หน้า 1 จากทั้งหมด 1
ยื่นภาษีปีนี้มีประเด็นอะไรใหม่ๆบ้างครับ..
โพสต์แล้ว: จันทร์ ธ.ค. 29, 2008 4:03 pm
โดย ลูกอิสาน
อันแรกเลยคือ..
*หักลดหย่อนเบี้ยประกันจากไม่เกิน 50,000 บ.เป็นไม่เกิน 100,000 บ.ครับ ส่วนประเด็นที่ว่าต้องแยกเบี้ยประกันสุขภาพออกจากเบี้ยรวม เข้าใจว่ายังไม่บังคับใช้ครับ
ยื่นภาษีปีนี้มีประเด็นอะไรใหม่ๆบ้างครับ..
โพสต์แล้ว: จันทร์ ธ.ค. 29, 2008 8:15 pm
โดย miracle
RMF & LTF
ครับท่านประธาน
ยื่นภาษีปีนี้มีประเด็นอะไรใหม่ๆบ้างครับ..
โพสต์แล้ว: จันทร์ ธ.ค. 29, 2008 10:02 pm
โดย chku
อัตราขั้นภาษี
1 - 150,000 ได้รับการยกเว้น
150,001 - xxx เหมือนเดิม
http://www.rd.go.th/publish/1780.0.html
ยื่นภาษีปีนี้มีประเด็นอะไรใหม่ๆบ้างครับ..
โพสต์แล้ว: จันทร์ ธ.ค. 29, 2008 10:57 pm
โดย Alastor
ถ้าเอาการขาดทุนมาลดภาษีได้จะปลื้มมากๆ T-T
ยื่นภาษีปีนี้มีประเด็นอะไรใหม่ๆบ้างครับ..
โพสต์แล้ว: อังคาร ธ.ค. 30, 2008 12:42 am
โดย Proxity
ผมคิดว่าเรื่อง LTF ที่ครบกำหนดปีนี้เป็นปีแรก อาจจะสร้างความสับสนได้นิดหน่อยสำหรับมนุษย์เงินเดือน
เพราะต้องยื่นด้วย ภงด 90 ไม่ใช่ภงด 91 ครับ
ยื่นภาษีปีนี้มีประเด็นอะไรใหม่ๆบ้างครับ..
โพสต์แล้ว: อังคาร ธ.ค. 30, 2008 9:25 am
โดย A man from the Islay
เสริมพี่ลูกอีสานนิดนึงครับว่านอกจากเรื่องประกันชีวิตที่ได้หักลดหย่อนเพิ่ม ผมเห็นท่านกรณ์จะให้หักเรื่องดอกเบี้ยบ้านได้เพิ่มขึ้นมากเลย แต่มีข้อแม้ว่าต้องเป็นบ้านที่ทำการซื้อใหม่เท่านั้น
ผมไม่ได้ตาม เพราะไม่มีบ้านครับ เรียนถามผู้รู้ช่วย update ด้วย
วันนี้วันสุดท้ายน่ะครับ สำหรับ RMF จริงๆผมพูดไปแล้วที่ห้องอื่น แต่บอกไว้ตรงนี้นิดนึง เพราะคิดว่าคนอาจจะเห็นเยอะกว่า เพราะ Tisco มีกองที่ไปลงใน China-India ครับ ใครอยากกระจายความเสี่ยงไป ตปท บ้างก็ลองดูน่ะครับ แต่อย่างที่บอก ผมก็เดาของผมไปเรื่อยว่ามันยังไม่ bottom ผมก็เลยซื้อ Gov Bond ของ Tisco ไปก่อน ซึ่งมันสามารถเปลี่ยนสลับกองมาเป็นกองนี้ หรือกองไหนๆก็ได้ ไม่เสีย คชจ ครับ
อย่างอื่นมีอะไรใหม่ๆที่หักลดหย่อนได้อีกมั๊ยครับ?
ยื่นภาษีปีนี้มีประเด็นอะไรใหม่ๆบ้างครับ..
โพสต์แล้ว: อังคาร ธ.ค. 30, 2008 10:07 am
โดย hagrid
Alastor wrote:
ถ้าเอาการขาดทุนมาลดภาษีได้จะปลื้มมากๆ T-T
ถ้าเป็นอย่างนั้น ปีหน้าคุณ Alastor ได้กำไรคงต้องเอามาเสียภาษี
ด้วยนะครับ ยิ่งผลตอบแทนแบบคุณ Alastor ผมว่าจะได้ไม่คุ้มเสีย
นะครับ
ยื่นภาษีปีนี้มีประเด็นอะไรใหม่ๆบ้างครับ..
โพสต์แล้ว: อังคาร ธ.ค. 30, 2008 9:25 pm
โดย ลูกอิสาน
miracle เขียน:RMF & LTF
ครับท่านประธาน
http://www.rd.go.th/publish/39705.0.html
สรุปคือ
1.เมื่อรวมกับเงินที่หักเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพทั้งหลาย หัก RMF LTF ได้ไม่เกิน 5 แสนบาท และหากซื้อช่วง 3 เดือนสุดท้ายของปี 2551 หักได้ไม่เกิน 7 แสนบาท
2.ทั้ง 5 แสนและ 7 แสนต้องไม่เกิน 15% ของเงินได้
3.RMF LTF มีการแก้กฎเกณฑ์ให้สามารถซื้อขายหน่วยได้ทุกวัน เฉพาะที่ครบ 5 ปีภาษีแล้วนะครับ
การใช้สิทธิประโยชน์ กรณีซื้อหน่วยลงทุนใน RMF/LTF สำหรับปีภาษี 2551
ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 266 พ.ศ.2551 และกฎกระทรวง ฉบับที่ 267 พ.ศ. 2551 กรมสรรพากรได้เพิ่มวงเงินที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ สำหรับปีภาษี 2551 ดังนี้
1. กรณีซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)
หักได้ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้ และเมื่อรวมกับเงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และกองทุน กบข. หรือกองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน (ถ้ามี) แล้วไม่เกิน 500,000 บาท เว้นแต่จะมีการซื้อหน่วยลงทุนฯ ในระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม ถึง 31 ธันวาคม ด้วยจะได้รับยกเว้นทั้งหมดไม่เกิน 700,000 บาท
ตัวอย่างที่ 1 นาย ก. มีเงินได้ทั้งปี จำนวน 5,000,000 บาท เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จำนวน 150,000 บาท ซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ดังนี้
วันที่ 1 มิถุนายน 2551 จำนวนเงิน 500,000 บาท
วันที่ 25 ธันวาคม 2551 จำนวนเงิน 50,000 บาท
เมื่อรวมกับเงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และกองทุน กบข. หรือกองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน(ถ้ามี) นาย ก. มีสิทธิหักลดหย่อนค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) จำนวนเงิน 550,000 บาท
ตัวอย่างที่ 2 นาย ก. มีเงินได้ทั้งปี จำนวน 5,000,000 บาท เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จำนวน 150,000 บาท ซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2551 จำนวน 500,000 บาท
เมื่อรวมกับเงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และกองทุน กบข. หรือกองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน(ถ้ามี) นาย ก. มีสิทธิหักลดหย่อนค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) จำนวนเงิน 350,000 บาท
ตัวอย่างที่ 3 นาย ก. มีเงินได้ทั้งปี จำนวน 5,000,000 บาท เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จำนวน 150,000 บาท ซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2551 จำนวน 700,000 บาท
เมื่อรวมกับเงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และกองทุน กบข. หรือกองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน(ถ้ามี) นาย ก. มีสิทธิหักลดหย่อนค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) จำนวนเงิน 550,000 บาท
2. กรณีซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)
หักได้ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงิน และไม่เกิน 500,000 บาท เว้นแต่จะมีการซื้อหน่วยลงทุนฯ ในระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม ถึง 31 ธันวาคม ด้วยจะได้รับยกเว้นทั้งหมดไม่เกิน 700,000 บาท
ตัวอย่างที่ 1 นาย ก. มีเงินได้ทั้งปี จำนวน 5,000,000 บาท ซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว ดังนี้
วันที่ 1 มิถุนายน 2551 จำนวนเงิน 500,000 บาท
วันที่ 25 ธันวาคม 2551 จำนวนเงิน 200,000 บาท
นาย ก. มีสิทธิหักลดหย่อนค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว จำนวน 700,000 บาท
ตัวอย่างที่ 2 นาย ก. มีเงินได้ทั้งปี จำนวน 5,000,000 บาท ซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2551 จำนวนเงิน 700,000 บาท
นาย ก. มีสิทธิหักลดหย่อนค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว จำนวน 500,000 บาท
ตัวอย่างที่ 3 นาย ก. มีเงินได้ทั้งปี จำนวน 5,000,000 บาท ซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2551 จำนวนเงิน 700,000 บาท
นาย ก. มีสิทธิหักลดหย่อนค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว จำนวน 700,000 บาท
ยื่นภาษีปีนี้มีประเด็นอะไรใหม่ๆบ้างครับ..
โพสต์แล้ว: อังคาร ธ.ค. 30, 2008 9:27 pm
โดย ลูกอิสาน
Proxity เขียน:ผมคิดว่าเรื่อง LTF ที่ครบกำหนดปีนี้เป็นปีแรก อาจจะสร้างความสับสนได้นิดหน่อยสำหรับมนุษย์เงินเดือน
เพราะต้องยื่นด้วย ภงด 90 ไม่ใช่ภงด 91 ครับ
พอจะเล่ารายละเอียดได้ไหมครับ ยังไม่ค่อยเข้าใจน่ะครับ
ยื่นภาษีปีนี้มีประเด็นอะไรใหม่ๆบ้างครับ..
โพสต์แล้ว: อังคาร ธ.ค. 30, 2008 9:31 pm
โดย ลูกอิสาน
A man from the Islay เขียน:เสริมพี่ลูกอีสานนิดนึงครับว่านอกจากเรื่องประกันชีวิตที่ได้หักลดหย่อนเพิ่ม ผมเห็นท่านกรณ์จะให้หักเรื่องดอกเบี้ยบ้านได้เพิ่มขึ้นมากเลย แต่มีข้อแม้ว่าต้องเป็นบ้านที่ทำการซื้อใหม่เท่านั้น
ผมไม่ได้ตาม เพราะไม่มีบ้านครับ เรียนถามผู้รู้ช่วย update ด้วย
เข้าใจว่าจากเดิมนำดอกเบี้ยผ่อนบ้านมาหักได้ 5 หมื่น ตอนนี้หักได้ 1 แสนแล้วครับ
1.6 ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม จากการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารอยู่อาศัย โดยจำนองอาคารที่ซื้อหรือสร้างเป็นประกันการกู้ยืมนั้น ตามจำนวนเงินที่ได้จ่ายไปจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท ทั้งนี้ เฉพาะดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่ได้จ่ายตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ.2550 เป็นต้นไป โดยต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ และวิธีการดังนี้
(1) เป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืม สำหรับการกู้ยืมจากผู้ประกอบกิจการในราชอาณาจักรเฉพาะที่กำหนดไว้ ได้แก่ ธนาคาร บริษัทตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ บริษัทประกันชีวิต สหกรณ์ นายจ้างซึ่งมีระเบียบเกี่ยวกับเงินกองทุนที่จัดสรรไว้เพื่อสวัสดิการแก่ลูกจ้าง บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัยตามกฎหมายว่าด้วยบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ นิติบุคคลเฉพาะกิจที่จัดตั้งขึ้นเพื่อแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ที่เขารับช่วงสิทธิ์เป็นเจ้าหนี้เงินกู้แทนกองทุนรวมดังกล่าว กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามกฎหมาย ว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(2) เป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตามสัญญากู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้ออาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุด หรือเพื่อสร้างอาคารใช้อยู่อาศัยบนที่ดินของตนเองหรือบนที่ดินที่ตนเองมีสิทธิครอบครอง
(3) ต้องจำนองอาคารหรือห้องชุดในอาคารชุด หรืออาคารพร้อมที่ดิน เป็นประกันการกู้ยืมเงินนั้น โดยมีระยะเวลาจำนองตามระยะเวลาการกู้ยืม
(4) ต้องใช้อาคารหรือห้องชุดในอาคารชุดตาม(3)นั้นเป็นที่อยู่อาศัยในปีที่ได้รับยกเว้นภาษี แต่ไม่รวมถึงกรณีลูกจ้าง ซึ่งถูกนายจ้างสั่งให้ไปปฏิบัติงานของนายจ้าง ณ ต่างถิ่นเป็นประจำหรือกรณีอาคารหรือห้องชุดดังกล่าวเกิดอัคคีภัย ภัยธรรมชาติ หรือภัยอันเกิดจากเหตุอื่น ทั้งนี้ เฉพาะที่มิใช่ความผิดของผู้มีเงินได้จนไม่อาจใช้อาคารหรือห้องชุดนั้นอยู่อาศัยได้
(5) กรณีผู้มีเงินได้มีอาคารหรือห้องชุดในอาคารชุดตาม (3) เป็นที่อยู่อาศัยในปีที่ขอหักลดหย่อนเกินกว่า 1 แห่ง ให้หักลดหย่อนได้ทุกแห่ง สำหรับอาคารหรือห้องชุดในอาคารชุดตาม (3)
(6) ให้หักลดหย่อนได้ตลอดปีภาษี ไม่ว่ากรณีที่จะหักลดหย่อนได้นั้นจะมีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่
(7) กรณีผู้มีเงินได้หลายคนร่วมกันกู้ยืม ให้หักลดหย่อนได้ทุกคนโดยเฉลี่ยค่าลดหย่อนตามส่วนจำนวนผู้มีเงินได้ แต่รวมกันต้องไม่เกินจำนวนที่จ่ายจริง และไม่เกิน 100,000 บาท
(8) กรณีสามีภริยาร่วมกันกู้ยืมโดยสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียวให้หักลดหย่อนสำหรับผู้มีเงินได้เต็มจำนวนตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
(9) กรณีผู้มีเงินได้ซึ่งมีสิทธิหักลดหย่อนอยู่ก่อนแล้ว ต่อมาได้สมรสกัน ให้ยังคงหักลดหย่อนได้ดังนี้
(ก) ถ้าความเป็นสามีภริยา มิได้มีอยู่ตลอดปีภาษีที่ขอหักลดหย่อน ให้ต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
(ข) ถ้าความเป็นสามีภริยาได้ มีอยู่ตลอดปีภาษีที่ขอหักลดหย่อน และสามีภริยายื่นรายการโดยรวมคำนวณภาษี ให้หักลดหย่อนรวมกันตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
(ค) ถ้าความเป็นสามีภริยาได้ มีอยู่ตลอดปีภาษีที่ขอหักลดหย่อน และภริยายื่นรายการโดยแยกคำนวณภาษี ให้สามีและภริยาต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนได้กึ่งหนึ่ของจำนวนที่จ่ายจริง แต่รวมกันไม่เกิน 100,000 บาท
(10) กรณีมีการแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้เงินกู้ยืมระหว่างผู้ให้กู้ตาม (1) ให้ยังคงหักลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมดังกล่าวข้างต้น ให้หมายความรวมถึง ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อชำระหนี้เงินกู้ยืมเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารอยู่อาศัย หรือห้องชุดด้วย ทั้งนี้ เฉพาะดอกเบี้ยสำหรับเงินกู้ยืมเพื่อชำระหนี้ส่วนที่ไม่เกินกว่าหนี้ที่ค้างชำระนั้น
ผู้มีเงินได้ต้องมีหนังสือรับรองตามแบบที่อธิบดีกำหนด จากผู้ให้ให้กู้ยืม เพื่อเป็นหลักฐานว่าได้มีการจ่ายดอกเบี้ยสำหรับการกู้ยืมเงินเพื่อดำเนินการดังกล่าวนั้นด้วย
ยื่นภาษีปีนี้มีประเด็นอะไรใหม่ๆบ้างครับ..
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ม.ค. 09, 2009 7:09 pm
โดย f.escape
การเปลี่ยนแปลงรายการคำนวณภาษีบุคคลธรรมดา ปีภาษี 2551
รายการเงินได้ที่ได้รับยกเว้น
เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ส่วนที่เกิน 10,000 บาท) หักได้ไม่เกิน 490,000 บาท และไม่เกินร้อยละ 15 ของค่าจ้าง
เงินสะสม กบข. หักได้ไม่เกิน 500,000 บาท
เงินสะสมกองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน หักได้ไม่เกิน 500,000 บาท
รายการลดหย่อนและยกเว้นหลังจากหักค่าใช้จ่าย
ค่าเบี้ยประกันชีวิต ส่วนแรกหักได้ 10,000 บาท ส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกินเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย แต่ไม่เกิน 90,000 บาท (รวมไม่เกิน 100,000)
ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หักได้ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้ และเมื่อรวมกับเงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และ กบข. หรือกองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน ไม่เกิน 500,000 บาท (เว้นแต่จะมีการซื้อหน่วยลงทุนฯ ภายในวันที่ 1 ตุลาคม 2551 ถึง 31 ธันวาคม 2551 ได้รับยกเว้นทั้งหมดไม่เกิน 700,000 บาท)
ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว หักได้ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้ ไม่เกิน 500,000 บาท (เว้นแต่จะมีการซื้อหน่วยลงทุนฯ ภายในวันที่ 1 ตุลาคม 2551 ถึง 31 ธันวาคม 2551 ได้รับยกเว้นทั้งหมดไม่เกิน 700,000 บาท)
เงินได้สุทธิ
ยกเว้นภาษีสำหรับเงินได้สุทธิ ไม่เกิน 150,000 บาท
การบริจาคเงินให้พรรคการเมือง
ต้องเป็นบุคคลธรรมดา สัญชาติไทย ระบุประสงค์หรือไม่ประสงค์บริจาค พร้อมใส่รหัสพรรคการเมืองที่ประสงค์จะบริจาค
บริจาคได้ปีละ 100 บาท เมื่อผู้บริจาคคำนวณภาษีแล้วมีภาษีต้องเสียตั้งแต่ 100 บาท ขึ้นไป
การบริจาคเงินภาษีให้พรรคการเมือง ห้ามมิให้นำไปหักเป็นค่าลดหย่อนตามมาตรา 47 แห่งประมวลรัษฎากร