บทที่ 19 เล่มใหม่ของคุณนรินทร์ น่าอ่านครับ
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ต.ค. 08, 2009 12:02 pm
เป็นที่ทราบกันว่าสิบกว่าปีที่ผ่านมา อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของโลกถูกพยุงไว้ด้วย ภาวะความไม่สมดุลของโลก (Global Imbalance) ที่มีสหรัฐ ทำหน้าที่เป็นนักบริโภคสินค้ามือเติบ และมีประเทศส่งออกทั้งหลายในเอเชียทำหน้าที่คอยเติมเงินในกระเป๋าของสหรัฐ อยู่ตลอดเวลาด้วยการนำเงินที่ได้จากการส่งออกสินค้าไปสหรัฐ กลับมาปล่อยกู้ให้กับสหรัฐ ผ่านทางการนำทุนสำรองไปซื้อตราสารสกุลดอลลาร์ เพื่อให้เงินเอเชียอ่อนเมื่อเทียบกับดอลลาร์ กำลังซื้อที่เกิดขึ้นจากค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งของสหรัฐ ช่วยทำให้ประเทศในเอเชียส่งออกสินค้าได้มาก เศรษฐกิจโลกจึงเติบโตได้ดี
แน่นอนว่าภาวะเช่นนี้ย่อมไม่อาจดำรงอยู่ได้ตลอดไป เพราะเป็นไปไม่ได้ที่ผู้บริโภคจะยืมเงินผู้ขายมาซื้อสินค้าของผู้ขายไปเรื่อยๆ โดยไม่มีวันใช้หนี้คืน ภาวะไม่สมดุลของโลกทำให้สหรัฐ ขาดดุลการค้าอย่างมากมายมหาศาล ในขณะที่ ประเทศในเอเชียก็ได้ดุลการค้าสหรัฐ แบบมหาศาลด้วย ที่ผ่านมา ไม่มีใครคิดอยากแก้ไขปัญหานี้ เพราะทุกฝ่ายต่างได้รับประโยชน์จากเศรษฐกิจโลกที่เติบโตได้ดี เมื่อปัญหาไม่ได้รับการแก้ไข ปัญหาก็พอกพูนขึ้นเรื่อยๆ สหรัฐ ขาดดุลการค้ามากจนน่ากลัว
เวลานี้คล้ายๆ กับว่า วิกฤติซับไพร์มจะเป็นตัวจุดชนวนให้เกิดการปรับสมดุลขึ้นเอง วิกฤติซับไพร์มทำให้การบริโภคภายในประเทศของสหรัฐลดลง แม้ว่าประเทศในเอเชียจะพยายามโอบอุ้มค่าเงินดอลลาร์เหมือนเดิมแต่ก็ยังไม่สามารถหยุดยั้งกำลังซื้อของสหรัฐที่ลดลง เพราะปัญหาซับไพร์มได้ เมื่อกำลังซื้อจากสหรัฐลดลง เศรษฐกิจโลกก็ย่อมต้องชะลอตัวลงด้วยเป็นธรรมดา ซึ่งอาจมองว่าเป็นเรื่องไม่ดี แต่ในอีกแง่หนึ่ง นี่คือโอกาสที่โลกจะได้แก้ไขปัญหาความไม่สมดุลที่สะสมมานาน
ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่า เศรษฐกิจสหรัฐจะฟื้นตัวขึ้นจากวิกฤติซับไพร์มได้เร็วหรือช้า หลายฝ่ายยังมีการถกเถียงกันอยู่ ถ้าหากเศรษฐกิจสหรัฐฟื้นตัวขึ้นได้เร็ว ไม่ช้าไม่นานโลกของเราก็อาจจะกลับไปสู่วงจรอัฐยายซื้อขนมยายเหมือนเช่นเดิม ทำให้ปัญหาความไม่สมดุลของโลกไม่ได้รับการแก้ไขต่อ แต่ถ้าเศรษฐกิจสหรัฐทรุดหนักแบบยืดเยื้อยาวนาน การปรับสมดุลก็จะเกิดขึ้นได้อย่างต่อเนื่องจนเสร็จสมบูรณ์ในที่สุด เพราะโลกอาจหันไปหาวิธีการใหม่ๆ ในการพยุงการเติบโตทางเศรษฐกิจแทนการพึ่งพาการบริโภคของสหรัฐ
สมมติว่าวิกฤติครั้งนี้ยาวนานจนทำให้เกิดการปรับสมดุลได้จริง มาลองคิดกันเล่นๆ ว่า เศรษฐกิจโลกหลังปรับสมดุลแล้วจะมีหน้าตาเปลี่ยนไปอย่างไร?
แน่นอนว่าเมื่อประเทศในเอเชียเลิกโอบอุ้มค่าเงินดอลลาร์ เงินดอลลาร์จะต้องอ่อนค่าลงอีกเมื่อเทียบกับสกุลเงินเอเชีย เมื่อค่าเงินถูกปล่อยไปตามความเป็นจริงมากขึ้น ดุลการค้าของประเทศต่างๆ จะใกล้เคียงกันมากกว่าเดิม สหรัฐจะขาดดุลน้อยลง ประเทศในเอเชียก็จะเกิดดุลน้อยลงด้วย
ที่ผ่านมาเวลาที่ประเทศส่งออกในเอเชียพยายามทำค่าเงินของตัวเองให้อ่อน ประเทศเหล่านี้จะต้องเทขายเงินของตัวเองออกมาแล้วเอาเงินดอลลาร์ที่ได้รับมาเก็บไว้ในทุนสำรอง ทุนสำรองคือสภาพคล่องที่ถูกดูดออกไปจากระบบ มันจอดอยู่เฉยๆ โดยไม่ทำประโยชน์ ทุกๆ ปี ประเทศในเอเชียยอมสูญเสียโอกาสในการลงทุนที่เกิดจากสภาพคล่องที่ดูดซับออกไปเพื่อช่วยภาคส่งออกเป็นเงินจำนวนมหาศาล ซ้ำร้าย ประเทศในเอเชียกลับเอาเงินส่วนนี้ไปปล่อยกู้ในตลาดสหรัฐซึ่งช่วยทำให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงในสหรัฐ อยู่ในระดับต่ำกว่าที่ควรจะเป็นอีก เท่ากับเป็นส่งเสริมการลงทุนให้กับสหรัฐ นั่นเอง เพราะปกติแล้ว เงินทุนควรไหลออกจากประเทศร่ำรวยไปสู่ประเทศล้าหลังที่ยังขาดแคลนทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ แต่ทุกวันนี้ เงินทุนกลับไหลออกจากประเทศที่ยังล้าหลังไปหาประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างเช่น สหรัฐ
ถ้าวงจรที่ไหลกลับของเงินทุนนี้กลับทิศทางเสียได้ อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงในสหรัฐจะสูงขึ้น ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยในเอเชียจะต่ำลงซึ่งจะส่งผลดีต่อการบริโภคและการลงทุนภายในประเทศเอเชีย การเติบโตภายในประเทศเอเชียเองก็จะเข้ามาทดแทนการส่งออกที่หดตัวลง เศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้ก็จะมีเสถียรภาพมากขึ้น เนื่องจากไม่ได้พึ่งพาการส่งออกในสัดส่วนที่สูงมากเหมือนอย่างในปัจจุบัน ถ้าเศรษฐกิจโลกมีปัญหาก็จะไม่ได้รับกระทบรุนแรงเหมือนเช่นที่เป็นอยู่
ค่าเงินเอเชียที่แข็งขึ้น แม้ว่าจะทำให้ส่งออกสินค้าได้น้อยลง แต่ในทางตรงกันข้ามกลับทำให้ความเป็นอยู่ของคนในประเทศสูงขึ้นด้วย เพราะคนในประเทศจะสามารถบริโภคสินค้านำเข้าเช่น น้ำมันดิบ ได้ในราคาที่ถูกกว่าเดิม ที่จริงแล้วทุกวันนี้เราไม่จำเป็นต้องส่งออกให้ได้มากๆ เหมือนแต่ก่อน เนื่องจากเราไม่ใช่ประเทศที่ติดหนี้ต่างประเทศมากมายเหมือนสมัยวิกฤติต้มยำกุ้งอีกต่อไปแล้ว การปล่อยให้เงินบาทแข็งขึ้นตามความเป็นจริงบ้างกลับเป็นเรื่องที่ดีกว่า เพราะเป็นการทำให้วิถีชีวิตของคนในประเทศขยับเข้าใกล้เคียงชาวตะวันตกมากขึ้น ในขณะเดียวกัน ก็ขายสินค้าได้เงินมากกว่าเดิม ไม่ต้องยอมขายขาดทุนเพื่อล่อให้เขาซื้อสินค้าเหมือนที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
สรุปแล้ว โลกหลังปรับสมดุลแล้วมีแต่ข้อดีกับข้อดี เพียงแต่ว่าก่อนที่เราจะไปถึงตรงนั้นได้ เราจะต้องได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่หดตัวแรงเสียก่อน ซึ่งเป็นการชดใช้ฟองสบู่ที่โลกได้สร้างขึ้นมาตลอดสิบกว่าปี สักพักหนึ่งเมื่อทรัพยากรถูกเคลื่อนย้ายจากภาคส่งออกเข้าสู่ภาคเศรษฐกิจในประเทศมากขึ้น เราจึงจะเริ่มเห็นผลดีของการปรับสมดุลใหม่
บางกระแสบอกว่า ฝันไปเถิด การปรับสมดุลใหม่จะไม่มีวันเกิดขึ้นแน่นอน เพราะจีนและญี่ปุ่นไม่มีทางเลิกหนุนค่าเงินดอลลาร์เป็นอันขาด แต่เมื่อไม่นานมานี้ เราเริ่มเห็นท่าทีของจีนที่เปลี่ยนไป ฝันอาจกำลังเป็นจริงก็ได้ครับ
แน่นอนว่าภาวะเช่นนี้ย่อมไม่อาจดำรงอยู่ได้ตลอดไป เพราะเป็นไปไม่ได้ที่ผู้บริโภคจะยืมเงินผู้ขายมาซื้อสินค้าของผู้ขายไปเรื่อยๆ โดยไม่มีวันใช้หนี้คืน ภาวะไม่สมดุลของโลกทำให้สหรัฐ ขาดดุลการค้าอย่างมากมายมหาศาล ในขณะที่ ประเทศในเอเชียก็ได้ดุลการค้าสหรัฐ แบบมหาศาลด้วย ที่ผ่านมา ไม่มีใครคิดอยากแก้ไขปัญหานี้ เพราะทุกฝ่ายต่างได้รับประโยชน์จากเศรษฐกิจโลกที่เติบโตได้ดี เมื่อปัญหาไม่ได้รับการแก้ไข ปัญหาก็พอกพูนขึ้นเรื่อยๆ สหรัฐ ขาดดุลการค้ามากจนน่ากลัว
เวลานี้คล้ายๆ กับว่า วิกฤติซับไพร์มจะเป็นตัวจุดชนวนให้เกิดการปรับสมดุลขึ้นเอง วิกฤติซับไพร์มทำให้การบริโภคภายในประเทศของสหรัฐลดลง แม้ว่าประเทศในเอเชียจะพยายามโอบอุ้มค่าเงินดอลลาร์เหมือนเดิมแต่ก็ยังไม่สามารถหยุดยั้งกำลังซื้อของสหรัฐที่ลดลง เพราะปัญหาซับไพร์มได้ เมื่อกำลังซื้อจากสหรัฐลดลง เศรษฐกิจโลกก็ย่อมต้องชะลอตัวลงด้วยเป็นธรรมดา ซึ่งอาจมองว่าเป็นเรื่องไม่ดี แต่ในอีกแง่หนึ่ง นี่คือโอกาสที่โลกจะได้แก้ไขปัญหาความไม่สมดุลที่สะสมมานาน
ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่า เศรษฐกิจสหรัฐจะฟื้นตัวขึ้นจากวิกฤติซับไพร์มได้เร็วหรือช้า หลายฝ่ายยังมีการถกเถียงกันอยู่ ถ้าหากเศรษฐกิจสหรัฐฟื้นตัวขึ้นได้เร็ว ไม่ช้าไม่นานโลกของเราก็อาจจะกลับไปสู่วงจรอัฐยายซื้อขนมยายเหมือนเช่นเดิม ทำให้ปัญหาความไม่สมดุลของโลกไม่ได้รับการแก้ไขต่อ แต่ถ้าเศรษฐกิจสหรัฐทรุดหนักแบบยืดเยื้อยาวนาน การปรับสมดุลก็จะเกิดขึ้นได้อย่างต่อเนื่องจนเสร็จสมบูรณ์ในที่สุด เพราะโลกอาจหันไปหาวิธีการใหม่ๆ ในการพยุงการเติบโตทางเศรษฐกิจแทนการพึ่งพาการบริโภคของสหรัฐ
สมมติว่าวิกฤติครั้งนี้ยาวนานจนทำให้เกิดการปรับสมดุลได้จริง มาลองคิดกันเล่นๆ ว่า เศรษฐกิจโลกหลังปรับสมดุลแล้วจะมีหน้าตาเปลี่ยนไปอย่างไร?
แน่นอนว่าเมื่อประเทศในเอเชียเลิกโอบอุ้มค่าเงินดอลลาร์ เงินดอลลาร์จะต้องอ่อนค่าลงอีกเมื่อเทียบกับสกุลเงินเอเชีย เมื่อค่าเงินถูกปล่อยไปตามความเป็นจริงมากขึ้น ดุลการค้าของประเทศต่างๆ จะใกล้เคียงกันมากกว่าเดิม สหรัฐจะขาดดุลน้อยลง ประเทศในเอเชียก็จะเกิดดุลน้อยลงด้วย
ที่ผ่านมาเวลาที่ประเทศส่งออกในเอเชียพยายามทำค่าเงินของตัวเองให้อ่อน ประเทศเหล่านี้จะต้องเทขายเงินของตัวเองออกมาแล้วเอาเงินดอลลาร์ที่ได้รับมาเก็บไว้ในทุนสำรอง ทุนสำรองคือสภาพคล่องที่ถูกดูดออกไปจากระบบ มันจอดอยู่เฉยๆ โดยไม่ทำประโยชน์ ทุกๆ ปี ประเทศในเอเชียยอมสูญเสียโอกาสในการลงทุนที่เกิดจากสภาพคล่องที่ดูดซับออกไปเพื่อช่วยภาคส่งออกเป็นเงินจำนวนมหาศาล ซ้ำร้าย ประเทศในเอเชียกลับเอาเงินส่วนนี้ไปปล่อยกู้ในตลาดสหรัฐซึ่งช่วยทำให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงในสหรัฐ อยู่ในระดับต่ำกว่าที่ควรจะเป็นอีก เท่ากับเป็นส่งเสริมการลงทุนให้กับสหรัฐ นั่นเอง เพราะปกติแล้ว เงินทุนควรไหลออกจากประเทศร่ำรวยไปสู่ประเทศล้าหลังที่ยังขาดแคลนทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ แต่ทุกวันนี้ เงินทุนกลับไหลออกจากประเทศที่ยังล้าหลังไปหาประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างเช่น สหรัฐ
ถ้าวงจรที่ไหลกลับของเงินทุนนี้กลับทิศทางเสียได้ อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงในสหรัฐจะสูงขึ้น ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยในเอเชียจะต่ำลงซึ่งจะส่งผลดีต่อการบริโภคและการลงทุนภายในประเทศเอเชีย การเติบโตภายในประเทศเอเชียเองก็จะเข้ามาทดแทนการส่งออกที่หดตัวลง เศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้ก็จะมีเสถียรภาพมากขึ้น เนื่องจากไม่ได้พึ่งพาการส่งออกในสัดส่วนที่สูงมากเหมือนอย่างในปัจจุบัน ถ้าเศรษฐกิจโลกมีปัญหาก็จะไม่ได้รับกระทบรุนแรงเหมือนเช่นที่เป็นอยู่
ค่าเงินเอเชียที่แข็งขึ้น แม้ว่าจะทำให้ส่งออกสินค้าได้น้อยลง แต่ในทางตรงกันข้ามกลับทำให้ความเป็นอยู่ของคนในประเทศสูงขึ้นด้วย เพราะคนในประเทศจะสามารถบริโภคสินค้านำเข้าเช่น น้ำมันดิบ ได้ในราคาที่ถูกกว่าเดิม ที่จริงแล้วทุกวันนี้เราไม่จำเป็นต้องส่งออกให้ได้มากๆ เหมือนแต่ก่อน เนื่องจากเราไม่ใช่ประเทศที่ติดหนี้ต่างประเทศมากมายเหมือนสมัยวิกฤติต้มยำกุ้งอีกต่อไปแล้ว การปล่อยให้เงินบาทแข็งขึ้นตามความเป็นจริงบ้างกลับเป็นเรื่องที่ดีกว่า เพราะเป็นการทำให้วิถีชีวิตของคนในประเทศขยับเข้าใกล้เคียงชาวตะวันตกมากขึ้น ในขณะเดียวกัน ก็ขายสินค้าได้เงินมากกว่าเดิม ไม่ต้องยอมขายขาดทุนเพื่อล่อให้เขาซื้อสินค้าเหมือนที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
สรุปแล้ว โลกหลังปรับสมดุลแล้วมีแต่ข้อดีกับข้อดี เพียงแต่ว่าก่อนที่เราจะไปถึงตรงนั้นได้ เราจะต้องได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่หดตัวแรงเสียก่อน ซึ่งเป็นการชดใช้ฟองสบู่ที่โลกได้สร้างขึ้นมาตลอดสิบกว่าปี สักพักหนึ่งเมื่อทรัพยากรถูกเคลื่อนย้ายจากภาคส่งออกเข้าสู่ภาคเศรษฐกิจในประเทศมากขึ้น เราจึงจะเริ่มเห็นผลดีของการปรับสมดุลใหม่
บางกระแสบอกว่า ฝันไปเถิด การปรับสมดุลใหม่จะไม่มีวันเกิดขึ้นแน่นอน เพราะจีนและญี่ปุ่นไม่มีทางเลิกหนุนค่าเงินดอลลาร์เป็นอันขาด แต่เมื่อไม่นานมานี้ เราเริ่มเห็นท่าทีของจีนที่เปลี่ยนไป ฝันอาจกำลังเป็นจริงก็ได้ครับ