สมการความรวย..สง่า ตั้งจันสิริ เซียนหุ้นวัย 32
โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ย. 14, 2009 6:47 pm
สมการความรวย..สง่า ตั้งจันสิริ เซียนหุ้นวัย 32
จากเงินก้อนแรก 500,000 บาท เล่นหุ้น 4 ปี วันนี้เขามีพอร์ตแล้ว 50 ล้าน ชายหนุ่มวัย32 'โนเนม' แต่ไม่ 'โนวิชั่น' สง่า ตั้งจันสิริ ...
แท้ที่จริงตระกูลตั้งจันสิริ ไม่ใช่โนบอดี้ในวงการธุรกิจ ทายาทหนุ่มวัย 32 ปี อาสาพาไปรู้จักเคล็ดลับความสำเร็จของตัวเอง ที่วันนี้มีพอร์ตเล่นหุ้นเป็นตัวเป็นตนแล้ว 50 ล้านบาท แม้ไม่มากแต่ถ้าดูจากจุดเริ่มต้นที่ 5 แสนบาทกับระยะเวลาเพียง 4 ปี หนุ่มคนนี้ถือว่าฝีมือ "ไม่ธรรมดา"
สง่า ตั้งจันสิริ มีพื้นฐานครอบครัวอยู่ในระดับเศรษฐีของเมืองไทย บางคนอาจจะคุ้นๆกับนามสกุล "ตั้งจันสิริ" กับ "จันศิริ" ใน บมจ.ไทยยูเนียน โฟรเซ่น โปรดักส์ หรือ ทียูเอฟ ใช่เลย! เขาเป็นหลานชาย ไกรสร จันศิริ ประธานกรรมการ และผู้ก่อตั้งทียูเอฟ บริษัทผู้ส่งออกปลาทูน่ากระป๋องรายใหญ่ระดับโลก และมีศักดิ์เป็นญาติผู้น้อง ธีรพงศ์ จันศิริ ซีอีโอทียูเอฟ ปัจจุบันสง่านั่งแท่นบริหารบริษัทโบรกเกอร์ประกันภัยของตัวเอง ที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจครอบครัว และรักการลงทุนในตลาดหุ้นเป็นชีวิตจิตใจ
"ตกลงครับ..แต่พอร์ตผมไม่ได้ใหญ่มากเท่าไรนะ ไม่รู้จะน่าสนใจหรือเปล่า" ชายหนุ่มวัย 32 ปี ยอมเปิดตัวกับกรุงเทพธุรกิจ BizWeek เรานัดหมายกับเขาที่ร้านกาแฟใต้อาคารเอสเอ็ม ทาวเวอร์ ย่านสนามเป้า โดยมี "ก๋อย" ยุทธพงษ์ เสรีดีเลิศ เซียนหุ้นร้อยล้าน "หลานชาย" ชนะชัย ลีนะบรรจง เป็นคนชักนำ
"นิด" ชื่อเล่นของสง่า เพียงกาแฟแก้วแรกหย่อนวางลงบนโต๊ะนิดก็รีบออกตัวก่อนว่า "หุ้นทุกตัวที่ผมไปลงทุนไม่เกี่ยวอะไรกับธุรกิจครอบครัวแม้แต่น้อยเป็นเพียงการลงทุนส่วนตัว"
นิดบอกว่า แม้จะเติบโตมากับธุรกิจอาหารทะเลของครอบครัวตั้งแต่เด็ก แต่ขอเลือกที่จะเป็นผู้บุกเบิกธุรกิจของตัวเอง หลังจบปริญญาตรีที่เอแบคด้านประกันภัยก็มาเปิดบริษัทโบรกเกอร์ประกันภัยซึ่งบริหารมาแล้ว 8 ปี และยังร่วมลงขันกับเพื่อนขายเครื่องมือแพทย์ ธุรกิจรับสแกนหนังสือ และมีร้านกาแฟของตัวเอง
ก้าวแรกในตลาดหุ้นของสง่า เพิ่งเริ่มเมื่อประมาณ 4 ปีที่ผ่านมา โดยเข้ามาในช่วงที่ตลาดหุ้นกำลังบูมตอนนั้นคือ "อยากลอง" และได้รู้จักกับผู้ใหญ่ในวงการหลักทรัพย์แนะนำให้ลองลงทุนดูบอกว่าดีกว่าเงินฝาก โดยปัจจุบันมีพอร์ตลงทุนอยู่ที่ บล.เคที ซีมิโก้ เป็นหลัก
สำหรับเงินลงทุนก้อนแรก นิดเล่าว่าเริ่มจากเงิน 500,000 บาท เริ่มนับหนึ่งจากหุ้นบลูชิพพิมพ์นิยมอย่าง BANPU, PTT, PTTEP และแน่นอนต้องมี TUF ด้วยเพราะเป็นธุรกิจของครอบครัว โดยมี ยุทธพงษ์ เสรีดีเลิศ "เพื่อนซี้" ที่เรียนด้วยกันมาตั้งแต่ป.1 เป็นที่ปรึกษา และทุกวันนี้หัวข้อหลักในการสนทนาระหว่างเพื่อนก็คือเรื่องหุ้นที่ฝังอยู่ในสายเลือดโดยไม่รู้ตัว
วิธีการลงทุนของเซียนหุ้นรายนี้ เขาจะแบ่งพอร์ตลงทุนออกเป็น "สามส่วน" คือ สั้น-กลาง-ยาว ถ้าเป็นหุ้นบลูชิพชั้นดี "เกรดเอ" ถ้าถือต้นทุนต่ำก็จะถือยาว 2-3 ปี โดยจะดูที่ Dividend Yield ถ้าอยู่ประมาณ 5-6% ก็จะถือไว้กินปันผล ส่วนหุ้น TUF จะไม่แตะ (ขาย) เลยเพราะปันผลดีมาก อีกตัวที่ชอบคือ CSL ที่ทำธุรกิจเป็นเงินสดแถมจ่ายปันผลดีปีละ 2-3 ครั้ง
ส่วนพอร์ต "ระยะกลาง" จะเน้นหุ้นกลุ่มแบงก์กับอสังหาริมทรัพย์ ถ้าเป็นพอร์ต "ระยะสั้น" จะเน้นเล่นหุ้นหวือหวาโดยจะ "เล่นตามข่าว" (หุ้นมีสตอรี่) ถ้าเล่นสั้นจะ "ไม่ถือนาน" แต่บางครั้งจะสลับตัวเล่น "กลาง-สั้น" ตามความเหมาะสม
สำหรับหุ้นกลุ่มที่เล่นเป็นประจำ ยังคงเป็น "พลังงาน" กับ "แบงก์" ที่ผ่านมาได้กำไรมาตลอด ส่วนหุ้นที่โปรดปรานเป็นพิเศษอันดับหนึ่งคือ TUF เพราะโตมากับธุรกิจนี้ ปัจจุบันถือ TUF อยู่ในพอร์ต "มากที่สุด" โดยหุ้นบางส่วนได้รับโอนมาจาก "คุณพ่อ" ตอนก่อนแต่งงาน มีต้นทุนที่ 10 บาทแต่ไม่เคยขายและไม่คิดจะขายด้วย
อีกตัวที่ชื่นชอบเป็นพิเศษคือ PS เพราะเป็นบริษัทที่ตอบโจทย์ชนชั้นกลางที่อยากมีบ้านได้ดีที่สุด และมั่นใจในตัว "เจ้าของ" ทองมา วิจิตรพงศ์พันธุ์ ที่ถือหุ้นไว้จำนวนมากถ้าหุ้นตกเขาย่อมเจ็บกว่าแน่นอน ทำให้มั่นใจเต็มร้อยว่าเลือกหุ้นไม่ผิด
"ปี 2551 ผมเล่นหุ้นพฤกษา เรียลเอสเตทถึง 20 รอบ แต่พอปีนี้ราคาเริ่มสูงก็ขายออกไปรอเล่นรอบใหม่"
ผ่านมา 4 ปี พอร์ตลงทุนของสง่าโตขึ้นมาอยู่ในระดับ 50 ล้านบาท สิ่งที่เซียนหุ้นรุ่นใหม่ต้องท่องเป็นประจำคือ "อย่าโลภมาก" หุ้นทุกตัวที่เข้าไปลงทุนเขาจะตั้ง "เป้าหมายกำไร" เมื่อถึงเป้าก็ต้อง "ขาย" โดยปกติจะตั้งไว้ที่ 20% และตั้งจุด Stop Loss (หยุดขาดทุน) ไว้ที่ลง 10% ต้องตัดขายทันที
"ที่เล่นมาเคย Cut Loss หนักสุด 3 ล้านบาทไม่งั้นขาดทุนแน่ๆ 6-7 ล้านบาทแต่ถ้ารีบขายก่อนอาทิตย์หนึ่งจะขาดทุนแค่ล้านเดียว ประสบการณ์เลยสอนผมว่าต้องกล้าตัดสินใจ(ถึงขาดทุนก็ต้องกล้าขาย)"
เซียนนิดที่มีพอร์ตไม่นิดบอกว่า จากประสบการณ์ถ้าอยากได้กำไรเยอะๆ ต้องเล่นหุ้นขนาดกลางหรือเล็กที่มี "พื้นฐานดี" (ไม่ใช่หุ้นปั่น) และจะได้แรงบวกต้องเป็นธุรกิจกำลังจะ "เทิร์นอะราวด์" หุ้นพวกนี้เวลาขึ้นมีโอกาสได้กำไรเกิน 20% แต่ถ้าเป็นหุ้นขนาดใหญ่จะมีโอกาสแบบนี้ไม่บ่อย สำหรับรอบนี้ที่ได้กำไรเป็นเนื้อเป็นหนังคือหุ้น BCP และ THCOM กำไรประมาณ 50% แต่ตอนนี้ขายไปหมดแล้ว
"การลงทุนในตลาดหุ้นคือการอยู่กับอนาคต อย่าดูแต่ปัจจุบัน ต้องมองไปข้างหน้า" เซียนนิดย้ำ
ที่สำคัญในตลาดหุ้นอะไรก็ไม่แน่นอนทั้งนั้น จึงต้องมี "เงินสดติดกระเป๋า" ไว้ตลอดเวลา ถ้ามีเงิน 100 บาท ส่วนตัวจะพยายามเก็บเงินสดไว้ 40% เสมอๆ เพราะโอกาสซื้อ ของถูก ไม่ได้มีมาบ่อยๆ เขายกสัจธรรมที่สุดแสนจะเบสิคแต่ใช้ได้ดีเสมอว่า จงเข้าซื้อเมื่อหุ้นตก และจงขายเมื่อหุ้นขึ้น ง่ายๆ อย่างงี้แหละ!
"ผมมองว่านักลงทุนไทยส่วนใหญ่ใจไม่เย็นพอ และบางคนเอาเงินร้อนมาเล่นด้วยของผมจะใช้เงินเย็นมาลงทุน และไม่เคยซี้ซั้วจะค่อยๆ ดูทีละตัว"
ส่วนหลักการจำกัดความเสี่ยง ง่ายๆ คือ อย่าไปลงทุนในสิ่งที่ไม่รู้ หรือรู้น้อยกว่าคนอื่น จะต้องรู้ให้มากกว่าคนอื่นหนึ่งก้าวเสมอ ข้อจำกัดของตลาดหุ้นไทยคือตลาดเล็กและคนมีเงินเยอะๆ สามารถคุมหุ้นได้ นักลงทุนที่รู้ทีหลังค่อนข้างเสียเปรียบ ก่อนลงทุนจำเป็นต้อง "เช็คข่าว" ต่อสายคุยกับนักวิเคราะห์คุยกับคนในวงการหาข่าวก่อนลงทุนจะปลอดภัย เราไม่จำเป็นต้องรู้มากที่สุดแต่ต้องไม่น้อยกว่าคนอื่น
สง่าบอกว่าพอร์ตของเขาโตมากช่วงปลายปี 2551 ช่วงที่เกิดวิกฤติซับไพร์ม ก่อนหุ้นจะตกใหญ่เมื่อเดือนตุลาคม 2551 นักลงทุนที่ตามข่าวจะได้กลิ่นไม่ดีมาก่อนแล้วอยู่ที่ว่าใครจะตัดสินใจอย่างไร ส่วนตัวเองเลือกที่จะ "เผ่น"
"ผมคุยกับรุ่นพี่ที่เล่นหุ้นมา 20 ปีเขาบอกว่าถ้าเป็นเขาจะขายหุ้นทิ้ง ผมก็ฟังข่าววิเคราะห์ต่อแล้วจึงตัดสินใจ Cut Loss ยอมขายขาดทุนตอนนั้นเจ็บหนักที่สุด 3 ล้านบาทแล้วถือเงินสดรอ จากนั้นก็นั่งดูหุ้นตัวใหญ่ๆ อย่าง PTT, BANPU ราคาตกเอาๆ ผมเอาเงินสดที่มีอยู่มารับไว้ หลังจากนั้นไม่นานหุ้นที่ซื้อไว้บางตัวราคาขึ้นเป็นเท่าตัว ช่วงนั้นถือว่าทำให้พอร์ตโตมากที่สุด"
นอกจากลงทุนหุ้นไทยแล้ว สง่ายังแบ่งเงินส่วนหนึ่งไปลงทุนผ่านกองทุนผสมสัญญาประกันชีวิต บริหารโดย เอไอจี ที่ประเทศฮ่องกง มีนโยบายลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ที่ไม่ใช่หุ้น เช่น น้ำมัน ทองคำ ฯลฯ จุดประสงค์เพื่อเก็บออมเงินระยะยาวเอาไว้ให้ "ไกลมือ"
นอกจากนี้ยังนำกำไรไปซื้อสินทรัพย์ระยะยาว เช่น ซื้อที่ดิน และซื้อคอนโดมิเนียมให้เช่า สง่าตั้งเป้าหมายชีวิตว่า พอถึงอายุ 55 ปี ก็จะเกษียณตัวเองจากงานประจำ หลังจากนั้นจะใช้เงินเก็บที่สะสมมาจากการทำธุรกิจส่วนตัวและการลงทุนใช้ชีวิตอย่างสบายๆ
อย่างไรก็ตามความสำเร็จในตลาดหุ้นต้องมีทั้งสีขาวและสีดำ มีขึ้นและมีลง แต่คนที่จะยืนบนเวทีนี้ได้ในระยะยาวสำคัญที่สุด "ต้องมีวินัย"
"ถ้าขาดทุนต้องรับกับมันได้ ถ้ากำไรก็อย่าดีใจกับมันมาก เห็นหุ้นวิ่งอย่าแหกกฎของตัวเอง เหมือนกฎหมายถ้าใครไม่ทำตามมันก็มีบทลงโทษรออยู่ ถ้าคิดว่าทำตามไม่ได้ก็อย่าตั้งกฎให้ตัวเอง" ง่ายๆ แต่ไม่ง่าย สง่า ตั้งจันสิริ เซียนรุ่นใหม่ที่กำลังไต่ระดับมาพร้อมกับวิกฤติ..ลูกไม่ไกลต้นของครอบครัวทียูเอฟ
http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... ัย-32.html
อิจฉาครับ เขาทำได้อย่างไรนะ คิดไปคิดมา ผมทำตามเขาไม่ได้หรอก เอาแบบเดิมที่เป็นอยู่นี่แหระดีแล้ว รวยช้า แต่ชัวร์หรือป่าว ผมเองก็ยังไม่ค่อยแน่ใจ
จากเงินก้อนแรก 500,000 บาท เล่นหุ้น 4 ปี วันนี้เขามีพอร์ตแล้ว 50 ล้าน ชายหนุ่มวัย32 'โนเนม' แต่ไม่ 'โนวิชั่น' สง่า ตั้งจันสิริ ...
แท้ที่จริงตระกูลตั้งจันสิริ ไม่ใช่โนบอดี้ในวงการธุรกิจ ทายาทหนุ่มวัย 32 ปี อาสาพาไปรู้จักเคล็ดลับความสำเร็จของตัวเอง ที่วันนี้มีพอร์ตเล่นหุ้นเป็นตัวเป็นตนแล้ว 50 ล้านบาท แม้ไม่มากแต่ถ้าดูจากจุดเริ่มต้นที่ 5 แสนบาทกับระยะเวลาเพียง 4 ปี หนุ่มคนนี้ถือว่าฝีมือ "ไม่ธรรมดา"
สง่า ตั้งจันสิริ มีพื้นฐานครอบครัวอยู่ในระดับเศรษฐีของเมืองไทย บางคนอาจจะคุ้นๆกับนามสกุล "ตั้งจันสิริ" กับ "จันศิริ" ใน บมจ.ไทยยูเนียน โฟรเซ่น โปรดักส์ หรือ ทียูเอฟ ใช่เลย! เขาเป็นหลานชาย ไกรสร จันศิริ ประธานกรรมการ และผู้ก่อตั้งทียูเอฟ บริษัทผู้ส่งออกปลาทูน่ากระป๋องรายใหญ่ระดับโลก และมีศักดิ์เป็นญาติผู้น้อง ธีรพงศ์ จันศิริ ซีอีโอทียูเอฟ ปัจจุบันสง่านั่งแท่นบริหารบริษัทโบรกเกอร์ประกันภัยของตัวเอง ที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจครอบครัว และรักการลงทุนในตลาดหุ้นเป็นชีวิตจิตใจ
"ตกลงครับ..แต่พอร์ตผมไม่ได้ใหญ่มากเท่าไรนะ ไม่รู้จะน่าสนใจหรือเปล่า" ชายหนุ่มวัย 32 ปี ยอมเปิดตัวกับกรุงเทพธุรกิจ BizWeek เรานัดหมายกับเขาที่ร้านกาแฟใต้อาคารเอสเอ็ม ทาวเวอร์ ย่านสนามเป้า โดยมี "ก๋อย" ยุทธพงษ์ เสรีดีเลิศ เซียนหุ้นร้อยล้าน "หลานชาย" ชนะชัย ลีนะบรรจง เป็นคนชักนำ
"นิด" ชื่อเล่นของสง่า เพียงกาแฟแก้วแรกหย่อนวางลงบนโต๊ะนิดก็รีบออกตัวก่อนว่า "หุ้นทุกตัวที่ผมไปลงทุนไม่เกี่ยวอะไรกับธุรกิจครอบครัวแม้แต่น้อยเป็นเพียงการลงทุนส่วนตัว"
นิดบอกว่า แม้จะเติบโตมากับธุรกิจอาหารทะเลของครอบครัวตั้งแต่เด็ก แต่ขอเลือกที่จะเป็นผู้บุกเบิกธุรกิจของตัวเอง หลังจบปริญญาตรีที่เอแบคด้านประกันภัยก็มาเปิดบริษัทโบรกเกอร์ประกันภัยซึ่งบริหารมาแล้ว 8 ปี และยังร่วมลงขันกับเพื่อนขายเครื่องมือแพทย์ ธุรกิจรับสแกนหนังสือ และมีร้านกาแฟของตัวเอง
ก้าวแรกในตลาดหุ้นของสง่า เพิ่งเริ่มเมื่อประมาณ 4 ปีที่ผ่านมา โดยเข้ามาในช่วงที่ตลาดหุ้นกำลังบูมตอนนั้นคือ "อยากลอง" และได้รู้จักกับผู้ใหญ่ในวงการหลักทรัพย์แนะนำให้ลองลงทุนดูบอกว่าดีกว่าเงินฝาก โดยปัจจุบันมีพอร์ตลงทุนอยู่ที่ บล.เคที ซีมิโก้ เป็นหลัก
สำหรับเงินลงทุนก้อนแรก นิดเล่าว่าเริ่มจากเงิน 500,000 บาท เริ่มนับหนึ่งจากหุ้นบลูชิพพิมพ์นิยมอย่าง BANPU, PTT, PTTEP และแน่นอนต้องมี TUF ด้วยเพราะเป็นธุรกิจของครอบครัว โดยมี ยุทธพงษ์ เสรีดีเลิศ "เพื่อนซี้" ที่เรียนด้วยกันมาตั้งแต่ป.1 เป็นที่ปรึกษา และทุกวันนี้หัวข้อหลักในการสนทนาระหว่างเพื่อนก็คือเรื่องหุ้นที่ฝังอยู่ในสายเลือดโดยไม่รู้ตัว
วิธีการลงทุนของเซียนหุ้นรายนี้ เขาจะแบ่งพอร์ตลงทุนออกเป็น "สามส่วน" คือ สั้น-กลาง-ยาว ถ้าเป็นหุ้นบลูชิพชั้นดี "เกรดเอ" ถ้าถือต้นทุนต่ำก็จะถือยาว 2-3 ปี โดยจะดูที่ Dividend Yield ถ้าอยู่ประมาณ 5-6% ก็จะถือไว้กินปันผล ส่วนหุ้น TUF จะไม่แตะ (ขาย) เลยเพราะปันผลดีมาก อีกตัวที่ชอบคือ CSL ที่ทำธุรกิจเป็นเงินสดแถมจ่ายปันผลดีปีละ 2-3 ครั้ง
ส่วนพอร์ต "ระยะกลาง" จะเน้นหุ้นกลุ่มแบงก์กับอสังหาริมทรัพย์ ถ้าเป็นพอร์ต "ระยะสั้น" จะเน้นเล่นหุ้นหวือหวาโดยจะ "เล่นตามข่าว" (หุ้นมีสตอรี่) ถ้าเล่นสั้นจะ "ไม่ถือนาน" แต่บางครั้งจะสลับตัวเล่น "กลาง-สั้น" ตามความเหมาะสม
สำหรับหุ้นกลุ่มที่เล่นเป็นประจำ ยังคงเป็น "พลังงาน" กับ "แบงก์" ที่ผ่านมาได้กำไรมาตลอด ส่วนหุ้นที่โปรดปรานเป็นพิเศษอันดับหนึ่งคือ TUF เพราะโตมากับธุรกิจนี้ ปัจจุบันถือ TUF อยู่ในพอร์ต "มากที่สุด" โดยหุ้นบางส่วนได้รับโอนมาจาก "คุณพ่อ" ตอนก่อนแต่งงาน มีต้นทุนที่ 10 บาทแต่ไม่เคยขายและไม่คิดจะขายด้วย
อีกตัวที่ชื่นชอบเป็นพิเศษคือ PS เพราะเป็นบริษัทที่ตอบโจทย์ชนชั้นกลางที่อยากมีบ้านได้ดีที่สุด และมั่นใจในตัว "เจ้าของ" ทองมา วิจิตรพงศ์พันธุ์ ที่ถือหุ้นไว้จำนวนมากถ้าหุ้นตกเขาย่อมเจ็บกว่าแน่นอน ทำให้มั่นใจเต็มร้อยว่าเลือกหุ้นไม่ผิด
"ปี 2551 ผมเล่นหุ้นพฤกษา เรียลเอสเตทถึง 20 รอบ แต่พอปีนี้ราคาเริ่มสูงก็ขายออกไปรอเล่นรอบใหม่"
ผ่านมา 4 ปี พอร์ตลงทุนของสง่าโตขึ้นมาอยู่ในระดับ 50 ล้านบาท สิ่งที่เซียนหุ้นรุ่นใหม่ต้องท่องเป็นประจำคือ "อย่าโลภมาก" หุ้นทุกตัวที่เข้าไปลงทุนเขาจะตั้ง "เป้าหมายกำไร" เมื่อถึงเป้าก็ต้อง "ขาย" โดยปกติจะตั้งไว้ที่ 20% และตั้งจุด Stop Loss (หยุดขาดทุน) ไว้ที่ลง 10% ต้องตัดขายทันที
"ที่เล่นมาเคย Cut Loss หนักสุด 3 ล้านบาทไม่งั้นขาดทุนแน่ๆ 6-7 ล้านบาทแต่ถ้ารีบขายก่อนอาทิตย์หนึ่งจะขาดทุนแค่ล้านเดียว ประสบการณ์เลยสอนผมว่าต้องกล้าตัดสินใจ(ถึงขาดทุนก็ต้องกล้าขาย)"
เซียนนิดที่มีพอร์ตไม่นิดบอกว่า จากประสบการณ์ถ้าอยากได้กำไรเยอะๆ ต้องเล่นหุ้นขนาดกลางหรือเล็กที่มี "พื้นฐานดี" (ไม่ใช่หุ้นปั่น) และจะได้แรงบวกต้องเป็นธุรกิจกำลังจะ "เทิร์นอะราวด์" หุ้นพวกนี้เวลาขึ้นมีโอกาสได้กำไรเกิน 20% แต่ถ้าเป็นหุ้นขนาดใหญ่จะมีโอกาสแบบนี้ไม่บ่อย สำหรับรอบนี้ที่ได้กำไรเป็นเนื้อเป็นหนังคือหุ้น BCP และ THCOM กำไรประมาณ 50% แต่ตอนนี้ขายไปหมดแล้ว
"การลงทุนในตลาดหุ้นคือการอยู่กับอนาคต อย่าดูแต่ปัจจุบัน ต้องมองไปข้างหน้า" เซียนนิดย้ำ
ที่สำคัญในตลาดหุ้นอะไรก็ไม่แน่นอนทั้งนั้น จึงต้องมี "เงินสดติดกระเป๋า" ไว้ตลอดเวลา ถ้ามีเงิน 100 บาท ส่วนตัวจะพยายามเก็บเงินสดไว้ 40% เสมอๆ เพราะโอกาสซื้อ ของถูก ไม่ได้มีมาบ่อยๆ เขายกสัจธรรมที่สุดแสนจะเบสิคแต่ใช้ได้ดีเสมอว่า จงเข้าซื้อเมื่อหุ้นตก และจงขายเมื่อหุ้นขึ้น ง่ายๆ อย่างงี้แหละ!
"ผมมองว่านักลงทุนไทยส่วนใหญ่ใจไม่เย็นพอ และบางคนเอาเงินร้อนมาเล่นด้วยของผมจะใช้เงินเย็นมาลงทุน และไม่เคยซี้ซั้วจะค่อยๆ ดูทีละตัว"
ส่วนหลักการจำกัดความเสี่ยง ง่ายๆ คือ อย่าไปลงทุนในสิ่งที่ไม่รู้ หรือรู้น้อยกว่าคนอื่น จะต้องรู้ให้มากกว่าคนอื่นหนึ่งก้าวเสมอ ข้อจำกัดของตลาดหุ้นไทยคือตลาดเล็กและคนมีเงินเยอะๆ สามารถคุมหุ้นได้ นักลงทุนที่รู้ทีหลังค่อนข้างเสียเปรียบ ก่อนลงทุนจำเป็นต้อง "เช็คข่าว" ต่อสายคุยกับนักวิเคราะห์คุยกับคนในวงการหาข่าวก่อนลงทุนจะปลอดภัย เราไม่จำเป็นต้องรู้มากที่สุดแต่ต้องไม่น้อยกว่าคนอื่น
สง่าบอกว่าพอร์ตของเขาโตมากช่วงปลายปี 2551 ช่วงที่เกิดวิกฤติซับไพร์ม ก่อนหุ้นจะตกใหญ่เมื่อเดือนตุลาคม 2551 นักลงทุนที่ตามข่าวจะได้กลิ่นไม่ดีมาก่อนแล้วอยู่ที่ว่าใครจะตัดสินใจอย่างไร ส่วนตัวเองเลือกที่จะ "เผ่น"
"ผมคุยกับรุ่นพี่ที่เล่นหุ้นมา 20 ปีเขาบอกว่าถ้าเป็นเขาจะขายหุ้นทิ้ง ผมก็ฟังข่าววิเคราะห์ต่อแล้วจึงตัดสินใจ Cut Loss ยอมขายขาดทุนตอนนั้นเจ็บหนักที่สุด 3 ล้านบาทแล้วถือเงินสดรอ จากนั้นก็นั่งดูหุ้นตัวใหญ่ๆ อย่าง PTT, BANPU ราคาตกเอาๆ ผมเอาเงินสดที่มีอยู่มารับไว้ หลังจากนั้นไม่นานหุ้นที่ซื้อไว้บางตัวราคาขึ้นเป็นเท่าตัว ช่วงนั้นถือว่าทำให้พอร์ตโตมากที่สุด"
นอกจากลงทุนหุ้นไทยแล้ว สง่ายังแบ่งเงินส่วนหนึ่งไปลงทุนผ่านกองทุนผสมสัญญาประกันชีวิต บริหารโดย เอไอจี ที่ประเทศฮ่องกง มีนโยบายลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ที่ไม่ใช่หุ้น เช่น น้ำมัน ทองคำ ฯลฯ จุดประสงค์เพื่อเก็บออมเงินระยะยาวเอาไว้ให้ "ไกลมือ"
นอกจากนี้ยังนำกำไรไปซื้อสินทรัพย์ระยะยาว เช่น ซื้อที่ดิน และซื้อคอนโดมิเนียมให้เช่า สง่าตั้งเป้าหมายชีวิตว่า พอถึงอายุ 55 ปี ก็จะเกษียณตัวเองจากงานประจำ หลังจากนั้นจะใช้เงินเก็บที่สะสมมาจากการทำธุรกิจส่วนตัวและการลงทุนใช้ชีวิตอย่างสบายๆ
อย่างไรก็ตามความสำเร็จในตลาดหุ้นต้องมีทั้งสีขาวและสีดำ มีขึ้นและมีลง แต่คนที่จะยืนบนเวทีนี้ได้ในระยะยาวสำคัญที่สุด "ต้องมีวินัย"
"ถ้าขาดทุนต้องรับกับมันได้ ถ้ากำไรก็อย่าดีใจกับมันมาก เห็นหุ้นวิ่งอย่าแหกกฎของตัวเอง เหมือนกฎหมายถ้าใครไม่ทำตามมันก็มีบทลงโทษรออยู่ ถ้าคิดว่าทำตามไม่ได้ก็อย่าตั้งกฎให้ตัวเอง" ง่ายๆ แต่ไม่ง่าย สง่า ตั้งจันสิริ เซียนรุ่นใหม่ที่กำลังไต่ระดับมาพร้อมกับวิกฤติ..ลูกไม่ไกลต้นของครอบครัวทียูเอฟ
http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... ัย-32.html
อิจฉาครับ เขาทำได้อย่างไรนะ คิดไปคิดมา ผมทำตามเขาไม่ได้หรอก เอาแบบเดิมที่เป็นอยู่นี่แหระดีแล้ว รวยช้า แต่ชัวร์หรือป่าว ผมเองก็ยังไม่ค่อยแน่ใจ