รู้ทันพอร์ตเทรดโบรกเกอร์ คู่แข่งน่ากลัวของรายใหญ่-กองทุน
โพสต์แล้ว: จันทร์ พ.ค. 25, 2009 10:41 am
http://www.posttoday.com/stockmarket.php?id=49023
การฟื้นตัวของตลาดหุ้นรอบนี้จาก 440 จุด ต้นเดือนเม.ย. เพียงเดือนเศษวิ่งมาสูงสุดที่ 561.41 จุด (20 พ.ค.) เพิ่มขึ้นกว่า 120 จุด
เชื่อว่ามีนักลงทุนในตลาดหุ้นไทยไม่น้อยที่เกิดคำถามขึ้นในใจกับความไม่แน่ใจในดัชนีที่ขึ้นมา ทั้งที่ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจไม่ได้รองรับแม้แต่น้อย ไม่ว่าจะเป็นตัวเลขคนตกงาน การส่งออก ผลดำเนินงานบริษัทจดทะเบียนยังสาหัสอยู่ ณ ดัชนีที่ระดับสูงสุดนี้ หากดูตามสภาพเศรษฐกิจแล้ว 500 จุด น่าจะเหมาะสมเมื่อสิ้นปี 2552
จะมีใครสักกี่คนที่รู้ว่าดัชนีราคาหุ้นที่หมุนปั่นทำกันขึ้นมาขนาดนี้ เป็นฝีมือของใคร ????
ถ้าไม่เป็นต่างชาติ แน่นอนต้องเป็นสถาบันไทย ไม่เป็นกองทุนรวม ก็กองทุนบำเน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) หรือพอร์ตประกัน
ส่วนพอร์ตโบรกเกอร์ คิดไม่ถึงใช่มั้ยล่ะ !!!!!
ถ้าดูตัวเลขซื้อขายของกลุ่มนักลงทุนที่ปรากฏออกมา จะช่วยให้ความสงสัยหมดไป และเข้าใจกันมากขึ้นว่ามาจากฝีมือใครกัน
ปัจจุบันกลุ่มผู้ลงทุนในตลาดหุ้นมีอยู่ 3 กลุ่มหลัก คือ 1.ผู้ลงทุนสถาบันในประเทศ (Local Institutions) 2.ผู้ลงทุนต่างประเทศ (Foreign Institutions) และ 3.ผู้ลงทุนทั่วไป ในประเทศ (Retail Investors) ซึ่งเป็นรายย่อยและรายใหญ่
สำหรับผู้ลงทุนสถาบันในประเทศ แบ่งออกเป็น 1.การลงทุนเพื่อบัญชีสมาชิก หรือพอร์ตลงทุนโบรกเกอร์ และ 1.2 บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) 21 ราย บริษัทประกันภัย ประกันชีวิต กองทุนส่วนบุคคล กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)
จากตัวเลขการลงทุนที่ผ่านมาพบว่า ปี 2544 พอร์ตโบรกเกอร์มีมูลค่าซื้อขาย 30,678.44 ล้านบาท หรือ 0.97% ของมูลค่าซื้อขายตลาดทั้งตลาดเท่านั้น และมีพัฒนาการเพิ่มขึ้นของการซื้อขายขึ้นอย่างต่อเนื่อง กระทั่งปี 2550 มีมูลค่าซื้อขายมากขึ้น 626,806.21 ล้านบาท หรือ 7.34%
หรือช่วง 4 เดือนที่ผ่านมาของปี 2552 เดือนม.ค. เฉพาะพอร์ตโบรกเกอร์มีมูลค่าซื้อขายมากถึง 55,571.36 ล้านบาท หรือ 12.95% ขณะที่บลจ. 21 รายรวมกัน กบข.กองทุนส่วนบุคคล พอร์ตประกัน (สถาบันอื่น) มีมูลค่าซื้อขายเพียง 33,892.68 ล้านบาท หรือ 7.90%
เดือนก.พ. พอร์ตโบรกเกอร์มีมูลค่าซื้อขาย 31,971.62 ล้านบาท ส่วนสถาบันอื่นมีมูลค่าซื้อขาย 19,006.82 ล้านบาท
เดือนมี.ค. พอร์ตโบรกเกอร์มีมูลค่าซื้อขาย 51,190.78 ล้านบาท สถาบันอื่น 31,714.40 ล้านบาท
เดือนเม.ย. พอร์ตโบรกเกอร์มีมูลค่าซื้อขาย 69,841.40 สถาบันอื่นมีมูลค่าซื้อขาย 40,861.89 ล้านบาท
จากตัวเลขข้างต้นจะเห็นว่า ตัวเลขซื้อขายของพอร์ตโบรกเกอร์เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าตัว หรือ 60-70% ของผู้ลงทุนสถาบันอื่น รวมกัน
เรียกกันว่าพอร์ตโบรกเกอร์มีพัฒนาการที่ดีขึ้นตามลำดับ นี่แค่โบรกเกอร์ไม่ถึงครึ่งของโบรกเกอร์ทั้งหมด 40 ราย ยังเทรดกันได้ขนาดนี้ ????
ที่เป็นเช่นนี้เพราะอะไร ต้องมีมูลเหตุและเหตุปัจจัยเอื้อ
แน่นอนว่าด่านแรกตลาดหลักทรัพย์ซึ่งเป็นผู้คุมกฎเกณฑ์หรือนโยบายต้องไฟเขียว มีอภิสิทธิ์เหนือชั้นอะไรบ้างที่พอร์ตโบรกเกอร์ทำแล้วได้เปรียบ ...
ข้อได้เปรียบที่ 1 เห็นกันชัดๆ คือ 1.ไม่มีต้นทุน ค่านายหน้าซื้อขาย (คอมมิชชัน) 0.25% ไปถึงกลับ 0.5%
ทุกๆ วัน พอร์ตโบรกเกอร์จะดูอารมณ์ตลาดก่อน ถ้าดีก็ซัดหุ้นนำก่อนทุกตัว ดูแล้วมีคนตามก็ไล่ต่อ ถ้าไม่มีคนถามก็โยนทิ้ง เพราะไม่มีต้นทุน ไม่เสียค่าคอมมิชชัน
ข้อได้เปรียบนี้ทำให้โบรกเกอร์มีวอลุมซื้อขายพองขึ้น หรือมีส่วนแบ่งตลาดสูงกว่าเพื่อน
ข้อได้เปรียบที่ 2 การส่งคำสั่งถึงขาย ทำได้เหมือนลูกค้าทั่วไป คือ เคาะซื้อขายได้เลย หรือไล่ 1 ช่อง โยนได้ 2 ช่อง ทำกำไรได้ทันที ไม่ต้องตั้งเสนอถึงซื้อเข้าคิวรอ
ข้อได้เปรียบที่ 3 มีข้อมูลการซื้อขายของลูกค้าอยู่ในมือจึงซื้อหรือขายก่อนลูกค้า ทำให้ลูกค้ารายย่อยถึงรายใหญ่ไปจนถึงบลจ.สถาบันอื่นๆ ต้องซื้อหุ้นแพงขึ้น หรือถูกกดขายไม่ได้ราคา
แหล่งข่าวนักลงทุนสถาบัน เปิดเผยว่า พอร์ตลงทุนโบรกเกอร์มีอิทธิพลสูงต่อตลาด หุ้นไทย เป็นพอร์ตไดนามิกที่หมุนตามอารมณ์ตลาด วันไหนที่อารมณ์ตลาดเสียพอร์ตไดนามิกจะหยุดทำหน้าที่ซื้อขายทันที หรือวันที่อารมณ์ตลาดดีไดนามิกจะหมุนวันละหลายรอบ เพราะฉะนั้นตลาดหลักทรัพย์ไม่ควรจะดีใจกับยอดซื้อขายสูงถึงวันละ 3 หมื่นล้านบาท
พอร์ตของบางโบรกเกอร์มีขนาดใหญ่ ใช้ทีมงาน 4-5 ทีม ไล่หุ้นได้ตามปกติเสมือนเป็นนักลงทุนรายใหญ่ มีวงเงินให้เล่น 40-50 ล้านบาท กำลังเงินเหนือรายใหญ่และเหนือบางกองทุน จึงได้เปรียบที่จะไล่ซื้อหุ้นในแต่ละวัน พฤติกรรมไล่หุ้นหรือทุบหุ้นเป็นการเอาเปรียบนักลงทุนปั่นหุ้นถูกกฎหมายไม่ถูกตรวจสอบ ที่สำคัญเป็นการสร้างความต้องการเทียม แล้วยังทำให้กองทุนต้องซื้อหุ้นแพงขึ้น ผลเสียหายก็ตกไปอยู่กับผู้ออมเงินผ่านมืออาชีพ แหล่งข่าวเปิดเผย
แหล่งข่าวเปิดเผยอีกว่า การแก้ไขปัญหานี้ดีที่สุดตลาดหลักทรัพย์ ควรเริ่มต้นวางกฎเกณฑ์การตั้งคำสั่งซื้อขายที่ไม่เอาเปรียบนักลงทุน มีการบริหารจัดการโดยไม่ให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (Chinese Wall) หรือเปิดเผยข้อมูลให้นักลงทุนรู้ว่า โบรกเกอร์ไหนที่มีพอร์ตเทรด เพื่อให้นักลงทุนระวังตัว
ถ้าตลาดไม่ปรามตอนนี้ แค่พอร์ตเทรดโบรกเกอร์ไม่ถึง 10 ราย ยังมีมูลค่าซื้อขายหนัก อนาคตโบรกเกอร์ทั้งหมดทำรายใหญ่ถึงรายย่อย และสถาบันจะลำบากต้องซื้อของแพงขึ้น และกองทุนรวมจะไม่ตกเป็นผู้ต้องหาทุบหุ้นอีกต่อไป แหล่งข่าวเปิดเผย
เพราะฉะนั้น ทางการที่รับผิดชอบควรจะออกกติกามาสร้างความเป็นธรรมในการซื้อให้กับนักลงทุนทุกกลุ่ม
http://www.posttoday.com/stockmarket.php?id=49023
การฟื้นตัวของตลาดหุ้นรอบนี้จาก 440 จุด ต้นเดือนเม.ย. เพียงเดือนเศษวิ่งมาสูงสุดที่ 561.41 จุด (20 พ.ค.) เพิ่มขึ้นกว่า 120 จุด
เชื่อว่ามีนักลงทุนในตลาดหุ้นไทยไม่น้อยที่เกิดคำถามขึ้นในใจกับความไม่แน่ใจในดัชนีที่ขึ้นมา ทั้งที่ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจไม่ได้รองรับแม้แต่น้อย ไม่ว่าจะเป็นตัวเลขคนตกงาน การส่งออก ผลดำเนินงานบริษัทจดทะเบียนยังสาหัสอยู่ ณ ดัชนีที่ระดับสูงสุดนี้ หากดูตามสภาพเศรษฐกิจแล้ว 500 จุด น่าจะเหมาะสมเมื่อสิ้นปี 2552
จะมีใครสักกี่คนที่รู้ว่าดัชนีราคาหุ้นที่หมุนปั่นทำกันขึ้นมาขนาดนี้ เป็นฝีมือของใคร ????
ถ้าไม่เป็นต่างชาติ แน่นอนต้องเป็นสถาบันไทย ไม่เป็นกองทุนรวม ก็กองทุนบำเน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) หรือพอร์ตประกัน
ส่วนพอร์ตโบรกเกอร์ คิดไม่ถึงใช่มั้ยล่ะ !!!!!
ถ้าดูตัวเลขซื้อขายของกลุ่มนักลงทุนที่ปรากฏออกมา จะช่วยให้ความสงสัยหมดไป และเข้าใจกันมากขึ้นว่ามาจากฝีมือใครกัน
ปัจจุบันกลุ่มผู้ลงทุนในตลาดหุ้นมีอยู่ 3 กลุ่มหลัก คือ 1.ผู้ลงทุนสถาบันในประเทศ (Local Institutions) 2.ผู้ลงทุนต่างประเทศ (Foreign Institutions) และ 3.ผู้ลงทุนทั่วไป ในประเทศ (Retail Investors) ซึ่งเป็นรายย่อยและรายใหญ่
สำหรับผู้ลงทุนสถาบันในประเทศ แบ่งออกเป็น 1.การลงทุนเพื่อบัญชีสมาชิก หรือพอร์ตลงทุนโบรกเกอร์ และ 1.2 บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) 21 ราย บริษัทประกันภัย ประกันชีวิต กองทุนส่วนบุคคล กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)
จากตัวเลขการลงทุนที่ผ่านมาพบว่า ปี 2544 พอร์ตโบรกเกอร์มีมูลค่าซื้อขาย 30,678.44 ล้านบาท หรือ 0.97% ของมูลค่าซื้อขายตลาดทั้งตลาดเท่านั้น และมีพัฒนาการเพิ่มขึ้นของการซื้อขายขึ้นอย่างต่อเนื่อง กระทั่งปี 2550 มีมูลค่าซื้อขายมากขึ้น 626,806.21 ล้านบาท หรือ 7.34%
หรือช่วง 4 เดือนที่ผ่านมาของปี 2552 เดือนม.ค. เฉพาะพอร์ตโบรกเกอร์มีมูลค่าซื้อขายมากถึง 55,571.36 ล้านบาท หรือ 12.95% ขณะที่บลจ. 21 รายรวมกัน กบข.กองทุนส่วนบุคคล พอร์ตประกัน (สถาบันอื่น) มีมูลค่าซื้อขายเพียง 33,892.68 ล้านบาท หรือ 7.90%
เดือนก.พ. พอร์ตโบรกเกอร์มีมูลค่าซื้อขาย 31,971.62 ล้านบาท ส่วนสถาบันอื่นมีมูลค่าซื้อขาย 19,006.82 ล้านบาท
เดือนมี.ค. พอร์ตโบรกเกอร์มีมูลค่าซื้อขาย 51,190.78 ล้านบาท สถาบันอื่น 31,714.40 ล้านบาท
เดือนเม.ย. พอร์ตโบรกเกอร์มีมูลค่าซื้อขาย 69,841.40 สถาบันอื่นมีมูลค่าซื้อขาย 40,861.89 ล้านบาท
จากตัวเลขข้างต้นจะเห็นว่า ตัวเลขซื้อขายของพอร์ตโบรกเกอร์เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าตัว หรือ 60-70% ของผู้ลงทุนสถาบันอื่น รวมกัน
เรียกกันว่าพอร์ตโบรกเกอร์มีพัฒนาการที่ดีขึ้นตามลำดับ นี่แค่โบรกเกอร์ไม่ถึงครึ่งของโบรกเกอร์ทั้งหมด 40 ราย ยังเทรดกันได้ขนาดนี้ ????
ที่เป็นเช่นนี้เพราะอะไร ต้องมีมูลเหตุและเหตุปัจจัยเอื้อ
แน่นอนว่าด่านแรกตลาดหลักทรัพย์ซึ่งเป็นผู้คุมกฎเกณฑ์หรือนโยบายต้องไฟเขียว มีอภิสิทธิ์เหนือชั้นอะไรบ้างที่พอร์ตโบรกเกอร์ทำแล้วได้เปรียบ ...
ข้อได้เปรียบที่ 1 เห็นกันชัดๆ คือ 1.ไม่มีต้นทุน ค่านายหน้าซื้อขาย (คอมมิชชัน) 0.25% ไปถึงกลับ 0.5%
ทุกๆ วัน พอร์ตโบรกเกอร์จะดูอารมณ์ตลาดก่อน ถ้าดีก็ซัดหุ้นนำก่อนทุกตัว ดูแล้วมีคนตามก็ไล่ต่อ ถ้าไม่มีคนถามก็โยนทิ้ง เพราะไม่มีต้นทุน ไม่เสียค่าคอมมิชชัน
ข้อได้เปรียบนี้ทำให้โบรกเกอร์มีวอลุมซื้อขายพองขึ้น หรือมีส่วนแบ่งตลาดสูงกว่าเพื่อน
ข้อได้เปรียบที่ 2 การส่งคำสั่งถึงขาย ทำได้เหมือนลูกค้าทั่วไป คือ เคาะซื้อขายได้เลย หรือไล่ 1 ช่อง โยนได้ 2 ช่อง ทำกำไรได้ทันที ไม่ต้องตั้งเสนอถึงซื้อเข้าคิวรอ
ข้อได้เปรียบที่ 3 มีข้อมูลการซื้อขายของลูกค้าอยู่ในมือจึงซื้อหรือขายก่อนลูกค้า ทำให้ลูกค้ารายย่อยถึงรายใหญ่ไปจนถึงบลจ.สถาบันอื่นๆ ต้องซื้อหุ้นแพงขึ้น หรือถูกกดขายไม่ได้ราคา
แหล่งข่าวนักลงทุนสถาบัน เปิดเผยว่า พอร์ตลงทุนโบรกเกอร์มีอิทธิพลสูงต่อตลาด หุ้นไทย เป็นพอร์ตไดนามิกที่หมุนตามอารมณ์ตลาด วันไหนที่อารมณ์ตลาดเสียพอร์ตไดนามิกจะหยุดทำหน้าที่ซื้อขายทันที หรือวันที่อารมณ์ตลาดดีไดนามิกจะหมุนวันละหลายรอบ เพราะฉะนั้นตลาดหลักทรัพย์ไม่ควรจะดีใจกับยอดซื้อขายสูงถึงวันละ 3 หมื่นล้านบาท
พอร์ตของบางโบรกเกอร์มีขนาดใหญ่ ใช้ทีมงาน 4-5 ทีม ไล่หุ้นได้ตามปกติเสมือนเป็นนักลงทุนรายใหญ่ มีวงเงินให้เล่น 40-50 ล้านบาท กำลังเงินเหนือรายใหญ่และเหนือบางกองทุน จึงได้เปรียบที่จะไล่ซื้อหุ้นในแต่ละวัน พฤติกรรมไล่หุ้นหรือทุบหุ้นเป็นการเอาเปรียบนักลงทุนปั่นหุ้นถูกกฎหมายไม่ถูกตรวจสอบ ที่สำคัญเป็นการสร้างความต้องการเทียม แล้วยังทำให้กองทุนต้องซื้อหุ้นแพงขึ้น ผลเสียหายก็ตกไปอยู่กับผู้ออมเงินผ่านมืออาชีพ แหล่งข่าวเปิดเผย
แหล่งข่าวเปิดเผยอีกว่า การแก้ไขปัญหานี้ดีที่สุดตลาดหลักทรัพย์ ควรเริ่มต้นวางกฎเกณฑ์การตั้งคำสั่งซื้อขายที่ไม่เอาเปรียบนักลงทุน มีการบริหารจัดการโดยไม่ให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (Chinese Wall) หรือเปิดเผยข้อมูลให้นักลงทุนรู้ว่า โบรกเกอร์ไหนที่มีพอร์ตเทรด เพื่อให้นักลงทุนระวังตัว
ถ้าตลาดไม่ปรามตอนนี้ แค่พอร์ตเทรดโบรกเกอร์ไม่ถึง 10 ราย ยังมีมูลค่าซื้อขายหนัก อนาคตโบรกเกอร์ทั้งหมดทำรายใหญ่ถึงรายย่อย และสถาบันจะลำบากต้องซื้อของแพงขึ้น และกองทุนรวมจะไม่ตกเป็นผู้ต้องหาทุบหุ้นอีกต่อไป แหล่งข่าวเปิดเผย
เพราะฉะนั้น ทางการที่รับผิดชอบควรจะออกกติกามาสร้างความเป็นธรรมในการซื้อให้กับนักลงทุนทุกกลุ่ม
http://www.posttoday.com/stockmarket.php?id=49023