ไทยเรยอน !!!!
โพสต์แล้ว: พุธ พ.ย. 12, 2008 8:25 pm
พิษศก.ปราจีนปลดคนงาน
รง.ไทยเรยอนอ่างทองเลิกจ้าง ลูกค้าชะลอสั่งซื้อ-ลดกำลังผลิต
ผู้ สื่อข่าวภูมิภาค "มติชน" รายงานเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน ถึงสถานการณ์เศรษฐกิจและการเลิกจ้างแรงงานในพื้นที่ต่างๆ ว่า ที่ จ.ปราจีนบุรี ในช่วงตั้งแต่เดือนมกราคม-พฤศจิกายน ผู้ประกอบการปิดกิจการไปแล้ว 7 บริษัท ในเบื้องต้นจำนวน 5 บริษัทมีสาเหตุปิดกิจการเพราะได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทแข็งตัว ส่วนอีก 2 บริษัทเกิดจากภาวะเศรษฐกิจโลกแต่ทั้งสองบริษัทหลังมีลูกจ้างไม่เกิน 29 คน พนักงานที่ถูกเลิกจ้างใน จ.ปราจีนบุรี ทั้ง 7 บริษัทรวมทั้งสิ้น จำนวน 977 คน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายธวัชชัย เทอดเผ่าไทย ผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี และหัวหน้าส่วนราชการของ จ.ปราจีนบุรี ชี้แจงข้อมูลแรงงานในจังหวัดให้กับนายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา นายสุรเดช จิรัฐติเจริญ สมาชิกวุฒิสภา จ.ปราจีนบุรี (ส.ว.) นำ ส.ว. พร้อมคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจการพาณิชย์และอุตสาหกรรมวุฒิสภา รวม 30 คน เดินทางมาตรวจสอบสถานการณ์แรงงานอุตสาหกรรมการค้าการลงทุนเขตนิคมอุตสาหกรรม จ.ปราจีนบุรี เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายนที่ผ่านมา
นายสุรเดช จิรัฐิติเจริญ กล่าวว่า จ.ปราจีนบุรีเป็นพื้นที่ที่มีรายได้ อันดับที่ 11 ของประเทศ การลงพื้นที่รับทราบปัญหาจริงจะนำไปสู่การวิเคราะห์เพื่อเตรียมป้องกันแก้ไข ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศต่อไปรวมถึงแนวทางรับมือการเลิกจ้างแรง งานในอนาคต
ที่ จ.อ่างทอง ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คนงานบริษัท วรรธนะ ซับพลาย จำกัด ทยอยเข้าลงทะเบียนเป็นผู้ว่างงานกับสำนักงานจัดหางานจังหวัดอ่างทอง หลังจากบริษัท วรรธนะ ซับพลาย ซึ่งเป็นบริษัทรับเหมาช่วงโรงงานไทยเรยอน จำกัด เป็นโรงงานทอเส้นใยขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ที่ ต.โพสะ อ.เมืองอ่างทอง ลดกำลังการผลิตจึงสั่งเลิกจ้างคนงานรายวันจำนวน 70 คน เนื่องจากกลุ่มประเทศชะลอการสั่งซื้อ
นายวีระ รอดชีวัน รองผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง ให้สัมภาษณ์ว่า ถ้าผู้ถูกเลิกจ้างทำประกันสังคมไว้ หลังลงทะเบียนเป็นผู้ว่างงานกับสำนักงานจัดหางานแล้ว จะได้รับเงินเดือนร้อยละ 5 ของเงินเดือนเป็นเวลา 6 เดือน
ผู้สื่อ ข่าวรายงานว่า ในพื้นที่ จ.อ่างทอง มีผู้ใช้แรงงานที่ขึ้นทะเบียน จำนวน 11,244 คน มีสถานประกอบการ 840 แห่ง เป็นอุตสาหกรรมประเภทส่งออก 4 แห่ง ขณะนี้มีโรงงานหลายแห่งปรับตัวเพื่อความอยู่รอดโดยลดการทำงานนอกเวลา
นาย มานะผล ภู่สมบุญ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดปทุมธานี ให้ความเห็นถึงแนวโน้มการว่างงานของพนักงานโรงงานว่า อาจมีผลกระทบด้านชะลอตัวบ้างเล็กน้อย เนื่องจากการใช้แรงงานใน จ.ปทุมธานี มีจำนวนกว่า 2 แสนคน หลากหลายประเภท โดยเฉพาะนิคมอุตสาหกรรมนวนคร และสวนอุตสาหกรรมบางกะดี มีจำนวนโรงงานกว่า 2,000 โรง ส่วนปัญหาโรงงานผลิตรถยนต์ ที่มียอดจำหน่ายลดลงเพราะภาวะเศรษฐกิจถดถอย ได้ส่งผลกระทบมาถึงโรงงานผลิตยางรถยนต์ รายใหญ่ ในจังหวัดปทุมธานี แต่ยังไม่พบข้อมูลว่าจะปรับลดจำนวนพนักงาน ส่วนโรงงานเครื่องดื่มน้ำอัดลมขนาดใหญ่ตั้งอยู่ใน จ.ปทุมธานี ทั้งสองค่ายได้รับผลกระทบกับยอดจำหน่ายลง
http://www.matichon.co.th/matichon/view ... 2008-11-12
รง.ไทยเรยอนอ่างทองเลิกจ้าง ลูกค้าชะลอสั่งซื้อ-ลดกำลังผลิต
ผู้ สื่อข่าวภูมิภาค "มติชน" รายงานเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน ถึงสถานการณ์เศรษฐกิจและการเลิกจ้างแรงงานในพื้นที่ต่างๆ ว่า ที่ จ.ปราจีนบุรี ในช่วงตั้งแต่เดือนมกราคม-พฤศจิกายน ผู้ประกอบการปิดกิจการไปแล้ว 7 บริษัท ในเบื้องต้นจำนวน 5 บริษัทมีสาเหตุปิดกิจการเพราะได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทแข็งตัว ส่วนอีก 2 บริษัทเกิดจากภาวะเศรษฐกิจโลกแต่ทั้งสองบริษัทหลังมีลูกจ้างไม่เกิน 29 คน พนักงานที่ถูกเลิกจ้างใน จ.ปราจีนบุรี ทั้ง 7 บริษัทรวมทั้งสิ้น จำนวน 977 คน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายธวัชชัย เทอดเผ่าไทย ผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี และหัวหน้าส่วนราชการของ จ.ปราจีนบุรี ชี้แจงข้อมูลแรงงานในจังหวัดให้กับนายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา นายสุรเดช จิรัฐติเจริญ สมาชิกวุฒิสภา จ.ปราจีนบุรี (ส.ว.) นำ ส.ว. พร้อมคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจการพาณิชย์และอุตสาหกรรมวุฒิสภา รวม 30 คน เดินทางมาตรวจสอบสถานการณ์แรงงานอุตสาหกรรมการค้าการลงทุนเขตนิคมอุตสาหกรรม จ.ปราจีนบุรี เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายนที่ผ่านมา
นายสุรเดช จิรัฐิติเจริญ กล่าวว่า จ.ปราจีนบุรีเป็นพื้นที่ที่มีรายได้ อันดับที่ 11 ของประเทศ การลงพื้นที่รับทราบปัญหาจริงจะนำไปสู่การวิเคราะห์เพื่อเตรียมป้องกันแก้ไข ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศต่อไปรวมถึงแนวทางรับมือการเลิกจ้างแรง งานในอนาคต
ที่ จ.อ่างทอง ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คนงานบริษัท วรรธนะ ซับพลาย จำกัด ทยอยเข้าลงทะเบียนเป็นผู้ว่างงานกับสำนักงานจัดหางานจังหวัดอ่างทอง หลังจากบริษัท วรรธนะ ซับพลาย ซึ่งเป็นบริษัทรับเหมาช่วงโรงงานไทยเรยอน จำกัด เป็นโรงงานทอเส้นใยขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ที่ ต.โพสะ อ.เมืองอ่างทอง ลดกำลังการผลิตจึงสั่งเลิกจ้างคนงานรายวันจำนวน 70 คน เนื่องจากกลุ่มประเทศชะลอการสั่งซื้อ
นายวีระ รอดชีวัน รองผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง ให้สัมภาษณ์ว่า ถ้าผู้ถูกเลิกจ้างทำประกันสังคมไว้ หลังลงทะเบียนเป็นผู้ว่างงานกับสำนักงานจัดหางานแล้ว จะได้รับเงินเดือนร้อยละ 5 ของเงินเดือนเป็นเวลา 6 เดือน
ผู้สื่อ ข่าวรายงานว่า ในพื้นที่ จ.อ่างทอง มีผู้ใช้แรงงานที่ขึ้นทะเบียน จำนวน 11,244 คน มีสถานประกอบการ 840 แห่ง เป็นอุตสาหกรรมประเภทส่งออก 4 แห่ง ขณะนี้มีโรงงานหลายแห่งปรับตัวเพื่อความอยู่รอดโดยลดการทำงานนอกเวลา
นาย มานะผล ภู่สมบุญ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดปทุมธานี ให้ความเห็นถึงแนวโน้มการว่างงานของพนักงานโรงงานว่า อาจมีผลกระทบด้านชะลอตัวบ้างเล็กน้อย เนื่องจากการใช้แรงงานใน จ.ปทุมธานี มีจำนวนกว่า 2 แสนคน หลากหลายประเภท โดยเฉพาะนิคมอุตสาหกรรมนวนคร และสวนอุตสาหกรรมบางกะดี มีจำนวนโรงงานกว่า 2,000 โรง ส่วนปัญหาโรงงานผลิตรถยนต์ ที่มียอดจำหน่ายลดลงเพราะภาวะเศรษฐกิจถดถอย ได้ส่งผลกระทบมาถึงโรงงานผลิตยางรถยนต์ รายใหญ่ ในจังหวัดปทุมธานี แต่ยังไม่พบข้อมูลว่าจะปรับลดจำนวนพนักงาน ส่วนโรงงานเครื่องดื่มน้ำอัดลมขนาดใหญ่ตั้งอยู่ใน จ.ปทุมธานี ทั้งสองค่ายได้รับผลกระทบกับยอดจำหน่ายลง
http://www.matichon.co.th/matichon/view ... 2008-11-12