หน้า 1 จากทั้งหมด 8
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์แล้ว: จันทร์ มี.ค. 30, 2009 10:40 pm
โดย pavilion
อัตราว่างงานในสหรัฐพุ่ง8.5%
วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2552 06:58
นักวิเคราะห์คาดอัตราว่างงานในสหรัฐเดือนมี.ค.พุ่ง8.5%สูงสุดในรอบ26ปี
นักวิเคราะห์ในโพลล์สำนักข่าวบลูมเบิร์กคาดการณ์ว่า อัตราว่างงานประจำเดือนมี.ค.ของสหรัฐจะพุ่งขึ้นแตะระดับ 8.5% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 26 ปี จากเดือนก.พ.ที่ระดับ 8.1% ซึ่งอาจทำให้เศรษฐกิจสหรัฐถดถอยยาวนานที่สุดในรอบ 70 ปี นอกจากนี้ คาดว่าตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตร (nonfarm payroll) เดือนมี.ค.จะร่วงลง 660,000 คน ซึ่งจะทำให้จำนวนคนตกงานโดยรวมพุ่งขึ้นเป็น 5 ล้านคน
ส่วนอัตราว่างงานในเดือนก.พ.พุ่งขึ้นแตะ 8.1% ขณะที่ตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตร (non farm payroll) ร่วงลง 651,000 ตำแหน่ง โดยอัตราว่างงานปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องจากระดับ 7.6% ในเดือนม.ค., 7.2% ในเดือนธ.ค. และ 6.8 ในเดือนพ.ย. นอกจากนี้ ตัวเลขดังกล่าวยังสูงกว่าระดับ 7.9% ที่บรรดานักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้
มาร์คท วิทเนอร์ นักวิเคราะห์จากธนาคารวาโชเวียในรัฐนอร์ธ แคโรไลนา กล่าวว่า กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า อัตราว่างงานในสหรัฐพุ่งขึ้นแตะ 8.1% ในเดือนก.พ.ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบกว่า 25 ปี ขณะที่ตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตร (non farm payroll) ร่วงลง 651,000 ตำแหน่ง
"เราคาดว่าภาคการผลิตจะยังคงเลย์ออฟพนักงานและลดการผลิตลงอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้กิจการสามารถอยู่รอดในช่วงที่เศรษฐกิจสหรัฐและทั่วโลกเผชิญกับภาวะถดถอยรุนแรง" วิทเนอร์กล่าว
กระทรวงแรงงานสหรัฐจะเปิดเผยอัตราว่างงาน และตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตรประจำเดือนก.พ.ในคืนวันศุกร์ที่ 3 เม.ย.นี้ สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงาน
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์แล้ว: จันทร์ มี.ค. 30, 2009 10:42 pm
โดย pavilion
รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2552
นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ได้เปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ว่า เศรษฐกิจไทยชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอุปสงค์ภายในประเทศทั้งในด้านการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนที่มีสัญญาณของการหดตัวต่อเนื่อง ขณะที่ผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจโลกทำให้การส่งออกหดตัวลงมาก อย่างไรก็ตาม การนำเข้าที่ลดลงมากทำให้การส่งออกสุทธิและดุลการค้าเกินดุลสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในเดือนกุมภาพันธ์ทั้งนี้ การเร่งเบิกจ่ายภาครัฐมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในการสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วงที่การใช้จ่ายภาคเอกชนชะลอตัวลง สำหรับด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจยังอยู่ในเกณฑ์ดี จากอัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับต่ำ แต่มีความเสี่ยงจากอัตราการว่างงานที่ปรับตัวสูงขึ้น นอกจากนี้ทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับมั่นคง สะท้อนถึงเสถียรภาพภายนอกที่แข็งแกร่งของเศรษฐกิจไทย โดยมีรายละเอียดสรุปได้ดังนี้
1. การบริโภคภาคเอกชนในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 หดตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชนจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ในเดือนกุมภาพันธ์หดตัวรุนแรงขึ้นที่ร้อยละ -24.2 ต่อปี จากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -16.2 ต่อปี สะท้อนภาวะการใช้จ่ายภายในประเทศที่หดตัวลงอย่างชัดเจน สอดคล้องกับปริมาณการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคที่หดตัวร้อยละ -22.0 ต่อปี และปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่งที่หดตัวลงที่ร้อยละ -16.6 ต่อปี สำหรับเครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชนในส่วนภูมิภาค เช่น ปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์หดตัวลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่สองที่ร้อยละ -16.7 ต่อปี เนื่องจากรายได้เกษตรกรที่ปรับตัวลดลงจากราคาสินค้าเกษตรที่ปรับตัวลดลง และส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อของประชาชนในส่วนภูมิภาค
2. การลงทุนภาคเอกชนในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 หดตัวต่อเนื่องเช่นกัน โดยเครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรที่วัดจากปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนหดตัวที่ร้อยละ -14.9 ต่อปี สอดคล้องกับปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ที่หดตัวลงต่อเนื่องที่ร้อยละ -38.1 ต่อปีต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 10 สะท้อนถึงการลงทุนภาคเอกชนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรที่ปรับตัวลดลงต่อเนื่องเช่นเดียวกับเครื่องชี้การลงทุนในหมวดการก่อสร้างที่วัดจากภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์รวมหดตัวร้อยละ -12.7 ต่อปี หดตัวลงมากจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 0.8 ต่อปี โดยเป็นผลจากภาวะวิกฤติเศรษฐกิจและภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศ รวมถึงการลงทุนภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ชะลอลงตัวส่งผลทำให้ปริมาณธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ลดลง
3. เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจด้านการคลังในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 พบว่า รายได้รัฐบาลสุทธิประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2552 จัดเก็บได้สุทธิ 82.4 พันล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ -29.1 ต่อปี โดยมีสาเหตุสำคัญจากภาษีมูลค่าเพิ่ม อากรขาเข้า และภาษีสรรพสามิตรถยนต์ที่จัดเก็บได้ลดลง สะท้อนภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศที่ชะลอตัวลงมาก ทั้งนี้ภาษีฐานรายได้และภาษีฐานการบริโภคหดตัวที่ร้อยละ -1.8 ต่อปี และร้อยละ -25.2 ต่อปี ตามลำดับ สำหรับรายจ่ายรัฐบาลประจำเดือน กุมภาพันธ์ 2552 รัฐบาลเบิกจ่ายรวมทั้งสิ้น 179.7 พันล้านบาท ขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 51.4 ต่อปี โดยเป็นการเบิกจ่ายของงบประจำจำนวน 132.7 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.5 ต่อปี ขณะที่รายจ่ายลงทุนสามารถเบิกจ่ายได้จำนวน 33.8 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นในระดับสูงมากถึงร้อยละ 217.0 ต่อปี เนื่องจากรัฐบาลได้เบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนที่เป็นเงินอุดหนุนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จำนวน 26.0 พันล้านบาท ทั้งนี้ การใช้จ่ายงบประมาณที่ขยายตัวได้ในระดับสูงสะท้อนถึงบทบาทนโยบายการคลังในการสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องในช่วงที่การใช้จ่ายภาคเอกชนยังคงชะลอตัว
4. การส่งออกในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 หดตัวลงต่อเนื่องเนื่องจากได้รับผลกระทบจากภาวะวิกฤติเศรษฐกิจโลก โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐหดตัวร้อยละ -11.3 ต่อปี โดยปริมาณการส่งออกหดตัวที่ร้อยละ -11.1 ต่อปี ในขณะที่ราคาสินค้าส่งออกหดตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ -0.3 ต่อปี ทั้งนี้ มูลค่าการส่งออกที่หดตัวลดลงเทียบกับเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -26.5 ต่อปี เนื่องจากมูลค่าการส่งออกทองคำที่ขยายตัวในระดับสูงมากที่ร้อยละ 1,148 ต่อปี อย่างไรก็ดีหากไม่รวมการส่งออกทองคำ มูลค่าการส่งออกสินค้ายังคงหดตัวในระดับสูงถึงร้อยละ -24.6 ต่อปี ทั้งนี้สินค้าส่งออกหลักมีการหดตัวแทบทุกหมวด โดยเฉพาะสินค้าเกษตร เครื่องเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และสินค้ายานยนต์ ซึ่งเป็นผลจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว สะท้อนจากมูลค่าการส่งออกไปยังประเทศคู่ค้าสำคัญของไทยที่หดตัวลงในเกือบทุกตลาด ด้านมูลค่าการนำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐเดือนกุมภาพันธ์ 2552 อยู่ที่ 8.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวในระดับสูงที่ร้อยละ -40.3 ต่อปี โดยปริมาณนำเข้าหดตัวที่ร้อยละ -37.0 ต่อปี และราคาสินค้านำเข้าหดตัวที่ร้อยละ -5.3 ต่อปี อันเป็นผลจากมูลค่าการนำเข้าหดตัวในทุกหมวด ทั้งสินค้าวัตถุดิบ สินค้าทุน สินค้าอุปโภคบริโภค และสินค้าเชื้อเพลิง สะท้อนให้เห็น ถึงความต้องการผลิตและความต้องการใช้จ่ายภายในประเทศที่หดตัวลง ทั้งนี้ มูลค่านำเข้าที่หดตัวมากกว่ามูลค่าส่งออก ทำให้การส่งออกสุทธิและดุลการค้าเกินดุลสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ในเดือนกุมภาพันธ์ที่ 3.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
5. สำหรับเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจด้านอุปทานของเดือนกุมภาพันธ์ 2552 พบว่า ภาคอุตสาหกรรมมีการหดตัวลงมาก และภาคบริการจากการท่องเที่ยวมีสัญญาณชะลอตัวต่อเนื่อง ขณะที่ภาคการเกษตรยังสามารถขยายตัวได้ แม้ว่าจะชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า โดยเครื่องชี้การผลิตภาคอุตสาหกรรมวัดจากดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมหดตัวลงถึงร้อยละ -23.3 ต่อปี ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ซึ่งเป็นผลจากการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมที่เน้นการส่งออกที่หดตัวลงต่อเนื่อง โดยเฉพาะชิ้นส่วน
อิเล็กทรอนิกส์เครื่องใช้ไฟฟ้า และยานยนต์ ตามความต้องการของตลาดต่างประเทศที่ลดลงมากขณะที่อุตสาหกรรมที่เน้นตลาดทั้งในและต่างประเทศ อาทิ สิ่งทอ และเครื่องหนัง ปรับตัวลดลงมากเช่นกัน เช่นเดียวกับอัตราการใช้กำลังการผลิตที่ชะลอตัวลงต่อเนื่อง ด้านภาคบริการจากการท่องเที่ยวหดตัวลงต่อเนื่องเช่นกัน โดยจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทยมีจำนวนทั้งสิ้น 1.2 ล้านคน หดตัวลงร้อยละ -21.5 ต่อปี โดยการหดตัวของนักท่องเที่ยวต่างประเทศส่วนหนึ่งเป็นผลจากปัจจัยวิกฤตเศรษฐกิจโลก ด้านเครื่องชี้ภาคการเกษตรวัดจากดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรยังคงขยายตัวที่ร้อยละ 4.4 ต่อปี ชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 5.4 ต่อปี เนื่องจากการชะลอตัวของผลผลิตสำคัญ โดยเฉพาะปาล์มน้ำมัน อันเป็นผลจากราคาที่ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง จึงไม่จูงใจให้เกษตรกรทำการเพาะปลูกและเก็บเกี่ยว
6. เสถียรภาพเศรษฐกิจยังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนกุมภาพันธ์หดตัวร้อยละ -0.1 ต่อปี หดตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -0.4 ต่อปี โดยปัจจัยที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อหดตัวลดลงเนื่องจากราคาน้ำมันขายปลีกที่ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 12.0 เนื่องจากมีการยกเลิกมาตรการปรับลดภาษี
สรรพสามิตน้ำมัน ด้านอัตราการว่างงานในเดือนมกราคม 2552 ที่ร้อยละ 2.4 ของกำลังแรงงานรวมปรับตัวสูงขึ้นเทียบกับเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 1.4 ของกำลังแรงงานรวม สำหรับสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2551 อยู่ที่ร้อยละ 38.1 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า เนื่องจากการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณของปีงบประมาณ 2552 แต่ยังถือว่าต่ำกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 50 ค่อนข้างมากสำหรับเสถียรภาพภายนอกประเทศยังอยู่ในระดับมั่นคง และสามารถรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนของวิกฤติการเงินโลก สะท้อนได้จากทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2552 อยู่ในระดับสูงที่ 113.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสูงกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้นเกินกว่า 4 เท่า
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์แล้ว: จันทร์ มี.ค. 30, 2009 10:44 pm
โดย pavilion
เวิลด์แบงค์คาดเศรษฐกิจรัสเซียหดตัว 4.5% ในปีนี้หลังราคาน้ำมันร่วงหนัก
ธนาคารโลกคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจรัสเซียอาจหดตัวลง 4.5% ในปีนี้ หลังราคาน้ำมันร่วงลงอย่างหนักและเศรษฐกิจโลกถดถอยต่อเนื่อง ส่งผลให้อัตราว่างงานพุ่งสูง ทำให้ประชาชนเข้าสู่ภาวะยากไร้มากกว่าเดิม
"วิกฤตเศรษฐกิจที่กำลังลุกลามไปทั่วโลกทำให้มีโอกาสน้อยมากที่เศรษฐกิจรัสเซียจะฟื้นตัวในเร็ววันนี้" ธนาคารโลกระบุในรายงาน
นอกจากนั้นวิกฤตเศรษฐกิจโลกครั้งนี้อาจถดถอยยาวนานและรุนแรงกว่าเมื่อปี 2541 อันเป็นผลมาจากตลาดสินเชื่อที่กำลังตึงตัวและราคาน้ำมันที่ลดลงอย่างมาก รวมถึงอัตราว่างงานที่พุ่งสูงและรายได้ที่ลดลงด้วย
"ในระยะสั้นทางการรัสเซียต้องเผชิญความท้าทายสองอย่างพร้อมกัน นั่นคือการป้องกันผลกระทบทางสัมคมและการจัดการกับผลกระทบที่มีต่อเศรษฐกิจที่แท้จริง" รายงานดังกล่าวระบุ
ในขณะเดียวกัน ทางการรัสเซียคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจประเทศจะหดตัวลง 2.2% ในปีนี้ หลังจากที่ขยายตัวมาตลอด 10 ปีที่ผ่านมา นอกจากนั้นยังอนุมัติให้มีการพิจารณางบประมาณอีกครั้งหลังประสบภาวะงบประมาณขาดดุลเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 10 ปี ที่ 2.98 ล้านล้านรูเบิล (8.82 หมื่นล้านดอลลาร์) หรือราว 7.4% ของจีดีพี สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงาน
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์แล้ว: จันทร์ มี.ค. 30, 2009 10:45 pm
โดย pavilion
ข่าวร้ายมากันเป็นระลอกเลยครับ ดูท่าเศรษฐกิจยังยากที่จะฟื้นตัวครับ
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์แล้ว: จันทร์ มี.ค. 30, 2009 10:50 pm
โดย pavilion
ชำแหละไฟวิกฤตลามไทย จาก "ซับไพรม" ถึง "ภาคการผลิต"
ปฏิเสธไม่ได้ว่า ที่ผ่านมาเศรษฐกิจไทยได้รับประโยชน์จากโลกาภิวัตน์และการเติบโตของเศรษฐกิจโลก ไม่ว่าจะในด้านการค้า การลงทุน การไหลเข้ามาของเงินทุนทั้งทางตรงและทางอ้อม แต่เมื่อเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้ารายใหญ่ เช่น สหรัฐอเมริกาและยุโรปมีปัญหา เศรษฐกิจไทยก็ไม่สามารถหลบหลีกได้
2 หนุ่มนักเศรษฐศาสตร์ ข้าราชการทั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยและกระทรวงการคลังกับ 1 สาว ผู้มีบทบาททั้งในฐานะนักการเงินและนักวิชาการอิสระ ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ และ คุณสฤณี อาชวานันทกุล ช่วยกันชำแหละ ปอกเปลือกโคตรวิกฤตเศรษฐกิจแห่งศตวรรษที่ 21 หายนะจาก ฟองสบู่ซับไพรมสู่ประเทศไทยอย่างถึงแก่น พร้อมเสนอใช้วิกฤตสร้างโอกาส ปฏิรูปภาคเศรษฐกิจจริงและโครงสร้างพื้นฐาน สร้างรากฐานเศรษฐกิจไทยให้แข็งแรงรับความเปลี่ยนแปลงที่ถาโถมในอนาคต
- ตีโจทย์ 4 ช่องทางไฟลามบ้าน
ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้บริหารทีมนโยบายการค้าและเงินทุน สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึง ผลกระทบของเศรษฐกิจสหรัฐที่เข้ามากระทบกับประเทศไทยนั้นมีที่มาที่ไปอย่างไรไว้ว่า ถ้าถามคำถามนี้เมื่อประมาณ 3 เดือนที่แล้ว ผมก็จะบอกว่า มันมีอยู่ 7-8 ช่องทางที่สำคัญที่มาจากเศรษฐกิจไทยเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจสหรัฐและโลก เช่น หุ้น ส่งออก ท่องเที่ยว การกู้ยืมเงินจากต่างประเทศ ความเชื่อมั่นจากต่างประเทศ การลงทุนจากต่างประเทศ เป็นต้น
แต่ 3 เดือนให้หลังมานี้มีข้อมูลชัดเจนและเริ่มมองเห็นปัญหาชัดขึ้นว่า มีไฟที่กำลังลามเข้ามาประเทศไทย 3-4 ช่องทางด้วยกัน คือ 1) การส่งออก เนื่องจากเรามีต่างชาติเข้ามาตั้งโรงงานในประเทศไทยมาก นี่เป็นปัญหาว่าเราจะทำยังไงกันต่อไป 2) ราคาสินค้าเกษตร ที่ตอนนี้กำลังตกต่ำ ซึ่งต่างจากวิกฤตเมื่อปี 2540 ตอนนั้นการส่งออกยังช่วยเศรษฐกิจไทย แต่ตอนนี้การส่งออกก็ช่วยไม่ได้ แถมสินค้าเกษตรก็ยังมีราคาตกต่ำอีก
3) สภาพคล่อง ก่อนหน้านี้บริษัทใหญ่ๆ ในเมืองไทย ถ้าต้องการเพิ่มทุนก็ออกไปกู้ต่างประเทศ ตอนนี้ก็กู้ไม่ได้แล้วต้องกลับมากู้แบงก์ในเมืองไทย แต่ขนาดธุรกิจมันก็ใหญ่เกินไปที่จะกู้จากแบงก์เดียว หลายบริษัทก็เลยต้องออกหุ้นกู้ แต่ถ้าทำกันมากๆ ก็จะทำให้สภาพคล่องของแบงก์หายไป ผลกระทบก็จะไป ตกกับ กลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอีอีก ช่องทางที่ 4) ความเชื่อมั่น เพราะทุกวันมีแต่ข่าวร้าย และทำให้เกิดความตระหนก ยิ่งพวกเราพูด มันก็ยิ่งโคตรวิกฤต
- ถึงเวลาเผชิญหน้าความจริง
ดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเศรษฐกิจมหภาค และโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กล่าวถึงสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นจากเศรษฐกิจโลกที่ลุกลามเข้าสู่ประเทศไทยในเวลานี้และกำลังแผ่ขยายวงรอบของปัญหากว้างขึ้นเรื่อยๆ ว่า สิ่งสำคัญของวันนี้ คือเราต้องเผชิญหน้าความจริง ยอมรับและต่อสู้กับมัน
ปัญหาครั้งนี้ สำหรับเมืองไทยแตกต่างจากสหรัฐอเมริกา และมันเข้ามาคนละช่อง คือถ้ามองเหมือนท่อน้ำ ปัญหาวิกฤตเมื่อปี 2540 คล้ายกับอเมริกาในตอนนี้ คือเข้าที่ภาคธุรกิจการเงิน และลามมาที่สภาพคล่อง ลามมาที่ธุรกิจล้มละลาย แล้วมากระทบภาคเศรษฐกิจจริง แบงก์เจ๊ง สถาบันการเงินเจ๊ง แต่วิกฤตครั้งนี้ในเมืองไทย แบงก์เรามีระบบเข้มแข็งแล้ว เพราะครั้งที่แล้ว เราเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาสได้ดีมาก เรารู้ว่าแบงก์เรามีปัญหาเราจึงปฏิรูปแบงก์เยอะมาก
แต่ครั้งนี้มันเข้าอีกทางหนึ่ง น้ำจะไหลจากซ้ายไปขวา จากวิกฤตแบงก์มาสู่ภาคเศรษฐกิจจริง วันนี้มันเข้าตรงไปที่ภาคเศรษฐกิจจริง ผ่านการส่งออก ซึ่งเราพึ่งพาเยอะ แล้วพอเข้าภาคการส่งออก สิ่งที่กระทบก่อน คือคำสั่งซื้อหาย ธุรกิจไทยที่พึ่งพิงการส่งออกค่อนข้างมาก ก็ลดการผลิต ลดการจ้างงาน ตอนนี้ปัญหาของไทยอยู่ตรงนี้
- แนะตัดวงจรอุบาทว์ทำเศรษฐกิจจริงพัง
สิ่งที่ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเศรษฐกิจมหภาคจากกระทรวงการคลังผู้นี้ให้ความสนใจและเสนอแนะวิธีแก้ปัญหาในขณะนี้ ดร.เอกนิติระบุว่า ถ้าการปลดคนงานในวงกว้างเกิดขึ้นเมื่อไร มันจะลามให้การใช้จ่ายในประเทศที่เราต้องการดันเข้ามาแทนการส่งออกที่หายไป ซึ่งถ้าดูจากตัวเลขอัตราการว่างงานเมื่อเดือน ธ.ค.2551 อยู่ที่ 1.4% พอมาเดือน ม.ค.2552 ขึ้นเป็น 2.4% สถานการณ์อย่างนี้ยิ่งทำให้การกระตุ้นการใช้จ่ายภายในประเทศ ยิ่งเกิดขึ้นได้ยาก
"การบริโภคดันยาก การลงทุนไม่ต้องพูดถึง ณ วันนี้ไม่มีเอกชนที่ไหนลงทุน ตรงนั้นเป็นวิกฤตของภาคเศรษฐกิจจริง พอคนตกงานเยอะ รายได้คนหาย ก็ไม่มีใครอยากกินอยากใช้ บวกกับความเชื่อมั่น ผลก็คือว่า เอกชนก็ไม่รู้จะผลิตอะไรต่อ กลายเป็นปัญหาภาคเศรษฐกิจจริง หมุนเป็นวงจรอุบาทว์ หมุนไปเรื่อยๆ ดันเท่าไรก็ดัน ไม่ขึ้น วิธีการ คือตอนนี้รัฐบาลต้องตัดวงจรอุบาทว์นี้ให้ได้ด้วยทุกวิถีทางที่ทำได้"
เพราะถ้าตัดวงจรที่เกิดขึ้นกับภาคเศรษฐกิจจริงไม่ได้ น้ำจะเริ่มไหล ปัญหาจะเริ่มไหลย้อนกลับมาที่แบงก์ ปัญหาตอนนี้ก็มีอีก คือแบงก์กลับอยู่ในที่ปลอดภัยไว้ก่อน เมื่อก่อนแบงก์มีปัญหา คนก็ยอมรับ แต่พอคนอื่นมีปัญหา แบงก์ก็เริ่มปฏิเสธ แล้วถ้าแบงก์ปฏิเสธไปเรื่อยๆ มันก็ฟื้นเศรษฐกิจจริงไม่ได้ แบงก์ก็จะมีปัญหาได้
"แม้วันนี้แบงก์จะบอกว่าตัวเองมีความเข้มแข็งและคนอื่นๆ จะยอมรับส่วนนี้ไม่ว่าจะดูจากตัวเลขเอ็นพีแอล (nonperforming loan = หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้) ตัวเลขเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง ก็ถือว่าเข้มแข็งมาก แต่แบงก์ก็มีความสามารถที่จะรองรับความเสี่ยงได้ระดับหนึ่งเท่านั้น"
- ใช้วิกฤตเป็นโอกาสปฏิรูปโครงสร้าง การผลิต
ดร.เอกนิติอธิบายเพิ่มเติมด้วยว่า การตัดวงจรอุบาทว์ในสถานการณ์ของปัญหาที่เผชิญอยู่ในเวลานี้ ต้องเริ่มต้นที่การแก้ปัญหาด้านการผลิต โดยกล่าวว่า วิกฤตคราวก่อนที่เราฟื้นได้เร็ว นอกจากเราจะแก้ปัญหาหนี้เสียได้เร็วแล้ว ภาคการผลิตของเราก็ปรับตัวได้เร็วด้วย คือเมื่อคนตกงานจากแบงก์ไปขายแซนด์วิช คนตกงานจากภาคก่อสร้างซึ่งเราลงทุนเกินตัวก็เข้าไปทำภาคเกษตร ช่วงนั้นอัตราการว่างงานยัง ไม่ถึง 5% ประเด็น คือวันนี้เราต้องปรับตัวให้เร็ว
วันนี้ เราโดนผลกระทบมาที่ภาคการผลิต และปัญหาภาคการผลิตก็มีโอกาสตกลงมา เพราะเราพึ่งการส่งออกเยอะมาก ส่วนใหญ่เป็นการรับออร์เดอร์จากต่างประเทศ คุณภาพของคน เราก็ไม่ได้พัฒนามากเท่าไรมานานมากแล้ว การศึกษาเฉลี่ยของคนไทยทั้งระบบมีไม่ถึง 8 ปี คือ จบไม่เกิน ม.3 และคนที่จบออกมา ความต้องการก็ไม่ตรงกับการผลิต ตรงตามสาขาอีก รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการคมนาคมขนส่ง ระบบชลประทาน
ผมคิดว่าตอนนี้ไม่ใช่เวลาแค่มาพูดอีกต่อไป แต่มันต้องมีแผน แล้วตรงนี้เราสามารถเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาสได้ โดยใช้การปฏิรูปภาคเศรษฐกิจจริง คราวที่แล้วเราปฏิรูปภาคการเงินได้ ทำให้วันนี้ภาคการเงิน การธนาคารเราแข็งแรง แต่วันนี้ผมเชื่อจริงๆ ว่า ท่ามกลางวิกฤตมีโอกาส ปัญหาครั้งนี้ เราไม่ได้เป็นต้นตอ เราเป็นเพียงแต่ผู้รับปัญหา ครั้งที่แล้วต้มยำกุ้งเป็นต้นตอ ครั้งนี้วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์เป็นต้นตอ แล้วผลมันเข้ามาแน่นอน และเราควรใช้วิกฤตตรงนี้เป็นโอกาสในการปฏิรูป
- ถึงเวลาเอาจริงกับการแก้ปัญหาโครงสร้างพื้นฐาน
ด้าน คุณสฤณี อาชวานันทกุล นักการเงินและนักวิชาการอิสระ กล่าวเสริมข้อเสนอของ ดร.เอกนิติว่า อยากให้มองปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นปัญหาของระบบ เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการศึกษา ระบบสุขภาพ การเกษตร อยากให้รัฐบาลเข้ามาปรับปรุงโครงสร้างอย่างจริงจัง อย่างในภาคการผลิต เป็นไปได้มั้ย ที่เราจะสร้างตลาดในประเทศ สร้างภาคธุรกิจในประเทศให้แข็งแกร่งอย่างจริงจัง
ประการที่สอง เราต้องพิจารณาในภาคเอสเอ็มอี ทำอย่างไรเราจึงจะมีเอสเอ็มอี ที่แข็งแกร่ง ซึ่งต้องรวมกับสปิริตของผู้ประกอบการ ทำอย่างไรให้การแข่งขันในประเทศนั้นไม่ได้เอื้อกับผู้ประกอบการรายใหญ่เท่านั้น แต่ยังทำให้เอสเอ็มอีเข้ามา แข่งขันได้ด้วย เราต้องกลับไปดูที่ภาพใหญ่ ไม่ใช่อะไรๆ รัฐบาลก็ขอให้เอสเอ็มอีแบงก์ ปล่อยกู้ไปเรื่อยๆ โดยที่ไม่ได้ดูเลยว่า ในความเป็นจริงแล้ว เมื่อปล่อยกู้ไปแล้ว เงินมันไปที่ไหนต่อ และเอสเอ็มอีสามารถแข่งขันได้จริงหรือไม่
ตอนนี้ตัวเองก็ได้มีโอกาสทำงานวิจัยในภาคชนบทร่วมกับอาจารย์จากจุฬาฯและธรรมศาสตร์ และเราพบว่าในปัจจุบันมีนวัตกรรมหลายอย่างกำลังเกิดขึ้นในชนบท และเป็นนวัตกรรมอย่างแท้จริง ชาวบ้านเขาก็ไม่ได้อยู่เฉยๆ รอให้ใครเข้าไปช่วย เขาก็พยายามช่วยเหลือตัวเอง ตรงนี้ถือเป็นโอกาสที่ภาครัฐจะเข้าไปดูและเชื่อมโยงให้ได้
อีกเรื่องที่น่าเป็นห่วง คือถ้าย้อนไปเมื่อ ปี 2540 คนที่ตกงานจากในเมืองเขาก็กลับไปบ้าน ไปทำงานในภาคการเกษตร แต่ตอนนี้โครงสร้างชนบทที่รองรับคนเหล่านี้ในปัจจุบันมันอ่อนแอลงเยอะนับตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นมา อ่อนแอมาก กระทั่งหลายแห่ง ถ้าถามว่าความหมายของชุมชนคืออะไรในชนบท คำตอบก็คือคนแก่อยู่บ้านเลี้ยงหลาน ไม่มีรายได้อะไร และอยู่ได้ด้วยเงินจากลูกชายลูกสาวที่ทำงานอยู่ในเมืองส่งไปให้
แล้วถามอีกว่า ถ้าลูกชายลูกสาวตกงานกลับบ้าน ตอนนี้ก็อาจจะทำให้มีคน 3 รุ่นที่ไม่มีงานทำ แล้วสังคมจะเป็นอย่างไร
เราต้องมาคิดอย่างจริงจังในภาพใหญ่ เรื่องการกระจายรายได้ เรื่องส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน หรือจะทำอย่างไรไม่ให้มีการกระจุกตัวของงานในเมือง เรื่องต่างๆ เหล่านี้ ถ้าเราลงมือแก้ปัญหาอย่างจริงจัง มันก็จะเป็นโอกาสที่จะทำให้เราผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปได้อย่างยั่งยืน
- สร้างทัศนคติถูกต้องก่อนทำนโยบาย
ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล กล่าวต่อไปด้วยว่า ถ้าเราจะวินิจฉัยอาการตามหลักอริยสัจ 4 ทุกข์ของเราตอนนี้อยู่ที่เรามีความเกี่ยวข้องกับโลกาภิวัตน์และเศรษฐกิจโลกใน 3 ขา คือการค้า เงินทุน และคน ส่วนวิธีการดับทุกข์นั้น ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจจริงๆ ก่อนว่า อะไรเป็นไปได้ อะไรเป็นไปไม่ได้ อย่างที่เขาบอกว่า ทางดับทุกข์คือมรรค 8 ซึ่งก็คือต้องมีทัศนคติที่ถูกต้อง ผมว่าเรื่องนี้สำคัญ เพราะในอดีต ความที่มีทัศนคติที่ผิด เช่นมีรัฐมนตรีบอกว่าจะทำให้จีดีพีโต 6% ซึ่งเมื่อฟังเสร็จแล้ว ก็ไม่ได้ทำให้ความเชื่อมั่นเกิดขึ้นมา เพราะเรารู้ว่ามันเป็นไปไม่ได้
หรือแม้กระทั่งบอกว่าปีนี้จะเอาส่งออกให้ได้ 5% มันก็คงจะยาก เพราะส่งออกไปอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่นติดลบ 20-30% อาเซียน -30% จีน -40% อินเดีย -30% ตะวันออกกลางก็ -1% สรุปคือไม่มีตลาดไหนที่จะส่งออกไปได้
"เราต้องเริ่มจากทัศนคติที่ถูกต้อง คือ ไม่ต้องตั้งเป้าว่าจะให้จีดีพีอยู่ที่ตัวเลขเท่าไร แต่ต้องประคองตัวเองให้ผ่านไปได้ ต้องคิดว่าจะทำอย่างไรให้เราผ่านวิกฤตนี้ออกไปได้ เหมือนคนตกน้ำไม่ต้องคิดว่าจะว่ายยังไงให้สวย เอาแค่ทำให้ได้อย่างหมาตะกุยน้ำ แล้วตะกุยให้ผ่านไปให้ได้ถึงสิ้นปี"
เราต้องเริ่มจากทัศนคติที่ถูกต้อง แล้ว หามาตรการดำเนินการที่ถูกต้อง พระเอกของปีนี้จึงอยู่ที่นโยบายการคลัง ด้วยการกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายให้ถูกจุด และต้องกระตุ้นเศรษฐกิจให้เพียงพอ เพราะวิกฤตครั้งนี้เป็นวิกฤตที่รุนแรงในรอบ 80 ปี และมาตรการที่ต้องทำ ก็ต้องทำให้แรงที่สุดในรอบ 80 ปีด้วยเช่นกัน
ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่เมื่อสัปดาห์ก่อนหน้านี้ นายกรัฐมนตรีได้ออกมาพูดว่าจะขอยกเลิกวินัยการคลังเป็นการชั่วคราว เพื่อทำให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจให้ได้ผลตามที่ตั้งใจไว้ เพราะเรากำลังหมดเม็ดเงินจากแผนกระตุ้นเศรษฐกิจแสนล้านบาทไปแล้ว การกู้จากต่างประเทศก็ต้องใช้เวลา จึงเป็นหน้าที่ของกระทรวงการคลังที่ต้องใช้จ่าย
นอกจากใช้จ่ายในแผนกระตุ้นเศรษฐกิจแล้ว ก็ต้องหันไปใช้จ่ายในโครงการลงทุนระยะยาว เพราะยังไงระบบเศรษฐกิจก็ต้องฟื้นขึ้นมาได้ ซึ่งผมคิดว่าเศรษฐกิจน่าจะฟื้นอย่างเต็มที่ไม่เกิน 3-5 ปีนี้
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์แล้ว: อังคาร เม.ย. 07, 2009 10:48 pm
โดย pavilion
อังกฤษเผยผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนก.พ.อ่อนตัว 0.9% หลังเศรษฐกิจโลกดิ่ง
สำนักงานสถิติแห่งชาติของอังกฤษ เปิดเผยว่า ผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนก.พ.อ่อนตัว 0.9% จากเดือนม.ค. ส่งสัญญาณว่าอุตสาหกรรมการผลิตของอังกฤษย่ำแย่อย่างต่อเนื่อง หลังจากที่วิกฤตเศรษฐกิจโลกฉุดดีมานด์สินค้าประเภทต่างๆ ตั้งแต่รถยนต์ไปจนถึงเซรามิค ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์ที่บลูมเบิร์กสำรวจความคิดเห็นคาดการณ์ว่า ผลผลิตอุตสาหกรรมของอังกฤษจะอ่อนตัวลง 1.5% ในเดือนก.พ.
ขณะที่หอการค้าอังกฤษรายงานว่า ยอดส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมร่วงลงแตะระดับต่ำสุดในไตรมาสแรก ซึ่งอาจทำให้ที่ประชุมธนาคารกลางอังกฤษตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 0.5% ในการประชุมสัปดาห์นี้ ในขณะที่ธนาคารได้เข้าซื้อสินทรัพย์ที่สามารถทำเงินได้ เพื่อพยุงเศรษฐกิจของประเทศ
ปีเตอร์ ดิ๊กซอน นักเศรษฐศาสตร์ของคอมเมิร์ซแบงค์ เอจี กล่าวว่า แนวโน้มภาคการผลิตยังไม่ค่อยดี เนื่องจากทางการไม่สามารถแก้ปัญหาได้
ทั้งนี้ ผลผลิตของโรงงานที่ร่วงลงนั้นได้แก่อุปกรณ์ขนส่ง โลหะพื้นฐาน และผลิตภัณฑ์จากแร่ธาตุที่ปลอดโลหะ เช่น เซรามิค โดยเมื่อเทียบเป็นรายเดือนแล้ว ผลผลิตในเดือนก.พ.ถือว่าเป็นตัวเลขที่ลดลงน้อยที่สุดในรอบ 6 เดือน แต่เมื่อเทียบเป็นรายปีแล้ว ลดลง 13.8% มากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2534
ยอดขายรถในอังกฤษเดือนมี.ค.ร่วงลง 31% โดยยอดขายรถเปอโยต์ร่วงลงมากที่สุดในบรราดารถที่ขายดี 5 อันดับในอังกฤษ ส่วนยอดขายรถหรูหราราคาแพงร่วงลง 40%
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. เม.ย. 09, 2009 11:07 am
โดย pavilion
World Today: สรุปข่าวต่างประเทศประจำวันที่ 8 เม.ย.2552
โพลล์สำรวจความคิดเห็นชาวอเมริกันหลายสำนัก อาทิ แกลลัพ โพลล์ นิวยอร์ก ไทม์ส/ซีบีเอส นิวส์ โพลล์ ชี้ให้เห็นว่า ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ได้รับคะแนนสนับสนุนจากชาวอเมริกันมากกว่าอดีตประธานาธิบดีสหรัฐ 3 คนในช่วงการดำรงตำแหน่งช่วงแรกๆ แม้ว่า โอบามาจะต้องรับมือกับปัญหาเศรษฐกิจโลกถดถอย สงคราม และความขัดแย้งทางความคิดเห็นภายในประเทศเกี่ยวกับเรื่องการใช้จ่ายงบประมาณของรัฐบาล
ยอดผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว 6.3 ริกเตอร์ในอิลาลีพุ่งขึ้นเป็น 250 รายแล้วในขณะนี้ ซึ่งในจำนวนนี้มีร่างผู้เสียชีวิต 11 รายที่ไม่สามารถระบุชื่อได้ นอกจากนี้ อาฟเตอร์ช็อกรุนแรงที่เกิดขึ้นหลายครั้งยังส่งผลให้ประชาชนตื่นตระหนกและเกิดความโกลาหล ขณะที่เจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัยยังคงค้นหาร่างผู้เสียชีวิต
ออโตดาต้า คอร์ป ระบุว่า ยอดขายรถยนต์ในประเทศจีนทะยานเกือบแตะ 1.03 ล้านคันในเดือนมี.ค. มากกว่ายอดขายรถยนต์ในสหรัฐเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน โดยยอดขายจากบริษัทยานยนต์รายใหญ่ 14 แห่งในจีน ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 90% ของยอดขายทั้งหมด อยู่ที่ระดับ 1.026 ล้านคันในเดือนมี.ค. เทียบกับระดับ 1.06 ล้านคันเมื่อเดือนมี.ค.ปีที่แล้ว ขณะที่ยอดขายรถยนต์ในอเมริกาอยู่ที่ระดับ 857,735 คันในเดือนมี.ค. ลดลง 37% จากระดับ 1.36 ล้านคันในเดือนมี.ค.ปีที่แล้ว
ชาร์ป บริษัทผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าของญี่ปุ่นได้ลดการคาดการณ์ผลประกอบการของบริษัทประจำปีงบการเงิน 2551 ลงเป็นครั้งที่ 3 แล้ว โดยคาดว่ายอดขาดทุนสุทธิและยอดขาดทุนจากการดำเนินงานจะเพิ่มขึ้นเป็น 1.30 แสนล้านหยน และ 6 หมื่นล้านเยนตามลำดับ หลังจากที่ได้คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่าจะขาดทุนจากการดำเนินงาน 1 แสนล้านเยน และขาดทุนสุทธิ 3 หมื่นล้านเยน
อัลแบร์โต ฟูจิโมริ อดีตประธานาธิบดีของเปรู จะยื่นอุทธรณ์ต่อศาลระหว่างประเทศ หลังจากที่เขาถูกศาลเปรูตัดสินจำคุก 25 ปีในข้อหาก่ออาชญากรรมละเมิดสิทธิมนุษยชน
โรลันโด ซูซา สมาชิกพรรคพันธมิตรเพื่ออนาคตซึ่งเป็นผู้สนับสนุนนายฟูจิโมริ กล่าวว่า "เราจะไปที่ศาลระหว่างประเทศ อาจเป็นศาล Inter American Court of Human Rights หรือ European Tribunal of Human Rights เรากำลังศึกษาความเป็นไปได้"
บริษัทอัลโค อิงค์ ผู้ผลิตอลูมิเนียมรายใหญ่อันดับ 3 ของโลกรายงานตัวเลขขาดทุนไตรมาสแรกของปีนี้ที่ 497 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากเศรษฐกิจโลกที่ผันผวนได้ส่งผลให้ราคาอลูมิเนียมปรับตัวลดลงและยังฉุดรั้งอุปสงค์อลูมิเนียม โดยอัลโค รายงานตัวเลขขาดทุนต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2 ซึ่งรายงานดังกล่าวตอกย้ำให้เห็นว่า อุตสาหกรรมที่ต้องใช้อลูมิเนียมเป็นส่วนประกอบสำคัญเช่นอุตสาหกรรมยานยนต์และการก่อสร้างทรุดตัวลงท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจถดถอย
เกาหลีเหนือได้ออกมาเตือนว่าจะใช้วิธีการตอบโต้ที่แข็งกร้าว หากคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติตัดสินใจใช้มาตรการตอบโต้การยิงจรวดพิสัยไกลของเกาหลีเหนือเมื่อวันที่ 5 เม.ย. อย่างไม่สนใจเสียงเรียกร้องของผู้นำทั่วโลกที่ต้องการให้ยกเลิกโครงการนำดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศอันเป็นเหตุให้นานาชาติตื่นตระหนก และส่งผลให้เกิดภาวะระส่ำระสายในบริเวณคาบสมุทรเกาหลี
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. เม.ย. 09, 2009 11:12 am
โดย pavilion
บทสรุปผู้บริหาร: บทวิเคราะห์เรื่อง จากวิกฤตเศรษฐกิจโลกสู่วิกฤตการจ้างงานไทย : ไฟไหม้ฟางที่ยังไม่รู้วันดับ
บทสรุปผู้บริหาร
วิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้ส่งผลให้การส่งออกสินค้าและบริการหดตัวรุนแรง การผลิตสินค้าอุตสาหกรรมและอัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงอย่างมาก สินค้าคงคลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ภาคการผลิตต้องปรับลดกะชั่วโมงการทำงานและ/หรือปลดคนงาน หากสถานการณ์เลวร้ายมากขึ้น ท้ายสุดโรงงานขาดทุน จนต้องปิดกิจการลงและทำให้คนตกงานจำนวนมากเกิดผลกระทบในวงกว้าง ทำให้เราต้องเฝ้าระวังภาวะการจ้างงานอย่างใกล้ชิดและไม่ควรใช้ GDP เป็นตัวชี้วัดภาวะเศรษฐกิจแต่เพียงอย่างเดียว
แรงงานภาคอุตสาหกรรมที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ประกอบด้วย เครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ สิ่งทอ เฟอร์นิเจอร์และเครื่องประดับ (มีแรงงานรวมกัน 2.5 ล้านคน)
มีสัญญาณบ่งชี้ว่าเริ่มมีการลดชั่วโมงการทำงานของแรงงานลงแล้ว ในกลุ่มแรงงานที่ทำงานมากกว่า 50 ชั่วโมง และระหว่าง 40-49 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ต่างก็ปรับตัวลดลง แต่ไปเพิ่มจำนวนในกลุ่มที่มี
1. โจทย์ใหญ่ของเศรษฐกิจไทยในปี 2552 คือ การจ้างงานลดลง และ GDP ที่หดตัว
เมื่อครั้งวิกฤตเศรษฐกิจไทยปี 2540-2541 หรือที่เรียกว่า "วิกฤตต้มยำกุ้ง" ส่งผลให้มีคนว่างงานสูงถึง 1.4 ล้านคน คิดเป็นอัตราการว่างงานสูงถึงร้อยละ 4.4 ของกำลังแรงงานรวม มาบัดนี้เศรษฐกิจไทยเผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจรอบใหม่ที่มีต้นตอจากวิกฤติเศรษฐกิจสหรัฐฯ หรือที่เรียกว่า "วิกฤตแฮมเบอเกอร์" และลุกลามไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว วิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้ส่งผลให้ห่วงโซ่ด้านอุปทานในทุกประเทศรวมทั้งไทยเผชิญมหันตภัยเดียวกันคือ การส่งออกสินค้าและบริการหดตัวอย่างรุนแรง การผลิตสินค้าอุตสาหกรรมและอัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงอย่างมาก สินค้าคงคลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ภาคการผลิตต้องปรับลดชั่วโมงการทำงานและ/หรือปลดคนงาน ท้ายที่สุดเมื่อโรงงานขาดทุน จนต้องปิดกิจการลงจะทำให้มีคนตกงานจำนวนมาก การบริโภคและการลงทุนจะชะลอตัวตามมา อุปมาอุปมัยเหมือนไฟไหม้ฟาง และที่สำคัญไม่รู้ว่าจะดับลงเมื่อใด ผู้คนส่วนใหญ่จึงตั้งคำถามว่า วิกฤตเศรษฐกิจโลกที่ลุกลามเข้ามาในเศรษฐกิจไทยจะส่งผลกระทบต่อการจ้างงานของไทยมากน้อยเพียงใดจะเทยบเท่ากับวิกฤตเศรษฐกิจไทยในปี 2540-2541 หรือไม่ และแรงงานกลุ่มไหนคือกลุ่มเสี่ยงต่อการลดกะการทำงานและหรือปลดออกจากงานมากที่สุด
ล่าสุดสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) คาดการณ์ว่าแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2552 จะหดตัวร้อยละ -2.5 ต่อปี เทียบกับปี 2551 ที่เศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 2.6 ต่อปี โดยในไตรมาส 4 ปี 2551 หดตัวถึงร้อยละ -4.3 ต่อปี และเป็นการหดตัวในภาคอุตสาหกรรมและบริการถึงร้อยละ -6.8 และ -3.7 ต่อปี ตามลำดับ ซึ่งสอดรับกับการลดลงของการจ้างงานและการเพิ่มขึ้นของคนว่างงาน แม้ว่าภาคเกษตรจะสามารถดูดซับแรงงานที่ถูกเลิกจ้างจากภาคอุตสาหกรรมได้ดี ระดับหนึ่งก็ตาม ดังนั้น เราควรสนใจและเฝ้าระวังภาวะการจ้างงานควบคู่กับการให้ความสำคัญกับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอุตสาหกรรมที่เน้นผลิตเพื่อการส่งออก (เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ สิ่งทอ ยานยนต์ เฟอร์นิเจอร์และเครื่องประดับ) รวมทั้งแรงงานในภาคบริการ 3 สาขา ( โรงแรมและภัตตาคาร ขนส่ง และ
ก่อสร้าง )
ปี 2551 การจ้างงานเฉลี่ยของไทยอยู่ที่ 36,972,600 คน มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นเฉลี่ยเดือนละ 702,800 คน หรือคิดเป็นอัตราการขยายตัวร้อยละ 1.9 ต่อปี เมื่อพิจารณาในภาคอุตสาหกรรมจะพบว่ามีการจ้างงานลดลงต่อเนื่องมาแล้ว 9 เดือน โดยในเดือนมกราคม 2552 การจ้างงานลดลงถึง 543,300 คน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี ก่อนหรือคิดเป็นการหดตัวร้อยละ -8.5 ต่อปี สะท้อนให้เห็นว่าวิกฤตเศรษฐกิจได้ส่งผลกระทบสู่ภาคเศรษฐกิจจริงอย่างชัดเจนแล้วในภาคอุตสาหกรรม
ปัจจุบันเศรษฐกิจไทยขับเคลื่อนโดยภาคการส่งออกเป็นหลัก (มีสัดส่วนร้อยละ 64 ของ Nominal GDP) โดยส่วนใหญ่เป็นสินค้าอุตสาหกรรม เมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลกทำให้อุปสงค์ของสินค้าอุตสาหกรรมแต่ละประเทศลดลง ส่งผลให้ภาคการผลิตต้องลดกำลังการผลิตและกระทบไปยังแรงงานในภาคการผลิตอุตสาหกรรม มีการจ้างงานที่ 5.7 ล้านคน หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 15.5 ของการจ้างงานรวม พบว่าในปี 2551 มีการจ้างงานลดลงเฉลี่ยเดือนละ 186,800 คน หรือคิดเป็นการหดตัวร้อยละ -3.1 ต่อปี ทั้งนี้ การจ้างงานภาคอุตสาหกรรมหดตัวลงอย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่ 9 นับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2551 ถึงมกราคม 2552 สาเหตุที่การจ้างงานภาคอุตสาหกรรมหดตัวลง เนื่องมาจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่เริ่มชะลอตัวลงไดฉุดให้การส่งออกสินค้าของประเทศไทยหดตัวลงมาก จนส่งผลให้ปริมาณการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมของไทยไปต่างประเทศ และดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (MPI) ในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2552 หดตัวลงถึงร้อยละ -18.8 และ -24.4 ต่อปี นอกจากนี้ อุปสงค์ภายในประเทศยังคงอ่อนแอมาก โดยเฉพาะการลงทุนและการบริโภคภาคเอกชนส่งผลให้ยอดคำสั่งซื้อสินค้าลดลง ซึ่งทั้ง 2 ปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้ผู้ประกอบการลดกำลังการผลิตและลดจำนวนการจ้างงานลง ทั้งนี้อุตสาหกรรมสำคัญที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกอย่างรุนแรงประกอบด้วย ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ สิ่งทอและเครื่องแต่งกาย เฟอร์นิเจอร์และเครื่องประดับซึ่งทั้ง 4 อุตสาหกรรมดังกล่าวเป็นอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อส่งออกเป็นหลักและมีจำนวนแรงงานรวมกัน 2,500,756 คน
การจ้างงานในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งรวมถึงการผลิตสินค้าประเภทเครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น เครื่องวิดีโอ และเครื่องเสียง อุตสาหกรรมนี้มีสัดส่วนในมูลค่าสินค้าส่งออกถึงร้อยละ 27.6 และมีสัดส่วนในผลผลิตภาคอุตสาหกรรมร้อยละ 17.9 ในปี 2551 อุตสาหกรรมนี้มีจำนวนการจ้างงาน 474,011 คน ลดลงจากปี 2550 จำนวน 46,120 คน หรือคิดเป็นการหดตัวลงร้อยละ -8.9 ต่อปี อุตสาหกรรมนี้จัดว่ามีความเสี่ยงมากที่สุดที่จะมีการเลิกจ้างแรงงานเพราะทั้งปริมาณการส่งออกและปริมาณผลผลิตหดตัวลงอย่างมากโดยในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2552 หดตัวลงแล้วร้อยละ -35.0 และ -40.0 ต่อปีตามลำดับ
การจ้างงานในอุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งรวมถึงการผลิตสินค้าประเภทรถยนต์นั่ง รถปิกอัพ รถบรรทุก รถจักรยานยนต์ และรถจักรยาน อุตสาหกรรมนี้มีสัดส่วนในมูลค่าสินค้าส่งออกร้อยละ 10.1 และมีสัดส่วนในผลผลิตภาคอุตสาหกรรมร้อยละ 5.4 ในปี 2551 อุตสาหกรรมนี้มีจำนวนการจ้างงาน 336,210 คน* ลดลงจากปี 2550 จำนวน 9,979 คน หรือคิดเป็นการหดตัวลงร้อยละ -2.9 ต่อปี อุตสาหกรรมนี้ชี้ชัดว่ามีความเสี่ยงสูงที่จะมีการเลิกจ้างแรงงานเช่นกันเพราะปริมาณการส่งออกและปริมาณผลผลิตยานยนต์หดตัวลงมากในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2552 ที่ร้อยละ -37.4 และ -43.6 ต่อปีตามลำดับ นอกจากนั้นการที่บริษัทรถยนต์ต่างๆ มีแผนการปรับลดสายการผลิตลงตามบริษัทแม่ในต่างประเทศย่อมส่งผลให้จะมีการลดจำนวนการจ้างงานลงอีกในอนาคตอันใกล้
o การจ้างงานในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ซึ่งรวมถึงการผลิตสินค้าประเภทเสื้อผ้าสำเร็จรูป ชุดชั้นใน ถุงเท้า ถุงน่อง และถุงมือผ้า ในปี 2551 อุตสาหกรรมนี้มีจำนวนการจ้างงาน 1,125,202 คน ลดลงจากปี 2550 จำนวน 38,300 คน หรือคิดเป็นการหดตัวลงร้อยละ -3.3 ต่อปี
o การจ้างงานในอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์และเครื่องประดับ ซึ่งรวมถึงการผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้ ชิ้นส่วนเฟอร์นิเจอร์ เฟอร์นิเจอร์โลหะ เครื่องประดับแท้ และเครื่องประดับอัญมณีเทียม ในปี 2551 อุตสาหกรรมนี้มีจำนวนการจ้างงานทั้งสิ้นเฉลี่ย 565,333 คน ลดลงจากปี 2550 จำนวน 49,167 คน หรือคิดเป็นการหดตัวลงร้อยละ -8.0 ต่อปี
จากปัญหาการจ้างงานที่หดตัวในภาคอุตสาหกรรมที่สำคัญ ทำให้มีการเคลื่อนย้ายแรงงานจากภาคอุตสาหกรรมไปยังภาคเกษตรและภาคบริการอื่นๆ ซึ่งภาคเกษตรสามารถดูดซับแรงงานที่ถูกเลิกจ้างจากภาคอุตสาหกรรมได้ระดับหนึ่ง และเมื่อถึงฤดูว่างเว้นจากการผลิตภาคเกษตร แรงงานจะเคลื่อนย้ายกลับไปภาคอุตสาหกรรมอีกครั้งหนึ่ง โดยภาคเกษตรในปี 2551 มีการจ้างงานมากที่สุดถึง 14,238,000 คน หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 38.5 ของการจ้างงานรวม คิดเป็นการจ้างงานเพิ่มขึ้นเฉลี่ยเดือนละ 274,200 คน หรือขยายตัวร้อยละ 2.0 ต่อปี สาเหตุการจ้างงานภาคเกษตรที่มีการขยายตัวได้ดีช่วงครึ่งแรกของปี 2551 เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรปรับตัวสูงขึ้นมากจึงเป็นสาเหตุจูงใจเกษตรกรให้เพาะปลูกเพิ่มขึ้น และส่งผลให้การจ้างงานในภาคเกษตรปรับตัวสูงขึ้นตาม
การจ้างงานภาคบริการ ซึ่งประกอบด้วย สาขาการค้าส่งค้าปลีก สาขาโรงแรมและภัตตาคาร สาขาก่อสร้าง สาขาการขนส่ง สาขาบริหารราชการแผ่นดิน สาขาการศึกษา สาขาอสังหาริมทรัพย์ และสาขาการเงินการธนาคาร ซึ่งมีจำนวนการจ้างงานภาคบริการรวมทุกสาขาอยู่ที่ 16,986,900 คน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 45.9 ของการจ้างงานรวม โดยในปี 2551 ภาคบริการมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นเฉลี่ยเดือนละ 620,000 คน หรือคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 3.8 ต่อปี อย่างไรก็ตาม พบว่าผลจากวิกฤติเศรษฐกิจโลก และเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองภายในประเทศจนมีการปิดสนามบินสุวรรณภูมิ ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวที่มายังประเทศไทยเริ่มหดตัวลงตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2551 ได้ส่งผลให้มีการจ้างงานในสาขาโรงแรมและภัตตาคารเพิ่มขึ้นน้อยกว่าที่ควรจะเป็นในไตรมาสที่ 4 ปี 2551 ทั้งนี้ ภาคบริการที่น่าจับตามองอย่างใกล้ชิดได้แก่ สาขาโรงแรมและภัตตาคาร คมนาคมขนส่ง และก่อสร้าง จำนวนแรงงานภาคบริการที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อการลดการจ้างงานทั้ง 3 สาขา มีจำนวนแรงงานรวมกัน 5,849,600 คน ทั้งนี้ แรงงานที่มีความเสี่ยงจะถูกปลดออกจากงานเป็นอันดับแรก คือ แรงงานในบริษัทรับเหมาช่วง (Sub-contract) ระยะสั้น เนื่องจากมักจะไม่อยู่ในระบบสหภาพแรงงาน ทำให้สามารถเลิกการจ้างงานได้ง่าย และแรงงานในสถานประกอบการขนาดเล็ก เนื่องจากได้รับผลกระทบจากวิกฤติ
ทางเศรษฐกิจมากกว่าสถานประกอบการขนาดใหญ่
3. มีสัญญาณบ่งชี้ว่าแรงงานเริ่มถูกลดชั่วโมงการทำงานต่อสัปดาห์ลงแล้ว
เมื่อพิจารณาในปี 2551 จำนวนการจ้างงานของกลุ่มที่ต่ำกว่า 30 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ มีจำนวนลดลง 232,600 คน จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ ในขณะที่การจ้างงานที่มีจำนวนชั่วโมงการทำงานสูงกว่า 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ขึ้นไปยังมีจำนวนเพิ่มขึ้น อาจมีสาเหตุจากในช่วงครึ่งปีแรก ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมยังขยายตัวได้ดี ปริมาณการส่งออกสินค้าและปริมาณการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมขยายตัวสูงมาก อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ในระดับสูง และการเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวของชาวต่างชาติขยายตัวสูงมาก ทำให้ผู้ประกอบการเร่งทำการผลิต และต้องจ้างงานเพิ่มหรือเพิ่มชั่วโมงการทำงานต่อสัปดาห์
อย่างไรก็ดี ในช่วงเดือนแรกของปี 2552 การจ้างงานในกลุ่มที่มีจำนวนชั่วโมงการทำงานสูงกว่า 50 ชั่วโมงต่อสัปดาห์และกลุ่มที่มีชั่วโมงทำงาน 40 -- 49 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เริ่มมีการปรับตัวลดลง 1,160,600 คน และ 669,600 คน ตามลำดับ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน อาจมีสาเหตุจากการหดตัวของอุปสงค์ในสินค้าและบริการของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย มีผลให้ผู้ประกอบการตัดสินใจปรับลดกำลังการผลิตและชั่วโมงการทำงานของแรงงานงานภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการบางกลุ่ม
เมื่อมีการลดชั่วโมงการทำงานของแรงงานที่อยู่ในกลุ่มมากกว่า 50 ชั่วโมงและระหว่าง 40-49 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ทำให้จำนวนแรงงานในกลุ่มที่มีชั่วโมงการทำงานต่ำกว่า 30 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เพิ่มจำนวนมากถึง 2,089,900 คน เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน และหากเศรษฐกิจไม่ฟื้นตัวจำนวนการจ้างงานที่มีชั่วโมงน้อยๆ ก็จะเพิ่มขึ้น และหากสถานการณ์เลวร้ายมากขึ้น จะมีการปลดลดคนงานประเภทจ้างเหมาออก (Sub-contract) เช่น ในบางกลุ่มอุตสาหกรรมและบริการ
4. อัตราการว่างงานในปีที่ผ่านมายังอยู่ในระดับต่ำ แต่เริ่มสูงขึ้นเป็นร้อยละ 2.4 ของกำลังแรงงานในเดือนมกราคม 2552
อัตราการว่างงานในปี 2551 อยู่ที่ร้อยละ 1.4 ของกำลังแรงงาน หรือประมาณ 513,700 คน ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบวิกฤติเศรษฐกิจปี 2541 ที่อัตราการว่างงานสูงถึงร้อยละ 4.4 ของกำลังแรงงาน แต่คาดว่าในปี 2552 อัตราการว่างงานจะเพิ่มตามภาวะเศรษฐกิจที่หดตัว โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมที่มีการลดชั่วโมงการทำงานลง หากสถานการณ์เลวร้ายลงจะนำไปสู่การปลดคนงาน เลิกจ้างและถ้าคนงานเหล่านั้นไม่สามารถหางานใหม่ทำได้ ก็จะถูกบันทึกเป็นผู้ว่างงาน
เมื่อพิจารณาเดือนมกราคม 2552 พบว่าจำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จำนวน 878,900 คน หรือขยายตัวสูงถึงร้อยละ 39.2 ต่อปี คิดเป็นอัตราการว่างงานถึงร้อยละ 2.4 ของกำลังแรงงาน สะท้อนให้เห็นว่าผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจโลกในปี 2551 เริ่มส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของไทยและส่งผลกระทบต่อการลดการจ้างงานอย่างชัดเจน ในเดือนมกราคม 2552 และเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมากเกือบทุกสาขาเศรษฐกิจ
5. หากอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยลดลงทุกๆ ร้อยละ 1.0 ต่อปี จะทำให้จำนวนการจ้างงานลดลง 333,000 คน
สำหรับปี 2552 สศค. คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะหดตัวลงร้อยละ -2.5 ต่อปี ที่เทียบกับปี 2551 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.6 ต่อปีและคาดว่าอัตราการว่างงานจะอยู่ที่ร้อยละ 3.8 ของกำลังแรงงานหรือคิดเป็นจำนวน 1,400,000 คน เนื่องจากปัญหาการหดตัวของเศรษฐกิจโลกทวีความรุนแรงขึ้น การผลิตสินค้าและบริการต้องหยุดชะงักเพราะสินค้าคงคลังมีปริมาณสูงขึ้น อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงอย่างรวดเร็ว การเลิกจ้างงานแรงงานจะสูงขึ้นตามมา ประกอบกับอุปสงค์ภายในประเทศและ
ภาคการท่องเที่ยวที่ยังชะลอตัวอยู่
หากอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจลดลง จะกระทบการจ้างงานมากน้อยเพียงใด จากแบบจำลองของสศค. พบว่า หากอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจลดลงร้อยละ 1.0 ต่อปี จะส่งผลให้การจ้างงานของไทยลดลงจำนวน 330,000 คน
หากรัฐบาลต้องการรักษาระดับการจ้างงานไม่ให้ลดลงมากเกินไป จำเป็นต้องอัดฉีดเม็ดเงินรายจ่ายภาครัฐลงสู่ระบบเศรษฐกิจ ผ่านรายจ่ายงบประมาณแผ่นดิน และโครงการลงทุน Mega Projects เพื่อให้เกิดการจ้างงานกลับเข้ามาในระบบเศรษฐกิจ ดังนั้น รัฐบาลจำเป็นต้องกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อดูแลไม่ให้เศรษฐกิจไทยหดตัวมากนัก และรักษาระดับการจ้างงานไว้ให้ได้
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. เม.ย. 09, 2009 11:15 am
โดย pavilion
บทสรุปผู้บริหาร: บทวิเคราะห์เรื่อง การรักษาวินัยทางการคลังของไทยท่ามกลางกระแสวิกฤติเศรษฐกิจโลก
บทสรุปผู้บริหาร
ภาวะเศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมาชะลอตัวอย่างต่อเนื่องจากปัจจัยภายในประเทศ และความผันผวนของราคาน้ำมัน นอกจากนี้ ในช่วงปลายปี 2551 เศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากวิกฤติเศรษฐกิจโลกที่ได้ส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริง (Real Sector) โดยเฉพาะภาคการส่งออกสินค้าและบริการ ในขณะที่การใช้จ่ายภายในประเทศยังไม่สามารถฟื้นตัวได้อย่างเต็มที่เนื่องจากผู้บริโภคและนักลงทุนขาดความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2552 คาดว่าจะชะลอตัวต่อเนื่องจะส่งผลกระทบต่อรายได้ของประชาชน และผลประกอบการของภาคธุรกิจ ซึ่งจะกระทบต่อการจ้างงานที่คาดว่าจะลดลงในปี 2552 ดังนั้น รัฐบาลจึงจำเป็นต้องใช้นโยบายการคลัง เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและรองรับผลกระทบจากการชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจ (Keynesian Fiscal Policy) โดยรัฐบาลได้จัดทำงบประมาณแบบขาดดุลสำหรับปีงบประมาณ 2551 และ 2552 พร้อมทั้งกำหนดกรอบการขาดดุลงบประมาณสำหรับปีงบประมาณ 2553
การดำเนินนโยบายการคลังในปีงบประมาณ 2552 2553 จะช่วยสนับสนุนอุปสงค์ภายในประเทศ (Domestic Demand) ในภาวะวิกฤติเศรษฐกิจโลกและการใช้จ่ายภาคเอกชนยังไม่สามารถฟื้นตัวเต็มที่ ซึ่งถือว่าเป็นนโยบายการคลังที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลกที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจโลกกำลังดำเนินการอยู่ในปัจจุบันอย่างไรก็ตาม ประเทศไทยมีหลักเกณฑ์ที่จะกำหนดกรอบการดำเนินนโยบายการคลัง เพื่อรักษาความยั่งยืนและเสถียรภาพด้านการคลัง โดยมีกฎหมายและระเบียบวิธีการที่เกี่ยวข้องกับการใช้จ่ายงบประมาณและการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลในแต่ละปีงบประมาณ
บทความนี้ได้มีการศึกษากรอบการดำเนินนโยบายการคลังของปีงบประมาณ 2552 และพบว่าการดำเนินนโยบายการคลังยังคงอยู่ภายใต้กรอบวินัยทางการคลังทั้งในด้าน (1) การขาดดุลงบประมาณ (2) การค้ำประกันเงินกู้ในประเทศ / ให้กู้ต่อ และ (3) การกู้เงินตราต่างประเทศเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ทั้งนี้ กฎหมายและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องถือเป็นเงื่อนไขกำหนดกรอบนโยบายการคลังและการรักษาวินัยทางการคลังของประเทศทั้งนี้ การรักษากรอบวินัยทางการคลังดังกล่าวจะช่วยสร้างความยั่งยืนทางการคลัง (Fiscal Sustainability) ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศไทยในอนาคตต่อไป
1. การกำหนดกรอบนโยบายการคลังภายใต้บริบทเศรษฐกิจในปัจจุบัน
สถานการณ์เศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมานับตั้งแต่ปี 2550 ที่ชะลอตัวอย่างต่อเนื่องจากปัจจัยภายในประเทศที่เกิดขึ้นจากความไม่แน่นอนทางการเมืองและความผันผวนของราคาน้ำมัน นอกจากนี้ ในช่วงปลายปี 2551 เศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากวิกฤติเศรษฐกิจโลก ที่ได้ส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริง (Real Sector) โดยเฉพาะภาคการส่งออกสินค้าและบริการ ในขณะที่การใช้จ่ายภายในประเทศยังไม่สามารถฟื้นตัวได้อย่างเต็มที่เนื่องจากผู้บริโภคและนักลงทุนขาดความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2552 ที่คาดว่าจะชะลอตัวต่อเนื่องจะส่งผลกระทบต่อรายได้ของประชาชน และกำไรของภาคธุรกิจ รวมทั้งการจ้างงานที่คาดว่าจะลดลงจากการชะลอตัวของภาคการผลิต ดังนั้น รัฐบาลจึงได้ใช้นโยบายการคลัง เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและรองรับผลกระทบจากการชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจ (Keynesian Fiscal Policy) โดยรัฐบาลได้จัดทำงบประมาณแบบขาดดุลสำหรับปีงบประมาณ 2551 และ 2552 พร้อมทั้งกำหนดกรอบการขาดดุล
1.1 กรอบนโยบายการคลังของประเทศไทยในช่วงปีงบประมาณ 2551 2553
(1) นโยบายการคลังของปีงบประมาณ 2551
ในปีงบประมาณ 2551 ถือเป็นช่วงที่เศรษฐกิจไทยประสบภาวะชะลอตัวจากปัจจัยต่างๆ โดยเฉพาะราคาน้ำมันและอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2551 และความไม่แน่นอนทางการเมืองที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของประเทศ ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจโลกที่เริ่มมีสัญญาณชะลอตัวลง ซึ่งรัฐบาลได้คาดการณ์ถึงปัจจัยลบทางเศรษฐกิจต่างๆ เหล่านี้ จึงได้มีการดำเนินนโยบายการคลังแบบขาดดุล โดยตั้งกรอบวงเงินงบประมาณแบบขาดดุลจำนวน 165.0 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ -1.8 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP)
ทั้งนี้ ณ สิ้นปีงบประมาณ 2551 รัฐบาลขาดดุลงบประมาณจริงจำนวน -83.8 พันล้านบาท หรือประมาณร้อยละ -0.8 ของ GDP ทำให้รัฐบาลขาดดุลเงินสด (ก่อนกู้) จำนวน -78.7 พันล้านบาท หรือประมาณร้อยละ -0.9 ของ GDP ซึ่งการขาดดุลงบประมาณดังกล่าวถือว่าต่ำกว่าเป้าหมายการขาดดุลที่ตั้งไว้จำนวน 165.0 พันล้านบาท โดยมีสาเหตุมาจากรัฐบาลจัดเก็บรายได้สูงกว่าประมาณการจำนวน 52.2 พันล้านบาท ในขณะที่งบประมาณสามารถเบิกจ่ายได้ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้จำนวน 28.2 พันล้านบาท ทำให้การขาดดุลงบประมาณของรัฐบาลต่ำกว่าเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้
ตารางที่ 1 : สรุปฐานะการคลังในปีงบประมาณ 2551
หน่วย : ล้านบาท
ปีงบประมาณ 2551
1. รายได้นำส่งคลัง 1,549,605
2. รายจ่าย 1,633,404
3. ดุลเงินงบประมาณ -83,799
4. ดุลเงินนอกงบประมาณ 5,053
5. ดุลเงินสด -78,746
ที่มา : กรมบัญชีกลาง รวบรวมโดยสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
(2) นโยบายการคลังของปีงบประมาณ 2552
สำหรับนโยบายการคลังในปีงบประมาณ 2552 รัฐบาลได้กำหนดกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายจำนวน 1,835.0 พันล้านบาท และประมาณการรายได้สุทธิจำนวน 1,585.5 พันล้านบาท ทำให้คิดเป็นกรอบการขาดดุลงบประมาณจำนวน -249.5 พันล้านบาท หรือร้อยละ -2.5 ของ GDP ทั้งนี้ นโยบายการคลังแบบผ่อนคลายในช่วงปีงบประมาณ 2552 ถือว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่ง ภายใต้สถานการณ์วิกฤตเศรษฐกิจการเงินโลกที่ได้เริ่มส่งผลกระทบรุนแรงขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณ 2552 (หรือไตรมาสที่ 4 ของปีปฏิทิน 2551)ซึ่งเศรษฐกิจประเทศสหรัฐฯ ยุโรป ญี่ปุ่น จีน เริ่มเข้าสู่ภาวะถดถอยส่งผลให้เศรษฐกิจไทยหดตัวลง โดยในไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 เศรษฐกิจไทยหดตัวในระดับสูงที่ร้อยละ -4.3 ต่อปีโดยมีสาเหตุสำคัญจากปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการสุทธิที่หดตัวกว่าร้อยละ -8.6 ต่อปี และการใช้จ่ายภายในประเทศที่ยังคงชะลอตัวลงต่อเนื่อง
ในการนี้ รัฐบาลคาดการณ์ว่าปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงอย่างต่อเนื่องในปี 2552 จึงได้ริเริ่มมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม โดยจัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ 2552 ในวงเงิน 116.7 พันล้านบาท ซึ่งจะสามารถเริ่มเบิกจ่ายได้ในช่วงเดือนมีนาคม กันยายน 2552 ทั้งนี้ การจัดทำงบประมาณเพิ่มเติมจะทำให้ทั้งปีงบประมาณ 2552 รัฐบาลมีเป้าหมายขาดดุลงบประมาณรวมทั้งสิ้น -347.0 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ -3.5 ของ GDP เป้าหมายของการใช้จ่ายงบประมาณเพิ่มเติมจะให้แก่โครงการของรัฐบาลที่สามารถเบิกจ่ายและอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจได้เร็ว และรองรับผลกระทบต่อผู้มีรายได้น้อยและภาคเศรษฐกิจระดับฐานราก
(3) นโยบายการคลังของปีงบประมาณ 2553
สถานการณ์วิกฤติเศรษฐกิจการเงินโลกคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อเนื่องถึงเศรษฐกิจไทยในปี 2553 รัฐบาลจึงได้วางแผนที่จะดำเนินนโยบายงบประมาณแบบขาดดุลต่อเนื่อง โดยกำหนดกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายจำนวน 1.90 ล้านล้านบาทและประมาณการรายได้สุทธิจำนวน 1.51 ล้านล้านบาท ทำให้มีกรอบการขาดดุลงบประมาณจำนวน -390.0 พันล้านบาทหรือร้อยละ -3.6 ของ GDP
แม้ว่ารัฐบาลจะได้ดำเนินนโยบายการคลังแบบขาดดุลในช่วงปีงบประมาณ 2551-2553 แต่
ฐานะการคลังของประเทศถือว่ายังคงอยู่ภายใต้กรอบวินัยทางการคลัง (Fiscal Discipline) และรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจของประเทศเป็นสำคัญ ซึ่งสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ล่าสุด ณ เดือนธันวาคม 2551 อยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 38.1 และคาดว่าหากรัฐบาลมีการดำเนินนโยบายการคลังแบบขาดดุลต่อเนื่องในปีงบประมาณ 2553 จะส่งผลให้สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 46.0 ซึ่งยังอยู่ภายใต้กรอบความยั่งยืนทางการคลังที่กำหนดให้ยอดหนี้สาธารณะคงค้างต่อ GDP ไม่เกินร้อยละ 50.0 ทั้งนี้ การดำเนินนโยบายการคลังของประเทศไทยอยู่ภายใต้กรอบกฎหมายและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นการรักษาวินัยทางการคลังและความมั่นคงของฐานะการคลังของประเทศ
2. กรอบวินัยการคลังของประเทศไทย
ประเทศไทยมีกฎหมายและหลักเกณฑ์ เพื่อกำหนดกรอบการดำเนินนโยบายการคลัง เพื่อรักษาความยั่งยืนและเสถียรภาพด้านการคลัง โดยมีกฎหมาย และหลักเกณฑ์ที่กำหนดกฎระเบียบวิธีการดำเนินนโยบายการคลังสามารถสรุปได้ดังนี้
2.1 พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502
มาตรา 9 ทวิ
ในกรณีที่รายจ่ายงบประมาณสูงกว่ารายได้รัฐบาล ให้กระทรวงการคลังมีอำนาจกู้เงินได้ตามความจำเป็น แต่กรณีจะเป็นประการใดก็ตาม การกู้เงินตามมาตรานี้ ในปีหนึ่งๆ ต้องไม่เกิน (1) ร้อยละ 20 ของจำนวนเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีและงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม หรือของจำนวนเงินงบประมาณรายจ่าย
ประจำปีงบประมาณที่ล่วงแล้วมา แล้วแต่กรณี กับอีก (2) ร้อยละ 80 ของงบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้สำหรับชำระคืนต้นเงินกู้
2.2 พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548
มาตรา 20
การให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินได้เฉพาะ เพื่อวัตถุประสงค์อย่างหนึ่งอย่างใดต่อไปนี้
(1) การชดเชยการขาดดุลงบประมาณหรือเมื่อมีรายจ่ายสูงกว่ารายได้
(2) การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
(3) การปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะ
(4) การให้หน่วยงานอื่นกู้ต่อ
ทั้งนี้ การกู้เงินเป็นเงินบาทหรือเงินตราต่างประเทศที่ได้รับจากการกู้เงินตาม (2) ถึง (4) ให้นำไปใช้ได้ตามวัตถุประสงค์ของการกู้เงินหรือตามที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ โดยไม่ต้องนำส่งกระทรวงการคลังตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณและกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง
มาตรา 21
การกู้เงินเพื่อเป็นการชดเชยการขาดดุลงบประมาณหรือเมื่อมีรายจ่ายสูงกว่ารายได้ในปีงบประมาณหนึ่ง ให้กระทรวงการคลังสามารถกู้เป็นเงินบาทได้ไม่เกินวงเงิน
(1) ร้อยละ 20 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นและงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมและ
(2) ร้อยละ 80 ของงบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้สำหรับชำระคืนเงินต้น
มาตรา 22
การกู้เงินเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้กระทำได้เมื่อมีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเงิน นอกเหนือจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีและต้องใช้เป็นเงินตราต่างประเทศหรือจำเป็นต้องกู้เงินเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางการเงินของประเทศ โดยให้กระทรวงการคลังกู้เป็นเงินตราต่างประเทศได้ไม่เกินร้อยละ 10 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี
มาตรา 23
ในการกู้เงินตามมาตรา 22 ถ้าภาวะตลาดการเงินในประเทศเอื้ออำนวยและจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาระบบการเงิน การคลังและตลาดทุน โดยให้กระทรวงการคลังได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีอาจกู้เป็นเงินบาทแทนการกู้เป็นเงินตราต่างประเทศได้
มาตรา 25
ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานในการกำกับดูแลของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) รัฐวิสาหกิจหรือสถาบันการเงินภาครัฐมีความจำเป็นต้องใช้เงินตราต่างประเทศ สำหรับโครงการหรือแผนงานที่รัฐบาลเห็นว่ามีความจำเป็นเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมและหากกระทรวงการคลังเป็นผู้กู้และนำมาให้หน่วยงานดังกล่าวกู้ต่อจะเป็นการประหยัดและทำให้การบริหารหนี้สาธารณะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยให้กระทรวงการคลังมีอำนาจกู้เงินเป็นเงินตราต่างประเทศ เพื่อให้หน่วยงานดังกล่าวกู้ต่อได้ ตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง ทั้งนี้ การกู้เงินตามวรรคหนึ่ง ให้นับรวมในวงเงินตามมาตรา 22
มาตรา 28
ในการค้ำประกันเงินกู้ กล่าวคือ ในปีงบประมาณหนึ่งกระทรวงการคลังจะค้ำประกันได้ไม่เกินร้อยละ 20 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นและงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม
2.3 กรอบความยั่งยืนทางการคลัง
กรอบความยั่งยืนทางการคลังประกอบด้วยตัวชี้วัดและเป้าหมายด้านการคลัง ดังนี้
(1) ยอดหนี้สาธารณะคงค้างต่อ GDP ไม่เกินร้อยละ 50.0
(2) ภาระหนี้ต่องบประมาณไม่เกินร้อยละ 15.0
ที่มา พรบ. การบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548
ดังนั้น กฎหมายและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องตามที่กล่าวข้างต้นถือเป็นการกำหนดกรอบนโยบายการคลังและการรักษาวินัยทางการคลังของประเทศ ซึ่งรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจมีช่องทางการกู้เงินทั้งในและต่างประเทศในแต่ละปีงบประมาณ
3. กรณีศึกษา: กรอบวินัยทางการคลังสำหรับปีงบประมาณ 2552
ในการดำเนินนโยบายการคลังในปีงบประมาณ 2552 รัฐบาลมีกรอบวินัยทางการคลังที่จะต้องยึดถือปฏิบัติ มีรายละเอียดสรุปได้ดังนี้
3.1 กรอบการขาดดุลงบประมาณ ภายใต้พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 และพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 กำหนดให้การขาดดุลงบประมาณในแต่ละปีงบประมาณจะต้องไม่เกิน (1) ร้อยละ 20 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นและงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม และ (2) ร้อยละ 80 ของงบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้สำหรับชำระคืนเงินต้นกู้ ดังนั้น เพดาน (Ceiling) การขาดดุลงบประมาณในปีงบประมาณ 2552 จะสามารถขาดดุลงบประมาณได้สูงสุดไม่เกิน 441.3 พันล้านบาท ซึ่งจะเห็นได้ว่า รัฐบาลได้ตั้งงบประมาณขาดดุลจำนวน 347.0 พันล้านบาทสำหรับปีงบประมาณ 2552 (รวมการขาดดุลจากงบประมาณเพิ่มเติม) ซึ่งถือว่ายังต่ำกว่าเพดานการกู้เงินชดเชยขาดดุลงบประมาณจำนวน 94.2 พันล้านบาท
ตารางที่ 3 : กรอบการขาดดุลงบประมาณประจำปีงบประมาณ 2552 หน่วย: ล้านบาท
รายการ จำนวน
1. งบประมาณรายจ่าย (ตามเอกสารงบประมาณ) 1,835,000
2. งบประมาณรายจ่ายรวมงบกลางปี (งบประมาณเพิ่มเติม) 116,700
รวมงบประมาณรายจ่าย (1+2) 1,951,700
รายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ 63,676
กรอบการขาดดุลงบประมาณตามพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 มาตรา 9 ทวิ
1. ร้อยละ 20.0 ของวงเงิน 1,951,700 ล้านบาท 390,340
2. ร้อยละ 80.0 ของรายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ 63,676 ล้านบาท 50,941
กรอบเพดานการขาดดุลงบประมาณ (1+2) 441,281
เป้าหมายการขาดดุลงบประมาณปีงบประมาณ 2552 347,060
ที่มา คำนวณโดยสศค.
3.2 การค้ำประกันเงินกู้/การให้กู้ต่อ ภายใต้พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 ให้อำนาจกระทรวงการคลังจะค้ำประกันได้ไม่เกินร้อยละ 20 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นและงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมดังนั้น รัฐบาลสามารถค้ำประกันการกู้เงินได้จำนวน 390.3 พันล้านบาทในปีงบประมาณ 2552 รัฐบาลได้มีการค้ำประกันเงินกู้แล้วจำนวน 286.5 พันล้านบาท สำหรับการกู้เงินใหม่ของรัฐวิสาหกิจ เพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ ทั้งในการขยายการลงทุน การกู้เงินของรัฐวิสาหกิจเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ การกู้เงินเพื่อดำเนินกิจการต่างๆ ของรัฐวิสาหกิจ เป็นต้น
ตารางที่ 4: กรอบการค้ำประกันเงินกู้ในปีงบประมาณ 2552 หน่วย: ล้านบาท
รายการ จำนวน
งบประมาณรายจ่าย (รวมงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม) 1,951,700
กรอบการค้ำประกันเงินกู้/ให้กู้ต่อตาม พรบ. การบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 มาตรา 28
กรอบเพดานการค้ำประกันเงินกู้/ให้กู้ต่อ
(ร้อยละ 20.0 ของวงเงินงบประมาณ 1,951,700 ล้านบาท) 390,340
แผนการค้ำประกันเงินกู้/ให้กู้ต่อ 286,468
ที่มา สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ / คำนวณโดยสศค.
3.3 การกู้เงินตราต่างประเทศเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและการให้กู้ต่อ ภายใต้พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะพ.ศ. 2548 กำหนดการกู้เงินตราต่างประเทศให้สามารถกู้ได้ไม่เกินร้อยละ 10 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปีทั้งนี้ การกู้เงินตราต่างประเทศมีเงื่อนไขกำหนดให้ต้อง (1) เป็นการกู้เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม (2) ความจำเป็นต้องใช้จ่ายเงิน นอกเหนือจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี (3) ต้องใช้เป็นเงินตราต่างประเทศ หรือ (4) จำเป็นต้องกู้เงินเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางการเงินของประเทศ ในการนี้ เพดาน (Ceiling) การกู้เงินตราต่างประเทศกำหนดให้เท่ากับจำนวน 183.5 พันล้านบาท ซึ่งรัฐบาลได้วางแผนการกู้เงินตราต่างประเทศจำนวน 104.1 พันล้านบาทสำหรับปีงบประมาณ 2552 โดยเม็ดเงินกู้ส่วนใหญ่ (2.25 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 74.3 พันล้านบาท) เป็นการกู้ตรงของรัฐบาลเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐาน วงเงิน 2.0 พันล้านเหรียญสหรัฐ จาก 3 แหล่งเงินกู้ ได้แก่ ธนาคารโลก (World Bank) ธนาคารพัฒนาเอเชีย(ADB) และองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) ในขณะที่ส่วนราชการได้แก่ กรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบทมีแผนการกู้เงินต่างประเทศอีกจำนวน 250 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อการก่อสร้างเส้นทางคมนาคมของประเทศ
ตารางที่ 5 : กรอบการกู้เงินต่างประเทศในปีงบประมาณ 2552 หน่วย: ล้านบาท
รายการ จำนวน
งบประมาณรายจ่าย (ตามเอกสารงบประมาณ) 1,835,000
กรอบการกู้เงินตราต่างประเทศตาม พรบ. การบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 มาตรา 22
กรอบเพดานการกู้เงินตราต่างประเทศ 183,500
(ร้อยละ 10.0 ของวงเงินงบประมาณ 1,835,500 ล้านบาท) (5,561 ล้านเหรียญสหรัฐ)
แผนการกู้เงินตราต่างประเทศ 104,063
(3,153 ล้านเหรียญสหรัฐ)
หมายเหตุ: อัตราแลกเปลี่ยน 1 เหรียญสหรัฐ = 33 บาท ตามมติคณะรัฐมนตรีเรื่องการปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะประจำปีงบประมาณ 2552 ครั้งที่ 2 ลงวันที่ 6 มีนาคม 2552
ที่มา: สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ / คำนวณโดยสศค.
ในการนี้ กฎหมายและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องตามที่กล่าวข้างต้นถือเป็นการกำหนดกรอบนโยบายการคลังและการรักษาวินัยทางการคลังของประเทศ ซึ่งจะเห็นได้ว่าการดำเนินนโยบายการคลังแบบขาดดุลของรัฐบาลในปีงบประมาณ 2552 โดยต้องมีการกู้เงินทั้งในประเทศและต่างประเทศของภาครัฐยังคงอยู่ภายใต้ระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ การรักษากรอบวินัยทางการคลังดังกล่าวจะช่วยสร้างความยั่งยืนทางการคลัง (Fiscal Sustainability) ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศไทยในอนาคต
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. เม.ย. 09, 2009 11:20 am
โดย pavilion
ม.หอการค้าไทย เผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน มี.ค.อยู่ที่ 66.0
ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคประจำเดือน มี.ค.52 อยู่ที่ 66.0 ลดลงจากเดือน ก.พ.52 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 67.2
ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสการหางานทำอยู่ที่ 65.2 และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตอยู่ที่ 87.3
ดัชนีความเชื่อมั่นในเดือนมีนาคมปรับลดลงทุกตัว โดยมีปัจจัยลบจากราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศยังปรับตัวเพิ่มขึ้น, สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.)ปรับลดตัวเลขประมาณจีดีพีทั้งปีเฉลี่ยอยู่ที่ -2.5%, ความกังวลสถานการณ์ความรุนแรงทางการเมือง, ตัวเลขส่งออกในเดือน ก.พ.52 ลดลง 11%, เงินบาทอ่อนค่า และ ความกังวลเรื่องค่าครองชีพจากปัญหาราคาสินค้าที่ยังอยู่ในระดับสูง
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. เม.ย. 09, 2009 3:51 pm
โดย pavilion
สรุปรายงานเศรษฐกิจล่าสุด Eurostat, World Bank and IMF
.. Eurostat ซึ่งเป็นสำนักงานสถิติของอียูเปิดเผยว่า เศรษฐกิจยูโรโซนหดตัวลงมากกว่าที่ประเมินไว้ในช่วงไตรมาส 4 ปี 2008 และไตรมาส 3 ก็อ่อนแอลงด้วย ซึ่งบ่งชี้ถึงตัวเลขปี 2009 ที่เลวร้ายกว่าที่คาดและส่งผลกระทบต่อยูโร
.. ธนาคารโลก ได้ปรับลดตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียตะวันออก ให้เหลือเพียงร้อยละ 5.3 ในปีนี้ จากที่ก่อนหน้านี้ธนาคารโลกได้คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศดังกล่าวจะขยายตัวร้อยละ 6.7 ทั้งนี้ เนื่องจากมีแนวโน้มว่าเศรษฐกิจจะย่ำแย่หนักขึ้น และคนตกงานเป็นจำนวนมากด้วย
.... ไอเอ็มเอฟ ได้เตือนประเทศในภูมิภาคอาเซียนให้ระวังผลกระทบที่อาจเกิดกับภาคสถาบันการเงิน ปัญหาที่เกิดขึ้นมาจากภาคเศรษฐกิจที่แท้จริงอาจส่งผลกระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้ของลูกค้าเงินกู้ของสถาบันการเงิน
..... ดังนั้น ในที่สุดแล้วผลกระทบดังกล่าวอาจจะทำให้สถาบันการเงินเกิดปัญหาสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) และอาจทำให้เกิดปัญหาด้าน
สถานะ จึงเห็นว่าขณะนี้สถาบันการเงินและธนาคารพาณิชย์จำเป็นต้องมีการเพิ่มทุนให้เพียงพอรองรับผลกระทบที่เกิดขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดคามเสียหาย และเพื่อให้สถาบันการเงินมีความพร้อมในการปล่อยเงินกู้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจต่อไป
คัดลอกจาก เด็กแนว 9 เมษายน 2552
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. เม.ย. 09, 2009 10:43 pm
โดย pavilion
ดูท่าเศรษฐกิจสหรัฐจะซึมยาวนะครับ และถ้าไทยอยากจะฟื้นตัวเร็วก็คงต้องหาตลาดส่งออกใหม่ๆ เอาไว้บ้างแล้วล่ะครับ :)
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์แล้ว: ศุกร์ เม.ย. 10, 2009 10:49 am
โดย pavilion
รัฐบาล"โอบามา"ประกาศซื้อรถยนต์ครั้งใหญ่ 17,600 คันอุ้มผู้ผลิตสหรัฐ
USA:รัฐบาล"โอบามา"ประกาศซื้อรถยนต์ครั้งใหญ่ 17,600 คันอุ้มผู้ผลิตสหรัฐ
วอชิงตัน--10 เม.ย.--รอยเตอร์
ประธานาธิบดีบารัค โอบามาแห่งสหรัฐประกาศว่า รัฐบาลสหรัฐจะทำการ
ซื้อรถยนต์ใหม่รุ่นประหยัดเชื้อเพลิงจำนวน 17,600 คันจากบริษัทผลิตรถยนต์ของสหรัฐ
ที่กำลังประสบปัญหาภายในวันที่ 1 มิ.ย.นี้
ปธน.โอบามากล่าวว่า รถยนต์เหล่านี้ ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งของรถยนต์ที่ใช้
ในราชการของรัฐบาลสหรัฐ เป็นรถยนต์ที่ซื้อจากบริษัทเจเนอรัล มอเตอร์ (จีเอ็ม),
ไครสเลอร์ และฟอร์ด ซึ่งล้วนมีสัญญากับสำนักงานบริการทั่วไป หรือ General
Services Administration (GSA) ของรัฐบาลกลาง
เขากล่าวว่า GSA จะใช้งบราว 285 ล้านดอลลาร์จากกฎหมายฟื้นฟูวงเงิน
7.87 แสนล้านดอลลาร์ที่สภาคองเกรสผ่านความเห็นชอบในปีนี้เพื่อซื้อรถยนต์ประหยัด
พลังงานจำนวน 17,600 คัน
"ตามคำมั่นสัญญาที่เราให้ไว้กับอุตสาหกรรมรถยนต์ของอเมริกา ผมได้สั่งการ
ให้ฝ่ายบริหารของผมใช้เงินทุนจากกฎหมายฟื้นฟูเพื่อซื้อรถยนต์ที่ประหยัดพลังงานรุ่นใหม่
เพื่อเพิ่มอุปสงค์ให้แก่บริษัทรถยนต์ของอเมริกา และกระตุ้นเศรษฐกิจ"
"นี่เป็นเพียงขั้นตอนแรก แต่ผมจะรับรองต่อไปว่าเราจะทำงานเพื่อพยุง
อุตสาหกรรมรถยนต์ของอเมริกาในช่วงการปรับโครงสร้างที่มีความยากลำบากเช่นนี้"
เขากล่าว
เมื่อวันที่ 30 มี.ค. ปธน.โอบามาได้สั่งการให้ฝ่ายบริหารของเขาเร่ง
ดำเนินการซื้อรถยนต์ตามแผนเพื่อเป็นรถยนต์ที่ใช้ในราชการของรัฐบาลสหรัฐ
ทำเนียบขาวระบุว่า การประกาศเมื่อวานนี้ได้รวมถึงการซื้อรถยนต์ซีดาน
ไฮบริด 2,500 คัน ซึ่งจะมีการสั่งซื้อภายในวันที่ 15 เม.ย. และเป็นการสั่งซื้อ
รถยนต์ไฮบริดครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์การซื้อรถยนต์ของรัฐบาลสหรัฐ
นอกจากนี้ ทำเนียบขาวยังระบุว่า การหันมาสั่งซื้อรถยนต์ไฮบริดและรถยนต์
ที่ประหยัดเชื้อเพลิงของรัฐบาลกลางนั้น จะช่วยลดการบริโภคน้ำมันเบนซินลง 1.3 ล้าน
แกลลอนต่อปี และจะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลง 26 ล้านปอนด์
ขณะเดียวกัน GSA จะใช้งบ 15 ล้านดอลลาร์เพื่อซื้อรถยนต์ที่มีเทคโนโลยี
ขั้นสูงเพื่อใช้ในงานของรัฐบาล ซึ่งรวมถึงรถบัสไฮบริดและที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ รวมทั้ง
รถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าด้วย--จบ--
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์แล้ว: ศุกร์ เม.ย. 10, 2009 7:10 pm
โดย pavilion
เฟดคาดเศรษฐกิจสหรัฐถดถอยรุนแรงมากขึ้น
เฟดคาดเศรษฐกิจสหรัฐถดถอยรุนแรงมากขึ้น ขณะเตือนเลี่ยงเงินเฟ้อ
ทัลซา, โอกลาโฮมา--10 เม.ย.--รอยเตอร์
เจ้าหน้าที่กำหนดนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าวเตือนว่า เศรษฐกิจสหรัฐจะเข้าสู่ภาวะถดถอยรุนแรงขึ้นในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า แต่ถึงเวลาแล้วที่จะเริ่มการวางแผนว่าจะลดการใช้จ่ายอย่างไรเพื่อหลีกเลี่ยงการพุ่งขึ้นของเงินเฟ้อ
นายโธมัส โฮนิก ประธานเฟดสาขาแคนซัส ซิตีกล่าวว่า เป็นการยากที่จะคาดว่าจะต้องมีการริเริ่มกระบวนการปรับลดการใช้จ่ายเมื่อใด
"เราทราบว่าสิ่งนี้จำเป็นต้องเกิดขึ้น แต่ผมไม่สามารถบอกเกี่ยวกับกำหนดการไม่มีผู้ใดทราบ โดยเราจะจับตาดูสิ่งบ่งชี้ถึงข้อมูลทุกประการที่บ่งชี้ว่ากำลังมีการฟื้นตัว"นายโฮนิกกล่าวตอบคำถามผู้ฟังหลังการกล่าวสุนทรพจน์ที่เมืองทัลซา รัฐโอกลาโฮมา
"การไม่ดำเนินการเช่นนั้นในเวลาที่เหมาะสม หมายความว่า คุณเสี่ยงที่จะเผชิญกับภาวะแวดล้อมเงินเฟ้อที่สูงขึ้นอย่างมาก" เขาเสริม
นายโฮนิกยอมรับว่า เศรษฐกิจยังคง"ได้รับแรงกดดันอย่างมาก"จากวิกฤตการณ์ในภาคธนาคารอย่างต่อเนื่อง แต่เขากล่าวว่า เฟดไม่สามารถรอจนกว่าจะมีการฟื้นตัวและตลาดแรงงานมีความแข็งแกร่งก่อนที่จะดำเนินการ
นายโฮนิกเสริมว่า เขาคาดว่าจะมีแรงต้านทาน"เกือบจะในทันที"ต่อการดำเนินการใดๆในการขึ้นอัตราดอกเบี้ย หรือในการเริ่มขายหลักทรัพย์ที่มีสัญญาจำนองค้ำประกันจำนวนมาก
นายโฮนิกและนายแกรี สเติร์น ประธานเฟดส่วนภูมิภาคจากมินนิอาโปลิสกล่าวว่า ยังคงมีความตึงเครียดด้านสินเชื่ออย่างมากที่ถ่วงเศรษฐกิจ และเตือนว่า การดีดตัวขึ้นในที่สุดมีแนวโน้มที่จะดำเนินไปอย่างเบาบาง
"ภาวะเศรษฐกิจถดถอยมีแนวโน้มที่จะคงอยู่ต่อไปอีกสักระยะ และดูเหมือนว่า การฟื้นตัวในช่วงแรกจะดำเนินไปอย่างชะลอตัว" นายสเติร์นระบุในคำกล่าวที่เตรียมไว้ สำหรับการประชุมสุดยอดเศรษฐกิจดาโกตาในซิอุส์ ฟอลส์
"เมื่อพิจารณาถึงภาวะของตลาดสินเชื่อ ดูเหมือนว่าเป็นเรื่องที่เป็นธรรม ที่จะต้องใช้เวลาในการสร้างแรงผลักดัน แต่ในขณะที่เรากำลังเข้าสู่ช่วงกลางปี 2010 และหลังจากนั้น ผมคาดว่าจะเห็นการขยายตัวที่สดใสอีกครั้ง" เขาเสริม
นายลอว์เรนซ์ ซัมเมอร์ส ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจของทำเนียบขาว กล่าวกับ สโมสรเศรษฐกิจในวอชิงตันว่า มี"ปัจจัยลบจำนวนมาก"ที่ขัดขวางการฟื้นตัวของสหรัฐ "เศรษฐกิจไม่ได้ฟื้นตัวขึ้นจากการลดการจ้างงาน 600,000 ตำแหน่งงานไปสู่หนทางแห่งความสุขในช่วงข้ามคืน" เขากล่าว
แต่นายซัมเมอร์สเสริมว่า ปริมาณสินค้าคงคลังที่มากเกินไปกำลังลดลงแล้ว และ"ผมคิดว่าเราสามารถมั่นใจว่า ภาวะที่เศรษฐกิจตกต่ำลงอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่กลางฤดูใบไม้ร่วงที่ผ่านมา จะสิ้นสุดลงภายในไม่กี่เดือนข้างหน้า"
นายโฮนิกกล่าวว่า การทำให้ภาคธนาคารกลับไปสู่ภาวะที่แข็งแกร่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการฟื้นตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง
"การฟื้นฟูกิจกรรมทางการเงินสู่ภาวะปรกติขึ้นอยู่กับว่าเราจัดการกับปัญหาของสถาบันการเงินรายใหญ่ที่สุดของเราอย่างไร" เขากล่าว และเจ้าหน้าที่กำหนดนโยบายจำเป็นต้องตระหนักถึงความไม่พอใจของสาธารณชนต่อความช่วยเหลือที่ใช้
เงินสนับสนุนจากผู้เสียภาษีในระดับสูง
แม้แต่ที่สถาบันขนาดใหญ่ "การล้มละลายจำเป็นต้องเป็นทางเลือกประการหนึ่งในระบบเศรษฐกิจ อาทิ ระบบเศรษฐกิจของเรา" เขากล่าว โดยเสริมว่า ควรจะมีการเปลี่ยนฝ่ายบริหารระดับสูงของบริษัทที่ล้มละลาย อันเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการแก้ปัญหา
นายซัมเมอร์สกล่าวว่า แทบไม่มีทางเลือกในขณะนี้ แต่จะต้องดำเนินการทุกอย่างที่เป็นไปได้เพื่อกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจ แต่เขากล่าวว่า เฟดจะต้องพร้อมที่จะดำเนินการอย่างเฉียบขาดในระยะกลางเพื่อควบคุมการใช้จ่ายเพื่อให้
สามารถยับยั้งเงินเฟ้อ
"ประเด็นเกี่ยวกับเงินเฟ้อก็คือว่า ในขณะที่มีความชัดเจนว่า คุณมีปัญหานั่นเป็นช่วงที่อาจจะสายเกินไปในการแก้ปัญหา" นายซัมเมอร์สกล่าว "ดังนั้น ผมคิดว่า เป็นการสร้างสมดุลที่ยากมากในการดำเนินนโยบาย"
นายสเติร์นกล่าวว่า ไม่สามารถปฏิเสธความเสี่ยงของการดีดตัวขึ้นของ เงินเฟ้อและเงินฝืด แต่ยังไม่แน่ว่าทั้ง 2 ประการนี้จะเป็นปัญหาใหญ่หรือไม่
"ถ้าการขยายตัวทางเศรษฐกิจเริ่มขึ้นอีกครั้งในสหรัฐอย่างที่ผมคาด ความเสี่ยงจากเงินฝืดก็อาจจะลดลงอย่างเหมาะสม" เขากล่าว ขณะที่แสดงความไม่แน่ใจว่าการปรับตัวขึ้นอย่างมากของงบดุลบัญชีของเฟดจะก่อให้เกิดเงินเฟ้อในภายหลัง
"ความสัมพันธ์ระหว่างการขยายตัวของปริมาณเงินหมุนเวียนและการปรับตัวของราคามีความเกี่ยวพันกันในระยะยาว ในช่วงเวลาอย่างน้อย 5 ปีหรือมีแนวโน้มว่าจะเป็น 10 ปี ดังนั้น จึงมีเวลามากในการถอนสภาพคล่องส่วนเกินตามความเหมาะสม" เขากล่าว --จบ--
(รอยเตอร์ โดย สุนีย์พร เหลือทรัพย์ แปล; ก้องเกียรติ กอวีรกิติ เรียบเรียง)
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์แล้ว: จันทร์ เม.ย. 13, 2009 9:24 pm
โดย pavilion
สันติชี้พรก.ฉุกเฉินกระทบศก.แน่GDPอาจลบ
ประธานส.อ.ท. ยอมรับ รัฐประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน กทม.และปริมณฑล กระทบเศรษฐกิจแน่ ชี้ จีดีพี อาจติดลบ
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า การประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินของรัฐบาลเฉพาะบางพื้นที่ในครั้งนี้ ก็เพื่อต้องการดูแลปัญหาการชุมนุมทางการเมืองที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อยลง ภายในช่วงวันหยุดสงกรานต์ เพื่อไม่ให้กระทบกับการทำงานของประชาชน ที่จะกลับเข้ามาทำงานตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน เพราะหากยังคงมีการชุมนุมอยู่ในวันทำงาน จะเกิดความไม่สะดวกในหลายด้าน และเชื่อว่ารัฐบาลจะไม่ใช้ความรุนแรงต่อผู้ชุมนุม
อย่างไรก็ตาม นายสันติ ยอมรับว่า การประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แม้จะเฉพาะบางพื้นที่ก็ย่อมส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ แต่ความรุนแรงลดลง เนื่องจากการประกาศอยู่ในช่วงวันหยุด และหากยกเลิกใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินในเวลาอันสั้น ก็ส่งผลกระทบเศรษฐกิจไม่มากนัก แต่ย่อมส่งผลกระทบความมั่นใจของนักท่องเที่ยว ทำให้ยอดนักท่องเที่ยวลดลง ซึ่งจากแนวโน้มของเศรษฐกิจไทยในช่วงไตรมาสที่ 1 และไตรมาสที่ 2 ปีนี้ ไม่ค่อยดีนัก ในขณะที่ไตรมาสที่ 3 และไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ แนวโน้มเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย ยังไม่ชัดเจนว่าจะดีขึ้นหรือไม่ ซึ่งเศรษฐกิจไทยส่วนหนึ่งอิงกับเศรษฐกิจโลกด้วย ดังนั้น จึงมีแนวโน้มว่า เศรษฐกิจไทยปีนี้ อาจโตติดลบได้ แม้รัฐบาลจะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอยู่แล้วก็ตาม
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์แล้ว: จันทร์ เม.ย. 13, 2009 9:29 pm
โดย pavilion
Moodys May Cut Thailands Credit Rating on Political Crisis
By Shanthy Nambiar
April 13 (Bloomberg) -- Thailands credit rating may be cut as continued political instability threatens to hurt tourism revenue and spur capital outflows, Moodys Investors Service said today.
Moodys lowered the outlook on Thailands Baa1 foreign- currency debt to negative from stable in December. Rising political unrest in the last 48 hours has reinforced the uncertainty and the reasons for the negative outlook, Thomas J. Byrne, Moodys senior vice president, said in an interview from Singapore today.
If conditions continue to develop, then chances are we would take the next step, said Byrne, who sees a more than 50 percent chance the credit rating will be lowered. There really needs to be a government in control that can focus on its economic agenda.
Thai soldiers battled to restore order to Bangkoks streets today as anti-government protesters defied an emergency decree and called for Prime Minister Abhisit Vejjajiva to step down. About 47 civilians and 27 soldiers have been injured, the prime minister said today after he was forced to cancel a summit of Asian leaders over the weekend as protesters stormed the venue.
Thailands economy may contract 3 percent or more this year, Byrne said.
The external payment position can probably withstand this political unrest over the very near-term, Byrne said. But if conditions remain turbulent, then of course tourism inflows will decrease and investment outflows will increase, and pressure will start to build up in the balance of payments.
Thailand had a balance-of-payments surplus of $3.6 billion in February from $2 billion in January, according to data from the Bank of Thailand.
We want to see political stability be restored, Byrne said. If thats the case, than Thailand can probably weather this negative shock.
To contact the reporter on this story: Shanthy Nambiar in Bangkok at
[email protected];
Last Updated: April 13, 2009 03:58 EDT
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์แล้ว: จันทร์ เม.ย. 13, 2009 9:32 pm
โดย pavilion
S&Pอาจลดอันดับความน่าเชื่อถือไทย
Source - ไอ.เอ็น.เอ็น. (Th)
Monday, April 13, 2009 13:40
24937 XTHAI XGEN XINTER V%WIREL P%INN
กรุงเทพฯ--13 เม.ย.--ไอ.เอ็น.เอ็น
สำนักข่าวบลูมเบิร์กของสหรัฐ รายงานโดยอ้างคำสัมภาษณ์ของนายนายคิม อึ้ง ถั่น ผู้อำนวยการแผนกการจัดอันดับทางการเงินของเอสแอนด์พี ที่ประจำในสิงคโปร์ เปิดเผยวันนี้ว่า มีโอกาสอย่างมากที่เอสแอนด์พีอาจปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของไทย โดยตอนนี้ อันดับความน่าเชื่อถือของรัฐบาลไทยไม่ดีนัก เพราะยังมีความแตกแยกในการเมืองไทย และเห็นได้ชัดว่าขาดแนวทางสันติที่จะแก้ไขปัญหาได้
บลูมเบิร์ก รายงานด้วยว่า ทหารได้พยายามรักษาความสงบเรียบร้อยตามท้องถนนในกรุงเทพฯ ขณะที่กลุ่มผู้ประท้วง ท้าทาย พระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน และเรียกร้องให้ นายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์
เวชชาชีวะ ลาออก ทหาร ได้ใช้แก๊สน้ำตาสลายกลุ่มผู้ชุมนุมที่สามเหลี่ยมดินแดง ซึ่งผู้ชุมนุมได้หันไปปิดกั้นถนนศรีอยุธยา ใกล้กับ กระทรวงการต่างประเทศ
นายถั่น ยังบอกด้วยว่า ความเสี่ยงมากที่สุดในขณะนี้ คือ ความรุนแรงจะลุกลามบานปลาย ขณะที่นักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศมีความกังวลมากขึ้นเกี่ยวกับการลงทุนในไทย และเตือนด้วยว่า เศรษฐกิจไทยอาจติดลบ
2% ในปีนี้ ก่อนหน้านี้ในเดือนธันวาคม เอสแอนด์พี เพิ่งปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือโดยรวมของไทย จากระดับมีเสถียรภาพลงเป็นระดับในแง่ลบ หลังมีการประท้วงปิดสนามบินสุวรรณภูมิ--จบ--
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์แล้ว: พุธ เม.ย. 15, 2009 9:35 pm
โดย pavilion
ญี่ปุ่นเผยยอดการผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนก.พ.ร่วง 9.4%
กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมญี่ปุ่นเผยยอดการผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนก.พ.ร่วงลง 9.4% มาอยู่ที่ 69.5% จากระดับเดือนม.ค. ซึ่งเป็นสถิติที่ต่ำที่สุดในรอบ 4 ปีที่ผ่านมา หลังจากที่เศรษฐกิจโลกร่วงลงจนทำให้การผลิตในภาคอุตสาหกรรมต่างๆชะลอตัว ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์ด้านการขนส่งและเครื่องจักรไฟฟ้า
สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า การผลิตภาคอุตสาหกรรมร่วงลงเป็นเดือนที่ 5 แล้ว นับเป็นสถิติที่ร่วงนานที่สุดนับตั้งแต่ปี 2544 แต่จังหวะของการชะลอตัวนั้นชะลอตัวลง หลังจากที่ดัชนีร่วงลงถึง 10.1% ในเดือนม.ค.
ทั้งนี้ การผลิตอุปกรณ์ในภาคการขนส่ง ซึ่งนับรวมถึงรถยนต์และรถบรรทุกร่วงลง 22.5%
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. เม.ย. 16, 2009 10:15 am
โดย pavilion
วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2552 เวลา 21:00:27 น. มติชนออนไลน์
"เอสแอนด์พี"ลดค่าน่าเชื่อถือเงินบาทเหลือแค่ "A-" "เอดีบี"คาดศก.ไทยหดลงอีก2%
"เอสแอนด์พี" ลดเครดิตไทยลดความน่าเชื่อถือของสกุลเงินบาทเป็น A- สะท้อนการเมืองไทยที่ย่ำแย่ รองนายกฯ ห่วงรายได้รัฐต่ำเป้าเกิน 2 แสนล. "เอดีบี"คาดศก.ไทยหดลงอีก2% หอค้าให้นายกฯเดินสายตปท.
"เอสแอนด์พี" ลดเครดิตไทย
เมื่อวันที่ 14 เมษายน สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ สแตนดาร์ดแอนด์พัวร์หรือเอสแอนด์พี ประกาศปรับลดความน่าเชื่อถือของสกุลเงินบาทไทยจาก A เป็น A- โดยมีภาพรวมเป็นลบ หมายความว่าอาจจะมีการปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือลงได้อีกครั้ง อย่างไรก็ตาม อันดับความน่าเชื่อถือของไทยในตราสารหนี้สกุลเงินตราต่างประเทศยังคงไม่เปลี่ยนแปลง โดยอยู่ที่ BBB+ แต่มีภาพรวมเป็นลบเช่นกัน
นายคิม เอง ตัน นักวิเคราะห์ของเอสแอนด์พี แถลงว่า การปรับลดเครดิตของไทยครั้งนี้เป็นการสะท้อนถึงสถานการณ์ย่ำแย่ทางการเมืองของไทย ทำให้โอกาสที่ประเทศจะกลับคืนสู่เสถียรภาพในระยะสั้นลดน้อยลง ทั้งนี้ การปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือครั้งนี้หมายถึงการที่นักลงทุนจะต้องจ่ายอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นเมื่อเข้าไปลงทุนซื้อพันธบัตรรัฐบาลที่ออกเป็นเงินบาท เท่ากับเป็นการเพิ่มต้นทุนในการกู้ยืมของบริษัทในประเทศไทย
"เอดีบี"คาดศก.ไทยหดลงอีก2%
ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) ระบุว่า ความวุ่นวายในไทยอาจจะส่งผลให้การเติบโตของไทยในปีนี้ลดลงอีก เอดีบีคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยน่าจะหดตัวลงอีกราว 2% ในปีนี้ หลังจากต้องเผชิญกับทั้งวิกฤตเศรษฐกิจโลกและความวุ่นวายภายในประเทศ
นายจอง วา ลี รักษาการหัวหน้าคณะนักเศรษฐศาสตร์ของเอดีบี กล่าวว่า หากความวุ่นวายยังคงไม่ยุติ ตัวเลขการเติบโตของเศรษฐกิจไทยมีโอกาสที่จะลดลงอีก นอกจากนี้ความวุ่นวายที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบโดยตรงต่อธุรกิจท่องเที่ยวซึ่งเป็นแหล่งรายได้หลักของไทย ทั้งยังส่งผลให้นักลงทุนและนักธุรกิจไม่มีจความเชื่อมั่นที่จะวางแผนลงทุนในไทย และเป็นที่น่าเสียดายที่การประท้วงทำให้ไทยต้องยกเลิกการประชุมสุดยอดอาเซียน ซึ่งควรจะเป็นเวทีที่แต่ละประเทศจะดำเนินมาตรการที่เป็นรูปธรรมในการต่อสู้กับวิกฤตเศรษฐกิจ รวมถึงการขยายความร่วมมือในกรอบความริเริ่มเชียงใหม่ด้วย
"กอร์ปศักดิ์"เร่งช่วยท่องเที่ยว
นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี ด้านเศรษฐกิจ ให้สัมภาษณ์ "มติชน" ทางโทรศัพท์ ถึงแนวทางแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ หลังกลุ่มคนเสื้อแดงยุติการชุมนุมว่า กำลังเร่งจัดทำอยู่ โดยเฉพาะเรื่องการท่องเที่ยวจะต้องเข้าไปช่วยเต็มที่ แผนการใช้งบประมาณด้านการท่องเที่ยวจะต้องปรับปรุงใหม่ เพราะการจะเอาเงินไปจัดโรดโชว์สร้างภาพลักษณ์ขณะนี้ คิดว่ายังไม่เหมาะสม ทำไปก็ไม่มีประโยชน์ ถ้าไม่สงบจริงก็ไม่ควรไปสร้างภาพ ทำไปก็ไม่มีใครเชื่อ ทางที่ดีควรนำงบประมาณไปช่วยผู้ประกอบการที่ประสบปัญหาให้อยู่รอดได้ อย่างน้อยพยุงธุรกิจให้ได้ 3 เดือน ก่อนที่ฤดูท่องเที่ยวจะกลับมา
"ถ้าประเทศสงบได้ระยะหนึ่ง แล้วถึงค่อยไป ไม่ใช่วันนี้เพิ่งปราบเสร็จ พรุ่งนี้ออกไปพูดเลย ไม่มีใครเชื่อหรอก แต่ไม่ได้หมายความว่าจะไม่ทำเลย แต่ต้องดูจังหวะด้วย เพราะสิ่งสำคัญขณะนี้คือ ต้องเอางบฯที่มีอยู่มาช่วยเหลือให้คนเราอยู่ได้ก่อน การเมืองเดินต่อไปได้ ไม่มีสิ่งเลวร้ายเกิดขึ้นอีก ไม่งั้นลำบาก" นายกอร์ปศักดิ์กล่าว
นายกอร์ปศักดิ์กล่าวว่า จะให้ผู้ที่รับผิดชอบโครงการต้นกล้าอาชีพ นำงบฯมาช่วยให้เต็มที่โดยเฉพาะเรื่องการชะลอการว่างงาน เพราะผู้ประกอบการไม่ได้ทำอะไรผิด การเมืองเป็นฝ่ายผิด ทำให้เดือดร้อน ต้องเข้าไปดูว่าผู้ประกอบกาอยากให้ช่วยเรื่องอะไรบ้าง จะจัดการให้โดยเร็ว ตอนนี้มีผู้ประกอบการสมัครเข้าร่วมโครงการต้นกล้าฯแล้วประมาณ 50 โรงงาน แรงงานกว่าหนึ่งหมื่นคน แต่ส่วนใหญ่ไม่ใช่เรื่องท่องเที่ยว เพราะไม่คิดว่าจะมีปัญหามาก แต่ตอนนี้ต้องรีบไปบอกให้เขาเข้ามา
ห่วงรายได้รัฐต่ำเป้าเกิน2แสนล.
นายกอร์ปศักดิ์กล่าวว่า อีกเรื่องที่ต้องเร่งทำคือ การประสานงานกับกระทรวงการคลัง ที่ยังมีหลายเรื่องที่ค้างอยู่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องกฎหมายเงินกู้ รวมถึงเรื่องรายได้ของรัฐบาลที่จะขาดหายไป เป็นเรื่องที่สำคัญมากที่จะต้องรีบจัดการโดยเร็ว เพราะความหวังที่เราเคยคิดว่าจะจัดเก็บรายได้เข้ารัฐได้ดีขึ้น แต่เวลานี้ไม่ใช่แล้ว ความเชื่อมั่นตกไปเยอะ ท่องเที่ยวก็หาย รายได้หด การลงทุนภาคเอกชนคงจะชะงัก
"ตัวเลขภาษีที่คาดว่าอาจจะจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าประมาณ 2 แสนล้านบาท คงไม่ใช่แล้ว ตัวเลขคงจะมากกว่านี้อีก ดังนั้น การลงทุนภาครัฐ จะต้องเข้าไปช่วยพยุงเศรษฐกิจโดยเร็ว แต่ปัญหาก็คือ แหล่งที่มาของเงินที่จะนำมาใช้จะเอามาจากไหน ติดขัดกฎหมายอะไรก็ต้องรีบแก้ไขทำให้เร็วที่สุด" นายกอร์ปศักดิ์กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า ประเมินความเสียหายทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์นี้หรือยัง นายกอร์ปศักดิ์กล่าวว่า ยังเร็วไปที่จะประเมิน เพราะยังไม่มีอะไรแน่นอน แต่รัฐบาลจะมานั่งรอไม่ได้ ต้องรีบทำงาน ทั้งการแก้ไขปัญหาท่องเที่ยว และแก้ปัญหาการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาล ที่เป็นหัวใจสำคัญของสถานการณ์เศรษฐกิจในขณะนี้
ททท.นัดประเมินความเสียหาย
นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ ประธานกรรมการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กล่าวว่า ต้องการให้ความวุ่นวายทางการเมืองต้องยุติลงอย่างแท้จริง ส่วนผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวมีความเห็นตรงกันว่า จะยังไม่พูดถึงเรื่องธุรกิจของตนเอง จะปล่อยให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาให้เรียบร้อยก่อน ส่วนความเสียหายด้านทางท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นครั้งนี้ ในช่วงหลังวันหยุดเทศกาลสงกรานต์ ตนจะนัดหารือร่วมกับตัวแทนผู้ประกอบการ เพื่อประเมินตัวเลขที่ชัดเจนอีกครั้ง
"เรื่อง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แม้จะสร้างความไม่สบายใจให้กับผู้ประกอบการ แต่ในทางปฏิบัติหากสถานการณ์ยังไม่น่าไว้วางใจ รัฐบาลก็ไม่จำเป็นที่จะต้องรีบยกเลิก เพราะหากยกเลิกไปแล้ว มีความวุ่นวายเกิดขึ้นอีก รัฐบาลต้องกลับมาประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินอีก จะทำให้ประเทศเสียหายมากกว่านี้"นายวีระศักดิ์กล่าว
กกร.นัดหารือชงรบ.ฟื้นฟูเชื่อมั่น
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ถือว่ารัฐบาลคลี่คลายสถานการณ์ได้เร็ว หลังจากนี้คิดว่ารัฐบาลคงใช้เวลาเคลียร์ประมาณ 1-2 วัน และน่าจะยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินได้ เพื่อให้สถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติก่อนวันเปิดทำงานตามปกติ
นายสันติกล่าวว่า ในวันที่ 17 เมษายน คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประกอบด้วย ส.อ.ท. สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย จะหารือนัดพิเศษเพื่อประเมินผลกระทบ และเสนอมาตรการแก้ปัญหาต่อรัฐบาล โดยการฟื้นความเชื่อมั่นของเอกชน นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ โดยเห็นว่านายอภิสิทธิ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ควรจะเชิญทูตต่างประเทศ และสื่อมวลชน ทั้งในและต่างประเทศมาชี้แจงถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจ และเผยแพร่ข่าวที่ถูกต้องออกไปภายนอก เท่าที่ติดตามมีหลายประเทศที่เข้าใจ และเห็นว่ารัฐบาลดำเนินการถูกต้องแล้ว หลังจากชี้แจงเรื่องที่เกิดขึ้น เพื่อฟื้นความเชื่อมั่นแล้ว คิดว่าไทยน่าจะสามารถจัดประชุมผู้นำอาเซียนต่อไปได้
หอค้าให้นายกฯเดินสายตปท.
นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล กรรมการรองเลขาธิการหอการค้าไทย กล่าวว่า ภาคเอกชนรู้สึกสบายใจที่เหตุการณ์ไม่บานปลายและยุติโดยเร็ว รัฐบาลควรบริหารงานต่อไป ตนไม่เห็นด้วยที่นายกฯจะลาออกหรือยุบสภา เพราะจะทำให้การบริหารงานของประเทศสะดุด รัฐบาลต้องเร่งเดินหน้าโครงการและมาตรการรกระตุ้นเศรษฐกิจ ลงทุนโครงการพื้นฐาน จูงใจการลงทุนจากต่างชาติและการลงทุนเพิ่มภายในประเทศ พร้อมสั่งการให้ทูตไปทำความเข้าใจเหตุการณ์ต่างๆ ที่ผ่านมา และรับฟังความคิดเห็นต่างชาติว่าต้องการอะไร เพื่อลดอุปสรรคต่อการค้าและการลงทุน
"ภายใน 1-2 เดือนนี้ รัฐบาลควรฟื้นการจัดประชุมผู้นำอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา +3 และ +6 อีกครั้ง เพื่อตอกย้ำเจตนารมณ์ความต้องการผนึกอาเซียนเป็นหนึ่ง และสานต่อแผนงานและข้อตกลงที่ได้ทำกันไว้ ซึ่งจะเป็นการกู้ภาพพจน์ประเทศไทยด้วย" นายพรศิลป์กล่าว
นายพงษ์ศักดิ์ อัสสกุล รองประธานหอการค้าไทย เปิดเผยว่า หลังเหตุการณ์ภายในประเทศสงบลง นายกฯต้องจัดคณะเดินทางไปเยือนประเทศต่างๆ ในอาเซียนและประเทศคู่เจรจา +3 +6 เพื่อขอโทษต่อเหตุการณ์ที่ยกเลิกการประชุมผู้นำอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา และสร้างความั่นใจต่อแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจและส่งเสริมการลงทุนการค้าจากต่างชาติ
ห้างเปิดแล้วคนยังช้อปคึกคัก
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังกลุ่มคนเสื้อแดงยุติการชุมนุม ห้างสรรพสินค้าต่างๆ ในกรุงเทพฯ ได้เปิดให้บริการตามปกติในวันที่ 14 เมษายน โดยนางศิริเพ็ญ อินทุภูติ ผู้บริหารสยามเซ็นเตอร์ และสยามดิสคัฟเวอรี่ กล่าวถึงกรณีความเสียหายจากการปิดให้บริการห้างสรรพสินค้าว่า ยังไม่ได้ประเมิน แต่หลังเปิดให้บริการเมื่อวันที่ 14 เมษายน กำลังซื้อเริ่มกลับมา โดยเฉพาะลูกค้าไทยมีสัดส่วนสูงถึง 80% ส่วนลูกค้าต่างชาติได้รับผลกระทบเล็กน้อย ซึ่งการสลายการชุมนุมอย่างสงบเรียกความเชื่อมั่นต่างชาติมากขึ้น และการประกาศวันหยุดราชการเพิ่มอีก 2 วันคือวันที่ 16-17 เมษายนจะมีส่วนช่วยกระตุ้นกำลังซื้อเพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งคาดตลาดในปีนี้ยังจะเติบโตตามเป้าหมาย 20-30%
นายณัฐกิตติ์ ตั้งพูลสินธนา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการตลาด บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารศูนย์การค้าเซ็นทรัล กล่าวว่า การประกาศวันหยุดเพิ่มอีก 2 วันจะเป็นปัจจัยบวกที่ส่งผลให้มีลูกค้าเพิ่มขึ้น และจะคงเข้มงวดเรื่องการรักษาความปลอดภัย เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้า
แหล่งข่าวระดับสูงจากศูนย์การค้าสยามพารากอน กล่าวว่า เร็วๆ นี้ จะได้ข้อสรุปความเสียหายจากการหยุดให้บริการเมื่อวันที่ 13 เมษายนที่ผ่านมา แต่หากดูบรรยากาศหลังเปิดให้บริการในวันที่ 14 เมษายนพบว่าเป็นไปอย่างคึกคัก ชี้ให้เห็นว่า กำลังซื้อไม่ได้หดหายไปตามความวุ่นวายทางการเมือง ขณะนี้มีร้านค้าทยอยเปิดให้บริการเกือบครบ 100% แล้ว
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. เม.ย. 16, 2009 12:29 pm
โดย pavilion
บลูมเบิร์กเผยดัชนีความเชื่อมั่นเศรษฐกิจโลกพุ่งแรงสุดรอบ 11 เดือนหลังวิกฤติสินเชื่อผ่อนคลาย
ดัชนี Bloomberg Professional Global Confidence Index ซึ่งเป็นดัชนีความเชื่อมั่นที่มีต่อเศรษฐกิจโลกที่จัดทำโดยสำนักข่าวบลูมเบิร์ก พุ่งขึ้นแตะระดับ 21.2 จุดในเดือนเม.ย. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 11 เดือน จากเดือนมี.ค.ที่ระดับ 5.95 จุดเพราะได้รับแรงหนุนจากการที่ธนาคารกลางทั่วโลกใช้มาตรการผ่อนคลายภาวะตึงตัวในตลาดสินเชื่อ ตลาดหุ้นทั่วโลกทะยานขึ้นแข็งแกร่ง และธนาคารบางแห่งสามารถกลับมาทำกำไรได้
คริส รัพคีย์ หัวหน้านักวิเคราะห์จากแบงค์ ออฟ โตเกียว มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ กล่าวว่า "สถานการณ์ทางเศรษฐกิจเมื่อ 2-3 เดือนที่แล้วแทบจะทำให้นักลงทุนหมดหวัง แต่ขณะนี้นักลงทุนมีความเชื่อมั่นมากขึ้นและเชื่อว่าเศรษฐกิจโลกจะกลับมามีเสถียรภาพอีกครั้ง"
สถาบันการเงินหลายแห่งรวมถึง โกลด์แมน แซคส์, ซิตี้กรุ๊ป และเจพีมอร์แกน เชส แอนด์ โค เปิดเผยตัวเลขกำไรในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ โดยโกลด์แมน แซคส์ รายงานผลกำไรไตรมาส 1 ปี 2552 ที่ 1.8 พันล้านดอลลาร์ หรือ 3.39 ดอลลาร์ต่อหุ้น ซึ่งสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ เนื่องจากกำไรจากการลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ได้ช่วยชดเชยการขาดทุนจากการปล่อยกู้ในภาคอสังหาริมทรัพย์
ข้อมูลดังกล่าวทำให้นักลงทุนเชื่อมั่นว่า ธุกริจภาคธนาคารเริ่มฟื้นตัวแล้ว หลังจากเมื่อสัปดาห์ที่แล้วธนาคาร เวลส์ ฟารโก ได้สร้างความประหลาดใจให้กับนักลงทุน ด้วยการเปิดเผยรายงานผลประกอบการเบื้องต้นที่ระบุว่า กำไรสุทธิไตรมาสแรกของปีนี้พุ่งขึ้น 50% แตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ราว 3 พันล้านดอลลาร์ สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงาน
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. เม.ย. 16, 2009 12:32 pm
โดย pavilion
บทสรุปผู้บริหาร: บทวิเคราะห์เรื่อง กลไกการส่งผ่านมาตรการด้านการคลังไปสู่ภาคเศรษฐกิจ
บทสรุปผู้บริหาร
การชะลอตัวลงของเศรษฐกิจในประเทศคู่ค้าที่สำคัญของไทยจากผลกระทบของวิกฤติเศรษฐกิจโลก ได้ส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกและภาคการผลิตของไทยอย่างรุนแรง ทำให้ประเทศไทยมีความเสี่ยงจากปัญหาการว่างงานที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับการถดถอยของเศรษฐกิจภายในประเทศ จากการบริโภคทั้งภายในและภายนอกประเทศที่ชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง ในสถานการณ์ดังกล่าว ธนาคารกลางทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย ต่างทยอยปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง เพื่อมุ่งผลในการกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม มาตรการด้านการเงินผ่านการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ก็ยังไม่สามารถกระตุ้นการลงทุนของภาคเอกชนได้มากนัก เนื่องจากภาคเอกชนยังไม่มีความมั่นใจต่อสภาวะการทางเศรษฐกิจในอนาคต จึงชะลอการขยายการลงทุนออกไป ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่ภาครัฐจะต้องดำเนินมาตรการด้านการคลัง โดยเฉพาะการเพิ่มรายจ่ายของภาครัฐ เพื่อบรรเทาผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่มีต่อประเทศไทย
และเพื่อให้ภาครัฐเป็นตัวจักรขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ในสภาวะที่การลงทุนและการบริโภคภาคเอกชนชะลอตัว รัฐบาลจึงได้ดำเนินนโยบายการคลังผ่านเครื่องมือ 3 ด้าน ได้แก่ (1) เครื่องมือด้านรายได้ เช่น มาตรการภาษี (2) เครื่องมือด้านรายจ่าย เช่น มาตรการด้านการเพิ่มรายจ่ายของรัฐบาล และ (3) เครื่องมือการเพิ่มสภาพคล่องให้แก่ภาคเอกชน ผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ
จากการวิเคราะห์กลไกการส่งผ่านของมาตรการด้านการคลังทั้ง 3 ด้าน พบว่า มาตรการด้านรายจ่ายจะมีผลในการกระตุ้นเศรษฐกิจได้มากกว่ามาตรการด้านรายได้และมาตรการเสริมสภาพคล่องผ่านสถาบันการเงินของรัฐ เนื่องจากกลไกการส่งผ่านของมาตรการด้านรายจ่ายไม่ได้มีส่วนที่ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของภาคเอกชนมากนัก อีกทั้ง รัฐบาลยังสามารถติดตามและเร่งรัดแผนการเบิกจ่ายของภาครัฐ ให้เป็นไปอย่างรวดเร็วและสัมฤทธิ์ผลในการกระตุ้นเศรษฐกิจได้อีกด้วย
สำหรับมาตรการด้านรายได้ โดยเฉพาะมาตรการด้านภาษีนั้น รัฐบาลมีข้อจำกัดในการดำเนินมาตรการดังกล่าว เนื่องจากรัฐบาลยังต้องพึ่งพารายได้จากภาษีอากรเพื่อดำรงฐานะทางการคลังให้มีเสถียรภาพ ทำให้ไม่สามารถใช้มาตรการปรับลดอัตราภาษีเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้มากนัก และในส่วนของมาตรการด้านการเสริมสภาพคล่องนั้น ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของภาคเอกชนเป็นสำคัญ
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลก็ยังมีความจำเป็นในการใช้มาตรการด้านรายได้และมาตรการเสริมสภาพคล่อง ควบคู่ไปกับมาตรการด้านรายจ่าย ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนความต้องการของภาคเอกชนในด้านอื่นๆ และเพื่อให้มาตรการด้านการคลังทั้ง 3 ด้าน มีผลในการกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งในระยะสั้นและระยะยาวมากที่สุด
นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้ดำเนินมาตรการด้านรายได้และรายจ่าย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของภาคการผลิตในระยะปานกลางและระยะยาวอีกด้วย ซึ่งผลของมาตรการดังกล่าว จะทำให้ประสิทธิภาพของภาคการผลิตเพิ่มขึ้นในระยะปานกลางและระยะยาว ซึ่งอาจส่งผลให้ภาคเอกชนขยายการลงทุน การจ้างงานและการบริโภคเพิ่มขึ้นในอนาคต
1. ความจำเป็นของนโยบายการคลังในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ถึงแม้ว่าวิกฤติทางการเงินและวิกฤติเศรษฐกิจโลกที่เริ่มต้นจากวิกฤติในภาคอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐอเมริกา จะไม่ส่งผลให้ประเทศไทยเกิดวิกฤติในภาคการเงินดังเช่นในอดีตก็ตาม แต่ผลจากการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจในประเทศคู่ค้าที่สำคัญของไทย (สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และจีน เป็นต้น) จากผลกระทบของวิกฤติเศรษฐกิจโลกนั้น ได้ส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกและภาคการผลิตของไทยอย่างรุนแรง เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่พึ่งพาการส่งออกสูงถึงประมาณร้อยละ 70 ของรายได้ประชาชาติ ดังนั้น เมื่อเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าชะลอตัวลง คำสั่งซื้อสินค้าของไทยจากประเทศดังกล่าวจึงลดลง ทำให้ประเทศไทยมีความเสี่ยงจากปัญหาการว่างงานที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับการถดถอยของเศรษฐกิจภายในประเทศ จากการบริโภคทั้งภายในและภายนอกประเทศที่ชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง ในสถานการณ์ดังกล่าว ธนาคารกลางทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย ต่างทยอยปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง เพื่อมุ่งผลในการกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม มาตรการด้านการเงินผ่านการปรับลดอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว ก็ยังไม่สามารถกระตุ้นการลงทุนของภาคเอกชนได้มากนัก เนื่องจากภาคเอกชนยังไม่มีความมั่นใจต่อสภาวะการทางเศรษฐกิจในอนาคต จึงชะลอการขยายการลงทุนออกไป ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่ภาครัฐจะต้องดำเนินมาตรการด้านการคลัง โดยเฉพาะการเพิ่มรายจ่ายของภาครัฐ เพื่อบรรเทาผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่มีต่อประเทศไทย และเพื่อให้ภาครัฐเป็นตัวจักรขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ในสภาวะที่การลงทุนและการบริโภคภาคเอกชนชะลอตัว รัฐบาลจึงได้ดำเนินนโยบายการคลังผ่านเครื่องมือ 3 ด้าน ได้แก่ ด้านรายได้ ด้านรายจ่าย ด้านการเพิ่มสภาพคล่องผ่านสถาบันการเงินของรัฐ (Fiscal Credit) และเนื่องจากผลกระทบของเครื่องมือทางการคลังต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศมีความหลากหลายแตกต่างกัน บทวิเคราะห์นี้จึงขอนำเสนอกลไกการส่งผ่านมาตรการการคลังด้านต่างๆ ของรัฐบาลไปยังภาคเศรษฐกิจจริง เพื่อเป็นแนวทางในการประเมินผลสัมฤทธิ์ของมาตรการด้านการคลังของภาครัฐต่อไป
2. เครื่องมือทางการคลังของรัฐบาล รัฐบาลโดยกระทรวงการคลังได้ดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านเครื่องมือทางการคลังของภาครัฐใน 3 ด้าน ได้แก่ (1) เครื่องมือด้านรายได้ เช่น มาตรการภาษี (2) เครื่องมือด้านรายจ่าย เช่น มาตรการด้านการเพิ่มรายจ่ายของรัฐบาล และ (3) เครื่องมือการเพิ่มสภาพคล่องให้แก่ภาคเอกชน ผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ (Special Financial Institutions: SFIs) และการเสริมสภาพคล่องให้แก่รัฐวิสาหกิจผ่านกระบวนการค้ำประกันเงินกู้ เช่น Short-term Credit Facility โดยจะได้สรุปมาตรการต่างๆ ของรัฐบาลนับตั้งแต่ต้นปี 2552 เป็นต้นมา จำแนกตามประเภทของเครื่องมือทางการคลัง ดังต่อไปนี้
2.1 เครื่องมือด้านรายได้ รายได้หลักของรัฐบาลมาจากรายได้ภาษีอากร ซึ่งคิดเป็นประมาณร้อยละ 90 ของรายได้รัฐบาล ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 10 มาจากรายได้ที่รัฐวิสาหกิจนำส่งและรายได้จากหน่วยงานอื่นๆ ของรัฐบาล เช่น รายได้จากการให้เช่าที่ของกรมธนารักษ์ และรายได้จากค่าภาคหลวงปิโตรเลียมของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เป็นต้น ดังนั้น เครื่องมือด้านรายได้ของรัฐบาลที่สำคัญจึงเป็นเครื่องมือด้านภาษีอากร ซึ่งรัฐบาลสามารถดำเนินนโยบายภาษีเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจได้โดยการปรับลดอัตราภาษี เพื่อลดผลกระทบของวิกฤติเศรษฐกิจต่อภาคการผลิต การจ้างงาน และค่าครองชีพของประชาชน ซึ่งเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2552 รัฐบาลได้มีมติเห็นชอบต่อมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล รวม 4 มาตรการ ดังนี้
2.1.1 มาตรการภาษีเพื่อช่วยเหลือค่าครองชีพ และสนับสนุนผู้ประกอบการขนาดกลาง ขนาดย่อม และวิสาหกิจชุมชน โดย (1) ขยายวงเงินได้พึงประเมินขั้นต่ำที่ต้องคำนวณภาษีในอัตราร้อยละ 0.5 จาก 60,000 บาท เป็น 1,000,000 บาท (2) เพิ่มเพดานวงเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีสำหรับวิสาหกิจชุมชน จาก 1,200,000 บาท เป็น 1,800,000 บาท (3) มาตรการสนับสนุนแหล่งเงินทุนให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ผ่านธุรกิจเงินร่วมลงทุน (Venture Capital: VC) เช่น ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับกำไรของ VC จากการขายหุ้นของ SMEs ในตลาดหลักทรัพย์
2.1.2 มาตรการภาษีเพื่อช่วยเหลือธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้แก่ผู้ที่จ่ายเงินค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ใหม่ และในกรณีโอนกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวภายในปี พ.ศ. 2552 ให้ได้รับการยกเว้นภาษีสำหรับเงินได้พึงประเมิน เป็นจำนวนเท่ากับมูลค่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 300,000 บาท ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าวเป็นมาตรการเพิ่มเติมจากที่ให้หักค่าลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมซื้อบ้านเป็นจำนวนไม่เกิน 100,000 บาท ต่อปี
2.1.3 มาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นธุรกิจการท่องเที่ยว โดยให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จัดโครงการอบรมสัมมนาเพื่อเพิ่มพูนความรู้ความสามารถภายในประเทศ แทนการไปจัดอบรมสัมมนาในต่างประเทศ สามารถหักรายจ่ายในการคำนวณภาษี สำหรับรายจ่ายค่าห้องพัก และค่าห้องสัมมนา ภายในประเทศ ได้เป็นจำนวน 2 เท่า ของที่จ่ายจริงสำหรับรายจ่ายที่ได้เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2552
2.1.4 มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้และโครงสร้างองค์กร สำหรับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (NPL) ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2552 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2552 โดยให้ (1) ยกเว้นภาษีเงินได้ ให้แก่ ลูกหนี้ของสถาบันการเงินสำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการปลดหนี้ของสถาบันการเงิน และลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่น สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการปลดหนี้ของเจ้าหนี้อื่น (2) ยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะและอากรแสตมป์ ให้แก่ลูกหนี้ของสถาบันการเงินและสถาบันการเงิน ลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่นและเจ้าหนี้อื่น สำหรับเงินได้อันเนื่องมาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (3) ยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ให้แก่ลูกหนี้ของสถาบันการเงิน สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการโอนอสังหาริมทรัพย์ที่ลูกหนี้ของสถาบันการเงินนำมาจำนองเป็นประกันหนี้ของสถาบันการเงินให้แก่ผู้อื่นซึ่งมิใช่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่ไม่เกินกว่าหนี้ที่ค้างชำระอยู่กับสถาบันการเงิน (4) ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ ให้แก่ผู้ประกอบกิจการซึ่งเป็นบริษัทมหาชนหรือบริษัทจำกัด สำหรับมูลค่าของฐานภาษี รายรับหรือการกระทำตราสารที่เกิดขึ้นหรือเนื่องมาจากการโอนกิจการบางส่วนให้แก่กัน ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2552
2.2 เครื่องมือด้านรายจ่าย ที่สำคัญของรัฐบาลได้แก่ งบประมาณรายจ่ายประจำปีของรัฐบาลและมาตรการอื่นๆ ของรัฐบาลที่ส่งผลให้รายจ่ายของรัฐบาลเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ มาตรการด้านรายจ่ายที่รัฐบาลได้ดำเนินการไปนับตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา ได้แก่
2.2.1 การจัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ 2552 โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้จัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 มูลค่า 116,700 ล้านบาท เพื่อใช้ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ จำแนกเป็น (1) แผนงานฟื้นฟูและเสริมสร้างความเชื่อมั่นด้านเศรษฐกิจ วงเงิน 37,465 ล้านบาท (2) แผนงานเสริมสร้างรายได้ พัฒนาคุณภาพชีวิตและความมั่นคงด้านสังคม วงเงิน 56,005 ล้านบาทและ (3) แผนงานบริหารเพื่อรองรับกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงิน 4,090 ล้านบาท โดยมีรายละเอียดของแต่ละแผนงานดังต่อไปนี้
2.2.2 ขยายระยะเวลาของ 5 มาตรการใน 6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤตเพื่อคนไทยทุกคน ออกไปอีก 6 เดือน (31 ม.ค. 52 31 ก.ค. 52) เมื่อวันที่ 7 ม.ค. 2552 เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภคของประชาชนเป็นการชั่วคราว ได้แก่ (1) การชะลอการปรับขึ้นของก๊าซหุงต้ม (2) งดเก็บค่าน้ำประปาในบางกรณี (3) งดเก็บค่าไฟฟ้าของครัวเรือนในบางกรณี (4) จัดรถโดยสารประจำทางโดยไม่เก็บค่าโดยสาร และ (5) ให้บริการรถไฟชั้น 3 ทั่วประเทศโดยไม่เก็บค่าโดยสาร ทั้งนี้มาตรการดังกล่าวส่งผลให้รัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง เช่น การรถไฟแห่งประเทศไทย และการประปาแห่งประเทศไทย มีรายได้ที่ลดลง ทำให้รัฐบาลต้องจัดสรรรายจ่ายจำนวน 11,409.2 ล้านบาทจากงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม เพื่อมาชดเชยรายได้ของรัฐวิสาหกิจที่สูญเสียไปจากผลของมาตรการดังกล่าว
2.2.2 ขยายระยะเวลาของ 5 มาตรการใน 6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤตเพื่อคนไทยทุกคน ออกไปอีก 6 เดือน (31 ม.ค. 52 31 ก.ค. 52) เมื่อวันที่ 7 ม.ค. 2552 เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภคของประชาชนเป็นการชั่วคราว ได้แก่ (1) การชะลอการปรับขึ้นของก๊าซหุงต้ม (2) งดเก็บค่าน้ำประปาในบางกรณี (3) งดเก็บค่าไฟฟ้าของครัวเรือนในบางกรณี (4) จัดรถโดยสารประจำทางโดยไม่เก็บค่าโดยสาร และ (5) ให้บริการรถไฟชั้น 3 ทั่วประเทศโดยไม่เก็บค่าโดยสาร ทั้งนี้มาตรการดังกล่าวส่งผลให้รัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง เช่น การรถไฟแห่งประเทศไทย และการประปาแห่งประเทศไทย มีรายได้ที่ลดลง ทำให้รัฐบาลต้องจัดสรรรายจ่ายจำนวน 11,409.2 ล้านบาทจากงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม เพื่อมาชดเชยรายได้ของรัฐวิสาหกิจที่สูญเสียไปจากผลของมาตรการดังกล่าว
2.3 เครื่องมือด้านการเสริมสภาพคล่องให้แก่ภาคเศรษฐกิจ (Credit Facility) ซึ่งเป็นเครื่องมือเพื่อตอบสนองนโยบายของรัฐในการเพิ่มสภาพคล่องให้แก่ภาคเศรษฐกิจจริงผ่านการปล่อยสินเชื่อโดยธนาคารที่อยู่ในการกำกับดูแลของรัฐ และ/หรือการเพิ่มสภาพคล่องให้แก่รัฐวิสาหกิจผ่านการค้ำประกันเงินกู้ทั้งหมดหรือบางส่วนของรัฐวิสาหกิจโดยรัฐบาล ทั้งนี้ ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา (2551-2552) รัฐบาลได้มีแนวทางในการดำเนินมาตรการกึ่งการคลัง ดังต่อไปนี้
2.3.1 การจัดตั้งเงินกู้ Short Term Facility วงเงินไม่เกิน 200,000 ล้านบาท เป็นระยะเวลา 3 ปี เพื่อให้รัฐวิสาหกิจและสถาบันการเงินภาครัฐสามารถกู้เงินในประเทศระยะสั้นได้โดยตรง เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2552 เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการเงินทุนของหน่วยงานดังกล่าว อีกทั้งเป็นการบรรเทาปัญหาที่เงินกู้ภาครัฐจะส่งผลให้เกิด crowding out effect ต่อภาคเอกชน
2.3.1 การจัดตั้งเงินกู้ Short Term Facility วงเงินไม่เกิน 200,000 ล้านบาท เป็นระยะเวลา 3 ปี เพื่อให้รัฐวิสาหกิจและสถาบันการเงินภาครัฐสามารถกู้เงินในประเทศระยะสั้นได้โดยตรง เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2552 เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการเงินทุนของหน่วยงานดังกล่าว อีกทั้งเป็นการบรรเทาปัญหาที่เงินกู้ภาครัฐจะส่งผลให้เกิด crowding out effect ต่อภาคเอกชน
3. กลไกการส่งผ่านผลกระทบของมาตรการด้านการคลังสู่ระบบเศรษฐกิจ
มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลมีจุดมุ่งหมายหลักคือ การเพิ่มอุปสงค์และอุปทานให้แก่ระบบเศรษฐกิจ โดยอาศัยเครื่องมือทั้ง 3 ด้านของมาตรการด้านการคลัง (เครื่องมือด้านรายได้ รายจ่าย และ การเสริมสภาพคล่องผ่านธนาคารของรัฐ) ดังมีรายละเอียดตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น และถึงแม้ว่ามาตรการทั้ง 3 ด้าน จะมีเป้าหมายอย่างเดียวกัน คือการกระตุ้นให้เศรษฐกิจขยายตัว แต่ผลกระทบของมาตรการแต่ละด้านต่อภาคเศรษฐกิจนั้น มีความแตกต่างกัน ตามความต่างของกลไกการส่งผ่านผลกระทบจากเครื่องมือทางการคลังหนึ่งๆ ไปสู่ภาคเศรษฐกิจจริง โดยจะได้นำเสนอแผนภูมิแสดงกลไกการส่งผ่านของมาตรการด้านการคลังทั้ง 3 ด้าน ดังนี้
3.1 กลไกการส่งผ่านมาตรการด้านรายได้ไปสู่ระบบเศรษฐกิจ
มาตรการด้านรายได้ของรัฐบาลโดยเฉพาะมาตรการด้านภาษีนั้น มีเป้าหมายหลักในการกระตุ้นการบริโภคของภาคประชาชนและเพิ่มรายได้ประชาชาติ (GDP) ผ่านการเพิ่มรายได้และลดรายจ่ายของภาคเอกชน เช่น การขยายวงเงินได้พึงประเมินขั้นต่ำที่ต้องคำนวณภาษี การเพิ่มเพดานวงเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีสำหรับวิสาหกิจชุมชน และการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ให้แก่ผู้ที่จ่ายเงินค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่ไม่เคยผ่านการใช้งานมาก่อน เป็นต้น ทั้งนี้ มาตรการด้านรายได้ของรัฐบาลจะสามารถกระตุ้นการบริโภคภาคเอกชน (Private Consumption) ได้มากน้อยเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของภาคเอกชนว่าจะนำรายได้ส่วนเพิ่มที่ได้จากมาตรการของภาครัฐ (เช่นรายได้หลังหักภาษีที่เพิ่มขึ้น หรือค่าธรรมเนียมการโอนอสังหาริมทรัพย์ที่ลดลง เป็นต้น) มาใช้เพื่อการบริโภคและ/หรือการลงทุนเท่าไหร่ ทั้งนี้ การตัดสินใจด้านการใช้จ่ายของภาคเอกชนขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำคัญคือ (1) ความเชื่อมั่นของภาคเอกชนต่อภาวะเศรษฐกิจในอนาคต (Confidence) ซึ่งหากเอกชนประเมินว่าสถานการณ์เศรษฐกิจมีแนวโน้มดีขึ้น การบริโภคและการลงทุนจากรายได้ส่วนเพิ่มก็อาจจะมากขึ้น ในทางกลับกัน หากเอกชนประเมินว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวช้า ก็อาจส่งผลให้ภาคเอกชนเลือกที่จะเก็บออมรายได้ส่วนที่เพิ่มขึ้น หรือชะลอการลงทุนออกไป (2) สัดส่วนการบริโภคของภาคประชาชนที่เพิ่มขึ้นต่อหนึ่งหน่วยรายได้ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งวัดได้จากค่าความโน้มเอียงในการบริโภคหน่วยท้าย (Marginal Propensity to Consume: MPC) ที่มีค่าระหว่าง 0.0 ถึง 1.0 โดยที่ค่าของ MPC จะขึ้นอยู่กับรายได้ของประชาชนเป็นสำคัญ 3 ผลการศึกษาวิจัยส่วนใหญ่มักพบว่า ผู้มีรายได้น้อยจะมี MPC ที่เข้าใกล้ค่า 1.0 มากกว่าผู้มีรายได้สูง เนื่องจากความต้องการใช้จ่ายเพื่อซื้อหาปัจจัย 4 มีมากกว่า ดังนั้น หากมาตรการของภาครัฐ มุ่งกลุ่มเป้าหมายไปยังประชาชนไทยผู้มีรายได้น้อยเป็นสำคัญ (มีค่า MPC ใกล้เคียง 1.0) มากเท่าไหร่ ก็จะทำให้มาตรการด้านรายได้สามารถกระตุ้นการบริโภคได้เพิ่มขึ้นมากเท่านั้น ซึ่งสอดคล้องกับมาตรการภาษีที่รัฐบาลได้ดำเนินอยู่ในปัจจุบัน ที่มีเป้าหมายในการลดภาระภาษีให้แก่ธุรกิจขนาดเล็กและผู้มีรายได้น้อย เป็นสำคัญ และ (3) ปริมาณของสินค้าคงเหลือ (Inventory Stock) ของภาคเอกชน ว่ามีจำนวนมากหรือน้อยกว่าอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นจากผลของมาตรการด้านรายได้ ซึ่งหากมีสินค้าคงคลังเหลือมากกว่าอุปสงค์แล้ว ก็จะไม่ส่งผลให้เกิดการขยายตัวในภาคการผลิตและการจ้างงาน
กล่าวโดยสรุป มาตรการด้านรายได้ สามารถส่งผลในการกระตุ้นการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนได้ในรอบแรก (First-round Effect) ผ่านการเพิ่มรายได้ของประชาชนและภาคธุรกิจ นอกจากนี้ ผลจากมาตรการด้านรายได้ ยังอาจส่งผลต่อเนื่องในรอบที่ 2 (Second-round Effect) เป็นการขยายตัวในภาคการผลิตผ่านการขยายตัวของการลงทุน และการจ้างงานต่อไปอีกด้วย ดังนั้น จะเห็นได้ว่ามาตรการด้านรายได้ที่รัฐบาลได้ดำเนินการไปในคราวหนึ่งๆ สามารถส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจจริงได้มากกว่าหนึ่งรอบ ซึ่งอาจส่งผลให้ผลกระทบของมาตรการในการกระตุ้นเศรษฐกิจทวีค่า (Multiply) มากกว่ารายได้ของรัฐที่สูญเสียไปจากมาตรการดังกล่าว ทั้งนี้ จากการประเมินผลของมาตรการภาษีของรัฐบาลในเบื้องต้น (ณ ม.ค. 2552) คาดว่า สำหรับรายได้ภาษีที่รัฐบาลสูญเสียไปทุกๆ 10,000 ล้านบาท จะสามารถกระตุ้น GDP ให้ขยายตัวได้ร้อยละ 0.06 ต่อปี
3.2 กลไกการส่งผ่านมาตรการด้านรายจ่ายสู่ระบบเศรษฐกิจ
มาตรการด้านรายจ่ายของรัฐบาล สามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศได้ในรอบแรก (First-round Effect) ผ่านการบริโภคและการลงทุนของภาครัฐ การกระตุ้นการลงทุนภาคเอกชน การจ้างงาน และการลดภาระค่าครองชีพหรือการเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชนโดยตรง (Income Transfer) ทั้งนี้ มาตรการด้านรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของภาครัฐ ได้แก่ โครงการก่อสร้างทางในหมู่บ้านเพื่อแก้ไขความเดือดร้อนของประชาชน วงเงิน 1,500 ล้านบาท และโครงการก่อสร้างอาคารที่พักอาศัยข้าราชการตำรวจชั้นประทวน วงเงิน 1,808 ล้านบาท เป็นต้น ซึ่งจะส่งผลให้รายได้ประชาชาติเพิ่มขึ้น ผ่านการลงทุน การบริโภค และการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น สำหรับมาตรการด้านรายจ่าย ที่เกี่ยวข้องกับการลดภาระค่าครองชีพและเพิ่มรายได้ให้กับประชาชน ได้แก่ โครงการการช่วยเหลือค่าครองชีพประชาชนและบุคลากรภาครัฐ (2,000 บาทต่อคน) โครงการสร้างหลักประกันด้านรายได้แก่ผู้สูงอายุ (500 บาทต่อคน) และ โครงการ 5 มาตรการ 6 เดือน เพื่อลดค่าครองชีพของประชาชน เป็นต้น โดยมาตรการดังกล่าว สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจ ผ่านการเพิ่มรายได้เพื่อการบริโภคของประชาชนเป็นสำคัญ ซึ่งทำให้ผลสัมฤทธิ์ของมาตรการขึ้นอยู่กับค่า MPC ของประชาชนกลุ่มเป้าหมาย และเนื่องจากมาตรการด้านรายจ่ายที่รัฐบาลได้ดำเนินการอยู่นั้น มีเป้าหมายเพื่อช่วยเหลือค่าครองชีพของประชาชน จึงมุ่งเน้นกลุ่มเป้าหมายของมาตรการไปที่ผู้มีรายได้น้อย ซึ่งในทางทฤษฎีคือผู้ที่มีค่า MPC เข้าใกล้หนึ่ง ซึ่งทำให้คาดว่า มาตรการลดรายจ่าย/เพิ่มรายได้ให้ประชาชนโดยตรง จะสามารถกระตุ้นการบริโภคภาคประชาชนได้ค่อนข้างสมบูรณ์
นอกจากนี้ การลงทุนโดยตรงจากรัฐบาลอาจจะส่งผลต่อเนื่องเป็นรอบที่สอง (Second-round effect) ให้เกิดการลงทุนในภาคเอกชนเพิ่มขึ้นจาก crowding-in effect ของการลงทุนภาครัฐ อย่างไรก็ตาม การลงทุนภาคเอกชนจะเพิ่มขึ้นจากการลงทุนของภาครัฐหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ อาทิ (1) ความเชื่อมั่นของภาคเอกชนต่อสภาวะเศรษฐกิจในอนาคต (Confidence) (2) ปริมาณสินเชื่อส่วนเกินที่มีอยู่ในระบบ (Excess Liquidity) (3) ความสามารถของภาคเอกชนในการเข้าถึงสินเชื่อ (Accessibility to Funding) และ (4) ต้นทุนของการกู้ยืมของภาคเอกชน (Cost of Funding) ซึ่งปัจจัยที่กล่าวมานี้ มีนอกจากนี้ การลงทุนโดยตรงจากรัฐบาลอาจจะส่งผลต่อเนื่องเป็นรอบที่สอง (Second-round effect) ให้เกิดการลงทุนในภาคเอกชนเพิ่มขึ้นจาก crowding-in effect ของการลงทุนภาครัฐ อย่างไรก็ตาม การลงทุนภาคเอกชนจะเพิ่มขึ้นจากการลงทุนของภาครัฐหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ อาทิ (1) ความเชื่อมั่นของภาคเอกชนต่อสภาวะเศรษฐกิจในอนาคต (Confidence) (2) ปริมาณสินเชื่อส่วนเกินที่มีอยู่ในระบบ (Excess Liquidity) (3) ความสามารถของภาคเอกชนในการเข้าถึงสินเชื่อ (Accessibility to Funding) และ (4) ต้นทุนของการกู้ยืมของภาคเอกชน (Cost of Funding) ซึ่งปัจจัยที่กล่าวมานี้ มี
3.3 กลไกการส่งผ่านมาตรการเพิ่มสินเชื่อให้แก่ภาคเศรษฐกิจผ่านสถาบันการเงินของรัฐ สู่ระบบเศรษฐกิจ
ภายใต้สภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงในปัจจุบัน ทำให้สถาบันการเงินมีความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อมากยิ่งขึ้น เนื่องจากความกังวลในเรื่องความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ที่เพิ่มสูงขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศและภายนอกประเทศ ที่ชะลอตัวลง ส่งผลให้ภาคเอกชนเข้าถึงแหล่งเงินกู้ได้น้อยลง ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่ภาครัฐจะต้องใช้เครื่องมือกึ่งการคลังในการเพิ่มสภาพคล่องและเพิ่มการปล่อยสินเชื่อให้แก่ภาคเอกชน โดยเฉพาะธุรกิจขนาดเล็กและธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจโลก เช่น ธุรกิจในภาคการส่งออกและการท่องเที่ยว เป็นต้น ตัวอย่างของมาตรการกึ่งการคลังผ่านสถาบันการเงินของรัฐ เช่น โครงการธนาคารประชาชนโดยธนาคารออมสิน ที่ได้ตั้งเป้าหมายการปล่อยสินเชื่อจำนวน 5 พันล้านบาท และโครงการสินเชื่อเพื่อเกษตรกร ของ ธ.ก.ส. ที่มีเป้าหมายการอนุมัติสินเชื่อ จำนวน 3.25 แสนล้านบาท นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้ออกมาตรการเพื่ออำนวยให้รัฐวิสาหกิจและสถาบันการเงินของรัฐกู้เงินได้รวดเร็วผ่านการจัดตั้งเงินกู้ Short term facility อีกด้วย
โดยที่การส่งผ่านผลกระทบของสินเชื่อจากภาครัฐบาลไปสู่ระบบเศรษฐกิจจริงนั้น มีปัจจัยกำหนดที่สำคัญคือ การตัดสินใจของภาคเอกชน ว่าจะนำสินเชื่อที่ได้รับมาไปใช้จ่ายอย่างไร ซึ่งหากภาคเอกชนนำสินเชื่อที่ได้รับไปลงทุนเพิ่มเติมก็จะส่งผลให้เกิดการจ้างงาน รายได้เพื่อการบริโภค และการบริโภคที่เพิ่มขึ้น แต่หากภาคเอกชนนำสินเชื่อที่ได้รับไปชำระหนี้ หรือเสริมสภาพคล่องในการดำเนินการ ก็จะไม่เพิ่มการจ้างงาน แต่อาจจะเพิ่มการบริโภคของภาคเอกชนได้บางส่วน นอกจากนี้ การตัดสินใจในการเพิ่มการลงทุนของภาคเอกชน ยังขึ้นอยู่กับความเชื่อมั่นของภาคเอกชนต่อสภาวะเศรษฐกิจในอนาคต (Confidence) อีกด้วย ทั้งนี้ จากการประเมินผลของมาตรการเพิ่มสินเชื่อให้แก่ภาคเอกชนผ่านสถาบันการเงินของรัฐ ในเบื้องต้น (ณ ม.ค. 2552) คาดว่า สำหรับสินเชื่อที่เพิ่มขึ้นทุกๆ 300,000 ล้านบาท จะส่งผลให้ GDP ขยายตัวร้อยละ 0.2 ต่อปี
จากแผนภูมิแสดงกลไกการส่งผ่านผลกระทบจากมาตรการด้านการคลังทั้ง 3 ด้าน ไปสู่ภาคเศรษฐกิจ จะเห็นได้ว่า ผลสัมฤทธิ์ของมาตรการทั้ง 3 ด้านในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของรัฐบาล ได้แก่ ความเชื่อมั่นและการตัดสินใจของภาคเอกชน เป็นสำคัญ อย่างไรก็ตาม จากการวิเคราะห์กลไกการส่งผ่านของมาตรการด้านการคลังทั้ง 3 ด้าน พบว่า มาตรการด้านรายจ่ายจะมีผลในการกระตุ้นเศรษฐกิจได้มากกว่ามาตรการด้านรายได้และมาตรการเสริมสภาพคล่องผ่านสถาบันการเงินของรัฐ เนื่องจากในกลไกการส่งผ่านของมาตรการด้านรายจ่าย ไม่ได้มีส่วนที่ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของภาคเอกชนมากนัก อีกทั้ง รัฐบาลยังสามารถติดตามและเร่งรัดแผนการลงทุนโดยตรงของภาครัฐ และการโอนเงินไปยังภาคประชาชน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการด้านรายจ่าย ให้เป็นไปอย่างรวดเร็วและสัมฤทธิ์ผลในการกระตุ้นเศรษฐกิจได้อีกด้วย
4. กลไกการส่งผ่านมาตรการระยะปานกลางและระยะยาวเพื่อเพิ่มศักยภาพของปัจจัยการผลิต สู่ระบบเศรษฐกิจ
นอกเหนือจากมาตรการการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้นแล้ว รัฐบาลยังได้ดำเนินมาตรการด้านรายได้และรายจ่าย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของภาคการผลิตในระยะปานกลางและระยะยาวอีกด้วย ทั้งนี้ มาตรการด้านรายได้ที่รัฐบาลใช้เพื่อเพิ่มศักยภาพของปัจจัยการผลิต (เครื่องจักรและแรงงาน) ได้แก่ มาตรการภาษีที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มค่าลดหย่อนทางภาษีสำหรับการนำเข้าเครื่องจักรกล การหักรายจ่ายในการคำนวณภาษีได้ 2 เท่าสำหรับการจัดอบรมสัมมนาในต่างประเทศ เป็นต้น สำหรับมาตรการด้านรายจ่ายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของแรงงานในระยะยาว ได้แก่ โครงการสนับสนุนการจัดการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย 15 ปี เป็นต้น ซึ่งมาตรการทั้งด้านรายได้และด้านรายจ่ายดังกล่าว จะทำให้ประสิทธิภาพของภาคการผลิตเพิ่มขึ้นในระยะปานกลางและระยะยาว และอาจส่งผลให้ภาคเอกชนขยายการลงทุน การจ้างงานและการบริโภคเพิ่มขึ้นในอนาคต
5. บทสรุป
ภายใต้สถานการณ์ปัจจุบันที่การบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชนชะลอตัวจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลก มาตรการด้านการคลังของภาครัฐจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ในการเป็นกลจักรสำคัญเพื่อกระตุ้นและป้องกันไม่ให้เศรษฐกิจของประเทศเข้าสู่ภาวะถดถอย ทั้งนี้ มาตรการทางการคลังผ่านเครื่องมือทั้ง 3 ด้านของรัฐบาล ได้แก่ เครื่องมือด้านรายได้ รายจ่าย และการให้สินเชื่อผ่านสถาบันการเงินของรัฐ ส่งผลต่อการขยายตัวของภาคเศรษฐกิจจริงแตกต่างกัน ตามกลไกการส่งผ่านของมาตรการที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม มาตรการทั้ง 3 ด้าน ต่างก็มุ่งเน้นเป้าหมายเดียวกัน คือการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศผ่านการกระตุ้น การบริโภค การลงทุน และการจ้างงาน ทั้งนี้ จากการวิเคราะห์กลไกการส่งผ่านของมาตรการด้านการคลังทั้ง 3 ด้าน พบว่า มาตรการด้านรายจ่ายจะมีผลในการกระตุ้นเศรษฐกิจได้มากกว่ามาตรการด้านรายได้และมาตรการเสริมสภาพคล่องผ่านสถาบันการเงินของรัฐ เนื่องจากในกลไกการส่งผ่านของมาตรการด้านรายจ่าย ไม่ได้มีส่วนที่ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของภาคเอกชนมากนัก อีกทั้ง รัฐบาลยังสามารถติดตามและเร่งรัดแผนการเบิกจ่าย ให้เป็นไปอย่างรวดเร็วและสัมฤทธิ์ผลในการกระตุ้นเศรษฐกิจได้อีกด้วย สำหรับมาตรการด้านรายได้ โดยเฉพาะมาตรการด้านภาษีนั้น รัฐบาลมีข้อจำกัดในการดำเนินมาตรการดังกล่าว เนื่องจากรัฐบาลยังต้องพึ่งพารายได้จากภาษีอากรเพื่อดำรงฐานะทางการคลังให้มีเสถียรภาพ ทำให้ไม่สามารถใช้มาตรการปรับลดอัตราภาษีเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้มากนัก และในส่วนของมาตรการด้านการเสริมสภาพคล่องนั้น ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของภาคเอกชนเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลก็ยังมีความจำเป็นในการใช้มาตรการด้านรายได้และมาตรการเสริมสภาพคล่อง ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนความต้องการของภาคเอกชนในด้านอื่นๆ และเพื่อให้มาตรการด้านการคลังมีผลในการกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งในระยะสั้นและระยะยาวให้มากที่สุด นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้ดำเนินมาตรการด้านรายได้และรายจ่าย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของภาคการผลิตในระยะปานกลางและระยะยาวอีกด้วย ซึ่งผลของมาตรการดังกล่าว จะทำให้ประสิทธิภาพของภาคการผลิตเพิ่มขึ้นในระยะปานกลางและระยะยาว ซึ่งอาจส่งผลให้ภาคเอกชนขยายการลงทุน การจ้างงานและการบริโภคเพิ่มขึ้นในอนาคต
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์แล้ว: ศุกร์ เม.ย. 17, 2009 3:34 pm
โดย pavilion
การปรับลดอันดับเครดิตของประเทศ...โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
การปรับลดอันดับเครดิตของไทยรอบล่าสุด
การขาดเสถียรภาพทางการเมืองในประเทศ เป็นปัญหาเรื้อรังที่นำมาสู่การปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของไทยโดยสถาบัน S&P และ Fitch ตามลำดับ
ในวันที่ 14 เมษายน 2552 S&P ได้ประกาศปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือสกุลเงินบาทระยะยาวของไทย จาก A สู่ A- และอันดับความน่าเชื่อถือสกุลเงินบาทระยะสั้น จาก A-1 สู่ A-2 โดยคงแนวโน้มไว้ที่ เชิงลบในขณะเดียวกันยังคงอันดับความน่าเชื่อถือสกุลเงินต่างประเทศระยะยาว/ระยะสั้นของไทยที่ BBB+/A-2 และมีแนวโน้ม เชิงลบ โดย S&P ระบุว่า การปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือในครั้งนี้ มีสาเหตุมาจากสถานการณ์การเมืองในประเทศที่เกิดความรุนแรง และทำให้คาดว่าการเมืองไทยคงจะไม่มีเสถียรภาพในระยะเวลาอันใกล้นี้ ซึ่งปัจจัยดังกล่าว อาจทำลายความเชื่อมั่นของนักลงทุนและนักท่องเที่ยวต่างชาติอย่างมีนัยสำคัญ ถึงแม้ว่าเสถียรภาพด้านต่างประเทศของไทยจะยังคงแข็งแกร่งก็ตาม
ถัดมาในวันที่ 16 เมษายน 2552 Fitch ได้ประกาศปรับลดอันดับเครดิตของสกุลเงินต่างประเทศและสกุลเงินในประเทศระยะยาว (Long-term foreign and local currency Issuer Default Ratings - IDRs) จาก 'BBB+' สู่ 'BBB' และจาก 'A' สู่ 'A-' ตามลำดับ รวมถึงทบทวนแนวโน้มจาก เชิงลบ สู่ มีเสถียรภาพ ขณะเดียวกัน ยังได้ปรับลดอันดับเครดิตของสกุลเงินต่างประเทศระยะสั้น (Short-term foreign currency IDR) จาก 'F2' สู่ 'F3' และอันดับเครดิตของประเทศ (Country Ceiling) จาก 'A-' สู่ 'BBB+' ด้วย โดย Fitch ระบุว่า การปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของไทยในครั้งนี้สะท้อนถึงการลดลงของความน่าเชื่อถือของประเทศ ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมกับการที่รัฐบาลหลายสมัยไม่สามารถแก้ไขปัญหาความไม่สงบทางการเมืองในประเทศให้ยุติลงได้อย่างสิ้นเชิง
การปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของ S&P และ Fitch ในครั้งนี้ เกิดขึ้นหลังจากที่สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือจำนวน 5 แห่ง คือ S&P, Fitch, Rating & Investment Information (R&I), Japan Credit Rating Agency (JCR) และ Moodys Investors Service ที่แม้จะยืนยันระดับเครดิตของไทยไว้ที่ระดับเดิม แต่ก็ได้พร้อมใจกันประกาศปรับลดแนวโน้มของระดับเครดิตของไทย จาก มีเสถียรภาพ เป็น เชิงลบ ไปเมื่อต้นเดือนธันวาคม 2551 อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการขาดเสถียรภาพทางการเมือง ภายหลังการเข้ายึดสนามบินนานาชาติทั้งสองแห่งของไทยโดยกลุ่มพันธมิตรฯตั้งแต่ปลายเดือนพฤศจิกายน 2551
มุมมองของศูนย์วิจัยกสิกรไทย
ผลกระทบในระยะสั้น: ความเสี่ยงเศรษฐกิจได้รับการยืนยัน
ในเบื้องต้น การปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของไทยโดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือทั้ง 2 แห่ง (จนถึงขณะนี้) นับว่าเป็นการยืนยันถึงความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งส่วนหนึ่งนักลงทุนได้รับรู้ไปแล้วพอสมควร หลังจากที่ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองได้ยืดเยื้อมาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานเกือบ 4 ปี จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์การปิดสนามบินในช่วงปลายปีก่อน และล่าสุดเหตุการณ์ความรุนแรงในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมา ซึ่งเมื่อประกอบกับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจและการเงินโลกด้วยแล้ว ทำให้ความเสี่ยงด้านเครดิตยังคงมีอยู่ในระดับสูง สะท้อนได้จากระดับอัตราผลตอบแทนของสัญญาตราสารอนุพันธ์ประกันความเสี่ยง (Credit Default Swaps: CDS) ของประเทศไทย ที่ยังคงอยู่เหนือระดับ 200 basis points (bps) ณ วันที่ 16 เมษายน 2552 ส่วนหุ้นกู้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือที่ AAA AA ถึง A ก็เสนออัตราผลตอบแทนสูงกว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลประเภทอายุเดียวกัน (Interest Spread/Premium) ประมาณ 139-259 bps และหากอันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้ต่ำลงมาที่ระดับ BBB อัตราผลตอบแทนส่วนเพิ่มดังกล่าว จะขยับขึ้นมาที่ประมาณ 321-371 bps
ทั้งนี้ การที่นักลงทุนได้มีการรับรู้ปัจจัยความเสี่ยงจากทั้งในและต่างประเทศไปแล้วในระดับหนึ่งดังกล่าว จึงส่งผลให้การประกาศปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของไทยโดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือชั้นนำทั้ง 2 แห่งในครั้งนี้ อาจมีผลกระทบต่อความเคลื่อนไหวในตลาดเงินและตลาดทุนในระยะใกล้ ไม่มากเท่าที่กังวล ดังจะเห็นได้จากการที่เงินบาทมีระดับที่ค่อนข้างทรงตัวหรือไม่ได้อ่อนค่าลง โดยเงินบาทปิดที่ระดับ 35.32 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ ในวันที่ 16 เมษายน 2552 เทียบกับ 35.36 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2552 ขณะเดียวกัน ดัชนีหุ้นไทยก็ปรับตัวลงเพียงเล็กน้อย 0.91 จุด หรือร้อยละ 0.20 มาปิดตลาดที่ 452.97 จุด ในวันที่ 16 เมษายน เทียบกับ 453.88 จุด เมื่อวันที่ 10 เมษายน ส่วนหนึ่งคงเป็นเพราะเงินบาทและดัชนีหุ้นไทยได้รับแรงหนุนจากทิศทางตลาดต่างประเทศที่นักลงทุนมีความคาดหวังในเชิงบวกมากขึ้นต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยเกือบทุกประเภทอายุ ก็ขยับลดลงประมาณร้อยละ 0.01-0.06 ในวันที่ 16 เมษายน เมื่อเทียบกับวันทำการก่อนหน้า เนื่องจากนักลงทุนให้น้ำหนักกับการลงทุนในตราสารหนี้ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ ท่ามกลางความวิตกกังวลต่อประเด็นทางการเมือง โดยไม่ได้พุ่งความสนใจไปที่ข่าวการถูกปรับลดอันดับเครดิตมากนัก
นอกจากนี้ ภายใต้ภาวะเศรษฐกิจไทยที่มีแนวโน้มหดตัวลงมากกว่าที่คาดไว้เดิมในปี 2552 นี้ (โดยล่าสุด ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า เศรษฐกิจไทยอาจหดตัวลงในกรอบประมาณร้อยละ 3.5-6.0 ในปีนี้ ต่ำลงจากประมาณการเดิมที่คาดว่าอาจหดตัวร้อยละ 1.5-3.5 และเทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 2.6 ในปี 2551) คาดว่าจะส่งผลตามมาให้ความต้องการเงินทุนเพื่อขยายการผลิต/กิจการของภาคเอกชน มีจำกัดลง ซึ่งสะท้อนได้จากอัตราการใช้กำลังการผลิตที่มีแนวโน้มปรับตัวลงเป็นเดือนที่ 9 ติดต่อกัน มาอยู่ที่เพียงร้อยละ 55.40 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 เท่านั้น นั่นหมายความว่า แม้ว่าการปรับลดอันดับเครดิตของไทยโดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือในครั้งนี้ อาจทำให้ต้นทุนทางการเงินในระบบขยับตัวสูงขึ้นบ้าง แต่ความต้องการเงินทุนของภาคเอกชนในประเทศที่ชะลอลงตามแนวโน้มเศรษฐกิจ คงจะทำให้ผลกระทบจากประเด็นการปรับลดอันดับเครดิตต่อการระดมเงินของภาคธุรกิจมีไม่มากนัก อย่างน้อยก็ในระยะสั้น
ในขณะเดียวกัน ภาวะสภาพคล่องของระบบธนาคารพาณิชย์ไทยที่ยังคงมีอยู่ในระดับสูงถึงประมาณ 1.02 ล้านล้านบาท ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ประกอบกับความร่วมมือจากองค์กร/สถาบันระหว่างประเทศ (อาทิ ธนาคารโลก ธนาคารพัฒนาเอเชีย องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น เป็นต้น) ในการสนับสนุนเงินกู้ระยะยาวที่อัตราดอกเบี้ยระดับต่ำ (soft loans) สำหรับการลงทุนในโครงการโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ ก็น่าจะช่วยเปิดช่องทางให้รัฐบาลและหน่วยงานรัฐวิสาหกิจบางแห่งที่มีความจำเป็นต้องใช้เงินทุน มีความยืดหยุ่นพอสมควรในการที่จะสามารถระดมเงินมาใช้รองรับการดำเนินการดังกล่าวได้โดยไม่ได้รับผลกระทบมากนักจากการปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศในครั้งนี้
ผลกระทบในระยะกลางและระยะยาว: ขึ้นอยู่กับพัฒนาการของการเมืองไทย ซึ่งเป็นต้นตอของปัญหา
ในกรณีที่สถานการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองในประเทศสามารถคลี่คลายลงไปได้อย่างราบรื่น และไม่ได้นำมาสู่การปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของไทยลงอย่างต่อเนื่องโดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือรายใดรายหนึ่งหรือหลายราย ผลกระทบในระยะกลางถึงยาวที่คาดว่าจะมีต่อเศรษฐกิจไทย นอกจากต้นทุนทางการเงินที่คงจะปรับตัวสูงขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้แล้ว ขอบเขตของผลกระทบอาจไม่รุนแรงนัก เพราะหากเปรียบเทียบสถานการณ์ในปัจจุบันกับสมัยวิกฤตปี 2540 ซึ่งไทยถูกปรับลดอันดับเครดิตลงมาหลายครั้งตั้งแต่ปลายปี 2539 จนถึงเดือนมกราคม 2541 จากปัญหาในภาคสถาบันการเงินและความอ่อนแอของภาคต่างประเทศ
อาจกล่าวได้ว่า เสถียรภาพของไทยในขณะนี้มีระดับที่ค่อนข้างแข็งแกร่งกว่ามาก ไม่ว่าจะพิจารณาจากความสามารถในการชำระหนี้ ซึ่งอาจวัดจากสัดส่วนหนี้ต่างประเทศเทียบกับทุนสำรองระหว่างประเทศ และฐานะของสถาบันการเงิน ที่อาจวัดจากสัดส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง ระดับหนี้เสีย เป็นต้น
หนี้ต่างประเทศ และทุนสำรองระหว่างประเทศ
ปี 2540 หนี้ต่างประเทศคงค้างมีสูงถึง 109.2 พันล้านดอลลาร์ฯ เทียบกับฐานะทุนสำรองเพียง 27.0 พันล้านดอลลาร์ฯ ณ สิ้นปี 2540
ปัจจุบัน หนี้ต่างประเทศ ณ สิ้นเดือนมกราคม 2552 มียอดคงค้าง 63.8 พันล้านดอลลาร์ฯ ขณะที่ ทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2552 มีสูงถึง 116.2 พันล้านดอลลาร์ฯ
สัดส่วนเอ็นพีแอลต่อสินเชื่อรวม (Gross NPLs) ของธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ
ปี 2540 ยอดคงค้างเอ็นพีแอลได้พุ่งขึ้นมาที่ระดับสูงสุดที่ 2.47 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 52.3 ของสินเชื่อรวม ในเดือน พ.ค. 2542
ปัจจุบัน สัดส่วนเอ็นพีแอลต่อสินเชื่อรวม อยู่ที่เพียงร้อยละ 5.6 ณ สิ้นปี 2551 ลดลงจากร้อยละ 7.8 ณ สิ้นปี 2550
ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย รวบรวมโดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย
อย่างไรก็ตาม หากรากของปัญหาการเมืองในประเทศยังไม่สามารถจะแก้ไขได้อย่างเรียบร้อย หรือกลายเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างในระยะยาวจนกระทั่งไม่มีหลักประกันที่จะทำให้สามารถเชื่อมั่นได้ว่าเหตุการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองจะไม่เกิดขึ้นซ้ำรอยอีก ความกังวลที่มีต่อประเด็นการเมืองนี้ก็อาจจะยังคงบั่นทอนความเชื่อมั่น และเป็นปัจจัยที่ส่งผลกดดันอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศให้มีโอกาสจะไถลลงต่อไปอีก ซึ่งผลกระทบที่คาดว่าจะมีต่อเศรษฐกิจไทยภายใต้สถานการณ์นี้ ก็คงจะขยายขอบเขตออกไปในเชิงที่เลวร้ายกว่าในกรณีแรก
โดยนอกจากการปรับขึ้นของต้นทุนทางการเงินแล้ว ความเชื่อมั่นที่เสื่อมถอยลง อาจส่งผลกดดันค่าเงินบาท และลดทอนความน่าสนใจในการเข้ามาลงทุนในประเทศไทยของนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งในท้ายที่สุดแล้ว ย่อมจะมีผลต่อการระดมเงินทุนทั้งในและต่างประเทศของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อความต้องการเงินทุนกลับมามีมากขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจที่ทยอยฟื้นตัวดีขึ้น ตลอดจนเป็นอุปสรรคที่สำคัญสำหรับการลงทุนเพื่อพัฒนาขีดความสามารถของประเทศในอนาคต
กล่าวโดยสรุป
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า การปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของไทยโดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือชั้นนำต่างๆ นั้น ยังคงเป็นประเด็นที่ต้องติดตามต่อไป เนื่องจากการปรับลดอันดับเครดิตของประเทศในครั้งนี้ เป็นผลมาจากปัญหาการเมืองในประเทศที่เรื้อรัง โดยที่ยังคงมีความไม่ชัดเจนว่าจะได้ข้อยุติที่จะกลับมาสู่เสถียรภาพหรือมีความเชื่อมั่นในระยะเวลาที่ยาวนานเพียงใด แตกต่างจากการปรับลดอันดับเครดิตของไทยในช่วงวิกฤตปี 2540 ที่มีสาเหตุหลักมาจากความไม่สมดุลทางเศรษฐกิจในประเทศ โดยเฉพาะปัญหาในภาคสถาบันการเงินและความอ่อนแอของภาคต่างประเทศ ซึ่งในที่สุดแล้วจะมีกลไกการปรับตัวกลับเข้าสู่ภาวะดุลยภาพ โดยเฉพาะค่าเงินบาท หลังจากที่ได้เปลี่ยนมาใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบมีการจัดการในปี 2540
ทั้งนี้ แม้ว่าการปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือในครั้งนี้ อาจเป็นเพียงการย้ำเตือนถึงความวิตกกังวลที่ตลาดมีต่อภาวะเศรษฐกิจไทย และอาจมีผลกระทบในขอบเขตที่จำกัดในระยะสั้น เนื่องจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ ในเวลานี้ยังคงอยู่ในช่วงของการชะลอตัวลง โดยภาคธุรกิจอาจยังไม่ได้อยู่ในภาวะที่ต้องเร่งขยายการลงทุน ขณะเดียวกัน รัฐบาลและรัฐวิสาหกิจบางแห่งที่มีความจำเป็นต้องใช้เงินสำหรับการใช้จ่ายเพื่อการลงทุน ก็น่าจะยังมีความยืดหยุ่นพอสมควรในการระดมเงินภายใต้ภาวะที่สภาพคล่องของระบบธนาคารพาณิชย์ไทยยังคงมีอยู่มาก แต่หากพิจารณาผลกระทบในระยะถัดไปแล้ว ต้นทุนทางการเงินที่คงจะขยับตัวสูงขึ้น อาจส่งผลต่อการดำเนินงานของภาคธุรกิจได้ โดยเฉพาะหากธุรกิจเหล่านั้นต้องหันกลับมาระดมทุนในตลาดเงินและตลาดทุนเมื่อสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเริ่มปรากฏขึ้น ดังนั้น ภาคธุรกิจจึงควรที่จะต้องมีการเตรียมตัววางแผนการดำเนินการและการลงทุนในระยะยาวของตนไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ (โดยเฉพาะสำหรับบริษัทที่ฐานะการเงินไม่ได้แข็งแกร่งมาก ซึ่งย่อมจะได้รับผลกระทบมากกว่าเมื่อเทียบกับบริษัทที่มีฐานะมั่นคง) โดยการเตรียมตัวดังกล่าว อาจจะต้องตั้งอยู่บนสมมติฐานที่ว่าอันดับความน่าเชื่อถือของไทยอาจจะไม่ถูกปรับขึ้นตราบใดที่เสถียรภาพทางการเมืองยังคงเป็นประเด็นปัญหาดังเช่นที่ผ่านมา
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ เม.ย. 19, 2009 10:52 pm
โดย pavilion
ผู้ว่าฯธนาคารกลางยุโรปคาดศก.เริ่มฟื้นตัวปีหน้า-แย้ม ECB อาจใช้มาตรการอื่นนอกเหนือจากลดดบ.
ฌอง-คล้อด ทริเชต์ ผู้ว่าการธนาคารกลางยุโรป ระบุว่า ภาวะเศรษฐกิจโลกตกต่ำที่ดำเนินอยู่ในขณะนี้เริ่มส่งสัญญาณว่ามาถึงจุดสิ้นสุดแล้ว และคาดว่าเศรษฐกิจอาจฟื้นตัวได้ในปี 2553 พร้อมกันนี้ยังเผยว่า ธนาคารฯอาจพิจารณาเรื่องการลดดอกเบี้ยและการใช้มาตรการที่ต่างออกไปจากเดิมในการประชุมเดือนหน้า
"ผลสำรวจบางชิ้นทำให้เราเริ่มมองเห็นว่าเศรษฐกิจหลายที่ ซึ่งรวมถึงยุโรป กำลังหยุดถดถอย" ทริเชต์กล่าวให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวเกียวโด "แต่ปัจจัยดังกล่าวก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงที่ว่าปี 2552 เป็นปีที่หนักหนาสาหัสมาก"
ผู้ว่าการอีซีบีกล่าวด้วยว่า ขณะที่ทั่วโลกต้องจัดการกับความเชื่อมั่นที่หดหายไปท่ามกลางวิกฤตการเงิน แต่เศรษฐกิจก็อาจกลับมาเข้าที่เข้าทางได้ในปีหน้า โดยมีปัจจัยหนุนจากราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์ที่ลดลง ประกอบกับการกลับคืนสู่สภาพปกติของบรรดาประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่
การแสดงความเห็นของนายทริเชต์มีขึ้นในขณะที่อีซีบีกำลังพยายามหาทางพยุงเศรษฐกิจยูโรโซน หรือ กลุ่มประเทศยุโรปที่ใช้เงินสกุลยูโร ซึ่งองค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาเศรษฐกิจ (OECD) คาดว่า เศรษฐกิจยูโรโซนจะหดตัวลงถึง 4.1% ในปีนี้
ทั้งนี้ เมื่อช่วงต้นเดือน ธนาคารกลางยุโรปเพิ่งประกาศลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% แตะที่ระดับ 1.25% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่ที่เริ่มมีการใช้เงินยูโรเมื่อปี 2542 โดยทริเชต์กล่าวย้ำว่า การลดอัตราดอกเบี้ยยังคงเป็นหนึ่งในมาตรการที่ทางธนาคารพิจารณา แต่มองว่าการลดดอกเบี้ยจนเหลือ 0% ไม่ใช่วิธีที่เหมาะสมนัก และกล่าวว่าอีซีบีจะหารือถึงแนวทางอื่นๆที่แตกต่างออกไปในการประชุมครั้งหน้าวันที่ 7 พ.ค.นี้ แต่ไม่ได้ชี้แจงรายละเอียด
ด้วยเหตุที่ธนาคารกลางต่างๆใช้มาตรการลดดอกเบี้ยจนลงมาใกล้ 0% แล้ว ดังนั้นจึงเริ่มมีการมองหาวิธีการอื่นๆเพื่อใช้เป็นเครื่องมือกระตุ้นเศรษฐกิจในยามที่การใช้จ่ายทำได้อย่างจำกัด ซึ่งธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และธนาคารกลางอังกฤษใช้วิธีซื้อพันธบัตรรัฐบาล ขณะที่ธนาคารกลางญี่ปุ่นซื้อตราสารจากสถาบันการเงินต่างๆเพื่อเพิ่มสภาพคล่อง
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์แล้ว: จันทร์ เม.ย. 20, 2009 10:30 am
โดย pavilion
IMF เล็งหั่นคาดการณ์เศรษฐกิจโลกในการประชุมสัปดาห์นี้
สำนักข่าวแฮนเดิลเบลทท์เปิดเผยภายหลังการสัมภาษณ์นายโดมินิก สเตราส์-คาห์น ผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ว่า ไอเอ็มเอฟเตรียมลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในการประชุมสัปดาห์นี้
"เราคาดว่าเศรษฐกิจโลกจะถดถอยรุนแรงกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ และจนถึงขณะนี้เราประเมินว่าเศรษฐกิจโลกจะหดตัวลงมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ถึงครึ่งหนึ่ง" สเตราส์-คาห์นกล่าวกับผู้สื่อข่าวของแฮนเดิลเบลทท์ สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงาน
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์แล้ว: จันทร์ เม.ย. 20, 2009 10:34 am
โดย pavilion
World Markets: สรุปภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านา (17 เม.ย.) ขานรับผลประกอบการที่ดีเกินคาดของซิตี้กรุ๊ป และเจนเนอรัล อิเล็กทริก (จีอี) โดยตลาดหุ้นนิวยอร์กได้รับแรงหนุนอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่โกลด์แมน แซคส์, เจพีมอร์แกน เชส แอนด์ โค และธนาคารเวลส์ ฟาร์โก รายงานผลประกอบการดีเกินคาด นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับปัจจัยบวกจากดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นในสหรัฐ
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดบวก 5.90 จุด หรือ 0.1% แตะที่ 8,131.33 จุด ขณะที่ดัชนี S&P 500 ปิดบวก 4.30 จุด หรือ 0.5% แตะที่ 869.60 จุด และดัชนี Nasdaq ปิดบวก 2.63 จุด หรือ 0.2% แตะที่ 1,673.07 จุด
สัญญาน้ำมันดิบตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (17 เม.ย.) เนื่องจากนักลงทุนเข้าซื้อเก็งกำไรหลังจากมีข่าวว่าจีนเตรียมอัดฉีดเม็ดเงินลงทุนในตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ รวมถึงน้ำมัน และจากการคาดการณ์ที่ว่าเศรษฐกิจจีนจะขยายตัวแข็งแกร่งในไตรมาสสองปีนี้
สัญญาน้ำมันดิบตลาด NYMEX (New York Mercantile Exchange) ส่งมอบเดือนพ.ค.ปิดบวก 35 เซนต์ แตะที่ 50.33 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 51.18-50.33 ดอลลาร์
ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐพุ่งขึ้นแข็งแกร่งเมื่อเทียบกับยูโร ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (17 เม.ย.) เพราะได้รับแรงหนุนจากผลประกอบการที่ดีเกินคาดของซิตี้กรุ๊ป และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวสูงขึ้นในสหรัฐ
ค่าเงินยูโรร่วงลง 1.17% แตะที่ 1.3024 ดอลลาร์/ยูโร จากระดับของวันพฤหัสบดีที่ 1.3178 ดอลลาร์/ยูโร และเงินปอนด์อ่อนตัวลง 0.92% แตะที่ 1.4785 ดอลลาร์/ปอนด์ จากระดับ 1.4923 ดอลลาร์/ปอนด์
ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนตัวลง 0.02% เมื่อเทียบกับเยนที่ 99.250 เยน/ดอลลาร์ จากระดับของวันพฤหัสบดีที่ 99.270 เยน/ดอลลาร์ แต่พุ่งขึ้น 1.79% เมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ 1.1672 ฟรังค์/ดอลลาร์ จากระดับ 1.1467 ฟรังค์/ดอลลาร์
สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (17 เม.ย.) เพราะได้รับแรงกดดันจากค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งแกร่งขึ้นเมื่อเทียบกับยูโร หลังจากสหรัฐเปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่สูงขึ้นและผลประกอบการที่ดีเกินคาดของซิตี้กรุ๊ป
สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนมิ.ย.ปิดที่ 867.90 ดอลลาร์/ออนซ์ ลดลง 11.90 ดอลลาร์
ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดพุ่งขึ้นเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (17 เม.ย.) จากแรงซื้อที่ส่งเข้าหนุนหุ้นกลุ่มธนาคาร หลังจากซิตี้กรุ๊ปรายงานผลประกอบการที่ดีเกินคาด นอกจากนี้ตลาดยังได้รับแรงบวกจากการพุ่งขึ้นของหุ้นสายการบินบริติช แอร์เวย์ส
ดัชนี FTSE 100 ปิดบวก 39.82 จุด ปิดที่ 4,092.80 จุด
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์แล้ว: อังคาร เม.ย. 21, 2009 4:01 pm
โดย pavilion
:"โอบามา"ประกาศให้เงินกู้ 1 แสนล้านดอลล์เสริมฐานเงินทุน IMF
USA:"โอบามา"ประกาศให้เงินกู้ 1 แสนล้านดอลล์เสริมฐานเงินทุน IMF
วอชิงตัน--21 เม.ย.--รอยเตอร์
ประธานาธิบดีบารัค โอบามาเสนอเงินกู้ 1 แสนล้านดอลลาร์ในนามของสหรัฐ
ให้แก่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เพื่อเสริมฐานเงินทุนของไอเอ็มเอฟ
ขณะที่เรียกร้องการมีสิทธิมีเสียงมากขึ้นในไอเอ็มเอฟสำหรับประเทศมหาอำนาจเกิดใหม่
อาทิ จีนและอินเดีย
ทั้งนี้ ในจดหมายที่ส่งถึงผู้นำพรรคเดโมแครตและพรรครีพับลิกันในสภาคองเกรส
ของสหรัฐ ปธน.โอบามาระบุว่า การให้เงินสนับสนุนของสหรัฐ "ไม่ได้บ่งชี้ถึงการใช้จ่าย
ในงบประมาณหรือการเพิ่มขึ้นของยอดขาดดุล เนื่องจากสิ่งนี้เป็นการแสดงถึงการแลกเปลี่ยน
สินทรัพย์"
จดหมายฉบับดังกล่าวมีขึ้นในช่วงเวลาไม่กี่วันก่อนที่รัฐมนตรีคลังทั่วโลกจะมา
รวมตัวกันที่กรุงวอชิงตันในวันที่ 24 และ 25 เม.ย. เพื่อร่วมการประชุมของไอเอ็มเอฟ
และธนาคารโลกในการหารือประเด็นการให้เงินกู้แก่ไอเอ็มเอฟ และการปฏิรูปการกำกับ
ดูแลของสถาบันทั้ง 2 รวมทั้งประเด็นอื่นๆ
เงินกู้จำนวน 1 แสนล้านดอลลาร์ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของการให้สัญญาของ
ประเทศสมาชิกจี-20 ในระหว่างการประชุมสุดยอดที่กรุงลอนดอนเมื่อวันที่ 2 เม.ย.
เพื่อรับมือวิกฤตการณ์เศรษฐกิจครั้งรุนแรงที่สุดนับตั้งแต่ยุคเศรษฐกิจตกต่ำรุนแรง
จี-20 มีพันธกรณีที่จะเพิ่มทุนทรัพย์ของไอเอ็มเอฟ 3 เท่า สู่ระดับ 7.50
แสนล้านดอลลาร์ ด้วยการเพิ่มเงินจำนวน 5 แสนล้านดอลลาร์ นอกเหนือจาก 2.50
แสนล้านดอลลาร์ในทุนทรัพย์ที่มีอยู่ เพื่อให้ไอเอ็มเอฟสามารถรับมือกับวิกฤตการณ์
ในตลาดเกิดใหม่และประเทศที่กำลังพัฒนาที่ได้รับผลกระทบอย่างหนัก
การให้เงินสนับสนุนของสหรัฐ จะช่วยเสริมกองทุน New Arrangements
to Borrow (NAB) ของไอเอ็มเอฟ ซึ่งเป็นกองทุนฉุกเฉินที่จัดตั้งขึ้นในปี 1998
เพื่อให้ประเทศสมาชิกของไอเอ็มเอฟจัดหาสินเชื่อให้แก่ไอเอ็มเอฟในการรับมือกับ
วิกฤตการณ์ที่อาจคุกคามความมีเสถียรภาพของระบบการเงินโลก
ปธน.โอบามาเรียกร้องให้สภาคองเกรสผ่านร่างกฎหมายดังกล่าวโดยเร็ว
เพื่ออนุญาตให้สหรัฐรักษาสัญญาในที่ประชุมจี-20 และย้ำว่า รัฐบาลไม่ต้องการเงินทุน
จากงบประมาณ
"สหรัฐจะโอนเงินไปยังไอเอ็มเอฟภายใต้กองทุน NAB และเพื่อเป็นการ
แลกเปลี่ยน สหรัฐก็จะรับสินทรัพย์ทางการเงินอื่นในรูปของสิทธิเรียกร้องที่มีสภาพคล่อง
และดอกเบี้ยต่อไอเอ็มเอฟ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง
ของไอเอ็มเอฟ ซึ่งรวมถึงการถือครองทองจำนวนมาก" ปธน.โอบามาระบุ
ปธน.โอบามายังกล่าวว่า การเพิ่มงบ 5 แสนล้านดอลลาร์ในกองทุน NAB
จะทำให้ประเทศตลาดเกิดใหม่สามารถมีส่วนร่วมมากขึ้นในไอเอ็มเอฟ โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งจีนและอินเดีย
เจ้าหน้าที่จีนระบุก่อนหน้านี้ว่า จีนวางแผนที่จะให้เงินสมทบ 4 หมื่นล้านดอลลาร์
แก่ไอเอ็มเอฟ ผ่านทางพันธบัตรที่ออกโดยไอเอ็มเอฟให้กับธนาคารกลางจีน ในขณะเดียวกัน
เจ้าหน้าที่ไอเอ็มเอฟกล่าวว่า บราซิลและซาอุดิอาระเบีย อาจจะให้เงินสมทบเช่นกัน
ปธน.โอบามากล่าวว่า ประเทศต่างๆรอให้สหรัฐปฏิบัติตามพันธกรณีจี-20
ซึ่งบ่งชี้ว่า รัฐบาลอื่นๆอาจดำเนินการตามการนำของสหรัฐซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุด
และมีอิทธิพลมากที่สุดในไอเอ็มเอฟ
ประเทศตลาดเกิดใหม่ได้ทำการผลักดันมาเป็นเวลานานสำหรับการมีส่วนร่วม
มากขึ้นในไอเอ็มเอฟและการปรับดุลอำนาจสิทธิในการออกเสียง เพื่อสะท้อนถึงอิทธิพล
ที่เพิ่มขึ้นของพวกเขาในเศรษฐกิจโลก --จบ--
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์แล้ว: อังคาร เม.ย. 21, 2009 4:23 pm
โดย pavilion
ADB เผยตลาดทุนในประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ของเอเชียเริ่มมีเสถียรภาพ
ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ชี้ตลาดทุนในประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ในเอเชียเริ่มที่จะมีเสถียรภาพ และเศรษฐกิจที่ค่อนข้างจะมีความยืดหยุ่นในภูมิภาคแห่งนี้จะช่วยสนับสนุนเรื่องการฟื้นตัว ขณะที่วิกฤตเศรษฐกิจโลกคลี่คลายลงและความเชื่อมั่นนักลงทุนฟื้นคืนมา อย่างไรก็ดี หนทางของการฟื้นตัวของตลาดหุ้น ตลาดพันธบัตร และตลาดเงินในเอเชียนั้น จะยังคงไม่เกิดขึ้นในทันทีทันใด เนื่องจากความผันผวนของระยะเวลาและความรุนแรงของเศรษฐกิจที่อยู่ในช่วงขาลงอย่างปัจจุบัน
รายงานของเอดีบีที่ได้มีการเปิดเผยในวันนี้มีเนื้อหาครอบคลุมถึงเศรษฐกิจของประเทศเศรษฐเกิดใหม่ 11 รายในเอเชีย อาทิ จีน อ่องกง ไต้หวัน อินเดีย อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม
จอง วาลี หัวหน้าสำนักงาน Office of Regional Economic Integration ของเอดีบี กล่าวว่า ตลาดเงินของประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ในเอเชียได้รับผลกระทบหนักกว่าที่ได้มีการคาดการณ์ไว้เมื่อปีที่แล้ว แต่เศรษฐกิจเกิดใหม่ในเอเชียจำนวนมากจะยังคงขยายตัวต่อไปได้ในปีนี้ ขณะที่เศรษฐกิจของประเทศมหาอำนาจในโลกหดตัวลง โดยตลาดเงินของเอเชียน่าจะคืบหน้ามากกว่าประเทศอื่นๆในภูมิภาค
กระแสเงินทุนที่ไหลออกจากภูมิภาคเอเชียนั้นชะลอตัวลงอย่างมากในไตรมาสแรกของปีนี้ หลังจากที่มีการถอนเงินทุนเป็นจำนวนมากในช่วงครึ่งหลังของปีที่แล้ว ซึ่งถือเป็นการส่งสัญญาณว่า นักลงทุนต่างชาติมีมุมมองที่เป็นลบน้อยลงเกี่ยวกับแนวโน้มของเศรษฐกิจในภูมิภาค สำหรับตลอดทั้งปีนี้ กระแสเงินทุนไหลเข้ามายังภูมิภาคคาดว่าจะยังคงเป็นบวก แม้ว่าจะเป็นตัวเลขที่ต่ำกว่าปี 2550 ซึ่งเป็นปีที่มียอดการลงทุนสูงเป็นประวัติการณ์มากก็ตาม
สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า ลีกล่าวว่า ความผันผวนที่เกิดขึ้นในตลาดเอเชียเมื่อเร็วๆนี้สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมโยงกันระหว่างตลาดและเศรษฐกิจของประเทศต่างๆทั่วโลก อีกทั้งยังเน้นให้เห็นถึงความจำเป็นที่รัฐบาลและหน่วยงานด้านการเงินทั่วโลกจะปรับปรุงกฎระเบียบ ขั้นตอนการดูแล และการบริหารความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง
ราคาหุ้นในตลาดเศรษฐกิจเกิดใหม่ในเอเชียนั้นอ่อนตัวลงเกือบ 42% ในปีงบประมาณที่สิ้นสุดลงในวันที่ 31 มี.ค. โดยตลาดในอินเดีย อินโดนีเซีย และไทยนั้นห่างไกลจากจุดเลวร้ายมากกว่า โดยในช่วงเวลาเดียวกันนี้ ดัชนีดาวโจนส์อ่อนตัวลงแค่ 16%
ขณะเดียวกัน สกุลเงินของประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ในเอเชียส่วนใหญ่ร่วงลงมากเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น ส่วนพันธบัตรสกุลเงินท้องถิ่นยังอยู่ในสถานภาพที่ดี แต่การขายพันธบัตรสกุลเงินดอลลาร์ของสหรัฐในภูมิภาคพุ่งสูงขึ้นมาก นับเป็นปัจจัยที่สะท้อนให้เห็นสถานการณ์ในการหาเงินทุนจากต่างประเทศที่เป็นไปอย่างยากลำบาก
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์แล้ว: อังคาร เม.ย. 21, 2009 4:25 pm
โดย pavilion
ญี่ปุ่นเตรียมลดคาดการณ์จีดีพีปีงบ 2552 เป็นหดตัว 3% จากเดิมที่ 0%
ญี่ปุ่นวางแผนที่จะทบทวนการคาดการณ์ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ปีงบประมาณ 2552 ซึ่งเริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 1 เม.ย.ที่ผ่านมา เป็นหดตัวราว 3% ซึ่งลดลงจากระดับ 0% ในการคาดการณ์เมื่อเดือนธ.ค.ปีที่แล้ว ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจโลกตกต่ำและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของสหรัฐที่อ่อนตัวลงอย่างต่อเนื่อง
สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า อัตราการขยายตัวของจีดีพีญี่ปุ่นมีแนวโน้มว่าจะร่วงลงต่ำกว่าระดับศูนย์อย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 และนับเป็นการทบทวนคาดการณ์จีดีพีที่เลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงเลยทีเดียว โดยจีดีพีญี่ปุ่นหดตัวลงต่ำกว่าระดับ 1.5% ในปีงบประมาณ 2531
แหล่งข่าวกล่าวว่า ปกติแล้ว รัฐบาลจะไม่ทบทวนการคาดการณ์อัตราการขยายตัวของจีดีพีลงสู่แดนลบ หรือทบทวนแนวโน้มในช่วงเริ่มต้นของปีงบประมาณใหม่ เพราะช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงเวลาที่ยังไม่สามารถวัดประสิทธิภาพหรือผลของการใช้มาตรการต่างๆได้
แต่รัฐบาลญี่ปุ่นอาจมองว่า เศรษฐกิจของประเทศคงจะไม่สามารถหลีกเลี่ยงการขยายตัวในระดับติดลบประมาณ 4-5% ได้ เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐยังร่วงลง ยกเว้นว่า ญี่ปุ่นได้นำมาตรการพิเศษทางการเงินออกมาใช้
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์แล้ว: อังคาร เม.ย. 21, 2009 4:28 pm
โดย pavilion
World Today: สรุปข่าวต่างประเทศประจำวันที่ 21 เม.ย. 2552
สำนักงานคอนเฟอเรนซ์ บอร์ด เปิดเผยว่า ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐร่วงลง 0.3% ในเดือนมี.ค. โดยร่วงลงเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน และรุนแรงกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่าจะลดลงเพียง 0.2%
-- อินเตอร์เนชั่นแนล บิสิเนส แมชชีน คอร์ป (ไอบีเอ็ม) ผู้ให้บริการและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีรายใหญ่สุดของโลก เผยรายได้ไตรมาสแรกไม่ถึงเป้าที่ตั้งไว้ เนื่องจากความต้องการบริการและผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ลดลง ในขณะที่การเปลี่ยนแปลงของค่าเงินก็ส่งผลกระทบต่อยอดขาย
-- นายอลิสแตร์ ดาร์ลิ่ง รมว.คลังอังกฤษ เตรียมจัดสรรเงิน 1 พันล้านปอนด์ (1.45 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพื่อกระตุ้นยอดการสร้างบ้านในอังกฤษ หลังโครงการสร้างที่อยู่อาศัยในช่วงครึ่งหลังของปีที่ผ่านมามีจำนวนลดลงเพราะได้รับผลกระทบจากวิกฤตการเงิน
-- ออราเคิล คอร์ป บริษัทผู้ผลิตซอฟท์แวร์รายใหญ่อันดับสองของโลก สบโอกาสทำข้อตกลงซื้อกิจการซัน ไมโครซิสเต็มส์ อิงค์เป็นเงิน 7.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในรูปแบบของเงินสด หลังจากที่อินเตอร์เนชั่นเนล บิสิเนส แมชชีน คอร์ป (ไอบีเอ็ม) ประสบความล้มเหลวในการยื่นข้อเสนอซื้อกิจการของซัน ไมโครซิสเต็มส์ที่ 9.40 ดอลลาร์/หุ้นเมื่อเดือนที่ผ่านมา
-- คาโอรุ โยซาโนะ รมว.คลังญี่ปุ่นเปิดเผยว่า รัฐบาลจะนำพันธบัตรล็อตใหม่มูลค่า 10.8 ล้านล้านเยน หรือ 1.10 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐออกขายเพิ่มเติมในปีงบประมาณปีนี้ เพื่อเป็นทุนสนับสนุนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของนายกรัฐมนตรีทาโร่ อาโสะ ซึ่งจะทำให้ยอดขายพันธบัตรโดยรวมของรัฐบาลพุ่งเป็น 44.1 ล้านล้านเยน ซึ่งในจำนวนนี้จะเป็นพันธบัตรที่ระดมทุนเพื่อโครงการก่อสร้างมูลค่า 7.3 ล้านล้านเยน และอีก 3.5 ล้านล้านเยนจะเป็นพันธบัตรที่ขายเพื่อลดการขาดดุลการค้า
-- สายการบินเจแปน แอร์ไลน์ (JAL) เล็งขอเงินกู้เพิ่ม 2 แสนล้านเยนจากเดเวลล็อปเมนท์ แบงค์ ออฟ เจแปน (DBJ) เพื่อรับมือกับตัวเลขรายได้ที่หดตัวลงในช่วงเศรษฐกิจโลกขาลง หลังจากที่สายการบินต้องเผชิญกับยอดการเดินทางที่ลดลง จนถึงกับต้องเข้ามาปรึกษากับกระทรวงที่ดิน สาธารณูปโภค ขนส่ง และท่องเที่ยวของญี่ปุ่นเกี่ยวกับปัญหาต่างๆที่เจเอแอลเผชิญอยู่
-- เจเนอรัล มอเตอร์ คอร์ป (จีเอ็ม) เริ่มปลดพนักงานระลอกใหม่อีก 1,600 คน เพื่อลดต้นทุนให้ได้มากที่สุดก่อนที่จะถึงเส้นตายในการยื่นแผนปรับโครงสร้างบริษัทให้รัฐบาลพิจารณา โดยหวังว่าจะขอกู้เงินจากรัฐบาลได้อีก
-- หนังสือพิมพ์ นิวยอร์กไทม์ส คว้ารางวัล "พูลิตเซอร์" ถึง 5 รางวัล รวมถึงข่าวอื้อฉาวที่นายอิเลียต สปิตเซอร์ ผู้ว่าการรัฐนิวยอร์ก ใช้บริการโสเภณีทางโทรศัพท์ ขณะที่หนังสือพิมพ์ ลาสเวกัส ซัน คว้ารางวัลพูลิตเซอร์ 1 รางวัลจากการเปิดโปงข่าวคนงานก่อสร้างที่เสียชีวิตจำนวนมากจากเหตุการณ์ตึกถล่มในลอสแองเจลิส
-- ธนาคารกลางอินเดียประกาศลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 3.25% ซึ่งเป็นการลดดอกเบี้ยครั้งที่ 6 ภายในระยะเวลาหลายเดือน หลังจากธนาคารกลางประเมินว่าเศรษฐกิจจะชะลอตัวลงในปีนี้ และการตัดสินใจลดดอกเบี้ยครั้งนี้เหนือความคาดหมายของนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ที่คาดว่าแบงก์ชาติอินเดียจะตรึงดอกเบี้ยที่ 3.5%
-- โบอิ้ง โค ผู้ผลิตเครื่องบินพาณิชย์รายใหญ่อันดับ 2 ของโลก อาจส่งสัญญาณชะลอการผลิตเครื่องบินโบอิ้ง 737 ซึ่งเป็นรุ่นที่ขายดีที่สุดในโลก ในการประกาศผลกำไรไตรมาสแรกในวันพรุ่งนี้
-- แอลจี อิเล็กทรอนิกส์ อิงค์ บริษัทผลิตโทรศัพท์มือถือรายใหญ่อันดับ 3 ของโลก ขาดทุนเป็นไตรมาสที่ 2 ติดต่อกัน หลังอุปสงค์โทรศัพท์มือถือและโทรทัศน์ลดลงอย่างหนัก ในขณะที่ธุรกิจผลิตจอแบนก็ขาดทุน
-- เกลนน์ สตีเวนส์ ผู้ว่าการธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) กล่าวในวันนี้ว่า เศรษฐกิจออสเตรเลียเข้าสู่ภาวะถดถอยแล้ว เมื่อพิจารณาจากปัจจัยแวดล้อมทั้งหมดในตอนนี้ รวมถึงแนวโน้มที่ว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศไตรมาสแรกปีนี้จะปรับตัวลดลงอีก หลังจากที่จีดีพีไตรมาส 4/2551 หดตัวลง 0.5% ซึ่งเป็นครั้งแรกในรอบ 8 ปีที่อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของออสเตรเลียติดลบ
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์แล้ว: อังคาร เม.ย. 21, 2009 4:29 pm
โดย pavilion
ผู้เชี่ยวชาญคาดราคาเหล็กจีนQ2/52 ขยับขึ้นจากระดับต่ำสุด ย้ำตลาดตปท.ยังไม่ฟื้นตัวขึ้นมาก
คณะผู้เชี่ยวชาญด้านเหล็กคาดการณ์ว่า ราคาเหล็กในจีนไตรมาส 2 อาจจะขยายตัวขึ้นเล็กน้อย และจะปรับตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่งในช่วงครึ่งปีหลัง หลังจากที่ราคาเหล็กดิ่งลงแตะระดับต่ำสุดในปัจจุบัน แต่ช่วงขาขึ้นของตลาดเหล็กในประเทศนั้นคงจะยังไม่เกิดขึ้นในระยะเวลาอันใกล้นี้ เนื่องจากตลาดต่างประเทศยังไม่ฟื้นตัวขึ้นมากเท่าไรนัก
สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า วู เหวินเชง ผู้จัดการทั่วไปของ
www.steelhome.cn กล่าวว่า ความต้องการเหล็กดิบของจีนยังคงขยายตัวขึ้น และคาดว่าปริมาณความต้องการจะอยู่ที่ 480-490 ล้านตันในปีนี้ ส่วนการส่งออกเหล็กดิบคาดว่า จะอยู่ที่ประมาณ 10 ล้านตัน ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจริง ยอดผลผลิตเหล็กดิบของจีนอาจจะถูกควบคุมให้อยู่ที่ระดับประมาณ 500 ล้านตัน เพื่อรักษาความสมดุลในตลาด
ทางด้านสถิติอย่างเป็นทางการชี้ว่า ผลผลิตเหล็กดิบของจีนอยู่ที่ 127.44 ล้านตันในไตรมาสแรก เพิ่มขึ้น 1.4% เมื่อเทียบเป็นรายปี
วูกล่าวต่อไปว่า ราคาเหล็กภายในประเทศจะยังคงอยู่ในระดับต่ำต่อไปในปีนี้ โดยเคลื่อนตัวอยู่ใกล้กับต้นทุนโดยเฉลี่ย แต่คงจะไม่อ่อนตัวลงไปมากกว่านี้ เนื่องจากประเทศต่างๆทั่วโลกได้ใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนปรนมากขึ้น เพื่อพยุงเศรษฐกิจให้รอดพ้นวิกฤต
แหล่งข่าวจากมายสตีลกล่าวว่า สถาบันวิจัยหลายแห่งคาดการณ์ว่า ความต้องการเหล็กในต่างประเทศจะลดลง 5-15% ในปีนี้ เนื่องจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ร่วงลง ดังนั้น ตลาดเหล็กคาดว่าจะยังไม่ดีดตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่งในเร็วๆนี้