ผมอยากรวบรวมความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับงบการเงิน
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.พ. 20, 2009 5:35 pm
คอลัมน์หน้าต่าง ก.ล.ต.
ประจำวันที่ 2 สิงหาคม 2548
โดย ณัฐญา นิยมานุสร
สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต.
[email protected]
ความในใจของผู้สอบบัญชี
ในหน้าต่าง ก.ล.ต. ครั้งก่อน ดิฉันได้แนะนำวิธีดูงบการเงินแบบง่าย ๆ ให้ได้สาระอย่างครบถ้วน
กันไปบ้างแล้ว แต่ยังมีรายละเอียดสำคัญอีกส่วนหนึ่งที่พื้นที่คราวที่แล้วหมดลงเสียก่อน คือ
ส่วนความเห็นของผู้สอบบัญชี ซึ่งสามารถบอกเรื่องราวของงบการเงินนั้นได้อีกหลายอย่างเลย
ทีเดียว
แล้วเราจะดู ความเห็นของผู้สอบบัญชี ได้จากที่ไหนกันล่ะ? ไม่ยากเลยค่ะ ปกติเมื่อเราเปิด
งบการเงินขึ้นมา ส่วนแรกที่เราจะพบ คือ รายงานของผู้สอบบัญชี ซึ่งความเห็นของผู้สอบบัญชี
จะแสดงอยู่ในส่วนนี้เองค่ะ
ท่านผู้อ่านยังจำคำแนะนำในการดูงบการเงินที่ให้ดูว่าผู้สอบบัญชีมีการแสดงความเห็นต่องบการเงินหรือตั้งข้อสังเกตใด ๆ เกี่ยวกับงบการเงินหรือไม่อย่างไรได้ใช่ไหมคะ ในวันนี้ดิฉันจะมาเล่าสู่
กันฟังต่อ ว่ารูปแบบการแสดงความเห็นของผู้สอบบัญชีนั้นมีอยู่ด้วยกัน 5 แบบ ได้แก่ (1) ไม่มี
เงื่อนไข (2) ไม่มีเงื่อนไขแต่ให้ข้อสังเกต (3) มีเงื่อนไข (4) ไม่แสดงความเห็นต่องบการเงิน
หรือไม่แสดงความเชื่อมั่น หรือ (5) งบการเงินไม่ถูกต้อง
ประเภทแรก การแสดงความเห็นแบบไม่มีเงื่อนไข หมายความว่า ผู้สอบบัญชีเห็นว่างบการเงินนั้นได้จัดทำตามหลักการบัญชีที่รับรองกันโดยทั่วไปแล้ว พูดง่าย ๆ ว่าหากดูแว่บ ๆ แล้ว ในส่วน
ความเห็นของผู้สอบบัญชีเป็นแบบสั้น ๆ และไม่มีเงื่อนไข ก็แสดงว่างบนั้นน่าจะโอเค แต่หากเป็นความเห็นที่ค่อนข้างยาว คุณ ๆ ก็ควรจะอ่านให้ดี ๆ หลาย ๆ รอบนะคะ
มาดูความเห็นประเภทต่อมากันค่ะ เป็นการแสดงความเห็นแบบไม่มีเงื่อนไขแต่มีข้อสังเกต อันนี้หมายความว่าผู้สอบบัญชีเห็นว่ารายการบางอย่างในงบการเงินอาจมีความไม่แน่นอนของเหตุการณ์ในอนาคตที่อาจกระทบงบการเงิน เช่น ตัวเลขที่แสดงในงบนี้จะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อบริษัทได้ปฏิบัติ
ตามเงื่อนไขการปรับโครงสร้างหนี้แล้ว โดยผู้สอบบัญชีจะระบุไว้เลยว่ามีข้อสังเกตในรายการใดบ้าง
- 2 -
ถ้าเจอความเห็นประเภทนี้แล้วล่ะก็ คุณ ๆ จะต้องพิจารณารายการที่ผู้สอบบัญชีตั้งข้อสังเกตไว้
อย่างละเอียดด้วยนะคะ
การแสดงความเห็นแบบมีเงื่อนไข เป็นการบอกว่าผู้สอบบัญชีมีความคิดเห็นเกี่ยวกับรายการ
ในงบการเงินต่างจากผู้บริหารของบริษัทซึ่งเป็นผู้ทำงบ เช่น บันทึกรายการไม่เป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองกันโดยทั่วไป หรือถูกจำกัดขอบเขตในการตรวจงบการเงินจนทำให้ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ในการตรวจสอบได้เต็มที่ เช่น ไม่ได้รับความร่วมมือจากบริษัทในการตรวจสอบ
งบการเงินของบริษัทย่อย หรือบริษัทร่วม หรือมีเหตุการณ์ใดที่ทำให้ผู้สอบบัญชีไม่สามารถ
ตรวจสอบได้เต็มที่ ซึ่งผู้สอบบัญชีจะรายงานว่ามีรายการใดหรือสถานการณ์ที่ผู้สอบบัญชี
ไม่สามารถตรวจสอบได้ อันนี้ก็ต้องดูว่ารายการนั้นมีสาระสำคัญมากน้อยแค่ไหน
ถ้าผู้สอบบัญชีถูกจำกัดขอบเขตการตรวจสอบในรายการบัญชีที่มีสาระสำคัญมากหรือเห็นว่า
รายการในงบการเงินที่มีความไม่แน่นอนเป็นรายการที่มีสาระคัญมาก ผู้สอบบัญชีก็จะระบุว่า
ไม่แสดงความเห็นหรือไม่แสดงความเชื่อมั่นต่องบการเงิน นั้น และถ้าผู้สอบบัญชีมีความเห็น
เกี่ยวกับรายการในงบต่างจากผู้บริหารของบริษัทที่มีสาระสำคัญมากจนเห็นว่าไม่เป็นไปตาม
มาตรฐานการบัญชีแล้ว ผู้สอบบัญชีจะแสดงความเห็นว่างบการเงินนั้น ๆ ไม่ถูกต้อง
ในส่วนของ ก.ล.ต. เองก็เข้ามาช่วยดูงบการเงินนี้ด้วยค่ะ หาก ก.ล.ต. เห็นว่างบการเงินใดไม่ถูกต้อง
มีข้อน่าสงสัย หรือไม่ชัดเจน ก็จะสั่งการให้บริษัทนั้น ๆ ดำเนินการ ไม่ว่าจะเป็นการชี้แจงข้อมูล
เพิ่มเติม แก้ไขงบการเงินให้ถูกต้อง สั่งให้จัดให้มี special audit รวมทั้งสั่งให้บริษัทให้ความร่วมมือกับผู้สอบบัญชี อย่างที่ท่านผู้อ่านคงได้เห็นข่าวคราวในเรื่องนี้จากสื่อต่าง ๆ กันบ้างแล้ว
และนี่ก็คือ ความในใจ ของผู้สอบบัญชีที่ต้องการสื่อสารต่อคุณ ๆ ค่ะ สำหรับในครั้งนี้พื้นที่
ก็หมดลงอีกแล้ว แล้วพบกันใหม่นะคะ
ที่มา :http://www.sec.or.th/investor_edu/info_ ... 020848.doc
ประจำวันที่ 2 สิงหาคม 2548
โดย ณัฐญา นิยมานุสร
สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต.
[email protected]
ความในใจของผู้สอบบัญชี
ในหน้าต่าง ก.ล.ต. ครั้งก่อน ดิฉันได้แนะนำวิธีดูงบการเงินแบบง่าย ๆ ให้ได้สาระอย่างครบถ้วน
กันไปบ้างแล้ว แต่ยังมีรายละเอียดสำคัญอีกส่วนหนึ่งที่พื้นที่คราวที่แล้วหมดลงเสียก่อน คือ
ส่วนความเห็นของผู้สอบบัญชี ซึ่งสามารถบอกเรื่องราวของงบการเงินนั้นได้อีกหลายอย่างเลย
ทีเดียว
แล้วเราจะดู ความเห็นของผู้สอบบัญชี ได้จากที่ไหนกันล่ะ? ไม่ยากเลยค่ะ ปกติเมื่อเราเปิด
งบการเงินขึ้นมา ส่วนแรกที่เราจะพบ คือ รายงานของผู้สอบบัญชี ซึ่งความเห็นของผู้สอบบัญชี
จะแสดงอยู่ในส่วนนี้เองค่ะ
ท่านผู้อ่านยังจำคำแนะนำในการดูงบการเงินที่ให้ดูว่าผู้สอบบัญชีมีการแสดงความเห็นต่องบการเงินหรือตั้งข้อสังเกตใด ๆ เกี่ยวกับงบการเงินหรือไม่อย่างไรได้ใช่ไหมคะ ในวันนี้ดิฉันจะมาเล่าสู่
กันฟังต่อ ว่ารูปแบบการแสดงความเห็นของผู้สอบบัญชีนั้นมีอยู่ด้วยกัน 5 แบบ ได้แก่ (1) ไม่มี
เงื่อนไข (2) ไม่มีเงื่อนไขแต่ให้ข้อสังเกต (3) มีเงื่อนไข (4) ไม่แสดงความเห็นต่องบการเงิน
หรือไม่แสดงความเชื่อมั่น หรือ (5) งบการเงินไม่ถูกต้อง
ประเภทแรก การแสดงความเห็นแบบไม่มีเงื่อนไข หมายความว่า ผู้สอบบัญชีเห็นว่างบการเงินนั้นได้จัดทำตามหลักการบัญชีที่รับรองกันโดยทั่วไปแล้ว พูดง่าย ๆ ว่าหากดูแว่บ ๆ แล้ว ในส่วน
ความเห็นของผู้สอบบัญชีเป็นแบบสั้น ๆ และไม่มีเงื่อนไข ก็แสดงว่างบนั้นน่าจะโอเค แต่หากเป็นความเห็นที่ค่อนข้างยาว คุณ ๆ ก็ควรจะอ่านให้ดี ๆ หลาย ๆ รอบนะคะ
มาดูความเห็นประเภทต่อมากันค่ะ เป็นการแสดงความเห็นแบบไม่มีเงื่อนไขแต่มีข้อสังเกต อันนี้หมายความว่าผู้สอบบัญชีเห็นว่ารายการบางอย่างในงบการเงินอาจมีความไม่แน่นอนของเหตุการณ์ในอนาคตที่อาจกระทบงบการเงิน เช่น ตัวเลขที่แสดงในงบนี้จะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อบริษัทได้ปฏิบัติ
ตามเงื่อนไขการปรับโครงสร้างหนี้แล้ว โดยผู้สอบบัญชีจะระบุไว้เลยว่ามีข้อสังเกตในรายการใดบ้าง
- 2 -
ถ้าเจอความเห็นประเภทนี้แล้วล่ะก็ คุณ ๆ จะต้องพิจารณารายการที่ผู้สอบบัญชีตั้งข้อสังเกตไว้
อย่างละเอียดด้วยนะคะ
การแสดงความเห็นแบบมีเงื่อนไข เป็นการบอกว่าผู้สอบบัญชีมีความคิดเห็นเกี่ยวกับรายการ
ในงบการเงินต่างจากผู้บริหารของบริษัทซึ่งเป็นผู้ทำงบ เช่น บันทึกรายการไม่เป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองกันโดยทั่วไป หรือถูกจำกัดขอบเขตในการตรวจงบการเงินจนทำให้ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ในการตรวจสอบได้เต็มที่ เช่น ไม่ได้รับความร่วมมือจากบริษัทในการตรวจสอบ
งบการเงินของบริษัทย่อย หรือบริษัทร่วม หรือมีเหตุการณ์ใดที่ทำให้ผู้สอบบัญชีไม่สามารถ
ตรวจสอบได้เต็มที่ ซึ่งผู้สอบบัญชีจะรายงานว่ามีรายการใดหรือสถานการณ์ที่ผู้สอบบัญชี
ไม่สามารถตรวจสอบได้ อันนี้ก็ต้องดูว่ารายการนั้นมีสาระสำคัญมากน้อยแค่ไหน
ถ้าผู้สอบบัญชีถูกจำกัดขอบเขตการตรวจสอบในรายการบัญชีที่มีสาระสำคัญมากหรือเห็นว่า
รายการในงบการเงินที่มีความไม่แน่นอนเป็นรายการที่มีสาระคัญมาก ผู้สอบบัญชีก็จะระบุว่า
ไม่แสดงความเห็นหรือไม่แสดงความเชื่อมั่นต่องบการเงิน นั้น และถ้าผู้สอบบัญชีมีความเห็น
เกี่ยวกับรายการในงบต่างจากผู้บริหารของบริษัทที่มีสาระสำคัญมากจนเห็นว่าไม่เป็นไปตาม
มาตรฐานการบัญชีแล้ว ผู้สอบบัญชีจะแสดงความเห็นว่างบการเงินนั้น ๆ ไม่ถูกต้อง
ในส่วนของ ก.ล.ต. เองก็เข้ามาช่วยดูงบการเงินนี้ด้วยค่ะ หาก ก.ล.ต. เห็นว่างบการเงินใดไม่ถูกต้อง
มีข้อน่าสงสัย หรือไม่ชัดเจน ก็จะสั่งการให้บริษัทนั้น ๆ ดำเนินการ ไม่ว่าจะเป็นการชี้แจงข้อมูล
เพิ่มเติม แก้ไขงบการเงินให้ถูกต้อง สั่งให้จัดให้มี special audit รวมทั้งสั่งให้บริษัทให้ความร่วมมือกับผู้สอบบัญชี อย่างที่ท่านผู้อ่านคงได้เห็นข่าวคราวในเรื่องนี้จากสื่อต่าง ๆ กันบ้างแล้ว
และนี่ก็คือ ความในใจ ของผู้สอบบัญชีที่ต้องการสื่อสารต่อคุณ ๆ ค่ะ สำหรับในครั้งนี้พื้นที่
ก็หมดลงอีกแล้ว แล้วพบกันใหม่นะคะ
ที่มา :http://www.sec.or.th/investor_edu/info_ ... 020848.doc