เบิร์กไชร์ ได้ทื่ 2 รางวัล World"s most admired compani
โพสต์แล้ว: จันทร์ มี.ค. 09, 2009 12:53 pm
วันที่ 09 มีนาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 4086
"ฟอร์จูน" เปิดโผสุดยอดบริษัทโลก "กลยุทธ์แข็งแกร่ง" ตอบโจทย์กลางวิกฤต
ท่าม กลางภาวะเศรษฐกิจที่ตกสะเก็ด การจะทำให้ธุรกิจได้รับการยอมรับนับถือจึงเป็นเรื่องที่ยากลำบาก ดังนั้นชื่อเสียงของบริษัทจึงยิ่งมีคุณค่ามากขึ้นในสถานการณ์วิกฤตเช่นนี้
นี่ เป็นคำตอบว่า ทำไมการจัดอันดับบริษัทที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดในโลก (World"s Most Admired Companies 2009) ของ นิตยสารฟอร์จูน ในปีนี้จึงมีความน่าสนใจมากกว่าปีก่อนๆ และปีนี้ยังเป็นครั้งแรกที่ฟอร์จูนจัดทำเนียบระดับโลกโดยไม่ได้แยกทำเนียบ บริษัทอเมริกันออกมาต่างหากเหมือนปีที่ผ่านๆ มา
เพราะในห้วงเวลาที่ เศรษฐกิจถดถอย บริษัทหลายแห่งมีอันต้องล่มสลาย และมีข่าวคราวอื้อฉาวเกิดขึ้นทั่วโลก สิ่งเหล่านี้ได้ส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงของบริษัทโดยรวม ดังจะเห็นได้จากมาตรวัดความเชื่อมั่นของบริษัทประชาสัมพันธ์ชื่อดังอย่างอี เดลแมน (Edelman) ที่พบว่าจากการสอบถามความเห็นต่อประเด็นนี้ใน 20 ประเทศ ผู้ตอบแบบสอบถามถึง 62% ระบุว่า ในขณะนี้พวกเขาเชื่อมั่นต่อธุรกิจลดลงเมื่อเทียบกับ ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะความเชื่อมั่นต่อธุรกิจในสหรัฐที่ลดลงต่ำกว่าในช่วงที่เกิดกรณีฉาว "เอ็นรอน" (Enron) และฟองสบู่ดอตคอมแตกเสียอีก
น่าสนใจว่าบรรดาสุด ยอดบริษัทที่ได้รับการยอมรับมีวิธีสร้างและบริหารจัดการอย่างไร เพื่อรักษาชื่อเสียงซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่มีค่าอย่างยิ่งเอาไว้ท่ามกลางภาวะ เช่นนี้ ซึ่ง "เฮย์ กรุ๊ป" บริษัทที่ปรึกษาด้านการบริหารจัดการธุรกิจซึ่งจับมือกับนิตยสารฟอร์จูนในการ จัดทำเนียบครั้งนี้ ได้ค้นพบคำตอบที่น่าสนใจว่า สิ่งสำคัญที่สุดอยู่ที่การมีกลยุทธ์ที่แข็งแกร่งและมีเสถียรภาพ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อบริษัทในยามที่ตกอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน
ขณะ ที่บริษัทที่ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในช่วงภาวะถดถอยมักจะต้องปรับเปลี่ยน โครงสร้างองค์กรด้วย ซึ่งจะเป็นภาระต่อบริษัทมากขึ้น รวมทั้งทำให้พนักงานต้องหันมาโฟกัสเฉพาะเรื่องภายในองค์กรมากกว่าจะสนใจ เรื่องราวข้างนอก ทำให้ต้องเสียเวลาและพลังงานมากกว่าเดิม
แตกต่าง จากบริษัทที่ยังคงกลยุทธ์ที่แข็งแกร่ง แม้จะอยู่ในภาวะถดถอย อย่างเช่นบริษัทที่อยู่ในทำเนียบ Most Admired ที่จะสามารถรับมือกับความยากลำบากและสามารถแข่งขันได้ดีกว่า ยกตัวอย่างกรณีของสายการบิน "เซาท์เวสต์ แอร์ไลน์ส" ที่อยู่ในอันดับ 7 ของทำเนียบฟอร์จูนปีนี้ และมีชื่อติดในทำเนียบนี้มาตลอด 13 ปี โดยเซาท์เวสต์ฯไม่เคยเปลี่ยนกลยุทธ์ในยามที่เกิดภาวะถดถอย ยิ่งกว่านั้นบริษัท ไม่เคยเปลี่ยนกลยุทธ์มาตลอด 38 ปี ที่ผ่านมา แต่กลยุทธ์ของเซาท์เวสต์ฯกลับเหมาะสมกับทุกช่วงของวงจรธุรกิจโดยเฉพาะใน ปัจจุบัน
"แกรี่ เคลลี" ซีอีโอของเซาท์เวสต์ฯ กล่าวว่า จนถึงวันนี้เรายังคงมีเครื่องบิน แบบเดียว (โบอิ้ง 737) ยังคงเน้น เส้นทางในสหรัฐและไม่แบ่งประเภทการ ให้บริการ (single class) ซึ่งเราแค่พยายามจะทำให้ดีที่สุด
เฮย์ กรุ๊ป ยังค้นพบด้วยว่า บริษัทที่ได้รับการยอมรับน้อยมักจะเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรบ่อยครั้งกว่า บริษัทที่ได้รับการยอมรับมาก เนื่องจากมีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ อย่างในกรณีของผู้ผลิตรถยนต์ในดีทรอยต์ที่เปลี่ยนไปใช้แนวคิดแบบ inside out เพราะต้องการหากลยุทธ์ที่ทำให้บริษัทอยู่รอด ต่างกับพวก Most Admired ที่มั่นใจในกลยุทธ์ของบริษัท และพยายามจะใช้โอกาสในช่วงวิกฤตการขยายธุรกิจและเพิ่มส่วนแบ่งการตลาด
เช่น เดียวกับยักษ์น้ำดำ "โคคา-โคลา" ซึ่งซีอีโอ "มูห์ทาร์ เคนต์" ที่ย้ำว่า สิ่งหนึ่งที่บริษัทจะไม่ยอมทำในช่วงวิกฤตคือการปรับลดแคมเปญด้านการตลาดทั่ว โลก เพราะเรายังคงต้องการสร้างความมั่นใจว่าแบรนด์ของเราจะยังคงแข็งแกร่ง และเราจะออกมาจากอุโมงค์พร้อมกับส่วนแบ่งตลาดที่เพิ่มขึ้นกว่าตอนขาเข้า ซึ่งสำหรับบริษัทที่แข็งแกร่ง นี่เป็นช่วงเวลาที่ดีที่จะทำเช่นนี้ เพราะในวิกฤตมักมีโอกาสที่ดีสำหรับการสื่อสารไปยังผู้บริโภค เนื่องจากคลื่นวิทยุโทรทัศน์ไม่ค่อยแออัดเหมือนเมื่อก่อน
นอกจากนี้ บริษัทที่ได้รับการยอมรับมักจะโฟกัสไปที่การสร้างและพัฒนาคน ดังที่ "จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน" ระบุว่า สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับบริษัทคือการช่วยให้ พนักงานตระหนักว่าบริษัทยังคงลงทุนและพัฒนาพวกเขา
อย่างไรก็ตาม บริษัทที่ได้รับการยอมรับหลายแห่งก็หนีไม่พ้นการเลย์ออฟพนักงาน แต่บรรดาผู้บริหารก็พยายามหลีกเลี่ยงวิธี ดังกล่าวให้มากที่สุด
ขณะ ที่ผู้นำองค์กรมีความสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างชื่อเสียง ดังกรณีของ "แอปเปิล" แชมป์บริษัทที่ได้รับการยอมรับสูงสุดในปีนี้ ซึ่งมี "สตีฟ จ็อบส์" ซีอีโอ คนเก่งเป็นผู้นำ ทว่าเขาต้องหยุดพักไปรักษาตัวจากอาการเจ็บป่วยนานถึง 6 เดือน ซึ่งเป็นไปได้ว่าจ็อบส์อาจจะกลับมาทำงานต่อ แต่หากเกิดความเปลี่ยนแปลงในแอปเปิล เมื่อนั้นก็จะขึ้นอยู่กับว่าแอปเปิล ยังรักษาความแข็งแกร่งไว้ได้เพียงใด
ทั้งนี้ผลการจัดอันดับบริษัทที่ ได้รับการยอมรับมากที่สุดของฟอร์จูน พบว่าแชมป์เป็นของ "แอปเปิล" เป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน ซึ่งแม้ประเด็นเรื่องสุขภาพของจ็อบส์ยังคงเป็นที่จับตาของผู้คน แต่ลูกค้าก็ยังภักดีต่อแบรนด์ ทำให้แอปเปิลสามารถขายไอพอดได้ 22.7 ล้านเครื่อง ในไตรมาสแรก เพิ่มขึ้น 3% จากปีก่อน ขายเครื่องแมคได้ 2.5 ล้านเครื่อง และไอโฟน 4.4 ล้านเครื่อง แม้อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์จะเผชิญกับภาวะยากลำบาก
ส่วน "เบิร์กไชร์ แฮทอะเวย์" ของ มหาเศรษฐี "วอร์เรน บัฟเฟตต์" อยู่ในอันดับ 2 ตามด้วย โตโยต้า มอเตอร์ (3) กูเกิล (4) จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน (5) พรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล (6) เฟดเอ็กซ์ และเซาท์เวสต์ แอร์ไลน์ส (7) เจนเนอรัล อิเล็กทริก (9) และไมโครซอฟท์ (10)
เมื่อแยกตามหัวข้อ พบว่าบริษัทที่ได้รับการยอมรับในแง่นวัตกรรมมากที่สุด ได้แก่ แอปเปิล ส่วนในแง่ความรับผิดชอบต่อสังคม ได้แก่ แอนฮิวเซอร์-บุช ในแง่การลงทุนระยะยาว ได้แก่ เกรย์บาร์ อิเล็กทริก ที่ควบแชมป์การบริหารจัดการด้านคุณภาพอีกตำแหน่ง ส่วนแชมป์ด้านคุณภาพของสินค้าและบริการ ได้แก่ นิวยอร์ก ไทม์ส ขณะที่บริษัทที่มีขีดความสามารถในการ แข่งขันมากสุดในโลก คือ เนสท์เล่ ส่วนแชมป์ในแง่การบริหารคน คือ โกลด์แมน แซกส์ ในเรื่องการใช้สินทรัพย์ ได้แก่ เบิร์กไชร์ แฮทอะเวย์ ส่วนในแง่ความมั่นคงทางการเงิน ได้แก่ เอ็กซ์ซอน โมบิล
"ฟอร์จูน" เปิดโผสุดยอดบริษัทโลก "กลยุทธ์แข็งแกร่ง" ตอบโจทย์กลางวิกฤต
ท่าม กลางภาวะเศรษฐกิจที่ตกสะเก็ด การจะทำให้ธุรกิจได้รับการยอมรับนับถือจึงเป็นเรื่องที่ยากลำบาก ดังนั้นชื่อเสียงของบริษัทจึงยิ่งมีคุณค่ามากขึ้นในสถานการณ์วิกฤตเช่นนี้
นี่ เป็นคำตอบว่า ทำไมการจัดอันดับบริษัทที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดในโลก (World"s Most Admired Companies 2009) ของ นิตยสารฟอร์จูน ในปีนี้จึงมีความน่าสนใจมากกว่าปีก่อนๆ และปีนี้ยังเป็นครั้งแรกที่ฟอร์จูนจัดทำเนียบระดับโลกโดยไม่ได้แยกทำเนียบ บริษัทอเมริกันออกมาต่างหากเหมือนปีที่ผ่านๆ มา
เพราะในห้วงเวลาที่ เศรษฐกิจถดถอย บริษัทหลายแห่งมีอันต้องล่มสลาย และมีข่าวคราวอื้อฉาวเกิดขึ้นทั่วโลก สิ่งเหล่านี้ได้ส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงของบริษัทโดยรวม ดังจะเห็นได้จากมาตรวัดความเชื่อมั่นของบริษัทประชาสัมพันธ์ชื่อดังอย่างอี เดลแมน (Edelman) ที่พบว่าจากการสอบถามความเห็นต่อประเด็นนี้ใน 20 ประเทศ ผู้ตอบแบบสอบถามถึง 62% ระบุว่า ในขณะนี้พวกเขาเชื่อมั่นต่อธุรกิจลดลงเมื่อเทียบกับ ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะความเชื่อมั่นต่อธุรกิจในสหรัฐที่ลดลงต่ำกว่าในช่วงที่เกิดกรณีฉาว "เอ็นรอน" (Enron) และฟองสบู่ดอตคอมแตกเสียอีก
น่าสนใจว่าบรรดาสุด ยอดบริษัทที่ได้รับการยอมรับมีวิธีสร้างและบริหารจัดการอย่างไร เพื่อรักษาชื่อเสียงซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่มีค่าอย่างยิ่งเอาไว้ท่ามกลางภาวะ เช่นนี้ ซึ่ง "เฮย์ กรุ๊ป" บริษัทที่ปรึกษาด้านการบริหารจัดการธุรกิจซึ่งจับมือกับนิตยสารฟอร์จูนในการ จัดทำเนียบครั้งนี้ ได้ค้นพบคำตอบที่น่าสนใจว่า สิ่งสำคัญที่สุดอยู่ที่การมีกลยุทธ์ที่แข็งแกร่งและมีเสถียรภาพ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อบริษัทในยามที่ตกอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน
ขณะ ที่บริษัทที่ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในช่วงภาวะถดถอยมักจะต้องปรับเปลี่ยน โครงสร้างองค์กรด้วย ซึ่งจะเป็นภาระต่อบริษัทมากขึ้น รวมทั้งทำให้พนักงานต้องหันมาโฟกัสเฉพาะเรื่องภายในองค์กรมากกว่าจะสนใจ เรื่องราวข้างนอก ทำให้ต้องเสียเวลาและพลังงานมากกว่าเดิม
แตกต่าง จากบริษัทที่ยังคงกลยุทธ์ที่แข็งแกร่ง แม้จะอยู่ในภาวะถดถอย อย่างเช่นบริษัทที่อยู่ในทำเนียบ Most Admired ที่จะสามารถรับมือกับความยากลำบากและสามารถแข่งขันได้ดีกว่า ยกตัวอย่างกรณีของสายการบิน "เซาท์เวสต์ แอร์ไลน์ส" ที่อยู่ในอันดับ 7 ของทำเนียบฟอร์จูนปีนี้ และมีชื่อติดในทำเนียบนี้มาตลอด 13 ปี โดยเซาท์เวสต์ฯไม่เคยเปลี่ยนกลยุทธ์ในยามที่เกิดภาวะถดถอย ยิ่งกว่านั้นบริษัท ไม่เคยเปลี่ยนกลยุทธ์มาตลอด 38 ปี ที่ผ่านมา แต่กลยุทธ์ของเซาท์เวสต์ฯกลับเหมาะสมกับทุกช่วงของวงจรธุรกิจโดยเฉพาะใน ปัจจุบัน
"แกรี่ เคลลี" ซีอีโอของเซาท์เวสต์ฯ กล่าวว่า จนถึงวันนี้เรายังคงมีเครื่องบิน แบบเดียว (โบอิ้ง 737) ยังคงเน้น เส้นทางในสหรัฐและไม่แบ่งประเภทการ ให้บริการ (single class) ซึ่งเราแค่พยายามจะทำให้ดีที่สุด
เฮย์ กรุ๊ป ยังค้นพบด้วยว่า บริษัทที่ได้รับการยอมรับน้อยมักจะเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรบ่อยครั้งกว่า บริษัทที่ได้รับการยอมรับมาก เนื่องจากมีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ อย่างในกรณีของผู้ผลิตรถยนต์ในดีทรอยต์ที่เปลี่ยนไปใช้แนวคิดแบบ inside out เพราะต้องการหากลยุทธ์ที่ทำให้บริษัทอยู่รอด ต่างกับพวก Most Admired ที่มั่นใจในกลยุทธ์ของบริษัท และพยายามจะใช้โอกาสในช่วงวิกฤตการขยายธุรกิจและเพิ่มส่วนแบ่งการตลาด
เช่น เดียวกับยักษ์น้ำดำ "โคคา-โคลา" ซึ่งซีอีโอ "มูห์ทาร์ เคนต์" ที่ย้ำว่า สิ่งหนึ่งที่บริษัทจะไม่ยอมทำในช่วงวิกฤตคือการปรับลดแคมเปญด้านการตลาดทั่ว โลก เพราะเรายังคงต้องการสร้างความมั่นใจว่าแบรนด์ของเราจะยังคงแข็งแกร่ง และเราจะออกมาจากอุโมงค์พร้อมกับส่วนแบ่งตลาดที่เพิ่มขึ้นกว่าตอนขาเข้า ซึ่งสำหรับบริษัทที่แข็งแกร่ง นี่เป็นช่วงเวลาที่ดีที่จะทำเช่นนี้ เพราะในวิกฤตมักมีโอกาสที่ดีสำหรับการสื่อสารไปยังผู้บริโภค เนื่องจากคลื่นวิทยุโทรทัศน์ไม่ค่อยแออัดเหมือนเมื่อก่อน
นอกจากนี้ บริษัทที่ได้รับการยอมรับมักจะโฟกัสไปที่การสร้างและพัฒนาคน ดังที่ "จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน" ระบุว่า สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับบริษัทคือการช่วยให้ พนักงานตระหนักว่าบริษัทยังคงลงทุนและพัฒนาพวกเขา
อย่างไรก็ตาม บริษัทที่ได้รับการยอมรับหลายแห่งก็หนีไม่พ้นการเลย์ออฟพนักงาน แต่บรรดาผู้บริหารก็พยายามหลีกเลี่ยงวิธี ดังกล่าวให้มากที่สุด
ขณะ ที่ผู้นำองค์กรมีความสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างชื่อเสียง ดังกรณีของ "แอปเปิล" แชมป์บริษัทที่ได้รับการยอมรับสูงสุดในปีนี้ ซึ่งมี "สตีฟ จ็อบส์" ซีอีโอ คนเก่งเป็นผู้นำ ทว่าเขาต้องหยุดพักไปรักษาตัวจากอาการเจ็บป่วยนานถึง 6 เดือน ซึ่งเป็นไปได้ว่าจ็อบส์อาจจะกลับมาทำงานต่อ แต่หากเกิดความเปลี่ยนแปลงในแอปเปิล เมื่อนั้นก็จะขึ้นอยู่กับว่าแอปเปิล ยังรักษาความแข็งแกร่งไว้ได้เพียงใด
ทั้งนี้ผลการจัดอันดับบริษัทที่ ได้รับการยอมรับมากที่สุดของฟอร์จูน พบว่าแชมป์เป็นของ "แอปเปิล" เป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน ซึ่งแม้ประเด็นเรื่องสุขภาพของจ็อบส์ยังคงเป็นที่จับตาของผู้คน แต่ลูกค้าก็ยังภักดีต่อแบรนด์ ทำให้แอปเปิลสามารถขายไอพอดได้ 22.7 ล้านเครื่อง ในไตรมาสแรก เพิ่มขึ้น 3% จากปีก่อน ขายเครื่องแมคได้ 2.5 ล้านเครื่อง และไอโฟน 4.4 ล้านเครื่อง แม้อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์จะเผชิญกับภาวะยากลำบาก
ส่วน "เบิร์กไชร์ แฮทอะเวย์" ของ มหาเศรษฐี "วอร์เรน บัฟเฟตต์" อยู่ในอันดับ 2 ตามด้วย โตโยต้า มอเตอร์ (3) กูเกิล (4) จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน (5) พรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล (6) เฟดเอ็กซ์ และเซาท์เวสต์ แอร์ไลน์ส (7) เจนเนอรัล อิเล็กทริก (9) และไมโครซอฟท์ (10)
เมื่อแยกตามหัวข้อ พบว่าบริษัทที่ได้รับการยอมรับในแง่นวัตกรรมมากที่สุด ได้แก่ แอปเปิล ส่วนในแง่ความรับผิดชอบต่อสังคม ได้แก่ แอนฮิวเซอร์-บุช ในแง่การลงทุนระยะยาว ได้แก่ เกรย์บาร์ อิเล็กทริก ที่ควบแชมป์การบริหารจัดการด้านคุณภาพอีกตำแหน่ง ส่วนแชมป์ด้านคุณภาพของสินค้าและบริการ ได้แก่ นิวยอร์ก ไทม์ส ขณะที่บริษัทที่มีขีดความสามารถในการ แข่งขันมากสุดในโลก คือ เนสท์เล่ ส่วนแชมป์ในแง่การบริหารคน คือ โกลด์แมน แซกส์ ในเรื่องการใช้สินทรัพย์ ได้แก่ เบิร์กไชร์ แฮทอะเวย์ ส่วนในแง่ความมั่นคงทางการเงิน ได้แก่ เอ็กซ์ซอน โมบิล