2แสนล.รอทะลักกลับไทย จริงหรือหรอก?
โพสต์แล้ว: อังคาร พ.ย. 25, 2008 5:58 pm
2แสนล.รอทะลักกลับไทย
เงินทุนกว่า 2 แสนล้านบาท รอเวลาไหลกลับไทย หลังกองทุน FIF ครบกำหนด ช่วยเพิ่มสภาพคล่องในประเทศ
นางอัจนา ไวความดี รองผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า นับจากนี้ถึงเดือน เม.ย. 2552 จะมีเงินลงทุนไหล กลับเข้ามาในประเทศประมาณ 6,000-7,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 2.1-2.45 แสนล้านบาท ซึ่งเงินส่วนนี้เป็นเงินลงทุนของกองทุนรวมที่ไปลงทุนในต่างประเทศ (FIF) ที่จะทยอยครบกำหนด ทำให้ประเทศไทยไม่มีปัญหาเรื่องสภาพคล่อง
อัจนา ไวความดี
นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ไทยพาณิชย์กล่าวในทิศทางเดียวกันว่า ในปี2552 จะเห็นเงินที่ บลจ.นำออกไปลงทุนที่ต่างประเทศ ทั้งการลงทุนในกองทุนพันธบัตรเกาหลีใต้ และกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนประเภทอื่นๆ ซึ่งมีเม็ดเงินลงทุนประมาณ 2-2.7 แสนล้านบาท ในปัจจุบัน จะไหลกลับเข้าประเทศไทย
สำหรับเงินที่เหลืออยู่และยังไม่ได้ออกไปนั้นก็จะไม่เห็นการออกไปอีก เพราะเชื่อว่า ทุกกองทุนคงอยากที่จะลงทุนใกล้ประเทศไทยมากขึ้นเนื่องจากจะอุ่นใจมากกว่าหลังจากเกิดวิกฤตการเงินในสหรัฐอเมริกา
ซึ่งผลของการไหลกลับเข้ามาในประเทศของเหล่าบรรดากองทุน ที่ออกไปลงทุนต่างประเทศนั้น จะทำให้ประเทศไทยไม่ประสบปัญหาสภาพคล่องแน่นอน นายเศรษฐพุฒิ กล่าว
นางวรวรรณ ธาราภูมิ กรรมการผู้จัดการ บลจ.บัวหลวง ในฐานะนายกสมาคมบริษัทจัดการลงทุน กล่าวว่า หลังจากเกิดวิกฤตการเงินโลกทำให้อุตสาหกรรมกองทุนทั่วโลก หันกลับไปลงทุนในประเทศแทนการออกไปลงทุนต่างประเทศ เหมือนที่ผ่านมา
ลูกค้าเองก็ไม่อยากซื้อกองทุน FIF แต่ก็ยังมีคนใจกล้าออกกองทุน FIF ในช่วงนี้ โดยเชื่อว่า จะเป็นจังหวะที่ดีที่จะออกไปลงทุน อย่างไรก็ตาม เชื่อว่ากองทุน FIF คงจะไม่ใช่กองทุนหลักสำหรับอุตสาหกรรมกองทุนอีก นางวรวรรณ กล่าว
นอกจากนี้ นางวรวรรณ ยังกล่าวว่า ทางสมาคมบริษัทจัดการลงทุน มีแนวคิดที่จะขอให้ บลจ.ทุกแห่ง เปิดเผยปริมาณเงินลงทุนไหลเข้าออกสุทธิ มาที่สมาคมฯ เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกับอุตสาหกรรมกองทุนรวมในต่างประเทศ
นายประเวช องอาจสิทธิกุล ผู้ช่วยเลขาธิการอาวุโส สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวว่า ในปี 2552 กองทุน FIF คงไม่ได้รับความนิยมเหมือนที่ผ่านมาและคงจะเห็นเงินทุนไหลกลับเข้ามาในประเทศ ซึ่งเป็นไปตามกลไกและภาวะของตลาดทุน
อย่างไรก็ตาม มีนักลงทุนมาหารือกับ ก.ล.ต. ถึงการออกไปลงทุนในต่างประเทศ เพราะมองว่า วิกฤตการเงินในรอบนี้เป็นโอกาสในการออกไปซื้อของถูก
ทั้งนี้ เมื่อ 21 ก.ย. 2550 ธปท. พิจารณาขยายวงเงินลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศเพิ่มอีก 1.2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐทำให้มีวงเงินรวมทั้งสิ้น 3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ โดยให้ ก.ล.ต.จัดสรรวงเงินการลงทุนในรูปแบบต่างๆ เช่น ให้ กองทุนรวม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัทหลักทรัพย์ที่ไปลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศให้บุคคลทั่วไปที่ไปลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศผ่านกองทุนส่วนบุคคล หรือลงทุนตรงผ่านบริษัท หลักทรัพย์ (บล.) เป็นต้น
ขณะที่ ก.ล.ต.รายงานสรุปฐานะวงเงินลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศ ณ สิ้นเดือน ต.ค. 2551 มียอดวงเงินคงเหลือ 1.19 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ จากวงเงินที่ได้รับอนุญาตทั้งหมด 2.6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ
จาก http://money.impaqmsn.com/content.aspx?id=14625&ch=227
คำถามคือ จริงหรือหลอก?
เงินทุนกว่า 2 แสนล้านบาท รอเวลาไหลกลับไทย หลังกองทุน FIF ครบกำหนด ช่วยเพิ่มสภาพคล่องในประเทศ
นางอัจนา ไวความดี รองผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า นับจากนี้ถึงเดือน เม.ย. 2552 จะมีเงินลงทุนไหล กลับเข้ามาในประเทศประมาณ 6,000-7,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 2.1-2.45 แสนล้านบาท ซึ่งเงินส่วนนี้เป็นเงินลงทุนของกองทุนรวมที่ไปลงทุนในต่างประเทศ (FIF) ที่จะทยอยครบกำหนด ทำให้ประเทศไทยไม่มีปัญหาเรื่องสภาพคล่อง
อัจนา ไวความดี
นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ไทยพาณิชย์กล่าวในทิศทางเดียวกันว่า ในปี2552 จะเห็นเงินที่ บลจ.นำออกไปลงทุนที่ต่างประเทศ ทั้งการลงทุนในกองทุนพันธบัตรเกาหลีใต้ และกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนประเภทอื่นๆ ซึ่งมีเม็ดเงินลงทุนประมาณ 2-2.7 แสนล้านบาท ในปัจจุบัน จะไหลกลับเข้าประเทศไทย
สำหรับเงินที่เหลืออยู่และยังไม่ได้ออกไปนั้นก็จะไม่เห็นการออกไปอีก เพราะเชื่อว่า ทุกกองทุนคงอยากที่จะลงทุนใกล้ประเทศไทยมากขึ้นเนื่องจากจะอุ่นใจมากกว่าหลังจากเกิดวิกฤตการเงินในสหรัฐอเมริกา
ซึ่งผลของการไหลกลับเข้ามาในประเทศของเหล่าบรรดากองทุน ที่ออกไปลงทุนต่างประเทศนั้น จะทำให้ประเทศไทยไม่ประสบปัญหาสภาพคล่องแน่นอน นายเศรษฐพุฒิ กล่าว
นางวรวรรณ ธาราภูมิ กรรมการผู้จัดการ บลจ.บัวหลวง ในฐานะนายกสมาคมบริษัทจัดการลงทุน กล่าวว่า หลังจากเกิดวิกฤตการเงินโลกทำให้อุตสาหกรรมกองทุนทั่วโลก หันกลับไปลงทุนในประเทศแทนการออกไปลงทุนต่างประเทศ เหมือนที่ผ่านมา
ลูกค้าเองก็ไม่อยากซื้อกองทุน FIF แต่ก็ยังมีคนใจกล้าออกกองทุน FIF ในช่วงนี้ โดยเชื่อว่า จะเป็นจังหวะที่ดีที่จะออกไปลงทุน อย่างไรก็ตาม เชื่อว่ากองทุน FIF คงจะไม่ใช่กองทุนหลักสำหรับอุตสาหกรรมกองทุนอีก นางวรวรรณ กล่าว
นอกจากนี้ นางวรวรรณ ยังกล่าวว่า ทางสมาคมบริษัทจัดการลงทุน มีแนวคิดที่จะขอให้ บลจ.ทุกแห่ง เปิดเผยปริมาณเงินลงทุนไหลเข้าออกสุทธิ มาที่สมาคมฯ เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกับอุตสาหกรรมกองทุนรวมในต่างประเทศ
นายประเวช องอาจสิทธิกุล ผู้ช่วยเลขาธิการอาวุโส สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวว่า ในปี 2552 กองทุน FIF คงไม่ได้รับความนิยมเหมือนที่ผ่านมาและคงจะเห็นเงินทุนไหลกลับเข้ามาในประเทศ ซึ่งเป็นไปตามกลไกและภาวะของตลาดทุน
อย่างไรก็ตาม มีนักลงทุนมาหารือกับ ก.ล.ต. ถึงการออกไปลงทุนในต่างประเทศ เพราะมองว่า วิกฤตการเงินในรอบนี้เป็นโอกาสในการออกไปซื้อของถูก
ทั้งนี้ เมื่อ 21 ก.ย. 2550 ธปท. พิจารณาขยายวงเงินลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศเพิ่มอีก 1.2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐทำให้มีวงเงินรวมทั้งสิ้น 3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ โดยให้ ก.ล.ต.จัดสรรวงเงินการลงทุนในรูปแบบต่างๆ เช่น ให้ กองทุนรวม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัทหลักทรัพย์ที่ไปลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศให้บุคคลทั่วไปที่ไปลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศผ่านกองทุนส่วนบุคคล หรือลงทุนตรงผ่านบริษัท หลักทรัพย์ (บล.) เป็นต้น
ขณะที่ ก.ล.ต.รายงานสรุปฐานะวงเงินลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศ ณ สิ้นเดือน ต.ค. 2551 มียอดวงเงินคงเหลือ 1.19 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ จากวงเงินที่ได้รับอนุญาตทั้งหมด 2.6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ
จาก http://money.impaqmsn.com/content.aspx?id=14625&ch=227
คำถามคือ จริงหรือหลอก?