green-orange
คุณ chaitorn ครับ ผมจะหาความรู้เรื่องการคำนวณเรื่องเบี้ยประกันภัยแบบละเอียดเหมือนด้านบนนี้ได้จากที่ไหนครับ
เรื่องการคำนวณเบี้ยประกันภัย คงต้องปล่อยให้นักคณิตศาสตร์ประกันภัยเป็นผู้คำนวณนะครับ แต่เราเพียงรู้แนวคิดก็น่าจะพอนะครับ เดี๋ยวไปแย่งอาชีพเขา ซึ่งปัจจุบัน เป็นอาชีพที่ได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้นมากครับ
ผมไปค้นมาให้แล้วนะครับ ลองอ่านดูแนวคิดการคำนวณดูนะครับ
ข้อมูลนี้เป็นแนวคิดในการคำนวณค่าเบี้ยประกันภัยของประกันวินาศภัยครับ
http://www.thaiactuary.org/news_view.php?nid=174
การคำนวณอัตราเบี้ยประกันภัย โดย ชญณา พูลทรัพย์
การ กำหนดอัตราเบี้ยของการประกันภัยเป็นงานพื้นฐานของนักคณิตศาสตร์ประกันภัย ซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วนงานที่แตกต่างกัน แต่หากมีความเกี่ยวเนื่องกัน คือ การคำนวณต้นทุนความเสียหายที่คาดว่าจะเป็น (expected loss cost) และ การคำนวณราคาที่เหมาะสม (optimal price)
การคำนวณต้นทุนความเสียหายที่คาดว่าจะเป็น เป็นส่วนงานที่นักคณิตศาสตร์ประกันภัยสามารถคำนวณได้ โดยอาศัยองค์ความรู้ และความชำนาญทางสถิติ นอกจากนี้ ในการที่นักคณิตศาสตร์ประกันภัยจะใช้ข้อมูลในอดีตเพื่อคาดคะเนอนาคต ก็จำต้องอาศัยความรู้ทางเศรษฐศาสตร์เพื่อให้ได้ปัจจัยแนวโน้ม (trend factor) ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของการคำนวณต้นทุนความเสียหายที่คาดว่าจะเป็น ส่วนการคำนวณราคาที่เหมาะสมเพื่อใช้ในภาคธุรกิจนั้น มีปัจจัยที่สำคัญหลายปัจจัยเข้ามามีบทบาทในการตั้งราคา อาทิ ภาวะการแข่งขันทางการตลาด ความต้องการของลูกค้าที่อาจพอใจกับอัตราเบี้ยประกันฯ ที่แบ่งกลุ่มความเสี่ยงไม่ซับซ้อนเกินไป นักคณิตศาสตร์ประกันภัยจึงจำต้องใช้ศาสตร์และศิลป์เพื่อให้ได้มาซึ่งอัตรา เบี้ยประกันภัยที่จะนำพาบริษัทไปสู่ความสำเร็จ
ดังนั้น การพัฒนานักคณิตศาสตร์ประกันภัยรุ่นใหม่จึงมีแนวโน้มที่จะพัฒนาทักษะทาง ธุรกิจ/เศรษฐศาสตร์ ไปพร้อมๆ กับเทคนิคทางสถิติและคณิตศาสตร์ที่ยังคงเป็นหัวใจหลัก
ในครั้งนี้จะเป็นการนำเสนอวิธีการคำนวณ เบี้ยประกันภัยของการประกันวินาศภัยในภาพรวม โดยไม่จำเพาะเจาะจงประเภทความความคุ้มครองใดๆ และจะชี้ให้เห็นถึงวัตถุประสงค์ รวมทั้งองค์ประกอบสำคัญที่ควรพิจารณาเพื่อการคำนวณอัตราเบี้ยประกันภัย
วัตถุประสงค์การคำนวณอัตราเบี้ยประกันภัย
วัตถุประสงค์ของการคำนวณอัตราเบี้ยประกันภัย สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่
(1) วัตถุประสงค์ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง
(2) วัตถุประสงค์ที่ต้องคำนึงถึง
1. วัตถุประสงค์ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง ได้แก่
? อัตราเบี้ยประกันภัยต้องครอบคลุมความสูญเสีย (loss) และค่าใช้จ่ายต่างๆ ตามการคาดคะเน
เป็น ที่ทราบดีอยู่แล้วว่าธุรกิจจะดำรงอยู่ได้ บริษัทจะต้องมีรายได้ไม่น้อยกว่ารายจ่าย ซึ่งแหล่งรายได้ที่สำคัญมาจากเบี้ยประกันภัยและผลตอบแทนจากการลงทุน ส่วนรายจ่ายเกิดจากค่าสินไหมทดแทนซึ่งจ่ายให้แก่ผู้เอาประกันภัย, ค่าใช้จ่ายในการขาย, ภาษี และค่าใช้จ่ายในการดำเนินการต่างๆ ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้จะถูกนำมาคำนวณอัตราเบี้ยประกันภัย เพื่อให้สอดคล้องตามกลุ่มความเสี่ยงภัยต่างๆ
? อัตราเบี้ยประกันภัยต้องเพียงพอต่อความคุ้มครองสำหรับสถานการณ์ฉุกเฉิน
ใน การคำนวณอัตราเบี้ยประกันภัยนั้น นักคณิตศาสตร์ต้องคำนึงถึงเหตุการณ์ที่ไม่คาดว่าจะเกิดด้วย เช่น เหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ซึ่ง 100 ปีเกิดครั้ง โดยบริษัทต้องคำนึงถึงคู่แข่ง และความพึงพอใจของลูกค้าด้วย หากเบี้ยประกันภัยสูงเกินไป บริษัทก็จะสูญเสียฐานลูกค้าไป แต่ถ้าเบี้ยประกันภัยต่ำเกินไป บริษัทก็จะขาดทุน หรืออาจมีกำไรไม่มากพอที่จะนำไปขยายธุรกิจในอนาคตได้ รวมถึงผลกระทบต่อการจ่ายผลตอบแทนให้แก่ผู้ถือหุ้นด้วย
? อัตราเบี้ยประกันภัยต้องจูงใจ หรือกระตุ้นให้ผู้ถือกรมธรรม์ช่วยควบคุมความเสียหาย
การ จัดแบ่งกลุ่มความเสี่ยงที่ดีจะช่วยจูงใจให้มีการลดค่าสินไหมทดแทนได้ เช่น ผู้ขับขี่ประวัติดี, บ้านหรืออาคารที่ติดอุปกรณ์ดับเพลิงหรือสัญญาณกันขโมย จะได้ส่วนลดเบี้ยประกันภัย เป็นต้น ข้อดีของการกระตุ้นให้ลดความสูญเสีย นอกจากผู้เอาประกันจะซื้อความคุ้มครองด้วยเบี้ยประกันภัยที่ถูกลงแล้ว สังคมยังได้ประโยชน์ในแง่ของการลดอุบัติเหตุ, การบาดเจ็บ และความเสียหายของทรัพย์สินด้วย
? อัตราเบี้ยประกันภัยต้องเป็นที่ยอมรับได้ของกรมการประกันภัย (หน่วยงานควบคุมดูแลธุรกิจประกันภัย)
การ ตรวจสอบของกรมการประกันภัยจะมุ่งเน้นที่เบี้ยประกันภัยต้องเพียงพอต่อการ ดำเนินธุรกิจ แต่เบี้ยประกันภัยก็ต้องไม่สูงเกินไป และต้องยุติธรรมสำหรับแต่ละกลุ่มเสี่ยง โดยกรมการประกันภัยมักจะขอเอกสารประกอบการคำนวณเบี้ยประกันภัยจากบริษัท เพื่อนำมาตรวจสอบ พร้อมกับรับฟังการวิจารณ์จากนักกฎหมายและจากประชาชนด้วย และกรมการประกันภัยเองยังสามารถที่จะวิพากษ์วิจารณ์ หรือแม้กระทั่งปฏิเสธอัตราเบี้ยประกันภัยที่บริษัทเสนอไปได้ ดังนั้น นักคณิตศาสตร์จึงต้องเตรียมตอบข้อโต้แย้งทุกแง่มุมเพื่อให้มีเหตุผลเพียงพอ สำหรับการยอมรับในวิธีปฏิบัติ
2. วัตถุประสงค์ที่ต้องคำนึงถึง ได้แก่
? อัตราเบี้ยประกันภัยควรมีเสถียรภาพ
การ ปรับอัตราเบี้ยประกันภัยขึ้นลงตามความเหมาะสมของบริษัทอยู่ตลอดเวลานั้น ในบางครั้งอาจทำให้ลูกค้ารู้สึกถึงความไม่แน่นอนจนเกิดความรู้สึกไม่พึงพอใจ ได้ ดังนั้น ถึงแม้ว่าภัยบางอย่างเกิดนานๆ ครั้ง บริษัทก็ต้องคิดถึงความสูญเสียเผื่อไว้เพื่อเกลี่ยเป็นระยะยาว ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เกิดความผันผวนของเบี้ยประกันภัย
? ควรมีการปรับอัตราเบี้ยประกันภัยตามความเหมาะสม
ใน บางครั้งอาจมีความจำเป็นต้องปรับอัตราเบี้ยประกันภัยอย่างทันท่วงที เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน เช่น มีการเปลี่ยนแปลงของกฎหมายบางประการที่กระทบต่อการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน เป็นต้น
? อัตราเบี้ยประกันภัยควรง่ายต่อการทำความเข้าใจ
เพื่อ ผลประโยชน์ทางการตลาด ตารางอัตราเบี้ยประกันภัยที่ได้ต้องไม่ซับซ้อนจนเกินไปจนยากต่อการทำความ เข้าใจของลูกค้าหรือตัวแทนขาย อีกทั้งยังต้องง่ายต่อการอธิบายให้ผู้บริหารและกรมการประกันภัยเข้าใจเพื่อ การขออนุมัติอัตราดังกล่าว การใช้อัตราเบี้ยประกันภัยที่ง่าย ไม่ซับซ้อน ยังช่วยให้ไม่จำเป็นต้องใช้วิธีการหรือเทคโนโลยีที่ซับซ้อนมากในการคิดคำนวณ ซึ่งจะทำให้มีต้นทุนที่สูงขึ้นโดยไม่จำเป็นตามมาอีกด้วย
หน่วยเสี่ยงภัย (exposure unit)
คือ หน่วยซึ่งต้นทุนค่าความเสียหายแปรผันเป็นสัดส่วนโดยตรงกับจำนวนหน่วยนั้น เช่น ถ้า 1 หน่วยเสี่ยงภัย มีต้นทุนค่าความเสียหาย 100 บาท ดังนั้น 2 หน่วยเสี่ยงภัย ก็จะมีต้นทุนค่าความเสียหาย 200 บาท หน่วยเสี่ยงภัยที่ดีนั้นควรสามารถวัดค่าความเสียหายได้ถูกต้อง ง่ายต่อผู้รับประกันภัยในการกำหนด และยากต่อผู้เอาประกันภัย และผู้พิจารณารับประกันภัยในการบิดเบือน
การเลือกหน่วยเสี่ยงภัย และปัจจัยเสี่ยงภัย
มูลค่า ความเสียหายมากหรือน้อยนั้นขึ้นกับหลายๆ ปัจจัย นักคณิตศาสตร์ประกันภัยจะทำการวิเคราะห์หาปัจจัยที่มีผลต่อมูลค่าความ เสียหายอย่างเป็นระบบโดยใช้วิธีการทางสถิติ หรือคณิตศาสตร์ประกันภัย (statistic/actuarial criteria) ประกอบกับความเป็นไปได้ในการประยุกต์ใช้ (operational criteria) ความยอมรับของสังคม (social criteria) และเงื่อนไขของกฎหมาย (legal criteria) ทั้งนี้ปัจจัยที่มูลค่าความเสียหายมีผลกระทบเป็นสัดส่วนโดยตรงมากที่สุดจะ เป็นตัวเลือกสำหรับการถูกใช้เป็นหน่วยเสี่ยงภัย ซึ่งหน่วยเสี่ยงภัยนี้อาจไม่ใช่หน่วยเสี่ยงภัยแท้จริง (true exposure) ก็ได้ แต่เป็นเพียงตัวแทน (proxy) ของหน่วยเสี่ยงภัยแท้จริง เนื่องจากหน่วยเสี่ยงภัยแท้จริงนั้นมีความซับซ้อน และเปลี่ยนแปลงได้เสมอ
ตัวอย่างเช่น ในการวัดความเสี่ยงของประกันภัยรถยนต์ที่แท้จริงนั้นอาจเป็น ?ระยะทางของการใช้รถยนต์? คือ ถ้าใช้รถยนต์ไปเป็นระยะทางที่มากก็จะมีความเสี่ยงมาก หรือ ?เวลาที่ใช้รถยนต์? เช่น ถ้าใช้รถยนต์ในเวลากลางคืนหรือเวลาเร่งด่วน ก็มีความเสี่ยงกว่าใช้รถยนต์ในเวลากลางวันหรือช่วงบ่าย แต่ระยะทางหรือระยะเวลาของการใช้รถยนต์นั้นไม่เหมาะสมที่จะนำมาเป็นหน่วย เสี่ยงภัย ถึงแม้ว่า ?ระยะทางของการใช้รถยนต์? หรือ ?เวลาที่ใช้รถยนต์? จะสามารถวัดค่าความเสียหายได้ถูกต้อง แต่โดยปกติแล้วไม่มีผู้ใดบอกระยะทาง หรือ ระยะเวลาใช้รถยนต์ได้แน่นอนล่วงหน้า (ตอนทำประกันภัย) จึงทำให้ไม่สามารถคำนวณอัตราเบี้ยประกันภัยได้ นอกจากนี้ ผู้เอาประกันภัยยังสามารถที่จะบิดเบือนข้อมูลนี้ได้เพื่อให้ได้เบี้ย ประกันภัยต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการใช้ ?ระยะทางของการใช้รถยนต์? หรือ ?เวลาที่ใช้รถยนต์? นั้นบริหารจัดการได้ยาก จึงไม่ผ่าน operational criteria ในทางปฏิบัติจึงใช้ เดือนรถยนต์ (car-month) หรือ ปีรถยนต์ (car-year) เป็นหน่วยเสี่ยงภัยที่ถัวเฉลี่ยระยะทางและระยะเวลาของการใช้รถยนต์ในแต่ละ หน่วยแทน และได้ใช้หน่วยเสี่ยงภัยนี้เรื่อยมาและแทบไม่มีการถกเถียงเพื่อการ เปลี่ยนแปลงเลย
ปัจจัยอื่นที่มีผลต่อมูลค่าค่าความเสียหาย นั้นอาจจะเป็นปัจจัยเสี่ยงภัย (risk factor), ตัวแปรกำหนดอัตราเบี้ยประกันภัย (rating variable) ทั้งนี้ส่วนใหญ่ในการวิเคราะห์จะพบปัจจัยอื่นๆ นอกจากปัจจัยที่ใช้เป็นหน่วยเสี่ยงภัย หรือปัจจัยเสี่ยงที่มีผลกระทบกับค่าความเสียหาย แต่ไม่ได้ถูกนำเข้ามารวมในการคำนวณอัตราเบี้ยประกันภัย เนื่องจากไม่ผ่าน operational criteria, social criteria หรือ legal criteria ทว่าข้อมูลเหล่านี้ก็ยังเป็นข้อมูลอันเป็นประโยชน์สำหรับผู้บริหารที่จะใช้ เป็นแนวทางกำหนดนโยบายการบริหารความเสี่ยง หรือนโยบายการตลาด เช่นเลือกเจาะตลาดส่วนที่เป็นหัวกะทิ (cream of the cup) เป็นต้น ดังนั้น ถึงแม้ว่าตลาดการประกันภัยในประเทศไทยยังเป็นแบบ tariff market ที่มีการกำหนดพิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยเอาไว้แล้วก็ตาม แต่การวิเคราะห์ข้อมูลทางคณิตศาสตร์ประกันภัยอย่างมีระบบและต่อเนื่องนั้น ก็สามารถช่วยในการวางแผนการตลาด อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือช่วยในการบริหารความเสี่ยงได้เป็นอย่างดี
ใน ครั้งที่แล้วเราได้ทราบถึงวัตถุประสงค์ในการคำนวณอัตราเบี้ยประกันภัย การเลือกหน่วยเสี่ยงภัย และปัจจัยเสี่ยงภัยกันไปแล้ว ในครั้งนี้เราจะมาพูดถึงส่วนประกอบอื่นๆ ในการคำนวณอัตราเบี้ยประกันภัยกันต่อ...
หน่วยเสี่ยงภัย/หน่วยรับประกัน/หน่วยคุ้มครอง (Exposure Unit)
อัตรา เบี้ยประกันภัยจะแสดงอยู่ในรูปต่อหน่วยเสี่ยงภัย เช่น ประกันภัยรถยนต์ นับหน่วยเป็น ปีรถยนต์ (car year) ยกตัวอย่างเช่น ในกรมธรรม์ชนิด 6 เดือน ให้ความคุ้มครองรถยนต์ 3 คัน จะมีหน่วยเสี่ยงภัย 1.5 ปีรถยนต์ ซึ่งเบี้ยประกันภัยที่คิดจะเท่ากับผลคูณของอัตราเบี้ยประกันภัยกับจำนวน หน่วยเสี่ยงภัย นอกจากนี้ ยังมีหน่วยเสี่ยงภัยระบุเมื่อรับประกัน (written exposure), หน่วยเสี่ยงภัยรับ (earned exposure), หน่วยเสี่ยงภัยค้างรับ (unearned exposure) และ หน่วยเสี่ยงภัยรับ ณ ขณะนั้น (in-force exposure) แสดงตามตัวอย่างดังต่อไปนี้
Effective Date Written Exposure Earned Exposure In-Force Exposure
2003 2004 2003 2004 1/1/2004
1/1/2003 1 0 1 0 0
5/1/2003 1 0 0.667 0.333 1
9/1/2003 1 0 0.333 0.667 1
12/1/2004 1 0 0.083 0.917 1
Total 4 0 2.083 1.917 3
สำหรับหน่วยความคุ้มครองที่ดีนั้น ควรมีหลักเกณฑ์ดังนี้
- สามารถนับในเชิงปริมาณความเสียหายได้
- ง่ายต่อการประเมินเพื่อคำนวณเบี้ยประกันภัย
- ยากต่อการบิดเบือนข้อมูลจากผู้เอาประกันภัย
- ง่ายต่อการจัดเก็บและบริหารข้อมูล
- เป็นที่เข้าใจง่ายของลูกค้าและฝ่ายขาย
ความเบี่ยงเบนของอัตราเบี้ยประกันวินาศภัย
การ ประกันวินาศภัยนั้น ความเบี่ยงเบนของอัตราเบี้ยประกันภัยเกิดได้จากความถี่และขนาดของความ สูญเสียเป็นหลัก ส่วนอัตราดอกเบี้ยนั้นจะมีผลกระทบเฉพาะการประกันที่ใช้ระยะเวลาในการพิจารณา จ่ายค่าสินไหมทดแทนหลายปี เช่น การประกันความรับผิดที่ใช้เวลาในการตัดสินนาน...