อยากขอคำแนะนำจาก คุณสุมาอี้ครับ
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. พ.ย. 27, 2008 12:52 pm
สิ่งหนึ่งที่ผมทำบ่อยและอยากเชิญชวนให้นักลงทุนท่านอื่นลองทำดูบ้างคือการสร้างพอร์ตทดลอง เป็นต้นว่า สมมติว่าคุณมีเงินสดหนึ่งล้านบาทที่ต้องการลงทุนเดี๋ยวนี้ คุณจะเลือกจัดพอร์ตการลงทุนของคุณอย่างไร เงินในพอร์ตเป็นเรื่องสมมติแต่ใช้ราคาหุ้นและภาวะตลาดตามสถานการณ์ปัจจุบันจริงๆ แล้วลองติดตามผลตอบแทนที่เกิดขึ้นจริงของพอร์ตทดลอง วิธีช่วยสร้างเสริมประสบการณ์การลงทุนให้คุณได้มากโดยที่ไม่ต้องเอาเงินจริงๆ เข้าไปเสี่ยง คุณจะสร้างพอร์ตทดลองขึ้นมามากหรือบ่อยแค่ไหนก็ได้ ยิ่งมากก็ยิ่งได้เรียนรู้มากไม่มีต้นทุน
ตลาดช่วงนี้นับว่าเป็นช่วงหนึ่งที่น่าทดลองฝึกวิทยายุทธการลงทุน ผมจะลองสร้างพอร์ตทดลองขนาด 1 ล้านบาทขึ้นมาสักหนึ่งพอร์ตแบบชิวๆ เพื่อการเรียนรู้พอเป็นตัวอย่าง
ในขั้นแรก ผมว่าการลงทุนก็เหมือนกับการทำงานอย่างอื่นที่ควรเริ่มต้นด้วยการตั้งเป้าหมายก่อนจากนั้นจึงค่อยออกแบบกลยุทธ์ที่เหมาะสมที่จะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายนั้นได้ เป้าหมายที่ต่างกันย่อมต้องใช้กลยุทธ์ที่ต่างกัน เราจึงต้องกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจนเสียก่อน สมมติว่าผมมีเป้าหมายในการลงทุนครั้งนี้เป็นดังนี้
คาดหวังผลตอบแทนอย่างน้อย 10% ต่อปีหรือสูงกว่าดัชนี
ลงทุนเป็นระยะเวลา 3 ปี ระหว่างทางไม่มีความจำเป็นต้องใช้เงินก้อนนี้เลยจนกว่าจะครบ 3 ปี
ไม่มีเวลาติดตามความเป็นไปของพอร์ตตลอดระยะเวลาที่ลงทุน
เมื่อกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนได้แล้ว ขั้นตอนต่อไปก็ลองมาพิจารณาดูว่าควรเลือกหุ้นที่มีลักษณะแบบไหนเข้าพอร์ตจึงจะมีโอกาสบรรลุเป้าหมายมากที่สุด เราคาดหวังผลตอบแทนไม่ต่ำกว่า 10% ต่อปีเพราะฉะนั้นลำพังผลตอบแทนจากเงินปันผลอย่างเดียวในภาวะตลาดปัจจุบันคงไม่เพียงพอ ดังนั้นหุ้นที่เลือกเข้าพอร์ตจึงต้องเป็นหุ้นที่มีโอกาสเติบโตของกำไรด้วย
การที่เราไม่ต้องเผื่อขายเลยจนกว่าจะครบ 3 ปี นับเป็นข้อได้เปรียบที่สำคัญอย่างมาก เพราะทำให้เราไม่ต้องกังวลเรื่องความผันผวนระหว่างทาง เราจึงสามารถเลือกหุ้นเติบโตมาเข้าพอร์ตของเราได้ หุ้นเติบโตเป็นหุ้นที่มีความผันผวนสูงแต่มีข้อดีคือมีโอกาสได้ผลตอบแทนสูงจึงช่วยทำให้เราบรรลุเป้าหมายผลตอบแทนได้ง่าย ดังนั้นเราจะ "ถือโอกาส" เลือกหุ้นเติบโตเข้าพอร์ตทั้งหมด แล้วลดความเสี่ยงด้วยวิธีมีหุ้นเติบโตหลายๆ ตัวในพอร์ต แทนที่จะผสมหุ้นปันผลหรือหุ้นคุณค่าเข้าไปเพื่อลดความผันผวนของพอร์ตซึ่งจะให้ผลตอบแทนคาดหวังที่น้อยกว่า อย่างไรก็ตาม หุ้นเติบโตที่จะเลือกเข้าพอร์ตต้องมี Growth Story ที่เห็นผลใน 3 ปี ถ้านานกว่านั้นก็คงไม่เหมาะกับพอร์ตอายุ 3 ปีของเรา
ตอนนี้เรารู้แล้วว่าเราต้องมองหาหุ้นที่มีลักษณะแบบไหน ขั้นตอนต่อไปก็คือการเข้าไปเลือกหุ้นในตลาดโดยพิจารณาจาก Growth Story ของหุ้นแต่ละตัวเป็นหลัก ไม่สนใจ Dividend Yield (เพราะเรากำลังหาหุ้นเติบโต) และแล้วผมก็ได้หุ้นเติบโตที่ดูแล้ว "เข้าตา" มาทั้งหมด 5 ตัว (ราคาปิด ณ วันที่ 15 พย 50)
EGCO@117
[email protected]
[email protected]
[email protected]
[email protected]
หุ้นที่ผมเลือกมาเป็นหุ้นที่มีแผนการเพิ่มกำไรในช่วง 3 ปีข้างหน้าที่ค่อนข้างจับต้องได้ ฟังดูแล้วเป็นไปด้พอสมควร องค์กรมีความน่าเชื่อถือ และที่สำคัญราคาหุ้นในปัจจุบันยังไม่แพงเกินไปเมื่อเทียบกับอัตราเติบโตของกำไร หุ้นเติบโตที่ราคาสะท้อนการเติบโตในอนาคตไปหมดแล้ว ถือยาวก็คงไม่ได้ประโยชน์อะไร
เรื่องสำคัญที่อยากจะบอกก็คือ การที่อยู่ๆ ผมหยิบหุ้น 5 ตัวมาเลยนี่ไม่ได้แปลว่านักลงทุนสามารถ "นั่งเทียน" เลือกหุ้นได้ ที่จริงแล้วผมได้ไป "ทำการบ้าน" ค้นคว้าหาข้อมูลมาก่อนเพียงแต่ไม่ได้ "แสดงวิธีทำ" ให้คุณดูเท่านั้น ซึ่งทำได้ไม่ยากด้วยการติดตามข่าวสารของบริษัทนั้นๆ ให้มากๆ แล้วพิจารณาความเป็นไปได้ของการเติบโตของกำไร การเลือกหุ้นนั้นจะต้องตัดสินใจจากข้อมูลเป็นหลักห้ามใช้แค่ความรู้สึกชอบ-ไม่ชอบส่วนตัวของเราโดยเด็ดขาด เรื่องนี้สำคัญมากนะครับ
ที่จริงแล้ว สัดส่วนของหุ้นแต่ละตัวในพอร์ตมีผลต่อผลตอบแทนของพอร์ตอย่างมาก พอร์ต 2 พอร์ตที่มีหุ้นเหมือนกัน แต่สัดส่วนต่างกัน อาจให้ผลตอบแทนที่แตกต่างกันได้อย่างมาก เราควรให้น้ำหนักหุ้นในพอร์ตตามขนาดของ upside และความเป็นไปได้ของ Growth Story แต่เอาเถอะเดี๋ยวจะซับซ้อนเกินไป เอาเป็นว่าเราซื้อหุ้นทั้ง 5 ตัวในพอร์ตด้วยจำนวนเงินที่เท่ากันก็ละกันเพื่อความง่าย
ตอนนี้คุณก็ได้พอร์ตทดลองแบบขำๆ ขึ้นมาหนึ่งพอร์ตแล้ว แค่จดเก็บไว้ในลิ้นชักรอเวลา 3 ปีแล้วค่อยเปิดออกมาดูว่าผลตอบแทนที่ได้เป็นอย่างไร ทั้งนี้ทั้งนั้นเราจะไม่สนใจเลยว่าระหว่างทางราคาของหุ้นแต่ละตัวในพอร์ตจะผันผวนมากแค่ไหนเพราะเราจะไม่ขายหนีอย่างเด็ดขาด เนื่องจากเป้าหมายหนึ่งของพอร์ตนี้คือเราอยากได้พอร์ตที่ไม่ต้องเฝ้าตลาด ดังนั้นเราจะไม่คาดหวังว่า หุ้นทุกตัวในพอร์ตจะต้องมีกำไรทั้งหมด หุ้นบางตัวในพอร์ตจะขาดทุนไปบ้างก็ไม่เป็นไร มองผลตอบแทนของทั้งพอร์ตว่าเข้าเป้าก็ใช้ได้แล้ว ถ้าหากไม่คิดแบบนี้ เราจะหันมานั่งเฝ้าตลาดอย่างแน่นอน อีกอย่างหนึ่ง พอร์ตนี้จะช่วยเราพิสูจน์ด้วยว่า หุ้นไทยถือยาวไม่ได้จริงหรือเปล่า
อีก 3 ปี ข้างหน้า ถ้าผมยังเขียนบล็อกนี้อยู่ เราจะมาดูกันนะครับว่า เราได้ผลตอบแทนเท่าไร (Capital Gain + non-reinvested Dividends ถ้ามีการเพิ่มทุนระหว่างทางก็ให้ใช้สิทธิเพิ่มทุนนั้น) แต่ถ้าคุณรอไม่ไหว จะลองสร้างพอร์ตการทดลองของตัวเองขึ้นมาก็ได้ ตั้งเป้าหมายในแบบที่ตนเองต้องการ แล้ววัดผลตามความเป็นจริง จะเหลือแค่ 6 เดือนวัดผลหรือจะสร้างให้เป็นพอร์ตแบบซื้อๆ ขายๆ ตลอดเวลาก็ตามแต่ใจอยาก ยังไงก็เป็นแค่พอร์ตในเศษกระดาษ ไม่ได้เสี่ยงจริง ยิ่งทดลองมากก็ยิ่งได้รู้อะไรมากขึ้น มีโอกาสลงทุนโดยไม่เสี่ยงแล้ว จะลองจัดพอร์ตแบบสนุกๆ ปล่อยใจให้เป็นอิสระก็ได้ บ่อยครั้งคุณจะประหลาดใจที่พบว่า พอร์ตเล่นๆ ของคุณกลับให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าพอร์ตจริงที่คุณจริงจังกับมัน เพราะมันไม่ถูกจำกัดไว้ด้วยอารมณ์ "กลัวขาดทุน" ทำให้คุณคิดอะไรอย่างเป็นอิสระมากกว่าเดิม
บทความนี้คุณ สุมาอี้เขียนไว้เมื่อปีที่แล้ว ใน settrade
สมมุติว่า มันเป็นพอร์ตจริง ถึงวันนี้คุณสุมาอี้จะจัดการอย่างไรครับ
ถือไว้จนครบ 3 ปี , ปรับพอร์ท, ขายตัดขาดทุน หรือขยาย time frame ในการถือ ช่วยแนะนำในความเห็นของคุณสุมาอี้เป็นรายตัว ด้วยครับ
ผมมี EGCO กับ SF อยู่
อาจเป็นประโยชน์กับคนที่ถือหุ้น 5 ตัว ข้างบนนี้อยู่
ขอบคูณมากครับ
ตลาดช่วงนี้นับว่าเป็นช่วงหนึ่งที่น่าทดลองฝึกวิทยายุทธการลงทุน ผมจะลองสร้างพอร์ตทดลองขนาด 1 ล้านบาทขึ้นมาสักหนึ่งพอร์ตแบบชิวๆ เพื่อการเรียนรู้พอเป็นตัวอย่าง
ในขั้นแรก ผมว่าการลงทุนก็เหมือนกับการทำงานอย่างอื่นที่ควรเริ่มต้นด้วยการตั้งเป้าหมายก่อนจากนั้นจึงค่อยออกแบบกลยุทธ์ที่เหมาะสมที่จะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายนั้นได้ เป้าหมายที่ต่างกันย่อมต้องใช้กลยุทธ์ที่ต่างกัน เราจึงต้องกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจนเสียก่อน สมมติว่าผมมีเป้าหมายในการลงทุนครั้งนี้เป็นดังนี้
คาดหวังผลตอบแทนอย่างน้อย 10% ต่อปีหรือสูงกว่าดัชนี
ลงทุนเป็นระยะเวลา 3 ปี ระหว่างทางไม่มีความจำเป็นต้องใช้เงินก้อนนี้เลยจนกว่าจะครบ 3 ปี
ไม่มีเวลาติดตามความเป็นไปของพอร์ตตลอดระยะเวลาที่ลงทุน
เมื่อกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนได้แล้ว ขั้นตอนต่อไปก็ลองมาพิจารณาดูว่าควรเลือกหุ้นที่มีลักษณะแบบไหนเข้าพอร์ตจึงจะมีโอกาสบรรลุเป้าหมายมากที่สุด เราคาดหวังผลตอบแทนไม่ต่ำกว่า 10% ต่อปีเพราะฉะนั้นลำพังผลตอบแทนจากเงินปันผลอย่างเดียวในภาวะตลาดปัจจุบันคงไม่เพียงพอ ดังนั้นหุ้นที่เลือกเข้าพอร์ตจึงต้องเป็นหุ้นที่มีโอกาสเติบโตของกำไรด้วย
การที่เราไม่ต้องเผื่อขายเลยจนกว่าจะครบ 3 ปี นับเป็นข้อได้เปรียบที่สำคัญอย่างมาก เพราะทำให้เราไม่ต้องกังวลเรื่องความผันผวนระหว่างทาง เราจึงสามารถเลือกหุ้นเติบโตมาเข้าพอร์ตของเราได้ หุ้นเติบโตเป็นหุ้นที่มีความผันผวนสูงแต่มีข้อดีคือมีโอกาสได้ผลตอบแทนสูงจึงช่วยทำให้เราบรรลุเป้าหมายผลตอบแทนได้ง่าย ดังนั้นเราจะ "ถือโอกาส" เลือกหุ้นเติบโตเข้าพอร์ตทั้งหมด แล้วลดความเสี่ยงด้วยวิธีมีหุ้นเติบโตหลายๆ ตัวในพอร์ต แทนที่จะผสมหุ้นปันผลหรือหุ้นคุณค่าเข้าไปเพื่อลดความผันผวนของพอร์ตซึ่งจะให้ผลตอบแทนคาดหวังที่น้อยกว่า อย่างไรก็ตาม หุ้นเติบโตที่จะเลือกเข้าพอร์ตต้องมี Growth Story ที่เห็นผลใน 3 ปี ถ้านานกว่านั้นก็คงไม่เหมาะกับพอร์ตอายุ 3 ปีของเรา
ตอนนี้เรารู้แล้วว่าเราต้องมองหาหุ้นที่มีลักษณะแบบไหน ขั้นตอนต่อไปก็คือการเข้าไปเลือกหุ้นในตลาดโดยพิจารณาจาก Growth Story ของหุ้นแต่ละตัวเป็นหลัก ไม่สนใจ Dividend Yield (เพราะเรากำลังหาหุ้นเติบโต) และแล้วผมก็ได้หุ้นเติบโตที่ดูแล้ว "เข้าตา" มาทั้งหมด 5 ตัว (ราคาปิด ณ วันที่ 15 พย 50)
EGCO@117
[email protected]
[email protected]
[email protected]
[email protected]
หุ้นที่ผมเลือกมาเป็นหุ้นที่มีแผนการเพิ่มกำไรในช่วง 3 ปีข้างหน้าที่ค่อนข้างจับต้องได้ ฟังดูแล้วเป็นไปด้พอสมควร องค์กรมีความน่าเชื่อถือ และที่สำคัญราคาหุ้นในปัจจุบันยังไม่แพงเกินไปเมื่อเทียบกับอัตราเติบโตของกำไร หุ้นเติบโตที่ราคาสะท้อนการเติบโตในอนาคตไปหมดแล้ว ถือยาวก็คงไม่ได้ประโยชน์อะไร
เรื่องสำคัญที่อยากจะบอกก็คือ การที่อยู่ๆ ผมหยิบหุ้น 5 ตัวมาเลยนี่ไม่ได้แปลว่านักลงทุนสามารถ "นั่งเทียน" เลือกหุ้นได้ ที่จริงแล้วผมได้ไป "ทำการบ้าน" ค้นคว้าหาข้อมูลมาก่อนเพียงแต่ไม่ได้ "แสดงวิธีทำ" ให้คุณดูเท่านั้น ซึ่งทำได้ไม่ยากด้วยการติดตามข่าวสารของบริษัทนั้นๆ ให้มากๆ แล้วพิจารณาความเป็นไปได้ของการเติบโตของกำไร การเลือกหุ้นนั้นจะต้องตัดสินใจจากข้อมูลเป็นหลักห้ามใช้แค่ความรู้สึกชอบ-ไม่ชอบส่วนตัวของเราโดยเด็ดขาด เรื่องนี้สำคัญมากนะครับ
ที่จริงแล้ว สัดส่วนของหุ้นแต่ละตัวในพอร์ตมีผลต่อผลตอบแทนของพอร์ตอย่างมาก พอร์ต 2 พอร์ตที่มีหุ้นเหมือนกัน แต่สัดส่วนต่างกัน อาจให้ผลตอบแทนที่แตกต่างกันได้อย่างมาก เราควรให้น้ำหนักหุ้นในพอร์ตตามขนาดของ upside และความเป็นไปได้ของ Growth Story แต่เอาเถอะเดี๋ยวจะซับซ้อนเกินไป เอาเป็นว่าเราซื้อหุ้นทั้ง 5 ตัวในพอร์ตด้วยจำนวนเงินที่เท่ากันก็ละกันเพื่อความง่าย
ตอนนี้คุณก็ได้พอร์ตทดลองแบบขำๆ ขึ้นมาหนึ่งพอร์ตแล้ว แค่จดเก็บไว้ในลิ้นชักรอเวลา 3 ปีแล้วค่อยเปิดออกมาดูว่าผลตอบแทนที่ได้เป็นอย่างไร ทั้งนี้ทั้งนั้นเราจะไม่สนใจเลยว่าระหว่างทางราคาของหุ้นแต่ละตัวในพอร์ตจะผันผวนมากแค่ไหนเพราะเราจะไม่ขายหนีอย่างเด็ดขาด เนื่องจากเป้าหมายหนึ่งของพอร์ตนี้คือเราอยากได้พอร์ตที่ไม่ต้องเฝ้าตลาด ดังนั้นเราจะไม่คาดหวังว่า หุ้นทุกตัวในพอร์ตจะต้องมีกำไรทั้งหมด หุ้นบางตัวในพอร์ตจะขาดทุนไปบ้างก็ไม่เป็นไร มองผลตอบแทนของทั้งพอร์ตว่าเข้าเป้าก็ใช้ได้แล้ว ถ้าหากไม่คิดแบบนี้ เราจะหันมานั่งเฝ้าตลาดอย่างแน่นอน อีกอย่างหนึ่ง พอร์ตนี้จะช่วยเราพิสูจน์ด้วยว่า หุ้นไทยถือยาวไม่ได้จริงหรือเปล่า
อีก 3 ปี ข้างหน้า ถ้าผมยังเขียนบล็อกนี้อยู่ เราจะมาดูกันนะครับว่า เราได้ผลตอบแทนเท่าไร (Capital Gain + non-reinvested Dividends ถ้ามีการเพิ่มทุนระหว่างทางก็ให้ใช้สิทธิเพิ่มทุนนั้น) แต่ถ้าคุณรอไม่ไหว จะลองสร้างพอร์ตการทดลองของตัวเองขึ้นมาก็ได้ ตั้งเป้าหมายในแบบที่ตนเองต้องการ แล้ววัดผลตามความเป็นจริง จะเหลือแค่ 6 เดือนวัดผลหรือจะสร้างให้เป็นพอร์ตแบบซื้อๆ ขายๆ ตลอดเวลาก็ตามแต่ใจอยาก ยังไงก็เป็นแค่พอร์ตในเศษกระดาษ ไม่ได้เสี่ยงจริง ยิ่งทดลองมากก็ยิ่งได้รู้อะไรมากขึ้น มีโอกาสลงทุนโดยไม่เสี่ยงแล้ว จะลองจัดพอร์ตแบบสนุกๆ ปล่อยใจให้เป็นอิสระก็ได้ บ่อยครั้งคุณจะประหลาดใจที่พบว่า พอร์ตเล่นๆ ของคุณกลับให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าพอร์ตจริงที่คุณจริงจังกับมัน เพราะมันไม่ถูกจำกัดไว้ด้วยอารมณ์ "กลัวขาดทุน" ทำให้คุณคิดอะไรอย่างเป็นอิสระมากกว่าเดิม
บทความนี้คุณ สุมาอี้เขียนไว้เมื่อปีที่แล้ว ใน settrade
สมมุติว่า มันเป็นพอร์ตจริง ถึงวันนี้คุณสุมาอี้จะจัดการอย่างไรครับ
ถือไว้จนครบ 3 ปี , ปรับพอร์ท, ขายตัดขาดทุน หรือขยาย time frame ในการถือ ช่วยแนะนำในความเห็นของคุณสุมาอี้เป็นรายตัว ด้วยครับ
ผมมี EGCO กับ SF อยู่
อาจเป็นประโยชน์กับคนที่ถือหุ้น 5 ตัว ข้างบนนี้อยู่
ขอบคูณมากครับ