ความคิด โตเร็ว
โพสต์แล้ว: จันทร์ ธ.ค. 15, 2008 2:01 am
การคิดสร้างความแตกต่าง ความแตกต่างสร้างการโต้แย้ง การโต้แย้งสร้างทางแก้ไข
พูดไปงั้นๆแหละ
แต่สิ่งที่อยากกล่าวถึงคือ การพัฒนาของความคิดของเรา
คงเป็นความจริงที่ว่า คนที่ประสบความสำเร็จที่ยั่งยืนได้มักมีความคิดที่แตกต่างจากคนที่ล้มเหลวที่ยั่งยืน
คงอ้างถึงความสำเร็จหรือล้มเหลวเพียงชั่วครู่ไม่ได้เพราะสิ่งนี้เป็นสิ่งที่คอยมอบโอกาสแก่ผู้คนเพื่อทำสิ่งต่างๆต่อไปในชีวิต
แต่ถ้าเราดูความสำเร็จหรือล้มเหลวที่ยั่งยืนนั้นจากแค่เพียงทรัพย์สินเงินทองบอกได้เลยว่าคุณเข้าใจผิด เพราะความจริงสิ่งนั้นต้องวัดจากตัวเราโดยตัวเรา ไม่ใช่วัดจากสิ่งที่สังคมเชื่อว่านั่นคือความสำเร็จเพราะมันอาจเป็นแค่เพียงส่วนหนึ่งของความสำเร็จเท่านั้น
เอาเป็นว่าตอนนี้จะพูดถึง การพัฒนาความคิดแบบก้าวกระโดด ซึ่งเป็นสิ่งคิดว่าน่าจะพอใช้ได้ เมื่อเวลาที่เราไม่เข้าใจว่ากำลังทำอะไรอยู่ จะทำอย่างไร และทำเพื่ออะไรกันแน่ และผลจะเป็นอย่างไร
ซึ่งประโยคที่ทุกคนอาจจะเคยได้ยินนั่นคือ 1. ศิลปินลอกเลียน แต่ศิลปินเอกขโมย 2. คุณควรมี hero ในดวงใจที่ดีสักคน
อ้างถึงข้อแรกก่อน ทุกๆอย่างที่อยู่รอบตัวเราโดยทั่วไปแล้วมักจะเป็นสิ่งที่ทำตามๆกันมาตามแต่ละยุคสมัย จริงป่ะ และบุคคลที่คิดเป็นและคิดได้ว่าสิ่งใดดีไม่ดี สิ่งใดเหมาะไม่เหมาะ และเมื่อได้มองสิ่งที่ผู้อื่นทำกันก็รู้จักที่จะเลือกสิ่งที่ดีสิ่งที่เหมาะกับตัวเอง นั่นจะทำให้คนกลุ่มได้ทำสิ่งที่ดีและเหมาะซึ่งจะง่ายต่อความสำเร็จในชีวิตในระดับหนึ่ง แต่ก็มีอีกกลุ่มบุคคลที่รู้ว่าสิ่งใดดีและเหมาะ แต่พร้อมด้วยการทำความเข้าใจในสิ่งนั้นอย่างดีว่าสิ่งนั้นเกิดจากอะไรผลจะเป็นอย่างไร และเมื่อเข้าใจได้อย่างลึกซึ้งก็รู้จักจะปรับเปลี่ยนให้ดีกว่า ให้เหมาะมากกว่าและประยุกต์จนเป็นวิธีของตนเอง
นั่นก็เปรียบศิลปินต่างๆที่มองหาลอกเลียนสิ่งดีหลายๆสิ่งมาประกอบให้ออกมาเป็นผลงานศิลปะชั้นดี แต่ศิลปินเอกนำสิ่งที่ดีที่เห็นเหล่านั้นมาทำให้ดีกว่าประยุกต์ราวกับว่าสิ่งๆนั้นเกิดจากตัวตนของศิลปินเอกเองไม่ใช่สิ่งดีๆทั่วไปอย่างที่เคยเป็น นั่นก็เลยกลายเป็นผลงานชิ้นเอกที่ไม่เคยมีมาก่อน
อ้างข้อที่สองต่อ Hero เป็นคำที่เท่ห์มากๆ และก็พอจะเดาได้ว่าทุกคนคงมี Hero ในดวงใจอยู่บ้าง และก็เดาต่อไปว่า เรามักจะอยากทำตามในสิ่งที่ Hero ของเราทำ ซึ่งเราคงอยากเรียนรู้ และรู้จัก Hero ของเราอยู่แล้ว นั่นอาจจะออกทาง การอยากลอกเลียนในท่าทาง การพูดจา และการกระทำ ของสิ่งที่ Hero ในใจของเราทำ แต่หลายๆครั้ง การกระทำของเราที่ตั้งใจจะทำให้คล้าย Hero ของเรากลับไม่สำเร็จเหมือนเวลาที่ Hero ในใจของเราทำ และนั่นอาจเป็นเพราะเราไม่เข้าใจใน สิ่งที่ Hero เราคิด และนั่นจะทำขาด เราจึงไม่สามารถทำเหมือนได้
ซึ่ง 2 ประโยคจึงน่าจะเป็นประโยคที่แนวทางได้
ซึ่งถ้าดูคนโดยธรรมชาติ แล้วนั้น สิ่งที่เกิดกับเรา คำว่า โง่ จะมาก่อนคำว่าฉลาดเสมอ นั่นแปลว่าเราเริ่มจากไม่รู้จึงเรียนรู้
และก็ยังไม่เคยเห็นใครฉลาดมาตั้งแต่เกิด
และเวลาที่เราจะเริ่มทำสิ่งใด ทั้งสำคัญมาก หรือสำคัญน้อย แต่นั่นก็เริ่มจากไม่รู้ หรือยังไม่เข้าใจดีพอ ซึ่งเวลาแบบนี้เอง หลายๆครั้งทำให้สัญชาตญาณของคนเกิดขึ้นได้ง่ายในด้านความรู้สึกและอารมณ์ จริงป่ะ ทั้งความกลัวมากเกินไป ความกล้ามากเกินไป ความละเลยมากเกินไป ความเครียดมากเกินไป และอีกหลายๆอย่างเกินไป ซึ่งมันเกิดขึ้นเอง และเราทำๆไปแบบรู้บ้างไม่รู้บ้าง ซึ่งจะนำมาซึ่ง สำเร็จบ้างไม่สำเร็จบ้างแล้วแต่สถานการณ์
นี่จะเป็นเหตุการณ์ที่ เราเป็น ในช่วงเวลาที่เราเริ่มทำ และเริ่มเรียนรู้
และต่อมา เคยรู้สึกมั้ยครับ เวลาเรากำลังปวดหัว กลัว หาทางออกไม่เจอ แต่เรารู้ว่าเรามีคนที่สามารถช่วยเราได้จริงๆอยู่ เราก็รู้สึกสบายใจขึ้นอย่างมากและรวดเร็ว จนใช้คำว่า โล่งอก คนๆนั้นคงเหมาะกับคำว่า Hero ในสถานการณ์นั้นๆ
ใช่ครับ เราสามารถเลือก Hero ได้หลายๆคน ในแต่ละด้าน และควรเป็น Hero ที่ดีที่ทำอะไรได้สำเร็จด้วยความถูกต้องทั้งต่อกฎหมายและศีลธรรม (จงจำไว้ว่า ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน)
การพัฒนาความคิดแบบก้าวกระโดด ที่หมายถึงคือ การคิดตาม Hero ของเรา เมื่อคิดตามได้ ก็ลอกเลียน เมื่อลอกเลียนได้ก็ประยุกต์ให้เหมาะกับตัวเรา
การคิดตามไม่ใช่เพียงการดูวิธีทำ แต่ต้องรู้ว่า Hero คิดอย่างไรจึงทำออกมาเป็นวิธีนั้น
เอาเป็นว่าเริ่มจากสิ่งเรามักจะเป็น เวลาที่เราจะเริ่มทำสิ่งใด ทั้งสำคัญมาก หรือสำคัญน้อย แต่นั่นก็เริ่มจากไม่รู้ หรือยังไม่เข้าใจดีพอ ซึ่งเวลาแบบนี้เอง หลายๆครั้งทำให้สัญชาตญาณของคนเกิดขึ้นได้ง่ายในด้านความรู้สึกและอารมณ์ จริงป่ะ ทั้งความกลัวมากเกินไป ความกล้ามากเกินไป ความละเลยมากเกินไป ความเครียดมากเกินไป และอีกหลายๆอย่างเกินไป ซึ่งมันเกิดขึ้นเอง เวลาเรากำลังปวดหัว กลัว หาทางออกไม่เจอ แต่เรารู้ว่าเรามีคนที่สามารถช่วยเราได้จริงๆอยู่ เราก็รู้สึกสบายใจขึ้นอย่างมากและรวดเร็ว จนใช้คำว่า โล่งอก คนๆนั้นคงเหมาะกับคำว่า Hero ในสถานการณ์นั้นๆ
แต่ความจริงก็คือ เราไม่สามารถเรียก Hero ของเราได้ทุกเวลาเหมือนในหนัง superman แล้วทำไงดีล่ะ
ทำไมไม่เอา Hero มาไว้ในตัวเราเลยละ ยังไงนะเหรอ
เมื่อเราเจอเหตุการณ์ สิ่งที่เรามักจะเป็น เราก็เลือก Hero ในดวงใจในด้านนั้นขึ้นมา บอกได้เลย มันจะโล่งใจขึ้นบ้าง เมื่อคำว่า Hero เกิดในใจของเรา และเริ่มคิดตาม Hero ในสถานการณ์นั้นๆ ว่า
ถ้า Hero ของเราเจอสถานการณ์แบบนี้จะแก้ไขอย่างไร
นั่นจะทำให้ความคิดของเรามีเหตุมีผลขึ้นมาก และลดอารมณ์ความเกินไปต่างๆได้ไม่มากก็น้อย ทำไมจะไม่ลดล่ะ ในเมื่อเราพยายามคิดว่า Hero คนที่พร้อมทุกอย่างในเหตุการณ์แบบนี้จะแก้ไขยังไงมาอยู่เคียงข้างกับเรา และเมื่อเรามีเหตุผลมากขึ้น การแก้สถานการณ์ก็ย่อมจะดีขึ้นด้วย อาจจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่ทำได้ แต่ความจริงก็คือ การผ่านสถานการณ์นั้น Hero ไม่ได้มาช่วยเราจริงหรอก แต่คิดได้ด้วยความคิดที่ดีที่สุดที่เรามี ปราศจากสิ่งเกินไปหลายๆอย่าง และมีความพร้อมเทียบเท่า Hero ของเราเพื่อการเผชิญ
สถานการณ์ ที่เรามีเหตุผลและพยายามคิดตามสิ่งที่เหมาะที่สุด น่าจะพัฒนาความคิดของเราได้ดี คิดได้เร็ว
นั่นเป็นจุดเริ่มเพื่อคิดตาม เมื่อคิดตามได้ ก็ลอกเลียน เมื่อลอกเลียนได้ก็ประยุกต์ให้เหมาะกับตัวเรา
แต่ทุกอย่างมีได้ย่อมมีเสีย แต่ถ้ารู้ข้อเสียก็ทำให้ไม่เสียได้ การลอกเลียนนั้นเป็นการดู และเลียนแบบ ซึ่งการเลียนแบบนั้นจะอยู่ในตัวเรา เมื่อเลียนแบบมากเกินไป การสูญเสียความเป็นตัวเองจึงเกิดขึ้นได้
วิธีแก้ง่ายๆคือ ต้องรู้จักตัวเอง
รู้จักที่จะเลียนแบบและทำให้เป็นของเรา ไม่ใช่ให้ตัวเราถูกที่เลียนแบบครอบงำ
และในตลาดหุ้น คงพอจะหา Hero ไม่ยากนัก
แต่วิธีนี้ ยังใช้ต่อได้อีก
นั่นคือ การทำความเข้าใจธุรกิจ ในด้านความเป็นจริง
ซึ่งบอกได้เลยในตลาดหุ้นนั้นมีบริษัทต่างๆอยู่มากมาย และทำธุรกิจที่แตกต่างกัน และถ้าเราต้องการเข้าใจธุรกิจเหล่านั้นทั้งหมด คงไม่ใช่เรื่องง่าย และเราคงไม่สามารถไปเปิดกิจการแบบนั้นทั้งหมด เพื่อให้เรียนรู้เข้าใจกิจการเหล่านั้นได้
นั่นคือการคิดตาม แต่เปลี่ยน จาก คิดตาม Hero เป็น คิดตามธุรกิจ
ซึ่งอาจจะคล้ายตามหนังสือหลายๆเล่มเรื่องหุ้นที่ว่า ให้สมมุติตัวเราเป็นเจ้าของธุรกิจ
การคิดตามธุรกิจ ไม่ใช่เรื่องง่ายเช่นกัน ตัวเราจะต้องพร้อมด้วยความเข้าใจ
การคิดตามธุรกิจ จะต้องเข้าใจคำว่าธุรกิจก่อน จริงมั้ย
ถ้าเคยเรียนกัน คำว่าธุรกิจ จะประกอบด้วย เจ้าของหรือผู้ขาย ลูกค้าหรือผู้ซื้อ สินค้า demand และ supply รวมถึงวิธีทางการตลาดอีกมากมาย
สิ่งเหล่านี้ถ้าเราคิดตามบริษัท หรือความเป็นเจ้าของธุรกิจ นั่นแปลว่า เราจะต้องคิดตามองค์ประกอบย่อยด้วย
นั่นคือ เจ้าของหรือผู้ขาย เป็นใคร เก่งอย่างไร สถานะต่างๆเป็นอย่างไรทรัพย์สิน หนี้สิน ขายสินค้าหรือบริการอะไร
ผู้ซื้อ หรือลูกค้า คือใคร สถานะเป็นอย่างไร ซื้อเงินสด หรือ เครดิต
Demand และ supply เป็นอย่างไร และความต้องการนั้นยั่งยืนหรือไม่ ผันแปรตามสิ่งใด
และถ้าเราเข้าใจสิ่งเหล่านี้ได้ เราก็จะสามารถคิดตามความเป็นเจ้าของธุรกิจได้ง่ายขึ้น
เราก็จะตัดสินใจได้ดีขึ้น ว่าถ้าสมมุติเราเป็นเจ้าของกิจการนี้
เราดำเนินธุรกิจอย่างไร และอาจจะเจอปัญหาอะไรได้บ้าง ปัญหาเหล่านั้นจะแก้ไขอย่างไร
ถ้าคิดตามแล้วรู้ได้ว่ากิจการนี้เป็นกิจการที่ดีหรือ ดีเยี่ยม เราก็คงพร้อมที่จะถือหุ้นหรือเป็นส่วนหนึ่งในเจ้าของกิจการไปอีกนานแสนนาน
ปล. วิธีคิดนี้เป็นวิธีที่ได้เรียนรู้จากคนๆหนึ่ง ซึ่งดูว่ามีสไตล์ดี แต่การนำไปใช้อาจจะไม่ง่ายเท่าไหร่ ต้องเข้าใจเยอะจัง 555
พูดไปงั้นๆแหละ
แต่สิ่งที่อยากกล่าวถึงคือ การพัฒนาของความคิดของเรา
คงเป็นความจริงที่ว่า คนที่ประสบความสำเร็จที่ยั่งยืนได้มักมีความคิดที่แตกต่างจากคนที่ล้มเหลวที่ยั่งยืน
คงอ้างถึงความสำเร็จหรือล้มเหลวเพียงชั่วครู่ไม่ได้เพราะสิ่งนี้เป็นสิ่งที่คอยมอบโอกาสแก่ผู้คนเพื่อทำสิ่งต่างๆต่อไปในชีวิต
แต่ถ้าเราดูความสำเร็จหรือล้มเหลวที่ยั่งยืนนั้นจากแค่เพียงทรัพย์สินเงินทองบอกได้เลยว่าคุณเข้าใจผิด เพราะความจริงสิ่งนั้นต้องวัดจากตัวเราโดยตัวเรา ไม่ใช่วัดจากสิ่งที่สังคมเชื่อว่านั่นคือความสำเร็จเพราะมันอาจเป็นแค่เพียงส่วนหนึ่งของความสำเร็จเท่านั้น
เอาเป็นว่าตอนนี้จะพูดถึง การพัฒนาความคิดแบบก้าวกระโดด ซึ่งเป็นสิ่งคิดว่าน่าจะพอใช้ได้ เมื่อเวลาที่เราไม่เข้าใจว่ากำลังทำอะไรอยู่ จะทำอย่างไร และทำเพื่ออะไรกันแน่ และผลจะเป็นอย่างไร
ซึ่งประโยคที่ทุกคนอาจจะเคยได้ยินนั่นคือ 1. ศิลปินลอกเลียน แต่ศิลปินเอกขโมย 2. คุณควรมี hero ในดวงใจที่ดีสักคน
อ้างถึงข้อแรกก่อน ทุกๆอย่างที่อยู่รอบตัวเราโดยทั่วไปแล้วมักจะเป็นสิ่งที่ทำตามๆกันมาตามแต่ละยุคสมัย จริงป่ะ และบุคคลที่คิดเป็นและคิดได้ว่าสิ่งใดดีไม่ดี สิ่งใดเหมาะไม่เหมาะ และเมื่อได้มองสิ่งที่ผู้อื่นทำกันก็รู้จักที่จะเลือกสิ่งที่ดีสิ่งที่เหมาะกับตัวเอง นั่นจะทำให้คนกลุ่มได้ทำสิ่งที่ดีและเหมาะซึ่งจะง่ายต่อความสำเร็จในชีวิตในระดับหนึ่ง แต่ก็มีอีกกลุ่มบุคคลที่รู้ว่าสิ่งใดดีและเหมาะ แต่พร้อมด้วยการทำความเข้าใจในสิ่งนั้นอย่างดีว่าสิ่งนั้นเกิดจากอะไรผลจะเป็นอย่างไร และเมื่อเข้าใจได้อย่างลึกซึ้งก็รู้จักจะปรับเปลี่ยนให้ดีกว่า ให้เหมาะมากกว่าและประยุกต์จนเป็นวิธีของตนเอง
นั่นก็เปรียบศิลปินต่างๆที่มองหาลอกเลียนสิ่งดีหลายๆสิ่งมาประกอบให้ออกมาเป็นผลงานศิลปะชั้นดี แต่ศิลปินเอกนำสิ่งที่ดีที่เห็นเหล่านั้นมาทำให้ดีกว่าประยุกต์ราวกับว่าสิ่งๆนั้นเกิดจากตัวตนของศิลปินเอกเองไม่ใช่สิ่งดีๆทั่วไปอย่างที่เคยเป็น นั่นก็เลยกลายเป็นผลงานชิ้นเอกที่ไม่เคยมีมาก่อน
อ้างข้อที่สองต่อ Hero เป็นคำที่เท่ห์มากๆ และก็พอจะเดาได้ว่าทุกคนคงมี Hero ในดวงใจอยู่บ้าง และก็เดาต่อไปว่า เรามักจะอยากทำตามในสิ่งที่ Hero ของเราทำ ซึ่งเราคงอยากเรียนรู้ และรู้จัก Hero ของเราอยู่แล้ว นั่นอาจจะออกทาง การอยากลอกเลียนในท่าทาง การพูดจา และการกระทำ ของสิ่งที่ Hero ในใจของเราทำ แต่หลายๆครั้ง การกระทำของเราที่ตั้งใจจะทำให้คล้าย Hero ของเรากลับไม่สำเร็จเหมือนเวลาที่ Hero ในใจของเราทำ และนั่นอาจเป็นเพราะเราไม่เข้าใจใน สิ่งที่ Hero เราคิด และนั่นจะทำขาด เราจึงไม่สามารถทำเหมือนได้
ซึ่ง 2 ประโยคจึงน่าจะเป็นประโยคที่แนวทางได้
ซึ่งถ้าดูคนโดยธรรมชาติ แล้วนั้น สิ่งที่เกิดกับเรา คำว่า โง่ จะมาก่อนคำว่าฉลาดเสมอ นั่นแปลว่าเราเริ่มจากไม่รู้จึงเรียนรู้
และก็ยังไม่เคยเห็นใครฉลาดมาตั้งแต่เกิด
และเวลาที่เราจะเริ่มทำสิ่งใด ทั้งสำคัญมาก หรือสำคัญน้อย แต่นั่นก็เริ่มจากไม่รู้ หรือยังไม่เข้าใจดีพอ ซึ่งเวลาแบบนี้เอง หลายๆครั้งทำให้สัญชาตญาณของคนเกิดขึ้นได้ง่ายในด้านความรู้สึกและอารมณ์ จริงป่ะ ทั้งความกลัวมากเกินไป ความกล้ามากเกินไป ความละเลยมากเกินไป ความเครียดมากเกินไป และอีกหลายๆอย่างเกินไป ซึ่งมันเกิดขึ้นเอง และเราทำๆไปแบบรู้บ้างไม่รู้บ้าง ซึ่งจะนำมาซึ่ง สำเร็จบ้างไม่สำเร็จบ้างแล้วแต่สถานการณ์
นี่จะเป็นเหตุการณ์ที่ เราเป็น ในช่วงเวลาที่เราเริ่มทำ และเริ่มเรียนรู้
และต่อมา เคยรู้สึกมั้ยครับ เวลาเรากำลังปวดหัว กลัว หาทางออกไม่เจอ แต่เรารู้ว่าเรามีคนที่สามารถช่วยเราได้จริงๆอยู่ เราก็รู้สึกสบายใจขึ้นอย่างมากและรวดเร็ว จนใช้คำว่า โล่งอก คนๆนั้นคงเหมาะกับคำว่า Hero ในสถานการณ์นั้นๆ
ใช่ครับ เราสามารถเลือก Hero ได้หลายๆคน ในแต่ละด้าน และควรเป็น Hero ที่ดีที่ทำอะไรได้สำเร็จด้วยความถูกต้องทั้งต่อกฎหมายและศีลธรรม (จงจำไว้ว่า ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน)
การพัฒนาความคิดแบบก้าวกระโดด ที่หมายถึงคือ การคิดตาม Hero ของเรา เมื่อคิดตามได้ ก็ลอกเลียน เมื่อลอกเลียนได้ก็ประยุกต์ให้เหมาะกับตัวเรา
การคิดตามไม่ใช่เพียงการดูวิธีทำ แต่ต้องรู้ว่า Hero คิดอย่างไรจึงทำออกมาเป็นวิธีนั้น
เอาเป็นว่าเริ่มจากสิ่งเรามักจะเป็น เวลาที่เราจะเริ่มทำสิ่งใด ทั้งสำคัญมาก หรือสำคัญน้อย แต่นั่นก็เริ่มจากไม่รู้ หรือยังไม่เข้าใจดีพอ ซึ่งเวลาแบบนี้เอง หลายๆครั้งทำให้สัญชาตญาณของคนเกิดขึ้นได้ง่ายในด้านความรู้สึกและอารมณ์ จริงป่ะ ทั้งความกลัวมากเกินไป ความกล้ามากเกินไป ความละเลยมากเกินไป ความเครียดมากเกินไป และอีกหลายๆอย่างเกินไป ซึ่งมันเกิดขึ้นเอง เวลาเรากำลังปวดหัว กลัว หาทางออกไม่เจอ แต่เรารู้ว่าเรามีคนที่สามารถช่วยเราได้จริงๆอยู่ เราก็รู้สึกสบายใจขึ้นอย่างมากและรวดเร็ว จนใช้คำว่า โล่งอก คนๆนั้นคงเหมาะกับคำว่า Hero ในสถานการณ์นั้นๆ
แต่ความจริงก็คือ เราไม่สามารถเรียก Hero ของเราได้ทุกเวลาเหมือนในหนัง superman แล้วทำไงดีล่ะ
ทำไมไม่เอา Hero มาไว้ในตัวเราเลยละ ยังไงนะเหรอ
เมื่อเราเจอเหตุการณ์ สิ่งที่เรามักจะเป็น เราก็เลือก Hero ในดวงใจในด้านนั้นขึ้นมา บอกได้เลย มันจะโล่งใจขึ้นบ้าง เมื่อคำว่า Hero เกิดในใจของเรา และเริ่มคิดตาม Hero ในสถานการณ์นั้นๆ ว่า
ถ้า Hero ของเราเจอสถานการณ์แบบนี้จะแก้ไขอย่างไร
นั่นจะทำให้ความคิดของเรามีเหตุมีผลขึ้นมาก และลดอารมณ์ความเกินไปต่างๆได้ไม่มากก็น้อย ทำไมจะไม่ลดล่ะ ในเมื่อเราพยายามคิดว่า Hero คนที่พร้อมทุกอย่างในเหตุการณ์แบบนี้จะแก้ไขยังไงมาอยู่เคียงข้างกับเรา และเมื่อเรามีเหตุผลมากขึ้น การแก้สถานการณ์ก็ย่อมจะดีขึ้นด้วย อาจจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่ทำได้ แต่ความจริงก็คือ การผ่านสถานการณ์นั้น Hero ไม่ได้มาช่วยเราจริงหรอก แต่คิดได้ด้วยความคิดที่ดีที่สุดที่เรามี ปราศจากสิ่งเกินไปหลายๆอย่าง และมีความพร้อมเทียบเท่า Hero ของเราเพื่อการเผชิญ
สถานการณ์ ที่เรามีเหตุผลและพยายามคิดตามสิ่งที่เหมาะที่สุด น่าจะพัฒนาความคิดของเราได้ดี คิดได้เร็ว
นั่นเป็นจุดเริ่มเพื่อคิดตาม เมื่อคิดตามได้ ก็ลอกเลียน เมื่อลอกเลียนได้ก็ประยุกต์ให้เหมาะกับตัวเรา
แต่ทุกอย่างมีได้ย่อมมีเสีย แต่ถ้ารู้ข้อเสียก็ทำให้ไม่เสียได้ การลอกเลียนนั้นเป็นการดู และเลียนแบบ ซึ่งการเลียนแบบนั้นจะอยู่ในตัวเรา เมื่อเลียนแบบมากเกินไป การสูญเสียความเป็นตัวเองจึงเกิดขึ้นได้
วิธีแก้ง่ายๆคือ ต้องรู้จักตัวเอง
รู้จักที่จะเลียนแบบและทำให้เป็นของเรา ไม่ใช่ให้ตัวเราถูกที่เลียนแบบครอบงำ
และในตลาดหุ้น คงพอจะหา Hero ไม่ยากนัก
แต่วิธีนี้ ยังใช้ต่อได้อีก
นั่นคือ การทำความเข้าใจธุรกิจ ในด้านความเป็นจริง
ซึ่งบอกได้เลยในตลาดหุ้นนั้นมีบริษัทต่างๆอยู่มากมาย และทำธุรกิจที่แตกต่างกัน และถ้าเราต้องการเข้าใจธุรกิจเหล่านั้นทั้งหมด คงไม่ใช่เรื่องง่าย และเราคงไม่สามารถไปเปิดกิจการแบบนั้นทั้งหมด เพื่อให้เรียนรู้เข้าใจกิจการเหล่านั้นได้
นั่นคือการคิดตาม แต่เปลี่ยน จาก คิดตาม Hero เป็น คิดตามธุรกิจ
ซึ่งอาจจะคล้ายตามหนังสือหลายๆเล่มเรื่องหุ้นที่ว่า ให้สมมุติตัวเราเป็นเจ้าของธุรกิจ
การคิดตามธุรกิจ ไม่ใช่เรื่องง่ายเช่นกัน ตัวเราจะต้องพร้อมด้วยความเข้าใจ
การคิดตามธุรกิจ จะต้องเข้าใจคำว่าธุรกิจก่อน จริงมั้ย
ถ้าเคยเรียนกัน คำว่าธุรกิจ จะประกอบด้วย เจ้าของหรือผู้ขาย ลูกค้าหรือผู้ซื้อ สินค้า demand และ supply รวมถึงวิธีทางการตลาดอีกมากมาย
สิ่งเหล่านี้ถ้าเราคิดตามบริษัท หรือความเป็นเจ้าของธุรกิจ นั่นแปลว่า เราจะต้องคิดตามองค์ประกอบย่อยด้วย
นั่นคือ เจ้าของหรือผู้ขาย เป็นใคร เก่งอย่างไร สถานะต่างๆเป็นอย่างไรทรัพย์สิน หนี้สิน ขายสินค้าหรือบริการอะไร
ผู้ซื้อ หรือลูกค้า คือใคร สถานะเป็นอย่างไร ซื้อเงินสด หรือ เครดิต
Demand และ supply เป็นอย่างไร และความต้องการนั้นยั่งยืนหรือไม่ ผันแปรตามสิ่งใด
และถ้าเราเข้าใจสิ่งเหล่านี้ได้ เราก็จะสามารถคิดตามความเป็นเจ้าของธุรกิจได้ง่ายขึ้น
เราก็จะตัดสินใจได้ดีขึ้น ว่าถ้าสมมุติเราเป็นเจ้าของกิจการนี้
เราดำเนินธุรกิจอย่างไร และอาจจะเจอปัญหาอะไรได้บ้าง ปัญหาเหล่านั้นจะแก้ไขอย่างไร
ถ้าคิดตามแล้วรู้ได้ว่ากิจการนี้เป็นกิจการที่ดีหรือ ดีเยี่ยม เราก็คงพร้อมที่จะถือหุ้นหรือเป็นส่วนหนึ่งในเจ้าของกิจการไปอีกนานแสนนาน
ปล. วิธีคิดนี้เป็นวิธีที่ได้เรียนรู้จากคนๆหนึ่ง ซึ่งดูว่ามีสไตล์ดี แต่การนำไปใช้อาจจะไม่ง่ายเท่าไหร่ ต้องเข้าใจเยอะจัง 555