The essays of warren buffett
โพสต์แล้ว: จันทร์ มี.ค. 02, 2009 1:26 pm
The Essays of Warren Buffett / เงินต่อเงิน (1)
คอลัมน์ ผ่ามันสมองของปราชญ์
โดย ไสว บุญมา[email protected]
เป็น เวลาหลายปีที่ชื่อของวอร์เรน บัฟเฟตต์ (Warren Buffett) ปรากฏใกล้กับของบิลล์ เกตส์ เมื่อนิตยสาร Forbes เสนอรายชื่ออภิมหาเศรษฐีประจำปีของนิตยสาร แต่บัฟเฟตต์ไม่มีบริษัทเทคโนโลยีขนาดยักษ์เป็นหัวจักรขับเคลื่อนการสร้าง ความร่ำรวยในยุคโลกไร้พรมแดน เช่น บิลล์ เกตส์ หากเป็นนักลงทุนและถือหุ้นส่วนใหญ่ในบริษัท Berkshire Hathaway (BH) ซึ่งก่อตั้งขึ้นมากว่าร้อยปีแล้วเพื่อทำธุรกิจด้านสิ่งทอ บัฟเฟตต์ใช้ BH ซึ่งเขากับหุ้นส่วนร่วมกันซื้อและเป็นประธานผู้บริหารเมื่อปี 2508 เป็นทางผ่านของการลงทุนจนทำให้ราคาหุ้นเพิ่มจาก 4 ดอลลาร์ เมื่อปี 2508 เป็น 75,000 ดอลลาร์ เมื่อปี 2548 หรือเพิ่มขึ้นปีละ 28% แม้การลงทุนโดยการซื้อหุ้นในบริษัทอื่นจะมีกำไรดี แต่ BH จ่ายเงินปันผลเพียงครั้งเดียวเมื่อปี 2510 ในจำนวนหุ้นละ 10 เซนต์
บัฟเฟตต์ ตั้งค่าตอบแทนให้ตัวเองต่ำมาก หากเทียบกับผู้บริหารบริษัทขนาดใหญ่ที่มีค่าตอบแทนปีละหลายสิบล้านดอลลาร์ ข้อมูลล่าสุดบ่งว่าค่าตอบแทนของเขาเมื่อปี 2549 เท่ากับ 100,000 ดอลลาร์ ฉะนั้นความเป็นอภิมหาเศรษฐีของเขาส่วนใหญ่จึงวัดจากค่าหุ้นที่เขาถืออยู่ใน BH ซึ่งเมื่อต้นปี 2551 มีค่าเกินกว่า 6 หมื่นล้านดอลลาร์ ส่งผลให้เขาเข้าไปแทนที่บิลล์ เกตส์ ในฐานะอภิมหาเศรษฐีหมายเลข 1 ของโลก หลังจากเกตส์ครองติดต่อกันมาเป็นเวลา 13 ปี จากปี 2513 บัฟเฟตต์เขียนจดหมายถึงผู้ถือหุ้นใน BH เป็นประจำ จดหมายเหล่านั้นพูดถึงปรัชญาและแนวคิดด้านการทำธุรกิจของเขาเมื่อปี 2539 Lawrence A. Cunningham ได้นำจดหมายเหล่านั้นมาเรียบเรียงเป็นหนังสือชื่อ The Essays of Warren Buffett : Lessons for Corporate America ซึ่งได้รับการปรับปรุงครั้งล่าสุดเมื่อปี 2551 เป็นหนังสือขนาด 291 หน้า โดยแยกนำเสนอเป็น 7 ภาค เสริมด้วยบทส่งท้าย
ภาคแรกพูดถึงหลักธรรมาภิ บาลของการทำธุรกิจ (corporate governance) บัฟเฟตต์มองว่าผู้บริหารคือผู้พิทักษ์เงินทุนของผู้ถือหุ้น และผู้บริหารที่ดีที่สุดต้องทำตัวเสมือนเป็นเจ้าของบริษัท ไม่ว่าจะตัดสินใจทำอะไร แต่บางครั้งผลประโยชน์ของผู้บริหารกับของเจ้าของบริษัทก็อาจขัดกันได้ บัฟเฟตต์จึงเน้นการมองหาทางเพื่อลดการขัดกัน พร้อมกับทางที่จะเอื้อให้ผู้บริหารทำงานบรรลุเป้าหมาย ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยหลายอย่าง ปัจจัยแรกได้แก่ความตรงไปตรงมาของผู้บริหารในการสื่อสารกับผู้ถือหุ้น ตามหลักข้อนี้ รายงานประจำปีของเขาจึงไม่ใช่จำพวกใช้กระดาษเงาวับพิมพ์ออกมาอย่างงดงาม หากเน้นข้อมูลและคำอธิบายง่ายๆ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจในเรื่องราวที่เขาต้องการสื่อได้ทันที นอกจากนั้นบัฟเฟตต์ยังเลี่ยงการคาดการณ์อนาคต ซึ่งเขาเชื่อว่ามักนำไปสู่การตกแต่งตัวเลข
อีกปัจจัยหนึ่งบัฟเฟตต์ ไม่เน้นเรื่องโครงสร้างของการบริหารตามตำรา ซึ่งเขามองว่าไม่ค่อยมีประโยชน์ สำหรับเขา สิ่งที่สำคัญที่สุดได้แก่การเลือกคนที่มีความสามารถ ซื่อสัตย์และทุ่มเท โดยเฉพาะตัวประธานผู้บริหาร หรือ CEO เนื่องจากเขามองว่าประธานผู้บริหารต่างจากพนักงานทั่วไป 3 ข้อ คือ ข้อแรก ผลงานของประธานผู้บริหารวัดยาก เนื่องจากมาตรฐานที่ใช้กันขาดประสิทธิภาพและง่ายต่อการปรุงแต่ง ข้อที่ 2 ไม่มีใครอยู่เหนือประธานผู้บริหาร ฉะนั้นผลงานของผู้อยู่เหนือนั้นก็วัดไม่ได้ และข้อที่ 3 คณะกรรมการก็ไม่มีบทบาทของผู้อยู่เหนือผู้บริหาร เนื่องจากตามปกติความสัมพันธ์ระหว่างสองฝ่ายจะเป็นแบบกันเอง
โดย ทั่วไปการทำให้ผลประโยชน์ของผู้บริหารและของผู้ถือหุ้นเป็นไปในแนวเดียวกัน มักอาศัยมาตรการ เช่นการให้ตราสารสิทธิซื้อหุ้น การแยกหน้าที่ระหว่างประธานกรรมการและประธานผู้บริหาร การแต่งตั้งคณะกรรมการเฉพาะด้าน เช่นด้านตรวจบัญชีและด้านค่าตอบแทน นอกจากนั้นสิ่งที่มักนิยมทำกันมาก ได้แก่การเชิญคนนอกมาเป็นกรรมการ แต่บัฟเฟตต์มองว่า วิธีการเหล่านั้นแก้ปัญหาไม่ได้ ซ้ำร้ายอาจทำให้สถานการณ์แย่ลงเสียอีก ทางออกของเขาคือการเลือกเฟ้นประธานผู้บริหารที่สามารถทำงานได้ดี แม้จะอยู่ท่ามกลางโครงสร้างที่อ่อนแอและต้องมีการประชุมคณะกรรมการเพื่อ ประเมินการทำงานของประธานผู้บริหารบ่อยๆ โดยที่เขาไม่เข้าร่วมประชุมด้วย
สำหรับ การบริหารบรรดาบริษัทลูก หรือบริษัทที่ BH เป็นผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ ประธานผู้บริหารได้รับคำสั่งให้ยึดหลักการ 3 อย่าง คือทำตัวเสมือนเขาเป็นเจ้าของเพียงคนเดียว บริษัทนั้นเป็นทรัพย์สินเพียงอย่างเดียวที่เขามีอยู่ และเขาไม่สามารถขายหรือควบรวมกับใครได้ภายในเวลา 100 ปี บัฟเฟตต์มองว่า หลักการเหล่านี้แก้ปัญหาอันเกิดจากผู้บริหารยึดเฉพาะตัวเลขผลกำไรในระยะสั้น เป็นเกณฑ์โดยปราศจากการพิจารณาปัจจัยในระยะยาว ผู้บริหารที่ดีจะต้องมีความสามารถในการหาความสมดุลระหว่างผลกำไรในระยะสั้น กับผลที่จะเกิดขึ้นได้ในระยะยาว บัฟเฟตต์เองก็เคยประสบเหตุการณ์ที่ต้องเลือกตัดสินใจในสภาพที่ผลกำไรในระยะ สั้นขัดกับวิวัฒนาการในระยะยาวเมื่อเขาต้องปิดกิจการด้านสิ่งทอเมื่อปี 2525 เนื่องจากเขามองว่ากิจการด้านสิ่งทอในอเมริกาหมดอนาคตแล้ว เขาเน้นย้ำเรื่องการไม่เข้าไปยุ่งกับธุรกิจที่ไม่มีความสามารถแข่งขันได้ อย่างยั่งยืน
บางครั้งการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ของผู้บริหารกับ ของผู้ถือหุ้นยากแก่การมองเห็น เช่นเรื่องการกุศล โดยทั่วไปผู้บริหารจะจัดผลกำไรส่วนหนึ่งไว้เพื่อการกุศลและเลือกองค์กรที่จะ ได้รับผลนั้น แต่การเลือกองค์กรของผู้บริหารมักไม่ตรงกับผลประโยชน์ของกิจการและของผู้ถือ หุ้น BH เองไม่ทำเช่นนั้น หากจะให้บริษัทลูกทำตามที่เคยทำมาก่อนที่ BH จะเข้าไปซื้อกิจการ นอกจากนั้นจะให้ผู้ถือหุ้นของ BH บอกว่าจะให้บริษัททำการกุศลกับองค์กรใดและในจำนวนเท่าไร
สำหรับ เรื่องการให้ตราสารสิทธิซื้อหุ้นแก่ผู้บริหาร บัฟเฟตต์มองว่า นอกจากมันจะไม่มีผลในด้านการทำให้ผลประโยชน์ของผู้บริหารกับของผู้ถือหุ้น เป็นไปในแนวเดียวกันแล้ว มันยังจะปกปิดความแตกต่างระหว่างประโยชน์ของทั้งสองฝ่ายนี้อีกด้วย เช่นบางบริษัทวัดผลงานและให้รางวัลสิทธิการซื้อหุ้นแก่ผู้บริหาร ซึ่งค่าของหุ้นนั้นเพิ่มขึ้นเนื่องจากการเก็บผลกำไรเอาไว้ในบริษัท ไม่ใช่เพราะการนำเงินไปใช้ให้เกิดผลกำไรสูงขึ้นเป็นพิเศษ นั่นหมายความว่า การให้ตราสารสิทธิซื้อหุ้นมักทำให้ผู้ถือหุ้นเสียประโยชน์ในขณะที่ผู้บริหาร ได้ประโยชน์โดยไม่ต้องทำอะไรเลย นอกจากนั้นการให้ตราสารสิทธิซื้อหุ้นมักไม่มีเงื่อนไข ยกเลิกไม่ได้ และไม่วางอยู่บนผลของการปฏิบัติงานของผู้บริหารเลย ฉะนั้นเขาแนะนำให้ผู้ถือหุ้นตรวจตราเรื่องการให้สิทธิการซื้อหุ้นอย่างถี่ ถ้วน
บัฟเฟตต์เน้นเรื่องผลปฏิบัติงานควรเป็นฐานของการคำนวณค่าตอบแทน ให้แก่ผู้บริหารซึ่งวัดโดยผลกำไรสุทธิ หากจะใช้ตราสารสิทธิซื้อหุ้นต้องคำนวณจากการปฏิบัติงานของผู้บริหารไม่ใช่ผล งานของบริษัท ทางที่ดีที่สุดคือไม่ใช้ตราสารสิทธิซื้อหุ้นเลยเช่นเดียวกับ BH เพราะผู้บริหารที่เก่งกาจสามารถซื้อหุ้นได้จากเงินโบนัส ซึ่งจะทำให้เขาทำตัวเสมือนเป็นเจ้าของจริงๆ
สำหรับกรรมการซึ่งมี หน้าที่ด้านการตรวจบัญชีต้องทำให้ผู้ตรวจบัญชีภายนอกตระหนักว่าเขาทำงาน เพื่อกรรมการ ไม่ใช่ทำเพื่อผู้บริหาร และต้องตอบคำถาม 4 ข้อนี้ให้เป็นที่ประจักษ์ คือ (1) หากผู้ตรวจบัญชีเป็นผู้รับผิดชอบรายงานโดยลำพัง เขาจะรายงานอะไรแตกต่างออกไปหรือไม่ (2) หากเขาเป็นผู้ลงทุน รายงานนั้นให้ข้อมูลสำคัญๆ เพื่อการเข้าใจในผลงานของบริษัทหรือไม่ (3) หากเขาเป็นประธานผู้บริหาร เขาจะเปลี่ยนกระบวนการตรวจบัญชีภายในหรือไม่ และ (4) เขารู้ไหมว่ามีการโยกย้ายรายได้หรือรายจ่ายจากช่วงเวลาหนึ่งไปยังอีกช่วง เวลาหนึ่งหรือไม่ การทำเช่นนี้จะทำให้ความใกล้ชิดระหว่างประธานผู้บริหารกับผู้ตรวจบัญชี ซึ่งไม่มีผลดีต่อผู้ถือหุ้นยุติลง
หน้า 34
คอลัมน์ ผ่ามันสมองของปราชญ์
โดย ไสว บุญมา[email protected]
เป็น เวลาหลายปีที่ชื่อของวอร์เรน บัฟเฟตต์ (Warren Buffett) ปรากฏใกล้กับของบิลล์ เกตส์ เมื่อนิตยสาร Forbes เสนอรายชื่ออภิมหาเศรษฐีประจำปีของนิตยสาร แต่บัฟเฟตต์ไม่มีบริษัทเทคโนโลยีขนาดยักษ์เป็นหัวจักรขับเคลื่อนการสร้าง ความร่ำรวยในยุคโลกไร้พรมแดน เช่น บิลล์ เกตส์ หากเป็นนักลงทุนและถือหุ้นส่วนใหญ่ในบริษัท Berkshire Hathaway (BH) ซึ่งก่อตั้งขึ้นมากว่าร้อยปีแล้วเพื่อทำธุรกิจด้านสิ่งทอ บัฟเฟตต์ใช้ BH ซึ่งเขากับหุ้นส่วนร่วมกันซื้อและเป็นประธานผู้บริหารเมื่อปี 2508 เป็นทางผ่านของการลงทุนจนทำให้ราคาหุ้นเพิ่มจาก 4 ดอลลาร์ เมื่อปี 2508 เป็น 75,000 ดอลลาร์ เมื่อปี 2548 หรือเพิ่มขึ้นปีละ 28% แม้การลงทุนโดยการซื้อหุ้นในบริษัทอื่นจะมีกำไรดี แต่ BH จ่ายเงินปันผลเพียงครั้งเดียวเมื่อปี 2510 ในจำนวนหุ้นละ 10 เซนต์
บัฟเฟตต์ ตั้งค่าตอบแทนให้ตัวเองต่ำมาก หากเทียบกับผู้บริหารบริษัทขนาดใหญ่ที่มีค่าตอบแทนปีละหลายสิบล้านดอลลาร์ ข้อมูลล่าสุดบ่งว่าค่าตอบแทนของเขาเมื่อปี 2549 เท่ากับ 100,000 ดอลลาร์ ฉะนั้นความเป็นอภิมหาเศรษฐีของเขาส่วนใหญ่จึงวัดจากค่าหุ้นที่เขาถืออยู่ใน BH ซึ่งเมื่อต้นปี 2551 มีค่าเกินกว่า 6 หมื่นล้านดอลลาร์ ส่งผลให้เขาเข้าไปแทนที่บิลล์ เกตส์ ในฐานะอภิมหาเศรษฐีหมายเลข 1 ของโลก หลังจากเกตส์ครองติดต่อกันมาเป็นเวลา 13 ปี จากปี 2513 บัฟเฟตต์เขียนจดหมายถึงผู้ถือหุ้นใน BH เป็นประจำ จดหมายเหล่านั้นพูดถึงปรัชญาและแนวคิดด้านการทำธุรกิจของเขาเมื่อปี 2539 Lawrence A. Cunningham ได้นำจดหมายเหล่านั้นมาเรียบเรียงเป็นหนังสือชื่อ The Essays of Warren Buffett : Lessons for Corporate America ซึ่งได้รับการปรับปรุงครั้งล่าสุดเมื่อปี 2551 เป็นหนังสือขนาด 291 หน้า โดยแยกนำเสนอเป็น 7 ภาค เสริมด้วยบทส่งท้าย
ภาคแรกพูดถึงหลักธรรมาภิ บาลของการทำธุรกิจ (corporate governance) บัฟเฟตต์มองว่าผู้บริหารคือผู้พิทักษ์เงินทุนของผู้ถือหุ้น และผู้บริหารที่ดีที่สุดต้องทำตัวเสมือนเป็นเจ้าของบริษัท ไม่ว่าจะตัดสินใจทำอะไร แต่บางครั้งผลประโยชน์ของผู้บริหารกับของเจ้าของบริษัทก็อาจขัดกันได้ บัฟเฟตต์จึงเน้นการมองหาทางเพื่อลดการขัดกัน พร้อมกับทางที่จะเอื้อให้ผู้บริหารทำงานบรรลุเป้าหมาย ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยหลายอย่าง ปัจจัยแรกได้แก่ความตรงไปตรงมาของผู้บริหารในการสื่อสารกับผู้ถือหุ้น ตามหลักข้อนี้ รายงานประจำปีของเขาจึงไม่ใช่จำพวกใช้กระดาษเงาวับพิมพ์ออกมาอย่างงดงาม หากเน้นข้อมูลและคำอธิบายง่ายๆ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจในเรื่องราวที่เขาต้องการสื่อได้ทันที นอกจากนั้นบัฟเฟตต์ยังเลี่ยงการคาดการณ์อนาคต ซึ่งเขาเชื่อว่ามักนำไปสู่การตกแต่งตัวเลข
อีกปัจจัยหนึ่งบัฟเฟตต์ ไม่เน้นเรื่องโครงสร้างของการบริหารตามตำรา ซึ่งเขามองว่าไม่ค่อยมีประโยชน์ สำหรับเขา สิ่งที่สำคัญที่สุดได้แก่การเลือกคนที่มีความสามารถ ซื่อสัตย์และทุ่มเท โดยเฉพาะตัวประธานผู้บริหาร หรือ CEO เนื่องจากเขามองว่าประธานผู้บริหารต่างจากพนักงานทั่วไป 3 ข้อ คือ ข้อแรก ผลงานของประธานผู้บริหารวัดยาก เนื่องจากมาตรฐานที่ใช้กันขาดประสิทธิภาพและง่ายต่อการปรุงแต่ง ข้อที่ 2 ไม่มีใครอยู่เหนือประธานผู้บริหาร ฉะนั้นผลงานของผู้อยู่เหนือนั้นก็วัดไม่ได้ และข้อที่ 3 คณะกรรมการก็ไม่มีบทบาทของผู้อยู่เหนือผู้บริหาร เนื่องจากตามปกติความสัมพันธ์ระหว่างสองฝ่ายจะเป็นแบบกันเอง
โดย ทั่วไปการทำให้ผลประโยชน์ของผู้บริหารและของผู้ถือหุ้นเป็นไปในแนวเดียวกัน มักอาศัยมาตรการ เช่นการให้ตราสารสิทธิซื้อหุ้น การแยกหน้าที่ระหว่างประธานกรรมการและประธานผู้บริหาร การแต่งตั้งคณะกรรมการเฉพาะด้าน เช่นด้านตรวจบัญชีและด้านค่าตอบแทน นอกจากนั้นสิ่งที่มักนิยมทำกันมาก ได้แก่การเชิญคนนอกมาเป็นกรรมการ แต่บัฟเฟตต์มองว่า วิธีการเหล่านั้นแก้ปัญหาไม่ได้ ซ้ำร้ายอาจทำให้สถานการณ์แย่ลงเสียอีก ทางออกของเขาคือการเลือกเฟ้นประธานผู้บริหารที่สามารถทำงานได้ดี แม้จะอยู่ท่ามกลางโครงสร้างที่อ่อนแอและต้องมีการประชุมคณะกรรมการเพื่อ ประเมินการทำงานของประธานผู้บริหารบ่อยๆ โดยที่เขาไม่เข้าร่วมประชุมด้วย
สำหรับ การบริหารบรรดาบริษัทลูก หรือบริษัทที่ BH เป็นผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ ประธานผู้บริหารได้รับคำสั่งให้ยึดหลักการ 3 อย่าง คือทำตัวเสมือนเขาเป็นเจ้าของเพียงคนเดียว บริษัทนั้นเป็นทรัพย์สินเพียงอย่างเดียวที่เขามีอยู่ และเขาไม่สามารถขายหรือควบรวมกับใครได้ภายในเวลา 100 ปี บัฟเฟตต์มองว่า หลักการเหล่านี้แก้ปัญหาอันเกิดจากผู้บริหารยึดเฉพาะตัวเลขผลกำไรในระยะสั้น เป็นเกณฑ์โดยปราศจากการพิจารณาปัจจัยในระยะยาว ผู้บริหารที่ดีจะต้องมีความสามารถในการหาความสมดุลระหว่างผลกำไรในระยะสั้น กับผลที่จะเกิดขึ้นได้ในระยะยาว บัฟเฟตต์เองก็เคยประสบเหตุการณ์ที่ต้องเลือกตัดสินใจในสภาพที่ผลกำไรในระยะ สั้นขัดกับวิวัฒนาการในระยะยาวเมื่อเขาต้องปิดกิจการด้านสิ่งทอเมื่อปี 2525 เนื่องจากเขามองว่ากิจการด้านสิ่งทอในอเมริกาหมดอนาคตแล้ว เขาเน้นย้ำเรื่องการไม่เข้าไปยุ่งกับธุรกิจที่ไม่มีความสามารถแข่งขันได้ อย่างยั่งยืน
บางครั้งการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ของผู้บริหารกับ ของผู้ถือหุ้นยากแก่การมองเห็น เช่นเรื่องการกุศล โดยทั่วไปผู้บริหารจะจัดผลกำไรส่วนหนึ่งไว้เพื่อการกุศลและเลือกองค์กรที่จะ ได้รับผลนั้น แต่การเลือกองค์กรของผู้บริหารมักไม่ตรงกับผลประโยชน์ของกิจการและของผู้ถือ หุ้น BH เองไม่ทำเช่นนั้น หากจะให้บริษัทลูกทำตามที่เคยทำมาก่อนที่ BH จะเข้าไปซื้อกิจการ นอกจากนั้นจะให้ผู้ถือหุ้นของ BH บอกว่าจะให้บริษัททำการกุศลกับองค์กรใดและในจำนวนเท่าไร
สำหรับ เรื่องการให้ตราสารสิทธิซื้อหุ้นแก่ผู้บริหาร บัฟเฟตต์มองว่า นอกจากมันจะไม่มีผลในด้านการทำให้ผลประโยชน์ของผู้บริหารกับของผู้ถือหุ้น เป็นไปในแนวเดียวกันแล้ว มันยังจะปกปิดความแตกต่างระหว่างประโยชน์ของทั้งสองฝ่ายนี้อีกด้วย เช่นบางบริษัทวัดผลงานและให้รางวัลสิทธิการซื้อหุ้นแก่ผู้บริหาร ซึ่งค่าของหุ้นนั้นเพิ่มขึ้นเนื่องจากการเก็บผลกำไรเอาไว้ในบริษัท ไม่ใช่เพราะการนำเงินไปใช้ให้เกิดผลกำไรสูงขึ้นเป็นพิเศษ นั่นหมายความว่า การให้ตราสารสิทธิซื้อหุ้นมักทำให้ผู้ถือหุ้นเสียประโยชน์ในขณะที่ผู้บริหาร ได้ประโยชน์โดยไม่ต้องทำอะไรเลย นอกจากนั้นการให้ตราสารสิทธิซื้อหุ้นมักไม่มีเงื่อนไข ยกเลิกไม่ได้ และไม่วางอยู่บนผลของการปฏิบัติงานของผู้บริหารเลย ฉะนั้นเขาแนะนำให้ผู้ถือหุ้นตรวจตราเรื่องการให้สิทธิการซื้อหุ้นอย่างถี่ ถ้วน
บัฟเฟตต์เน้นเรื่องผลปฏิบัติงานควรเป็นฐานของการคำนวณค่าตอบแทน ให้แก่ผู้บริหารซึ่งวัดโดยผลกำไรสุทธิ หากจะใช้ตราสารสิทธิซื้อหุ้นต้องคำนวณจากการปฏิบัติงานของผู้บริหารไม่ใช่ผล งานของบริษัท ทางที่ดีที่สุดคือไม่ใช้ตราสารสิทธิซื้อหุ้นเลยเช่นเดียวกับ BH เพราะผู้บริหารที่เก่งกาจสามารถซื้อหุ้นได้จากเงินโบนัส ซึ่งจะทำให้เขาทำตัวเสมือนเป็นเจ้าของจริงๆ
สำหรับกรรมการซึ่งมี หน้าที่ด้านการตรวจบัญชีต้องทำให้ผู้ตรวจบัญชีภายนอกตระหนักว่าเขาทำงาน เพื่อกรรมการ ไม่ใช่ทำเพื่อผู้บริหาร และต้องตอบคำถาม 4 ข้อนี้ให้เป็นที่ประจักษ์ คือ (1) หากผู้ตรวจบัญชีเป็นผู้รับผิดชอบรายงานโดยลำพัง เขาจะรายงานอะไรแตกต่างออกไปหรือไม่ (2) หากเขาเป็นผู้ลงทุน รายงานนั้นให้ข้อมูลสำคัญๆ เพื่อการเข้าใจในผลงานของบริษัทหรือไม่ (3) หากเขาเป็นประธานผู้บริหาร เขาจะเปลี่ยนกระบวนการตรวจบัญชีภายในหรือไม่ และ (4) เขารู้ไหมว่ามีการโยกย้ายรายได้หรือรายจ่ายจากช่วงเวลาหนึ่งไปยังอีกช่วง เวลาหนึ่งหรือไม่ การทำเช่นนี้จะทำให้ความใกล้ชิดระหว่างประธานผู้บริหารกับผู้ตรวจบัญชี ซึ่งไม่มีผลดีต่อผู้ถือหุ้นยุติลง
หน้า 34