มองวิกฤติโลกแบบวิกรม กรมดิษฐ์
โพสต์แล้ว: ศุกร์ มี.ค. 20, 2009 3:08 pm
มองวิกฤติโลกแบบวิกรม กรมดิษฐ์
ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจในปัจจุบันที่ลุกลามขยายวงไปทั่วโลกทำให้ผมต้องหวนกลับมานึกถึงผมบทเรียนจากวิกฤติเศรษฐกิจพิษต้มยำกุ้งที่เกิดขึ้นในปี 2540 เพราะก่อนหน้าที่จะก้าวเข้าสู่บทเรียนครั้งใหญ่ในชีวิตนั้น ชีวิตของผมอยู่ในอาการโลดโผนโจนทะยาน มีปัญหาที่ต้องแก้ไขมากมายรายวันสร้างความปวดเศียรเวียนเกล้าพอควร จนเกือบทำให้ผมเสียคนทั้งนี้เพราะขาดประสบการณ์ ไม่รู้ ไม่ได้เตรียมตัวรับมือ เลยลามจนถึงขั้นหลงลืมตัวคิดว่าตัวเอง ประสบความสำเร็จ แล้วอาการเช่นนั้นแน่นอนว่าหากเกิดกับใครขึ้นมาแล้วไม่ได้ฉุกคิดหรือเตือนตัวเองให้กลับมาสู่แก่นแท้แห่งความจริงแล้ว สถานการณ์ต่าง ๆ คงลุกลามไปจนยากแก่การแก้ไขเยียวยา แต่นับว่าผมยังโชคดีที่สามารถผ่านความยากลำบากครั้งนั้นมาได้ด้วยความอดทน ความรับผิดชอบในการใช้คืนหนี้สิน ทั้งของบริษัทและส่วนตัว กว่าจะใช้หนี้หมดใช้เวลาเกือบ 7 ปีทีเดียว
ประสบการณ์ครั้งนั้นทำให้ผมหันกลับมาปรับตัว ปรับใจดำเนินชีวิตในหลักการใหม่ด้วยการเตือนตัวเองอยู่เสมอว่า ไม่ทำอะไรเกินตัวและไม่ทำในสิ่งที่มีความเสี่ยงมากเกินไปผมประคองตัวใช้ชีวิตอย่างราบรื่น เรียบง่ายและระมัดระวัง จนเมื่อกลางปี 2551 ที่ผมเริ่มมองเห็นเมฆหมอกเค้าลางการก่อตัวของคลื่นยักษ์ใต้น้ำที่กำลังจะถาโถมเข้าสู่เศรษฐกิจโลก ลุกลามมาจนกลายเป็นวิกฤติครั้งใหญ่อีกครั้งในปี 2552 ที่มาของปัญหาเกิดจากการเติบโตด้านเศรษฐกิจโลกที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วมาอย่างต่อเนื่องหลักการยุติความขัดแย้งของโลกตะวันตกและโลกคอมมูนิสต์ ทำให้ประชากรโลกมีความมั่นใจที่จะเดินไปสู่สันติ สงครามใหญ่ที่เคยเกิดขึ้นลดลงพร้อมกับการนำงบประมาณด้านกลาโหมที่ใช้ในการป้องกันประเทศต่าง ๆ แปรเปลี่ยนมาสร้างสรรค์งบประมาณด้านสาธารณูปโภคจนทำให้เกิดการปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของชาวโลกอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประวัติศาสตร์ของมวลมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ สังคม วิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์ สิ่งแวดล้อมและการคมนาคม มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว ผลพวงจากการพัฒนาด้านต่าง ๆ เหล่านี้ช่วยย่อโลกให้เล็กลง มีความเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลกระทบทั้งด้านบวกและด้านลบอย่างมากมาย อาทิ มีคนร่ำรวยมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็ยังมีคนยากจนเป็นจำนวนมากเช่นกัน วิทยาการทางด้านการแพทย์ทำให้คนมีอายุยืนยาวมากขึ้น อันเป็นผลมาจากการทุ่มเทงบประมาณด้านการวิจัยและการพัฒนา เป็นต้น
ในช่วงกว่า 10 ปีที่ผ่านมาผลิตภัณฑ์มวลรวมของโลก (GDP) มีการเติบโตสูงระดับ 4-5% จนทำให้ทุกประเทศทั่วโลกมุ่งขยายการลงทุน การพัฒนาทุกด้านกันถ้วนหน้าจนทำให้เกิดการเติบโตทั้งโลกแบบก้าวกระโดดอย่างเหลือเชื่อ โดยเฉพาะวงการการเงิน การธนาคารและตลาดน้ำมันดิบที่มีการขยายตัวทั้งการผลิตและราคาจนโลกมีการบริโภคน้ำมันสูงที่สุดเท่าที่เคยเกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ของการใช้พลังงานของมวลมนุษย์โลก คือ 87 ล้านบาร์เรล / วัน ทำให้ราคาน้ำมันดิบพุ่งขึ้นไปสูงสุดเช่นกันที่ 147 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ / บาร์เรลในเดือนกรกฎาคม 2551 จากการที่มนุษย์ได้ใช้พลังงานของโลกเกินความจำเป็นประกอบกับได้นำพลังงานในอนาคตมาใช้ล่วงหน้า ด้วยวิธีการกู้เงินเพื่อนำมาก่อสร้างจนเกิดเป็นทรัพย์สิน (ที่อาจไม่ได้ใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่า ) มากมายเกินความจำเป็นในการใช้ในชีวิตประจำวันของคนทั้งโลกในปัจจุบัน อันเกิดจากการเก็งกำไรในทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์
ธนาคารทั่วโลกต่างมุ่งกระตุ้นให้เกิดการลงทุนอย่างที่ไม่เคยเกิดมีขึ้นมาก่อนในระยะเวลาเพียง 10 ปีเศษ จนทำให้สถาบันการเงินต่างประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม สร้างภาพลวงตาด้วยผลกำไรที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปี เป็นที่มาของการปล่อยกู้ด้อยคุณภาพ (ซับไพรม์ ) ละเลยกฎระเบียบทางการเงิน การธนาคารที่เคยมีอยู่อย่างเคร่งครัด มุ่งหวังแต่ผลกำไร สหรัฐอเมริกาคือประเทศแรกที่เกิดวิกฤติซับไพรม์จนส่งผลกระทบออกเป็นวงกว้างกระจายลุกลามแบบโดมิโนส์ ไปยังประเทศต่าง ๆทั่วโลก สร้างความเสียหายในรูปหนี้สินกว่า 10 ล้าน ๆ เหรียญสหรัฐหรือเกือบเท่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของสหรัฐอเมริกาเอง เป็นที่ทราบกันดีว่าขนาดของเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกานั้นมีสัดส่วนถึง 25% ของโลก
เพียงไตรมาสที่ 4 เมื่อปี 2551 สหรัฐอเมริกามีธนาคารเก่าแก่อายุนับร้อยปีทยอยกันล้มละลาย เกือบ 20 แห่งตามมาด้วยไตรมาสแรกของปี 2552 ที่ขอล้มละลายอีกเกือบ 20 แห่งเช่นกัน มีนักวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจหลายคนคาดการณ์ว่าจะมีบริษัทการเงินการธนาคารทั่วโลกล้มละลายกันเป็นจำนวนพันแห่ง ผมเชื่อว่ามีความเป็นไปได้เพราะเพียงแค่ไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 ที่เริ่มเกิดความเสียหายของธุรกิจโลกก็ส่งผลกระทบให้บริษัทที่ใหญ่ที่สุด เติบโตมากที่สุดและมีผลประกอบการระดับแนวหน้าต่างทยอยกันประกาศผลขาดทุน ปลดพนักงาน หรือถึงขั้นปิดบริษัทกันมากมายแล้ว
ปี 2552 นี้คงจะเลวร้ายกว่าปี 2551 มาก เพราะแค่ในไตรมาสแรกของปี 2552 การส่งออกของประเทศที่ถือว่ามีความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน สิงคโปร์และจีนต่างแถลงตัวเลขหดตัวกันสูงถึง 30-40% แค่นี้อาจทำให้เราไม่กล้าคิดเสียแล้วว่าผลกระทบจากความรุนแรงของวิกฤติเศรษฐกิจปีนี้จะมีขนาดใหญ่เท่าใดและจะยืดเยื้อยาวนานถึงเมื่อไหร่ มนุษย์ทุกคนบนโลกไม่ว่าร่ำรวยหรือยากจน ไม่ว่าจะอยู่ในสังคมใหญ่หรือเล็กต่างต้องได้รับผลกระทบกันอย่างถ้วนหน้า อย่างมิอาจหลีกเลี่ยงได้
ยุคแห่งการดื่มน้ำผึ้งพระจันทร์ของชาวโลกหลังสงครามเย็นได้สิ้นสุดลงแล้วเมื่อกลางปี 2551 ที่ผ่านมา
เมื่อต้นปี 2551 นายอลัน กรีนแสปนอดีตผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้ให้สัญญาณเตือนที่หนักหน่วงกว่าอดีตที่เคยออกมาพูดว่าได้เกิดความผิดพลาดของระบบการเงิน การปล่อยกู้ของสหรัฐอเมริกาในช่วงที่เขาดำรงตำแหน่งและผลดังกล่าวจะทำให้เกิดภาระต่อสินเชื่อที่ด้อยคุณภาพและจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจการเงิน การธนาคารของหลายประเทศที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกรรมการกู้เงินครั้งนี้อย่างขนานใหญ่ในอนาคต นอกจากนี้นายจอร์จ โซรอสได้ออกมาเตือนว่า เศรษฐกิจโลกจะได้รับผลกระทบอย่างมากมายจากธุรกรรมการใช้เงินเกินตัวครั้งนี้เช่นกัน สุดท้ายตามมาด้วยนายพอล ครุกแมนนักเศรษฐศาสตร์ รางวัลโนเบลออกมาเตือนหลายครั้งในช่วงเกือบครึ่งปีที่ผ่านมาว่า ความรุนแรงของวิกฤติเศรษฐกิจโลกครั้งนี้จะสร้างความเสียหายให้ธุรกิจต่าง ๆ อย่างมากมายอย่างที่ยากจะหลีกเลี่ยง เมื่อกลางเดือนกุมภาพันธ์ปี 2552 ได้ออกมาแสดงความกังวลว่าขนาดความเสียหายของวิกฤติในครั้งนี้อาจจะเกินความสามารถของมนุษย์ทั้งโลกที่จะแก้ไขได้ในระยะเวลาอันสั้น หากคำเตือนเหล่านี้เป็นจริง ผมคิดว่าอดีตที่ผมเคยผ่านประสบการณ์เจ็บปางตายเมื่อปี 2540 นั้นคงจะเทียบไม่ได้เลยกับวิกฤติการณ์ในครั้งนี้ หากยังจำกันได้ วิกฤติทางการเงินเมื่อปี 2540 เริ่มจากการปล่อยกู้เกินขนาดจนทำให้ฟองสบู่แตกที่บ้านเรา ลุกลามไปถึงเกาหลี ขยายตัวกลับมาในกลุ่มประเทศอาเซียน แม้หากรวมผลิตภัณฑ์มวลรวมของทุกประเทศเข้าด้วยกันแล้วก็มีสัดส่วนไม่ถึง 1 ส่วน 10 ของขนาดเศรษฐกิจของประเทศทั้งโลกที่กำลังประสบปัญหาอยู่ในขณะนี้
นักวิเคราะห์เศรษฐกิจหลายคนต่างออกมาพยากรณ์กันว่า นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมาจะไม่มีวิกฤติใดจะสร้างความเสียหายให้กับโลกได้มากเท่าครั้งนี้
ผมมองว่าปรากฎการณ์ใด ๆ ที่จะเกิดขึ้นในปีนี้และต่อไปจนกระทั่งวิกฤติยุติลงนั้น หากบรรดาประเทศผู้นำทางเศรษฐกิจหรือที่เรียกว่า G 20 นั้น ไม่สามารถสร้างกฎเกณฑ์หรือกติกาในการแสวงหาความร่วมมือ และไม่ร่วมมือกันแก้ปัญหาอย่างจริงจังด้วยความพร้อมเพรียง แต่หากยังคงมุ่งหน้าสร้างเงื่อนไขของการอยู่รอดด้วยการกีดกันทางด้านการค้า ดังเช่นมาตรการที่สหรัฐอเมริกาวางแผนจะนำออกมาใช้กับผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่นการออกระเบียบให้โครงการต่าง ๆ ของรัฐบาลที่กำลังจะสร้างใหม่นั้นให้ใช้เฉพาะเหล็กหรือวัสดุที่ผลิตในประเทศเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อแก้ปัญหาการขาดดุลการค้าในการนำเข้าสินค้า เพราะสหรัฐอเมริกากำลังเผชิญหน้ากับตัวเลขการขาดดุลสูงที่สุดในประวัติศาสตร์นับตั้งแต่ก่อตั้งประเทศมากกว่า 1 ล้านล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐในปี 2551 โดยรัฐบาลจอร์จ บุช นับเป็นเรื่องน่ากังวลใจว่าหากผู้นำประเทศเศรษฐกิจทั่วโลกต่างนำมาตรการกีดกันเช่นนี้ออกมาใช้ ย่อมจะเป็นการเพิ่มความรุนแรงให้กับแก้ไขปัญหาให้ยากยิ่งขึ้น แน่นอนว่าทุกประเทศต้องการแสวงหาทางรอดของตัวเอง แต่แนวคิดหรือมาตรการใดๆเพื่อการอยู่รอดนั้นต้องคำนึงถึงประเทศอื่น ๆ ในโลกด้วย ไม่มีใครอยู่ได้คนเดียวในโลกอย่างแน่นอน
ในช่วงที่ผ่านมาโลกมีมูลค่าเศรษฐกิจทั้งหมดถึง 47 ล้านล้านเหรียญสหรัฐอเมริกาและทุกประเทศต่างพากันโทษสหรัฐอเมริกาว่าเป็นผู้เริ่มต้นของปัญหาจนลามเป็นวิกฤติในครั้งนี้ แล้วกำลังจะกลายเป็นผู้เริ่มต้นการใช้มาตรการกีดกันทางการค้า แหล่งผลิต อันเป็นการกลับลำแนวความคิดเสรีนิยมที่สหรัฐอเมริกาเป็นตัวตั้งตัวตีมาแต่ก่อน แต่ละประเทศต่างมีบริษัทใหญ่น้อยทยอยปิดตัว ล้มละลายรายวัน การแก้ปัญหาย่อมยากเย็นมากขึ้น ส่งผลให้เกิดการกระทำที่สะท้อนให้เห็นถึงความเห็นแก่ตัวเพื่อความอยู่รอดมากที่สุด อันเป็นธรรมชาติของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตทุกชีวิตในโลก การจะทำให้มนุษย์ทั้งโลก 6,800ล้านกว่าคนมาเสียสละกระทำในสิ่งเดียวกันนั้นพร้อมกันต้องถือเป็นเรื่องมหัศจรรย์จริง ๆ
ผมมองเหตุการณ์ที่กำลังเกิดอยู่ในครั้งนี้เหมือนว่าเรากำลังยืนอยู่ริมทะเล ข้างหน้าของเรามีคลื่นยักษ์สึนามิที่อีกไม่นานกำลังวิ่งถาโถมเข้ามา แต่คราวนี้เป็นคลื่นยักษ์ทางเศรษฐกิจที่เป็นความเสียหายอันเกิดจากการกระทำของมนุษย์ แล้วมนุษย์จะต้องเป็นผู้ได้รับผลกระทบนั้นอย่างถ้วนหน้า ไม่ว่ายากดีมีจน หรืออยู่ที่ใดในโลกอย่างมิอาจหลีกเลี่ยงได้ โดยเฉพาะประเทศไทยของเรา ผมมองว่ากำลังยืนอยู่ตรงกับแนวสึนามิที่จะพุ่งเข้ามาอย่างรุนแรง เพราะเกือบ 70 % ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของเรานั้นอาศัยการส่งออก หากประเทศผู้ซื้อของเราพากันบาดเจ็บ ล้มตายและไม่มียอดสั่งซื้อ เป็นดั่งที่นักวิเคราะห์ทั้งหลายได้เสนอความคิดเอาไว้ ประเทศไทยของเราคงหนีไม่พ้นกลายเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงของวิกฤติการณ์ และความเสียหายครั้งนี้มากที่สุดประเทศหนึ่งในโลก
วิกฤติเศรษฐกิจครั้งนี้นั้นเป็นเรื่องใหญ่ที่จะมีผลกระทบมนุษย์ทุกคนในโลก จึงเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่เราคนไทยต้องสนใจและพยายามมองหาทางออกเพื่อให้สามารถฝ่าวิกฤติไปได้ เพราะเพียงแค่ไตรมาส 4 ของปี 2551 ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมของเราติดลบกว่า 4% แล้ว จะว่าไปแล้วปี 2551 นั้นปัญหาของวิกฤติเพิ่งจะเริ่มต้นเท่านั้น การที่ไทยมีการติดลบมากขนาดนี้ ไม่ใช่เพียงเพราะวิกฤติโลกเท่านั้น แต่ยังมีแรงส่งจากวิกฤติภายในประเทศที่เราคนไทยกันเองได้สร้างขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดภาคใต้ที่ขยายตัวมากสุดในช่วง 3-5 ปีที่ผ่านมา ความขัดแย้งของคนเพียงไม่กี่คนจนบานปลายมาเป็นปัญหาทางการเมืองที่ต้องการทำลายความเชื่อมั่นของประเทศด้วยการปิดสนามบินนานาชาติ เพื่อขับไล่รัฐบาลของอดีตนายกฯสมชาย วงสวัสดิ์อันเป็นการกระทำที่เรียกว่าทุบหม้อข้าวตัวเองที่ร้ายแรงที่สุดตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อปี 2475 ทำให้ภาพลักษณ์ของคนไทยที่เต็มไปด้วยความเอื้ออาทร สมัครสมานสามัคคีกลายเป็นติดลบในสายตาเพื่อนชาวโลกไปในทันที ผลกระทบโดยตรงทำให้เม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศเกือบ 2 แสนล้านบาทที่จะมาลงทุนในไทยหันไปเข้ากระเป๋าเพื่อนบ้านเช่นเวียดนาม มาเลเซีย และจีนทันที เราคงปฎิเสธไม่ได้ว่าการลงทุนด้านการผลิตถือเป็นเสาหลักของความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจที่ทำให้คนไทยจะมีการเติบโตทางเศรษฐกิจ ก่อให้เกิดการสร้างงาน และที่แย่หนักกว่านี้อีกคือ ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจประเทศไทยของเรานั้นมีอัตราการเติบโตที่ช้าที่สุดในเอเชีย
ผมคิดว่าเราคงจะประสบปัญหาล้มละลายทางธุรกิจกันอีกมากมายทั้งในปีนี้และในอีก 2-3 ปีข้างหน้าเพราะการลงทุนจากต่างประเทศของเราในปี 2551 นั้นน้อยกว่าเวียดนามถึงเกือบ 700 % และการส่งออกหดตัวอย่างมหาศาสลพร้อมกับการท่องเที่ยวก็หายไปเช่นกัน ทั้งนี้เพราะคนทั่วโลกลดการเดินทางลงอย่างรุนแรง
หากเป็นเช่นนี้สภาพสถานการณ์ที่แท้จริงของเศรษฐกิจและสังคมไทยจะอยู่ในสถานที่อันตรายอย่างมาก นับเป็นวิกฤติการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนตั้งแต่ก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์จนถึงปัจจุบัน เหตุการณ์ดังกล่าวคาดว่าจะเลวร้ายลงไปอีกหากความขัดแย้งทางการเมืองที่แบ่งขั้ว หากเราขาดนักการเมืองที่มีวิสัยทัศน์ที่จะช่วยกันแก้ปัญหาของบ้านเมืองที่หนักหนาสาหัส มากกว่าการเล่มเกมทางการเมืองเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวและความอยู่รอดของพวกพ้อง
ผมมองวิกฤติครั้งนี้ว่าทุกคนในโลกกำลังเผชิญกับ สึนามิเศรษฐกิจของโลก แต่สิ่งที่คนไทยทุกคนกำลังเผชิญหน้าอยู่นี้มีมากกว่าหนึ่งขั้น เราต้องพบกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวทำให้เท้าของเรายืนด้วยความสั่นคลอน เพราะปัญหาจากการเมืองที่ขัดแย้งภายในและขยายตัวอย่างไม่หยุดหย่อน ทำให้หนทางในการอยู่รอดของเรานั้นยากมากขึ้น เรากำลังต่อสู้กับวิกฤติในประเทศและวิกฤตินอกประเทศไปพร้อม ๆ กัน และจะยากมากขึ้นไปอีกหากเรายังคงมองไม่เห็นหรือไม่เข้าใจอย่างแท้จริงกับสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและกำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งนี้หนทางในการแก้ไขปัญหาคงมืดมนอันนำไปสู่ความเสียหายอย่างประเมินค่ามิได้
ผมเชื่อว่าทุกอย่างในโลกนี้ย่อมสามารถบริหารจัดการได้ หากเราเข้าใจ ร่วมมือร่วมใจกันทำในสิ่งที่ถูกต้อง
การวางแผนอย่างรอบคอบ รวดเร็ว รู้เท่าทันปัญหาย่อมเป็นหนทางนำไปสู่การแก้ไขวิกฤติในครั้งนี้ได้ ผมขอยกตัวอย่างเวียดนามที่กลุ่มอมตะไปลงทุนนั้นมีการเปลี่ยนแปลง พัฒนาไปในทางสร้างสรรค์ตลอดเวลา เพราะคนเวียดนามมีความสามัคคี ไม่มีความแตกแยกทางความคิดมากเช่นเรา และนโยบายส่งเสริมการลงทุน เวียดนามได้ยึดเอาต้นแบบจากสิงคโปร์นำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับพื้นฐานทางสังคม เศรษฐกิจของประเทศได้อย่างเหมาะสม กลมกลืน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้นักลงทุนขนเงินเข้าเวียดนามในปี 2551 มากกว่าไทยเกือบ 7 เท่าที่ 2 ล้านล้านบาท เวียดนามไม่ค่อยได้รับผลกระทบจากวิกฤติการณ์ในครั้งนี้เท่าใดนัก การขายที่ดินในนิคมอมตะที่เวียดนามยังคงดำเนินไปด้วยดี แต่ธุรกิจนิคมอมตะในประเทศไทยช่วงไตรมาสแรกของปี 2552 นี้ลดลงถึง 300 %
นับตั้งแต่กลางปีที่แล้วผมเริ่มมองเห็นเค้าลางของสึนามิลูกใหญ่ที่กำลังมาเยือน ช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาจึงขอให้เจ้าหน้าที่ทุกคนช่วยกัน ข้อแรก ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นทั้งหมด จะใช้เฉพาะที่สำคัญจริง ๆเท่านั้น ข้อสอง ไม่ลงทุนใดๆ ที่จะต้องใช้เงินสด แต่หากเอาที่ดินซึ่งปัจจุบันมีอยู่กว่าหมื่นไร่ไปตีเป็นทุนก็ให้ทำได้ ข้อสำคัญต้องเป็นโครงการที่เพิ่มมูลค่าให้กับลูกค้าในนิคมอมตะ ข้อสาม เพิ่มความพยายามหาช่องทางในการขายให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้มีเงินสดหมุนเวียนเข้ามา ข้อสี่ หาพันธมิตรใหม่เข้ามาร่วมงานในการสร้างความมั่นคงของบริษัทและเพิ่มความสามารถในการพัฒนาอนาคตให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ข้อห้า เพิ่มวงเงินกู้จากธนาคารเพื่อกันการขาดกระแสเงินสด ในช่วงวิกฤติที่จะมาถึง หากมีความจำเป็นต้องใช้เงินจริง ๆ
ผมยังคงเป็นหวังว่าเหตุการณ์ครั้งนี้อาจบานปลายไปมากกว่าที่จะแก้ไขหรือควบคุมได้ ในระยะเวลา 3-5 ปีนี้ การใช้ชีวิตแบบพอเพียงให้มากที่สุดถือเป็นการบริหารการเดินทางสู่อนาคตที่จะทำให้ช่วยผ่อนหนักเป็นเบาได้ ทุกอย่างอยู่ที่วิสัยทัศน์ ความอดทน ความมุ่งมั่น ความมีเหตุและผลในการวางแผนปรับตัวควบคู่ไปกับการมีคุณธรรมในการดำเนินชีวิต ปัญหาต่าง ๆ ในโลกนี้ล้วนเกิดจากน้ำมือมนุษย์ทั้งสิ้น ผมมีความเชื่ออย่างแรงกล้าว่าเราจะสามารถฝ่าวิกฤติในครั้งนี้ไปได้อย่างแน่นอน
หากเราเตรียมตัวมากเท่าใด ปัญหาก็จะยิ่งน้อยลงไปเท่านั้น
หากเรามีความหวัง อนาคตย่อมมีหนทางให้เราเดินไปได้เสมอ
ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจในปัจจุบันที่ลุกลามขยายวงไปทั่วโลกทำให้ผมต้องหวนกลับมานึกถึงผมบทเรียนจากวิกฤติเศรษฐกิจพิษต้มยำกุ้งที่เกิดขึ้นในปี 2540 เพราะก่อนหน้าที่จะก้าวเข้าสู่บทเรียนครั้งใหญ่ในชีวิตนั้น ชีวิตของผมอยู่ในอาการโลดโผนโจนทะยาน มีปัญหาที่ต้องแก้ไขมากมายรายวันสร้างความปวดเศียรเวียนเกล้าพอควร จนเกือบทำให้ผมเสียคนทั้งนี้เพราะขาดประสบการณ์ ไม่รู้ ไม่ได้เตรียมตัวรับมือ เลยลามจนถึงขั้นหลงลืมตัวคิดว่าตัวเอง ประสบความสำเร็จ แล้วอาการเช่นนั้นแน่นอนว่าหากเกิดกับใครขึ้นมาแล้วไม่ได้ฉุกคิดหรือเตือนตัวเองให้กลับมาสู่แก่นแท้แห่งความจริงแล้ว สถานการณ์ต่าง ๆ คงลุกลามไปจนยากแก่การแก้ไขเยียวยา แต่นับว่าผมยังโชคดีที่สามารถผ่านความยากลำบากครั้งนั้นมาได้ด้วยความอดทน ความรับผิดชอบในการใช้คืนหนี้สิน ทั้งของบริษัทและส่วนตัว กว่าจะใช้หนี้หมดใช้เวลาเกือบ 7 ปีทีเดียว
ประสบการณ์ครั้งนั้นทำให้ผมหันกลับมาปรับตัว ปรับใจดำเนินชีวิตในหลักการใหม่ด้วยการเตือนตัวเองอยู่เสมอว่า ไม่ทำอะไรเกินตัวและไม่ทำในสิ่งที่มีความเสี่ยงมากเกินไปผมประคองตัวใช้ชีวิตอย่างราบรื่น เรียบง่ายและระมัดระวัง จนเมื่อกลางปี 2551 ที่ผมเริ่มมองเห็นเมฆหมอกเค้าลางการก่อตัวของคลื่นยักษ์ใต้น้ำที่กำลังจะถาโถมเข้าสู่เศรษฐกิจโลก ลุกลามมาจนกลายเป็นวิกฤติครั้งใหญ่อีกครั้งในปี 2552 ที่มาของปัญหาเกิดจากการเติบโตด้านเศรษฐกิจโลกที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วมาอย่างต่อเนื่องหลักการยุติความขัดแย้งของโลกตะวันตกและโลกคอมมูนิสต์ ทำให้ประชากรโลกมีความมั่นใจที่จะเดินไปสู่สันติ สงครามใหญ่ที่เคยเกิดขึ้นลดลงพร้อมกับการนำงบประมาณด้านกลาโหมที่ใช้ในการป้องกันประเทศต่าง ๆ แปรเปลี่ยนมาสร้างสรรค์งบประมาณด้านสาธารณูปโภคจนทำให้เกิดการปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของชาวโลกอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประวัติศาสตร์ของมวลมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ สังคม วิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์ สิ่งแวดล้อมและการคมนาคม มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว ผลพวงจากการพัฒนาด้านต่าง ๆ เหล่านี้ช่วยย่อโลกให้เล็กลง มีความเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลกระทบทั้งด้านบวกและด้านลบอย่างมากมาย อาทิ มีคนร่ำรวยมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็ยังมีคนยากจนเป็นจำนวนมากเช่นกัน วิทยาการทางด้านการแพทย์ทำให้คนมีอายุยืนยาวมากขึ้น อันเป็นผลมาจากการทุ่มเทงบประมาณด้านการวิจัยและการพัฒนา เป็นต้น
ในช่วงกว่า 10 ปีที่ผ่านมาผลิตภัณฑ์มวลรวมของโลก (GDP) มีการเติบโตสูงระดับ 4-5% จนทำให้ทุกประเทศทั่วโลกมุ่งขยายการลงทุน การพัฒนาทุกด้านกันถ้วนหน้าจนทำให้เกิดการเติบโตทั้งโลกแบบก้าวกระโดดอย่างเหลือเชื่อ โดยเฉพาะวงการการเงิน การธนาคารและตลาดน้ำมันดิบที่มีการขยายตัวทั้งการผลิตและราคาจนโลกมีการบริโภคน้ำมันสูงที่สุดเท่าที่เคยเกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ของการใช้พลังงานของมวลมนุษย์โลก คือ 87 ล้านบาร์เรล / วัน ทำให้ราคาน้ำมันดิบพุ่งขึ้นไปสูงสุดเช่นกันที่ 147 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ / บาร์เรลในเดือนกรกฎาคม 2551 จากการที่มนุษย์ได้ใช้พลังงานของโลกเกินความจำเป็นประกอบกับได้นำพลังงานในอนาคตมาใช้ล่วงหน้า ด้วยวิธีการกู้เงินเพื่อนำมาก่อสร้างจนเกิดเป็นทรัพย์สิน (ที่อาจไม่ได้ใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่า ) มากมายเกินความจำเป็นในการใช้ในชีวิตประจำวันของคนทั้งโลกในปัจจุบัน อันเกิดจากการเก็งกำไรในทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์
ธนาคารทั่วโลกต่างมุ่งกระตุ้นให้เกิดการลงทุนอย่างที่ไม่เคยเกิดมีขึ้นมาก่อนในระยะเวลาเพียง 10 ปีเศษ จนทำให้สถาบันการเงินต่างประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม สร้างภาพลวงตาด้วยผลกำไรที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปี เป็นที่มาของการปล่อยกู้ด้อยคุณภาพ (ซับไพรม์ ) ละเลยกฎระเบียบทางการเงิน การธนาคารที่เคยมีอยู่อย่างเคร่งครัด มุ่งหวังแต่ผลกำไร สหรัฐอเมริกาคือประเทศแรกที่เกิดวิกฤติซับไพรม์จนส่งผลกระทบออกเป็นวงกว้างกระจายลุกลามแบบโดมิโนส์ ไปยังประเทศต่าง ๆทั่วโลก สร้างความเสียหายในรูปหนี้สินกว่า 10 ล้าน ๆ เหรียญสหรัฐหรือเกือบเท่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของสหรัฐอเมริกาเอง เป็นที่ทราบกันดีว่าขนาดของเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกานั้นมีสัดส่วนถึง 25% ของโลก
เพียงไตรมาสที่ 4 เมื่อปี 2551 สหรัฐอเมริกามีธนาคารเก่าแก่อายุนับร้อยปีทยอยกันล้มละลาย เกือบ 20 แห่งตามมาด้วยไตรมาสแรกของปี 2552 ที่ขอล้มละลายอีกเกือบ 20 แห่งเช่นกัน มีนักวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจหลายคนคาดการณ์ว่าจะมีบริษัทการเงินการธนาคารทั่วโลกล้มละลายกันเป็นจำนวนพันแห่ง ผมเชื่อว่ามีความเป็นไปได้เพราะเพียงแค่ไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 ที่เริ่มเกิดความเสียหายของธุรกิจโลกก็ส่งผลกระทบให้บริษัทที่ใหญ่ที่สุด เติบโตมากที่สุดและมีผลประกอบการระดับแนวหน้าต่างทยอยกันประกาศผลขาดทุน ปลดพนักงาน หรือถึงขั้นปิดบริษัทกันมากมายแล้ว
ปี 2552 นี้คงจะเลวร้ายกว่าปี 2551 มาก เพราะแค่ในไตรมาสแรกของปี 2552 การส่งออกของประเทศที่ถือว่ามีความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน สิงคโปร์และจีนต่างแถลงตัวเลขหดตัวกันสูงถึง 30-40% แค่นี้อาจทำให้เราไม่กล้าคิดเสียแล้วว่าผลกระทบจากความรุนแรงของวิกฤติเศรษฐกิจปีนี้จะมีขนาดใหญ่เท่าใดและจะยืดเยื้อยาวนานถึงเมื่อไหร่ มนุษย์ทุกคนบนโลกไม่ว่าร่ำรวยหรือยากจน ไม่ว่าจะอยู่ในสังคมใหญ่หรือเล็กต่างต้องได้รับผลกระทบกันอย่างถ้วนหน้า อย่างมิอาจหลีกเลี่ยงได้
ยุคแห่งการดื่มน้ำผึ้งพระจันทร์ของชาวโลกหลังสงครามเย็นได้สิ้นสุดลงแล้วเมื่อกลางปี 2551 ที่ผ่านมา
เมื่อต้นปี 2551 นายอลัน กรีนแสปนอดีตผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้ให้สัญญาณเตือนที่หนักหน่วงกว่าอดีตที่เคยออกมาพูดว่าได้เกิดความผิดพลาดของระบบการเงิน การปล่อยกู้ของสหรัฐอเมริกาในช่วงที่เขาดำรงตำแหน่งและผลดังกล่าวจะทำให้เกิดภาระต่อสินเชื่อที่ด้อยคุณภาพและจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจการเงิน การธนาคารของหลายประเทศที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกรรมการกู้เงินครั้งนี้อย่างขนานใหญ่ในอนาคต นอกจากนี้นายจอร์จ โซรอสได้ออกมาเตือนว่า เศรษฐกิจโลกจะได้รับผลกระทบอย่างมากมายจากธุรกรรมการใช้เงินเกินตัวครั้งนี้เช่นกัน สุดท้ายตามมาด้วยนายพอล ครุกแมนนักเศรษฐศาสตร์ รางวัลโนเบลออกมาเตือนหลายครั้งในช่วงเกือบครึ่งปีที่ผ่านมาว่า ความรุนแรงของวิกฤติเศรษฐกิจโลกครั้งนี้จะสร้างความเสียหายให้ธุรกิจต่าง ๆ อย่างมากมายอย่างที่ยากจะหลีกเลี่ยง เมื่อกลางเดือนกุมภาพันธ์ปี 2552 ได้ออกมาแสดงความกังวลว่าขนาดความเสียหายของวิกฤติในครั้งนี้อาจจะเกินความสามารถของมนุษย์ทั้งโลกที่จะแก้ไขได้ในระยะเวลาอันสั้น หากคำเตือนเหล่านี้เป็นจริง ผมคิดว่าอดีตที่ผมเคยผ่านประสบการณ์เจ็บปางตายเมื่อปี 2540 นั้นคงจะเทียบไม่ได้เลยกับวิกฤติการณ์ในครั้งนี้ หากยังจำกันได้ วิกฤติทางการเงินเมื่อปี 2540 เริ่มจากการปล่อยกู้เกินขนาดจนทำให้ฟองสบู่แตกที่บ้านเรา ลุกลามไปถึงเกาหลี ขยายตัวกลับมาในกลุ่มประเทศอาเซียน แม้หากรวมผลิตภัณฑ์มวลรวมของทุกประเทศเข้าด้วยกันแล้วก็มีสัดส่วนไม่ถึง 1 ส่วน 10 ของขนาดเศรษฐกิจของประเทศทั้งโลกที่กำลังประสบปัญหาอยู่ในขณะนี้
นักวิเคราะห์เศรษฐกิจหลายคนต่างออกมาพยากรณ์กันว่า นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมาจะไม่มีวิกฤติใดจะสร้างความเสียหายให้กับโลกได้มากเท่าครั้งนี้
ผมมองว่าปรากฎการณ์ใด ๆ ที่จะเกิดขึ้นในปีนี้และต่อไปจนกระทั่งวิกฤติยุติลงนั้น หากบรรดาประเทศผู้นำทางเศรษฐกิจหรือที่เรียกว่า G 20 นั้น ไม่สามารถสร้างกฎเกณฑ์หรือกติกาในการแสวงหาความร่วมมือ และไม่ร่วมมือกันแก้ปัญหาอย่างจริงจังด้วยความพร้อมเพรียง แต่หากยังคงมุ่งหน้าสร้างเงื่อนไขของการอยู่รอดด้วยการกีดกันทางด้านการค้า ดังเช่นมาตรการที่สหรัฐอเมริกาวางแผนจะนำออกมาใช้กับผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่นการออกระเบียบให้โครงการต่าง ๆ ของรัฐบาลที่กำลังจะสร้างใหม่นั้นให้ใช้เฉพาะเหล็กหรือวัสดุที่ผลิตในประเทศเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อแก้ปัญหาการขาดดุลการค้าในการนำเข้าสินค้า เพราะสหรัฐอเมริกากำลังเผชิญหน้ากับตัวเลขการขาดดุลสูงที่สุดในประวัติศาสตร์นับตั้งแต่ก่อตั้งประเทศมากกว่า 1 ล้านล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐในปี 2551 โดยรัฐบาลจอร์จ บุช นับเป็นเรื่องน่ากังวลใจว่าหากผู้นำประเทศเศรษฐกิจทั่วโลกต่างนำมาตรการกีดกันเช่นนี้ออกมาใช้ ย่อมจะเป็นการเพิ่มความรุนแรงให้กับแก้ไขปัญหาให้ยากยิ่งขึ้น แน่นอนว่าทุกประเทศต้องการแสวงหาทางรอดของตัวเอง แต่แนวคิดหรือมาตรการใดๆเพื่อการอยู่รอดนั้นต้องคำนึงถึงประเทศอื่น ๆ ในโลกด้วย ไม่มีใครอยู่ได้คนเดียวในโลกอย่างแน่นอน
ในช่วงที่ผ่านมาโลกมีมูลค่าเศรษฐกิจทั้งหมดถึง 47 ล้านล้านเหรียญสหรัฐอเมริกาและทุกประเทศต่างพากันโทษสหรัฐอเมริกาว่าเป็นผู้เริ่มต้นของปัญหาจนลามเป็นวิกฤติในครั้งนี้ แล้วกำลังจะกลายเป็นผู้เริ่มต้นการใช้มาตรการกีดกันทางการค้า แหล่งผลิต อันเป็นการกลับลำแนวความคิดเสรีนิยมที่สหรัฐอเมริกาเป็นตัวตั้งตัวตีมาแต่ก่อน แต่ละประเทศต่างมีบริษัทใหญ่น้อยทยอยปิดตัว ล้มละลายรายวัน การแก้ปัญหาย่อมยากเย็นมากขึ้น ส่งผลให้เกิดการกระทำที่สะท้อนให้เห็นถึงความเห็นแก่ตัวเพื่อความอยู่รอดมากที่สุด อันเป็นธรรมชาติของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตทุกชีวิตในโลก การจะทำให้มนุษย์ทั้งโลก 6,800ล้านกว่าคนมาเสียสละกระทำในสิ่งเดียวกันนั้นพร้อมกันต้องถือเป็นเรื่องมหัศจรรย์จริง ๆ
ผมมองเหตุการณ์ที่กำลังเกิดอยู่ในครั้งนี้เหมือนว่าเรากำลังยืนอยู่ริมทะเล ข้างหน้าของเรามีคลื่นยักษ์สึนามิที่อีกไม่นานกำลังวิ่งถาโถมเข้ามา แต่คราวนี้เป็นคลื่นยักษ์ทางเศรษฐกิจที่เป็นความเสียหายอันเกิดจากการกระทำของมนุษย์ แล้วมนุษย์จะต้องเป็นผู้ได้รับผลกระทบนั้นอย่างถ้วนหน้า ไม่ว่ายากดีมีจน หรืออยู่ที่ใดในโลกอย่างมิอาจหลีกเลี่ยงได้ โดยเฉพาะประเทศไทยของเรา ผมมองว่ากำลังยืนอยู่ตรงกับแนวสึนามิที่จะพุ่งเข้ามาอย่างรุนแรง เพราะเกือบ 70 % ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของเรานั้นอาศัยการส่งออก หากประเทศผู้ซื้อของเราพากันบาดเจ็บ ล้มตายและไม่มียอดสั่งซื้อ เป็นดั่งที่นักวิเคราะห์ทั้งหลายได้เสนอความคิดเอาไว้ ประเทศไทยของเราคงหนีไม่พ้นกลายเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงของวิกฤติการณ์ และความเสียหายครั้งนี้มากที่สุดประเทศหนึ่งในโลก
วิกฤติเศรษฐกิจครั้งนี้นั้นเป็นเรื่องใหญ่ที่จะมีผลกระทบมนุษย์ทุกคนในโลก จึงเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่เราคนไทยต้องสนใจและพยายามมองหาทางออกเพื่อให้สามารถฝ่าวิกฤติไปได้ เพราะเพียงแค่ไตรมาส 4 ของปี 2551 ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมของเราติดลบกว่า 4% แล้ว จะว่าไปแล้วปี 2551 นั้นปัญหาของวิกฤติเพิ่งจะเริ่มต้นเท่านั้น การที่ไทยมีการติดลบมากขนาดนี้ ไม่ใช่เพียงเพราะวิกฤติโลกเท่านั้น แต่ยังมีแรงส่งจากวิกฤติภายในประเทศที่เราคนไทยกันเองได้สร้างขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดภาคใต้ที่ขยายตัวมากสุดในช่วง 3-5 ปีที่ผ่านมา ความขัดแย้งของคนเพียงไม่กี่คนจนบานปลายมาเป็นปัญหาทางการเมืองที่ต้องการทำลายความเชื่อมั่นของประเทศด้วยการปิดสนามบินนานาชาติ เพื่อขับไล่รัฐบาลของอดีตนายกฯสมชาย วงสวัสดิ์อันเป็นการกระทำที่เรียกว่าทุบหม้อข้าวตัวเองที่ร้ายแรงที่สุดตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อปี 2475 ทำให้ภาพลักษณ์ของคนไทยที่เต็มไปด้วยความเอื้ออาทร สมัครสมานสามัคคีกลายเป็นติดลบในสายตาเพื่อนชาวโลกไปในทันที ผลกระทบโดยตรงทำให้เม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศเกือบ 2 แสนล้านบาทที่จะมาลงทุนในไทยหันไปเข้ากระเป๋าเพื่อนบ้านเช่นเวียดนาม มาเลเซีย และจีนทันที เราคงปฎิเสธไม่ได้ว่าการลงทุนด้านการผลิตถือเป็นเสาหลักของความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจที่ทำให้คนไทยจะมีการเติบโตทางเศรษฐกิจ ก่อให้เกิดการสร้างงาน และที่แย่หนักกว่านี้อีกคือ ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจประเทศไทยของเรานั้นมีอัตราการเติบโตที่ช้าที่สุดในเอเชีย
ผมคิดว่าเราคงจะประสบปัญหาล้มละลายทางธุรกิจกันอีกมากมายทั้งในปีนี้และในอีก 2-3 ปีข้างหน้าเพราะการลงทุนจากต่างประเทศของเราในปี 2551 นั้นน้อยกว่าเวียดนามถึงเกือบ 700 % และการส่งออกหดตัวอย่างมหาศาสลพร้อมกับการท่องเที่ยวก็หายไปเช่นกัน ทั้งนี้เพราะคนทั่วโลกลดการเดินทางลงอย่างรุนแรง
หากเป็นเช่นนี้สภาพสถานการณ์ที่แท้จริงของเศรษฐกิจและสังคมไทยจะอยู่ในสถานที่อันตรายอย่างมาก นับเป็นวิกฤติการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนตั้งแต่ก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์จนถึงปัจจุบัน เหตุการณ์ดังกล่าวคาดว่าจะเลวร้ายลงไปอีกหากความขัดแย้งทางการเมืองที่แบ่งขั้ว หากเราขาดนักการเมืองที่มีวิสัยทัศน์ที่จะช่วยกันแก้ปัญหาของบ้านเมืองที่หนักหนาสาหัส มากกว่าการเล่มเกมทางการเมืองเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวและความอยู่รอดของพวกพ้อง
ผมมองวิกฤติครั้งนี้ว่าทุกคนในโลกกำลังเผชิญกับ สึนามิเศรษฐกิจของโลก แต่สิ่งที่คนไทยทุกคนกำลังเผชิญหน้าอยู่นี้มีมากกว่าหนึ่งขั้น เราต้องพบกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวทำให้เท้าของเรายืนด้วยความสั่นคลอน เพราะปัญหาจากการเมืองที่ขัดแย้งภายในและขยายตัวอย่างไม่หยุดหย่อน ทำให้หนทางในการอยู่รอดของเรานั้นยากมากขึ้น เรากำลังต่อสู้กับวิกฤติในประเทศและวิกฤตินอกประเทศไปพร้อม ๆ กัน และจะยากมากขึ้นไปอีกหากเรายังคงมองไม่เห็นหรือไม่เข้าใจอย่างแท้จริงกับสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและกำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งนี้หนทางในการแก้ไขปัญหาคงมืดมนอันนำไปสู่ความเสียหายอย่างประเมินค่ามิได้
ผมเชื่อว่าทุกอย่างในโลกนี้ย่อมสามารถบริหารจัดการได้ หากเราเข้าใจ ร่วมมือร่วมใจกันทำในสิ่งที่ถูกต้อง
การวางแผนอย่างรอบคอบ รวดเร็ว รู้เท่าทันปัญหาย่อมเป็นหนทางนำไปสู่การแก้ไขวิกฤติในครั้งนี้ได้ ผมขอยกตัวอย่างเวียดนามที่กลุ่มอมตะไปลงทุนนั้นมีการเปลี่ยนแปลง พัฒนาไปในทางสร้างสรรค์ตลอดเวลา เพราะคนเวียดนามมีความสามัคคี ไม่มีความแตกแยกทางความคิดมากเช่นเรา และนโยบายส่งเสริมการลงทุน เวียดนามได้ยึดเอาต้นแบบจากสิงคโปร์นำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับพื้นฐานทางสังคม เศรษฐกิจของประเทศได้อย่างเหมาะสม กลมกลืน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้นักลงทุนขนเงินเข้าเวียดนามในปี 2551 มากกว่าไทยเกือบ 7 เท่าที่ 2 ล้านล้านบาท เวียดนามไม่ค่อยได้รับผลกระทบจากวิกฤติการณ์ในครั้งนี้เท่าใดนัก การขายที่ดินในนิคมอมตะที่เวียดนามยังคงดำเนินไปด้วยดี แต่ธุรกิจนิคมอมตะในประเทศไทยช่วงไตรมาสแรกของปี 2552 นี้ลดลงถึง 300 %
นับตั้งแต่กลางปีที่แล้วผมเริ่มมองเห็นเค้าลางของสึนามิลูกใหญ่ที่กำลังมาเยือน ช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาจึงขอให้เจ้าหน้าที่ทุกคนช่วยกัน ข้อแรก ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นทั้งหมด จะใช้เฉพาะที่สำคัญจริง ๆเท่านั้น ข้อสอง ไม่ลงทุนใดๆ ที่จะต้องใช้เงินสด แต่หากเอาที่ดินซึ่งปัจจุบันมีอยู่กว่าหมื่นไร่ไปตีเป็นทุนก็ให้ทำได้ ข้อสำคัญต้องเป็นโครงการที่เพิ่มมูลค่าให้กับลูกค้าในนิคมอมตะ ข้อสาม เพิ่มความพยายามหาช่องทางในการขายให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้มีเงินสดหมุนเวียนเข้ามา ข้อสี่ หาพันธมิตรใหม่เข้ามาร่วมงานในการสร้างความมั่นคงของบริษัทและเพิ่มความสามารถในการพัฒนาอนาคตให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ข้อห้า เพิ่มวงเงินกู้จากธนาคารเพื่อกันการขาดกระแสเงินสด ในช่วงวิกฤติที่จะมาถึง หากมีความจำเป็นต้องใช้เงินจริง ๆ
ผมยังคงเป็นหวังว่าเหตุการณ์ครั้งนี้อาจบานปลายไปมากกว่าที่จะแก้ไขหรือควบคุมได้ ในระยะเวลา 3-5 ปีนี้ การใช้ชีวิตแบบพอเพียงให้มากที่สุดถือเป็นการบริหารการเดินทางสู่อนาคตที่จะทำให้ช่วยผ่อนหนักเป็นเบาได้ ทุกอย่างอยู่ที่วิสัยทัศน์ ความอดทน ความมุ่งมั่น ความมีเหตุและผลในการวางแผนปรับตัวควบคู่ไปกับการมีคุณธรรมในการดำเนินชีวิต ปัญหาต่าง ๆ ในโลกนี้ล้วนเกิดจากน้ำมือมนุษย์ทั้งสิ้น ผมมีความเชื่ออย่างแรงกล้าว่าเราจะสามารถฝ่าวิกฤติในครั้งนี้ไปได้อย่างแน่นอน
หากเราเตรียมตัวมากเท่าใด ปัญหาก็จะยิ่งน้อยลงไปเท่านั้น
หากเรามีความหวัง อนาคตย่อมมีหนทางให้เราเดินไปได้เสมอ