เล่าเรื่องสัมปทานมือถือ
- Eragon
- Verified User
- โพสต์: 271
- ผู้ติดตาม: 0
เล่าเรื่องสัมปทานมือถือ
โพสต์ที่ 1
เนื่องจากเห็นว่า...หลายๆข้อความทั้งใน TVI และบอร์ดอื่นๆ รวมทั้งบทวิเคราะห์ของโบรคเกอร์บางแห่ง ห่างจากข้อเท็จจริงไปพอสมควร...ในฐานะที่คลุกคลีกับการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่มาตั้งแต่ยุคแรกๆ ผมขอเล่าเรื่องราวที่มีโอกาสประสบมาตั้งแต่ก่อนจะมี TOT(ตอนนั้นเป็นองการโทรศัพท์ฯ)CAT(ตอนนั้นเป็นการสื่อสารฯ) AIS TAC TRUEฯลฯ เพื่อให้คนรุ่นหลังได้รับทราบความเป็นมา...เป็นไป...และเป็นข้อมูลสำหรับการพิจารณาลงทุนในบริษัทฯและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง
- Eragon
- Verified User
- โพสต์: 271
- ผู้ติดตาม: 0
เล่าเรื่องสัมปทานมือถือ
โพสต์ที่ 2
CAT หรือเดิมคือการสื่อสารแห่งประเทศไทย และ TOT หรือเดิมคือองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย สองรัฐวิสาหกิจด้านสื่อสารโทรคมนาคมของไทย ที่เดิมต่างก็เป็นหน่วยงานที่อยู่ภายใต้กรมไปรษณีย์โทรเลข ซึ่งก็มีพี่น้องที่แยกออกมาอีกแห่งคือบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด(มหาชน)
องค์การโทรศัพท์นั้นแยกออกมาก่อน โดยจุดประสงค์แต่แรกคือแยกออกมาทำธุรกิจด้านโทรศัพท์โดยเฉพาะ ช่วงนั้น TOT ขอทำเฉพาะโทรศัพท์ภายในประเทศ ไม่เอาโทรศัพท์ระหว่างประเทศ...เพราะตอนนั้นโทรต่างประเทศมีการใช้งานไม่มาก เลยไม่อยากทำ แค่โทรในประเทศก็ทำไม่ทันแล้ว ก็เลยทิ้งโทรต่างประเทศเอาไว้ให้กรมไปรษณีย์โทรเลขทำต่อ ...สมัยก่อนจำได้มั๊ย ขอโทรศัพท์บ้านทีรอกันเป็นปี แถมต้องซื้อพันธบัตรโทรศัพท์จ่ายกันทีเป็นหมื่น ความต้องการโทรศัพท์มีมากจนให้บริการไม่ทัน องค์การฯมีกำไรเป็นกอบเป็นกำ โบนัสที่จ่ายให้พนักงานสูงจนใครต่อใครอิจฉา
ต่อมามีการแยกงานไปรษณีย์และสื่อสารอื่นๆรวมทั้งโทรต่างประเทศออกมาเป็นการสื่อสารแห่งประเทศไทย การสื่อสารฯไม่ค่อยมีกำไร เพราะงานไปรษณีย์เป็นบริการพื้นฐานที่ทุกประเทศทั่วโลกขาดทุนกันหมด รัฐต้องอุดหนุน แต่โทรต่างประเทศมีกำไรมาก เพราะลงทุนน้อย...แต่เก็บค่าโทรได้สูง ก็ตู๊ๆ กันไป พออยู่รอดได้ เหลือกำไรนิดหน่อย แต่ภายหลังองค์การโทรศัพท์ถึงรู้ว่าคิดผิดที่ไม่เอางานโทรต่างประเทศมาด้วย ลงทุนน้อย คิดค่าโทรแพง...กำไรดี...แล้วก็ลงเอยด้วยการที่รัฐวิสาหกิจ 2 แห่ง มาแข่งกันเองในตอนหลัง
ถัดจากนั้นมา การสื่อสารฯก็ถูกแยกออกมาเป็นบริษัทไปรษณีย์ไทยฯ กับ CAT Telecom เพราะรัฐเห็นว่างานทั้ง 2 ส่วนไม่ค่อยเกี่ยวข้องกันเท่าไหร่ และเตรียมเอาบริษัททั้ง 3 คือ CAT TOT และ ไปรษณีย์ไทยเข้าตลาดหลักทรัพย์
องค์การโทรศัพท์นั้นแยกออกมาก่อน โดยจุดประสงค์แต่แรกคือแยกออกมาทำธุรกิจด้านโทรศัพท์โดยเฉพาะ ช่วงนั้น TOT ขอทำเฉพาะโทรศัพท์ภายในประเทศ ไม่เอาโทรศัพท์ระหว่างประเทศ...เพราะตอนนั้นโทรต่างประเทศมีการใช้งานไม่มาก เลยไม่อยากทำ แค่โทรในประเทศก็ทำไม่ทันแล้ว ก็เลยทิ้งโทรต่างประเทศเอาไว้ให้กรมไปรษณีย์โทรเลขทำต่อ ...สมัยก่อนจำได้มั๊ย ขอโทรศัพท์บ้านทีรอกันเป็นปี แถมต้องซื้อพันธบัตรโทรศัพท์จ่ายกันทีเป็นหมื่น ความต้องการโทรศัพท์มีมากจนให้บริการไม่ทัน องค์การฯมีกำไรเป็นกอบเป็นกำ โบนัสที่จ่ายให้พนักงานสูงจนใครต่อใครอิจฉา
ต่อมามีการแยกงานไปรษณีย์และสื่อสารอื่นๆรวมทั้งโทรต่างประเทศออกมาเป็นการสื่อสารแห่งประเทศไทย การสื่อสารฯไม่ค่อยมีกำไร เพราะงานไปรษณีย์เป็นบริการพื้นฐานที่ทุกประเทศทั่วโลกขาดทุนกันหมด รัฐต้องอุดหนุน แต่โทรต่างประเทศมีกำไรมาก เพราะลงทุนน้อย...แต่เก็บค่าโทรได้สูง ก็ตู๊ๆ กันไป พออยู่รอดได้ เหลือกำไรนิดหน่อย แต่ภายหลังองค์การโทรศัพท์ถึงรู้ว่าคิดผิดที่ไม่เอางานโทรต่างประเทศมาด้วย ลงทุนน้อย คิดค่าโทรแพง...กำไรดี...แล้วก็ลงเอยด้วยการที่รัฐวิสาหกิจ 2 แห่ง มาแข่งกันเองในตอนหลัง
ถัดจากนั้นมา การสื่อสารฯก็ถูกแยกออกมาเป็นบริษัทไปรษณีย์ไทยฯ กับ CAT Telecom เพราะรัฐเห็นว่างานทั้ง 2 ส่วนไม่ค่อยเกี่ยวข้องกันเท่าไหร่ และเตรียมเอาบริษัททั้ง 3 คือ CAT TOT และ ไปรษณีย์ไทยเข้าตลาดหลักทรัพย์
- Eragon
- Verified User
- โพสต์: 271
- ผู้ติดตาม: 0
เล่าเรื่องสัมปทานมือถือ
โพสต์ที่ 3
กลับมาประเด็นเรื่องสัมปทานมือถือ
ประมาณปี 2525 การสื่อสารฯเห็นว่าองค์การโทรศัพท์ฯที่ให้บริการเฉพาะ Fix Line ให้บริการไม่ทัน โดยเฉพาะในถิ่นธุรกันดานไกลๆที่ไม่มีโทรศัพท์ ก็เลยเอาวิทยุโทรศัพท์ที่สมัยนั้นใช้ความถี่ย่าน UHF ความถี่ประมาณ 350 Mhz มาให้บริการ ตั้งชุมสายตามหัวเมืองใหญ่ๆ เรียกกันว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ UHF ตั้ง Base Site เดียวใช้งานไปไกลตั้ง 60-80 กิโลเมตร บางทีในที่โล่งหรือตามป่าตามเขาไปไกลกว่านั้นก็ยังใช้ได้ แต่คนใช้งานมีไม่มาก เพราะค่าโทรฯแพงมาก ตอนนั้นองค์การคิดค่าโทรทางไกลแพงสุดนาทีละ 18 บาท การสื่อสารไม่มีข่ายโทรศัพท์ของตนเอง...ต้องใช้เบอร์โทรศัพท์ 6 ตัวในต่างจังหวัดหรือ 7 ตัว ในกรุงเทพเป็นเบอร์สำหรับผ่านเข้าออกระบบ ...คิดง่ายๆ...ใครจะโทรเข้าข่ายของการสื่อสาร ต้องผ่านโทรศัพท์ธรรมดาก่อน เขาจะมีเบอร์ให้โทรเข้าของแต่ละชุมสาย....แล้วอาศัยความสามารถของชุมสาย...กดเบอร์ต่อเพื่อเรียกเข้าหาหมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ต้องการติดต่อ ทีนี้เวลาโทรเข้าเบอร์กลาง...สำหรับต่อเข้าเบอร์โทรเคลื่อนที่...องค์การก็คิดค่าโทรไปต่อนึงแล้ว..ทำไงให้พอมีรายได้...การสื่อสารก็เลยใช้วิธีคิดค่าใช้งานบวกจากองค์การฯอีกนาทีละ 3 บาท ทำให้ค่าโทร สูงสุดตอนนั้นนาทีละ 18+3= 21 บาท ก็เพราะต้องจ่ายค่าโทรให้องค์การโทรศัพท์ก่อนนาทีละ 18 บาท
ประมาณปี 2525 การสื่อสารฯเห็นว่าองค์การโทรศัพท์ฯที่ให้บริการเฉพาะ Fix Line ให้บริการไม่ทัน โดยเฉพาะในถิ่นธุรกันดานไกลๆที่ไม่มีโทรศัพท์ ก็เลยเอาวิทยุโทรศัพท์ที่สมัยนั้นใช้ความถี่ย่าน UHF ความถี่ประมาณ 350 Mhz มาให้บริการ ตั้งชุมสายตามหัวเมืองใหญ่ๆ เรียกกันว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ UHF ตั้ง Base Site เดียวใช้งานไปไกลตั้ง 60-80 กิโลเมตร บางทีในที่โล่งหรือตามป่าตามเขาไปไกลกว่านั้นก็ยังใช้ได้ แต่คนใช้งานมีไม่มาก เพราะค่าโทรฯแพงมาก ตอนนั้นองค์การคิดค่าโทรทางไกลแพงสุดนาทีละ 18 บาท การสื่อสารไม่มีข่ายโทรศัพท์ของตนเอง...ต้องใช้เบอร์โทรศัพท์ 6 ตัวในต่างจังหวัดหรือ 7 ตัว ในกรุงเทพเป็นเบอร์สำหรับผ่านเข้าออกระบบ ...คิดง่ายๆ...ใครจะโทรเข้าข่ายของการสื่อสาร ต้องผ่านโทรศัพท์ธรรมดาก่อน เขาจะมีเบอร์ให้โทรเข้าของแต่ละชุมสาย....แล้วอาศัยความสามารถของชุมสาย...กดเบอร์ต่อเพื่อเรียกเข้าหาหมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ต้องการติดต่อ ทีนี้เวลาโทรเข้าเบอร์กลาง...สำหรับต่อเข้าเบอร์โทรเคลื่อนที่...องค์การก็คิดค่าโทรไปต่อนึงแล้ว..ทำไงให้พอมีรายได้...การสื่อสารก็เลยใช้วิธีคิดค่าใช้งานบวกจากองค์การฯอีกนาทีละ 3 บาท ทำให้ค่าโทร สูงสุดตอนนั้นนาทีละ 18+3= 21 บาท ก็เพราะต้องจ่ายค่าโทรให้องค์การโทรศัพท์ก่อนนาทีละ 18 บาท
- Eragon
- Verified User
- โพสต์: 271
- ผู้ติดตาม: 0
เล่าเรื่องสัมปทานมือถือ
โพสต์ที่ 4
จากนั้นทั้ง 2 หน่วยงานเริ่มเห็นความสำคัญของโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ใช้คลื่นวิทยุเป็นสื่อในการทำงานแทนสายทองแดง ต่างก็สรรหาเทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่มาให้บริการ องค์การฯเลือกระบบ NMT 470 เพราะคุ้นเคยกับระบบทางยุโรปมาก่อน แต่ การสื่อสารฯเลือกระบบ AMP 800 ของอเมริกา NMT นั้นใช้คลื่นความถี่ต่ำกว่า ทำให้ส่งไปได้ไกล แต่เครื่องลูกข่ายต้องตัวใหญ่...ต้องแบกต้องหิ้วไปด้วยเพราะต้องมีกำลังส่งสูง ส่วนของ AMP เครื่องลูกข่ายตัวเล็กกว่า พอจะถือไปไหนมาไหนได้ด้วยมือ ไม่ต้องถึงกับแบกไป องค์การฯยังคงได้เปรียบที่เวลาโทรเข้าโทรศัพท์บ้าน...หมุนเบอร์ตรงได้เลย แถมไม่ต้องจ่ายเพิ่ม คิดแค่นาทีละ 3 บาทก็กำไรอื้อแล้ว ขณะที่ AMP ของ การสื่อสาร...ต้องโทรผ่านเบอร์โทรศัพท์ 6-7 ตัวก่อน แล้วอาศัยระบบของโทรศัพท์กดเบอร์ต่อ คนโทรเข้าบ้านต้องกดเบอร์มากกว่าอีกเท่าตัว คนใช้งานไม่สะดวก แถมคิดค่าโทรเท่าองค์การบวกนาทีละ 3 บาท อย่างที่เคยบอก...คิดง่ายๆ ถ้าโทรทางไกลจากกรุงเทพไปโทรศัพท์บ้านที่หาดใหญ่ ค่าทางไกลตอนนั้นนาทีละ 18 บาท การสื่อสารก็คิดราคา 18+3 เป็นนาทีละ 21 บาท แพงมาก แต่ก็มีคนใช้งาน...บางคนจ่ายค่าโทรเดือนเป็นหมื่น ก็ยังใช้อยู่...และยิ่งกว่านั้น คนใช้งานมากขึ้นเรื่อยๆ แต่... การสื่อสารต้องลงทุนวางระบบไปเชื่อมกับองค์การฯเอง แล้วก็โดนองค์การฯคิดค่าวงจรอีก ...ไม่ไหว โดนหลายเด้ง...ต้นทุนแพงกว่าเยอะมาก ก็เลยเจรจาขอใช้วงจรตรง เพื่อให้ลูกค้ากดได้สะดวกขึ้น องค์การฯได้ทีก็เลยขอคิดค่าเข้าระบบหรือที่เราเรียกว่า Access Charge เบอร์ละ 200 บาทต่อเดือนต่อเลขหมาย การสื่อสารฯคิดไปคิดมาก็ยอมตกลง เพื่อให้ลูกค้าใช้งานได้สะดวกขึ้น แม้จะต้องจ่ายให้องค์การเยอะมาก แต่......คนใช้ไม่ค่อยเกี่ยงค่าใช้จ่ายแฮะ ทำท่าจะมาใช้ AMP มากกว่า เพราะเครื่องลูกข่ายเล็กกว่า พกพาไปไหนมาไหนได้ ไม่เหมือน NMT ที่ต้องแบกต้องหามไป
- Eragon
- Verified User
- โพสต์: 271
- ผู้ติดตาม: 0
เล่าเรื่องสัมปทานมือถือ
โพสต์ที่ 5
องค์การฯเริ่มเห็นท่าไม่ดี เพราะเกรงว่าถ้าเกิด AMP ได้รับความนิยมขึ้นมา...จะกระทบ ไม่เฉพาะ NMT แต่โดน Fix Line ของตนเองด้วยแน่..(ทั้งๆที่ผมว่า...ถ้าการสื่อสารขยายงานได้เท่าไหร่...องค์การโทรศัพท์ยิ่งได้ประโยชน์มากกว่าหลายเท่า...)ก็เลยคิดจะขยาย NMT ที่ตอนนั้นพัฒนาเป็น NMT900 แล้ว ต้องการเพิ่มให้เร็วที่สุด แต่องค์การฯไม่มีเงินลงทุน (หรือเพราะผลประโยชน์ของใครก็ไม่รู้) และติดปัญหาเรื่องกฏระเบียบของราชการมากมาย ...พอดีบริษัทชินวัตร คอมพิวเตอร์(ว่างๆจะเล่าให้ฟังทีหลังว่าเป็นมายังไง)...เสนอค่าตอบแทนให้...แลกกับการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ องค์การฯตอบตกลง ต่อมาจึงเป็นสัมปทานภายใต้ AIS ทีนี้ การสื่อสารฯเห็นว่าสู้ไม่ไหว กฏระเบียบของหน่วยงานรัฐเยอะแยะ...จะไปสู้เอกชนได้ไง (ปัจจุบันก็ยังเป็นอยู่...ไปสรรหาคนรุ่นใหม่ไฟแรงจากภาคเอกชนมาบริหาร...เจอกฏระเบียบราชการเข้า...หงายท้องกับเป็นแถว....ล้วนแต่ง้อยเปลี้ยเสียขา...ทำงานไม่เป็นทั้งนั้นเลย) ก็เลยหาคนมารับสัมปทานแข่งด้วย กลายเป็นบริษัท TAC หรือ DTAC ในปัจจุบันนั่นเอง(เดิม TAC ก็เป็นผู้รับติดตั้งอุปกรณ์ในระบบ AMP ให้ การสื่อสารฯนั่นแหละ)
- Eragon
- Verified User
- โพสต์: 271
- ผู้ติดตาม: 0
เล่าเรื่องสัมปทานมือถือ
โพสต์ที่ 6
แต่...สัมปทานภายใต้ 2 หน่วยงานนี้ก็ต้องใช้เงื่อนไขเดิม ทำให้ AIS ไม่ต้องจ่ายค่า Access Charge แต่ TAC ต้องจ่ายเบอร์ละ 200+200 บาทต่อเดือน นั่นเป็นความเหลื่อมล้ำที่เกิดมาแต่แรก ตอนนั้นค่าเบอร์มือถือ เดือนละ 500 บาท AIS รับเต็มๆ ไปจ่ายแค่ค่าสัมปทาน แต่ TAC ต้องจ่ายให้ องค์การ 200 บาท การสื่อสาร 200 บาท ตัวเองได้ 100 บาท เป็นความเหลื่อมล้ำที่ TAC เจ็บแค้นมากมาจนถึงทุกวันนี้ เพราะแข่งขันกันบนพื้นฐานที่ต่างกัน...เหมือนชกมวย...แต่ถูกมัดมือไว้ นั่นเป็นเหตุให้ AIS ได้กำไรมหาศาลอย่างที่คนนอกวงการน้อยคนจะล่วงรู้ :twisted: :twisted:
ที่นี้มาถึงเรื่องการแบ่งผลประโยชน์ ทั้ง AIS และ TAC จ่ายผลประโยชน์คล้ายๆกัน...เป็นขั้นบันได ระยะละ 5 ปี เพิ่มขั้นละ 5% เริ่มต้นที่ปีละ 10% 15% 20% และ 25% ของรายได้ ตอนนี้เป็นช่วงปลายของสัมปทาน...น่าจะอยู่ที่ 25% ของรายได้ที่ต้องจ่ายให้ TOT และ CAT แล้วแต่สัมปทานของใคร แต่...ในระหว่างสัมปทาน...มีการขอแก้ไขสัญญา จากเดิมสัญญาเริ่มที่ปี 2529-2530 ระยะเวลาเริ่มแรก 20 ปี แก้ไปแก้มาสัญญาน่าจะหมดประมาณปี 2556-2557
เหลือเวลาอีกไม่เกิน 5 ปี จากนี้ (2552)
:twisted: :twisted: :twisted:
ที่นี้มาถึงเรื่องการแบ่งผลประโยชน์ ทั้ง AIS และ TAC จ่ายผลประโยชน์คล้ายๆกัน...เป็นขั้นบันได ระยะละ 5 ปี เพิ่มขั้นละ 5% เริ่มต้นที่ปีละ 10% 15% 20% และ 25% ของรายได้ ตอนนี้เป็นช่วงปลายของสัมปทาน...น่าจะอยู่ที่ 25% ของรายได้ที่ต้องจ่ายให้ TOT และ CAT แล้วแต่สัมปทานของใคร แต่...ในระหว่างสัมปทาน...มีการขอแก้ไขสัญญา จากเดิมสัญญาเริ่มที่ปี 2529-2530 ระยะเวลาเริ่มแรก 20 ปี แก้ไปแก้มาสัญญาน่าจะหมดประมาณปี 2556-2557
เหลือเวลาอีกไม่เกิน 5 ปี จากนี้ (2552)
:twisted: :twisted: :twisted:
- Eragon
- Verified User
- โพสต์: 271
- ผู้ติดตาม: 0
เล่าเรื่องสัมปทานมือถือ
โพสต์ที่ 8
มาเรื่องความถี่
AIS ได้ความถี่ 900 MHz ระบบ NMT ต่อมาพัฒนาเป็น GSM
TAC ได้ความถี่ 800 MHz เดิมเป็นระบบ AMP ตอนหลังขอเปลี่ยนเป็น 1800 MHz ในระบบ GSM ระบบเดียวกับ AIS แต่ต่างความถี่
เนื่องจากความถี่ที่ TAC ได้มาที่ย่าน 1800 MHz มีเยอะมาก ใช้เท่าไหรก็ไม่หมด TAC ก็เลยใช้ช่องว่างของกฏหมาย...บวกกับการทำเป็นเอาหูไปนาเอาตาไปไร่ของเจ้าหน้าที่รัฐ TAC เอาความถึ่ไปขายต่อ ส่วนหนึ่งก็คือ Orange หรือ True Move ในปัจจุบัน อีกส่วนอยู่ในความครอบครองของบริษัทลูกของ AIS เนื่องจากความถี่ย่าน 900 MHz เดิมไม่เพียงพอกับการขยายงานต้องเอา GSM ย่าน 1800 MHz มาเสริม
ความถี่ย่าน 800 MHz ของ AMP ต่อมาพัฒนาเป็น CDMA ที่ CAT ยังให้บริการอยู่...บางส่วนร่วมกับ HUTCH ตอนนี้กำลังเจรจาขอซื้อคืนจาก HUTCH อยู่
AIS ได้ความถี่ 900 MHz ระบบ NMT ต่อมาพัฒนาเป็น GSM
TAC ได้ความถี่ 800 MHz เดิมเป็นระบบ AMP ตอนหลังขอเปลี่ยนเป็น 1800 MHz ในระบบ GSM ระบบเดียวกับ AIS แต่ต่างความถี่
เนื่องจากความถี่ที่ TAC ได้มาที่ย่าน 1800 MHz มีเยอะมาก ใช้เท่าไหรก็ไม่หมด TAC ก็เลยใช้ช่องว่างของกฏหมาย...บวกกับการทำเป็นเอาหูไปนาเอาตาไปไร่ของเจ้าหน้าที่รัฐ TAC เอาความถึ่ไปขายต่อ ส่วนหนึ่งก็คือ Orange หรือ True Move ในปัจจุบัน อีกส่วนอยู่ในความครอบครองของบริษัทลูกของ AIS เนื่องจากความถี่ย่าน 900 MHz เดิมไม่เพียงพอกับการขยายงานต้องเอา GSM ย่าน 1800 MHz มาเสริม
ความถี่ย่าน 800 MHz ของ AMP ต่อมาพัฒนาเป็น CDMA ที่ CAT ยังให้บริการอยู่...บางส่วนร่วมกับ HUTCH ตอนนี้กำลังเจรจาขอซื้อคืนจาก HUTCH อยู่
-
- Verified User
- โพสต์: 1301
- ผู้ติดตาม: 0
เล่าเรื่องสัมปทานมือถือ
โพสต์ที่ 10
ขอเสริมเล็กน้อย
ในช่วงเวลานั้น จำไม่ได้ว่าปีไหน น่าจะช่วง 253x ช่วงนายกอานันท์ หรือก่อนหน้านั้น ไทยก็เซ็นสัญญาว่าจะเปิดเสรีธุรกิจโทรคมนาคม
เรื่องราคาค่าโทรสมัยก่อน ถ้าใช้ของการสื่อสาร เวลาโทรไปหาคนรับสายโทรศัพท์ปกติ คนรับต้องเสียตังด้วย
ในช่วงเวลานั้น จำไม่ได้ว่าปีไหน น่าจะช่วง 253x ช่วงนายกอานันท์ หรือก่อนหน้านั้น ไทยก็เซ็นสัญญาว่าจะเปิดเสรีธุรกิจโทรคมนาคม
เรื่องราคาค่าโทรสมัยก่อน ถ้าใช้ของการสื่อสาร เวลาโทรไปหาคนรับสายโทรศัพท์ปกติ คนรับต้องเสียตังด้วย
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
เล่าเรื่องสัมปทานมือถือ
โพสต์ที่ 11
ช่วงนายกอานันท์ จำได้ว่าประมูล FIX LINE ใหม่น่าครับBoring Stock Lover เขียน:ขอเสริมเล็กน้อย
ในช่วงเวลานั้น จำไม่ได้ว่าปีไหน น่าจะช่วง 253x ช่วงนายกอานันท์ หรือก่อนหน้านั้น ไทยก็เซ็นสัญญาว่าจะเปิดเสรีธุรกิจโทรคมนาคม
เรื่องราคาค่าโทรสมัยก่อน ถ้าใช้ของการสื่อสาร เวลาโทรไปหาคนรับสายโทรศัพท์ปกติ คนรับต้องเสียตังด้วย
ทำให้เกิด Telecom ASIA และ TT&T
น่าเป็นช่วงก่อนหน้านั้นครับ
- Eragon
- Verified User
- โพสต์: 271
- ผู้ติดตาม: 0
เล่าเรื่องสัมปทานมือถือ
โพสต์ที่ 12
เรื่อง AC และ IC
Access Charge กับ InterConnection Charge นั่นแหละ
อย่างที่ทราบ TOT คิดค่า AC จากเครื่องลูกข่าย CAT และ TAC เป็นค่าผ่านทางเบอร์ละ 200 บาทต่อเดือน แต่ไม่คิดกับ AIS พูดง่ายๆ..เป็นค่ากินเปล่าสำหรับโทรเข้าข่ายของ TOT แต่...เวลาเครื่องของ TOT โทร
เข้าข่ายของ CAT TAC กลับไม่ต้องจ่าย เพราะ TOT เป็นคนเก็บค่าโทรเอง สรุป โทรจากเครื่องของ TOT TOT ก็เก็บเงินค่าโทรเอง โทรจากข่ายของ CAT& TAC ก็ขอค่าโทรเข้าเดือนละ 200 บาท ต่อเครื่อง CAT &TAC ก็เลยเห็นว่าไม่เป็นธรรม...ทั่วโลก...ไม่มีใครเขาคิดแบบนี้กัน ทุก Opertor ต่างก็มีข่ายของตัวเอง ทำไมเขาโทรข้ามมา...เขาเก็บเงิน เราโทรข้ามไป...เขาก็ขอแบ่งเงินเรา...มันไม่เป็นธรรม ก็เลยมีการตกลงเป็นค่า IC หรือ Inter Connection Charge ก็คือค่าผ่านทางนั่นแหละ คือโทรในข่ายตัวเองก็ไม่ต้องไปจ่ายให้ใคร แต่ถ้าข้ามข่าย...ก็มาตกลงกันว่าจะจ่ายกันที่นาทีละกี่สตางค์
Access Charge กับ InterConnection Charge นั่นแหละ
อย่างที่ทราบ TOT คิดค่า AC จากเครื่องลูกข่าย CAT และ TAC เป็นค่าผ่านทางเบอร์ละ 200 บาทต่อเดือน แต่ไม่คิดกับ AIS พูดง่ายๆ..เป็นค่ากินเปล่าสำหรับโทรเข้าข่ายของ TOT แต่...เวลาเครื่องของ TOT โทร
เข้าข่ายของ CAT TAC กลับไม่ต้องจ่าย เพราะ TOT เป็นคนเก็บค่าโทรเอง สรุป โทรจากเครื่องของ TOT TOT ก็เก็บเงินค่าโทรเอง โทรจากข่ายของ CAT& TAC ก็ขอค่าโทรเข้าเดือนละ 200 บาท ต่อเครื่อง CAT &TAC ก็เลยเห็นว่าไม่เป็นธรรม...ทั่วโลก...ไม่มีใครเขาคิดแบบนี้กัน ทุก Opertor ต่างก็มีข่ายของตัวเอง ทำไมเขาโทรข้ามมา...เขาเก็บเงิน เราโทรข้ามไป...เขาก็ขอแบ่งเงินเรา...มันไม่เป็นธรรม ก็เลยมีการตกลงเป็นค่า IC หรือ Inter Connection Charge ก็คือค่าผ่านทางนั่นแหละ คือโทรในข่ายตัวเองก็ไม่ต้องไปจ่ายให้ใคร แต่ถ้าข้ามข่าย...ก็มาตกลงกันว่าจะจ่ายกันที่นาทีละกี่สตางค์
-
- Verified User
- โพสต์: 987
- ผู้ติดตาม: 0
เล่าเรื่องสัมปทานมือถือ
โพสต์ที่ 16
ตอนนั้น ยังเป็นชื่อ CPTelecom อยู่miracle เขียน: ช่วงนายกอานันท์ จำได้ว่าประมูล FIX LINE ใหม่น่าครับ
ทำให้เกิด Telecom ASIA และ TT&T
น่าเป็นช่วงก่อนหน้านั้นครับ
การรื้อประมูล Fix Line เป็นเรื่องที่ฮือฮามาก
เพราะเป็นครั้งแรกที่มีการรื้อเจรจาต่อรองกันใหม่
ระหว่างผู้ให้(รัฐ/กระทรวงคมนาคม)และเอกชน (ซีพี เทเลคอม)
คุยกันสองสามรอบถึงได้ข้อสรุปให้แยกสัมปทาน
ส่วนที่เป็นในกท.ให้ ซีพีได้และต่างจังหวัดให้ ทีทีแอนด์ทีได้
คู่เจรจาขณะนั้นฝ่ายรัฐคือ นายกอานันท์
รมต.คมนาคมคือ นุกูล ประจวบเหมาะ(ฉายาติงลี่)
และผู้ช่วยมือขวาจากแบ็งค์ชาติ ดร.พิสิฐ ลี้อาธรรม
ฝ่ายเอกชน คือ คุณธานินทร์ โดยตัวเองเลย
ดีลเจรจานี้มีการเก็บเอกสารสำหรับเป็นกรณีศึกษาไว้ด้วย
-
- Verified User
- โพสต์: 987
- ผู้ติดตาม: 0
เล่าเรื่องสัมปทานมือถือ
โพสต์ที่ 17
ประมาณปี 2528(ปัจจุบันก็ยังเป็นอยู่...ไปสรรหาคนรุ่นใหม่ไฟแรงจากภาคเอกชนมาบริหาร...เจอกฏระเบียบราชการเข้า...หงายท้องกับเป็นแถว....ล้วนแต่ง้อยเปลี้ยเสียขา...ทำงานไม่เป็นทั้งนั้นเลย)
มีโอกาสทำงานร่วมกับ กสท. ซึ่งเพิ่งย้ายไปอยู่แถวหลักสี่ใหม่ๆ
เข้าร่วมประชุมกับนักบริหารหนุ่มคนหนึ่ง (ยังเป็นระดับผู้น้อยอยู่)
รับผิดชอบเรื่องการส่งไปรษณีย์ด่วน เทเลกซ์ โทรเลข
( ไม่แน่ใจว่าในไทยหรือระหว่างประเทศด้วย)
ประชุมกันหลายครั้ง รู้สึกถึงความแตกต่างต่าง โดดเด่นของบุรุษผู้นี้
ที่ไม่ค่อยเหมือนคนทำงานในองค์กรอุ้ยอ้ายนี้เลย
เพราะมีการตัดสินใจที่ชัดเจน เร็วและทำจริง
ผลงานตอนนั้นที่ประทับใจก็คือ
การปลุกโทรเลขขึ้นมาให้มีคุณค่าเพิ่มขึ้น
ในวาระสำคัญ แทนที่จะเป็นโทรเลขตัวหนังสือส่งเรียงติดกันเป็นพรืด
ก็ทำเป็นแพ็ทเทิร์นแปลกๆเสีย เช่น วาเลนไทน์
ก็ส่งตัวหนังสือในโทรเลขเป็นฟอร์มดอกกุหลาบ เป็นต้น
เป็นการเพิ่มโอกาสและจำนวนผู้มาใช้บริการมากกว่าเดิม
หลังจากนั้นก็ทราบว่า
บุรุษผู้นี้มีตำแหน่งหน้าที่การงานใหญ่โตขึ้นตามลำดับ
แล้ววันหนึ่งก็ถูกค่ายโทรศัพท์มือถืออันดับหนึ่ง (ตอนนั้นมีแค่ 2 ค่ายเอกชน)
ซื้อตัวไป ทำงานเป็นใหญ่เป็นโตจนวันสุดท้ายก่อนจะขายหุ้นทั้งหมดไป
นี่คือตัวอย่างของคนหนุ่มไฟแรงที่มีความสามารถในองค์กรรัฐวิสาหกิจ
ทีถูกอุ้มไปอยู่ภาคเอกชนด้วยเงื่อนไขการทำงานที่ดีกว่า :roll:
และไม่ใช่เป็นคนแรก
เป็นอย่างนี้เรื่อยๆ องค์กรจะเหลืออะไร
คำตอบ
เหลือเชื่อที่ยังอยู่ได้ :lol:
- น้ำครึ่งแก้ว
- Verified User
- โพสต์: 1098
- ผู้ติดตาม: 0
เล่าเรื่องสัมปทานมือถือ
โพสต์ที่ 21
ขอบคุณครับ อ่านสนุกมาก ได้ความรู้ดีด้วยครับ
" ชีวิตไม่เคยขาดความหวาน "
- dome@perth
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4741
- ผู้ติดตาม: 1
เล่าเรื่องสัมปทานมือถือ
โพสต์ที่ 24
เอาอีกๆ ตามอ่านอยู่ครับ หลังเลิกงานจะเข้ามาอีก
"ไม่มีสุตรสำเร็จ ไม่มีทางลัด ไม่ใช่แค่โชค
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง"
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง"
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
เล่าเรื่องสัมปทานมือถือ
โพสต์ที่ 28
พี่ Eragon
case ที่ CP Telecom กับ TT&T ได้สัมปทานนั้น
มีเอกสารเป็น CASE STUDY นี้ เป็นของที่ไหนพิมพ์ออกมาครับ
อยากอย่างเป็นเรื่องเป็นราวล่ะครับ เพราะ CASE นี้เป็น CASE
ที่ได้สัมปทานแล้ว ก็แยกสัมปทานออก แล้วประมูลใหม่
ไม่ใช่ล้มทั้งสัมปทาน เหมือนในสมัยนี้ เลยขอให้พี่ช่วยเรื่องข้อมูลหน่อยครับ
อีกช่วงที่ผมหายไปคือ ช่วง ปี 2540 -2546 มันเกิดอะไรขึ้นครับ
เพราะยุคนี้เป็นยุคของ Pre-paid ทำไม AIS ถึงเป็นผู้เริ่มทำได้เป็นคนแรกล่ะครับ ส่วนคู่แข่งก็ล้าหลังประมาณปีกว่าๆ
เหมือนที่เป็นอยู่ในปัจจุบันที่ AIS เริ่มทำ 3G ได้เพราะ ได้คลื่น 900 (อันนี้ก็ฮาอีก ต่างประเทศในประเทศที่เจริญแล้วไม่ใช่คลื่นความถี่นี้ในการทำ 3G แต่เมืองไทยทำ เอาซิ)
case ที่ CP Telecom กับ TT&T ได้สัมปทานนั้น
มีเอกสารเป็น CASE STUDY นี้ เป็นของที่ไหนพิมพ์ออกมาครับ
อยากอย่างเป็นเรื่องเป็นราวล่ะครับ เพราะ CASE นี้เป็น CASE
ที่ได้สัมปทานแล้ว ก็แยกสัมปทานออก แล้วประมูลใหม่
ไม่ใช่ล้มทั้งสัมปทาน เหมือนในสมัยนี้ เลยขอให้พี่ช่วยเรื่องข้อมูลหน่อยครับ
อีกช่วงที่ผมหายไปคือ ช่วง ปี 2540 -2546 มันเกิดอะไรขึ้นครับ
เพราะยุคนี้เป็นยุคของ Pre-paid ทำไม AIS ถึงเป็นผู้เริ่มทำได้เป็นคนแรกล่ะครับ ส่วนคู่แข่งก็ล้าหลังประมาณปีกว่าๆ
เหมือนที่เป็นอยู่ในปัจจุบันที่ AIS เริ่มทำ 3G ได้เพราะ ได้คลื่น 900 (อันนี้ก็ฮาอีก ต่างประเทศในประเทศที่เจริญแล้วไม่ใช่คลื่นความถี่นี้ในการทำ 3G แต่เมืองไทยทำ เอาซิ)