นักวิชาการแนะรัฐเพิ่มขาดดุลงบประมาณเป็น 5-6 แสนลบ. ดันจีดีพี
โพสต์แล้ว: อังคาร ธ.ค. 23, 2008 2:39 pm
นักวิชาการแนะรัฐเพิ่มขาดดุลงบประมาณเป็น 5-6 แสนลบ. ดันจีดีพีปี 52 โต 3%
กรุงเทพฯ--23 ธ.ค.--รอยเตอร์
นักวิชาการ แนะรัฐบาลใช้แผนกระตุ้นเศรษฐกิจเร่งด่วน โดยการเพิ่มขาดดุล
งบประมาณปี 52 เป็นราว 5-6 แสนล้านบาท จากเดิมขาดดุล 3.5 แสนล้านบาท พร้อม
อัดฉีดเงินผ่านโครงการเมกะโปรเจคท์ รวมถึงเร่งกระตุ้นการบริโภคและการลงทุน เพื่อ
ให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ปี 52 ขยายตัว 3%
นายเอกชัย นิตยาเกษตรวัฒน์ คณบดี NIDA Business School กล่าวในงาน
เสวนาเรื่อง "การจัดการวิกฤตของ SMEs ภายใต้นโยบายรัฐบาลใหม่:มุมมองของ CFOs"
ว่า จากการประเมินทิศทางเศรษฐกิจปี 52 คาดว่าจีดีพีมีโอกาสติดลบได้ถึง 0.4% ซึ่งเป็น
กรณีเลวร้ายที่สุด คือ รัฐบาลไม่สามารถแก้ปัญหาการเมืองได้ จนส่งผลต่อภาพรวมเศรษฐกิจ
อย่างไรก็ตาม หากรัฐบาลใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยกำหนดให้ขาดดุล
งบประมาณเพิ่มเป็น 5-6 แสนล้านบาท จากปัจจุบันที่กำหนดการขาดดุลงบประมาณไว้ที่
3.5 แสนล้านบาท ก็จะช่วยให้จีดีพีเติบโตได้ถึง 2%
แต่ในกรณีที่จะผลักดันให้จีดีพีเติบโตได้ถึง 3% รัฐบาลจะต้องอัดฉีดเม็ดเงินเข้า
สู่โครงการเมกะโปรเจกท์ โดยเริ่มจากโครงการรถไฟฟ้า 2 สาย รวมถึงสนับสนุนด้านการ
บริโภคและลงทุนของเอกชนให้มากขึ้น ซึ่งหากเพิ่มได้ถึง 7% จะช่วยให้อัตราเศรษฐกิจ
โดยรวมเติบโตดีขึ้น
นอกจากนี้ ยังเสนอให้รัฐบาล ปรับลดภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ลงให้เหลือ 3%
จากปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 7% ซึ่งแม้การดำเนินการดังกล่าว จะไม่ได้ทำให้ราคาสินค้าลดลง
ได้มาก เพราะขณะนี้ต้นทุนราคาสินค้ายังคงอยู่ในระดับสูง
และกำลังซื้อของผู้บริโภคไม่สูงนัก
แต่มาตรการนี้ก็เป็นปัจจัยบวกต่อจิตวิทยาผู้บริโภคภายในประเทศ
"ถ้าหากว่า รัฐบาลเร่งเครื่องเศรษฐกิจ ซึ่งวิธีหนึ่งคือ การกระตุ้นการบริโภค
และลงทุน ให้เติบโต 7% รวมถึงอัดฉีดงบเข้าไปในโครงการเมกะโปรเจคท์ ก็จะช่วยให้
เศรษฐกิจโตถึง 3% ได้"นายเอกชัย กล่าว
ตามร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 52 มีวงเงิน 1.835 ล้านล้านบาท
ซึ่งเป็นงบประมาณขาดดุล 2.495 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 2.4% ของจีดีพี ขณะที่เมื่อ
ต้นเดือนพ.ย. คณะรัฐมนตรี(ครม.) ชุดก่อน ได้อนุมัติให้เพิ่มการขาดดุลงบประมาณปี 52
อีก 1 แสนล้านบาท เพื่อช่วยกระตุ้นให้เศรษฐกิจ
ขณะที่เมื่อคืนนี้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวผ่านรายการ
โทรทัศน์ว่า ต้นปีหน้ารัฐบาลจะเร่งผลักดันการพิจารณางบประมาณกลางปี เพื่อกระตุ้น
เศรษฐกิจ พร้อมแก้ปัญหาราคาพืชผลการเกษตรตกต่ำ โดยคาดว่าจะใช้งบทั้งสองส่วนเกือบ
2 แสนล้านบาท
ส่วนนายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง กล่าวเมื่อเช้านี้ว่า ในปีงบประมาณ 52
รัฐบาลยืนยันจะจัดทำขาดดุลงบประมาณเพิ่มเติม ไม่ต่ำกว่า 1 แสนล้านบาท จากเดิมตั้ง
งบขาดดุลไว้แล้ว 2.49 แสนล้านบาท และจะไม่ใช้การขาดดุลเพิ่มเติม จนกระทั่งเต็ม
เพดานที่ 1.8 แสนล้านบาท
นายเอกชัย ยังกล่าวถึงอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยว่า ยังมีโอกาสที่จะลดลง
อีก จากปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 2.75% โดยประเมินว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบาย
การเงิน (กนง.) ครั้งต่อไป มีโอกาสที่กนง.จะลดดอกเบี้ยลงอีก 0.5-1.0%
กนง.จะมีการประชุมครั้งต่อไปในวันที่ 14 ม.ค.52
เขา กล่าวอีกว่า ในปีหน้า ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ยังมี
แนวโน้มที่จะเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ยาก เนื่องจากธนาคารขนาดใหญ่มีทิศทางที่จะลดเป้า
การปล่อยสินเชื่อเหลือ 5% เท่านั้น
ทั้งนี้ ผลจากการลดเป้าสินเชื่อ จะส่งผลให้ธุรกิจเอสเอ็มอีกว่า 7 แสนรายใน
ไทย ซึ่งมีความต้องการเม็ดเงินสำหรับใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน หรือปรับปรุงกำลังการผลิต
ในปีหน้า มูลค่ารวมกว่า 6 ล้านล้านบาท มีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้เพียง 1 ใน 3
หรือประมาณ 2 ล้านล้านบาทเท่านั้น
ส่วนธุรกิจเอสเอ็มอีที่เหลือ อาจต้องปิดกิจการไปในที่สุด ซึ่งรัฐบาลควรเร่งรับ
มือต่อสถานการณ์ดังกล่าว โดยแนวทางหนึ่ง คือ รัฐบาลต้องเข้าไปช่วยแบ่งภาระการค้ำ
ประกันเงินกู้ให้แก่เอสเอ็มอี เพื่อให้ธนาคารมั่นใจในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น
กรุงเทพฯ--23 ธ.ค.--รอยเตอร์
นักวิชาการ แนะรัฐบาลใช้แผนกระตุ้นเศรษฐกิจเร่งด่วน โดยการเพิ่มขาดดุล
งบประมาณปี 52 เป็นราว 5-6 แสนล้านบาท จากเดิมขาดดุล 3.5 แสนล้านบาท พร้อม
อัดฉีดเงินผ่านโครงการเมกะโปรเจคท์ รวมถึงเร่งกระตุ้นการบริโภคและการลงทุน เพื่อ
ให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ปี 52 ขยายตัว 3%
นายเอกชัย นิตยาเกษตรวัฒน์ คณบดี NIDA Business School กล่าวในงาน
เสวนาเรื่อง "การจัดการวิกฤตของ SMEs ภายใต้นโยบายรัฐบาลใหม่:มุมมองของ CFOs"
ว่า จากการประเมินทิศทางเศรษฐกิจปี 52 คาดว่าจีดีพีมีโอกาสติดลบได้ถึง 0.4% ซึ่งเป็น
กรณีเลวร้ายที่สุด คือ รัฐบาลไม่สามารถแก้ปัญหาการเมืองได้ จนส่งผลต่อภาพรวมเศรษฐกิจ
อย่างไรก็ตาม หากรัฐบาลใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยกำหนดให้ขาดดุล
งบประมาณเพิ่มเป็น 5-6 แสนล้านบาท จากปัจจุบันที่กำหนดการขาดดุลงบประมาณไว้ที่
3.5 แสนล้านบาท ก็จะช่วยให้จีดีพีเติบโตได้ถึง 2%
แต่ในกรณีที่จะผลักดันให้จีดีพีเติบโตได้ถึง 3% รัฐบาลจะต้องอัดฉีดเม็ดเงินเข้า
สู่โครงการเมกะโปรเจกท์ โดยเริ่มจากโครงการรถไฟฟ้า 2 สาย รวมถึงสนับสนุนด้านการ
บริโภคและลงทุนของเอกชนให้มากขึ้น ซึ่งหากเพิ่มได้ถึง 7% จะช่วยให้อัตราเศรษฐกิจ
โดยรวมเติบโตดีขึ้น
นอกจากนี้ ยังเสนอให้รัฐบาล ปรับลดภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ลงให้เหลือ 3%
จากปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 7% ซึ่งแม้การดำเนินการดังกล่าว จะไม่ได้ทำให้ราคาสินค้าลดลง
ได้มาก เพราะขณะนี้ต้นทุนราคาสินค้ายังคงอยู่ในระดับสูง
และกำลังซื้อของผู้บริโภคไม่สูงนัก
แต่มาตรการนี้ก็เป็นปัจจัยบวกต่อจิตวิทยาผู้บริโภคภายในประเทศ
"ถ้าหากว่า รัฐบาลเร่งเครื่องเศรษฐกิจ ซึ่งวิธีหนึ่งคือ การกระตุ้นการบริโภค
และลงทุน ให้เติบโต 7% รวมถึงอัดฉีดงบเข้าไปในโครงการเมกะโปรเจคท์ ก็จะช่วยให้
เศรษฐกิจโตถึง 3% ได้"นายเอกชัย กล่าว
ตามร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 52 มีวงเงิน 1.835 ล้านล้านบาท
ซึ่งเป็นงบประมาณขาดดุล 2.495 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 2.4% ของจีดีพี ขณะที่เมื่อ
ต้นเดือนพ.ย. คณะรัฐมนตรี(ครม.) ชุดก่อน ได้อนุมัติให้เพิ่มการขาดดุลงบประมาณปี 52
อีก 1 แสนล้านบาท เพื่อช่วยกระตุ้นให้เศรษฐกิจ
ขณะที่เมื่อคืนนี้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวผ่านรายการ
โทรทัศน์ว่า ต้นปีหน้ารัฐบาลจะเร่งผลักดันการพิจารณางบประมาณกลางปี เพื่อกระตุ้น
เศรษฐกิจ พร้อมแก้ปัญหาราคาพืชผลการเกษตรตกต่ำ โดยคาดว่าจะใช้งบทั้งสองส่วนเกือบ
2 แสนล้านบาท
ส่วนนายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง กล่าวเมื่อเช้านี้ว่า ในปีงบประมาณ 52
รัฐบาลยืนยันจะจัดทำขาดดุลงบประมาณเพิ่มเติม ไม่ต่ำกว่า 1 แสนล้านบาท จากเดิมตั้ง
งบขาดดุลไว้แล้ว 2.49 แสนล้านบาท และจะไม่ใช้การขาดดุลเพิ่มเติม จนกระทั่งเต็ม
เพดานที่ 1.8 แสนล้านบาท
นายเอกชัย ยังกล่าวถึงอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยว่า ยังมีโอกาสที่จะลดลง
อีก จากปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 2.75% โดยประเมินว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบาย
การเงิน (กนง.) ครั้งต่อไป มีโอกาสที่กนง.จะลดดอกเบี้ยลงอีก 0.5-1.0%
กนง.จะมีการประชุมครั้งต่อไปในวันที่ 14 ม.ค.52
เขา กล่าวอีกว่า ในปีหน้า ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ยังมี
แนวโน้มที่จะเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ยาก เนื่องจากธนาคารขนาดใหญ่มีทิศทางที่จะลดเป้า
การปล่อยสินเชื่อเหลือ 5% เท่านั้น
ทั้งนี้ ผลจากการลดเป้าสินเชื่อ จะส่งผลให้ธุรกิจเอสเอ็มอีกว่า 7 แสนรายใน
ไทย ซึ่งมีความต้องการเม็ดเงินสำหรับใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน หรือปรับปรุงกำลังการผลิต
ในปีหน้า มูลค่ารวมกว่า 6 ล้านล้านบาท มีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้เพียง 1 ใน 3
หรือประมาณ 2 ล้านล้านบาทเท่านั้น
ส่วนธุรกิจเอสเอ็มอีที่เหลือ อาจต้องปิดกิจการไปในที่สุด ซึ่งรัฐบาลควรเร่งรับ
มือต่อสถานการณ์ดังกล่าว โดยแนวทางหนึ่ง คือ รัฐบาลต้องเข้าไปช่วยแบ่งภาระการค้ำ
ประกันเงินกู้ให้แก่เอสเอ็มอี เพื่อให้ธนาคารมั่นใจในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น