ดัชนีชี้วัดเศรฐกิจของสหรัฐชี้ว่าผ่านจุดตำ่สุดไปแล้ว (แบบแปลก
โพสต์แล้ว: ศุกร์ มิ.ย. 12, 2009 12:10 pm
ในสหรัฐอเมริกามีการพูดถึงตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจแปลกๆ เช่น กางเกงในชาย ความสั้นของกระโปรง ลิปสติก และยาแก้ปวดแอสไพริน
ในช่วงเศรษฐกิจถดถอย กางเกงในจะเป็นสิ่งแรกๆ ที่ผู้คนหยุดซื้อเพราะว่า เป็นสิ่งที่ถึงใส่แล้วก็ไม่มีใครอื่นเห็น (ยกเว้นคนใกล้ชิดบางคนเท่านั้น) การหยุดซื้อของประชาชนทำให้เกิดความต้องการในกางเกงในที่จะทะลักเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจในอนาคต เมื่อเศรษฐกิจดีขึ้น (Pent-up Demand) ดังนั้น เมื่อใดก็ตามที่ยอดขายกางเกงในชายเพิ่มสูงขึ้น ก็น่าจะแสดงให้เห็นถึงความต้องการของผู้บริโภคที่กำลังปรับตัวสูงขึ้น
Alan Greenspan อดีตประธานธนาคารกลางของสหรัฐอเมริกาเคยอ้างถึงตัวชี้วัดกางเกงในชายนี้ว่า ถ้ายอดขายเพิ่มขึ้น 2-3% ต่อปี จะชี้ให้เห็นถึงเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัว แต่อย่างไรก็ตาม สำนักวิจัยทางธุรกิจแห่งหนึ่งในอเมริกาทำนายว่ายอดขายกางเกงในปีนี้จะลดลง 2.3% ต่อปี และยอดขายอาจไม่ฟื้นจนกระทั่งปี 2556 ส่วนยอดขายในปีที่ผ่านมาจนถึงเดือนมกราคมปีนี้พบว่า ยอดขายตก 12% ต่อปีแต่มีสัญญาณดีขึ้น ยอดขายเริ่มทรงตัวในเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งก็เป็นสัญญาณที่ดีต่อเศรษฐกิจ
ตัวชี้วัดที่ 2 ได้มาจากทฤษฎีที่ว่า ทิศทางของเศรษฐกิจสามารถทำนายได้โดยอิงกับแฟชั่นความยาวของกระโปรงในปีนั้นๆ ถ้ากระโปรงสั้นเป็นที่นิยมแสดงว่าตลาดหุ้นกำลังขึ้น ในทางตรงข้าม หากคนนิยมใส่กระโปรงยาวแสดงว่าตลาดกำลังอยู่ในช่วงขาลง
เหตุผลของทฤษฎีนี้ก็คือ คนมักใส่กระโปรงยาวเมื่อระดับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่ำซึ่งแสดงให้เห็นถึงความกลัวจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยและคนขาดกำลังซื้อ ในขณะที่เมื่อกระโปรงสั้นเป็นที่นิยมแสดงให้เห็นถึง ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและภาวะตลาดหุ้นในช่วงขาขึ้น ทฤษฎีนี้อยู่บนสมมุติฐานที่ว่าการออกแบบแฟชั่นเสื้อผ้าได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรม และภาวะเศรษฐกิจที่อยู่รอบๆ ตัวผู้ออกแบบและผู้บริโภค
ตัวชี้วัดที่ 3 อ้างอิงกับแนวคิดที่ว่า เมื่อคนรู้สึกไม่มั่นใจกับอนาคต เขาจะเปลี่ยนไปซื้อของฟุ่มเฟือยที่มีราคาไม่แพง โดยเฉพาะอย่างยิ่งลิปสติก ความเชื่อนี้บ่งบอกว่ายอดขายลิปสติกจะเพิ่มขึ้นในภาวะเศรษฐกิจถดถอยหรือในช่วงที่มีความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจสูงเหตุผลหนึ่งของการใช้ลิปสติกก็เพื่อช่วยปรับความรู้สึกให้ดีขึ้น (mood enhancer) ซึ่งสามารถยกระดับความรู้สึกให้ดีขึ้นในช่วงที่รู้สึกหดหู่ มีเหตุการณ์จริงที่สนับสนุนทฤษฎีนี้ก็คือ ในช่วงต้นปลายปีที่แล้วที่เศรษฐกิจแย่มาก ยอดขายของลิปสติกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 40 ต่อปี และในช่วงเศรษฐกิจขาลงภายหลังเหตุการณ์หายนะตึกถล่ม 11 กันยายน ยอดขายลิปสติกก็เพิ่มสูงขึ้นเช่นเดียวกัน
ตัวชี้วัดสุดท้ายคือ ยาแก้ปวดหัว (Aspirin) เมื่อเศรษฐกิจไม่ดี ผู้คนก็มักปวดหัวง่าย ทำให้ยอดขายยาแก้ปวดหัวเพิ่มขึ้น ตัวชี้วัดยาแก้ปวดหัวจึงมีความผกผันกับทิศทางของตลาดหุ้นกล่าวคือ ยอดขายยาแก้ปวดหัวเพิ่มขึ้นเมื่อตลาดหุ้นอยู่ในช่วงขาลง ในสหรัฐยอดขายของยาแก้ปวดหัวยี่ห้อ (Advil) ในปีที่แล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ 2 ต่อปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งยอดขายเพิ่มขึ้นร้อยละ 8 ต่อปี ในไตรมาสสุดท้ายของปีที่แล้ว ซึ่งเป็นช่วงที่เศรษฐกิจสหรัฐปั่นป่วนได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงที่สุด
ในช่วงเศรษฐกิจถดถอย กางเกงในจะเป็นสิ่งแรกๆ ที่ผู้คนหยุดซื้อเพราะว่า เป็นสิ่งที่ถึงใส่แล้วก็ไม่มีใครอื่นเห็น (ยกเว้นคนใกล้ชิดบางคนเท่านั้น) การหยุดซื้อของประชาชนทำให้เกิดความต้องการในกางเกงในที่จะทะลักเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจในอนาคต เมื่อเศรษฐกิจดีขึ้น (Pent-up Demand) ดังนั้น เมื่อใดก็ตามที่ยอดขายกางเกงในชายเพิ่มสูงขึ้น ก็น่าจะแสดงให้เห็นถึงความต้องการของผู้บริโภคที่กำลังปรับตัวสูงขึ้น
Alan Greenspan อดีตประธานธนาคารกลางของสหรัฐอเมริกาเคยอ้างถึงตัวชี้วัดกางเกงในชายนี้ว่า ถ้ายอดขายเพิ่มขึ้น 2-3% ต่อปี จะชี้ให้เห็นถึงเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัว แต่อย่างไรก็ตาม สำนักวิจัยทางธุรกิจแห่งหนึ่งในอเมริกาทำนายว่ายอดขายกางเกงในปีนี้จะลดลง 2.3% ต่อปี และยอดขายอาจไม่ฟื้นจนกระทั่งปี 2556 ส่วนยอดขายในปีที่ผ่านมาจนถึงเดือนมกราคมปีนี้พบว่า ยอดขายตก 12% ต่อปีแต่มีสัญญาณดีขึ้น ยอดขายเริ่มทรงตัวในเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งก็เป็นสัญญาณที่ดีต่อเศรษฐกิจ
ตัวชี้วัดที่ 2 ได้มาจากทฤษฎีที่ว่า ทิศทางของเศรษฐกิจสามารถทำนายได้โดยอิงกับแฟชั่นความยาวของกระโปรงในปีนั้นๆ ถ้ากระโปรงสั้นเป็นที่นิยมแสดงว่าตลาดหุ้นกำลังขึ้น ในทางตรงข้าม หากคนนิยมใส่กระโปรงยาวแสดงว่าตลาดกำลังอยู่ในช่วงขาลง
เหตุผลของทฤษฎีนี้ก็คือ คนมักใส่กระโปรงยาวเมื่อระดับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่ำซึ่งแสดงให้เห็นถึงความกลัวจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยและคนขาดกำลังซื้อ ในขณะที่เมื่อกระโปรงสั้นเป็นที่นิยมแสดงให้เห็นถึง ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและภาวะตลาดหุ้นในช่วงขาขึ้น ทฤษฎีนี้อยู่บนสมมุติฐานที่ว่าการออกแบบแฟชั่นเสื้อผ้าได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรม และภาวะเศรษฐกิจที่อยู่รอบๆ ตัวผู้ออกแบบและผู้บริโภค
ตัวชี้วัดที่ 3 อ้างอิงกับแนวคิดที่ว่า เมื่อคนรู้สึกไม่มั่นใจกับอนาคต เขาจะเปลี่ยนไปซื้อของฟุ่มเฟือยที่มีราคาไม่แพง โดยเฉพาะอย่างยิ่งลิปสติก ความเชื่อนี้บ่งบอกว่ายอดขายลิปสติกจะเพิ่มขึ้นในภาวะเศรษฐกิจถดถอยหรือในช่วงที่มีความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจสูงเหตุผลหนึ่งของการใช้ลิปสติกก็เพื่อช่วยปรับความรู้สึกให้ดีขึ้น (mood enhancer) ซึ่งสามารถยกระดับความรู้สึกให้ดีขึ้นในช่วงที่รู้สึกหดหู่ มีเหตุการณ์จริงที่สนับสนุนทฤษฎีนี้ก็คือ ในช่วงต้นปลายปีที่แล้วที่เศรษฐกิจแย่มาก ยอดขายของลิปสติกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 40 ต่อปี และในช่วงเศรษฐกิจขาลงภายหลังเหตุการณ์หายนะตึกถล่ม 11 กันยายน ยอดขายลิปสติกก็เพิ่มสูงขึ้นเช่นเดียวกัน
ตัวชี้วัดสุดท้ายคือ ยาแก้ปวดหัว (Aspirin) เมื่อเศรษฐกิจไม่ดี ผู้คนก็มักปวดหัวง่าย ทำให้ยอดขายยาแก้ปวดหัวเพิ่มขึ้น ตัวชี้วัดยาแก้ปวดหัวจึงมีความผกผันกับทิศทางของตลาดหุ้นกล่าวคือ ยอดขายยาแก้ปวดหัวเพิ่มขึ้นเมื่อตลาดหุ้นอยู่ในช่วงขาลง ในสหรัฐยอดขายของยาแก้ปวดหัวยี่ห้อ (Advil) ในปีที่แล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ 2 ต่อปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งยอดขายเพิ่มขึ้นร้อยละ 8 ต่อปี ในไตรมาสสุดท้ายของปีที่แล้ว ซึ่งเป็นช่วงที่เศรษฐกิจสหรัฐปั่นป่วนได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงที่สุด