Expected value analysis
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ก.ค. 30, 2009 9:44 am
Warren Buffett คิดเรื่องการลงทุนเป้น decision tree ตลอดเวลา
พูดอีกอย่างคือ เขาคิดเป็น expected value analysis ตลอดเวลาครับ
การคิดอย่างนี้ ไม่ได้มุ่งไปที่เป้าหมายราคาอย่างที่เราคุ้นเคยและเข้าใจในการวิเคราะห์แบบเดิมๆ
การคิดอย่างนี้มีข้อดีคือการเผื่อความผิดพลาดที่จะเกิดกับการวิเคราะห์
อีกอย่างผมคิดว่าการวิเคราะแนว expected value นี้คล้องจองกับความคิดที่ว่า เหตุและผลในตลาดหุ้นไม่ได้มีตลอดเวลาครับ
ผมมีคำอธิบายดังนี้ครับ...
สัญชาติหมาไม่ทิ้งพันธุ์มันต้องเห่าหอนฉันใด สัญชาติมนุษย์มีนิสัยขอบซักไซ้หาเหตุผลเพื่อสามารถค้นพบคำอธิบายโดยละเอียดฉันนั้น แต่ผลในตลาดหุ้น บางครั้งมีเหตุ บางครั้งไม่ยักมีเหตุ ตาหลีตาเหลือกตะบึงควบกวดจี๋จู้จี้หาเหตุติดพันมันทุกวันอย่างนั้น สักวันมันจะกลายเป็นเหตุที่เซ่อซ่าเกะกะตีลังกาหงายท้องกลิ้งสะบัด มันเป็นเช่นนั้นเอง เราต้องล่วงรู้อารมณ์ของตลาด ตลาดไม่ได้มีเหตุผลกระดิกกระเดี้ยทุกวันหรอกครับ บางท่านขยันวิเคราะห์หาเหตุทุกวันจนหน้าตากระรุ่งกระริ่งเหมือนโดนกระดาษทรายถูครูดถลอกรอยเลือดซิบ
การที่จะหักปลายงอยอมรับความไม่มีเหตุผลในตลาดหุ้นนั้น บางท่านขมวดคิ้วเขย่าหน้าอย่างช้าๆ มันต้องกลั้นใจผิดธรรมชาติของนิสัยคน แต่เราต้องสะกดลมหายใจตัวเองให้ยอมรับ ทำเรื่องผิดธรรมชาตินี้ให้เป็นธรรมชาติให้ได้ กระโดดข้ามพ้นไป แค่นั่นเอง ยามใดตลาดหุ้นย่างเข้าฤดูกาลหน้าแล้งถิ่นกันดารที่สุด อาหารหลักหายาก งู ตะขาบ ตะกวด อันตรายแค่ไหนบางคนยังหากิน ได้ไม่คุ้มเสีย ถ้าช่วงใด expected value มันติดลบ เราต้องเผื่อทางหนีทีไล่สำหรับความลี้ลับพิลึกกึกกือทั้งหลายที่เกิดในตลาดหุ้น อย่างน้อยเตรียมอาหารกระป่องสำรองพิเศษไว้กินในยามคับขันขีดสุด
เช่นนี้ลงทุนก็สบายใจได้!
มีคำถามเข้ามาพอดีครับ :P
\::)/ ...... ผมทำตามแนวทางนี้อยู่ครับ แต่มีปัญหาในการกำหนด prob. ในแต่ละกิ่ง
U ผมกำหนดตามความมั่นใจของข้อมูลที่หามาได้
/ \ บ่อยครั้งที่กำหนดมากไปหรือน้อยไป ซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจ
พอมีคำแนะนำไหมครับ?
;) .... สวัสดีครับ ขอบคุณครับ ผมเข้าใจครับ
|O| แรกๆ เจอความยุ่งยากอย่างนี้เหมือนกันครับ
|| ได้ข้อมูลมา มานั่งแปลงเป็น prob นั้นไม่ง่าย
แต่พอมี circle of competence มากขึ้น มันคล่องไปเองครับ
ใช้ COC นี่ละครับ แปลงเป็น prob ได้ที่ที่สุดครับ
จะมีวิธีสะสม COC ให้เข้าใจธรรมชาติของธุรกิจ ticon อย่างไร
เอาอย่างนี้ครับ....
ผมมีเรื่องจะเล่าให้ฟังเกี่ยวกับเสือครับ
นิสัยเสือขี้สงสัยครับ เวลามันจะล่าเหยื่อ
มันจะตามเหยื่ออยู่รายวันครับ ตามจนรู้จักนิสัยเหยื่อของมันเป้นอย่างดีครับ
ถ้ามันจะล่ากวาง มันจะตามกวางอย่างเดียวครับ
พอมันไปเจอหมู่ป่าระหว่างทาง มันจะไม่สนใจเลยครับ
พอมันตามกระทิง มันเจอกวาง มันก็ไม่สนใจ
พอมันตามช้าง มันเจอกระทิง มันก็สนใจไม่
นั่นละครับข้อดีของมันครับ focos ในเป้าหมายของมันอย่างเดียวเท่านั้น
งานอดิเรกของมัน คือ มันจะชอบสะกดรอยดูพฤติกรรมสัตว์ต่างๆ ครับ
มันจะตามศึกษาเรียนรู้นิสัยสัตว์ที่มันจะล่าอย่างกระตือรือร้น
ตามจนมันแน่ใจว่า มันจู่โจมแล้วแล้วไม่พลาดแน่ มันถึงลงมือครับ
แม้กระทั่งเสือยังคิดเป็น expected value ครับ
ถ้ามันไม่หิว มันจะตามดูเฉย ๆ ครับ
เมื่อ 20 กว่าปีก่อน
ผมเคยเจอเสือว่ายน้ำข้ามฝากแม่น้ำในป่า
มันว่ายกลับไปกลับมาอยู๋ 3 รอบครับ
สังเกตว่ามันพยายาม ว่ายให้ตรงแนวกอไผ่ที่อยู่ฝั่งตรงข้าม
แต่มันว่ายไปแล้ว กระแสน้ำพัดมันลอยไปตามน้ำ
ทำให้มันว่ายไม่ตรงกอไผ่สักที มันต้องลองถึง 3 รอบ มันถึงจะเผื่อระยะได้ถูกครับ
เสือมันมี circle of competence มากขึ้นครับ
จะว่าไป...
เสือมัน invest first แล้ว investigate later
เสือมีสมมุติฐาน แล้วมันลองทำดูครับ
สมมุติฐาน มาก่อนคำพิพากษาครับ
ส่วนสิ่งที่ก่อนสมมุติฐาน คือ สัณชาติญาณของเสือครับ
ผมลองใช้กับ ticon สร้างสมมุติฐานขั้นมา
แล้ว Invest first, investigate later
ลงทุนทีละน้อย คอยดูว่าสมมุติฐานของเราถุกหรือผิด
บางทีก็สร้างสัมผัสขึ้นมา ขายก่อนแล้วค่อยซื้อ ถ้ามีคนรับมาก ผมถึงจะซื้อ
คือ ซื้อไปแล้ว มีคนมารอซื้อต่อแน่ๆ
การสร้างความรูสึกเกี่ยวตลาดขึ้นมานั้น ผมทำไม่บ่อยครับ
ทำต่อเมื่อ ไม่แน่ใจเท่านั้น
ถ้าอยากซื้อ ผมจะขายก่อน ถ้าอยากขาย ผมจะซื้อก่อน
ที่สำคัญ ต้องแยกอารมณ์และความรูสีกของตนออกจากตลาดให้ได้
ไม่ปล่อยให้ตันหาต่างๆ เข้ามาปน
ไม่ปล่อยให้อัตตามาปะปนกับการตัดสิน ใจทางการลงทุนอย่างเด็ดขาด
การที่ปราศจากอารมณ์ความรูสึกในการลงทุนนั้น ต้องอาสัยความมีวินัยอย่างมาก
ต้องอาสัยความมั่นใจในตัวเองอย่างมากด้วยครับ
อีกทั้งต้องเข้าใจว่าตลาดมีทั้งด้านที่มีเหตุผล และไม่มีเหตุผล
และยังต้องยอมรับด้วยว่า เราไม่สามารถตัดสินใจได้ถุกต้องตลอดเวลา
หากมีโอกาส ต้องฉกฉวยให้เต็มที่
หากผิดพลาด ก็ยอมรับผิด สำคัญที่ต้องรูว่าเมื่อผิดแล้ว ต้องทำอย่างไรให้อยู่รอด
หวังว่า เรื่องเสือจะทำให้เข้าใจ expected value มากขึ้นครับ.....
::)/ ----- ขอบคุณมากครับ สำหรับ มุมมองของการใช้
|U COC ในการประมาณ prob. ครับ เรื่องเสือจะทำให้พอเข้าใจ expected value มากขึ้นครับ
|| แต่.เพิ่งพบว่า ผมเป็นแมวเหมียวครับ
ผมใช้ ปันผลกับราคาเป้าหมาย ใส่ decision tree ในการคำนวณ expected profit
แล้วหักลบ ด้วย mos อีกที แบบว่าพยายามหา a high probability event ของปู่บัฟนะครับ
เมื่อย้อนกลับไปดูข้อมูลเก่า ticon ที่ผมทำไว้ เมื่อ ปีที่แล้ว
พบว่า circle of competence ของผมมันวงเล็กและเบี้ยวมากด้วย
คงต้องพัฒนาด้วยการ focus ต่อไป
เสือที่พี่เล่าให้ฟังนั้นน่าจะเป็น เสือโซSoros มากกว่า ปู่บัฟนะครับ
(เพิ่งอ่าน the winning investment habits of Warren Buffett and George Soros ได้ไม่กี่บท)
อยากถามเพิ่มครับ พี่แตกกิ่ง บ่อยแค่ไหนครับ
และพอบอกได้ไหมว่า ticon ตอนนี้ expected value เป็นอย่างไรบ้างครับ?
:closedeyes:......แมวดีครับ 55555
/O| นิสัยแมวกับนิสัยการหา expected value มันแยกกันไม่ออกครับ
/ \ แมว เขาว่าแมวมี 9 ชีวิต มันเอาตัวรอดได้เก่ง
ธรรมชาติชอบปีนที่สูง ถ้ามันไม่คิดเรือง expected vale มันเสร็จแน่
หมาเห็นอะไรก็เห่า ไม่รู้จักโจมตีอย่างเงียบๆ
เขาว่า หมาเห่าไม่กัด เพราะตอนกัดนั้นมันไม่เห่า 55555
นั่งมองแมว เห้นทีจะจริง
แมวมีนิสัยความขี้เล่นชั่งสงสัยแบบเด็ก
มันเห็นเชื่อก เอาเท้าไปเขี่ย
นิสัยแบบนี้ต้องมีสมมุติฐาน แล้วทดสอบสมมุติฐานว่าถูกต้องหรือไม่
มันลองผิด ลองถูกจนรู้จริง
ถ้ามันนั่งจ้องเชือกอย่างเดียว แล้วหา prob มันคงตายไปหลายครั้งแล้ว
จะว่าไป มันมีความคิดเป้นวิทยาศาสตร์อย่างมาก
นิสัย invest first investigate later คิอนิสัยของแมว
และมันจำเป็นต่อนิสัยในหา expected value อย่างมาก
และการเอาตัวรอดเมื่อรู้ว่าพลาดนั้นเป็นหัวใจของการคิดแบบ expected value
ปรัชญา circle of competece กับ ปรัชญา invest first, investigate later มันแยกกันไม่ออก
และมันคือนิสัยของแมว แมวที่เขาว่ามี 9 ชีวิตนั่นเอง
ถ้าเราไม่มีปรัชญา invest first, investigate late
เราจะเอาแต่ circle of competence ที่เป็นรูปธรรมมาแปลงเป็น prob
เอาแต่ส่วนที่เป็นรูปธรรม มาทำเป็น prob ก็ได้แบบรูปธรรมเท่านั้น
ส่วน COC แบบนามธรรมที่เราเข้าใจบ้าง ไม่แน่ใจบ้าง ไม่มีความแน่นอนในอนาคต
เราไม่เอามาแปลงเป็น prob แบบนามธรรม ซึ่งตรงนั้นเป็นข้อผิดพลาดอย่างมาก
นักลงทุนทุกคนมีความเชื่อ บางคนเรียกประสบประการณ์
บางคนเรียกสัญชาติญาณ ผมเรียกว่า circle of competence
ไม่ว่าจะเรียกอะไรก็ตาม ตัว COC นี้เองมี prob ในตัวของมันเอง
และมันเป็น prob ที่คนส่วนใหญ่ไม่เอามาคิดรวมกับ prob ของ ticon
แม้มี COC เก่งกล้าสามารถสักแค่ไหน
คนก็ยังเป้นคน มีอารมณ์เข้ามาเกียวข้องด้วยเสมอ
ท่านไม่มี human error ไม่จำเป้นต้องมี prob
ถ้าท่านไม่ใช่พระอรหันต์ อย่าลืมใส่ prob ที่เป็นตัวท่านเองลงไปผสมด้วย
แรบไบโซรอสแยกอารมณ์ออกจากการลงทุนทุกครั้ง
เพราะต้องการตัด prob ที่เกี่ยวกับตัวเองออกไปนั่นเอง
องค์ประกอบของ Prob มีทั้งตัวเลข บน/ล่าง เป็นเศษส่วนซึ่งกันและกัน
เรื่อง FOCUS นั้น ท่านยิ่งมีมากเท่าใด ท่านยิ่งเพิ่มส่วน "ล่าง" มากเท่านั้น
ส่วนล่างเป็นหัวใจที่ทำให้ขอบของ circle of competece
มันเข้มขึ้นและมีความมั่นใจมากขึ้น เหมือนกับที่แมวมันเพิ่มส่วนล่างของมันทุกวัน
เวลาท่านเห็นใครพูดถึง prob ของ ticon
ท่านอย่าลืมถามว่า ส่วนล่างของคนพุดมีมากแค่ไหน
คนแรกบอกมีแค่ 2 ครั้ง แล้วจับมาหาร 1/2 นั่น 50% แล้ว
คนสองบอก prob ผม 30% เอง แต่มาจากส่วนล่างถึง 66 ครั้ง ส่วนบน 19.8
ฟังแล้วถ้าไม่ไตร่ตรองให้ดี เราจะนึกว่าคนแรกมั่นใจกว่า
แต่เขาลองแค่ 2 ครั้งเอง มันเทียบกับ frequency ของคนที่สองไม่ได้เลย
ถ้าไป focus อยู่ที่ % มากเกินไป นักลงทุนคนนั้นคงน่าเป็นห่วง
อย่างนี้ต้องเรียนรู้จากแมว
แต่ถ้าเรียนรูจากน้องแมวอวบๆ ขาวๆ ยิ่งต้องเป็นห่วงหนักเข้าไปอีก
ผมไม่แนะนำครับ 555555555
ส่วนเรืองคำถาม Expected value
EV แต่ละท่านไม่เหมือนกัน
พุดเรื่อง EV ตัวเดียวกัน แต่มีรสชาติต่างกัน
EV ของผม คิดตลอดเวลาเหมือนหายใจ
ทางพุทธเข้าว่า คือ สติ
แต่ผมใส่ standard deviation เข้าไป
เติม algorithm เข้าไปอีกนิด
เตืม ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ เศรษศาสตร์ จิตวิทยา เข้าไปหน่อย
เอาให้เข้มข้น แล้วแต่ว่าจะปรุงอย่างไรครับ
สติคนเรามันขึ้นกับไหวพริบ ชั้นเชิง หลักการเอาตัวรอด
และ ความรู้ต่างๆ ที่มี
เรืองสตินี้ถาม ป๋าพอใจ ท่านเก่งมากครับ
ส่วนเรื่อง EV อยากทราบเพิ่มเติม ให้ถาม ท่านบอล ครับ
เรื่องแยกอารมณ์ออกจากการเทรดต้องถาม พี่เล็ก Harry
เรื่องระบบในการเทรดต้องถามท่าน mudley
ส่วนเรื่องล่าเสือ ต้องถามพรานหุ้นอย่าง ป๋านันจัง ครับ
ส่วนผมเป็นได้แค่ลูกหาบคร้าบบบบเจ้านายยยย......
สวัสดีครับ.......