หน้า 1 จากทั้งหมด 1
การแตกพาร์ ต้องขอความคิดเห็นของนักลงทุนหรือเปล่าครับ
โพสต์แล้ว: ศุกร์ พ.ค. 29, 2009 2:49 am
โดย Coca-Cola
การแตกพาร์ ของบริษัทที่อยู่ภายในตลาดหลักทรัพย์ จำเป็นที่บริษัท
จะต้องขอความเห็นชอบจากนักลงทุน (ในวันประชุมผู้ถือหุ้น) หรือไม่
แล้วถ้าต้องขอความเห็นชอบจากผู้ถือหุ้น... หากผู้ถือหุ้นไม่เห็นด้วย
บริษัทจะต้องเว้นวรรคการขอความเห็นชอบให้แตกพาร์ เป็นระยะเวลานานเท่าไรครับ
การแตกพาร์ ต้องขอความคิดเห็นของนักลงทุนหรือเปล่าครับ
โพสต์แล้ว: ศุกร์ พ.ค. 29, 2009 2:51 am
โดย Coca-Cola
อีกข้อครับ การแตกพาร์นั้น โดยหลักแล้วบริษัทต้องการให้เกิดสภาพคล่องในการซื้อขายขึ้น แต่อยากถามว่า "การเกิดสภาพคล่อง" ที่ดีขึ้นดังกล่าว
จะช่วยให้บริษัทได้อะไรขึ้นมาหรือครับ และมีผลต่อทางบัญชีใดๆ หรือไม่
การแตกพาร์ ต้องขอความคิดเห็นของนักลงทุนหรือเปล่าครับ
โพสต์แล้ว: ศุกร์ พ.ค. 29, 2009 2:59 am
โดย Renne
ตอบคำถามหลังให้แล้วกันครับ
ถ้าสภาพคล่องสูงขึ้น การเก็งกำไร เข้าไปซื้อขาย รวมทั้งปั่นราคาก็จะง่ายขึ้นครับ (มีผลในด้านการเก็งกำไร,ปั่นราคามากกว่า ส่วนในแง่พื้นฐานแทบไม่มีประโยชน์เลย)
การแตกพาร์ ต้องขอความคิดเห็นของนักลงทุนหรือเปล่าครับ
โพสต์แล้ว: เสาร์ พ.ค. 30, 2009 3:18 am
โดย GeneraX
1. ต้องขอมติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นครับ ส่วนถ้าถูกเบรกไปแล้วต้องเว้นวรรคนานแค่ไหน เข้าใจว่าไม่ได้มีกฏระเบียบระบุไว้นะครับ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมเป็นหลัก (~ถ้าผิดพี่ๆที่รู้จริงช่วยแก้ด้วยครับ)
2.ตอบอย่างคุณRenne ผมว่าถูกเพียงครึ่งเดียวนะครับ
จริงอยู่ที่การแตกพารร์ไม่ได้ส่งผลใดๆต่อฐานะการทางเงินของบริษัทโดยตรง เพียงแต่จะทำให้หุ้นนั้นมีสภาพคล่องขึ้น
ตรงนี้ถ้ามองว่าทำให้"ปั่น"ง่ายขึ้นซึ่งฟังแล้วกลายเป็นสิ่งที่ดู Dark side ไปซะงั้น ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ผมไม่อยากให้ใช้คำนี้ครับ เดี๋ยวเพื่อนๆหน้าใหม่ๆจะเข้าใจผิดไปซะว่าการแตกพาร์ไม่ใช่สิ่งที่ควรกระทำ
อย่างลืมว่าบริษัทที่ดีนั้น จะทำอะไรก็ได้ครับเพื่อให้ผู้ถือหุ้นนั้นได้รับประโยชน์สูงสุด (โดยไม่ทำให้สังคมเดือดร้อน) ไม่ว่าจะจากการดำเนินงานของบริษัทเอง หรือการกระทำบางอย่างที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของบริษัท
การแตกพาร์นั้นถือเป็นอย่างหลังครับ ถ้าทำอย่างเหมาะสม จะช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้กับผู้ซื้อขาย และทำให้มูลค่าของบริษัทนั้นถูกสะท้อนออกมาโดยราคาหุ้นได้ง่ายขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าเป็นประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้นโดยตรงครับ ผมเชื่อว่านี่คือเจตนาที่แท้จริงของการแตกพาร์ของหุ้นบริษัทที่มีพื้นฐานดีครับ
ลองนึกภาพหุ้นที่มีราคา 500 บาทต่อหุ้นดูครับ ถามว่าถ้าอีก 5 ปี กำไรของบริษัทจะเพิ่มเป็น 2 เท่า แถมมีอัตราการเติบโตของกำไรปีละกว่า 20% ถ้าบริษัทนี้ไม่มีการแตกพาร์ ราคาในอีก 5 ปีข้างหน้านั้นก็ควรจะไม่ต่ำกว่า 1500 บาทต่อหุ้น
คำถามก็คือในความเป็นจริงนั้นจะเป็นไปได้หรือไม่ คำตอบก็คือ..ยากครับที่ราคาจะขึ้นไปถึง 1500 บาท เพราะว่าด้วยราคานี้ทำให้ผู้ถือหุ้นรายย่อยนั้น ไม่อาจซื้อได้ครับเพราะต้องใช้เงินขั้นต่ำถึง 150,000 บาท ถึงจะซื้อหุ้นตัวนี้ได้ ถ้าบริษัทไม่มีการแตกพาร์ จะเป็นไปได้ยากครับว่า ราคาหุ้นตัวนี้จะสะท้อนมูลค่าที่แม้จริงออกมาได้เนื่องด้วย Demand ของหุ้นที่ถูกจำกัดด้วย Minimun Cost ที่นักลงทุนต้องจ่ายนั่นเอง ในทางกลับกัน ถ้าบริษัทแตกพาร์ลงมาจนราคาเป็น 50 บาทต่อหุ้นในปัจจุบัน แบบนี้ในอีก 5 ปีข้างหน้าโอกาสที่หุ้นจะขึ้นไปเป็น 150 บาท ซึ่งเทียบได้กับ 1,500 ก่อนแตกพาร์นั้น มีความเป็นไปได้มากกว่ามากครับ ...และเช่นเดียวกันถ้าแตกพาร์ลงมาจนเหลือ 5 บาทไปเลยในปัจจุบัน การที่หุ้นจะขึ้นไปเป็น 15 บาทในอีก 5 ปีข้างหน้าก็ยิ่งมีโอกาสมากขึ้นถ้าเทียบกับ 50 บาท เป็น 150 บาท
ตัวอย่างที่ยกมาราคาอาจจะดูสูงกว่าปกติไปนะครับ แต่ก็เพื่อให้เห็นภาพชัดเจน ราคาหุ้นบางตัวที่ไม่สูงมากก็แตกพาร์แล้ว ดูเผินๆก็อาจจะดูไม่มีผลอะไร แต่ในความเป็นจริงแล้ว อาจจะส่งผลได้บ้างไม่มากก็น้อย โดยเฉพาะกับหุ้นsmall cap พื้นฐานดีๆ ที่ vol ต่ำๆครับ
การแตกพาร์ ต้องขอความคิดเห็นของนักลงทุนหรือเปล่าครับ
โพสต์แล้ว: เสาร์ พ.ค. 30, 2009 12:08 pm
โดย Renne
อย่างที่คุณGenerax พิมพ์ไว้ครับ ตรงนี้ต้องขออภัยจริงๆที่ลืมพูดถึงเหรียญอีกด้านไป ^^" ขอบคุณคุณGeneraxที่เข้ามาทวงติงครับ...
ผมให้ข้อสังเกตไว้อย่างหนึ่งแล้วกันครับ
โดยปรกติืแล้วการแตกพาร์อาจจะมีจุดประสงค์หลายๆอย่าง ทั้งนี้ต้องดูราคาของหุ้นประกอบ
เช่น สมมติว่าในกรณี TF ตัวละ400กว่าบาท แตกพาร์เหลือตัวละ40บาท ตรงนี้จะสอดคล้องกับสมมติฐานของคุณGenerax จะเป็นผลดีที่ทำให้ผู้ถือหุ้นรายย่อยสามารถเข้ามาซื้อขายได้ง่ายขึ้น ส่งผลให้ราคาสะท้อนมูลค่าที่แท้จริงได้ง่ายขึ้นครับ
แต่จะมีอีกกรณีหนึ่ง ซึ่งต้องพยายามสังเกตพฤติกรรมของการแตกพาร์ด้วย เช่นบางครั้งการแตกพาร์จากหุ้นตัวละ 1บาท 2บาท เป็น 25-50 สตางค์ ในบางครั้งการแตกพาร์มีจุดประสงค์เพื่อให้การเก็งกำไรทำราคาง่ายขึ้น (กรณีหุ้นราคาต่ำกว่า 1บาท กับหุ้นที่ราคา 1บาทขึ้นไป เมื่อราคามีการขยับไป 1ช่อง สัดส่วนผลต่างของราคา(กำไรหรือขาดทุน)จะเยอะขึ้นหลาย%ครับ
ทั้งนี้สุดท้ายอยู่ที่การมองพฤติกรรมของการแตกพาร์ให้ออกครับ ลองตั้งคำถามและหาเหตุผลดู เช่นในบางครั้งหุ้นบางตัวมีสภาพคล่องที่สูง(มาก)อยู่แล้วแต่ก็มีการแตกพาร์อีก ก็อาจจะเข้าข่ายเรื่องการเก็งกำไรราคาครับ
การแตกพาร์ ต้องขอความคิดเห็นของนักลงทุนหรือเปล่าครับ
โพสต์แล้ว: จันทร์ มิ.ย. 01, 2009 2:48 pm
โดย Coca-Cola
GeneraX เขียน:การแตกพาร์นั้นถือเป็นอย่างหลังครับ ถ้าทำอย่างเหมาะสม จะช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้กับผู้ซื้อขาย และทำให้มูลค่าของบริษัทนั้นถูกสะท้อนออกมาโดยราคาหุ้นได้ง่ายขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าเป็นประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้นโดยตรงครับ ผมเชื่อว่านี่คือเจตนาที่แท้จริงของการแตกพาร์ของหุ้นบริษัทที่มีพื้นฐานดีครับ
1. ในส่วนของงบดุล จะมีการบันทึก "ส่วนเกินมูลค่าหุ้น" ซึ่งตรงนี้จะหมายถึงราคาที่สูงกว่าราคาพาร์ หรือราคาบุ๊คแวลู ครับ? (พอรู้ตรงนี้ ผมจะมีคำตอบที่ตรงขึ้นในข้อถัดไป)
2. ผมมองว่าเป็นส่วนต่างของ ราคาในตลาดเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับตัวใดตัวหนึ่งนี้ และส่วนต่างได้นำมาบันทึกลงในงบดุล ผมจึงสงสัยว่า ค่าความนิยม(Good Will)ที่สะท้อนออกมาเต็มที่ ดังกล่าว
นอกจากจะทำให้นักลงทุน ได้รับมูลค่าของหุ้นที่เหมาะสมแล้ว บริษัทยังสามารถนำไปทำประโยชน์ทางบัญชีได้ด้วยใช่หรือไม่ครับ
3. "ส่วนเกินมูลค่าหุ้น" บริษัทสามารถนำไปทำประโยชน์ในด้านใดได้บ้าง
ขอบคุณครับ
:P
การแตกพาร์ ต้องขอความคิดเห็นของนักลงทุนหรือเปล่าครับ
โพสต์แล้ว: จันทร์ มิ.ย. 01, 2009 4:56 pm
โดย chavanakorn
1.
การแตกพาร์ ต้องขอความคิดเห็นของนักลงทุนหรือเปล่าครับ
โพสต์แล้ว: จันทร์ มิ.ย. 01, 2009 8:36 pm
โดย GeneraX