื่องจากความมั่งคั่งของคนสหรัฐหายไป เนื่องจากคนสรัฐลงทุนในตลาดหุ้นประมาณ 100 ล้านคน คิดเป็น 1 ใน 3 ของคนทั้งหมดในประเทศ ซึ่งที่ผ่านมาพวกเขาคิดว่ามีสินทรัพย์และความมั่งคั่งอยู่ แต่ปัจจุบันได้กลายเป็นหนี้สินเพิ่มขึ้น
ขณะที่บางคนตกงานจึงจำเป็นต้องไถ่ถอนหน่วยลงทุนในกองทุนบำเหน็จบำนาญ จึงกดดันให้ Pension Fund ของสหรัฐ จำเป็นต้องขายหลักทรัพย์ที่มีกำไรออกไป โดยเฉพาะหุ้นในตลาดเกิดใหม่ซึ่งกองทุนส่วนใหญ่ลงทุนไว้ตั้งแต่ปี 1988-1999
"สี่ข่าวร้ายนี้จะทยอยออกมาตั้งแต่ไตรมาสสุดท้ายปีนี้จนถึงไตรมาส 1 ปีหน้า ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าทั้ง 4 ข่าวจะมาพร้อมๆ กัน หรือไม่ได้เกิดพร้อมกันก็ได้ แต่เป็นสิ่งที่นักลงทุนต้องจับตา"
ส่วนข้อสังเกตว่า ดัชนีหุ้นที่ไหลลงไป เมื่อใดจะถึง "จุดต่ำสุด" หรือ "Bottom" นั้น..
วิศิษฐ์ แนะนำให้นักลงทุนพิจารณาเงื่อนไขต่างๆ ดังต่อไปนี้
ประการแรก.. ให้พิจารณา "ส่วนต่าง" ระหว่างดอกเบี้ยกู้ยืมกับดอกเบี้ยของเฟด (LIBOR Spread) จะต้องกลับมาอยู่ที่ 1% จะเป็นผลดีต่อตลาดมากกว่า จากที่เคยขึ้นไปสูงถึง 3-4% ในช่วงที่เกิดวิกฤติการเงินสหรัฐ สะท้อนถึงสภาพคล่องในตลาดที่ตึงตัวอย่างมาก
ประกาต่อมา.. ต้องดู Credit Default Swaps Spread (CDS) หรือ "ส่วนต่าง" ของสัญญารับประกันเงินกู้ จะต้อง "ลดลง" โดยไม่ทำ "นิวไฮ" หรือ ขึ้นไปสู่จุดสูงสุดอีก เพราะจะสะท้อนถึงนักลงทุนขาดความเชื่อมั่นและตลาดหุ้นจะปรับตัวลง
ประการที่สาม..จะต้องไม่มีการ "บันทึก" ความสูญเสียของสถาบันการเงินในสหรัฐอีก ขณะที่ในปัจจุบันสถาบันการเงินสหรัฐหลายแห่ง ยังไม่ได้ลงบันทึกผลการขาดทุนของสินเชื่ออนุพันธ์ คาดว่าหากลงบันทึกจะทำให้เกิดความสูญเสียขึ้นอีกจำนวนมากหลังจากนี้
และประการสุดท้าย..ธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศจะต้องมีการ "ปล่อยกู้" ออกมาบ้าง เทียบกับสถานการณ์ปัจจุบันที่ธนาคารพาณิชย์ในสหรัฐไม่ได้มีการปล่อยกู้ แม้แต่ระหว่างธนาคารด้วยกัน
ดังนั้น ถ้าหากเงื่อนไขต่างๆ เหล่านี้เกิดขึ้น..
วิศิษฐ์ เชื่อว่า ดัชนีหุ้นไทย "มีสิทธิ" ที่จะไหลลงไปแตะที่ระดับจุดต่ำสุดได้ไม่ยาก ซึ่งฝ่ายวิจัยบล.ทิสโก้ ประเมินว่า ในช่วงไตรมาสแรกปีหน้า (2552) นักลงทุนน่าจะมีโอกาสได้เห็น "จุด Bottom" อย่างแน่นอน
แต่หลังจากวิกฤติ มักเป็นโอกาส (ลงทุน) เสมอ
เขาคาดว่า ในช่วงไตรมาส 2 ปี2552 ตลาดหุ้นไทยจะปรับตัวกลับมา "ขึ้นแรง" อีกครั้ง (Bear Market Rally) ด้วยปัจจัยบวกสนับสนุนจากการปรับลดดอกเบี้ยของเฟดให้ลงเหลือ 0.25-0% จะผลักดันให้ผู้ฝากเงินไว้กับธนาคารพาณิชย์นำเงินออกมาจากซื้อสินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้น โดยเฉพาะหุ้น
รวมถึงปัจจัยเงินเฟ้อทั่วโลกในปีหน้าจะลดลงอย่างรวดเร็ว จนอาจจะถึงขั้นเกิดภาวะเงินฝืด ขณะที่เงินเฟ้อของไทยจะอยู่ที่ 0.5-2%
ปัจจัยเหล่านี้จะทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลก รวมถึงไทย กลับมาดีขึ้นได้อีกครั้ง...